MoneyTalk Special ทิศทางกลุ่มแบงค์กับหุ้นเด่นในปี2022

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

MoneyTalk Special ทิศทางกลุ่มแบงค์กับหุ้นเด่นในปี2022

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk Special ทิศทางกลุ่มแบงค์กับหุ้นเด่นในปี2022

ใครสนใจกลุ่มแบงค์ต้องไม่พลาดครับ
สอนวิธีดูงบว่าแบงค์ไหนดี และบอกชื่อหุ้นแบงค์กับ
Nonbankที่น่าสนใจด้วยครับ

วิทยากร
คุณ กรกช เสวตร์ครุตมัต
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล กสิกรไทย

ผู้ดำเนินรายการ
นพ ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ หรือ หมอเค และ ดร กุศยา ลีฟหาวงค์

คุณกรกช เคยมารายการMoneyTalkเมื่อไตรมาสก่อน และ พูดถึงงบที่ดีของแบงค์ดูอย่างไร
คราวนี้หมอเคให้คุณกรกชมาพูดทบทวนอีกครั้ง
แบงค์ที่มีงบดี คือ มีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรอง ซึ่งอาศัยadjustment พอสมควร
รายได้ของแบงค์ประกอบไปด้วย รายได้จากดอกเบี้ย และ รายได้จากค่าธรรมเนียม ต้องดี
แบงค์จะดูที่PPOP(Pre-Provision Operating Profit) หรือ กำไรก่อนการตั้งสำรองมากกว่าดูNet profit margin
ซึ่งแสดงความสามารถในการหารายได้ว่าหาได้ดีไหม และดูคู่กับ NPL ratio

Q4 ผลประกอบการของธนาคาร8แห่งพอใช้ได้ ประมาณ 42,000 ลบ ซึ่งดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ 7%
ปกติกำไรก่อนช่วงCovidประมาณ 50,000ลบต่อไตรมาส ที่ชนะคือ Kbank,TTB, KKP

1.ฝั่งรายได้ สินเชื่อโต1% ที่ดีกว่าคาดคือ ผลตอบแทนสินเชื่อ(Loan Yield) ซึ่งดีกว่านักวิเคราะห์คาด
2.ธปท เร่งให้ปรับโครงสร้างหนี้และช่วยลูกหนี้ ซึ่งจะไปเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น กระทบต่อรายได้ดอกเบี้ย
แต่Q4ไม่ค่อยมีกิจกรรมกับลูกหนี้ เพราะ ลูกหนี้แข็งแรงกว่าที่คาด
3.การตั้งสำรองหนี้เสียน้อยลง จากNPLที่ลดลงเหลือ3.7%ซึ่งถือเป็นQแรกที่ลดลงเพราะบริหารจัดการNPLค่อนข้างดี
ที่ลดลงไม่ใช่write off เป็นหลัก แต่ยอดหนี้เสียที่เข้ามาใหม่ปริมาณน้อยลง
ธนาคารช่วยเหลือลูกหนี้แค่10%จากไตรมาสก่อนที่15% และ การตั้งสำรองเพิ่มเป็น 169% มากกว่าเดิมที่ตั้ง150%

หลังรัฐบาลคลายlock down ร้านอาหารกลับมาเปิด ขยายสาขา จ้างงานกลับมา
NPLของretailเริ่มลดลง แต่ส่วนของSMEยังไม่ดีขึ้น

ดังนั้น ธนาคารที่เน้นretailเยอะจะได้ประโยชน์ เช่น Kbank
KKP มีretail loanเยอะโดยเฉพาะรถมือหนี่งและมือสอง
TTBหลังจาก TMBมาควบกับธนชาติ มีportสินเชื่อรถเข้ามาด้วย ทำให้ส่วนretailเพิ่มขึ้น เลยได้ประโยชน์มากขึ้น

รายได้อื่นๆที่ทำให้กำไรมากขึ้นมาจาก
-รายได้ค่าธรรมเนียม ทำได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะในส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมบริหารกองทุนต่างประเทศ
-รายได้จากการขายประกันชีวิตผ่านแบงค์ ซึ่งซบเซาก่อนหน้านี้2-3ปีก่อน ตอนนี้แบงค์ให้พนักงานไปสอบใบอนุญาต
เพื่อมาขายประกันที่ซับซ้อนมากขึ้น จากเดิมขายประกันสะสมทรัพย์ ทำให้มีกำไรมากขึ้น

คุณ กรกช ชอบหุ้นแบงค์ขนาดใหญ่มากกว่าหุ้นแบงค์เล็ก จากBond Yieldที่เพิ่ม สามารถส่งผ่านต้นทุนไปให้ลูกค้าได้
เราชอบ SCB,KKP (KBANKพูดไม่ได้เพราะอยู่ในเครือ) โดย SCB เห็นการปรับตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะinsurance & FWD,
Wealth management ไม่นับรวมการปรับโครงสร้าง และ บุกตลาดบัตรเครดิต

KKP เป้าโตค่อนข้างaggressive 12%. โดยได้portสินเชื่อจากค่ายรถดังมา ปีนี้รายได้รับรู้เต็มปี
รายได้ดอกเบี้ยโตได้ดี Bond Yieldปรับขึ้น ปรับrateไม่ได้ แต่ไม่ค่อยมีผล
ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เช่น IB ก็มีการนำ ไทยประกัน เข้าตลาด รวมถึงเด่นเรื่องWealth ซึ่งเป็นชูโรง

ธนาคารที่ทำแบบเดิม ตลาดเป็นred ocean สุดท้ายต้องมีการควบรวมกัน และ แข่งกันที่dataด้วยทำให้แต่ละที่ฟรีค่าโอน
เพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการ ดังนั้นต้องมาเพิ่มเป้าสินเชื่อรายย่อย เช่นสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถยนต์
ธนาคารขนาดใหญ่ เริ่มมาลงตลาดretailมากขึ้น เน้นไปที่ medium to low ซึ่งจะชนกับแบงค์เล็ก
ซึ่งแข่งกับแบงค์ใหญ่ยากกว่า เพราะต้นทุนการเงินสูงกว่า

Non Bank รับศึกหนัก เพราะทำในส่วนที่Bankไม่ทำ ตอนนี้Bankเล็กลงมาแข่งแล้ว
คุณกรกช ได้ให้คะแนนกับกลุ่มการเงิน ซึ่งดีสุดคือ 5คะแนน
กลุ่มที่ได้5คะแนน ได้แก่
1.Bank
2.เช่าซื้อรถบรรทุก ปีนี้มาแรง แต่Bankไม่สนใจ เน้นรถบรรทุกมือหนึ่ง คือ ASK,THANI
3.ประกัน ซึ่งมีBLA และ ไทยประกันซึ่งจะipoเข้าตลาดมา แต่ไม่รวมbroker
กลุ่มที่ได้ 3 คะแนน ผ่านเกณฑ์
4.บัตรเครดิต KTC,AEON
5.จำนำทะเบียนรถ เป็นตลาดที่ยังโต แต่เป็นช่วงปลาย ปีนี้คาดโต 16%มีคู่แข่งใหม่จากBank,Nonbankเข้ามา
ผู้เล่นเดิมจะตัดดอกเบี้ยแข่ง แต่กำไรยังสองหลักอยู่

กลุ่มที่แย่ 2 คะแนน
6. AMC. เพราะvaluationแพง MOS น้อย
Chaiyo , JMT Forward PE 40-50เท่า
ส่วนBAM อาจเล่นในTheme reopening

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากร และ ผู้ดำเนินรายการที่ให้ความรู้กลุ่มBank, Nonbankนะครับ
โพสต์โพสต์