CJ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

CJ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

CBG เตรียมยื่นไฟลิ่ง CJ ใน Q2/66 คาดเข้าตลาดหุ้น Q4/66 ระดมทุนใช้ชำระหนี้


ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 22, 2022 17:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.คาราบาวกรุ๊ป (CBG) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมนำธุรกิจค้าปลีก ภายใต้ บริษัท ซี.เจ.เอ็กเพรส กรุ๊ป จำกัด (CJ) ในกลุ่มคาราบาว เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยคาดว่าจะยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯและตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายในไตรมาส 2/66 และหวังว่าจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ภายในไตรมาส 4/66 โดยมีที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บล.กสิกรไทย และบล.ภัทร



นายเสถียร กล่าวว่า เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วธุรกิจ CJ จะมีมูลค่าตลาด (Market Cap) เกิน 1 แสนล้านบาท และมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนโดยนำเงินจาก IPO ส่วนใหญ่ไปชำระคืนหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน

"แผนการเข้าตลาดหุ้นของ CJ เลื่อนมาจากปีที่แล้ว เพราะโควิด แต่ตอนนี้สถานการณ์ต่างๆกลับมาดีขึ้น ทำให้ธุรกิจของ CJ กลับมาดีขึ้นตามฟื้นตัว เห็นได้จากยอดขายที่ดีขึ้นมาตามลำดับ และเราเองก็มีการขยายสาขา CJ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ธุรกิจ CJ เติบโตขึ้นต่อเนื่อง และเป็นโอกาสที่ดีในปีหน้าที่จะนำ CJ เข้าตลาดฯ" นายเสถียร กล่าว

ด้านผลการดำเนินงานของ CJ ในปี 65 มั่นใจว่ารายได้จะทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 2.8 หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่ทำได้ 2.2-2.3 หมื่นล้านบาท และมั่นใจว่าจะทำกำไรได้ถึง 2 พันล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท โดยที่เห็นการเติบโตของยอดขายมาอย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และพฤติกรรมของคนในปัจจุบันนิยมหันมาซื้อสินค้าในร้านค้าใกล้บ้านมากขึ้น ทำให้ร้าน CJ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับชุมชน รวมถึงบริษัทยังเดินหน้าขยายสาขาร้าน CJ ซึ่งตั้งเป้าจะมีสาขาทั้งหมด 2,000 สาขาภายในปี 69 จากสิ้นปี 65 จะมีสาขา 1,000 สาขา โดยปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 800 สาขา

สำหรับปี 66 จะยังคงมีแผนการขยายสาขา CJ เพิ่มอีก 250 สาขา โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 8 ล้านบาท/สาขา พร้อมอยู่ระหว่างการมองหาพันธมิตรด้านอีคอมเมิร์ชที่จะเข้ามาร่วมเสริมศักยภาพในการพัฒนาช่องทางการขายออนไลน์ให้กับกลุ่มคาราบาว เพื่อช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์และผลักดันยอดขายของสินค้าในกลุ่ม CBG ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มีการพูดคุยกับพันธมิตรต่างชาติหลายราย แต่ยังไม่มีความชัดเจน
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

CJ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

‘เสถียร’ปั้นแผนค้าปลีก ส่งซีเจเข้าเทรดปี66


บิ๊กเสถียรกลุ่มคาราบาวบุกตลาดค้าปลีกเต็มสูบ เตรียมยื่นไฟลิ่งนำ CJเข้าตลาดหุ้นไตรมาส2/2566คาดมาร์เก็ตแคปเกินแสนล้านบาท พร้อมดัน ร้านถูกดี เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนทั่วไทย มี KBANK ร่วมลงทุนและปล่อยกู้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท รุกสาขาแตะ 3หมื่นล้านบาท ปี 2567 ปีหน้าโกย 7 หมื่นล้านบาท

นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มคาราบาวกรุ๊ป เปิดเผยว่า ทางกลุ่มเตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด (CJ Express Group) ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ CJ ที่อยู่ในกลุ่มคาราบาว ช่วงไตรมาส 2/2566ให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณา เพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) SET ปี 2566 โดยแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทหลักทรัพย์ภัทร ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจ CJ จะมีมูลค่าตลาด (Market Cap) เกิน 1แสนล้านบาท และมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนโดยนำเงินจาก IPO ส่วนใหญ่ไปชำระคืนหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน

