SCGC

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

SCGC

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ด่วน SCG จะแตกบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ /โดย ลงทุนแมน

ถ้าเราตื่นเต้นกับ OR เข้าตลาด โดยเมื่อก่อน OR อยู่ใน ปตท.
มาวันนี้ SCG กำลังทำแบบเดียวกัน
บริษัทที่กำลังจะเข้าตลาดของ SCG นี้ ชื่อ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ “SCGC”
บริษัทนี้ทำอะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

จริง ๆ แล้ว SCGC เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจหลักของปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ที่บอกแบบนั้นก็เพราะว่า ธุรกิจเคมิคอลส์ ทำรายได้เกือบเป็นครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
มาวันนี้ SCG กำลังจะแตกธุรกิจ SCGC ออกมา IPO ซึ่งภาษาทางการเงินเรียกว่า Spin-off

ถ้าถามว่า SCGC ที่กำลังจะ IPO นี้ทำธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของ SCGC แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. โอเลฟินส์ เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเม็ดพลาสติก

2. เม็ดพลาสติกพอลิโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องเป็นผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจ ครอบคลุมการนำไปใช้ เช่น

- เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง หรือ HDPE นำไปผลิตขวดนม ขวดแชมพู
- เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นปานกลาง หรือ MDPE เอาไปผลิตถังแช่เย็น กรวยจราจร
- เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ เอาไปผลิตแผ่นฟิล์มอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ถุงข้าวสาร

3. เม็ดพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง เช่น พีวีซีเรซิน และพีวีซีคอมพาวนด์

4. บริการท่าเทียบเรือและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ ให้บริการคลังเก็บเคมีภัณฑ์ทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลว เช่น แนฟทา โอเลฟินส์ เบนซีน และมิกซ์ไซลีน

รวมถึงบริการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ผ่านทางท่อขนส่งและท่าเทียบเรือแก่บริษัทในกลุ่มเอสซีจี ปัจจุบันธุรกิจมีท่าเทียบเรือ 4 ท่า

นอกจากธุรกิจ 4 กลุ่มหลักแล้ว ก็ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การให้บริการเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรม การให้บริการหุ่นยนต์ตรวจสอบ

สรุปง่าย ๆ ก็คือ SCGC เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจปิโตรเคมีรายใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงบริการปลายน้ำ นั่นเอง

แล้วรายได้จาก SCGC เป็นเท่าไร หากเทียบกับปูนซิเมนต์ไทย ?

ในปี 2564 ธุรกิจในเครือปูนซิเมนต์ไทย มีรายได้อยู่ที่ 5.30 แสนล้านบาท
ธุรกิจเคมิคอลส์ หรือ SCGC รายได้ 2.38 แสนล้านบาท
แปลว่ารายได้ 45% ของปูนซิเมนต์ไทย จะมาจาก SCGC

และในแง่ของกำไร SCGC มีกำไรสูงถึง 2.89 หมื่นล้านบาท
จากกำไรของทั้งเครือ 4.72 หมื่นล้านบาท
แปลว่า SCGC สร้างกำไร คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 61% ของกำไรทั้งหมด ซึ่งแปลได้ว่าในปี 2564 ธุรกิจนี้มีอัตรากำไรที่ดีกว่าธุรกิจที่เหลือของ SCG

แล้วการระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ SCGC มีรายละเอียดอะไรบ้าง ?

ปูนซิเมนต์ไทยจะนำหุ้นสามัญของ SCGC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในรูปแบบบริษัทโฮลดิง
หรือก็คือบริษัทที่ทำธุรกิจโดยการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่น

และมีการกำหนดสัดส่วนหุ้นสามัญเพิ่มทุน เป็นจำนวนไม่เกิน 25.2% ของทุนที่ชำระแล้ว รวม 3,854,685,000 หุ้น

สำหรับวัตถุประสงค์ในการ IPO บริษัทก็ได้รายงานว่าจะนำเงินระดมทุนที่ได้ไป

- ขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ใช้ในการปรับโครงสร้างทางการเงิน
- ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของ SCGC

แล้วหุ้น IPO จะถูกจัดสรรไปให้ใครบ้าง ?

SCGC คาดว่าจะมีการจัดสรรหุ้น IPO ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิ์ได้รับจัดสรรหุ้นในจำนวนไม่เกินกว่า 15% ของจำนวนหุ้น IPO ทั้งหมด

นอกจากนี้ ให้คณะกรรมการบริษัทของ SCGC สามารถนำหุ้นสามัญเพิ่มทุนบางส่วน เพื่อเสนอขายและจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกกันว่า Cornerstone Investors ในระหว่างการเสนอขายหุ้น IPO ในราคาเดียวกับที่จะเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก

ทำให้ต่อจากนี้
เราจะมีหุ้นที่มาจากเครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ถึง 3 ตัวให้ได้ซื้อขายกันนั่นคือ
SCC ปูนซิเมนต์ไทยที่เป็นบริษัทแม่ (ชื่อบริษัท SCG แต่ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์ชื่อ SCC)
SCGP เอสซีจี แพคเกจจิ้ง
และ SCGC เอสซีจี เคมิคอลส์ ที่กำลังจะ IPO นั่นเอง..
แนบไฟล์
ACA13E3F-3837-49C4-9B29-8D5340D5E396.jpeg

pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 2

โพสต์

SCC ไฟเขียว “เอสซีจี เคมิคอลส์” ขายไอพีโอ 3.85 พันล้านหุ้น
26/01/2022 18:50

บอร์ด “ปูนซิเมนต์ไทย” ไฟเขียว “เอสซีจี เคมิคอลส์” เตรียมเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 3.85 พันล้านหุ้น พาร์ 10 บาท สัดส่วนไม่เกิน 25.2% นำเงินลงทุนขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ขยายธุรกิจด้าน HVA และ Green

