ภูมิทัศน์ การเมืองโลก และ โอกาสของไทยใน decoupling By ดร วิทย์ สิทธิเวคิน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2645
ผู้ติดตาม: 270

ภูมิทัศน์ การเมืองโลก และ โอกาสของไทยใน decoupling By ดร วิทย์ สิทธิเวคิน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Krungsri Private Banking
5A7253FD-60C8-430B-9B9A-83D149C1B1A8.jpeg
EDA0E0E5-BDC6-4FCD-B61A-9B58C682D58E.jpeg
89B5637F-BC91-42A7-8FF9-EE01DC89CCD9.jpeg
AD8462A4-4E95-453A-BD44-8582B14186F3.jpeg
9A40BF8D-EF27-4E51-844D-6FB76BB111AA.jpeg
6743818D-C0F2-48FF-97CF-E47CCB7A4100.jpeg
3786A708-8C1A-4679-AAD9-B9C61F53C882.jpeg
4730ED6E-E014-471A-AA5A-57642103D253.jpeg
ภูมิทัศน์ การเมืองโลก และ โอกาสของไทยใน decoupling
By ดร วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณวิน พรหมแพทย์

ขอบคุณ คุณ วิน พรหมแพทย์ EVP Head of High Net-Worth Division Krungsri Bank ที่ให้โอกาสมาฟังสัมมนาดัๆครับ

ดร วิทย์ จะมาเล่าว่า โลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร จาก Globalization จนถึงปัจจุบัน เป็น decoupling
จากรูป The World Economy ,GDP by country
10ประเทศที่ GDP สูงสุดในปี2019 (ทั้งหมด 180ประเทศ)
1. US $21.43T 24.42%ของGDPโลก
2. China $14.34T 16,34%
3. Japan $5.08T 5.79%
4. Germany 5%
5. India
6. UK
7. France
8. Italy
9. Canada
10. South Korea

ส่วนประเทศไทย ให้ทายซิว่า อยู่อันดับอะไรของโลก
มีคนตอบใกล้เคียงคือ อันดับ 24
ดร วิทย์ เฉลยว่า จริงๆไทยอยู่อันดับที่27 สัดส่วน 0.6%ของGDPโลก
ส่วนถ้าคิด ต่อประชากร ไทยอยู่อันดับที่90 จาก 180 ประเทศ ตรงกลางพอดี

ย้อนกลับใน วันที่6 มิย 1944 สหรัฐยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ตอนนั้น สหรัฐรู้ว่ามีโอกาสครองโลก
ดังนั้นในเดือน กค ปีเดียวกัน ก็เลยจัดประชุมหารือเรื่องระบบการเงินของโลกใหม่
โดยเชิญรัฐมนตรีคลังของแต่ละประเทศประชุมที่ รร The Mouth Washington ในเมืองเบรตตัน วูดส์ สหรัฐอเมริกา
ตอนนั้น สหภาพโซเวียด ไม่ได้เข้าร่วมงาน
จุดประสงค์หลักคือการลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลต่างๆ เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุน
ในต่างประเทศ โดยมีข้อตกลงกันว่า จะให้ทองคำและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
และให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐผูกกับทองคำเพียงสกุลเดียว ที่อัตราแลกเปลี่ยน 35บาทต่อออนซ์
และให้ประเทศต่างๆสามารถนำเงินสกุลดอลลาร์ มาแลกเปลี่ยนทองคำตามที่ต้องการ
นอกจากนี้ได้มีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมาอีก 2 แห่ง ได้แก่
1.IMF (International Monetary Fund ) กำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
2. IBRD (ธนาคารระหว่างประเทศ เพื่อการบูรณะและพัฒนา) ปัจจุบันกลายเป็นส่วนนึงของ World Bank
นอกจากยังมี การก่อตั้ง สหประชาชาติแทน สันนิบาตชาติ

หลังจากนั้น สหรัฐเจอเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากมีการใช้จ่ายในการทำสงครามเวียดนาม เกิดการขาดดุลงบประมาณ
อย่างต่อเนื่อง สหรัฐเริ่มพิมพ์เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล
จนในที่สุด สหรัฐประกาศยกเลิกการผูกสกุลเงิน$ กับ ทองคำ ถือว่าเป็นการปิดฉากระบบ เบรตตัน ในปี1971

หลังจบสงครามโลกครั้งที่2 เจียง ไคเช็ค กับ เหมาเจ๋อตุง ก็กลับมาแข่งขันกันอีก
ช่วงนั้นทางสหรัฐก็ส่งคนมาเพื่อเกิดความร่วมมือ ทั้งสองฝ่าย ปรากฏว่า เหมาเจ๋อตุงไม่เห็นด้วย ก็เลยรบกันต่อ

ตอนนั้นโลกแบ่งออกเป็นสองค่าย
1.สหรัฐ กับ NATO
2. สหภาพโซเวียด กับ วอร์ซอแพค
ตอนนี้วอร์ซอแพค สูญหายไปแล้ว ทำให้สมดุลที่ผ่านมา ไม่เกิดการสมดุล