ขณะที่ ผลการดำเนินงานของของ ร้าน CJ ในปี 2565 คาดว่ารายได้จะทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 2.8หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่ทำได้ 2.3หมื่นล้านบาท และคาดว่า ปี 2566 ร้าน CJ คาดว่าจะมีกำไร 2 พันล้านบาท จากปีก่อน 1.4พันล้านบาท รวมถึงบริษัทยังเดินหน้าขยายสาขาร้าน CJ ซึ่งตั้งเป้าจะมีสาขาทั้งหมด 2,000 สาขา ในปี 2569จากสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะขยายสาขาเพิ่มเป็น 1,000สาขา โดยปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 800 สาขา

โดยในปี 2566จะยังคงมีแผนการขยายสาขาร้าน CJ เพิ่มอีก 250สาขา โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ย 8 ล้านบาทต่อสาขา พร้อมอยู่ระหว่างการมองหาพันธมิตรด้านอีคอมเมิร์ซ ที่จะเข้ามาร่วมเสริมศักยภาพในการพัฒนาช่องทางการขายออนไลน์ให้กับกลุ่มคาราบาว เพื่อช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มการขายออนไลน์และผลักดันยอดขายของสินค้าในกลุ่ม ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มีกาพูดคุยกับพันธมิตรอีคอมเมิร์ซต่างชาติหลายราย โดยบริษัทเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตของยอดขายมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากโควิด-19คลี่คลาย และพฤติกรรมของคนในปัจจุบันนิยมหันมาซื้อสินค้าในร้านค้าใกล้บ้านมากขึ้น ทำให้ร้าน CJ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับชุมชนที่มีร้าน

@ดันร้านถูกดีมีมาตรฐาน

นอกจากนี้ ในฐานะ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ผู้ดำเนินงานร้านสะดวกซื้อชุมชน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ล่าสุดได้ร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนาร้านสะดวกซื้อชุมชน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ให้เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนทั่วไทย เปิดโอกาสให้คนในชุมชนที่สนใจเปิดร้านมีโอกาสเป็นเจ้าของ และทำให้คนในชุมชนได้ใช้บริการการเงินและสินเชื่อครบวงจร ทั้งนี้มูลค่าการลงทุนของธนาคารรวมกว่า 15,000ล้านบาท แบ่งเป็น การให้เงินกู้สำหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาวและบริษัทร่วมทุน มูลค่า 8,000 ล้านบาท, การร่วมลงทุนผ่านตราสารการลงทุนที่ให้สิทธิลงทุนในหุ้นของบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด มูลค่า 5,000ล้านบาท และเตรียมลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อให้บริการสินเชื่อเต็มรูปแบบ รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินภายใต้แพลตฟอร์ม K bao ที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่พันธมิตรและลูกค้าของพันธมิตร มูลค่า 2,000ล้านบาท

*ร้านถูกดี ต่อยอดเติบโต

ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาร้านถูกดี มีมาตรฐาน เป็นจำนวนร้าน 30,000 ร้าน ภายในปี 2567จากปัจจุบันมีสาขาจำนวน 5,000 สาขา คาดว่าสิ้นปี 2565จะมีสาขาเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท ปี 2566จะเพิ่มเป็น 20,000 สาขา และมีแผนที่จะขยายคลังสินค้า 8 แห่ง มูลค่าการลงทุนราว 24,000ล้านบาท คาดว่าปี 2566 จะแล้วเสร็จ ประมาณ 5 แห่ง อย่างไรก็ดีบริษัทคาดว่าหากมีสาขาถึง 20,000สาขา จะทำให้ผลประกอบการกลับมามีกำไรได้ โดยในส่วนของรายได้ ร้านถูกดี ปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 20,000 ล้านบาท และคาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 60,000-70,000ล้านบาท

ทั้งนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ของบริษัทในการพัฒนา “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” นั้น บริษัทไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายให้ร้านถูกดี เป็นเสมือน “แพลตฟอร์ม”และ “โครงข่าย” ที่เชื่อมโยงกันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนทั่วประเทศ และเชื่อมต่อผู้ผลิต และผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก อาทิ บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร ฯลฯ โดยเฉพาะในชุมชน หมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังเข้าไม่ถึง โดยตั้งเป้าให้ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” เป็น “โซลูชัน” ที่จะเข้าไปตอบโจทย์และเพิ่มความสะดวกให้คนในชุมชน ทำให้การใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั่วประเทศง่ายขึ้น ซึ่งความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในครั้งนี้ เป็นหนึ่งใน กลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายดังกล่าว “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นโครงข่ายร้านค้าปลีก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

Re: CJ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คาราบาวผนึกกสิกรดัน"ร้านถูกดี”แตะ3หมื่นสาขาปี67พร้อมลุยสินเชื่อรายย่อย
By สรัญญา จันทร์สว่าง23 ก.ค. 2565 เวลา 14:40 น.