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.2565 มีมติอนุมัติแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (SCGC) และการนำหุ้นสามัญของ SCGC เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรูปแบบบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการผลิตเคมีภัณฑ์และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 25.2% ของทุนชำระแล้วของ SCGC

ทั้งนี้ คาดว่า SCGC จะนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้น IPO เพื่อใช้ลงทุนในการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการขยายธุรกิจด้าน HVA และ Green รวมถึงใช้ในการปรับโครงสร้างทางการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของ SCGC เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SCGC ในอนาคต โดยภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทฯ จะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจควบคุมของ SCGC และ SCGC จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ เช่นเดิม

พร้อมกันนี้คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติการแปรสภาพ SCGC เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) ของ SCGC และจำนวนหุ้นสามัญของ SCGC ซึ่งการแตกพาร์นี้จะไม่ทำให้จำนวนทุนจดทะเบียนของ SCGC เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด โดยมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 100 บาท จำนวนหุ้น 1,114,531,500 หุ้น ทุนจดทะเบียน 114,453,150,000 บาท เป็นพาร์ 10 บาท และมีจำนวนหุ้น 11,445,315,000 หุ้น ทุนจดทะเบียน 114,453,150,000 บาท

นอกจากนี้เพิ่มทุนจดทะเบียนของ SCGC จำนวน 38,546,850,000 บาท จากเดิมจำนวน 114,453,150,000 บาท เป็นจำนวน 153,000,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 3,854,685,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตามการจัดสรรหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 3,854,685,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (Pre-Emptive Right) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date)ที่จะได้กำหนดต่อไปโดยคณะกรรมการบริษัทฯ จำนวนไม่เกินกว่า 15% ของจำนวนหุ้น IPO ทั้งหมด

รวมถึงผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ผู้ลงทุนสถาบัน บุคคลที่มีความสัมพันธ์ และ/หรือ ผู้มีอุปการคุณของ SCGC และ/หรือ บริษัทย่อยของ SCGC และ/หรือบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น และผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) ตามแผนการจัดสรรหุ้นส่วนเกินของ SCGC คิดเป็นจำนวนไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้น IPO ทั้งหมด โดยเมื่อรวมกับจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกเพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,854,685,000 หุ้น

ทั้งนี้ การจัดสรรหุ้น IPO ดังกล่าวจะกระทำได้ต่อเมื่อ SCGC ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อการเสนอขายหุ้น IPO มีผลใช้บังคับแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1801
ผู้ติดตาม: 118

Re: SCGC

โพสต์ที่ 3

โพสต์

B1EC7389-AE3B-4792-8765-1465EC34AF8E.jpeg
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1801
ผู้ติดตาม: 118

Re: SCGC

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถอดรหัสความสำเร็จ ‘เอสซีจี เคมิคอลส์’ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
SCGC x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง ‘ธุรกิจเคมีภัณฑ์’ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว

ไม่เกี่ยวกับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ เท่าไหร่นัก

แต่รู้หรือไม่ว่า

เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ เครื่องแต่งกาย

ไปจนถึงอุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์การเกษตร ชิ้นส่วนยานยนต์ และโครงสร้างอาคาร

ล้วนมีเคมีภัณฑ์อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งสิ้น

โดยผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรตั้งแต่ปิโตรเคมีขั้นต้นจนถึงขั้นปลายรายใหญ่ของประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนก็ไม่ใช่ใครที่ไหน

นั่นคือ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ SCGC เป็นกลุ่มธุรกิจที่สร้างกำไรสูงสุดของกลุ่มเอสซีจี

โดยในปี 2564 กำไรจาก SCGC คิดเป็นสัดส่วนกว่า 61% ของกำไรสุทธิ/1ของเอสซีจี

อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้ SCGC เติบโตอย่างโดดเด่น และบริษัทฯ วางกลยุทธ์เพื่อไปต่ออย่างไร ?

ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

SCGC เริ่มต้นธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี 2526

ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา SCGC ได้ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ทั้งการขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซียและเวียดนาม

รวมถึงร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ SCGC

ทำให้ SCGC มีนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม

และครอบคลุมธุรกิจเคมีภัณฑ์แบบครบวงจร

ตั้งแต่การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น (โอเลฟินส์)

ที่นำวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการ เพื่อให้ได้สารตั้งต้น

ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย คือนำสารตั้งต้นเหล่านี้ ไปผลิตเป็น พอลิเมอร์ หรือ เม็ดพลาสติก ประเภทต่าง ๆ

ทั้ง พอลิเอทิลีน (PE) พอลิโพรพิลีน (PP) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC)

สำหรับผลิตสินค้าต่าง ๆ ตั้งแต่สินค้าในภาคอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยอำนวยความสะดวก และทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้น

เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์น้ำยาซักล้างต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า กันชนรถยนต์ ท่อและข้อต่อพีวีซี หรือแม้แต่อุปกรณ์การแพทย์ อย่างหลอดเข็มฉีดยา ถุงและสายน้ำเกลือ รวมไปจนถึงโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ท่อส่งน้ำ สายเคเบิลโทรคมนาคม เป็นต้น

ไม่เพียงเท่านี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิด ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล)

ที่เรียกได้ว่า เป็น DNA ในการทำธุรกิจของ SCGC

บริษัทฯ จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ ESG โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจาก Brand Owner ก็คือ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่พลิกโฉมวงการเคมีภัณฑ์ก็ว่าได้

โดย SCGC GREEN POLYMER™ เป็นโซลูชันพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยตอบโจทย์ 4 ด้าน คือ

