ดอกเบี้ย-เงินเฟ้อ ดับร้อน หุ้นกู้ครึ่งหลังปี52

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanosec
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 148
ผู้ติดตาม: 0

ดอกเบี้ย-เงินเฟ้อ ดับร้อน หุ้นกู้ครึ่งหลังปี52

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากต้นปี 2552 เป็นต้นมา ตลาดตราสารหนี้ "ร้อนแรง" เป็นประวัติการณ์ในรอบ 15 ปีที่จัดตั้ง ทั้งในแง่ของหุ้นกู้บริษัทเอกชนที่แห่ออกกันมากมาย

ธุรกิจระหว่างประเทศของคุณลงทุนต่ำรายได้โตต่อเนื่อง ไม่เสี่ยง ทำการตลาดพร้อมกันได้50ประเทศทั่วโลกwww.richagel.com
ธุรกิจสุขภาพ นวัตกรรมใหม่ธุรกิจที่มหาเศรษฐีของโลก&แพทย์แนะนำ สวนกระแสเศรษฐกิจผลวิจัยชี้ชัด ศึกษาwww.agel-center.com

ขณะ ที่ดีมานด์ความต้องการลงทุนของนักลงทุนล้มหลาม จนปริมาณหุ้นกู้ที่ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการ สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยต่ำติดดิน และตัวเลือกลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ไม่น่าพอใจ

ครึ่งปีแรก "หุ้นกู้" ร้อนแรง  

"อริยา ติรณะประกิจ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสายงานการกำกับดูแล สมาคมตลาดตราสารหนี้ เปิด เผยกับ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ว่า  ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้(2552) ตลาดแรกคึกคักอย่างมาก เนื่องจากปริมาณการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ค่อนข้างเงียบเหงา และบริษัทหันไปออกช่วงครึ่งปีหลังมากกว่า

"แต่ในปีนี้บริษัทมาออกหุ้นกู้กันเป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงต้นปีเรื่อยมา  ซึ่งเป็นผลมาจากเทรนด์อัตราดอกเบี้ยได้ปรับตัว "ลดลง" มามากนับแต่สิ้นปี 2551 ทุกบริษัทจึงเตรียมออกหุ้นกู้กันมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ไตรมาส 1- 2"

โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.2552) มีบริษัทเอกชนออกหุ้นกู้ทั้งหมด 31 บริษัท คิดเป็นมูลค่า 1.78 แสนล้านบาทขณะที่ในต้นเดือนมิ.ย.มีบริษัทประกาศออกหุ้นกู้แล้ว 10 บริษัท มูลค่าราว 1.68 หมื่นล้านบาท (ไม่นับรวม ธ.นครหลวงไทยมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท)

อริยา กล่าวว่า เดิมตลาดตราสารหนี้ ตั้งเป้าปีนี้จะมีมูลค่าการออกหุ้นกู้ 2.5 แสนล้านบาท เพราะคิดว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก แต่ต่อมาได้ปรับเป็น 2.8 แสนล้าน เท่ากับปี 2551 แต่เนื่องจากในช่วง 6 เดือนปีนี้ มูลค่าได้พุ่งขึ้นเกือบ 2 แสนล้าน คิดเป็น 70%ของมูลค่าปี 2551

ล่าสุดสมาคมฯ จึงได้ปรับเป้าใหม่เป็น 3 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบ 15ปี นับตั้งแต่จัดตั้งสมาคมตราสารหนี้

ทั้งนี้ มูลค่าคงค้างของหุ้นกู้ที่ยังคงอยู่ในระบบสิ้นพ.ค.อยู่ที่ประมาณ 9.02 แสนล้าน เทียบกับ 5 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 1-2 แสนล้านบาท

"ถ้าปีนี้ออกหุ้นกู้ได้ถึง 3 แสนล้านบาทตามเป้า ก็ทะลุสถิติสูงสุด ตั้งแต่สมาคมตราสารหนี้เกิดขึ้นมา"

