UBS ควบ CREDIT SUISSE ไม่จบ! CoCo Bond ระเบิดลูกใหม่?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1964
ผู้ติดตาม: 108

UBS ควบ CREDIT SUISSE ไม่จบ! CoCo Bond ระเบิดลูกใหม่?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

UBS ควบ CREDIT SUISSE ไม่จบ! CoCo Bond ระเบิดลูกใหม่? - Money Chat Thailand : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

phpBB [video]
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1964
ผู้ติดตาม: 108

Re: UBS ควบ CREDIT SUISSE ไม่จบ! CoCo Bond ระเบิดลูกใหม่?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Appropriateness Policy and Credit Suisse AT1 / วรภัค ธันยาวงษ์

ข่าวนักลงทุนในตราสาร AT1 ออกมาโวยวายทำให้ผมนึกถึงสมัยทำงานอยู่ธนาคารต่างชาติทุกธนาคารจะมีนโยบายที่เรียกว่า Appropriateness Policy ที่เป็นนโยบายในการพิจารณาผลิตภัณฑ์ของธนาคารก่อนนำไปเสนอขายให้กับลูกค้าหรือนักลงทุน ว่าผลิตภัณฑ์นี้มีความเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าของธนาคารหรือไม่อย่างไร ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงเกินหรือผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่ค่อยคุ้มธนาคารก็จะไม่นำไปเสนอขาย และถ้าธนาคารอนุมัติว่าผลิตภัณฑ์นี้มีความเหมาะสมในการนำไปเสนอให้กับลูกค้าของธนาคารแล้วก็ยังมีขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดหรือพนักงานขายต้องอธิบายให้ลูกค้าหรือนักลงทุนเข้าใจถึงเงื่อนไขหลักๆและปัจจัยความเสี่ยงหลักๆของแต่ละผลิตภัณฑ์ตาม sales script หรือ sales memorandum ส่วนรายละเอียดของเงื่อนไขของตราสารส่วนใหญ่จะหนาเป็นหลาย 100 หน้าอยู่ในเอกสารที่เรียกว่า prospectus นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่จะค่อนข้างดูละเอียดหรือบางทีอาจจะมีนักกฎหมายมาช่วยดูเสริมอีกด้วยในขณะที่นักลงทุนรายย่อยถึงแม้จะเป็น HNW หรือ family offices ก็มักจะไม่ดูละเอียดนักฟังพนักงานขายซะมากกว่า 

เมื่อวานหลังจากมีข่าวดีว่าทางการสวิสฯสามารถเจรจาให้ธนาคารยูบีเอสเข้ามาซื้อกิจการของธนาคารเครดิตสวิสซึ่งมีปัญหาไปได้แล้วตามที่เราเห็นในข่าว และหวังว่าดีลประวัติศาสตร์นี้จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของลูกค้าธนาคารผู้ฝากเงินและความเชื่อมั่นของนักลงทุนกับระบบตลาดเงินตลาดทุนโดยรวม แต่ปรากฏว่าตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้เป็นต้นมาจนถึงช่วงดึกคืนนี้ตามเวลาเมืองไทยมีข่าวออกมามากมายถึงความไม่พอใจของนักลงทุนตราสารหนี้ที่ถือตราสาร AT1 ของธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งตามเงื่อนไขการเข้าซื้อกิจการ ทางการสวิสให้ นักลงทุนกลุ่มนี้แทงหนี้เป็นศูนย์ ช่วงวันที่ผ่านมาเริ่มมีข่าวโวยวายจากกลุ่มนักลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก ที่ถูกผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นจำนวนเงินรวมกันถึง USD 17Bln เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะไม่เข้าใจรายละเอียดเงื่อนไขของตราสารลักษณะนี้ดีพอ และโดยทั่วไปนักลงทุนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนแบบนี้ยังไงก็ต้องมีบุริมสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญ ในเมื่อการขายที่ประกาศมาเมื่อวานนี้ผู้ถือหุ้นสามัญของธนาคารเครดิตสวิสยังสามารถนำหุ้นเดิมมาแลกหุ้นใหม่ของธนาคารยูบีเอส ได้เป็นจำนวนเงินถึง USD 3.25Bln แล้วทำไมนักลงทุน AT1 กลุ่มนี้ถึงไม่ได้รับชำระเงินสักแดงเดียว