1. REDUCE ลดปริมาณพอลิเมอร์หรือพลาสติกในการผลิตชิ้นงาน โดยที่ยังแข็งแรงเหมือนเดิม

2. RECYCLABLE เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มที่ใช้วัสดุหลายประเภท ให้เป็นวัสดุชนิดเดียว เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้

3. RECYCLE นำพลาสติกใช้แล้วมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะ และลดการใช้ทรัพยากร

4. RENEWABLE ผลิตพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากสถาบันชั้นนำของโลก เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียนอย่างพืช เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แม้ SCGC จะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว

แต่บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย

โดยมุ่งเน้นใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูง

ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ การแพทย์และสุขภาพ ยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน และโซลูชันทางด้านพลังงาน

ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งแบบ In-house หรือภายในองค์กร

และเปิดกว้างเป็น Open Innovation ที่ร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงสถาบันการศึกษาและการวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

ซึ่งการมุ่งสู่นวัตกรรม HVA นี้เอง จึงทำให้ SCGC มีโซลูชันที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์อย่างรอบด้าน

ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ด้านสุขภาพ ด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV รวมถึงด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นต้น

มาถึงตรงนี้ คงพอเห็นภาพแล้วว่า ‘เคมีภัณฑ์’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด

เพราะสินค้าและบริการของ SCGC นั้น มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับชีวิตเราในแทบทุกมิติ

ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ SCGC สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ พร้อมมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน

และเป็นบริษัทชั้นนำของไทยที่ยืนหยัดในความเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ

****************************************

หมายเหตุ: /1 กำไรสำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
References - www.scgchemicals.com
6A4D8934-B352-49D7-BA76-9E7A832B14D7.jpeg
ภาพประจำตัวสมาชิก
RnD-VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6408
ผู้ติดตาม: 609

Re: SCGC

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ตลาดทุน > SET > SCC
07 เมษายน 2022

SCGC ปิดดีลซื้อหุ้น"ซีพลาสต์" ลุยขยายกำลังการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป


Share
Share
ดูข้อมูลบริษัท
#SCC #ทันหุ้น-บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด หรือ เอสซีจีซี (SCGC)ปิดดีลซื้อหุ้นกว่าร้อยละ 70 ของบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส ผนึกกำลังเพิ่มกำลังการผลิตพร้อมปรับปรุงคุณภาพ เดินหน้ารุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) ในโปรตุเกสและยุโรป ภายใต้แบรนด์เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER™) รองรับความเติบโตของตลาดพลาสติกรีไซเคิลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเอสซีจีซี ที่จะผลิตสินค้า เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573



โดยเอสซีจีซี ได้ดำเนินการผ่านบริษัท SCG Chemicals Trading (Singapore) Pte, Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเอสซีจีซี ในการเข้าซื้อหุ้นกว่าร้อยละ 70 ของบริษัท Sirplaste-Sociedade Industrial de Recuperados de Plástico, S.A. (Sirplaste) เพื่อตอบรับการขยายตัวของตลาดพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยมีการใช้พลาสติกประเภทนี้เกือบ 3.7 ล้านตันในปี 2564 และคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปี จะมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 10.6 ต่อปี (อ้างอิงข้อมูลจาก NexantECA)



นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือเอสซีจีซี เผยว่า การตัดสินใจลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ถือเป็นก้าวสำคัญของเอสซีจีซี ในการมุ่งสู่การเป็น “ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” โดยดำเนินการด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็นหนึ่งในก้าวที่ยิ่งใหญ่สู่การบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเอสซีจีซี ในการผลิตสินค้า เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER™) ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 และยังเป็นการส่งเสริมให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีนพอลิเมอร์ ได้ขยายตัวไปสู่ระดับนานาชาติอีกด้วย



โดยซีพลาสต์ ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกรีไซเคิลของโปรตุเกส ที่ประกอบธุรกิจมายาวนานกว่า 40 ปี ทำให้สามารถต่อยอดแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่วิจัยร่วมกัน พร้อมทั้งยังสร้างโอกาสทางธุรกิจจากฐานลูกค้าเดิมของซีพลาสต์ ซึ่งมีทั้งในโปรตุเกสและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตของซีพลาสต์ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน 36,000 ตันต่อปี เพื่อตอบรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดพลาสติกรีไซเคิล



“นอกจากนี้ เอสซีจีซี ยังมีข้อได้เปรียบอย่างเม็ดพลาสติกที่ผลิตจากเทคโนโลยี SMX™ ที่มีความแข็งแรงมากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป จึงสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลาสติกรีไซเคิลได้อย่างมาก และเมื่อทั้งสององค์กรได้นำจุดเด่นของตนมาผสานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นการช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง และเพิ่มโอกาสในการบุกตลาดยุโรปได้เหนือคู่แข่งรายอื่นอีกด้วย” นายธนวงษ์ กล่าว



ด้านนายริคาโด เพอร์เรียรา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีพลาสต์ กล่าวว่า “เอสซีจีซี และซีพลาสต์ ต่างมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกัน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การได้ดำเนินงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มศักยภาพของพลาสติกรีไซเคิลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยซีพลาสต์ได้มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ให้กับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกมาอย่างยาวนาน และมีการลงทุนกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังผ่านการรับรองมาตรฐาน EuCertPlast ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปที่รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้นผลิตจากพลาสติกใช้แล้วซึ่งมีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ช่วยลดปัญหาขยะ และสร้างคุณค่าใหม่ให้กับพลาสติกใช้แล้ว สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจและโลกใบนี้อย่างแท้จริง”



