สรุป หนังสือ MEGATHREATS by Seminar Knowledge page

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2645
ผู้ติดตาม: 270

สรุป หนังสือ MEGATHREATS by Seminar Knowledge page

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุป หนังสือ MEGATHREATS by Seminar Knowledge page
28F3E584-32CA-4DB4-A8C3-D55B29BA7470.jpeg
เป็นหนังสือค่อนข้างใหม่พึ่งออกในปีที่แล้ว และแปลออกมาไวมาก
เขียนโดย NOURIEL ROUINI และแปลโดย นพ ชาคร จันทร์สกุล

หนังสือเล่มนี้พูดถึงความเสี่ยงที่เราเผชิญหน้าอยู่ เน้นไปที่Megathreatsที่อาจทำให้เป็นอันตรายต่อสินทรัพย์
หรือชีวิตของเรา ซึ่งนอกจากเรื่องสงครามแล้ว ยังมีเรื่องGeopolitical ที่กระทบต่อมนุษย์ เศรษฐกิจ และการเงิน
เราต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างตื่นตัว วิกฤติที่เราผ่านมาล่าสุด โควิด19 มีโอกาสสูงที่จะเปิดทางให้กับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และโดนซ้ำเติมด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (กรุงเทพ พึ่งเจอPM2.5เมื่อต้นอาทิตย์นี้อีกครั้ง)
การพังทลายของโครงสร้างประชากร นโยบายชาตินิยมที่ลดทอนการค้าและการเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมถึงการปฏิวัตเทคโนโลยี ซึ่งกระทบต่อการจ้างงานด้วย ถ้าคุณอยากรอด จงอย่ารับมือกับมันโดยไม่ได้เตรียมตัวให้พร้อม

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน

ส่วนที่1 หนี้ โครงสร้างประชากร และ นโยบายอันตรายทั้งหลาย
ส่วนที่2 ภัยพิบัติในด้านการเงิน การค้า ภูมิรัฐศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่3 แล้วพวกเราจะหลีกเลี่ยงภัยพิบัติเหล่านี้ได้หรือไม่

คราวนี้จะมาพูดถึงส่วนที่1 ก่อน

บทที่1 วิกฤตโคตรหนี้

ตลาดหมีในช่วงปี2022 เป็นสัญญาณเตือนว่าฟองสบู่ของทรัพย์สินใกล้จบแล้ว อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นมากๆ
ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลลดลง ธนาคารกลางจะต้องตัดสินใจว่าจะปล่อยให้รัฐบาล
พวกนั้นล้มละลายไป หรือ ทำการล้างหนี้โดยปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นมานับเป็นการผิดนัดชำระหนี้รูปแบบหนึ่ง
กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่มีหนี้อยู่ในระดับสูงและสกุลเงินที่อ่อนแอจะเผชิญกับเหตุการณ์ที่ร้ายแรง
ถ้าส่งออกไม่สามารถทำรายได้มากพอที่จะใช้หนี้ต่างประเทศ ค่าเงินท้องถิ่นจะอ่อนลงมากหรือล่มสลายไปด้เลย
ถ้าค่าเงินดิ่งหนัก เงินเฟ้อในประเทศจะพุ่งสูงมากจนคุมไม่อยู่ เหมือนกับ เรย์ ดาลิโอ เรียกว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่เงินเฟ้อสูง แทนที่จะส่งออกสินค้าcommodity แต่ส่งออกประชากรที่คาดหวังชีวิตดีขึ้นไปต่างประเทศแทน

จีนก็มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ เมื่อก่อนยังไม่มีปัญหาเพราะการเติบโตของเศรษฐกิจทำให้ชำระหนี้ได้
แต่การเติบโตเริ่มชะลอลง หนี้ภาคเอกชนก็เพิ่มสูงขึ้น (โดยเฉพาะหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ บางบริษัทไม่สามารถชำระได้)
รวมถึงเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำให้ส่งออกของจีนโตน้อยลง รวมถึงการกีดกันทางการค้าด้วย ไม่นับเรื่องนโยบาย
และพฤติกรรมที่ผิดพลาดในภาครัฐและเอกชนที่จะพูดในบทถัดไป

บทที่2 ความล้มเหลวของภาคเอกชนและภาครัฐ

เวลาที่รัฐบาลของประเทศที่โงกโงนใกล้จะผิดนัดชำระหนี้ จะต้องมีคนประคองเพื่อให้ทรงตัวต่อด้วยความช่วยเหลือของIMF และใช้ยาแรง เสนอแนวทางในการฟื้นฟูอย่างหนักหน่วง ได้แก่

1.การให้เงินช่วยเหลือ และมีข้อแลกเปลี่ยนที่เข้มงวดจนลูกหนี้แทบทำอะไรต่อไม่ได้เลย
2.การปรับโครงสร้างหนี้ต้องมีการปลดคนงานและทำร้ายนักลงทุน
3.เงินเฟ้อช่วยลดยอดหนี้แท้จริงลดลงเรื่อยๆแต่เงินออมก็หายไปด้วย ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น
4.การเก็บภาษีจากทรัพย์สิน
5.การควบคุมทางการเงิน เป็นการยกหนี้ไปให้ภาคการเงินที่ช่ำชองในการผลักภาระให้กับคนอื่น
6.มาตราการรัดเข็มขัด แต่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง
7.หนี้สินมากมาย ทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อได้ยาก