ผมจะเขียนอธิบายเป็นภาษาไทยเท่าที่จะสรุปได้ดังนี้ แต่จุดสำคัญคือเงื่อนไขเรื่อง point of non viability ที่อยู่ช่วงท้ายสุดซึ่งผมคิดว่าเป็น “จุดสลบ” ของนักลงทุนที่จะเรียกร้องกับทางการสวิสฯ
ซึ่งเศรษฐีเมืองไทยก็คงโดนกันไปหลายรายพอสมควรกับตราสาร AT1 เหล่านี้ และผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้คงทำให้ตลาดตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของสถาบันการเงินทั้งหลายหมดเสน่ห์กับนักลงทุนไปพอสมควร 

AT1 คืออะไร?
Additional Tier 1 (AT1s) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตราสารทุนของธนาคารที่เรียกว่า contingent Convertibles หรือ 'Cocos' แปลงสภาพได้เนื่องจากสามารถแปลงจากพันธบัตรเป็นทุนได้ (หรือตัดเป็นมูลค่าทั้งหมด เสมือนส่วนทุนในกรณีที่ธนาคารมีผลขาดทุนมากๆ) หรือเกิดการแปลงสภาพเป็นทุนก็ต่อเมื่อตรงตามเงื่อนไขบางประการ เช่น ความแข็งแกร่งด้านเงินทุนของธนาคารผู้ออกบัตรลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

'Loss Absorption Mechanism- กลไกดูดซับความสูญเสีย' นี้เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง AT1 และพันธบัตรปกติ และนั่นหมายความว่า AT1 มักจะเป็นพันธบัตรธนาคารที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดที่นักลงทุนสามารถซื้อได้ เนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้คาดหวังว่าจะได้รับการชดเชยสำหรับความเสี่ยงเพิ่มเติม
ทำไมธนาคารถึงออก AT1s?

หลังจากที่รัฐบาลและผู้เสียภาษีจำเป็นต้องเข้ามาเยียวยาธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งในช่วงวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 หน่วยงานกำกับดูแลได้เคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของฐานเงินทุนของระบบธนาคาร และสำหรับธนาคารในยุโรป AT1 ก็เป็นส่วนสำคัญของเรื่องนี้
ภายใต้กรอบการกำกับดูแลใหม่ที่เรียกว่า Basel Ill ธนาคารต่างๆ ต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของผู้ถือหุ้นสามัญขั้นต่ำ 4.5% (หุ้นสามัญบวกกำไรสะสมหารด้วยสินทรัพย์เสี่ยง (RWAs)) และอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ 8%

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศมักกำหนดข้อกำหนดด้านเงินทุนขั้นต่ำสำหรับธนาคารรายใหญ่แต่ละแห่งเป็นรายบุคคล ซึ่งมักจะสูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำระดับโลกเหล่านี้อย่างมาก (เพราะถือว่ามีความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์กับระบบธนาคารภายในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ)
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านฐานเงินทุนทั้งหมด ธนาคารต่างๆได้รับอนุญาตให้เพิ่มส่วนทุน ในกองทุนชั้นที่หนึ่ง (Tier 1) ด้วย AT1 ประมาณ 1.5% ของ RWAs และประมาณ 2% ในเงินกองทุนชั้นที่สอง (Tier 2) ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ พอใจที่ธนาคารต่างๆ ใช้ประโยชน์จากตลาดที่มีความมั่นคงอย่างรวดเร็วสำหรับส่วนทุนบุริมสิทธิเพื่อเติมเต็ม AT1 ของ แต่ละธนาคาร ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลในยุโรปเริ่มสร้างระบอบ 'การแก้ปัญหา' ของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การสร้างพันธบัตร AT1 แบบเฉพาะกิจในปี 2013

พันธบัตร AT1 มีคุณสมบัติพื้นฐานสามประการ
คุณลักษณะแรกและที่สำคัญที่สุดในมุมมองของเราคือ loss absorption mechanism ซึ่งจะถูก 'triggered' เมื่ออัตราส่วนเงินกองทุน CET1 ของธนาคารผู้ออกบัตรต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยปกติทริกเกอร์นี้จะอยู่ที่ 5.125% หรือ 7% CET1 ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ เมื่อถึงระดับทริกเกอร์นี้ ธนบัตรจะถูกแปลงเป็นทุนโดยอัตโนมัติหรือใช้แทนทุนในการตัดหนี้ศูนย์หรือตัดส่วนสูญเสียเต็มจำนวน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเอกสารพันธบัตรแต่ละฉบับ