"บิ๊กเนม" เบนเข็ม จับรายย่อย

แนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยได้ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ปลายปี 2551 ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ จึงเป็นจังหวะที่ดีของผู้ออกตราสารหนี้ เพราะเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการสามารถ "ล็อค" ต้นทุนที่ต่ำได้  

อริยา บอกว่า ถ้าเทียบต้นทุนการออกหุ้นกู้กับปี 2551 พันธบัตรอายุ 3ปี อยู่ที่ 5.2% ต่อปี  ถ้าหากเรทติ้ง AAA  จะอยู่ที่ 5.5% แต่สำหรับปีนี้ผู้ออกจ่ายดอกเบี้ยแค่ 2% เท่านั้น  จึงเป็นจังหวะที่ดีของผู้ประกอบการที่จะลดต้นทุน แม้จะไม่ได้นำเงินไปขยายการลงทุน แต่หลายที่เป็นการรีไฟแนนซ์ เพราะต้นทุนต่ำขนาดนี้ไม่ได้หาง่ายๆ ในภาวะที่แบงก์พาณิชย์ไม่ยอมปล่อยกู้

"เราจึงเห็นช่วงไตรมาสแรกมีออกหุ้นกู้มากันมาก พอไตรมาส 2 ยิ่งออกมากันมากขึ้น จะเห็นว่า ปีนี้ตลาดแรกคึกคักกว่าปีที่แล้วมาก เพราะส่วนหนึ่งในแง่ซัพพลายมีสูง และดีมานด์ที่มาจากรายย่อยจำนวนมาก ที่ไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี เพราะดอกเบี้ยต่ำลมามาก จึงแห่กันมาซื้อหุ้นกู้"

ประกอบกับ กลุ่มผู้ออกมีชื่อเสียงดี หรือ "บิ๊กเนม" แทบทั้งนั้น  แม้ออกมามาก ก็ไม่พอขาย ช่วงหลังๆ จึงมีบริษัทขนาดกลางทยอยออกหุ้นกู้ตามมาขายกันบ้าง

สำหรับหุ้นกู้ "บิ๊กเนม" และขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะ "กลุ่มพลังงาน"  ซึ่งในช่วงต้นปีได้พาเรดออกกันมาก เช่น ปตท. ปตท.สผ  ปตท.เออาร์ น้ำประปาไทย ไทยออยส์ บ้านปู  รวมถึง ปูนใหญ่ ตลอดจนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของแบงก์พาณิชย์  เป็นต้น

โดยบริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดในครึ่งแรกปีนี้ คือ "ปตท.สผ" คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้ออกในเดือนพ.ค. กรุงไทย 2.1 หมื่นล้าน,  ปูนใหญ่ มูลค่า 2 หมื่นล้าน, ปตท. 1.5 หมื่นล้าน  เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มเป้าหมายการเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง ดี  ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปจากเดิม โดยจะ "เบนเข็ม" ไปเจาะกลุ่มฐานลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก ต่างจากเดิมที่บริษัทขนาดใหญ่จะเน้นขายให้กับนักลงทุนสถาบันเป็นหลัก

"แม้ว่าในช่วงต้นปีหลังจากเกิดวิกฤติ ดอกเบี้ยได้ปรับตัวลงแล้วก็ตาม แต่กลุ่มสถาบันจะไม่ซื้อหุ้นกู้กัน เพราะยังกังวลความเสี่ยงเรื่องเครดิต  รวมถึงกองทุนรวมเอง ก็ไม่ซื้อหุ้นกู้ที่เรทติ้งต่ำกว่า A  ทำให้บริษัทเอกชนผู้ออกหุ้น เบนเข็มหันมาจับลูกค้ารายย่อยแทน ปัจจุบัน 90% ของหุ้นกู้ที่ออกมา จึงออกมาเพื่อเสนอขายรายย่อย โดยไม่ง้อสถาบัน และยังสามารถออกระยะยาวได้ถึง 10 ปี สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่บริษทเล็ก-กลาง มักจะออกหุ้นกู้อายุ 3-5ปี เป็นหลัก"