สองยักษ์ใหญ่ผนึกกำลังเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน กสิกรไทย อัดฉีด 15,000 ล้าน หนุนบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว เร่งเครื่องพัฒนาร้านค้าปลีกสะดวกซื้อชุมชนสมัยใหม่ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ปักหมุดครบหมื่นสาขาสิ้นปี 65 ต่อยอดรุกสินเชื่อ สร้างระบบนิเวศการเงิน ผงาด Point of Everything

นับเป็นแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่เมื่อ 2 ยักษ์แห่งวงการ! ผนึกกำลังเคลื่อนบิ๊กโปรเจกต์พลิกฟื้นร้านโชห่วยชุมชนสู่ “ร้านค้าปลีกสะดวกซื้อชุมชนสมัยใหม่” ภายใต้ชื่อ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ความฝันอันยิ่งใหญ่ของเจ้าพ่อคาราบาวแดง "เสถียร เศรษฐสิทธิ์" ที่เดินหน้าสานภารกิจนี้อย่างจริงจังต่อเนื่องมากว่า 2 ปี

วันนี้ ก้าวไปอีกขั้นจากพันธมิตรคนสำคัญ "ธนาคารกสิกรไทย" เข้ามาเสริมพลังทุน! ที่จะเป็นแรงส่งโครงการเพื่อชาติติดปีกทะยานสู่เป้าหมาย


“ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นโครงข่ายร้านค้าปลีก ภายใต้การบริหารงานของ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” แห่งคาราบาวกรุ๊ป กุมบังเหียนร้านถูกดี ภายใต้หมวกประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ที่มีแนวคิดสร้างมาตรฐานวงการร้านค้าปลีกชุมชน ด้วยการยกระดับมาตรฐานร้านค้าปลีกให้ทันสมัยด้วยความรู้ และเทคโนโลยีการบริหารจัดการร้าน

โดยชูโมเดล “ร้านค้าชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน” ร้านสะดวกซื้อชุมชนสมัยใหม่ ที่สนิทใจลูกค้า เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และมุ่งแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายด้วยแนวคิด “กินแบ่ง ไม่กินรวบ” โดยถือเป็นร้านสะดวกซื้อชุมชนที่เติบโตเร็วที่สุด ปัจจุบันมีจำนวนร้านที่เปิดแล้วกว่า 5,000 ร้านค้าทั่วประเทศ


แผนความร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK จะร่วมลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาท กับ “บริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว” ตามแผนพัฒนาร้านสะดวกซื้อชุมชน “ถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนทั่วไทย เปิดโอกาสให้คนในชุมชนที่สนใจเปิดร้านมีโอกาสเป็นเจ้าของ และทำให้คนในชุมชนได้ใช้บริการการเงินและสินเชื่อครบวงจร


โดยการลงทุนของธนาคารครอบคลุมการร่วมลงทุนผ่านตราสารการลงทุนที่ให้สิทธิลงทุนในหุ้นของบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด และเตรียมลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง “บริษัทร่วมทุน” บริษัท กสิกร คาราบาว จำกัด หรือ KBAO เพื่อให้บริการสินชื่อเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ ร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” มุ่งสู่ผู้นำธุรกิจร้านสะดวกซื้อชุมชนในประเทศไทยที่ให้บริการการเงินและสินเชื่อครบวงจร มีจำนวนร้าน 30,000 ร้าน ภายในปี 2567

เสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของบริษัทในการพัฒนา “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” นั้น บริษัทไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายให้ร้านถูกดี เป็นเสมือน “แพลตฟอร์ม” และ “โครงข่าย” ที่เชื่อมโยงกันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนทั่วประเทศ และเชื่อมต่อผู้ผลิต และผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก อาทิ บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร ฯลฯ โดยเฉพาะในชุมชน หมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังเข้าไม่ถึง

โดยตั้งเป้าให้ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” เป็น “โซลูชั่น” ที่จะเข้าไปตอบโจทย์และเพิ่มความสะดวกให้คนในชุมชน ทำให้การใช้ชีวิตของผู้บริโภคทั่วประเทศง่ายขึ้น ซึ่งความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในครั้งนี้ เป็นหนึ่งใน กลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