ตัวอย่าง คืออาเจนติน่า มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ครั้งที่5 แต่ละครั้งที่ทำข้อตกลงกับเจ้าหนี้ได้ แต่ก็เป็น
การเตรียมตัวเข้าสู่วิกฤตหนี้รอบใหม่
แม้แต่สหรัฐมีการใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคม แต่ไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายงบประมาณหรือขึ้นภาษีได้เลย
เครื่องมือการกู้ยืมทั้งภาครัฐและเอกชนก็สำคัญ ต้องสมดุลกันในเรื่องของอายุทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็เจอหนี้ก้อนใหญ่เต็มไปหมด นี่เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง ยังมีหนี้ปริมาณมหาศาล
ซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำ ไม่รวมต้นทุนแฝงของการไม่มีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ต้นทุน
โรคระบาดทั่วโลกในอนาคต
บทเรียนจากประวัติศาสตร์ในอดีตมาจากช่วงที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าประชากรเพิ่มสูงสุด
แล้วแรงงานเริ่มลดลง คนในวัยทำงานเลี้ยงดูผู้สูงอายุมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ

บทที่3 ระเบิดเวลาโครงสร้างประชากร

ประเทศที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น จีน รัสเซีย เกาหลีใต้ ไม่มีเงินมากพอ
รองรับคำสัญญาที่ให้ไว้กับแรงงานปัจจุบัน ขึ้นภาษีก็ทำไม่ได้ ทางเลือกสุดท้ายคือก่อหนี้เพิ่มโดยไม่สามารถ
ชำระคืนได้ ระบบบำนาญหลายประเทศจะมีปัญหาในอนาคต คือ เงินไม่พอจ่าย อาจแก้ปัญหาโดยปรับอายุเกษียณ

สหรัฐเคยมีผู้อพยพจากต่างชาติเต็มโรงงานและภาคบริการ กลุ่มคนเหล่านี้มาใช้บริการสาธารณะ
ก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการกีดกันต่างชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น
ในสมัยก่อน แรงงานอพยพย้ายมาประเทศใหม่เพื่อหางานทำต้องแข่งกับคนพื้นเมือง
แต่ในปัจจุบันสิ่งที่แรงงานต้องแข่งขันด้วยคืออัลกอริทึมทั้งหลาย ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ
เป็นกำแพงแบบใหม่ที่คอยขวางกั้นผู้อพยพ ทุกวันนี้หุ่นยนต์เริ่มมาแทนที่พนักงานตามโรงงานหรือoffice
แม้กระทั่งพนักงานที่มีคุณวุฒิสายอาชีพ
อนาคตประเทศสหรัฐ ไม่ต้อนรับผู้ลี้ภัยจากอเมริการกลาง ตามนโยบายของรัฐบาล
ญี่ปุ่นแก้ปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุไม่ได้อาศัยการอพยพจากประเทศอื่น แต่ผู้ประกอบการเร่งใช้หุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติมาแทน

บทที่4 กับดักของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและวงจรเศรษฐกิจฟองสบู่

เราพ้นจากวิกฤตโรคระบาดมาด้วยหนี้สินท่วมท้น ขาดดุลการคลังมหึมา และนโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายมากกว่ายุคอื่น ซึ่งทำให้เกิดฟองสบู่ในหลายสินทรัพย์
การบรรเทาความเสียหายในระดับมหภาค มีสองแนวทาง คือ
1.ให้ทุนสำรองมีมากพอ เพื่อรองรับปัญหา
2.เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยกู้ให้เอกชน ถ้าตัวเลขหนี้ภาคเอกชนสูงขึ้นจนอาจเกิดฟองสบู่

แต่ประวัติศาสตร์ก็บอกว่า นโยบายระดับมหภาคอย่างรอบคอบไม่อาจหยุดฟองสบู่ได้ถ้าผ่อนคลาย
นานเกินไป ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อหยุดฟองสบู่ไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก
แต่นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไม่อาจช่วยเราจากวงจรเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เราจำเป็น
ต้องปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์เพื่อหยุดกับดักหนี้นี้เสีย

บทที่5 เศรษฐกิจฟุบเฟ้อครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาเยือน (The Coming Great Stagflation)

ช่วงทศวรรษที่ฟ1970 หลังจากรัฐบาลสหรัฐเลิกใช้ระบบมาตราฐานทองคำโลก $อ่อนค่าลง
หนี้สินเพิ่ม วิกฤตน้ำมัน ก่อให้เกิดเงินเฟ้อสองหลัก ตอนนั้นมีเรื่องน้ำมันและพลังงานที่ทำให้
เกิด Stagflation แต่ตอนนี้มีปัจจัย 11เรื่องที่ทำให้เกิดได้แก่

1.ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลต่อเศรษฐกิจสะดุด
2.การกีดกันการอพยพแรงงานทำให้หาแรงงานค่าจ้างไม่แพงยากขึ้น ทำให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น
3.Deglobalization เพื่อหวังปกป้องแรงงาน ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ต้นุนการผลิตแพงขึ้น
4.Reshoring ย้ายฐานการผลิตกลับประเทศแม่
5.การแข่งขันอย่างดุเดือดของสหรัฐและจีน
6.ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนกับตะวันตก
7.การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจฟุบเฟ้อได้
8.โรคระบาดทั่วโลก
9.นโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้แนวโน้มค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
10.การโจมตีทางไซเบอร์ ที่นับวันจะถี่และรุนแรงขึ้น
11.การเปลี่ยนแปลง$ และสกุลเงินหลักของประเทศที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐ

ติดตาม ส่วนที่2เร็วๆนี้
โพสต์โพสต์