การซื้อหุ้นของบริษัทซีพลาสต์ในครั้งนี้ นับเป็นการเสริมทัพที่สำคัญให้กับธุรกิจของเอสซีจีซี ในด้านเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งนับเป็นหนึ่งสินค้าหลักภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER™) ที่ประกอบไปด้วยโซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) REDUCE ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) RECYCLABLE โซลูชันเพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) RECYCLE โซลูชันเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนมารีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ทรัพยากร และ (4) RENEWABLE โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
https://www.thunhoon.com/article/254191
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 6

โพสต์

SCC เผยยื่นแบบไฟลิ่ง"เอสซีจี เคมิคอลส์"แล้ว จะขาย IPO ไม่เกิน 3,854.69 ล้านหุ้น

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ในวันนี้(27 เม.ย.) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCGC ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ยื่นคำขออนุญาตขายหุ้นที่ออกใหม่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย SCGC มีแผนจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET

ทั้งนี้ตามแผน IPO นี้ SCGC คาดว่าจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 3,854,685,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท (รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) อาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจาก SCGC ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) โดยหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25.2% ของทุนชำระแล้วของ SCGC ภายหลังการเพิ่มทุนและการออกและเสนอขายหุ้น IPO

ในเบื้องต้น SCGC มีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการขายหุ้น IPO เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในการขยายธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการขยายกำลังการผลิตหรือการพัฒนาศักยภาพของ SCGC และบริษัทย่อย การจัดตั้งบริษัท การเข้าซื้อกิจการ รวมถึงทรัพย์สินอื่นๆ และการลงทุนเพื่อบำรุงรักษา และนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน และ/หรือชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับบริษัทและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

ทั้งนี้ SCGC เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรชั้นแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน ครอบคลุมตั้งแต่การผลิต การทำการตลาด และการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่างๆ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์โมโนเมอร์ต้นน้ำ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ปลายน้ำ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องของปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสำเร็จรูป โดย SCGC มีโรงงานผลิตในสามประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งปัจจุบัน SCGC อยู่ในระหว่างการก่อสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี (Petrochemical Complex) ในเวียดนาม คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในครึ่งแรกของปี 2566

ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2564 SCGC มีกำลังการผลิตรวม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ ผลิตภัณฑ์พอลิโอเลฟินส์ และเม็ดพีวีซี ที่ 6.9 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของ Nexant Energy & Chemicals Advisory (NexantECA) SCGC เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเอทิลีน (PE) พอลิโพรพิลีน (PP) และพีวีซี(PVC) รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ในด้านกำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นในปี 2564 โดยมีส่วนแบ่งกำลังการผลิตอยู่ที่ 19.0%

ในปี 2564 SCGC มีรายได้จากการขาย 238,390 ล้านบาท หรือประมาณ 45.0% ของรายได้จากการขายรวมของบริษัท และมีสินทรัพย์รวม 377,174 ล้านบาท หรือประมาณ 43.8% ของสินทรัพย์รวมของบริษัท
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 7

โพสต์

https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... 17&lang=th

หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 27/04/2565
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) / นางสาว วรางณัฐ วาทยพร, บริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / นายธาญทิฐ เกษมทรัพย์, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) / นางดาริน กาญจนะ
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 8

โพสต์

SCGC : บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ สินค้าอุตสาหกรรม / ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
จำนวนไม่เกิน 3,854,685,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25.2% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO (รวมจำนวนหุ้นกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน Over-allotment)

ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
10.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Filing
www.scgchemicals.com
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 9

โพสต์

SCGC ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ภูมิภาค เล็งเพิ่มผลิตเวียดนาม-ลงทุนอินโดฯ
24/05/2022 19:01

”เอสซีจี เคมิคอลส์” พร้อมขาย IPO 3,855 ล้านหุ้น ประสบการณ์ธุรกิจเคมีภัณฑ์มา 40 ปี ปักธงผู้นำตลาดในระดับภูมิภาค ขายสินค้ากว่า 120 ประเทศทั่วโลก ฐานการผลิต 3 ประเทศในอาเซียน เดินหน้านวัตกรรมเคมีภัณฑ์ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก มีศักยภาพ-โอกาสเติบโตทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ค่าเงินบาทอ่อนทุก ๆ 1 บาท มีผลต่อกำไร 800-1,000 ล้านบาท/ปี

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC) เปิดเผยว่า SCGC ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์มา 40 ปี ตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศไทย และได้ขยายการลงทุนในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค ที่มุ่งสร้างการเติบโตควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน

ปัจจุบันบริษัทฯจัดจำหน่ายสินค้าในกว่า 120 ประเทศทั่วโลก มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่โมโนเมอร์ต้นน้ำและพอลิเมอร์ปลายน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องของปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีกำลังการผลิตรวม 6.9 ล้านตันต่อปี คิดเป็นส่วนแบ่งกำลังการผลิตในภูมิภาคอาเซียน ราว 19% หรือเกือบ 1 ใน 5 ณ สิ้นปี 2564

หนึ่งในจุดแข็งสำคัญของ SCGC คือ การมีฐานผลิตใน 3 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 440 ล้านคน หรือประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน มีสัดส่วนรายได้จากอาเซียน คิดเป็นประมาณ 21% โดยประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตหลัก ในอินโดนีเซียลงทุนผ่านการถือหุ้น 30% ใน Chandra Asri PetrochemicalTbk (CAP) และในเวียดนาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการ LSP คอมเพล็กซ์ ปิโตรเคมี (Long Son Petrochemical Complex) ซึ่งบริษัทฯ ถือเป็นรายแรกที่เข้าไปลงทุน (first mover)

ตลาดในภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพการเติบโตที่ดี โดยคาดการณ์เวียดนามและอินโดนีเซียจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) 56% ต่อปี ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า มากกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตของ GDP ทั่วโลกเกือบเท่าตัว นอกจากนี้ อัตราการใช้พอลิเมอร์ในภูมิภาคอาเซียนณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 26 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งยังต่ำกว่าในยุโรปและสหรัฐอเมริกา 2-3 เท่า ตลาดอาเซียนจึงยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

