Free Cash Flow Ratio

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีเพื่อนๆ พี่ๆ ใน webนี้ ใช้อัตราส่วน FCF/EV (Cash Return) บ้างรึเปล่าครับ ผมเห็นบริษัทนึงมีอัตราส่วนนี้ค่อนข้างสูงมากและสูงอย่างต่อเนื่องมา 2-3 ปีแล้ว (ปี 2001 = 45.43%, ปี 2002 = 64.07% และ ปี 2003 = 29.10%)

ไม่ทราบว่าผมสามารถตีความได้รึเปล่าว่า ถ้าผมลงทุนซื้อกิจการนี้ทั้งหมด ผมจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีในการคืนทุน

Note:

FCF = Free Cash Flow = Cash flow from operating - Capital Spending
EV = Enterprise Value = Market Cap + Long term Debt - Cash
ภาพประจำตัวสมาชิก
Minesweeper
Verified User
โพสต์: 472
ผู้ติดตาม: 0

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมดู P/FCF หรือ P/CFO น่ะครับ

ไม่ค่อยชอบ EV เท่าไหร่ เพราะ EV มันจะเอาเงินสดมาลบออกด้วย (น่าจะบวกหนี้อย่างเดียวพอ) ...

ส่วนที่จะลองคิดดูว่าคืนทุนใน 3-4 ปีหรือเปล่า ในทางทฤษฎีถ้าเราสามารถซื้อทั้งบริษัทในราคานี้ แล้วไปบริหารเอง ผมว่าก็คงได้ครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คงมีสองจุดครับ คือ

1. ใน Cash Flow from Operating นั้น เงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงานหรือไม่ครับ ถ้าเป็นเงินสดรับจากการลดสินทรัพย์หมุนเวียนหรือเพิ่มหนี้สินหมุนเวียน ในปีต่อๆไปก้คงจะไม่มีเงินสดในส่วนนี้

2. EV ไม่รวมหนี้ระยะสั้นด้วยครับ ถ้าคิดว่าจะคืนทุนภายในกี่ปี ผมว่าน่าจะรวมหนี้ระยะสั้นเข้าไปด้วย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ คุณ Minesweep และ คุณ Chatchai

ผมเห็นด้วยกับคุณ Chatchai ครับที่ว่าการดู Cash flow from operating จะต้องหักลบเงินสดรับที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น ผลจากการได้รับภาษีคืนหรือการขายสินทรัพย์ถาวรออกไป

อีกอัตราส่วนที่น่าสนใจคือ FCF/Sales ครับ ซึ่งจะบ่งบอกว่า จากยอดขาย 1 บาท บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้กี่บาท ซึ่งกระแสเงินสดนี้บริษัทสามารถนำมาจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืน หรือ กันเงินเอาไว้เพื่อลงทุนเพื่อสร้างผลกำไรต่อไป

จากข้อมูลของ Morning Star เขาบอกว่า หากบริษัทสามารถทำ FCF/Sales ได้มากกว่า 5% อย่างสม่ำเสมอ บริษัทดังกล่าวก็อาจเป็น Cash Machine

ส่วน FCF/EV เขาบอกว่า ควรจะดูเทียบกับ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร ณ เวลานั้นๆ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 5

โพสต์

กระทู้นี้ข้อมูลดีครับ ถ้าพี่จะมาขยายความอีก ก็จะได้อีกเนื้อหาหนึ่งสำหรับหนังสือ VI ครับ
Expecto Patronum!!!!!!
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 6

โพสต์

WG ก็เป็น Super Cash Machine ซิครับ

ปี 2545 บริษัทมี Cash from Operation 124.45 ล้านบาท จากรายได้รวม 625.93 ล้านบาท รายได้ของบริษัท 1 บาท เหลือเป็นเงินสดถึง 19.88 สตางค์

ปี 2546 บริษัทมี Cash from Operation 102.34 ล้านบาท จากรายได้รวม 647.13 ล้านบาท รายได้ของบริษัท 1 บาท เหลือเป็นเงินสดถึง 15.81 สตางค์

และงวด 9 เดือนปี 2547 บริษัทมี Cash from Operation 69.06 ล้านบาท จากรายได้รวม 583.06 ล้านบาท รายได้บริษัท 1 บาท เหลือเป็นเงินสดถึง 11.84 สตางค์