ปี1962 สหภาพโซเวียดได้ทำการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด 78 ครั้ง พบว่าสามครั้ง ทีทำให้เกิดระเบิด
ที่ทรงพลังที่สุด แต่ละครั้ง ก่อให้เกิดแรงระเบิด 20,000 กิโลตัน
ตอนนั้น นิวเคลียร์สามารถยิงไปแต่ละประเทศในเวลาไม่กี่นาที ทำใหแต่ละฝ่ายหยุดทำสงครามนิวเคลียร์ไป

ปี1989 กำแพงเบอร์ลิน ถูกถล่ม เกิด Globalization และ สหภาคโซเวียดล่มสลาย
Supply Chain ทั่วโลกเชื่อมต่อกัน , Eu พึ่งพาแก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งผ่านท่อ NorthStream จากรัสเซีย

ปี2001 US ชวนจีนเข้าWTO ซึ่งจะเรียกได้ว่าเป็น Globalization
บริษัท APPLE เข้าตลาดหลักทรัพย์ปี 1980 Market cap 1,600 ล้าน$ ตอนนี้ 3ล้านล้าน$
ทิม คุก เยือนจีนเมื่อต้นปี2023 , Warren Buffett ถือ apple 50%
Tesla ซื้อโรงงานผลิตรถยนต์เก่าจากโตโยต้า ปี2016 เซ็นต์สัญญากับจีนเข้าลงทุนรถEVในจีน และถ่ายทอด
เทคโนโลยีให้กับจีน
CATL (หนีเต๋อชื่อไต้) เป็นบริษัทBatteryรถยนต์

สรุป ทุกคนต่างเป็น supply chain ซึ่งกันและกัน

ถ้าย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งตอนสมัย กรุงศรีอยุธยา ช่วงพระเจ้าปราสาททอง (ก่อนพระนารายณ์มหาราช) เราก็เข้าสู่Globalization โดย เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van vliet) เป็นพ่อค้าเนเธอร์แลนด์ ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย
เป็นผู้อำนวยการการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก ประจำกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ถ้าเป็นชื่อไทย คือ วัน วลิต ถ้าดูจากภาพ ไทย ถือว่าเป็นเวนิส ตะวันออก

ประเทศไทย ในช่วงสงครามโลก จะเลือกเป็นกลาง และ อยู่ข้างคนชนะ โดยดูได้จากสงครามโลกครั้งที่1,2
นายกรัฐมนตรีไทย เช่น คุณ ถนัด คอมันต์ เคยไปพบ JFK มา หรือ พอ เกรียงศักดิ์ พบ Jimmy Carter
ซึ่งไทยก็ตกลงจะช่วยสหรัฐ เช่น จับขุนส่า ซึ่งประเทศอื่นๆจับตัวไม่ได้ หรือ ตอนช่วงตะวันออกกลางมีน้ำมัน
สหรัฐก็ไม่อยากพึ่งพิงตะวันกลาง ก็เลยมาชวนทุกประเทศสำรวจแหล่งพลังงาน ไทยไม่เจอน้ำมันแต่ไปเจอแก๊สธรรมชาติ
ในช่วงที่ พอ เปรม เป็นนายก และ พอ ชาติชาย เป็น รมต อุตสาหกรรม

ตอนปี 1974 ญี่ปุ่นมีGDP 60%ของสหรัฐ ดังนั้น จึงบีบญี่ปุ่นผ่านการลดค่าเงินUSลงทำให้เงินเยนแข็งค่า
(Plaza accord). ญี่ปุ่นมีสองทางเลือกในการออกไปลงทุน ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิสต์และยานยนต์ คือ สเปนและไทย สุดท้ายเลือกไทย เพราะมีปิโตรเคมี ทำให้ไทยพัฒนาอุตสาหกรรมไปไกล อุตสาหกรรม อิเลคทรอนิสต์ และยานยนต์

กลับมาที่ฝั่งยุโรป หลังจากที่สวีเดนเข้าNato รัสเซียกลัวว่ายูเครนจะเข้าNatoอีก ทำให้มีความเสี่ยงถูกรุกราน
จึงเกิดสงคราม ยูเครน รัสเซีย

Tech War เกิดขึ้นในปี2018 เนื่องจากGDP จีนใกล้สหรัฐมาก ยังมากกว่าช่วงญี่ปุ่นตอนปี1974
US มีความสัมพันธ์อันดีกับซาอุมาตั้งแต่ 91 ปีก่อน ผ่านยูโนแคล ปัจจุบัน เนื่องจากตัดขาดกับรัสเซีย
เลยต้องหาพันธมิตรน้ำมัน ไปซาอุขอให้ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต แต่เนื่องจากตอนนี้มกุฎราชกุมาร
มาดูแลแทนพ่อ เลยปฏิเสธการเพิ่มกำลังการผลิต เป็นที่มาของการเกิด decoupling