นอกจากนั้น ยังมีบางบริษัทเริ่มกำหนดตารางออกและขายหุ้นกู้ ทุกๆ ปีในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลนักลงทุนรายย่อย  เช่น ปตท.สผ. ได้เริ่มดำเนินการแนวทางเดียวกับ ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งกำหนดออกทุกปีๆ ละครั้งในช่วงเวลาเดียวกัน    

ดีมานด์สูง .."สเปรด" แคบ

นับแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน หุ้นกู้เอกชน ยังเป็นที่ต้องการซื้อของนักลงทุน ต่างจากช่วงเกิดวิกฤติโลกใหม่ๆ ตั้งแต่เดือนส.ค.ถึงปลายปี 2551 ซึ่งทุกคนจะกลัวความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้ จึงไม่มีใครกล้าเข้าลงทุนซื้อหุ้นกู้ที่มีอายุยาว และเรทติ้งต่ำ  จึงส่งผลให้เครดิต "สเปรด" หรือ ส่วนต่างของผลตอบแทนจากพันธบัตรอายุ 2ปี กับ 10ปี  "ถ่าง" กันขึ้นมาก

"จากเดิมก่อนเกิดวิกฤติ ส่วนต่างของตราสารหนี้เรทติ้ง AAA+ ไม่เกิน 0.50% จากหลังวิกฤติได้ปรับตัวสูงถึง 1.58 %ในช่วงก.พ.-มี.ค. แต่ในช่วงนี้เราจะเห็นดีมานด์เข้ามามากขึ้น เพราะคนกลัวน้อยลง

หุ้นกู้เรทติ้ง AA ขึ้นไป ที่เครดิตสเปรดเคยถ่างขึ้นไปมากๆ จาก 1.58% ตอนนี้เริ่มแคบลง เหลือ 1.20-1.30% เท่านั้น ส่วนเรทติ้ง AAA เคยกระโดดขึ้นไป 1.80-1.90% ตอนนี้เหลือ 1.50%"

จึงเห็นว่า สเปรดของหุ้นกู้ที่มีเรทติ้งดีๆ เริ่มแคบลง เนื่องจากเกิดดีมานด์ต้องการลงทุนในหุ้นกู้มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ที่มีเรทติ้ง BBB  ยังคงมีเครดิตสเปรด "ถ่าง" อยู่  ทำให้ผู้ออกต้องบวกดอกเบี้ยเพิ่มอย่างน้อย 3.5% ขึ้นไป หรือ BBB-ต้องบวกถึง 4%  จึงจะมีคนสนใจลงทุน

"ล่าสุดกรณีหุ้นกู้ "แสนสิริ" เรทติ้ง BBB- ออกอายุ 3 ปี ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.5% หรือ อิตาเลียนไทย เรทติ้ง BBB+ อายุ 5 ปี คาดว่า ให้ดอกเบี้ยใกล้เคียงกับหุ้นกู้แสนสิริ"  

หวั่นดบ.ขยับ-เงินเฟ้อพุ่ง..ผู้ลงทุนขาดทุน

สำหรับแนวโน่มตลาดพันธบัตร-หุ้นกู้ช่วงครึ่งปีหลังนี้ อริยา มองว่า ตลาดเริ่มมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ แม้ว่าล่าสุดอัตราเงินเฟ้อจะยังติดลบอยู่  แต่นักวิเคราะห์หลายที่ เริ่มกังวลว่าในช่วงต้นปีหน้าเงินเฟ้อน่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั่วโลกได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาล

"คิดว่า เงินเฟ้อยังไม่มาเร็วในปีนี้ เพราะล่าสุดยังติดลบอยู่ 3.3% เพียงแต่มองไปข้างหน้าในต้นปีหน้า ถ้ารัฐจัดการบริหารจัดการที่ดี ก็คงไม่มาเร็วและแรง แต่ถ้าบริหารจัดการไม่ดี เม็ดเงินมาจากทั่วโลกจะทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นเร็วและแรง ทำให้หลายคนกลัว เพราะถ้าเมื่อไรสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว แล้วนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ได้ผล และสภาพคล่องที่อัดฉีดเข้าระบบมากๆ ประกอบกันหลายๆอย่าง จะทำให้เงินเฟ้อกลับมาเร็วได้"