ปัจจุบันเวียดนามยังต้องนำเข้าพอลิเมอร์ประมาณ 75% และอินโดนีเซียประมาณ 50% ซึ่งเป็นโอกาสของ SCGC ที่จะใช้ความได้เปรียบจากการมีฐานการผลิตในกลุ่มประเทศดังกล่าว และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้รวดเร็วกว่า

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และธุรกิจของ SCGC ถือว่ามีศักยภาพและโอกาสการเติบโตทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว จะถูกขับเคลื่อน และได้รับประโยชน์จากเมกะเทรนด์ที่สำคัญ ๆ ของโลกและภูมิภาคอาเซียน เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐาน จากการขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด และการดูแลรักษาสุขภาพ เป็นต้น จะกระตุ้นให้เกิดการความต้องการใช้เคมีภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมของ SCGC ที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) รวมถึงการพัฒนา Green Innovation เช่น พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Polymer) และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้าน Low Carbon โดยในปี 2564 บริษัทฯ มีสัดส่วนสินค้า HVA ประมาณ 36% ของรายได้รวมและยังจะขยายสินค้าในกลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573

นายธนวงษ์ กล่าวว่า บริษัทยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ตลอดซัพพลายเชน โดยนำ Data Technology มารวมกับ Operational Technology เพื่อยกระดับ Operational Excellence ไปอีกขั้น อีกทั้งการนำระบบ Machine Learning มาใช้ เพื่อคาดการณ์ราคาวัตถุดิบ การใช้ Optimization Model เพื่อตัดสินใจเดินเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ Realtime Performance Management เพื่อให้เห็นข้อมูลการเดินเครื่องจักรอย่างรวดเร็วสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตให้เข้ากับสถานการณ์ตลาดได้อย่างทันท่วงที รวมถึงระบบ Digital Reliability Platform (DRP) ช่วยดูแลการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้สามารถเดินเครื่องจักรได้ดี บำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระบบ Digital Commerce Platform (DCP) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายและทำให้ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับการก่อสร้างโครงการ LSP ในเวียดนาม คาดใช้เงินลงทุนปีนี้อีกราว 50,000 ล้านบาท จะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในครึ่งแรกของปี 2566 ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตรวมกว่า 40% เป็น 9.8 ล้านตันต่อปี จากปัจจุบันอยู่ 6.9 ล้านตัวต่อปี นอกจากนี้ยังมีแผนขยายไปสู่โครงการ LSP เฟส 2 ปัจจุบันโครงการ LSP 1 ทดแทนการนำเข้าไม่ถึง 30% ทำให้ยังต้องมีการนำเข้าอีก 70% หากในปีถัดไปโครงการ LSP 2 เกิดขึ้นก็จะช่วยตอบโจทย์ดังกล่าวได้

ด้านโรงงานผลิตที่อินโดนีเซียที่เป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรอีก 2 ราย โดย SCGC ถือหุ้นราว 30% ก็มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต คาดว่าจะสามารถตัดสินใจลงทุนได้ในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า และน่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการราว 1 แสนล้านบาท

นายกุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน SCGC กล่าวว่า การนำ SCGC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยื่นไฟลิ่งแล้ว ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ก.ล.ต. บริษัทมีแผนนำเงินไปใช้ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว โดยหลักจะนำไปปรับโครงสร้างทางการเงิน คืนเงินกู้ให้แก่บริษัทแม่ หรือ ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) ที่ได้นำมาลงทุนโครงการ LSP ในเวียดนาม มูลค่าเงินลงทุนราว 1.6-1.7 แสนล้านบาท เพื่อให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลงจาก 1 เท่า และช่วยให้บริษัทสามารถระดมทุนในช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนโครงการในอนาคต อีกทั้งจะใช้ขยายธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อลูกค้า และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน

ทั้งนี้ SCGC มีแผนเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนไม่เกิน 3,854,685,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท (รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) อาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจาก SCGC ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment)) คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25.2% ของทุนชำระแล้วภายหลังขาย IPO

แนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 2/65 ยังมีปัจจัยที่ท้าทายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น เงินเฟ้อ การล็อกดาวน์ในจีน ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการ แม้บริษัทจะปรับราคาขายเพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มไม่ได้มาก จากความผันผวนของปัจจัยภายนอกประเทศ บริษัทจึงกลับมาเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตลดต้นทุนทุกส่วนลงด้วย

“เราได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่า ซึ่งทุกๆ 1 บาท มีผลต่อกำไร 800-1,000 ล้านบาท/ปี จากปัจจุบันมียอดขายในต่างประเทศและในประเทศสัดส่วน 50:50” นายกุลเชฏฐ์ กล่าว
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 10

โพสต์

phpBB [video]


SCGC ผู้นำเคมีภัณฑ์อาเซียน กำลังจะเป็นสมาชิกใหม่ในตลาดหุ้น

SCGC เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์มากว่า 40 ปี กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเร็วๆนี้ โชว์วิสัยทัศน์เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค

ชูจุดแข็งการมีผลิตภัณฑ์ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มุ่งพัฒนานวัตกรรมและสินค้า HVA เพื่อตอบสนอง 5 เมกะเทรนด์ของโลกและภูมิภาคอาเซียน รับอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

Re: SCGC

โพสต์ที่ 11

โพสต์

phpBB [video]

SCGC Press Conference Highlights

SCGC ชูวิสัยทัศน์เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในภูมิภาค มุ่งเติบโตควบคู่การสร้างความยั่งยืน ในงาน SCGC Press Conference เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 397