ประการที่สอง หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดให้เงินทุนของธนาคารมีลักษณะ perpetual ดังนั้น พันธบัตร AT1 จึงไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน แต่ ตามเงื่อนไขปกติธนาคารสามารถจะขอไถ่ถอนตราสาร AT1 ทุกๆปีที่ 5 หรือปีที่ 10 (ภาษานักลงทุนพันธบัตรจะเรียกกันว่า non call 5, non call 10) และนักลงทุนทุกรายมักคาดหวังว่าธนาคารผู้ออกจะเรียกและ นำกำไรสะสมมาชำระคืน AT1 หากไม่มีการไถ่ถอนพันธบัตร คูปองจะรีเซ็ตเป็นอัตราที่เทียบเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงหรือพันธบัตรรัฐบาลบวกเครดิตสเปรด

ประการที่สาม การจ่ายคูปอง AT1 นั้นไม่มีการสะสมและเป็นไปตามดุลยพินิจ การไม่จ่ายผลตอบแทนของตราสาร AT1 จะไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสำหรับธนาคาร และการไม่ชำระเงินก็ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้

ความเสี่ยงของ AT1 คืออะไร?
ประการแรก ความเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุดคือฐานะเงินกองทุนของธนาคารลดลงจนถึงระดับที่อัตราส่วน CET1 ต่ำกว่าระดับกระตุ้น ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นกู้ AT1 อาจสูญเสียเงินต้นทั้งหมดหรือเหลือส่วนของผู้ถือหุ้นในธนาคารที่มีทุนต่ำ อย่างไรก็ตาม ธนาคารในยุโรปที่ใหญ่ๆ (และด้วยเหตุนี้จึงเป็นผู้ออก AT1 รายใหญ่ที่สุด) มักจะมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง อัตราส่วน CET1 เฉลี่ยทั่วทั้งภาคส่วนในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 อยู่ที่ 14.98% ซึ่งหมายความว่าธนาคารมักจะมีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่เหนือระดับทริกเกอร์ AT1 และจะต้องมีการสูญเสียจำนวนมากอย่างแท้จริงจึงจะโดน triggered ได้

ประการที่สอง ธนาคารสามารถเลือกที่จะไม่ call หรือไถ่ถอนพันธบัตร AT1 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ไม่มีการ call หรือไถ่ถอนตามที่คาดไว้ หรือที่เรียกว่า 'renewal risk' ในทางทฤษฎี ธนาคารสามารถเลือกที่จะไม่ไถ่ถอนพันธบัตรและรักษาเงินทุนไว้ได้ตลอดไป ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่คล้ายกับตราสารทุนของ AT1 ซึ่งทำให้เป็นเงินทุนที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากมุมมองด้านกฎระเบียบ อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะไม่ไถ่ถอนพันธบัตร AT1 ตามที่คาดไว้ ตอนสิ้นปีที่ห้า ก็จะทำลายชื่อเสียงของธนาคารกับนักลงทุนอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นในอนาคต อยากลงทุนที่มาลงทุนกับตราสาร AT1 ทุกรายมีความคาดหวังว่าพันธบัตรจะถูกไทยถอนเมื่อสิ้นปีที่ 5 หรือสิ้นปีที่ 10 ตามแต่จะกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนต้น

ประการที่สาม ผลตอบแทนของตราสาร AT1 สามารถถูกระงับได้โดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ ภายใต้กฎที่รู้จักกันในชื่อ Maximum Distributable Amount หรือ MDA หน่วยงานกำกับดูแลสามารถจำกัดการจ่ายผลตอบแทนของธนาคาร (รวมถึงคูปอง การตอบแทนของตราสาร AT1) หากอัตราส่วนเงินกองทุน CET1 ต่ำกว่าระดับที่กำหนด แม้ว่าจะเช่นเดียวกับระดับทริกเกอร์ AT1 แต่โดยทั่วไปแล้วธนาคารในยุโรปจะรักษาระดับบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ไว้สูงกว่า เกณฑ์ MDA แต่ละรายการที่ได้รับ หน่วยงานกำกับดูแลยังสามารถหยุดการแจกจ่ายเพื่อ จะรักษาเสถียรภาพฐานเงินทุนในระบบธนาคาร ในกรณีที่สภาพเศรษฐกิจมีความผันผวนหรือในกรณีที่ฐานทุนของระบบธนาคารอาจจะถูกกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญจากการประมาณการ stress test อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานกำกับดูแลต้องการหยุดการจ่ายผลตอบแทนอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อฐานทุนของธนาคาร เช่น การจ่ายเงินปันผลและเงินกองกลางก่อนที่พวกเขาจะหันไปใช้การระงับคูปอง AT1 เช่นเดียวกับที่พวกเขาทำเพื่อตอบสนองต่อวิกฤต COVID ในปี 2020