เมื่อเงินเฟ้อกลับมา ก็จะกระทบตลาดตราสารหนี้อีกรอบ เพราะเมื่อเงินเฟ้อมาแรง กนง.ก็ต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น เพื่อลดผลกระทบเงินเฟ้อ แล้วเมื่อปรับดอกเบี้ยขึ้นแรง กองทุนตราสารหนี้ก็จะติดลบมาก แม้ว่าการถือกองทุนระยะสั้นก็ขาดทุนอยู่ดี  อาจเกิดภาวะคนตื่นตระหนก เหมือนกับหลายปีก่อนก็ได้

ทั้งนี้ ขึ้นกับการบริหารจัดการภาครัฐในเรื่องเงินเฟ้ออย่างไร

"อย่างตอนนี้ดอกเบี้ยลง จะกระทบพันธบัตรอายุยาว แต่เมื่อกนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ย ก็จะกระทบพันธบัตรอายุสั้นๆ แน่

เงินฟ้อเป็นเรื่องการมองๆไปข้างหน้า ปีหน้าน่าจะเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อน่าจะกลับมา ซึ่งจะกระทบตลาดตราสารหนี้ได้ เพราะการที่ยีลด์ขึ้นจะทำให้ราคาตราสารปรับตัวลดลง"

อริยา บอกว่า เมื่อเวลาเงินเฟ้อปรับขึ้นมา ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นเร็ว ตรงเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงว่า  ถ้าคนไปซื้อหุ้นกู้ช่วงดอกเบี้ยต่ำสุดเช่นช่วงปลายปีนี้ หากช่วงที่ดอกเบี้ยผงกหัวขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดผลขาดทุนจากราคาได้

"ตอนนี้กองทุนตราสารหนี้เริ่มให้ผลขาดทุนออกมาแล้ว เพราะเราเห็น Bond Index ตั้งแต่ต้นปี ติดลบ 13.24% เกิดจากยีลด์ขยับจากต้นปี โดยยีลด์พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3ปี เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่ 1.9%  เพิ่มเป็น 2.1%  ในเดือนมิ.ย. ขณะที่พันธบัตรอายุ 10ปี จาก 2.53% ปรับขึ้นมา 4.11%

จะเห็นว่า ครึ่งหลังปีนี้ Yield พันธบัตรรัฐอายุยาว ได้กลับมาเด้งขึ้น ทำให้ดัชนีติดลบ ส่งผลให้กองทุนพันธบัตรบางกองทุน ที่มีดูเรชั่นหรืออายุตราสารระยะกลาง-ยาว เริ่มติดลบแล้ว  แต่พันธบัตรที่มีอายุยาวมากกว่า 10ปี ติดลบมากที่สุดถึง 28% ขณะที่ Bond Index อายุ 1-2ปี นับแต่ต้นปี ยังไม่มีผลขาดทุน"

อย่างไรก็ตาม ดัชนีพันธบัตรช่วงอายุ 1 สัปดาห์ เริ่มได้รับผลกระทบบ้างแล้ว เพราะได้รับกระทบจากผลการประมูลพันธบัตรของแบงก์ชาติ ทำให้ดอกเบี้ยขึ้นมา 1.05%

"กองทุนที่ได้รับกระทบ คือ กองทุนที่ลงทุนในตราสารระยะกลาง-ยาว รวมถึงกองทุนที่ลงทุนกระจุกตัวเฉพาะพันธบัตรรัฐอายุสั้นและมีขนาดกองทุนเล็ก ไม่ได้ลงทุนในตั่วบี/อีชนิดอื่นๆ เริ่มได้รับผลกระทบบ้าง"

สภาพคล่อง "ล้น" ระบบ

อริยา บอกว่า ปัจจุบันสภาพคล่องในตลาดเงินล้นมาก ซึ่งเกิดจากการที่แบงก์ไม่ได้ปล่อยกู้ สถาบันการเงินจึงเอาเงินดังกล่าวมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ โดยขณะนี้มีสภาพ คล่องในตลาดเหลืออยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท  ซึ่งยังไม่รวมนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินฝากเหลืออีกจำนวนมาก ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี

"สำหรับรายย่อย คาดว่า มีจำนวนเงินเหลือมาก เห็นได้จากการขายหุ้นกู้ เช่น ปตท.สผ มูลค่า 4 หมื่นล้าน ยังไม่ทันเปิดจอง ก็หมดแล้ว หรือ ปูนใหญ่ ขายหมด โดยไม่ต้องทำมาร์เก็ตติ้งเลยเพราะคนต้องการลงทุน ซึ่งเงินของรายย่อยเป็นการ โยกมาจากเงินฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำ ย้ายเข้ามาลงทุนในหุ้นกู้"

อย่างไรก็ตาม การออกพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง น่าจะช่วยดูดซับสภาพคล่องในตลาดได้ และไม่กระทบอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร(Yield)ในตลาด เนื่องจากเป็นการขายให้ แก่รายย่อยแทน

แนะลดดูเรชั่น-ถือสั้นไม่เกิน3ปี

อริยา กล่าวว่า สำหรับนักลงทุนถ้าถือตราสารไม่ครบอายุ ควรลด "ดูเรชั่น" หรืออายุตราสารหนี้ระยะสั้น ไม่เกิน 3ปี ยกเว้นถ้ามองว่าเราจะถือจนครบอายุตราสาร  โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็สามารถถือยาวได้ แต่ดอกเบี้ยบนคูปองต้องน่าสนใจและรู้ว่าบริษัทนั้นดำเนินกิจการอยู่ต่อไปได้ แน่ๆ ในระยะ 5-10ปี ตรงนี้อาจจะไม่น่าเป็นห่วงนัก

ส่วนกรณีการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้  ก่อนหน้านั้นการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น เช่น กองทุนมันนี่มาร์เก็ต ให้ผลตอบแทนไม่น่าสนใจนัก เพราะดอกเบี้ยลดลงมาเรื่อยๆ แต่พอมาซื้อกองทุนระยะกลาง-ยาว เมื่อยีลด์ปรับขึ้นตอนนี้เริ่มเห็นผลขาดทุนเหมือนกัน

"นักลงทุนคงต้องทำใจเย็นๆ และเข้าใจว่าเป็นการขาดทุน เพราะการมาร์ค ทู มาร์เก็ต แต่ในระยะยาวแล้วนักลงทุนยังไม่ได้ขาดทุนจริง"

อย่างไรก็ตาม บลจ.เองก็เริ่มปรับพอร์ตการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และลดดูเรชั่นลงในช่วงนี้แล้ว

อริยา แนะนำว่า ในกรณีนักลงทุนคิดจะขายตราสารหนี้ที่ถืออยู่ออกไปในช่วง 1-2ปีข้างหน้า อาจยังต้องทำใจ แต่หากเป็นเงินเย็นและถือยาว ยังน่าสนใจอยู่ เพราะไม่มีครั้งไหนที่ส่วนต่างดอกเบี้ยที่หุ้นกู้ให้สูงเท่านี้    ถ้าเศรษฐกิจดีก็คงไม่สามารถซื้อหุ้นกู้ที่สเปรดสูงหรือดอกเบี้ยถึง 6% เช่นขณะนี้ได้แน่

"ถ้าเทียบกับการลงทุนอย่างอื่นตอนนี้ ก็ยังไม่มีช่องทางอื่นให้ลงทุน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ หากต้องการขายขึ้นมา ต้องทำใจ เพราะดอกเบี้ยในอีก 2 ปีข้างหน้า ขึ้นแน่ๆ และถ้าขายไปก็จะขาดทุน "เกินกว่า" ดอกเบี้ยที่ได้รับ แต่ขึ้นกับว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นมากแค่ไหนในอนาคตด้วย"

