วิถีแห่งVI พรชัย รัตนนนทชัยสุข

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2646
ผู้ติดตาม: 273

วิถีแห่งVI พรชัย รัตนนนทชัยสุข

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วิถีแห่งVI พรชัย รัตนนนทชัยสุข
ทุ่มเททุกสิ่งให้แก่ความฝัน ซึ่งมีแต่เราเท่านั้นที่มองเห็น
สรุปโดย Seminar Knowledge by Amorn

ตั้งแต่ผมได้ร่ำเรียนความรู้จากคุณWeb ทั้งจากThaivi และสัมมนาการกุศลหลายงาน
จิตวิทยาการลงทุน เป็นคอร์สเรียนของThaivi ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นการปูทางไปสู่การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
แรกๆก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเรียน เรียนการประเมินมูลค่าหุ้นน่าจะตรงมากกว่า แต่หลังจากลงทุนไปซักพัก
เริ่มซึมซาบว่า จริงๆแล้วการลงทุนอาศัยการวิเคราะห์กิจการ และประเมินมูลค่าแค่20% แต่อีก80%ต้อง
อาศัยความรู้จิตวิทยาการลงทุนช่วย จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุน
คุณWeb ถือว่าเป็นผู้ที่ช่วยทำให้การอ่านหนังสือการลงทุนง่ายขึ้น หนังสือการลงทุนดีๆ จับมาแปลหมด
ผมอ่านตั้งแต่ยังไม่รู้จักคนแปลคนนี้เลย แต่ถ้าออกมาเมื่อไหร่เจอชื่อคนนี้ต้องซื้อ ตอนนี้หลายเล่มเป็น rare itemsไปแล้ว

เรามาเริ่มเนื้อหาในหนังสือกันครับ คุณWeb ตอบคำถามสำหรับนักลงทุนใหม่ๆว่า ทำอย่างไรจึงประสบความ
สำเร็จในการลงทุน คำตอบก็คือ หาความรู้ด้านลงทุน และให้ขจัดความไม่รู้ให้เหลือน้อยสุด
เพราะความไม่รู้จะนำไปสู่ความผิดพลาดและการขาดทุน ซึ่งคุณWebก็ผิดพลาดจากความไม่รู้มากมายหลายครั้ง

• ถ้าเราไม่รู้เรื่องการวิเคราะห์อุตสาหกรรม ถ้าธุรกิจไม่แตกต่างกัน และคูแข่งรายใหม่เข้ามาตลอด สุดท้ายการแข่งขันทำให้กำไรของผู้นำจะลดลงอย่างมาก ราคาหุ้นจะตกหนัก
• ถ้าไม่รู้เรื่องการวิเคราะห์งบการเงิน เผลอไปซื้อหุ้นPEต่ำ สุดท้ายขาดทุน เพราะไม่ได้ดูงบกระแสเงินสดซึ่งติดลบมาตลอด เพราะกำไรที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เงินสดเข้ามา แต่เป็นการขายเครดิต
• ถ้าเราไม่รู้เรื่องการวิเคราะห์ความสำคัญของผู้บริหาร อาจตัดสินใจซื้อเพราะเห็นผู้บริหารเข้ามาใหม่เก่ง แต่จริงๆหลายอุตสาหกรรมได้เปรียบเชิงแข่งขันจากโครงสร้าง ผู้บริหารอาจช่วยอะไรไม่ได้มาก
• ถ้าเราไม่รู้เรื่องการประเมินมูลค่า อาจตัดสินใจซื้อจากบทวิเคราะห์ ซึ่งนักวิเคราะห์ไม่ได้ใส่รายจ่ายการลงทุนทำให้กระแสเงินสดอิสระของกิจการสูงเกินจริง
• ถ้าเราไม่รู้เรื่องจิตวิทยาและอคติในการลงทุน ทำให้ถือหุ้นที่ขาดทุนเพราะไม่อยากรับรู้ผลขาดทุนจริงๆ คิดเข้าข้างตัวเอง ตัดสินใจด้วยอารมณ์ ให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ล่าสุดและอคติอื่นๆส่งผลเสียต่อการลงทุนอย่างมาก
• ถ้าเราไม่รู้เรื่องการจัดพอร์ตไฟลิโอและการบริหารความเสี่ยง แล้วไปถือหุ้นหลายตัวแต่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
เวลาอุตสาหกรรมไม่ดี ก็ถือว่าเราไม่ได้กระจายความเสี่ยง
ถ้าเราขจัดความไม่รูเหล่านี้ให้เหลือน้อยลง ผลลัพธ์จากการลงทุนของเราน่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความไม่รู้ไม่มีตัวเลขหรือ
มาตราวัดที่ทำให้เรารู้ได้ชัดๆ ว่าเรารู้หรือไม่รู้อะไรมากน้อยแค่ไหน

โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ เคยพูดว่า
เรามีเรื่องที่เรารู้ว่าเรารู้ (Known Knowns)
เรื่องที่เรารู้ว่าเราไม่ร็ (Known Unknowns)
เรื่องที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ (Unknown Unknowns)

ในบรรดาความไม่รู้ทั้งหมด เรื่องที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ น่ากลัวที่สุด

โฮเวิรด มาร์ค พูดในงานสัมมนาการลงทุนของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียปี2022 ว่า นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการพูดว่า
“ผมมั่นใจว่า” , “ ผมเชื่อมั่นว่า” หลายครั้งความไม่เก่งไม่ใช่สิ่งที่นำเราไปสู่หายนะ แต่เป็นความมั่นใจที่เกิดจาก
การคิดว่าเรารู้มากกว่าที่ตัวเองรู้จริงๆ หรือ รู้ผิดๆแบบไม่รู้ตัวต่างหาก

ตอนที่ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ พูดตอนปี2020 ว่าไม่ได้คิดเรื่องขึ้นดอกเบี้ย หรือ เบน เบอร์นานเก อดีตประธานเฟด
พูดก่อนเจอวิกฤตซัพพาร์ม ว่าผลกระทบปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำ มีผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยจำกัด มาถึงตอนนี้
เรารู้ว่าคำพูดของสองท่านผิดขนาดไหน มันไม่ได้หมายความว่า คนเหล่านี้ไม่เก่ง คิดผิด คิดไม่เป็น
ประเด็นคือบางเรื่องมันก็รู้ล่วงหน้าได้ยาก เรามาฟังความเห็นของกูรูกันครับ
• บัฟเฟตต์ เคยแนะนำว่า ควรเน้นเรื่องสำคัญที่เรารู้ได้ บางเรื่องสำคัญก็จริงแต่เรารู้ไม่ได้ การคาดการณ์ภาวเศรษบกิจหรือทิศทางของตลาดหุ้นในระยะสั้นเป็นเรื่องยาก
• โฮเวิร์ด มาร์ค บอกว่า ที่บริษัทของเขาไม่มีนักเศรษฐศาสตร์เลย
• ปีเตอร์ ลินซ์ พูดบ่อยๆวา การคาดการณ์ภาวะเศรษฐศาสตร์และทิศทางตลาดหุ้นระยะสั้นไม่เรื่องไร้ประโยชน์
การขจัดความไม่รู้ในการลงทุน อุปสรรคสำคัญคือไมรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ารอให้คนมาแปล ก็ช้าไป
อับราฮัม ลินคอล์น บอกว่า ถ้ามีเวลาหนึ่งชมในการตัดต้นไม้ 45นาทีแรกจะไปลับขวานของผมก่อน
การอ่านและฟังภาษาอังกฤษเหมือนการลับขวาน โลกการเรียนรู้ของเราจะกว้างใหญ่ขึ้นมาก

ความไม่รู้ที่ว่ามาถึงแม้จะสำคัญ แต่ไม่ได้สำคัญที่สุด ความไม่รู้ที่สำคัญที่สุด คือ ความไม่รู้ว่าความสุขของตัวเองคืออะไรกันแน่ ถ้าเราไม่รู้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราคงเสียเวลาใช้ชีวิตแบบที่สังคมคาดหวัง ตามล่าสิ่งที่คนอื่นยกย่อง ไม่ได้
ใช้ชีวิตกับสิ่งที่สร้างความสุขให้ตัวเองอย่างแท้จริง

สุดท้าย จุดเริ่มต้นของทุกเรี่อง รวมถึงเรื่องของการขจัดความไม่รู้ คือ การคิดจะเริ่มต้นลงมือทำ
ชาร์ลี มังเกอร์ พูดทำนองว่า ถ้าเราไม่สนใจว่าตัวเองจะเป็นคนยังไง เราก็คงจะไม่แก้ไขแล้วยังเป็นคนแบบเก่า
และผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนเดิม

ถ้าเราไม่อยากเป็นคนแบบเก่า ไม่อยากได้ผลลัพธ์แบบเดิม อยากลดความไม่รู้ อยากผิดพลาดลง
เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนการกระทำ เริ่มต้นตอนนี้เลยครับ
โพสต์โพสต์