Point of non viability
มีองค์ประกอบด้านกฎระเบียบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ความสามารถในการชำระหนี้ของธนาคารจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ (หรือธนาคารกลางยุโรปสำหรับธนาคารในสหภาพยุโรป) หากธนาคารประสบกับปัญหาร้ายแรง หน่วยงานกำกับดูแลสามารถประกาศจุดที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (non viability) เพื่อพยายามปกป้องผู้ฝากเงิน ยับยั้งการขาดทุน และป้องกันการการลุกลามของการขาดความเชื่อมั่น

ธนาคารในยุโรปโดยทั่วไปมีอัตราส่วน CET1 ในช่วงประมาณ 15% กองทุนส่วนใหญ่จึงมั่นใจว่าหน่วยงานกำกับดูแลใดจะไม่ปล่อยให้สถานการณ์เลวร้ายดำเนินต่อไปนานพอที่อัตราส่วน CET1 ของธนาคารจะลดลงเหลือ 7% หรือนับประสาอะไรกับ 5.125% ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงมีแนวโน้มว่า non viability point จะเกิดขึ้นในช่วงระดับเงินกองทุนที่สูงกว่าระดับทริกเกอร์ที่ เป็นเงื่อนไขในตราสาร AT1 ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนจะต้องเข้าใจกับข้อกำหนดด้าน capital requirement ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศสำหรับธนาคารแต่ละแห่ง และพิจารณา stress test exercise ในแต่ละปีอย่างละเอียด

วรภัค ธันยาวงษ์
21 มีนาคม 2023
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1964
ผู้ติดตาม: 108

Re: UBS ควบ CREDIT SUISSE ไม่จบ! CoCo Bond ระเบิดลูกใหม่?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มาย้อนกลับไปรู้จัก Basel III Bond กันเถอะ / Nat Luengnaruemitchai
.
ในปี 1974 Herstatt Bank ธนาคารในประเทศเยอรมันที่เป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดเงินตราต่างประเทศ ได้พนันผิดข้างในเงินดอลลาร์สหรัฐ​ ทำให้ธนาคารขาดทุนอย่างหนัก จนกระทั่งธนาคารถูกปิดโดยหน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมัน แต่ก็ทำให้เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักในตลาดเงิน จนกลุ่มประเทศ G-10 ในเวลานั้นได้ก่อตั้ง Basel Committee on Banking Supervision ภายใต้การควบคุมดูแลของ Bank for International Settlements โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงในการชำระเงิน (settlement risk) ซึ่งหนึ่งในกลไกที่หน่วยงานนี้ได้ร่างไว้ก็คือ ข้อตกลง Basel (Basel Accord) โดยมี
.
Basel I หรือที่เคยเรียกว่า Basel Capital Accord ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1988 เมื่อเศรษฐกิจโลกเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีธนาคารที่ต้องทำธุรกรรมระหว่างกันมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความกังวลว่า หากมีธนาคารหนึ่งล้มไป ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาในวงกว้างได้ ซึ่งในตอนแรก ก็มีเพียงกลุ่มประเทศ G-10 ที่นำมาตรฐานนี้ไปบังคับใช้ในช่วงปี 1992 แต่หลังจากนั้น ประเทศนอกกลุ่ม G-10 ก็นำมาตรฐานนี้ไปใช้โดยปรับเปลี่ยนเล็กน้อย โดยหัวใจสำคัญของ Basel I คือการกำหนดให้มีเงินสำรองขั้นต่ำสำหรับสถาบันการเงิน โดยใช้วิธีการคำนวณเป็นร้อยละของสินทรัพย์เสี่ยงแบบถ่วงน้ำหนัก (risk-weighted asset) และการถือเงินสดสำรองไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 9 ชองสินทรัพย์เสี่ยงถ่วงน้ำหนัก
.
ส่วน Basel II ได้ออกมาในปี 2004 เพื่อเป็นส่วนต่อขยายจาก Basel I โดยเพิ่มหลักสามข้อ คือ
1. การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ
2. การตรวจสอบดูแลความเพียงพอของเงินกองทุน/กระบวนการการตรวจสอบภายใน และ
3. การเปิดเผยข้อมูลข้อมูล รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการดำเนินงานที่ดี
และได้มีการออกเพิ่มเติมเป็น Basel 2.5 ในปี 2009 หลังจากการล้มละลายของ Lehman Brothers เพื่อให้สามารถสะท้อนภาพความเสี่ยงจากตลาด (market risk) ได้ดีขึ้น โดยการทำ VaR (Value at Risk) มาใช้ในการทำ stress test เพื่อดูความเสี่ยงของสถาบันการเงินภายใต้สภาวะตลาดที่ผันผวน
.
ส่วน Basel III เป็นมาตรฐานล่าสุดในการนิยามเงินกองทุน (capital) อัตราเงินกองทุน (capital ratio) และการกำหนดอัตราทด (leverage ratio) รวมไปถึงการนำมาตรฐานใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สะท้อนภาพฐานะความมั่นคงของสถาบันการเงิน โดยดูถึงความเสี่ยงในมุมต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น เรื่องของสภาพคล่อง ความเสี่ยงของคู่สัญญา เป็นต้น โดยข้อตกลงนี้ได้ถูกนำมาปรับปรุงในช่วงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 2008 ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์ในปี 2010-2011
.
สิ่งหนึ่งที่ Basel III นิยามไว้ก็คือ การกำหนดความชัดเจนของประเภทของเงินกองทุน โดยมีการแบ่งประเภทของเงินกองทุนที่มีความชัดเจนดังนี้

