BITKUB

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ภูมิทัศน์ใหม่ในโลกการเงิน
https://www.bot.or.th/landscape/paper/overview/
:)
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 62

โพสต์

นักลงทุนลุ้น SCBX ล้มดีล Bitkub หรือไม่? ภายในมิ.ย.นี้รู้ผล!
4 มิถุนายน 2565, 18:17 น.

นักลงทุนจับตา SCBX จะล้มดีล Bitkub หรือไม่ คาดภายในเดือนมิถุนายนนี้รู้ผลชัดเจน ขณะที่ราคาเหรียญ KUB Coin ช่วง 6 เดือน ร่วงลงกว่า 80%

วันนี้ (4 มิ.ย.65) จากกรณีซูเปอร์ดีลการซื้อขายหุ้น Bitkub ของ SCBX ท่ามกลางราคาของเหรียญ KUB Coin ที่ปรับตัวร่วงลงอย่างหนัก จากที่พุ่งขึ้นไปูทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 580 บาทต่อเหรียญ ล่าสุดร่วงลงมาต่ำกว่าร้อย โดยความคืบหน้าของซูเปอร์ดีล SCBX ซื้อหุ้น Bitkub ล่าสุด ทีมผู้บริหารเอสซีบีเอ็กซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและการประเมินทรัพย์สิน (Due Diligence) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นสัดส่วน 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ มูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มี ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร



ตามรายงานทีมผู้บริหารเอสซีบีเอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงิน ระบุว่า จะทำ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย. 2565 นี้ และจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอสซีบีเอกซ์ พิจารณาต่อไป ดังนั้น ณ เวลานี้ จึงยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะซื้อหุ้นของบิทคับ ออนไลน์ ตามดีลเบื้องต้นที่ตกลงกันไว้หรือไม่ โดยยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการ Due Diligence เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการพิจารณาว่าราคาที่ตกลงกันนั้นเหมาะสมหรือไม่




ขณะเดียวกันมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก ราคาปัจจุบันลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่เอสซีบีเอกซ์จะต่อรองขอลดราคาซื้อหุ้นบิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกัน ทั้งยังต้องดูระเบียบข้อกฎหมายจากหน่วยงานกำกับทั้ง ธปท. และ ก.ล.ต. มาประกอบด้วย


ด้านนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ได้


ขณะที่ราคาเหรียญ KUB ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยลบต่างๆ ที่เข้ามากดดันจนหลุดต่ำกว่า 100 บาทต่อ 1 เหรียญเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2565 หลังจากที่เคยทำราคาสูงสุดไว้ที่ประมาณ 580 บาท โดยในวันดังกล่าวราคา KUB หล่นไปถึง 95.02 บาทลดลง 484.98 บาท หรือกว่า 83.62% จากจุดสูงสุดของราคาเหรียญ และเมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ราคาเหรียญเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 112 บาทต่อ 1 เหรียญ
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 63

โพสต์

SCBX ยังไม่ตัดสินใจซื้อ "บิทคับ" รอ "ดีลดิลิเจนท์" ต่อรองราคา มิ.ย.นี้ ก่อนจะประกาศ "ไปต่อหรือล้มดีล"
เผยแพร่: 27 พ.ค. 2565 16:09 ปรับปรุง: 27 พ.ค. 2565 16:09 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ซูเปอร์ดีล” ยานแม่ "เอสซีบี เอกซ์" ประกาศซื้อ "บิทคับ ออนไลน์" สัดส่วน 51% ยังไม่แน่นอน หลังบิ๊ก "เอสซีบี เอกซ์" ยังไม่ตัดใจทุ่มเงินซื้อเกือบ 1.8 หมื่นล้านบาท มองอาจแพงไป หลังตลาดคริปโตเคอร์เรนซีผันผวนหนัก รอผล Due Diligence ออก พร้อมขอต่อราคาลง เดือน มิ.ย.นี้ รู้ผลสรุปเดินหน้าต่อหรือล้มดีล

รายงานข่าวจากทีมข่าว "SPOTLIGHT" ระบุว่า แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ได้เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า ปัจจุบันทีมผู้บริหารเอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและการประเมินทรัพย์สิน (Due Diligence) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นสัดส่วน 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มี ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปัจจุบัน ซึ่งทีมผู้บริหารเอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินจะทำการ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย.2565 นี้ และจะนำข้อมูลส่งต่อให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอสซีบี เอกซ์ พิจารณาต่อไป


ดังนั้นในขณะนี้ เอสซีบี เอกซ์ ขอยืนยันว่ายังไม่ได้มีข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เนื่องจากในการตัดสินใจเข้าลงทุนที่ใช้เงินลงทุนที่มีมูลค่าสูงมากๆ นั้่น ในขั้นตอนการดำเนินการปกติ และตามเงื่อนไขสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันไว้ ฝั่งผู้ซื้อมีสิทธิจะรอผลสรุปของการทำ Due Diligence ของกิจการของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ให้ออกมาก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสินใจว่าจะซื้อ โดยพิจารณาถึงราคาที่ตกลงกันไว้ในเบื้องต้นนั้นมีความเหมาะสมกับมูลค่ากิจการและเงินลงทุนจะจ่ายไปหรือไม่ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปภายในของฝั่งผู้ซื้อแล้วจึงจะมีการเจรจากับฝั่งผู้ขายอีกครั้ง

เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมรับว่าสถานการณ์ภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซีทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก และราคาปัจจุบันถือว่าตกลดลงมากค่อนข้างเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้น หลังจากผลการ Due Diligence ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ออกมาแล้ว

"เอสซีบี เอกซ์" ขอต่อลดลงราคาซื้อ "บิทคับ"

โดยทีมผู้ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ น่าจะมีการต่อรองเพื่อขอลดราคาซื้อหุ้นของบิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกันไว้ในช่วงต้นจากฝ่ายผู้ขายเป็นตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปที่อธิบายไปข้างต้น รวมถึงยังต้องดูปัจจัยในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)



"ตอนนี้ เอสซีบี เอกซ์ ยังไม่ได้สรุปว่าจะซื้อ บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เพราะต้องนำผลของการ Due Diligence ที่จะเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้มาพิจารณาศึกษาให้รอบครอบก่อนเป็นขั้นตอนปกติของการทำดีลขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากที่ผู้ซื้อกับผู้ขายต้องเซ็นสัญญาเบื้องต้นไว้ก่อนเพื่อให้ฝั่งผู้ซื้อทำ Due Diligence เมื่อออกมาแล้วก็นำมาศึกษาเพื่อหาข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อตามที่เคยประกาศไว้ หรืออาจไม่ซื้่อล้มดีลไปเลย ซึ่งหากผลการศึกษาออกมาพบว่าดีลไม่เหมาะสมที่เราจะเข้าไปลงทุน ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีผันผวนมาก และราคาลงไปค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้นคิดว่าราคาของบิทคับ ออนไลน์ ก็ควรจะต้องลดลงจากเดิมตามที่เคยประกาศไว้ด้วยเพราะอาจแพงไปกับสถานการณ์ตอนนี้" แหล่งข่าวกล่าวกับ SPOTLIGHT

ก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวระดับสูงที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า เอสซีบี เอกซ์ อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองขอลดราคาซื้อหุ้นของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากราคาเดิมมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดังนั้น ส่งผลให้ดีลการเข้าลงทุนซื้อหุ้นบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของ SCB ต้องมีการเลื่อนจากแผนงานเดิมที่ต้องการจะปิดดีลชำระเงินค่าหุ้นและเข้าไปถือหุ้นในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากกำหนดการเดิมที่จะต้องเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ เนื่องจากทีมผู้บริหาร SCB ได้พยายามในการเจรจาและต้องการใช้เวลาในการต่อรองเพื่อขอลดราคาลง เพราะปัจจุบันราคาที่เคยตกลงซื้อขายไว้ถือว่าแพงมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาพตลาดคริปโตเคอร์เรนซีกำลังเป็นช่วงขาลงซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและมูลค่าของกิจการของบิทคับ ออนไลน์ที่ต้องลดลงไปด้วย
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 64

โพสต์

KUB Coin สองมาตรฐาน รายย่อยตาย Bitkub อุ้มรายใหญ่ทำกำไร ปั่นเหรียญ ก.ล.ต. ว่ายังไง?
เผยแพร่: 1 มิ.ย. 2565 17:31 ปรับปรุง: 1 มิ.ย. 2565 17:31 โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ผู้จัดการรายวัน 360 - ธรรมาภิบาลอยู่ไหน ยุติธรรมกับรายย่อยแล้วหรือ? เมื่อบิทคับ เจ้าของเหรียญ KUB ช่วยเหลือพาร์ตเนอร์ธุรกิจ มีออปชันล้มบนฟูกรองรับ หลังควักเงินก้อนโตเข้าซื้อเหรียญ KUB แต่ไม่จำเป็นต้องวิตกว่าราคาเหรียญจะรูดลงแค่ไหน เพราะได้การันตีรับซื้อคืนราคาทุนหรือทำสัญญาป้องกันความเสี่ยง และถือเป็นกลยุทธ์จับรายใหญ่ช่วยพยุงราคาเหรียญ ขณะที่ปล่อยรายย่อยตายไปเอง จนต้องร้องขอความเป็นธรรมกับ ก.ล.ต. สะท้อนให้เห็นว่า “บิทคับ” โดยร่วมกับพันธมิตร และ มาร์เกตเมกเกอร์คุมเกมราคา KUB - ปั่นตลาดได้? แถมชวนสงสัยกลุ่มใหญ่ “อินไซเดอร์” เทขายเหรียญทำกำไรก่อน โอดไม่ต่างจากบ่อนพนันที่เจ้ามือมีแต่ได้กับได้

จาก LUNA เหรียญคริปโตเคอร์เรนซีชื่อดัง มาถึง Bitkub Coin (KUB) ของกลุ่ม “บิทคับ โฮลดิ้ง” ก็เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่ไม่ยอมน้อยหน้า โดยเฉพาะข่าวประเภทบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ไหลออกมาต่อเนื่อง อย่างเช่นล่าสุด ในกรณีของบริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ PROEN และบริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD

ชนวนเหตุที่น่าสงสัย เริ่มจากเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2565 บมจ.โปรเอ็น คอร์ป ตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) เพื่อวัตถุประสงค์การเป็นพาร์ตเนอร์ในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node) แบบ PoSA (Proof of Stake Authority) ในระบบการตรวจสอบธุรกรรมบล็อกเชน (Block chain) ของ Bitkub (Bitkub Blockchain Technology Co., Ltd.) จำนวน 2.5 แสนเหรียญ ในราคาลงทุนเฉลี่ยเหรียญละ 291 บาท (ประมาณ 72.9 ล้านบาท)

แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคาเหรียญ KUB ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยลบต่างๆ ที่เข้ามากดดันจนหลุดต่ำกว่า 100 บาทต่อ 1 เหรียญเมื่อวันที่ 28 พ.ค.2565 หลังจากที่เคยทำราคาสูงสุดไว้ที่ประมาณ 580 บาท โดยในวันดังกล่าวราคา KUB หล่นไปถึง 95.02 บาทลดลง 484.98 บาท หรือกว่า 83.62% จากจุดสูงสุดของราคาเหรียญ และล่าสุด (31พ.ค.) ราคาเหรียญเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 112 บาทต่อ 1 เหรียญ นั่นทำให้มูลค่าลงทุนของ PROEN ลดลงไปประมาณ 179 บาท หรือกว่า 159%