สำหรับ ความร่วมมือระหว่าง “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” กับธนาคารกสิกรไทย ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างกำลังซื้อให้กับชุมชน และความแข็งแกร่งให้กับ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ในการให้บริการแก่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของร้านซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ในปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเปิดร้านรายอื่นๆ ที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในอนาคต ตลอดจนซัพพลายเออร์และผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ในตลาดค้าปลีกได้มากยิ่งขึ้น

โดยสิ้นปี 2565 ร้านถูกดี มีมาตรฐาน จะมีสาขาไม่ต่ำกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และเพิ่มเป็น 20,000 สาขาในปี 2566 บรรลุเป้าหมาย 30,000 สาขาในปี 2567 ที่จะนำสู่การต่อยอดบริการหลากหลาย หรือ Point of Service ก้าวสู่ Point of Everything

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การพัฒนา “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ที่ธนาคารมีแผนดำเนินการร่วมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

1.ส่งเสริมศักยภาพของร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ให้เป็นร้านสะดวกซื้อชุมชนที่เป็นรากฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านและระบบการชำระเงินต่างๆ

2.เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค้าขายต่างๆ โดยธนาคารนำข้อมูลการจับจ่ายในชีวิตประจำวันมาใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีหลักฐานแสดงรายได้ประจำ หรือเจ้าของร้านค้าที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนภายในร้าน

3.เป็นจุดให้บริการธุรกรรมการเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันกับคนในชุมชน เช่น บริการถอนเงิน จ่ายบิล เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มบริการดิจิทัลต่างๆ เช่น สแกนจ่ายด้วยคิวอาร์ โค้ด ซึ่งคนในชุมชน ส่วนใหญ่เริ่มคุ้นเคยแล้ว เป็นผลจากนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐในช่วงผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19

ทั้งนี้ ชุมชนนอกตัวเมืองในจังหวัดต่างๆ เป็นพื้นที่ที่ลูกค้ามีความต้องการใช้บริการการเงิน บางส่วนไม่มีบัญชีเงินฝาก ไม่มีหลักฐานการเงินที่ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และเป็นพื้นที่ที่สาขาของธนาคารยังเข้าไม่ถึง การร่วมลงทุนกับ “บริษัทในกลุ่มธุรกิจ คาราบาว” เป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ตั้งใจพัฒนาร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ทุกคนที่อยู่ในวงจรของ “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน” ตั้งแต่เจ้าของร้าน คู่ค้า ชาวบ้านในชุมชน สามารถจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้ง่ายขึ้น สร้างรายได้หมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน

พัชร กล่าวต่อว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้ธนาคารมีจุดบริการเคแบงก์ เซอร์วิส (KBank Service) เพิ่มขึ้นอีก 30,000 จุด จากเดิมมีจำนวนกว่า 27,000 จุด เพิ่มช่องทางการให้บริการได้ลึกถึงแหล่งชุมชนและครอบคลุมทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน ธนาคารมีช่องทางให้บริการผ่านสาขาจำนวน 830 สาขา ตู้เอทีเอ็มและตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ รวม 11,000 ตู้ และ K PLUS ที่มีลูกค้าใช้งานกว่า 18 ล้านราย

ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนของธนาคารรวมกว่า 15,000 ล้านบาท ครอบคลุมการร่วมลงทุนผ่านตราสารการลงทุนที่ให้สิทธิลงทุนในหุ้นของบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด และเตรียมลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน “KBAO” เพื่อให้บริการสินเชื่อเต็มรูปแบบ รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินให้กับ “บริษัทในกลุ่มธุรกิจคาราบาว”
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

Re: CJ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ซี.เจ.เอ็กซ์เพรสสู้ศึกค้าปลีก เตรียมระดมทุน 2.5 หมื่นล้าน เพิ่มสาขา
วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 - 08:31 น.

ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป ฟื้นแผนเข้าตลาดตลาดหุ้น หลังต้องเลื่อนเพราะพิษโควิด คาดเริ่มไอพีโอได้ไตรมาส 4/66 กางแผนระดมทุน 2-.25 หมื่นล้าน รองรับการขยายสาขาทุกโมเดล-สู้ศึกค้าปลีก เดินหน้าลงทุนสร้างคลังสินค้าใหม่ 8 แห่ง

นายเสถียร เสถียรธรรมะ ประธานกรรมการ บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารร้านค้าปลีก อาทิ CJ Express, CJ Supermarket และ CJ More เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแผนจะนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้ง เพื่อรองรับการขยายสาขาและรองรับการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่สูงขึ้น


จากเดิมที่เคยมีแผนจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในปีนี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปเพราะตลาดและธุรกิจยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19