- Core Tier 1 (CET1) ซึ่งประกอบไปด้วย Common Equity เช่น หุ้นสามัญ กำไรสะสม ส่วนของผู้ถือหุ้นอื่น
- Additional Tier 1 (AT1) เป็นตราสารทางการเงินที่มีอายุไม่กำหนด (perpetual) แต่สามารถมีเงื่อนไขในการไถ่ถอนได้หลังจาก 5 ปี และต้องมีเงี่อนไขในการแปลงเป็นทุน หรือจำหน่ายเป็นหนี้สูญเมื่อเกิดเข้าข่าย write-down event
- Supplementary Tier 2 (T2) เป็นตราสารทางการเงินแบบด้อยสิทธิ์ที่มีกำหนดอายุการชำระคืนไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณ๊ที่เกิดปัญหา ตราสารดังกล่าวอาจจะถูกจำหน่ายเป็นหนี้สูญ แต่หลังจากที่ความเสียหายเกินกว่าที่ CET1 และ AT1 สามารถที่จะรองรับได้
.
และการออกมาตรฐานที่ชัดเจนนี้เองทำให้การออกหุ้นกู้เพื่อนำมานับเป็น Additional Tier 1 (AT1) และ Supplementary Tier 2 (T2) ได้รับความนิยมมาก จนบางครั้งถูกเรียกว่า Basel III Bond นั่นเอง เพราะหุ้นกู้ดังกล่าวสามารถถูกนับเป็นเงินกองทุนได้ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ซึ่งในปัจจุบัน มีตราสารดังกล่าวคงค้างอยู่หลายแสนล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
.
อย่างไรก็ตามหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง จึงได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่ความเสี่ยงของหุ้นกู้ดังกล่าวนั้นกลับไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเวลาที่สถาบันการเงินมีปัญหา ว่าสถาบันการเงินนั้นจะสามารถอยู่รอดได้หรือไม่ และจะถูกแทรกแซงจากหน่วยงานกำกับมากน้อยเพียงไร เพราะการแทรกแซงนั้นอาจจะทำให้เกิด trigger event ซึ่งทำให้เกิดการ bail in โดยการ write down ตราสารเหล่านี้ เพื่อนำมาเพิ่มเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินในกรณีที่สถาบันการเงินมีปัญหานั่นเอง
.
ตัวอย่างที่ดีคงหนีไม่พ้นเคสของ Credit Suisse ที่เงินกองทุนยังดูเหมือนเพียงพอ แต่ความกังวลของนักลงทุนทำให้เกิดปัญหา Bank run จนกระทั่งธนาคารมีปัญหา และถูกแทรกแซงโดยหน่วยงานกัำกับ จนไป trigger เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหุ้นกู้ดังกล่าว และถูกบังคับให้จำหน่ายเป็นหนี้สูญ (write-down) นั่นเอง
.
อย่างในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการออก Basel III Bond เช่นกัน เช่น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ออกตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 (หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์) วงเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้ Euro Medium Term Note Programme อัตราดอกเบี้ย 5.275% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 5 เดือน และ Reset ดอกเบี้ยทุก 5 ปี ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด​ (มหาชน) ได้ออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ วงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดอกเบี้ย 5% ต่อปี
https://www.bot.or.th/.../Basel_III_Pap ... n_2011.pdf
336910516_1182540562453170_5003891513334893953_n.jpg
โพสต์โพสต์