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักลงทุนที่ถือหุ้น PROEN ตัดสินใจเทขายหุ้นออกมา เนื่องจากกังวลว่าบริษัทจะได้รบผลกระทบจากการลงทุนในเหรียญ KUB จนราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 7.00 บาทต่อหุ้น จากที่เคยทะยานขึ้นที่ระดับ 10.00 บาทต่อหุ้น ในช่วงมีนาคม 2565

ส่งผลให้ผู้บริหารบริษัทต้องออกมาชี้แจง (31 พ.ค.) ว่า การร่วมลงทุนกับ Bitkub นั้นมีข้อตกลงในการยืนยันการรับประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำเมื่อครบกำหนดภายในวันที่ 31 พ.ค.2566 ที่ไม่ต่ำกว่าราคาที่บริษัทลงทุน ซึ่งอ้างอิงกับราคาซื้อขายแลกเปลี่ยนบนศูนย์กลางซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub ณ วันที่บริษัทลงทุน แต่หากราคาซื้อขายที่อ้างอิงของสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub สูงกว่าราคาขั้นต่ำที่รับประกัน ทางบริษัทสามารถตัดสินใจขายทำกำไรได้ตามราคาแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น จึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาเหรียญ KUB ในปัจจุบัน

ขณะที่ บมจ.ทีวี ไดเร็ค หรือ TVD ก็เป็นอีกหนึ่งรายที่ประกาศเข้าลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ และระบบที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล โดยให้เหตุผลว่าเป็นแผนงานส่วนหนึ่งในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ TVD ให้ปรับตัวได้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเสริมประโยชน์จากการใช้ระบบที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลในการทำการตลาด และส่งเสริมการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งเป็นแผนในการพลิกฟื้นธุรกิจของบริษัทให้พลิกกลับมาเป็นบวกได้อีกครั้ง หลังจากที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายเข้ามาค่อนข้างมาก

ในส่วนของแผนการลงทุนบริษัทวางงบลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ รวมกว่า 80 ล้านบาท ซึ่งในช่วงแรกจะใช้เงินลงทุนราว 53 ล้านบาทใน 3 ส่วน ได้แก่ ซื้อเครื่องขุด Bitcoin จำนวน 25 เครื่อง กำลังการขุดราว 0.001 BTC/วัน โดยบริษัทเตรียมสถานที่และกำลังผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการอนุญาต ซึ่งได้รับอัตราค่าไฟในราคาที่ถูก รวมถึงจะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อเสริมกำลังการใช้ไฟฟ้าในการรองรับการขุดเหมือง Bitcoin คาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงไตรมาส 3/65

รวมทั้งการลงทุนเข้าเป็นสมาชิก Node Validator ของ Bitkub ซึ่งบริษัทได้เข้าทำสัญญาซื้อเหรียญ KUB Coin ที่ราคา 104.26 บาท/เหรียญ จำนวน 125,000 เหรียญ ใช้เงินทุนราว 13 ล้านบาท โดยบริษัทมั่นใจว่าเป็นราคาที่ต่ำและมีความเหมาะสม แม้จะยังมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาเหรียญอยู่บ้าง แต่บริษัทได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงรองรับในระดับ 12% หรือจำนวน 15,000 เหรียญ โดยรองรับราคาลดลงมาได้ต่ำสุดถึง 90 บาท และมีระยะเวลาสัญญา 1 ปี ส่วนงบลงทุนอีก 15 ล้านบาท จะใช้ในการลงทุนระบบ Proof of stake เพื่อรองรับ Node Validator ของ Bitkub โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาส 3/65 ทั้งหมด

"การเข้าลงทุนใน Node Validator ของ Bitkub ไม่ได้คาดหวังการเก็งกำไร แต่มองประโยชน์ในการต่อยอดเข้ามาเสริมด้านการทำการตลาดในการออกเหรียญ หรือ NFT ให้แก่ลูกค้า หรือการทำกิจกรรมทางการตลาดในแคมเปญต่างๆ และโอกาสการเข้าสู่ Metaverse ต่อไปในอนาคต" “ทรงพล ชัญมาตรกิจ” หรือ "เสี่ยซ้ง" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TVD ให้ความเห็น



อุ้มพันธมิตร-ปล่อยรายย่อยตาย

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กรณี ทำให้เริ่มมีหลายฝ่ายมองว่า เป็นการเอาเปรียบนักลงทุนทั่วไป หรือผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อเหรียญ KUB ไว้หรือไม่? เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องยอมรับความเสี่ยงต่อการขึ้นลง หรือความผันผวนของราคาเหรียญด้วยตนเอง และ “บิทคับ” ก็ไม่มีมาตรการอะไรออกมารับรอง

เรื่องนี้สวนทางกับบริษัทที่เข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจของ Bitkub เพราะบริษัทเหล่านี้กลับได้สิทธิพิเศษในการรับประกันราคาซื้อคืนที่ต่ำกว่าทุน หรือมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความเสียหายถ้ามูลค่าเหรียญที่ลงทุนปรับตัวลดลง เปรียบเสมือนได้รับเกราะป้องกันตัวที่แข็งแกร่ง เพียงแค่ใช้เงินทุนในจำนวนมากเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์ธุรกิจ จากนั้นก็นอนรอตักตวงผลกำไรจากราคาเหรียญเมื่อครบเกณฑ์ 1 ปี

แต่ที่ผ่านมายังมีเม็ดเงินจำนวนมากของนักลงทุนทั่วไปที่สูญเสียไปจากการที่ราคาเหรียญ KUB ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาเหรียญเคยขึ้นไปถึง 580 บาท และการปรับตัวลงมาอย่างหนักในช่วงเวลาที่ผ่านมาย่อมทำให้นักลงทุนหลายคนขาดทุน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เริ่มมีนักลงทุนหลายรายอยากให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ควรเข้ามาจัดการในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมองว่าสิ่งที่ “บิทคับ” ทำนั้นไม่ยุติธรรมต่อผู้ถือครองเหรียญ KUB ทั่วไปที่จะต้องเผชิญชะตากรรมด้วยเอง ขณะที่บรรดาพาร์ตเนอร์ของบริษัทต่างไม่ได้รับผลกระทบ หรือความเสียหายจากการลงทุนจนเรียกได้ว่า ไม่ต่างจากบ่อนพนันที่เจ้ามือมีแต่ไล่สะสมทุน แล้วรอรับผลกำไรอยู่ขาเดียว

สะท้อนเจ้ามือคุมราคา-ปั่นตลาด

ธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจของบิทคับ เคยถูก ก.ล.ต.ตรวจสอบและลงโทษมาแล้วหลายครั้ง ครั้งนี้ ก.ล.ต.ก็ไม่ควรจะปล่อยผ่านเช่นกัน

ว่าไปแล้ว การที่บิทคับ นำ KUB หรือที่คนในวงการมองว่า เป็น “เหรียญมโน” มีมูลค่าคิดไว้ 30 บาท โดยที่ใช้ประโยชน์เพียงเป็นส่วนลดน้อยนิดของค่าธรรมเนียมมหาโหด 0.25% เข้าจดทะเบียนในตลาดซื้อขายของตัวเอง ก็เป็นสิ่งที่บิดเบี้ยวมาตั้งแต่ต้น

สิ่งที่น่าสนใจคือ ล่าสุด (7 พ.ค.) ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ (BO) และกรรมการ 5 คน ซึ่งอยู่ในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล มีความผิดกรณีที่คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

เนื่องจากตามประกาศของ ก.ล.ต.ได้ห้ามศูนย์ซื้อขายนำโทเคนดิจิทัลที่ออกโดยศูนย์ซื้อขายเองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขาย มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นๆ ซึ่งถือเป็นการกระทำหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่ เป็นเหตุให้ “บิทคับ ออนไลน์” คัดเลือกเหรียญ KUB มาให้บริการซื้อขาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ม.94 ของ พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ให้ปรับเงินรายละ 2,533,500 บาท และปรับบริษัท 2,533,500 บาทเช่นกัน และกำหนดค่าปรับรายวันจนกว่า BO จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ ก.ล.ต.กังวลมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ

พูดง่ายๆ ว่า บิทคับ ทำธุรกิจแหกธรรมาภิบาลตั้งแต่เริ่มแรก และมีข้อสงสัยมาเรื่อยๆ ข้อพิสูจน์นี้เพิ่งทำให้ ก.ล.ต. ลงโทษบิทคับ สั่งปรับผู้บริหาร Bitkub เป็นจำนวนเงินกว่า 15.2 ล้านบาท จากกรณีลิสต์เหรียญ KUB บนกระดาน Bitkub ไม่เป็นไปตาม Listing Rule ของ ก.ล.ต. และไม่คำนึงถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์

นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า KUB ของบิทคับ มีความขัดแย้งผลประโยชน์ เจ้าของเหรียญ ร่วมมือกับพันธมิตร หรือมาร์เกตเมกเกอร์ กระทำการอะไรกับ KUB บ้าง ก.ล.ต.ย่อมมีหน้าที่ต้องตรวจสอบ เพราะพฤติกรรมของราคา KUB ชวนให้ตั้งข้อสังเกตว่าถูกควบคุม ถูกปั่น สร้างราคา และใช้ข้อมูลภายในซื้อขายโกยกำไรจากรายย่อยที่ไม่รู้ทัน ลากราคาขึ้นไปสูงๆ ด้วยการโยนกันระหว่างมาร์เกตเมกเกอร์หลอกให้นักลงทุนหลงเชื่อซื้อตามก่อนจะเทขายโกงกำไรไปกี่รอบต่อกี่รอบ ใช่หรือไม่?

เหล่านี้ ก.ล.ต. ควรตรวจสอบประกาศให้สาธารณะรับทราบ ซึ่งว่ากันว่าก่อนที่ ก.ล.ต.จะลงดาบผู้บริหารบิทคับกรณีจดทะเบียน KUB ในตลาดตัวเอง เมื่อต้นเดือน พ.ค.2565 ปรากฏมีมือดีรู้ข่าวภายในว่า ก.ล.ต.จะสั่งปรับ เทขาย KUB โดยใช้ข้อมูลอินไซต์ ผลก็คือ ราคา KUB ร่วงไป 30% ในวันต่อมา

นอกจากนี้ เคยมีข่าวลือว่าในช่วงก่อนที่ Bitkub จะเผาเหรียญ KUB จาก 1 พันล้านเหรียญตามที่ออกมาในครั้งแรกให้เหลือ 110 ล้านเหรียญนั้น มีผู้กุมอำนาจใหญ่และถือเหรียญ KUB เป็นจำนวนมากหลายรายรู้ถึงแผนดังกล่าว จึงเทขายเหรียญที่ถืออยู่ออกมาจำนวนมากเพื่อทำกำไรก่อนที่จะทำการเผาเหรียญเพื่อเร่งให้มูลค่าของเหรียญปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งต่างหวังว่า ก.ล.ต.จะเข้ามาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้มีความโปร่งใสและยุติธรรมมากขึ้น

กลยุทธ์จับรายใหญ่พยุงราคาเหรียญ KUB

จากประเด็นที่ Bitkub ได้รับประกันการราคาซื้อเหรียญ KUB จากพันธมิตรรายใหญ่ทั้ง 2 ราย ได้แก่ PROEN จำนวน 250,000 เหรียญ ในราคาเหรียญละ 291 บาท การันตีรับซื้อคืนไม่ต่ำกว่าราคาทุน และ TVD จำนวน 125,000 เหรียญ การันตีรับซื้อคืนจำนวน 15,000 เหรียญ ราคาไม่ต่ำกว่า 90 บาท นอกจากการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อยแล้ว นับเป็นกลยุทธ์เพื่อใช้ในการพยุงราคาเหรียญไม่ให้ตกต่ำ เพราะพันธมิตรเหล่านี้ต้องถือในระยะยาว มีกำหนดระยะเวลาถึงจะสามารถขายเหรียญออกมาได้ และมีการตั้งข้อสังเกตว่า นอกจากพันธมิตรทั้ง 2 รายนี้แล้ว ยังมีพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ อีกหรือไม่ที่เข้ามาลงทุน KUB จำนวนมาก และมีเงื่อนไขรับประกันราคาซื้อคืนในลักษณะเดียวกันนี้

ธรรมาภิบาลแบบนี้ SCBX ยังจะซื้อหรือ?

ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งบิทคับ มักจะอธิบายเหตุที่ KUB ราคาร่วงหนักว่า เป็นไปตามกระแสของเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีสกุลใหญ่ โดยเฉพาะ “บิตคอยน์” ปรับตัวลดลงหนักจากที่เคยพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา และเขายังเชื่อมั่นว่า ดีล 1.78 หมื่นล้าน ระหว่างบิทคับ กับ เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ของธนาคารไทยพาณิชย์ ยังเดินหน้าต่อไป แต่ฟากของ SCBX กลับเริ่มมองถึงการต่อรองราคา และอาจจะล้มดีล หากการทำดีลดิจิเจนท์ ออกมาไม่คุ้มค่า

คำถามก็คือ พฤติการณ์ช่วงโปรโมชัน KUB ราคาดิ่งเหว ช่วยเหลือพันธมิตรด้วยการอุ้มสมประกันราคา โดยที่มีมาตรฐานไม่เท่ากันกับรายย่อยที่อยู่บนดอยสูงของเจ้าของเหรียญ KUB เพื่อดันราคาของ KUB (ดูอินโฟกราฟิก) ให้สูงขึ้น เพื่อมิให้มูลค่าของตลาดซื้อขายคริปโตฯ ของบิทคับดูราคาต่ำไปด้วย เพียงเพื่อให้ SCBX ไม่ทิ้งดีล...ธรรมาภิบาลแบบนี้ ไทยพาณิชย์ยังสนใจจะลงทุนอีกหรือ?
แนบไฟล์
kub.JPG

pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 65

โพสต์

KUB Coin ดิ่งเหว 83% ต่ำ 100 แล้ว สวนทาง "ท๊อป บิทคับ" เดินสายสร้างภาพบนเวทีโลก
เผยแพร่: 28 พ.ค. 2565 13:14 ปรับปรุง: 28 พ.ค. 2565 13:14 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ราคาคับคอยน์ (KUB Coin) ดิ่งหนัก หลุด 100 บาทแล้ว และต่ำกว่าจุดสูงสุดที่เคยทำไว้กว่า 83% สวนทาง "ท๊อป บิทคับ" หลงใหลได้ปลื้ม สร้างภาพบนเวทีระดับโลก World Economic Forum ถ่ายภาพร่วมเฟรมกับบรรดาผู้นำประเทศและบุคคลสำคัญในแวดวงธุรกิจ

วันนี้ (28 พ.ค.) ราคาคับคอยน์ (KUB Coin) ปรับตัวลดลงอย่างหนัก และหลุด 100 บาทแล้ว หลังจากที่เคยทำราคาสูงสุดไว้ที่ประมาณ 580 บาท โดยราคาต่ำสุดวันนี้อยู่ที่ 95.02 บาท ลดลง 484.98 บาท หรือกว่า 83.62% ขณะที่ล่าสุดเวลาประมาณ 11.36 น. อยู่ที่ 95.84 บาท ลดลง 10.19% ในรอบ 24 ชม.

สวนทางกับ "ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้งบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ที่กำลังหลงใหลได้ปลื้มสร้างภาพบนเวทีระดับโลก ที่ได้รับเชิญขึ้นพูดบนเวที World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

โดย "ท๊อป จิรายุส" ได้โพสต์ระบุ "ความฝันเป็นจริงแล้วครับ ได้ขึ้นพูดที่เวทีของ World Economic Forum 🎉🇹🇭 Davos ถือว่าเป็นการประชุมทางด้านเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่ผ่านมามีคนไทยไม่กี่คนที่ได้รับเชิญไปขึ้นเวทีนี้ ภูมิใจมากครับที่ปีนี้ผมเป็นหนึ่งในตัวแทนของคนไทยที่ได้ขึ้นพูดแชร์วิสัยทัศน์บนเวทีโลกครับ

ขณะเดียวกัน ในงานประชุมครั้งนี้ "ท๊อป จิรายุส" เองยังได้ถ่ายภาพกับผู้นำประเทศต่างๆ และบุคคลสำคัญๆ และมีการโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วน ท๊อป จิรายุส - Topp Jirayut เป็นระยะๆ เช่น

"ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้พบ สมเด็จพระราชินีมักซิมา แห่งเนเธอร์แลนด์ ในโอกาสเข้าร่วมงาน World Economic Forum 2022 หรืองานประชุมสภาเศรษฐกิจโลกปีนี้ครับ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าพบและแลกเปลี่ยนบทสนทนากับ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายในงาน World Economic Forum 2022 ครับ

รู้สึกเป็นเกียรติมากๆ เลยครับที่ได้พบและพูดคุยกับท่าน Xavier Bettel นายกรัฐมนตรีแห่งลักเซมเบิร์ก ในงาน World Economic Forum

เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดีที่ได้ร่วมสนทนากับคุณ Iván Duque ประธานาธิบดีโคลอมเบีย อีกหนึ่งผู้นำที่ผมได้พบระหว่างร่วมงาน World Economic Forum 2022 ที่ Davos ครับ

ผมรู้สึกยินดีมากๆ ครับที่ได้พบกับคุณ Isaac Herzog ประธานาธิบดีแห่งอิสราเอล ที่งานประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum 2022 หรือ WEF)

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มีโอกาสเจอ ท่าน Najla Bouden นายกรัฐมนตรีของประเทศตูนิเซีย ที่งานประชุม World Economic Forum (WEF)

นอกจากจะมีบุคคลสำคัญๆ ของโลกแล้ว "ท๊อป จิรายุส" ยังได้ถ่ายภาพกับคนในแวดวงธุรกิจ พร้อมโพสต์ภาพคู่อย่างภาคภูมิใจ ตัวอย่างเช่น ในงานประชุมสภาเศรษฐกิจโลกปีนี้ ผมยังได้พบกับคุณ Datuk Tengku Muhammad Taufik Tengku Aziz ประธานและซีอีโอของ Petronas บริษัทพลังงานชื่อดังจากประเทศมาเลเซีย ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันครับ

ผมตื่นเต้นมากๆ ครับที่การมาร่วมงาน World Economic Forum ปีนี้ ผมได้พบกับคุณ Anthony Tan ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารแอปพลิเคชันชื่อดังอย่าง Grab ที่เป็นธุรกิจสตาร์ทอัประดับยูนิคอร์นรายแรกของภูมิภาคอาเซียนด้วยครับ

การพยายามสร้างภาพในเวทีระดับโลกระดับนี้ ได้สร้างความภาคภูมิใจแก่ "ท๊อป จิรายุส" และเหล่าสาวก แต่ไม่รู้จะช่วยได้หรือไม่กับราคา KUB Coin ที่กำลังดิ่งเหวอยู่ในขณะนี้
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 66

โพสต์

สมรภูมิคริปโทฯ ไทยระอุ! ยักษ์ใหญ่ “ไบแนนซ์-คอยน์เบส” บุก
12 มิ.ย. 2565 เวลา 12:30 น.

“ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี” เมืองไทยกำลังบูมสุดๆ หลังในช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา คนไทยแห่เทรดคริปโทฯ กันคึกคัก ทั้งนักลงทุนหน้าเก่าที่มีประสบการณ์ลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ อยู่แล้ว

รวมทั้ง นักลงทุนหน้าใหม่ที่กระโดดเข้าสู่โลกการลงทุนเป็นครั้งแรก จนทำให้ทุกวันนี้ “สินทรัพย์ดิจิทัล” กลายเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ยอดนิยมของคนไทยไปแล้ว

โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ล่าสุด เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา พบว่า มีคนไทยที่เปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับแพลตฟอร์มที่ได้รับไลเซนส์จาก ก.ล.ต. รวมกว่า 2.85 ล้านบัญชี ซึ่งแน่นอนว่าหากรวมกับนักลงทุนที่เทรดกับแพลตฟอร์มต่างชาติซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. ตัวเลขย่อมมากกว่านี้

จำนวนบัญชีซื้อขายคริปโทฯ เพิ่มขึ้นเร็วมากๆ เพราะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นไทยที่กำลังเข้าสู่ปีที่ 48 ปี แต่ปัจจุบันยังมีจำนวนบัญชีซื้อขายแค่กว่า 5 ล้านบัญชีเท่านั้น

ทั้งนี้ จากบัญชีคริปโทฯ 2.85 ล้านบัญชี มีคนไทยที่เทรดคริปโทฯ อย่างสม่ำเสมอราวๆ 5 แสนบัญชี โดยในเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1.06 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดือนเม.ย. อยู่ที่ 1.36 แสนล้านบาท หลังตลาดเริ่มมีการปรับฐาน

เมื่อคนไทยแห่เทรดคริปโทฯ ยิ่งดึงดูดให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศตบเท้าเข้ามาทำธุรกิจอย่างคึกคัก โดยปัจจุบันเจ้าตลาดที่ครองมาร์เก็ตแชร์เบอร์ 1 ตกเป็นของ “บิทคับ” แพลตฟอร์มของคนไทย แถมยังทิ้งห่างรายอื่นๆ หลายเท่าตัว

โดยเมื่อช่วงต้นปีผู้บริหารเคยให้ข้อมูลไว้ว่า ในปี 2564 บิทคับมีมูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 98% ของวอลุ่มทั้งตลาด ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 3.4 ล้านบัญชี

แม้ปัจจุบันบิทคับดูได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในทุกๆ ด้าน แต่แน่นอนว่าในการทำธุรกิจคงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่ ยิ่งในอุตสาหกรรมที่ยังมีโอกาสมหาศาลเช่นนี้ จนเป็นที่มาของบิ๊กดีลที่เรียกเสียงฮือฮาไปทั้งประเทศ หลังกลุ่มไทยพาณิชย์ หรือ เอสซีบี เอกซ์ ประกาศทุ่มเงินลงทุนกว่า 1.78 หมื่นล้านบาท เข้าซื้อบิทคับพาขึ้นยานแม่ไปด้วยกัน

โดยจะให้บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด เข้าซื้อหุ้น 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งดีลนี้ดูแล้วน่าจะ “วิน-วิน” ทั้งคู่ เพราะเอสซีบี เอกซ์ คงเห็นแล้วว่าธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมาแน่นอน ดังนั้นการได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแล น่าจะง่ายกว่าไม่ต้องเริ่มเองตั้งแต่ต้น

เมื่อบิทคับมาอยู่ภายใต้ยานแม่ที่แข็งแกร่ง แถมกระเป๋าหนัก น่าจะสบายใจได้ หากต้องมีการขยายการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต แถมยังมีโอกาสต่อยอดจากฐานลูกค้าของกลุ่มไทยพาณิชย์ได้อีกมาก

แต่ต้องยอมรับว่าดีลนี้ดูเงียบๆ ไป ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรออกมา แถมยังมีกระแสข่าวลือสารพัด ซึ่งสุดท้ายแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไรต้องรอติดตาม แต่ลึกๆ แล้วไม่น่ามีอะไรพลิกล็อค
bitkub.PNG
ขยับมาดูอีกหนึ่งกลุ่ม “ซิปเม็กซ์” ซึ่งปัจจุบันมีฐานธุรกิจอยู่ในหลายประเทศ ทั้งสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย รวมทั้งในประเทศไทยของเรา โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลจากก.ล.ต.