โดยคาดว่าจะสามารถยื่นไฟลิ่งได้ในช่วงประมาณไตรมาส 2 ปี 2566 และคาดว่าจะเสนอขายหุ้นให้นักลงทุน (IPO) ได้ในไตรมาส 4 ของปีเดียวกัน มูลค่าประมาณ 2-2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเมินจากมูลค่า 20% ของมาร์เก็ตแคปของบริษัทในขณะนั้นที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท

ส่วนแผนการดำเนินการระหว่างนี้ บริษัทโฟกัสการขยายสาขา CJ More ภายใต้คอนเซ็ปต์ การเป็นมากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อทั่วไป เพื่อรองรับทุกความต้องการของลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งประกอบด้วย CJ Supermarket เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาประหยัดเทียบเท่ากับไฮเปอร์มาร์เก็ต


นอกจากนี้ ภายใน CJ More ยังจะมีแบรนด์ค้าปลีกเฉพาะ ได้แก่ นายน์ บิวตี้ (Nine Beauty) โซนเครื่องสำอาง และความงามมัลติแบรนด์, บาว คาเฟ่ (Bao Cafe) ร้านกาแฟสด, อูโนะ (UNO) โซนสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น เครื่องเขียน และเอ-โฮม (A-Home) โซนสำหรับคนรักบ้าน ด้วยสินค้า D.I.Y. ครบครัน อุปกรณ์เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ทำสวน เป็นต้น

โดยตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีครบ 100 สาขา จากปัจจุบันมีประมาณ 10 สาขา และจะขยายเพิ่ม 100 สาขา/ปี จนครบ 500 สาขาในปี 2569

ส่วน CJ Supermarket กำลังศึกษาการเพิ่มระบบ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง หรือ Buy now Pay later ซึ่งจะอาศัยความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย รวมถึงเดินหน้าขยายอีก 250 สาขาในปีนี้ และขยายเพิ่มอีก 250 สาขาในปี 2566 และมีประมาณ 1,500 สาขา ภายในปี 2569 ส่วนร้านสะดวกซื้อ ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ปัจจุบันมีมากกว่า 800 สาขา ก็มีแผนจะขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

“เพื่อรองรับแผนการขยายสาขา บริษัทเดินหน้าลงทุนสร้างคลังสินค้าใหม่ 8 แห่ง รวมพื้นที่ 3 แสน ตร.ม. ในจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ อาทิ ขอนแก่น ลำพูน บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช เป็นต้น ลงทุนแห่งละ 3,000 ล้านบาท แต่ละแห่งจะรองรับร้านค้า 5,000 ร้านค้า คาดว่าปี 2566 จะแล้วเสร็จประมาณ 6 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อทดแทนคลังสินค้า 8 แห่งเดิมที่เป็นการเช่า และทำเลไม่ตอบโจทย์”


พร้อมกันนี้ นายเสถียรยังกล่าวถึงการดำเนินงานของร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ว่า มีแผนจะผลักดันทั้งการขยายสาขาและการเสริมฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ให้ร้านเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างรายได้และชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน ตั้งแต่เดือน ส.ค.นี้ บริษัทจะเริ่มทดลองระบบขายเชื่อ หรือการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้าน วงเงินประมาณ 500-1,000 บาท/ราย รวมไม่เกิน 2 แสนบาท/ร้าน

โดยจะเป็นการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยตั้งบริษัทร่วมทุน ในชื่อ บริษัท กสิกร คาราบาว จำกัด หรือ KBAO เข้ามาให้บริการสินเชื่อแบบดิจิทัล รวมกับข้อมูลฐานสมาชิกร้านที่ปัจจุบันมีกว่า 3 แสนราย โดยจะทดลองเฟสแรกใน 100 ร้านค้า เพื่อประเมินผลตอบรับและการรับมือความเสี่ยงที่เหมาะสม

พร้อมเพิ่มฟังก์ชั่น พรีออร์เดอร์สินค้า ที่เป็นการสั่งสินค้าในแค็ตตาล็อกผ่านหน้าร้าน เพื่อให้ขยายไลน์อัพสินค้าในแต่ละร้านเป็นกว่า 2 หมื่นเอสเคยู จากหลากหลายกลุ่ม เช่น วัสดุก่อสร้างจากเครือปูนซิเมนต์ไทย เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้อนาคตอาจเพิ่มบริการอื่น ๆ เข้ามาอีก อาทิ บริการทางการแพทย์ บริการภาครัฐ รับส่งพัสดุ และจุดกระจายสินค้าให้เอสเอ็มอีหรือสินค้าเกษตร ฯลฯ