SCGC

โพสต์ที่ 12

โพสต์

SCGC เล็งขายไอพีโอแบบ Small Lot First ฟาก SCC คาดครึ่งปีหลังธุรกิจยังมีความท้าทาย หลังราคาพลังงานพุ่ง ดันต้นวัตถุดิบสูง
27.07.2565



ผู้บริหาร SCGC ชี้บริษัทมีความตั้งใจที่จะกระจายและจัดสรรหุ้นไอพีโอให้ทั่วถึงประชาชนทุกคน แบบ Small Lot First ในรูปแบบเดียวกันกับ SCGP ส่วน SCC มองภาพรวมธุรกิจครึ่งปีหลังยังมีความท้าทาย หลังจากที่ราคาพลังงานในตลาดโลกยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย และยูเครน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างในอาเซียนถือว่ายังเติบโตได้ดี เช่นเดียวกันธุรกิจแพ็คเกจจิ้ง


นายกุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เปิดเผยว่า บริษัทมีความตั้งใจที่จะกระจายและจัดสรรหุ้นไอพีโอให้ทั่วถึงประชาชนทุกคน (Small Lot First) ในรูปแบบเดียวกันกับที่บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอ ก.ล.ต.อนุมัติไฟลิ่ง


ด้านนาย รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC มองแนวโน้มธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังถือว่ายังมีความท้าทายจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบไปยังต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะเดียวกันในปีนี้บริษัทจะพยายามเน้นความสามารถในการทำกำไร และความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างในภูมิภาคอาเซียนถือว่ายังเติบโตได้ดี ส่วนธุรกิจแพ็กเกจจิ้งยังมีแนวโน้มเติบโตตามอุตสาหกรรมอาหาร


ขณะที่โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่ประเทศเวียดนาม เฟส 2 นั้น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา โดยเฟสที่ 1 อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะเปิดให้ดำเนินการในรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปลายไตรมาส 4/65 หรือไตรมาส1/66


ไตรมาส 2/65 กำไรวูบ 42%

สำหรับผลประกอบการงวดไตรมาส 2/65 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 9,937 ล้านบาท ลดลง 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 17,136 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจเคมิคอลส์ ที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งส่วนแบ่งกําไรจากบริษัทร่วมในธุรกิจเคมิคอลส์ลดลง


สำหรับ รายได้จากการขาย ในไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 152,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลัก จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของทุกกลุ่มธุรกิจจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาด


ขณะเดียวกันรายได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนเพราะธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและธุรกิจแพคเกจจิ้งมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ธุรกิจเคมิคอลส์มีรายได้จากการขายลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณการขายลดลงจากแผนซ่อมบํารุงPolyolefin และความต้องการของตลาดที่ปรับตัวลง


ส่วนผลการดำเนินงานในครึ่งแรกของปี 65 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 18,781 ล้านบาท ลดลง 41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 32,050 ล้านบาท โดยผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของ ต้นทุนวัตถุดิบตามราคาน้ำมัน และส่วนแบ่งกําไรจากบริษัทร่วมในธุรกิจเคมิคอลส์ที่ลดลง ประกอบกับในปีนี้ ไม่ได้เกิดเหตุการณ์วิกฤติฤดูหนาวที่รุนแรงในสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ EBITDA ลดลง 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 42,468 ล้านบาท


นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดําเนินงานครึ่งปีแรก ของปี 2565ในอัตรา 6.0 บาทต่อหุ้น เป็นเงินทั้งสิ้น 7,200 ล้านบาท โดยกําหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 กําหนดวันที่ XD ในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 และกําหนดรายชือผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record date) วันที่ 11 สิงหาคม 2565
ภาพประจำตัวสมาชิก
ช่างลงทุน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 5

Re: SCGC

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณ ข้อมูลดีๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1801
ผู้ติดตาม: 118

Re: SCGC

โพสต์ที่ 14

โพสต์

SCC เผย SCGC จับมือ Denka ทำห่วงโซ่ธุรกิจผลิตแบตรถEV กำลังผลิตหมื่นตัน


สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -20 ต.ค. 65 9:24: น.


  SCC เผย SCGC จับมือ Denka ทำห่วงโซ่ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่รถ EV กำลังผลิต 1.1 หมื่นตัน/ปี คาดเริ่มผลิตปี 68

  บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมด ได้เข้าร่วมลงทุนตามสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Denka Company Limited หรือ Denka ประเทศญี่ปุ่น เพื่อจัดตั้งบริษัทสำหรับธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene black) (บริษัทร่วมทุน)

  โดย Denka จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 60% และส่วนที่เหลือจำนวน 40% จะถือหุ้นโดย SCGC ซึ่งโครงการนี้จัดตั้งขึ้นในจังหวัดระยอง ประเทศไทย มีกำลังการผลิตประมาณ 11,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ภายในต้นปี 2568 ทั้งนี้รายละเอียดการลงทุนจะเป็นไปตามการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของบริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในต้นปี 2566

  Denka เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตอะเซทิลีนแบล็ค ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นหลัก รวมถึงสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยวัตถุดิบที่ได้จาก SCGC (Ethylene, Acetylene และ Ethane) นั้น จะจัดหาโดยโรงงาน Olefins ของ SCGC ในการผลิตอะเซทิลีนแบล็คของ Denka (DENKA BLACK) ซึ่งเป็นคาร์บอนเบล็คชนิดพิเศษมีคุณ สมบัติที่มีความบริสุทธิ์สูง และนำไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม

  การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนนี้จะส่งเสริมให้ SCGC สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ SCGC ในการยกระดับธุรกิจสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value-Added หรือ HVA) และเสริมสร้างการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพื่อรองรับเมกะเทรนด์ การร่วมทุนกับ Denka จะช่วยเน้นย้ำจุดยืนของ SCGC ในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยความสำเร็จมาแล้วหลายทศวรรษกับพันธมิตรระดับโลก