ปัจจุบันซิปเม็กซ์เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรง แถมรุกทำการตลาดอย่างเต็มสูบ ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ หนุนให้จำนวนลูกค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนครองมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5 แสนบัญชีที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้ว

การจะไล่ตามเบอร์ 1 ให้ทัน ซิปเม็กซ์ต้องหาหมัดเด็ดมาสู้ โดยเฉพาะการหาพันธมิตรเข้ามาช่วย ซึ่งที่ผ่านมามีโอกาสพูดคุยกับหลายๆ กลุ่ม ทั้งคอยน์เบส (Coinbase) ไบแนนซ์ (Binance) เอฟทีเอ็กซ์ (FTX) ฯลฯ

แต่ที่ดูแล้วน่าจะเป็นจริงมากที่สุด คือ คอยน์เบส แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทฯ เบอร์ 1 ของสหรัฐ ซึ่งมีกระแสข่าวสะพัดว่าเตรียมเข้าลงทุนในกลุ่มซิปเม็กซ์ มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ หลังซิปเม็กซ์อยู่ระหว่างการระดมทุน Series B+

ด้านเบอร์ 1 ของโลก “ไบแนนซ์” เตรียมรุกตลาดไทยเช่นกัน โดยการมารอบนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะได้กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ “กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี” ของ “เสี่ยกลาง” สารัชถ์ รัตนาวะดี แชมป์เศรษฐีหุ้นไทย 3 ปีติด ที่ขอกระโดดจากธุรกิจพลังงาน เข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาเป็นพันธมิตรคู่บุญ

ด้วยจุดแข็งฐานทุนที่แข็งแกร่ง แถมมีฐานลูกค้ารองรับกว่า 46 ล้านคน ผ่านการถือหุ้นทางอ้อมของกัลฟ์ใน “เอไอเอส” และยิ่งได้ไบแนนซ์เข้ามาช่วยงานนี้ไม่ธรรมดาแน่นอน

ส่วนตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ยอมน้อยหน้า ตั้งบริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด หรือ TDX เตรียมพร้อมไว้แล้ว โดยได้รับไลเซนส์ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็นที่เรียบร้อย รอวันคิกออฟธุรกิจอย่างเป็นทางการ

เชื่อว่านับจากนี้การแข่งขันจะยิ่งร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ เมื่อยักษ์ใหญ่เร่งเสริมทัพ รายที่เหลือก็ต้องเร่งปรับตัว แต่สุดท้ายแล้วคนที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ นักลงทุน
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 67

โพสต์

SCBX ซื้อ Bitkub ยังไม่จบ ไร้วาระชงเข้าบอร์ดรอบมิ.ย. ปิดดีลไม่ทันQ2/65

แหล่งข่าว บมจ. เอสซีบี เอกซ์(SCB) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า สำหรับความคืบหน้ากรณีที่ เอสซีบี เอกซ์ จะเข้าซื้อหุ้น ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ จะซื้อในสัดส่วน 51% ที่เคยประกาศแผนไว้เมื่อช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา

ล่าสุดฝ่ายบริหารเอสซีบี เอกซ์ ยังไม่มีการนำวาระ และรายละเอียดของธุรกรรมการซื้อหุ้น Bitkub เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) ของเอสซีบี เอกซ์ เพื่อให้พิจารณาในการประชุมประจำเดือน มิ.ย. ปีนี้ ดังนั้น บริษัทจึงยังไม่ได้มีการอนุมัติการซื้อหุ้น Bitkub นี้ ส่งผลให้ดีลนี้จะปิดไม่ทันในไตรมาส 2 ปี 2565 เนื่องจากการประชุมบอร์ดในเดือน มิ.ย. นี้เป็นการประชุมนัดสุดท้ายของไตรมาส 2 ปีนี้



เปิด Timeline ดีล SCBX ซื้อ Bitkub

•2 พ.ย. 2564 ยานแม่ “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” ประกาศจะเข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 51% “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” มูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท พร้อมประกาศว่าดีลนี้จะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1 ของปี 2565

•เดือน พ.ค.2565 'เอสซีบี เอกซ์' เลื่อนกรอบเวลาปิดดีล เพราะอยู่ระหว่างการทำ Due Diligence ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จะเสร็จสิ้นหรือปิดดีลได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2565

•ในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน มิ.ย. 2565 มีการประชุมบอร์ดของ 'เอสซีบี เอกซ์' ซึ่งมีกำหนดประชุม 1 ครั้งต่อเดือน เป็นครั้งรอบประชุมสุดท้ายของไตรมาส 2 ปี 2565 ซึ่งทีมบริหารของ เอสซีบี เอกซ์ ไม่ได้เสนอวาระการให้พิจารณาอนุมัติให้เข้าซื้อ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ดังนั้นดีลนี้จึงปิดไม่ทันในไตรมาส ปี 2565

ก่อนหน้านี้ช่วงปลายเดือน พ.ค. ปีนี้ แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.เอสซีบี เอกซ์ ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า ทีมผู้บริหาร เอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและการประเมินทรัพย์สิน(Due Diligence) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange)

ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นสัดส่วน 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มี ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปัจจุบัน ซึ่งทีมผู้บริหารเอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินจะทำการ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย. 2565 นี้ และจะนำข้อมูลส่งต่อให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ของ เอสซีบี เอกซ์ พิจาณาต่อไป

ดังนั้นในขณะนี้ เอสซีบี เอกซ์ ขอยืนยันว่ายังไม่ได้มีข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้น ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เนื่องจากในการตัดสินใจเข้าลงทุนที่ใช้เงินลงทุนที่มีมูลค่าสูงมากๆ นั้น ในขั้นตอนการดำเนินการปกติ และตามเงื่อนไขสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันไว้ ฝั่งผู้ซื้อมีสิทธิจะรอผลสรุปของการทำ Due Diligence ของกิจการของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ให้ออกมาก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสินใจว่าจะซื้อโดยพิจารณาถึงราคาที่ตกลงกันไว้ในเบื้องต้นนั้น มีความเหมาะสมกับมูลค่ากิจการและเงินลงทุนจะจ่ายไปหรือไม่ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปภายในของฝั่งผู้ซื้อแล้วจากนั้นจึงจะมีการเจรจากับฝั่งผู้ขายอีกครั้ง

เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมว่าสถานการณ์ภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก และราคาปัจจุบันถือว่าตกลดลงมากค่อนข้างเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้นหลังจากผลการ Due Diligence ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ออกมาแล้ว



โดยทีมผู้ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ น่าจะมีการต่อรองเพื่อขอลดราคาซื้อหุ้นของ บิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกันไว้ในช่วงต้นจากฝ่ายผู้ขายเป็นตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปที่อธิบายไปข้างต้น รวมถึงยังต้องดูปัจจัยในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

"เอสซีบี เอกซ์ ยังไม่ได้สรุปว่าจะซื้อ บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เพราะต้องนำผลของการ Due Diligence ที่จะเสร็จในเดือน มิ.ย. นี้มาพิจารณาศึกษาให้รอบครอบก่อนเป็นขั้นตอนปกติของการทำดีลขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากที่ผู้ซื้อกับผู้ขายต้องเซ็นสัญญาเบื้องต้นไว้ก่อนเพื่อให้ฝั่งผู้ซื้อทำ Due Diligence เมื่อออกมาแล้วก็นำมาศึกษาเพื่อหาข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อตามที่เคยประกาศไว้หรืออาจไม่ซื้่อล้มดีลไปเลย

หากผลการศึกษาออกมาพบว่าดีลไม่เหมาะสมที่เราจะเข้าไปลงทุน ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีตอนนี้ผันผวนมาและราคาลงไปค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้นคิดว่าราคาของ บิทคับ ออนไลน์ ก็ควรจะต้องลดลงจากเดิมตามที่เคยประกาศไว้ด้วยเพราะอาจแพงไปกับสถานการณ์ตอนนี้" แหล่งข่าว ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว SPOTLIGHT เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ค.

ก่อนหน้านี้ เอสซีบี เอกซ์ เคยเปิดเผยหลังการประกาศดีลซื้อบิทคับว่า กรอบเวลาธุรกรรมการซื้อเข้าหุ้นของ Bitkub ดังกล่าว คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1 ของปี 2565 และต่อมาขยับเลื่อนกรอบเวลามาเป็นภายในไตรมาส 2 ปี 2565 ขณะทีมผู้บริหารของ เอสซีบี เอกซ์ ได้เคยให้ข้อมูลถึงกรอบเวลาเดียวกันในการปิดการซื้อหุ้น Bitkub นี้ในการงานนำเสนอข้อมูล(Roadshow) กับนักลงทุนต่างประเทศไปแล้วเมื่อประมาณเดือน พ.ค. ปีนี้ที่ผ่านมา แต่ถึงปัจจุบันดีลยังไม่สามารถปิดได้ตามกรอบเวลา ดังนั้นจึงยังต้องติดตามต่อไปว่าดีลนี้จะมีความคืบหน้าอย่างไร
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 68

โพสต์

ท็อป Bitkub เปิดใจสื่อนอก "ต้องให้ความรู้นักลงทุน รับมือความเสี่ยงขาลง"

ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Bitkub แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนฃี ให้สัมภาษณ์ล่าสุดกับสำนักข่าว Nikkei Asia เปิดใจตั้งแต่เรื่องที่อุตสาหกรรมคริปโทฯ จำเป็นต้องให้ความรู้นักลงทุนและเตรียมรับมือความเสี่ยงขาลง ไปจนถึงเรื่องดีลกับ SCBX, ประเด็นกับ กลต., การเตรียมบุกตลาดต่างประเทศ และการแข่งขันจาก Gulf-Binance

10 ประเด็นหลักๆ ที่ท็อปให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia มีอะไรบ้าง


(1) ต้องให้ความรู้นักลงทุน ให้พร้อมรับมือความเสี่ยงขาลง

- เรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นหลักที่ท็อปให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่น โดยเขาย้ำว่า ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน (Collective responsibility) ของอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี ที่ต้องให้ความรู้นักลงทุน และให้เตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยงขาลง


(2) ย้ำ "ต้องกระจายการลงทุน และอย่า Leverage"

- ท็อปย้ำ 2 เรื่องคือ "อย่า All-in" และ "อย่า Leverage" โดยระบุว่า

"เราย้ำมาตลอดว่าอย่าใส่ไข่ในตะกร้าแค่ใบเดียว แต่ให้กระจายการลงทุนออกไป และอย่ากู้ยืมเงินมาเล่นเก็งกำไร เราจำเป็นต้องให้ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องกับนักลงทุน ไม่ใช่แค่คริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์ด้วย"


(3) แยกให้ออก "ความเสี่ยงระยะสั้น หรือวิชั่นระยะยาว"

- แม้ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นและคริปโทฯ ในช่วงนี้จะไม่สู้ดี และบิตคอยน์มีหลุดระดับ 18,000 ดอลลาร์/BTC ให้เห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ท็อปยังเชื่อมั่นในทิศทางขาขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากบรรดาแบงก์และเวนเจอร์แคปิตัลยังคงเข้ามาลงทุน

"คุณต้องแยกให้ออกระหว่าง ผลกระทบระยะสั้น กับวิชั่นระยะยาว"

(4) ทุ่มงบการตลาด 200 ล้าน ขับเคลื่อนผ่านตัวบุคคล

- ในขณะที่ Nikkei คุยถึงเรื่องการทำโฆษณาของบิทคับ ที่เน้นการใช้รูปของท็อปสร้างภาพจำของบริษัทตามป้ายโฆษณาทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ท็อปยอมรับว่าการทำโฆษณาผ่านตัวบุคคลแบบนี้ ให้ผลตอบรับเป็นอย่างดีกลับคืนหลายเท่าจากงบการตลาดของบิทคับที่ 200 ล้านบาท โดยปัจจุบัน บริษัทมียอดผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มอยู่ที่ 4.2 ล้านราย

(5) ดีล SCBX "ควรจบตามกำหนดเดิม" ตั้งแต่ไตรมาส 1

- "เราควรจะจบดีลกันได้ตั้งแต่ไทม์ไลน์เดิม"

ท็อปพูดถึงเมกะดีลที่ SCB X จะเข้าซื้อหุ้นบิทคับ 51% ซึ่งเคยมีการประเมินมูลค่าที่กว่า 1.78 หมื่นล้านบาท และวางกรอบเวลาจบดีลที่ไตรมาส 1 ปีนี้ แต่จนถึงปัจจุบันซึ่งกำลังจะจบไตรมาส 2 ยังไม่มีการประกาศบรรลุดีล ท่ามกลางรายงานข่าวว่า มีการประเมินมูลค่าใหม่ เพราะปัจจุบันราคาคริปโทฯ ร่วงลงมามากกว่า 50% เมื่อเทียบปีที่แล้ว

(6) เข้าใจ กลต.ทำงานตามหน้าที่

- สำหรับกรณีที่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งลงโทษปรับกรรมการบริษัท บิทคับ กรณีนำเหรียญ KUB เข้าเทรดผิดกฎนั้น ท็อปให้สัมภาษณ์ว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้

"ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ก.ล.ต. ก็มีหน้าที่ในการพยายามลดความเสี่ยง คุ้มครองนักลงทุน และรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ส่วนเราก็พยายามที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลให้กับประเทศ"

(7) เตรียมบุกตลาด ฟิลิปปินส์-กัมพูชา หลังจบดีล SCBX

- หากจบดีลซื้อขายหุ้นกับ SCB X แล้ว ทางบิทคับก็จะเดินหน้าแผนขยายตลาดในต่างประเทศต่อไป ซึ่งเป้าหมายที่มองไว้ก็คือ "ฟิลิปปินส์" และ "กัมพูชา"

(8) Exchange เป็นธุรกิจผูกขาดที่มีเจ้าตลาดเสมอ

- ท็อป ระบุว่า ธุกิจแพลตฟอร์ม Exchange เป็นธุรกิจที่มีเจ้าตลาดในแต่ละประเทศ (local monopoly game) คล้ายกับอีคอมเมิร์ซ ที่มี Grab เป็นเจ้าตลาด จน Uber กับ Gojek สู้ไม่ได้ต้องออกจากตลาดไป ธุรกิจเอ็กซ์เชนจ์ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งการที่จะไป "ฟิลิปปินส์" กับ "กัมพูชา" ก่อนนั้นก็เพราะว่าทั้งสองประเทศยังไม่มีเจ้าตลาดที่กินรวบแพลตฟอร์มนี้

(9) Talent ในประเทศไม่พอ เตรียมดูดคนเก่งจาก เวียดนาม

- ด้วยธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีพันธมิตรเพิ่มขึ้นมาก ทำให้บิทคับต้องรับสมัคร Developer เพิ่มขึ้นถึง 500 คน ซึ่ง Talent ในไทยนั้นมีไม่เพียงพอ บิทคับจึงมองหาเดฟในเวียดนาม ซึ่งมาแรงในตลาดคริปโทฯ

(10) ไม่หวั่นการแข่งขันจาก Gulf-Binance

- สำหรับคู่แข่งล่าสุดที่ถือเป็น "รายใหญ่" และกำลังจะบุกตลาดไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง "กัลฟ์ เอ็นเนอร์ยี" กับแพลตฟอร์มเทรดคริปโทฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง "Binance" นั้น ท็อปมองว่าไม่มีปัญหา แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับรายใหม่เช่นกัน

"เป็นงานยากสำหรับพวกเขาเหมือนกันนะ เพราะเราถือเป็น Tech champion ในตลาดสตาร์ทอัพไทย และเป็นหนึ่งในคนที่ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมมาจนถึงวันนี้"
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ก.ล.ต.ลงโทษผู้บริหาร บิทคับ ออนไลน์ พร้อมพวกสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ Bitkub

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday June 30, 2022 16:57 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยการดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 3 ราย กรณีสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub (ศูนย์ซื้อขาย Bitkub) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด โดยให้ผู้กระทำผิดชำระเงินรวม 24,161,292 บาท กำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล และกำหนดระยะเวลาห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร

สำนักงาน ก.ล.ต. พบเหตุสงสัยว่าอาจมีการสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ซื้อขาย Bitkub จึงได้ตรวจสอบโดยพบการกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดของบุคคล 3 ราย ได้แก่

(1) บริษัทบิทคับ (2) นายอนุรักษ์ เชื้อชัย ร่วมกันในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขาย Bitkub และ (3) นายสกลกรย์ สระกวี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท บิทคับ สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัทบิทคับกระทำความผิดดังกล่าว

บริษัท บิทคับ โดยนายสกลกรย์ ได้ทำสัญญากับนายอนุรักษ์ให้นายอนุรักษ์ทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ในศูนย์ซื้อขาย Bitkub และได้ให้นายอนุรักษ์ยืมเงินเพื่อใช้ในการทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นายอนุรักษ์ได้ส่งคำสั่งจับคู่ซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่ Bitcoin (BTC) Bitcoin Cash (BCH) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP)


โดยเป็นการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีของตนเองในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ซึ่งการจับคู่ซื้อขายกันเองในแต่ละเหรียญดังกล่าว มีสัดส่วนตั้งแต่ 84-99% ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดของนายอนุรักษ์ และตั้งแต่ 57-99% ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด โดยบริษัทบิทคับและนายสกลกรย์รับทราบถึงการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายของนายอนุรักษ์ แต่ไม่ได้มีการทักท้วงการส่งคำสั่งซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีของนายอนุรักษ์ดังกล่าว

การกระทำของบริษัทบิทคับและนายอนุรักษ์เป็นความผิดฐานส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 46(1) ประกอบมาตรา 48(2)(3) แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดฉบับเดียวกัน เป็นความผิด 4 กระทง (นับตามจำนวนเหรียญ)

ส่วนการกระทำของนายสกลกรย์เป็นความผิดในฐานะเป็นบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบิทคับ สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัทบิทคับกระทำความผิดในกรณีข้างต้น ซึ่งต้องรับโทษเดียวกันตามมาตรา 94 ประกอบมาตรา 46(1) ประกอบมาตรา 48(2)(3) แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดฉบับเดียวกัน เป็นความผิด 4 กระทง (นับตามจำนวนเหรียญ)

คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดทั้ง 3 ราย โดยกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ได้แก่ ค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด มาตรการห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล และมาตรการห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนี้

(1) ให้บริษัทบิทคับ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท

(2) ให้นายอนุรักษ์ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท กำหนดมาตรการห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 6 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน

(3) ให้นายสกลกรย์ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท และให้นายสกลกรย์ร่วมรับผิดในมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ดำเนินการกับบริษัทบิทคับอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ประกอบมาตรา 317/11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มฉบับที่ 5 พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ ค.ม.พ. ได้กำหนดมาตรการห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 6 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน

การกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลและการกำหนดระยะเวลาห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวข้างต้นจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิดลงนามในบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด

หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลแพ่งเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติโดยไม่ต่ำกว่าอัตราที่ ค.ม.พ. กำหนด

ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งที่ได้รับจากการกระทำความผิดเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ด่วน!บอร์ดก.ล.ต.สั่ง”บิทคับฯ” แก้เหรียญ KUB ให้ถูกกฎหมาย-หลักเกณฑ์
30/06/2022 22:45

บอร์ดก.ล.ต.มีคำสั่งให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์(Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใน 30 วัน หลังให้คะแนนมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจคระดับที่ “สูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน” แต่ไม่มีหลักฐาน-เอกสารยืนยัน ส่วนคะแนนระดมทุนและส่วนลด Pre-ICO Sale ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเหรียญ KUB

คณะกรรมการ ก.ล.ต.ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 อาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) สั่งให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ (Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB ในการเข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของ Bitkub ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 โดยให้ประสานกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี (BBT) ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ KUB แก้ไขมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจคของเหรียญ KUB ให้เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 และให้ Bitkub แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนต่อ ก.ล.ต. ว่า มาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจคของเหรียญ KUB เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้

สืบเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 Bitkub ได้พิจารณาอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub โดยที่เหรียญ KUB มีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติเข้ามาซื้อขายตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ของ Bitkub ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบการคัดเลือกเหรียญ KUB แล้ว พบว่า Bitkub มีการให้คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB เพื่ออนุมัติให้เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub ไม่เป็นไปตาม Listing Rule ของ Bitkub ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดย Bitkub ให้คะแนนในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจคในระดับที่ “สูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานและเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าเหรียญ KUB มีเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่จริง นอกจากนี้ Bitkub ยังให้คะแนนในหัวข้อการระดมทุนและหัวข้อส่วนลด Pre-ICO Sale ที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเหรียญ KUB ด้วย จึงทำให้ ก.ล.ต. เห็นว่า คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB โดยรวมไม่ถึงเกณฑ์ที่จะอนุมัติเข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 71

โพสต์

‘บิทคับ’ โพสต์เฟซบุ๊กแจงปม ก.ล.ต.สั่งปรับเงิน
01 ก.ค. 2565 เวลา 12:09 น.