อย่าถือยาว เลี่ยงกลุ่มเสี่ยง

สำหรับแนวทางการเลือกซื้อหุ้นกู้ อริยา แนะนำว่า ควรจะเลือกลงทุนในบริษัท "บิ๊กเนม" และไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ เช่น กลุ่มพลังงาน รัฐวิสาหกิจ  จะอุ่นใจกว่า เพราะบริษัทไม่เจ็ง สามารถถือลงทุนต่อไป 5ปี ไม่มีปัญหา  แม้ว่าจะไม่มีกำไรที่ดีนัก แต่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้

อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ "อายุ" ขงอหุ้นกู้ เพราะถ้าหากต้องการใช้เงินขึ้นมา แล้วต้องขายขาดทุน ต้องดูด้วยว่า จะคุ้มกับดอกเบี้ยที่ได้รับหรือไม่ แม้ว่าจะได้เงินต้นคืน แต่ไม่ได้ผลตอบแทนอย่างที่คิด

"อย่า" ถือยาวเกินไป เช่น ระยะเวลา 10 ปี เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดในวันข้างหน้า โดยเฉพาะตลาดเงินเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ค่อนข้างยาก

นอกจากนั้น หากภาวะเศรษฐกิจ ยังไม่ดีขึ้นจริง ควรระวังลงทุนในกลุ่มอสังหา

แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไร

"หากเศรษฐกิจฟื้นตัวแน่ คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าคิดว่ามองเศรษฐกิจไม่เห็นชัดมาก การลงทุนในกลุ่มอสังหาฯ ยังน่าเป็นห่วง อาจจะไม่เหมาะกับนักลงทุนรายย่อยนัก เพราะถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจริง กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบก่อน รวมถึงกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ออกมากันมาก  ควรต้องดูเงื่อนไขให้ดีๆ เช่น หุ้นกู้ทหารไทย จะกำหนดว่า ถ้ามีกำไรถึงจะจ่ายดอกเบี้ย ถ้าไม่มีกำไรจะไม่ได้ดอกเบี้ย  เป็นต้น"

"อันดับเรทติ้ง" เป็นสิ่งที่ต้องดูอันดับแรก ถ้ารายย่อยควรเลือกหุ้นกู้ที่มีเรทติ้ง "AAA" ขึ้นไป

อย่างไรก็ดี สำหรับทางเลือกการลงทุนของรายย่อย  การลงทุนในกองทุนรวม น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะมีความสะดวก แม้ว่าจะยังมีขัดจำกัดในเรื่องการบริหารความเสี่ยงของกองทุนไม่ดีนัก

นอกจากนั้น ทางเลือกลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ที่กำลังจะออกมา ก็เป็นทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจ

"ตอนนี้ลงทุนอย่างอื่นก็ไม่ได้ แต่หากจะลงทุนในหุ้นกู้จะต้องเปรียบเทียบ และมองเป็นการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงมากกว่า เพราะฝากแบงก์ตอนนี้แทบไม่เหลือดอกเบี้ยเลย แต่ถ้าซื้อหุ้นกู้ที่เรทติ้งต่ำกว่า A ก็น่าเป็นห่วง เช่น อสังหา หรือไฟแนนซ์ เวลาเกิดวิกฤติ ธุรกิจนี้จะล้มไปก่อน หรือไฟแนนซ์"

แต่สิ่งที่ระวังก็คือ  หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นในปีหน้า คนที่เอาพันธบัตรวันนี้ไปขายในปีหน้าก็จะมีผลขาดทุน   เพราะไปซื้อตอนที่ดอกเบี้ยต่ำสุด แล้วไปขาย(ก่อนครบอายุ)ตอนดอกเบี้ยกำลังขึ้นก็จะขาดทุน (ราคาพันธบัตรลดลง)

อีกทั้ง ต้องระวังปัจจัยนอกประเทศเข้ามากระทบ เนื่องจากบ้านเราจะไปตามเทรนด์ของ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก อาจทำให้ยีลด์ในตลาดปรับขึ้นในปีหน้า ก็จะกระทบตลาดตราสารหนี้ได้

แหล่งข่าว กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์โพสต์