ตามมาแปะให้ตามที่พี่ๆแนะนำค่ะ _/\_
“Stay The Course” - The story of Vanguard and the Index Revolution
หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
โพสนี้จะขออนุญาตค่อยๆเล่าถึงหนังสือเล่ม (น่าจะ) สุดท้ายของ Jack Bogle ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิตเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาค่ะ
เล่มนี้ออกมาประมาณเดือนกันยายน 2018 ไม่ใช่การสรุปหนังสือทั้งหมดนะคะ เเค่อยากจะหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาเล่าเฉยๆค่ะ
“If a statue is ever erected to honor the person who has done the most for American investors,
the hands down choice should be Jack Bogle.”
-Warren Buffett-
เป็น quote แรกที่เขียนถึงเจ้าของหนังสือ Jack Bogle (หรือชื่อจริงคือ John Clifton Bogle) ค่ะ
Jack เขียนคำนำหนังสือไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายนปีที่แล้ว (2018) เล่าว่า เค้าเขียน
“Stay The Course” ขึ้นมาเพื่อย้ำว่าการลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน
กองทุนดัชนี หรือหุ้นก็ตาม เราต้องลงทุนเป็นระยะยาว ถือเอาไว้นานๆ อย่าไปหวั่นไหวกับความผันผวนรายวันของตลาดหุ้น
(stay the course แปลว่า keep going strongly to the end of a race or contest)
Jack บอกว่าหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 4 parts โดย
Part 1 - จะเป็นเรื่องราวความเป็นมาของ Vanguard ที่เริ่มก่อตั้งปี 1974 และเริ่มทำ index fund ในปี 1975
Part 2 - จะเป็นกองทุนหลักที่ Vanguard funds ทำมา เช่น Wellington fund, index funds, Windsor funds, PRIMECAP funds, และพวก bond funds
Part 3 - Jack จะมาบอกว่าเค้ามองอนาคตของ investment management เป็นอย่างไรและมันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
Part 4 - จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Personal reflection ค่ะ
ส่วนตัวสนใจ Part 3 จะเล่าถึงละเอียดหน่อยค่ะ
“The First Index Investment Trust” ชื่อเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น
“Vanguard 500 Index Fund”
มาดูผลงานกันก่อนค่ะ ตารางนี้บอกเราว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน $500 เหรียญ ตอนที่เริ่มมีกองทุนในปี 1977
เเล้วเติมเงินเเบบ DCA ไปเรื่อยๆ $100 ทุกเดือน ผลตอบแทน ณ. สิ้นปี 2017 จะเป็นดังนี้ค่ะ
Vanguard (ภาพซ้าย)เป็นกองทุนที่มีขนาด US$ 5 Trillion บริหารเงินให้ลูกค้า 20 ล้านราย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
คือเก็บแค่ at-cost basis เพราะวางโครงสร้างไว้ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ จะเห็นความแตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ทั่วๆไป (ภาพขวา)
Jack Bogle เริ่มเล่าตั้งเเต่สมัยเป็นนักเรียนทุน ไปเรียนในโรงเรียนประจำทึ่ Blair Academy, New Jersey ช่วงนั้นประมาณปี 1945
พบจบเเล้วมาได้ทุนต่อที่ Princeton university เค้าเป็นนักศึกษารุ่น 1951 เเต่เรื่องมันเริ่มตอนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่หาเรื่องทำไม่ได้
เเล้วไปอ่าน Fortune magazine ที่ออกมาของเดือน ธันวาคม 1949 หน้า 116 เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง
"Big Money in Boston"น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจเค้าเลยทีเดียว
ตามไปอ่าน ที่ Jack เขียนถึงบทความนั้นได้ที่นี่ค่ะ
http://johncbogle.com/wordpress/wp-cont ... -17-13.pdf
Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ
Massachusetts Investor Trust (M.I.T)
ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด
เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน
อันนี้ไปดึง factsheet 3Q2018 บางกองมาแปะค่ะ
1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า
... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย
สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า
เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น
ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion
Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ
แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า
Go-Go era
เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks
ทำให้กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel
ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา
มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ
Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น
“เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน
.. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม
บางครั้ง
Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ?
เค้ายกตัวอย่างกอง
Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117%
และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84%
คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994)
สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011
กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย
ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1%
Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี)
Mr. Morgan บอกว่า
“Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ)
ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan
... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง
แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง
แห่งแรก เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม )
แห่งที่ 2 เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex
แห่งที่ 3 เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น
..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ
Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018
ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด!
สุดท้ายเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ
แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million
และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ
แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966
ตอนหน้าจะเป็น.. กำเนิดของ Vanguard !!!