  Denka เป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี โดยมีแผนธุรกิจในระยะกลางที่มุ่งเน้นความเป็ นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงโดยเฉพาะในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ Denka ยังให้ความสำคัญกับการบริหารงานด้าน ESG เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ ในปี 2564 Denka มีรายได้สุทธิประมาณ 113,000 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 7,700 ล้านบาท และสินทรัพย์รวมประมาณ 164,000 ล้านบาท

  สำหรับโครงการลงทุนครั้งนี้มีขนาดรายการเท่ากับ 0.02% ของมูลค่าของสินทรัพย์รวมตามงบการเงินรวมของ SCC สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 โดยเมื่อรวมกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นในระหว่าง6 เดือนก่อนวันที่มีการเข้าทำารายการนี้จะเท่ากับ 0.31% ดังนั้น การรายงานสารสนเทศข้างต้นจึงไม่เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1801
ผู้ติดตาม: 118

Re: SCGC

โพสต์ที่ 15

โพสต์

SCGC ซื้อกิจการ60%ธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในเนเธอร์แลนด์
11 พ.ย. 2565

SCC ส่งบริษัทลูก SCGC เข้าซื้อกิจการธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในเนเธอร์แลนด์ สัดส่วน60% เป็นมูลค่า 2,100 ล้าน คาดกระบวนการแล้วเสร็จสิ้นปี65 ต่อยอดสู่ธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลครบงจรมากยิ่งขึ้น

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ว่า ขอบริษัท SCG ChemicalsTrading (Singapore) Pte. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC โดย SCC ถือหุ้นร้อยละ 100 ใน SCGC ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อกิจการสัดส่วนร้อยละ 60 ใน Recycling Holding Volendam BV (Kras) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในธุรกิจการจัดการขยะใช้แล้วจากประเทศเนเธอร์แลนด์ มูลคำประมาณ 55.1 ล้านยูโร หรือประมาณ 2,100 ล้านบาท โดยธุรกรรมนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้น ภายในปี 2565

ในปี 2564 Kras มียอดขายรวมจำนวน 92.7 ล้านยูโร (ประมาณ 3,500 ล้านบาท) และกำไรสุทธิ 5.5 ล้านยูโร (ประมาณ 210 ล้านบาท) มีสินทรัพย์ 30.5 ล้านยูโร (ประมาณ 1,160 ล้านบาท) มีความสามารถในการจัดหาขยะพลาสติกและกระดาษใช้แล้วอยู่ที่ 160,000 และ 120,000 ตันต่อปีตามลำดับ ซึ่งเป็นขยะที่มีคุณภาพสูง สำหรับนำไปดำเนินการต่อในห่วงโซ่คุณค่า Circular economy นอกจากนั้น Kras มีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง

โดยปัจจุบัน มีกำลังการผลิต 9,000 ตันต่อปี และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มสองเท่าในปี 2566 โดยผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลของ Kras เพิ่มติมได้ที่เว็บไซต์ ww.kras-recycling.com


การลงทุนในครั้งนี้จะเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของ SCGC ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ SCGC เข้าสู่ธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลครบงจรมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บขยะกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก ตลอดจนการแปรรูปเม็ดพลาสติกและส่งมอบให้ลูกค้าในทวีปยุโรป

โดยคาดการณ์ความต้องการเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในทวีปยุโรป จะเติบโตในอัตราร้อยละ 10.6 ต่อปี ในอีก 5 ปี ตามการวิเคราะห์ของ Nexant Energy & Chemicals Advisory (NexantECA) นอกจากนั้น การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยให้ SCGC สามารถต่อยอดองค์ความรู้ในธุรกิจ ความเชี่ยวชาญ และเครือข่ายของ Kras หลังจากการเข้าซื้อกิจการใน Sirplaste ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงในประเทศโปรตุเกสเมื่อเดือนเมษายน2565 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ SCGC เป็นบริษัทผู้นำด้านธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคอาเซียน ประกอบธุรกิจในประเทศไทย อินโดนีเชียและเวียดนาม โดยมี 4 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่

1) ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ในภูมิภาคอาเชียน

2) มุ่งขยายและสร้างความแข็งแกร่งเพื่อเป็นผู้ประกอบธุรกิจไวนิล ครบวงจร

3) เป็นผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลกโดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green polymer) โดยมีแผนขยายธุรกิจในทวีปยุโรป

4) พัฒนาและเร่งการเติบโตของสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA)

https://www.bangkokbiznews.com/finance/1037203
ภาพประจำตัวสมาชิก
RnD-VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6408
ผู้ติดตาม: 609

Re: SCGC

โพสต์ที่ 16

โพสต์

phpBB [video]
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
RnD-VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6408
ผู้ติดตาม: 609

Re: SCGC

โพสต์ที่ 17

โพสต์

scgc-3.jpg
scgc-2.jpg
scgc-1.jpg
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
arm10182
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1801
ผู้ติดตาม: 118

Re: SCGC

โพสต์ที่ 18

โพสต์

IPO ‘SCGC’ ส่อเลื่อนยาวไปปีหน้า หลังบอร์ดยังนิ่ง ขอรอดูงบครึ่งแรกปีนี้ – ภาวะตลาดหุ้นก่อนตัดสินใจ
โดย ประลองยุทธ ผงงอย
29.01.2023


แผนขายหุ้น IPO ‘เอสซีจี เคมิคอลส์’ เสี่ยงเลื่อนขายจากปีนี้ไปเป็นปีหน้าแทน บอร์ดระบุขอรอดูงบครึ่งแรกของปีนี้ก่อนตัดสินใจ หลังปี 65 กำไรทรุดหนัก 80% หวั่นกดดันราคาขาย IPO