“บิทคับ ออนไลน์” โพสต์เฟซบุ๊กกรณี ก.ล.ต. สั่งปรับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3 ปีที่แล้ว ที่เป็นช่วงดำเนินธุรกิจในระยะเริ่มต้น และยังไม่มีความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนชัดเจนในกฎเกณฑ์ที่ตั้งมาใหม่

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ได้มีประกาศผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Bitkub หรือ ‘บิทคับ เอ็กเช้นจ์’ ที่ดำเนินการโดย บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในกรณีถูกปรับจาก ก.ล.ต. เรื่องการสร้างปริมาณซื้อขายเทียมในศูนย์ซื้อขายฯ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีที่แล้วที่เป็นช่วงดำเนินธุรกิจในระยะเริ่มต้นและยังไม่มีความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนชัดเจนในกฎเกณฑ์ที่ตั้งมาใหม่เช่นกัน โดยมีใจความว่า

“สืบเนื่องจากประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีการเปรียบเทียบปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บริษัท”) จากการที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง หรือ Market Maker ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ได้ดำเนินการจับคู่ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในบัญชีซื้อขายของ Market Maker ในปี 2562 อันทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น

บริษัท ขอกราบเรียนว่า วัตถุประสงค์ของการมี Market Maker ณ ขณะนั้น เป็นไปเพื่อดูแลสภาพคล่องในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ที่เพิ่งเปิดดำเนินการไม่นาน ให้มีราคาซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก โดยมีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของลูกค้าในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น ทั้งนี้ โดยจากการตรวจสอบ Market Maker เพียงแต่ทำการส่งราคาซื้อขายให้สอดคล้องกับทิศทางของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดโลก ณ ช่วงเวลานั้นเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัท ได้รับทราบข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต.ถึงการกระทำข้างต้น บริษัท จึงได้ตรวจสอบ ยับยั้ง สั่งยุติการส่งคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของ Market Maker ที่มีลักษณะรายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2562 และบริษัท ก็ได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการจับคู่กันเองของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมาจากบัญชีเดียวกันเสร็จสิ้นแล้วเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต

นอกจากนี้บริษัท ได้จัดตั้งทีม Market Surveillance เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม เช่น การส่งคำสั่งซื้อขายจับคู่กันเองจากหลายบัญชีของผู้ไม่หวังดีเพื่อดูแลให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ดำเนินการไปตามกลไกตลาดภายใต้มาตรการป้องกันและการตรวจสอบการส่งคำสั่งซื้อขายที่ผิดปกติในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท และได้มีการรายงานสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทราบมาโดยตลอด บริษัท จึงขอให้ลูกค้า นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านเชื่อมั่นและวางใจว่า บริษัทได้มีมาตรการป้องกัน และการตรวจสอบและได้ใช้ความระมัดระวังอย่างถึงที่สุดในการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก


บริษัท ขอเรียนว่า บริษัทไม่มีเจตนากระทำผิดกฎหมาย และไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการส่งคำสั่งซื้อขายของ Market Maker แต่อย่างใด โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ประกอบธุรกิจด้วยความสุจริตตามหลักบริษัทภิบาล และตามกฎหมาย โดยถือเอาประโยชน์ของลูกค้า และนักลงทุนเป็นสำคัญ ทั้งยังใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการกำกับดูแล และตรวจสอบให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังและเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงยึดมั่นหลักการดังกล่าวในการประกอบธุรกิจของบริษัท ต่อไปในอนาคต

จากนั้นได้มีการเปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กบัญชี Sakolkorn Sakavee ซึ่งเป็นบัญชีเฟซบุ๊ก

ส่วนตัวของ นายสกลกรย์ สระกวี ประธานกรรมการบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ใจความว่า

“ผมขอชี้แจงกรณี โดน ก.ล.ต สั่งปรับ และสั่งห้ามเป็นผู้บริหาร 12 เดือน หน่อยนะครับ

การถูกปรับครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2562 หรือ 2019 ก.ล.ต. เข้ามาตรวจบริษัท Bitkub Online หลังจากได้ License ณ ขณะนั้นมี Exchange 3 เจ้า BX , Bitkub , Satang

ณ ขณะนั้นวงการคริปโทฯ ใหม่มาก พึ่งจะได้ License กัน ผมเชื่อว่าการกระทำ การสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ เป็นสิ่งที่ Exchange ทั่วโลก ณ เวลานั้น มีระบบพวกนี้เกือบหมด จึงทำให้มีความผิดพลาด และความไม่เข้าใจกฏเกณฑ์อย่างถี่ถ้วน จากทั้ง Bitkub และ Satang (ไม่ขอพาดพิง BX เพราะปิดไปแล้ว)

และเมื่อเราโดน ก.ล.ต.เข้ามาตักเตือน และสั่งหยุด และเราก็ยอมรับ และหยุดการกระทำตั้งแต่ ก.ล.ต. เข้ามา พร้อมทั้งมีการติดตั้งระบบป้องกันการจับคู่กันเองของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมาจากบัญชีเดียวกัน และ มีทีม Market Surveillance เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม เช่น การส่งคำสั่งซื้อขายจับคู่กันเองจากหลายบัญชี โดยเร็วที่สุดตั้งแต่นั้นมา

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อเหลือเกินว่า การที่ ก.ล.ต. ได้สั่งปรับ และยกเรื่องนี้เป็นสำคัญ หลังจากผ่านมา 3 ปี มาแล้วนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการกำกับดูแลที่เข้มข้น เข้มงวดขึ้น

ซึ่งผมหวังว่ามาตรฐานที่ดีเช่นนี้ จะเป็นการกระทำที่ไม่เจาะจง เพียง Exchange บางราย แค่ Bitkub หรือ Satang แต่ ก.ล.ต. จะเข้าตรวจสอบทุกเจ้าที่มี License อยู่ในปัจจุบันด้วย เพราะผมเชื่อว่า เพื่อความบริสุทธิ์ใจ ผู้ประกอบการท่านอื่นก็จะยินดีให้ทาง ก.ล.ต. เข้าไปตรวจสอบเช่นกัน

ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จนถึงปัจจุบัน ผ่านมา 3 ปี Bitkub ไม่เคยปั๊ม Volume trade รายได้ และภาษีที่ Bitkub จ่าย เมื่อปีที่แล้วเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

ผมยังคงสู้อยู่ และดูแลภาพรวมของกลุ่ม Bitkub เช่นเดิม ยังมีอะไรให้เราต้องพัฒนาอีกมากมาย หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจ และเชื่อมั่นใน Bitkub ต่อไป
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 72

โพสต์

“สกลกรย์ สระกวี” โพสต์เฟสบุ๊ค แจงกรณี ก.ล.ต. สั่งปรับ-ห้ามเป็นผู้บริหาร
30 มิ.ย. 2565 เวลา 21:11 น.

“สกลกรย์ สระกวี” โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงกรณีถูก ก.ล.ต. สั่งปรับเงิน-สั่งห้ามเป็นผู้บริหาร 12 เดือน เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่ 3 ปี เชื่อหลังจากนี้เพื่อเป็นการยกระดับการกำกับดูแลที่เข้มข้น เข้มงวดขึ้น หวังว่ามาตรฐานที่ดีเช่นนี้ จะเป็นการกระทำที่ไม่เจาะจง

นายสกลกรย์ สระกวี ขอชี้แจงกรณีโดน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ และสั่งห้ามเป็นผู้บริหาร 12 เดือน ผ่านเฟสบุ๊ค (Facebook) ส่วนตัว โดยการถูกปรับครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2562 หรือ 2019 ก.ล.ต. เข้ามาตรวจบริษัท Bitkub Online หลังจากได้ License ณ ขณะนั้นมี Exchange 3 เจ้า BX , Bitkub , Satang

ณ ขณะนั้นวงการคริปโทฯ ใหม่มาก พึ่งจะได้ License กัน ผมเชื่อว่าการกระทำ การสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ เป็นสิ่งที่ Exchange ทั่วโลก ณ เวลานั้น มีระบบพวกนี้เกือบหมด จึงทำให้มีความผิดพลาด และความไม่เข้าใจกฎเกณฑ์อย่างถี่ถ้วน จากทั้ง Bitkub และ Satang (ไม่ขอพาดพิง BX เพราะปิดไปแล้ว)


และเมื่อเราโดน ก.ล.ต. เข้ามาตักเตือน และสั่งหยุด และเราก็ยอมรับ และหยุดการกระทำตั้งแต่ ก.ล.ต. เข้ามา พร้อมทั้งมีการติดตั้งระบบป้องกันการจับคู่กันเองของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมาจากบัญชีเดียวกัน และ มีทีม Market Surveillance เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม เช่น การส่งคำสั่งซื้อขายจับคู่กันเองจากหลายบัญชี โดยเร็วที่สุดตั้งแต่นั้นมา

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อเหลือเกินว่า การที่ ก.ล.ต. ได้สั่งปรับ และยกเรื่องนี้เป็นสำคัญ หลังจากผ่านมา 3 ปี มาแล้วนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการกำกับดูแลที่เข้มข้น เข้มงวดขึ้น ซึ่งผมหวังว่ามาตรฐานที่ดีเช่นนี้ จะเป็นการกระทำที่ไม่เจาะจง เพียง Exchange บางราย แค่ Bitkub หรือ Satang แต่ ก.ล.ต. จะเข้าตรวจสอบทุกเจ้าที่มี License อยู่ในปัจจุบันด้วย เพราะผมเชื่อว่า เพื่อความบริสุทธิ์ใจ ผู้ประกอบการท่านอื่นก็จะยินดีให้ทาง ก.ล.ต. เข้าไปตรวจสอบเช่นกันครับตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จนถึงปัจจุบัน ผ่านมา 3 ปี Bitkub ไม่เคยปั้ม Volume trade รายได้ และ ภาษีที่ Bitkub จ่าย เมื่อปีที่แล้วเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

ผมยังคงสู้อยู่ และดูแลภาพรวมของกลุ่ม Bitkub เช่นเดิม ยังมีอะไรให้เราต้องพัฒนาอีกมากมาย หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจและ เชื่อมั่นใน Bitkub ต่อไปครับ
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 73

โพสต์

(เพิ่มเติม) บิทคับ ขานรับคำสั่ง ก.ล.ต.แก้ไขการคัดเลือก-อนุมัติ KUB ยืนยันไม่กระทบการเทรด

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 1, 2022 14:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ออกแถลงการณ์นระบุว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศข่าวและมีหนังสือคำสั่งให้บริษัทแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องนั้น บริษัทในฐานะผู้ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลรับทราบประเด็นดังกล่าวแล้ว โดยบริษัทอยู่ระหว่างการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป


บริษัทชี้แจงอีกว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.ขอให้บริษัทพิจารณาแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทในการใช้ดุลยพินิจในการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท

นอกจากนี้การให้คะแนนเหรียญ KUB ของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นไปอย่างสุจริตและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุมัติแล้ว

"ทั้งนี้ การที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ขอให้บริษัทพิจารณาแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB นั้น ยังไม่กระทบต่อการให้บริการซื้อขายเหรียญ KUB ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทแต่อย่างใด"บิทคับ ออนไลน์ ระบุ