ส่วนอินเดีย คงศึกษาไทยมาเป็นอย่างดี
ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคง ก็ร่วมมือกับสหรัฐ
แต่ถ้าเป็นเรื่องความมั่งคั่ง ก็ไปจับมือกับจีน รัสเซียแทน

ไต้หวัน คุณไช่อิงเหวิน ผู้นำจากพรรคก้าวหน้า จะไม่ค่อยถูกกับจีน แต่ถ้าเป็นก่อนหน้า คุณหม่าอิงจิ่ว อยู่พรรคก๊กมินตั๋ง
เคยถ่ายรูปคู่กับสีเจี้ยนผิง ดังนั้นต้องดูว่า การเลือกตั้งสมัยหน้าในปีหน้าว่าใครได้เป็นรัฐบาล

จีนพยายามเสนอตัวเป็นตัวกลาง เพื่อมีบทบาทมากขึ้น ช่วงที่ซาอุ ทะเลาะกับ อิหร่าน ไม่คุยกันนาน
ถึงแม้นับถืออิสสามเหมือนกัน แต่เป็นชีอะ กับสุหนี่ จีนเป็นกาวใจให้ทั้งสองประเทศคุยกัน

ถึงแม้สหรัฐกับจีน มีTech War แต่ สหรัฐก็ส่ง เฮนรี่ คริสซิงเจอร์ อายุ 100ปีมาพบสีเจี้ยนผิง(คงมาชวนซื้อพันธบัตร)
ดังนั้น แต่ละประเทศมีหลายมิติ ไม่ใช่แข่งขันกันโดยตรง รัฐบาลไม่ถูกกัน แต่เอกชนก็ยังคุยกัน

ช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพ APEC2022 เป็นงานหิน เพราะมีจีน สหรัฐ ไต้หวัน รัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำในAPEC แต่ไม่ถูกกันมา
ไทยก็ฉลาด ใช้สิทธิที่เป็นเจ้าภาพ เชิญมาได้อีกสามประเทศ ก็เลยชวน
1.สมเด็จฮุนเซนมา แต่พอดีติดโควิด เลยไม่ได้มา
2.มกุฏราชกุมาร ของ ซาอุมางานนี้ ซาอุต้องการเป็นเพื่อนกับไทย เลยจบเรื่องคดีปล้นเพชรเมื่อ30ปีก่อน
เขาต้องการให้ไทยช่วยเรื่องอาหาร และ อะไหล่รถยนต์ เนื่องจาก
บ้านเขา อาหารไม่เพียงพอ และ ต้องการอะไหล่รถยนต์จากการให้ผู้หญิงสามารถขับรถได้โดยเริ่มจากรถสามี
ดังนั้นอะไหล่รถยนต์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้องซ่อมรถเก่าของสามี
3.เชิญมาโครมจากฝรั่งเศสมาไทย พูดเวที เอแบค ซึ่งคู่ขนานกับAPEC
ฝรั่งเศสจะพูดว่า ไทยมาเป็นเพื่อนกับยุโรปได้ไหม ต้องการดึงดูดนักลงทุนไทยไปลงทุนที่ฝรั่งเศสและยุโรป
ตอนนี้ไทยไปลงทุนในเกษตรกรรมและไร่ไวน์ในฝรั่งเศสเยอะ

ไทยถือเป็น super system integrator เพราะมีค่ายรถมาตั้งในไทยเกือบทุกbrand
รถEV 6 ล้านคัน จีนผลิตรถEV มีสัดส่วนที่เยอะ เลือกมาตั้งฐานการผลิตที่ไทย
คู่แข่งรถยนต์ ญี่ปุ่นมองว่า ปล่อยไว้ จะเสียส่วนแบ่ง
ผู้บริหารรุ่นที่สาม ของโตโยต้า มางานครบรอบ60ปีโตโยต้าที่ไทย และบอกว่า จะอยู่กับไทยต่อ
ซึ่งถือว่า การบริการของโตโยต้าหลังการขาย ถือว่าดีมาก คนไทยเลยใช้บริการเยอะ
ต้องมาดูว่า ยังรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ไหม

ทีมฟุตบอล กาน่า ที่แข่งขันล่าสุดมี sponsor คือ Vitamilk
เพราะก่อนหน้านี้ เศรษฐีกาน่ามาเที่ยวประตูน้ำ แล้วหยิบนมvitamilk โดยนึกว่าเป็น นมวัว
แต่หลังจากชิมแล้วติดใจ เลยสั่งกาน่าตลอดเวลา จนฝ่ายการตลาดเห็นยอดขายไปกาน่า
เลยติดต่อให้เป็นdistributor ทำให้ vitamilk มีขายที่กาน่า

สรุป โลกวิ่งเข้าหาไทยตลอดเวลา จากตัวอย่างที่ ดร วิทย์เล่ามา
นักท่องเที่ยวที่มาไทยปีนี้คาดว่า 30ล้านคน เห็นสินค้าไทย
รวมถึง soft power ไทย ตลอดเวลา
ดังนั้น ขึ้นกับว่า ไทยจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร
โพสต์โพสต์