ขณะเดียวกันจะเร่งการขยายสาขาจากปัจจุบันที่มีกว่า 5,000 ร้าน ให้ครบ 10,000 ร้านในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 20,000 และ 30,000 ร้านในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ หลังยกเลิกข้อจำกัดที่รับเฉพาะผู้ประกอบการโชห่วยเดิม เป็นเปิดรับนักลงทุนทั่วไป ทำให้ขณะนี้มีผู้สมัครกว่า 2,000 รายต่อเดือน คาดว่าการขยายสาขาและเพิ่มบริการใหม่ จะทำให้ปี 2565 มีรายได้ 2 หมื่นล้านบาท และเริ่มพลิกกลับมามีกำไร
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

Re: CJ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

CBG กางแผนขยายอาณาจักรค้าปลีก CJ-ถูกดี
วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 - 21:24 น.


สปีดถูกดีปีละหมื่นสาขา ลุ้นปี ’66 พลิกมีกำไร ทดลองเปิดขายเชื่อเสริมสภาพคล่อง ด้าน CJ Express ฟื้นแผนเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 4 ปีหน้า หวังระดมทุน 2 หมื่นล้าน พร้อมลงทุน 2.4 หมื่นล้าน ผุด 8 คลังสินค้า หนุนขยายสาขา

นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด กล่าวถึงทิศทางธุรกิจค้าปลีกในเครือ เช่นร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” “ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต” และ”ซีเจ มอลล์” ว่า บริษัทจะเดินหน้าผลักดันค้าปลีกทั้ง 2 แบรนด์ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาและการเสริมฟังก์ชั่นใหม่ๆ ให้ร้านเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างรายได้และชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน

ทดลอง “ขายเชื่อ” เสริมสภาพคล่อง

สำหรับ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ซึ่งมีคอนเซปท์เป็นร้านโชห่วยสมัยใหม่นั้น ส.ค.นี้จะเริ่มทดลองระบบ “ขายเชื่อ” หรือการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้านวงเงินประมาณ 500-1,000 บาท/ราย รวมไม่เกิน 2 แสนบาท/ร้าน เพื่อเสริมสภาพคล่องผู้บริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ รับมือปัญหาเศรษฐกิจ-กำลังซื้อในปัจจุบัน

อาศัยการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยตั้งบริษัทร่วมทุน “กสิกร คาราบาว จำกัด” หรือ KBAO เข้ามาให้บริการสินเชื่อแบบดิจิทัล รวมกับข้อมูลฐานสมาชิกร้านที่ปัจจุบันมีกว่า 3 แสนราย โดยจะทดลองเฟสแรกใน 100 ร้านค้า เพื่อประเมินผลตอบรับและการรับมือความเสี่ยงที่เหมาะสม

พร้อมเพิ่มฟังก์ชั่น พรีออร์เดอร์สินค้า ที่เป็นการสั่งสินค้าในแคตตาล็อกผ่านหน้าร้าน เพื่อให้ขยายไลน์อัพสินค้าในแต่ละร้านเป็นกว่า 2 หมื่นเอสเคยูจากหลากหลายกลุ่ม เช่น วัสดุก่อสร้างจากเครือปูนซีเมนต์ไทย เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น

โดยจะใช้การจัดส่งสินค้าด้วยรถขนส่งของบริษัทที่วิ่งกระจายสินค้าให้แต่ละร้านอยู่แล้ว ช่วยให้ได้ต้นทุนค่าขนส่งที่แข่งขันได้และมีรอบการส่งที่แน่นอน ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนรับมือการแข่งขันกับอีคอมเมิร์ซ

นอกจากนี้อนาคตอาจเพิ่มบริการอื่นๆ เข้ามาอีก อาทิ บริการทางการแพทย์ บริการภาครัฐ รับส่งพัสดุ และจุดกระจายสินค้าให้เอสเอ็มอีหรือสินค้าเกษตร ฯลฯ โดยขณะนี้มีโรงพยาบาลและบริษัทขนส่งหลายแห่งเข้ามาเจรจาแล้ว

ขณะเดียวกันจะสปีดการขยายสาขาจากปัจจุบันที่มีกว่า 5,000 ร้านให้ครบ 10,000 ร้านในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 20,000 และ 30,000 ร้านในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ หลังยกเลิกข้อจำกัดที่รับเฉพาะผู้ประกอบการโชห่วยเดิม เป็นเปิดรับนักลงทุนทั่วไป ทำให้ขณะนี้มีผู้สมัครกว่า 2,000 รายต่อเดือน