ส่วนกรณีที่ ก.ล.ต.สั่งเปรียบเทียบปรับ บิทคับ ออนไลน์ จากการที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง หรือ Market Maker ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทได้ดำเนินการจับคู่ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในบัญชีซื้อขายของ Market Maker ในปี 62 อันทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น


บริษัทชี้แจงว่าวัตถุประสงค์ของการมี Market Maker ณ ขณะนั้น เป็นไปเพื่อดูแลสภาพคล่องในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่เพิ่งเปิดดำเนินการไม่นาน ให้มีราคาซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก โดยมีความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของลูกค้าในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น โดยจากการตรวจสอบ Market Maker เพียงแต่ทำการส่งราคาซื้อขายให้สอดคล้องกับทิศทางของราคาสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดโลก ณ ช่วงเวลานั้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทได้รับทราบข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต. ถึงการกระทำข้างต้น บริษัทจึงได้ตรวจสอบ ยับยั้ง สั่งยุติการส่งคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของ Market Maker รายดังกล่าวตั้งแต่ปี 62 และบริษัทฯ ก็ได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการจับคู่กันเองของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมาจากบัญชีเดียวกันเสร็จสิ้นแล้วเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต

นอกจากนี้บริษัทได้จัดตั้งทีม Market Surveillance เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม เช่น การส่งคำสั่งซื้อขายจับคู่กันเองจากหลายบัญชีของผู้ไม่หวังดีเพื่อดูแลให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ดำเนินการไปตามกลไกตลาดภายใต้มาตรการป้องกันและการตรวจสอบการส่งคำสั่งซื้อขายที่ผิดปกติในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ และได้มีการรายงานสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ทราบมาโดยตลอด บริษัทจึงขอให้ลูกค้า นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านเชื่อมั่นและวางใจว่า บริษัทได้มีมาตรการป้องกันและการตรวจสอบและได้ใช้ความระมัดระวังอย่างถึงที่สุดในการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก

บริษัทไม่มีเจตนากระทำผิดกฎหมายและไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการส่งคำสั่งซื้อขายของ Market Maker แต่อย่างใด โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ประกอบธุรกิจด้วยความสุจริตตามหลักบริษัทภิบาลและตามกฎหมาย โดยถือเอาประโยชน์ของลูกค้าและนักลงทุนเป็นสำคัญ ทั้งยังใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการกำกับดูแลและตรวจสอบให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังและเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงยึดมั่นหลักการดังกล่าวในการประกอบธุรกิจต่อไปในอนาคต
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ขาลง “บิทคับ” และ "ท๊อป จิรายุส" / สุนันท์ ศรีจันทรา
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2565 17:26 ปรับปรุง: 1 ก.ค. 2565 17:26 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ของ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา หรือ “ท๊อป” ตกเป็นข่าวฉาวอีกครั้ง หลังถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งลงโทษทางแพ่ง ปรับเป็นเงินรวม 24.16 ล้านบาท ฐานสร้างปริมาณการซื้อขายเทียมสินทรัพย์ดิจิทัล

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ก.ล.ต.ประกาศ ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ปรับผู้กระทำความผิด 4 ราย ฐานสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขาย สตางค์โปร เป็นเงินรวมกันทั้งสิ้น 24.16 ล้านบาท

ผู้กระทำผิด 4 รายประกอบด้วย บริษัทสตางค์ บริษัท LLC Fair Expo นายปรมินทร์ อินโสม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท สตางค์ และ Mr. Mikalai Zahorski เจ้าของและกรรมการผู้จัดการ บริษัท LLC Fair Expo โดยส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขาย Satang Pro

ก.ล.ต. พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 บริษัท LLC Fair Expo ได้ส่งคำสั่งจับคู่ซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี จำนวน 3 เหรียญได้แก่ Bitcoin (BTC) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP) โดยเป็นการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีของ Market Maker ในศูนย์ซื้อขาย Satang Pro ซึ่งการจับคู่ซื้อขายกันเองในแต่ละเหรียญดังกล่าว มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 96 – 99 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดของบัญชีซื้อขายของ Market Maker หรือคิดเป็นร้อยละ 81 – 97 ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด

ก.ล.ต.ยังใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ปรับผู้กระทำผิด 3 ราย ฐานสร้างประมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัล ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด เป็นเงินรวมกัน 24.16 ล้านบาท

ผู้กระทำผิด 3 รายประกอบด้วย บริษัท บิทคับ นายอนุรักษ์ เชื้อชัย และนายสกลกรย์ สระกวี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัทบิทคับ

ก.ล.ต. พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นายอนุรักษ์ได้ส่งคำสั่งจับคู่ซื้อขายเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่ Bitcoin (BTC) Bitcoin Cash (BCH) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP) โดยเป็นการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของตนเองในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ซึ่งการจับคู่ซื้อขายกันเองในแต่ละเหรียญดังกล่าว มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 84 – 99 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดของนายอนุรักษ์ และตั้งแต่ร้อยละ 57 – 99 ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกจากลงโทษปรับแล้ว ยังกำหนดให้ผู้กระทำผิดห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 6 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน

การสร้างปริมาณการซื้อขายเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีหรือ COIN เทียม เป็นการสร้างภาพลวงตา เหมือนการปั่นหุ้น ที่มีการโยนคำสั่งซื้อขาย และลากราคาหุ้น เพื่อหลอกต้มนักลงทุนทั่วไปให้เข้าใจว่า หุ้นกำลังจะขึ้น

แต่การสร้างปริมาณการซื้อขายเทียมคริปโต มีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลวงตาว่า COIN มีการซื้อขายที่คึกคัก เพื่อหลอกล่อให้นักลงทุนแห่เข้ามาซื้อขายตาม ซึ่งจะทำให้บริษัท สตางค์และบริษัท บิทคับ ออนไลน์จึงมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขาย COIN มากขึ้น

“บิทคับ ออนไลน์” เจ้าของศูนย์ซื้อขายหรือโบรกเกอร์ซื้อขายคริปโทรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่อย่างต่อเนื่อง ถูก ก.ล.ต. สั่งลงโทษปรับในความผิดต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน

ขณะที่นายท๊อป จิรายุส เริ่มถูกตั้งคำถามจากสังคม และภาพการเป็นเจ้าพ่อคริปโต กำลังเปลี่ยนเป็นภาพพ่อมดเงินดิจิทัล ซึ่งมุ่งแต่กอบโกยกำไรสูงสุด โดยไม่ตระหนักถึงการมอมเมาเยาวชนให้หมกมุ่นเก็งกำไรคริปโต

เพราะท๊อป จิรายุส พุ่งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้า “บิทคับ” ในหมู่นักเรียนนักศึกษาและเยาวชน โดยทุ่มงบติดป้ายโฆษณาใหญ่มหึมาทั่วประเทศ เชิญชวนเก็งกำไร COIN ด้วยข้อความเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินไม่กี่สิบบาท

กัญชา แม้จะเปิดเสรีแล้ว แต่ทุกภาคส่วนพยายามป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน แต่นายท็อป จิรายุส กลับพยายามเจาะกลุ่มเยาวชน หลังจากกลุ่มลูกค้ารุ่นเจน Y ย่อยยับกับการเก็งกำไร BITCOIN จนแทบจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

การประกาศซื้อหุ้น 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด วงเงิน 17,850 ล้านบาท ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ถือเป็นจุดรุ่งโรจน์สุดขีดของ “ท๊อป จิรายุส” แต่การเจรจาซื้อหุ้น “บิทคับ ออนไลน์” ขณะนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่า ตอนจบสุดท้าย ธนาคารไทยพาณิชย์จะถอย ประกาศล้มข้อตกลง

เพราะไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน ไม่คุ้มที่ค่ายไทยพาณิชย์ จะนำชื่อเสียงและภาพลักษณ์มาเสี่ยงกับ “บิทคับ ออนไลน์” ซึ่งมีแต่ข่าวฉาวโฉ่ ภาพพจน์ติดลบมากขึ้นทุกวัน

ขาขึ้นของ ท๊อป จิรายุสผ่านไปแล้ว แต่ “ขาลง” กำลังวิ่งไล่ล่า และใครก็ตามที่หลวมตัวเข้าไปเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม “บิทคับ” จะพังตามไปด้วย รวมทั้งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นอย่างน้อย 7 แห่งที่เข้าไปร่วมสังฆกรรมกับ KUBCOIN
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 75

โพสต์

จี้ปกป้องรายย่อยติดดอย “KUB” สูงลิบ หลัง “บิทคับ” ปั่นคริปโตฯ - ให้คะแนนเหรียญตัวเองสุดเวอร์
เผยแพร่: 4 ก.ค. 2565 07:19 ปรับปรุง: 4 ก.ค. 2565 07:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ใครจะรับผิดชอบ หลัง “บิทคับ” ก่อวีรกรรมไม่หยุด ล่าสุดโดน ก.ล.ต. ลงดาบปล่อยกู้ให้ Market Maker ปั่นราคาเหรียญลวงตานักลงทุน แถมให้คะแนนเหรียญตัวเองจนโอเวอร์ จนขาดคุณสมบัติเข้าเทรดในกระดาน ต้องแก้ไขภายใน 30 วัน ด้านคนในแวดวงจี้ตรวจสอบช่วงเหรียญ KUB ราคาพุ่งสูงลิ่ว หวั่นซ้ำรอยใช้พฤติกรรมปั่นราคาด้วยหรือไม่? และถ้าเหรียญขาดคุณสมบัติต้องหลุดออกจากกระดานใครจะเป็นคนรับผิดชอบนักลงทุนรายย่อยที่ติดดอยสูงลิบ ย้อนรอยวีรกรรมเด็ดถูก ก.ล.ต.ลงโทษ-ปรับหลายรอบ พร้อมตั้งคำถาม SCBX ยังคิดจะไปต่ออีกหรือ?