ที่ลดลงเพราะในปี 2545 บริษัทมีเงินสดจากการลดสินค้าคงคลังและเพิ่มลูกหนี้การค้า แต่ในปี 2547 บริษัทมีการเพิ่มลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลัง ตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น

นอกจากบริษัทจะเป็น Super Cash Machine แล้ว บริษัทยังมีการลงทุนน้อยมากๆ และมีเงินสดเหลือสุทธิประมาณ 230 ล้านบาท

มูลค่าบริษัทตามราคาตลาดที่ 33.25 บาท ประมาณ 593.51 ล้านบาท ถ้าหักเงินสดออกก็จะเหลือ 363.51 ล้านบาท เทียบกับ Cash from Operation ปีละประมาณ 100 ล้านบาท

ถ้าบริษัทจ่ายปันผลเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 3 บาทคงจะดีมากๆ และมีโอกาสทำได้จริงไหมครับ
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถูกต้องเลยครับพี่ chatchai บริษัทที่ผมกล่าวถึงก็คือ White Group ครับ ROE ของ White Group อยู่ที่ประมาณ 8% ถึงแม้จะไม่สูงมาก แต่ก็ไม่ต่ำมากเช่นกัน

อีกบริษัทนึงที่มีอัตราส่วน FCF/Sales และ FCF/EV ค่อนข้างสูงคือ TPCORP ครับ ค่าเฉลี่ยของ FCF/Sales ระหว่างปี 2000-2003 คือ 12-16% ส่วน FCF/EV ในปี 2000-2002 เฉลี่ยที่ 30% อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาหุ้นของ TPCORP ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมาก จึงทำให้ FCF/EV ในปี 2003 อยู่ที่ 13.84%

หวังว่า WG คงเดินตามรอย TPCORP ครับ

ผมเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะสนใจเรื่อง Free Cash Flow สักเท่าไหร่เลยครับ แม้แต่ข้อมูลสรุปที่ทาง website ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Cash Flow เลย ข้อมูล Financial Statement ก็รวมแค่ Balance Sheet และ Profit & Loss Statement ครับ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่รวม Cash Flow Statement เข้าไปด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คนไทยดูราคาหุ้นอย่างเดียวครับ
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Minesweeper
Verified User
โพสต์: 472
ผู้ติดตาม: 0

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 9

โพสต์

offshore-engineer เขียน:ผมเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะสนใจเรื่อง Free Cash Flow สักเท่าไหร่เลยครับ แม้แต่ข้อมูลสรุปที่ทาง website ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Cash Flow เลย ข้อมูล Financial Statement ก็รวมแค่ Balance Sheet และ Profit & Loss Statement ครับ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่รวม Cash Flow Statement เข้าไปด้วย
เห็นด้วยครับ

อะไรที่มันดูลำบากหน่อย คนทั่วไปก็มักจะไม่ค่อยดูกันครับ ทำให้ยังพอมีช่องว่างให้คนที่เห็นพอจะหาบริษัทที่ undervalued ได้บ้าง ...
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Free Cash Flow Ratio

โพสต์ที่ 10

โพสต์

offshore-engineer เขียน:
อีกบริษัทนึงที่มีอัตราส่วน FCF/Sales และ FCF/EV ค่อนข้างสูงคือ TPCORP ครับ ค่าเฉลี่ยของ FCF/Sales ระหว่างปี 2000-2003 คือ 12-16% ส่วน FCF/EV ในปี 2000-2002 เฉลี่ยที่ 30% อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาหุ้นของ TPCORP ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมาก จึงทำให้ FCF/EV ในปี 2003 อยู่ที่  13.84%

หวังว่า WG คงเดินตามรอย TPCORP ครับ
ในที่สุด อัตราส่วน FCF/EV ของ WG ก็ปรับตัวลดลงมาอยู่ราวๆ 15% โดยประมาณ อันเนื่องมาจากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น (ทำให้ EV สูงขึ้นนั่นเอง) หลังจากที่อยู่แถวๆ 30% (ไม่รวมเงินจำนวน 150 ล้านบาท ที่นำไปซื้อที่ดินและอาคารจาก AMCOR)

ผู้ถือหุ้นที่อดทนรอก็ได้รับรางวัลตอบแทนอย่างงดงาม
โพสต์โพสต์