ทั้งนี้คาดว่าการขยายสาขาและเพิ่มบริการใหม่ จะทำให้ปี 2565 มีรายได้ 2 หมื่นล้านบาท และเริ่มพลิกกลับมามีกำไร หลังจากปี 2564 ที่มีรายได้ 5,800 ล้านบาท ส่วนปี 2566 อาจมีรายได้ถึง 6-7 หมื่นล้านบาท

ดัน CJ Express Group เข้าตลาดไตรมาส 4 ปี ’66

ด้านเชนค้าปลีก CJ Express Group นั้น จะฟื้นแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง โดยจะยื่นไฟลิ่งในไตรมาส 2 ปี 2566 และคาดว่าจะไอพีโอได้ในไตรมาส 4 ของปีเดียวกัน ในมูลค่าประมาณ 2-2.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ประเมินจากมูลค่า 20% ของมาร์เก็ตแคปของบริษัทในขณะนั้นที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท

“เดิมมีแผนเข้าตลาดในปีนี้แต่ต้องเลื่อนออกไปเพราะตลาดและวงการธุรกิจยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19”

ระหว่างนี้จะโฟกัสการขยายสาขา “CJ More” ที่เป็นคอมมูนิตี้มอลล์ประกอบด้วย CJ Supermarket และพื้นที่เช่า หลังที่ผ่านมา สาขา CJ Supermarket ใน CJ More มียอดขายดีกว่าสาขาสแตนอโลน 30-50% หลังเริ่มมีร้านอาหารแม็กเน็ตเข้ามาเช่าพื้นที่

โดยสิ้นปี 2565 นี้จะมีครบ 100 สาขา จากปัจจุบันมีประมาณ 10 สาขา และจะพยายามขยายเพิ่ม 100 สาขา/ปี จนครบ 500 สาขาในปี 2569


ส่วน CJ Supermarket กำลังศึกษาการเพิ่มระบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy now Pay later ซึ่งจะอาศัยความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย เช่นกัน รวมถึงเดินหน้าขยายสาขา 250 สาขา ในปีนี้เพื่อให้ครบ 1,000 สาขาและขยายเพิ่มอีก 250 สาขาในปี 2566 อย่างไรก็ตามยังไม่มีแผนเปิดแฟรนไชส์ เนื่องจากบริษัทยังขาดความชำนาญ และการบริหารสินค้าค่อนข้างซับซ้อนกว่าค้าปลีกทั่วไป

จากการแผนเร่งขยายสาขานี้จะทำให้ปี 2569 CJ More มี 500 สาขาและ CJ Supermarket มี 1,500 สาขา
ด้านรายได้คาดว่าปี 2565 นี้จะมีกำไร 2,000 ล้านบาท หลังปี 2564 มีกำไร 1,400 ล้านบาท และ 900 ล้านบาทเมื่อปี 2563

ลงทุนผุด 8 คลังสินค้า หนุนขยายสาขา

ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด กล่าวว่า เพื่อรองรับแผนการขยายสาขา บริษัทเดินหน้าลงทุนสร้างคลังสินค้าใหม่ 8 แห่ง รวมพื้นที่ 3 แสนตร.ม. ในจุดยุทธ์ศาสตร์ต่างๆ อาทิ ขอนแก่น ลำพูน บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช เป็นต้น ลงทุนแห่งละ 3 พันล้านบาท แต่ละแห่งจะรองรับร้านค้า 5,000 ร้านค้า คาดว่าปี 2566 จะแล้วเสร็จประมาณ 6 แห่ง

ทั้งนี้เพื่อทดแทนคลังสินค้า 8 แห่งเดิมที่เป็นการเช่า และทำเลไม่ตอบโจทย์การระจายสินค้าของธุรกิจค้าปลีกมากนัก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 400

CJ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คาราบาวกรุ๊ป รุกธุรกิจค้าปลีก ปั้น ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส เข้าตลาดหุ้น
วันที่ 17 สิงหาคม 2565 - 18:44 น.