แหล่งข่าวที่ปรึกษาทางเงิน (FA) เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า แผนการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่ว (IPO) ของ บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCC มีโอกาสที่จะเลื่อนแผนการขาย IPO จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปีนี้ไปเป็นปีหน้าแทน โดย SCGP แต่งตั้ง FA ไทย คือ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง, บล.กสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และมีที่ปรึกษาทางการเงินและร่วมจัดจำหน่ายเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ ได้แก่ มอร์แกน สแตนลีย์, ยูบีเอส และเจพีมอร์แกน



สาเหตุที่ SGPC จะเลื่อนแผนการขาย IPO ออกไปนั้น เนื่องจากเห็นว่าภาวะภาพรวมในตลาดยังอยู่ในภาวะชะลอตัว รวมถึงในธุรกิจกลุ่มปิโตรเคมีที่ SCGC ดำเนินธุรกิจอยู่นั้น โดยภาพรวมในปีนี้ยังอยู่ในช่วงวัฏจักรขาลงจากซัพพลายใหม่ของโรงงานทั่วโลกที่ทยอยออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยกดดันจากภาวะเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐฯ กับยุโรปที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ส่งผลกระทบให้วัฏจักรราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในปัจจุบันยังเป็นขาลงจากดีมานด์ที่ลดลง



ดังนั้นจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของ SCGC ในปีนี้ให้ออกมาไม่ดีด้วย และยังมีผลต่อเนื่องให้การระดมทุนขาย IPO ได้ราคาหุ้นต่ำกว่าแผนงานที่กำหนดไว้



ทั้งนี้ ในปี 2565 SCGC มีรายได้ 2.37 แสนล้านบาท ลดลง 1% จากปีก่อน เนื่องจากราคาและปริมาณขายสินค้าที่ลดลง โดยมีกำไรอยู่ที่ 5.90 พันล้านบาท ลดลง 80% จากปีก่อน เนื่องจากส่วนต่างราคาขายสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง ส่วนไตรมาส 4/65 มีรายได้จากการขาย 4.33 หมื่นล้านบาท ลดลง 25% จากไตรมาสก่อน และลดลง 34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาขายสินค้าปรับตัวลดลง โดยมีขาดทุนสำหรับงวด 1,052 ล้านบาท สาเหตุจากส่วนต่างราคาขายสินค้าลดลง



ด้านแหล่งข่าวระดับสูง บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า ปัจจุบันคณะกรรมการของบริษัท (บอร์ด) อยู่ระหว่างรอดูงบการเงินช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ของบริษัทให้ออกมา รวมถึงภาวะตลาดหุ้นในช่วงที่จะระดมทุนด้วย เพื่อนำมาประกอบการตัดใจในการพิจารณาการขายหุ้น IPO



ทั้งนี้ หากประเมินสถานการณ์ภาวะตลาดแล้วไม่เอื้ออำนวย มีความเสี่ยงที่จะได้ราคาขาย IPO ที่ต่ำกว่าแผนที่วางไว้ ก็มีโอกาสที่จะเลื่อนแผนการขาย IPO ที่เดิมวางไว้ในปีนี้เลื่อนไปในปีหน้าแทน



สำหรับกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของ SCGP เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ซึ่งบริษัทมีระยะเวลา 1 ปีในการนำ บมจ.เอสซีจี เคมิคอลส์ ขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่หากไม่สามารถ IPO ได้ทันตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. จะต้องยื่นไฟลิ่งใหม่ โดยบริษัทสามารถอัปเดตข้อมูลของบการเงินเพิ่มเติมเท่านั้น ส่วนข้อมูลด้านอื่นๆ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญ เนื่องจากทั้งบริษัทและ FA ทำข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ครบแล้ว



“ตอนนี้แผนการ IPO บอร์ดของ SCGC ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะต้องขาย IPO ในปีนี้หรือไม่ ยังขอรอดูงบการเงินครึ่งแรกของปีนี้ออกมาก่อน รวมถึงภาวะตลาดหุ้น เพราะถ้าขาย IPO ไม่ได้ราคาตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็ไม่จำเป็นต้องขายในปีนี้ เลื่อนไปขาย IPO ปีหน้าแทนได้เพื่อรอให้ผลประกอบการของบริษัทออกมาดูดีขึ้น รวมถึงภาวะตลาดหุ้นที่ดีขึ้นเพื่อให้สามารถกำหนดราคา IPO ได้ตามแผน” แหล่งข่าวกล่าว

https://thestandard.co/ipo-scgc-maybe-next-year/
ภาพประจำตัวสมาชิก
RnD-VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6408
ผู้ติดตาม: 609

Re: SCGC

โพสต์ที่ 19

โพสต์

#SCC #ทันหุ้น-บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการนำบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCGC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นว่า บริษัทได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้น SCGC เข้าจดทะเบียน โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงสถานการณ์ภายนอกต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ วิกฤตราคาพลังงาน และภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนภาวะตลาดเงินและตลาดทุน บริษัทเห็นว่ายังไม่เหมาะสมจะดำเนินการการขายหุ้น IPO ในช่วงเวลานี้



ทั้งนี้ SCGC ได้ยื่นขอขยายระยะเวลา IPO และได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2566 ให้ขยายระยะเวลา IPO ออกไปถึงวันที่ 4 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นไปตามที่ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกำหนด



อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยและสถานการณ์ข้างต้น บริษัทฯ จะพิจารณาความเหมาะสมต่อไปอีกครั้งหนึ่ง และจะรายงานความคืบหน้าที่ส าคัญให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทราบต่อไป
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
โพสต์โพสต์