คาราบาว เผยสถานการณ์ต้นทุน-เศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้น ลุยขยายสาขาร้านถูกดีมีมาตรฐาน-ซีเจมอร์ พร้อมเพิ่มสินค้า-บริการ หวังครองตลาดระดับชุมชน ก่อนต่อยอดสร้างเครือข่ายอีคอมเมิร์ซ

วันที่ 17 สิงหาคม 2565 นายเสถียร เสถียรธรรมะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. คาราบาวกรุ๊ป (CBG) กล่าวในงาน “ถอดรหัสลงทุน ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น” ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ว่า แม้ครึ่งปีแรกสถานการณ์เงินเฟ้อและปัญหากำลังซื้อจะรุนแรงมากจนทำให้กำไรของคาราบาวกรุ๊ปต่ำกว่าที่คาดไว้

แต่ยังเชื่อมั่นว่าครึ่งหลังนี้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวจากสัญญาญบวก เช่น ต้นทุนวัตถุดิบอย่าง อลูมิเนียมเริ่มลดลง เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่ต่างมีทิศทางขาลง ในขณะที่การเปิดประเทศที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาและสร้างเม็ดเงินให้ธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องค่อยๆ ฟื้นตัวตามลำดับ



โดยยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาเพียงสงครามในยุโรป แต่เชื่อว่าระยะทางที่ไกลจะทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก และสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ชัดเจน

บริษัทจึงตัดสินใจเดินหน้าธุรกิจทั้งการออกสินค้าใหม่ อย่าง เครื่องดื่มแนวสุขภาพ “คันโซX2” ที่มีจุดขายเรื่องบำรุงตับซึ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ และจะเปิดเพิ่มอีกตัวช่วงปลายปี

พร้อมกับเดินแผนขยายขาธุรกิจค้าปลีกที่มีซีเจมอร์ (CJ More) และร้านถูกดีมีมาตรฐานเป็นแกนนำ ตามเป้าต่อยอดเครือข่ายร้านค้าออฟไลน์ที่ปัจจุบันมีสาขารวมกันกว่า 6,000 สาขาและเดินหน้าขยายเพิ่มต่อเนื่อง ให้เป็นแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ครบวงจรทั้งการขายสินค้าและบริการต่างๆ

ด้วยการเดินหน้าขยายสาขาของทั้ง 2 โมเดล โดยซีเจฯ จะขยาย 250-300 สาขาต่อปี จากปัจจุบันประมาณ 1,000 สาขา ส่วนร้านถูกดีปลายปีคาดว่าจะมี 8,000-10,000 สาขา จากปัจจุบันมี 5,000 สาขา หลังมีผู้สนใจติดต่อเข้ามา 400-500 รายต่อสัปดาห์



ตามด้วยในปี 2566 ที่จะถึงนี้จะนำ ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อนำเม็ดเงินมาขยายธุรกิจเพิ่มเติมอีก

จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมโยงร้านค้าทั้ง 2 แบรนด์นี้เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อเสริมศักยภาพด้านสินค้าและบริการ ให้ร้านค้าของเรายกระดับเป็นศูนย์กลางชุมชน ก่อนจะต่อยอดไปสู่การแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

โดยขณะนี้ทยอยขยายฟังก์ชั่นของ ร้านถูกดีฯ จากจุดจำหน่ายสินค้า (Point of sale) เพิ่มการเป็นจุดให้บริการ (Point of service) อาทิ “ถูกดีสั่งได้”ซึ่งเป็นการพรีออร์เดอร์สินค้าจากพอร์ทสินค้าของซีเจมอร์ ช่วยเพิ่มไลน์อัพสินค้าของร้านโชห่วยที่ปกติจะมีเพียง 200-300 รายการ เป็นมากกว่าหมื่นรายการ และจะขยายไปสู่การเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือ Point of Everything



รวมถึงเริ่มทดลองการให้บริการทางการเงิน เช่น การให้สินเชื่อ หลังบริษัทร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยไปก่อนหน้านี้

พร้อมกันนี้เร่งขยายพอร์ทสินค้าของบริษัทสหมิตร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือทำธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ให้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสินค้าแบบโอนแบรนด์ (own brand) กว่า 300 รายการ อาทิ น้ำยาล้านจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ขนม ฯลฯ รวมถึงขยายคลังสินค้าขนาด 50,000 ตร.ม. ให้ครบ 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของร้านสาขา

“เดิมเรามองว่าการจะทำแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่ในตลาดที่มีผู้บริโภค 50-60 ล้านคนอย่างประเทศไทยนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะมีฐานลูกค้าไม่เพียงพอ แต่เมื่อมีเครือข่ายร้านถูกดีฯ ที่เจาะเข้าถึงระดับชุมชนมาเป็นกระดูกสันหลังแล้ว เชื่อว่าแนวคิดนี้จะสามารถเป็นจริงได้” นายเสถียรกล่าว
โพสต์โพสต์