ยิ่งนานวันการกระทำหลายต่อหลายอย่างยิ่งปรากฏ ทั้งที่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) เลย หากปฏิบัติตนตามระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างๆที่ Regulator กำหนด ชวนย้อนให้คิดถึงสุภาษิตเก่าๆ ที่ใช้ได้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”

ล่าสุดก็โดนอีกแล้ว เมื่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้ประกาศใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง กับผู้กระทำผิด 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (บิทคับ) 2. นายอนุรักษ์ เชื้อชัย มาร์เกตเมกเกอร์ และ 3.นายสกลกรย์ สระกวี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด โดยปรับเป็นเงินรวมกว่า 24.16 ล้านบาท

เนื่องจาก พบเหตุสงสัยอาจมีการสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ซื้อขาย Bitkub จึงได้ตรวจสอบโดยพบการกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดของบุคคล 3 ราย ร่วมกันในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขายในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ขณะที่นายสกลกรย์ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัทบิทคับ สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัทบิทคับกระทำความผิดดังกล่าว

โดยพฤติกรรมดังกล่าวเกิดจาก บิทคับ โดยนายสกลกรย์ ได้ทำสัญญากับนายอนุรักษ์ ให้นายอนุรักษ์ทำหน้าที่ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ในศูนย์ซื้อขาย Bitkub และได้ให้นายอนุรักษ์ ยืมเงินเพื่อใช้ในการทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า ในเดือน ก.พ. 62 นายอนุรักษ์ ได้ส่งคำสั่งจับคู่ซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี จำนวน 4 เหรียญ ได้แก่ Bitcoin (BTC) Bitcoin Cash (BCH) Ethereum (ETH) และ Ripple (XRP) ซึ่งเป็นการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซีของตนเองในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ซึ่งการจับคู่ซื้อขายกันเองในแต่ละเหรียญดังกล่าว มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 84-99 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมดของนายอนุรักษ์ และตั้งแต่ร้อยละ 57-99 ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด

แสดงให้เห็นว่าบริษัทบิทคับ และนายสกลกรย์ รับทราบถึงการจับคู่ซื้อขายกันเองในบัญชีซื้อขายของนายอนุรักษ์ แต่ไม่ได้มีการทักท้วงการส่งคำสั่งซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซีของนายอนุรักษ์ ดังนั้นการกระทำของบริษัทบิทคับและนายอนุรักษ์ เป็นความผิดฐานส่งคำสั่งซื้อหรือขาย อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด ตามมาตรา 46(1) ประกอบมาตรา 48(2)(3) แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดฉบับเดียวกัน เป็นความผิด 4 กระทง (นับตามจำนวนเหรียญ)

ส่วนการกระทำของนายสกลกรย์เป็นความผิด ในฐานะเป็นบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบิทคับ สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัทบิทคับกระทำความผิด ในกรณีข้างต้น ซึ่งต้องรับโทษเดียวกันตามมาตรา 94 ประกอบมาตรา 46(1) ประกอบมาตรา 48(2)(3) แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดฉบับเดียวกัน เป็นความผิด 4 กระทง (นับตามจำนวนเหรียญ)

ทำให้ ค.ม.พ. มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดทั้ง 3 ราย ดังนี้ 1. ให้บริษัทบิทคับ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท

2. ให้นายอนุรักษ์ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท กำหนดมาตรการห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 6 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน

3. ให้นายสกลกรย์ ชำระค่าปรับทางแพ่งขั้นสูงสุดตามกฎหมายและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,053,764 บาท และให้นายสกลกรย์ร่วมรับผิดในมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ดำเนินการกับบริษัทบิทคับอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ประกอบมาตรา 317/11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มฉบับที่ 5 พ.ศ. 2559 และห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 6 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน

หวั่นพฤติกรรมเดิมช่วงเหรียญแพง

เรียกได้ว่าเป็นอีกครั้งที่ ก.ล.ต. ดำเนินการเช็กบิล “บิทคับ” ย้อนหลัง ทำให้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ ก.ล.ต. ดำเนินการแบบนี้ให้ทันท่วงทีหรือรวดเร็วกว่านี้ เพราะเชื่อว่าจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อนักลงทุนทั่วไปได้ไวขึ้น โดยเฉพาะการเสพข่าวสารด้านบวกของกลุ่ม “บิทคับ” เพียงด้านเดียวจนนำไปสู่การผลักดันราคาเหรียญ KUB Coin จนสูงลิ่วในช่วงก่อนหน้านี้

ขณะเดียวกัน จากพฤติกรรมที่ไม่แยแสข้อกำหนดของ ก.ล.ต. จนต้องมีการประกาศมาตรการลงโทษครั้งล่าสุด ได้สร้างข้อสงสัยให้คนในแวดวงเหรียญคริปโตเคอเรนซีไทยต่างพากันกังวลว่า การสร้างวอลุ่มเทียมของ “บิทคับ” ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจงใจของทางกลุ่มโดยตรง เพราะเงินที่ส่งต่อให้ Market Maker เอาไปสร้างราคาก็เป็นเงินของ “บิทคับ” ที่ให้ยืมเอง ดังนั้นการจับคู่คำสั่งซื้อขายจึงหนีไม่พ้นเป้าหมายคือผลักดันราคาเหรียญให้สูงขึ้นเพื่อหลอกนักลงทุนหลงเชื่อและให้เข้ามาร่วมด้วย จนราคาเหรียญขึ้นไปยืนอยู่ในระดับที่เหมาะสม แล้วจึงเทขายทำกำไรจากส่วนต่างของราคา

นอกจากนี้ยังชวนให้คิดว่า ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสสุดท้ายปี 2564 จนถึงไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ราคาเหรียญ KUB Coin กำลังบินอยู่ในระดับสูงนั้น อาจมีการสร้างราคาเหรียญจากทาง “บิทคับ” และ Market Maker ในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นในหลายช่วงเวลา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญและมีผลต่อธุรกิจของกลุ่ม อาทิ การประกาศเข้าซื้อหุ้นใหญ่ใน “บิทคับ ออนไลน์” ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หรือการประกาศเข้าเทรดในกระดานเทรดต่างประเทศ 3 ตลาดในคราวเดียวกัน จนทำให้ราคาเหรียญขยับไปที่ 580 บาทต่อ 1 เหรียญ หรือ 1,833% จากราคาตั้งต้นของเหรียญที่ระดับ 30 บาทต่อ 1 เหรียญ ดังนั้นสิ่งที่ในแวดวงเหรียญคริปโตฯ ต้องการเห็นจาก ก.ล.ต. คือผลการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเหรียญในช่วงเวลาเหล่านี้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

นั่นเพราะเงื่อนงำ หรือกลยุทธ์ในการนำพาเหรียญคริปโตฯ ให้โด่งดังนั้น ในแวดวงเหรียญรู้กันดีว่า ตลาดจำเป็นต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อมาช่วยสร้างสภาพคล่อง เพื่อเพิ่มความหน้าสนใจให้แก่เหรียญคริปโตฯ ซึ่งบางเหรียญอาจต้องใช้ Market Maker มากกว่า 3-5 ราย และ..... ยิ่งหากพิจารณาจากช่วงเวลาขาขึ้นของ KUB Coin ยิ่งชวนให้น่าคิดว่าบทบาทหรือความสำคัญของ Market Maker น่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากเผาเหรียญทิ้ง 89% โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้ปั้นปล่อยสตอรี่หนุนราคาอย่างต่อเนื่อง

โดย กระบวนการดูแลสภาพคล่องของเหรียญจะเริ่มจาก Market Maker ทยอยเข้ามาซื้อเหรียญ พอได้จำนวนที่มากแล้วก็ตั้งราคาขาย จากนั้นก็จะมี Market Maker อีกรายหรือรายเดิมเข้ามาตั้งราคารับไม้ต่อ สลับหมุนเวียนกันไปจนราคาเหรียญขยับขึ้นไม่หยุด ยิ่งไปกว่านั้นเป็นที่รู้กันดีกว่าการเทรดของ Market Maker นั้นฟรีค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เมื่อราคาเหรียญไต่เพดานขึ้นมาจนสูง จึงมีการปล่อยของออกมาเพื่อทำกำไรชดเชยส่วนที่ขาดหายไปได้อย่างสมบูรณ์

เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้น Market Maker ก็ได้รับประโยชน์และเครดิต ขณะที่ผู้ที่ถือครองเหรียญ KUB Coin อยู่เป็นจำนวนมาก และได้รู้ไทม์ไลน์หรือจังหวะในการซื้อและขาย ก็จะมีโอกาสในการทำกำไรเม็ดงาม นำไปสู่คำถามที่ว่า “แล้วใครเป็นผู้ที่ถือเหรียญ KUB อยู่เป็นจำนวนมาก ณ เวลานั้น

พูดง่ายๆ ในกรณีดังกล่าว Market Maker ทำเกินหน้าที่ แทนที่จะทำแค่วางออเดอร์ กลับ “Take” จับคู่ซื้อ-ขายเอง โดยตลาด-ผู้บริหารตลาดรู้เห็นเป็นใจให้ทำอย่างมี “เจตนา” ให้นักเทรดโดยเฉพาะ “รายย่อย” หลงเชื่อ หลงผิด กับ “ภาพ” ที่สร้างขึ้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย เพราะการหลงผิด หมายถึงการลงทุนที่ผิดพลาดกลายเป็น “เหยื่อ” ที่ผลลัพธ์ที่สูญเสียเงินทอง หมดเนื้อหมดตัวกันง่ายๆ

อุปมาเรื่องนี้ ถ้าเทียบกับ “บ่อนพนัน” ก็คือ เจ้าของบ่อนจ้าง “หน้าม้า” มาเล่นหลอก “ขา” ทั้งหลาย มิหนำซ้ำยังให้หน้าม้ายืมเงินมา“ปั่น” ราคา สร้างกลลวงอีก นักเล่นเฮละโล แทงตาม เจ้าของบ่อนเก็บค่าต๋ง มีแต่ได้กับได้ เจ้ามือรวย หน้าม้าได้ค่าจ้าง คนเล่นถูกหลอกสิ้นเนื้อประดาตัวกันไป

เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ต่างกับการลงทุนหุ้น เพราะเรื่องราวบางเรื่องที่เหรียญคริปโตฯ นำมาสร้างกระแสปั่นราคา หนีไม่พ้นกับคำว่า “Insider” หรือการเอาข้อมูลภายในมาหาผลประโยชน์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญของหน่วยงานที่กำกับดูแลควรให้ความใส่ใจต่อเหตุการณ์เหล่านี้

นั่นเพราะยังมีคำถามที่คาใจนักลงทุนว่า แต่ละประกาศของ ก.ล.ต. ซึ่งกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลของ “บิทคับ”น่าจะรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะมีการประกาศมาตรการลงโทษ หรือคำสั่งปรับออกมา อาจมีการเทขายเหรียญเพื่อทำกำไรก่อนการประกาศเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน



เปิดวีรกรรมเด็ด “บิทคับ”

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการกระทำแหกกฎทั้งจงใจ และไม่จงใจละเมิดข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ถือว่า “บิทคับ” มีผลงานที่โดดเด่นมากในเรื่องดังกล่าว โดยสามารถจำแนกกรรมแบบต่างกรรมต่างวาระได้ดังนี้

1.ในช่วงเดือน มกราคม 2564 “บิทคับ ออนไลน์” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง

ถัดมาวันที่ 8 ม.ค.-7 มี.ค. 2564 “บิทคับ” มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) “ไม่รัดกุมเพียงพอ” ที่จะทำให้บริษัท บิทคับ สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ไม่กำกับดูแลให้ฝ่ายผลิตภัณฑ์ติดตามคุณสมบัติของเหรียญดิจิทัลสกุล CTXC จึงไม่ได้ update version ของเหรียญ ทำให้เหรียญดังกล่าวที่ซื้อขาย ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทคับไม่สามารถซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีการปรับตัวของราคาผิดปกติอย่างมาก

ก่อนหน้านั้นวันที่ 28 ธ.ค. 2563-20 ม.ค. 2564 “บิทคับออนไลน์” มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. โดยหยุดซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุล JFIN Coin (JFIN) และ Infinitus (INF) ชั่วคราว

และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน วันที่ 2-21 ม.ค. “บิทคับ ออนไลน์” มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงในระหว่างวันที่ 6 ม.ค.-28 พ.ค. 2564 “บิทคับ ออนไลน์”ยังมีระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัทประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ไม่เพียงเท่านี้เรื่องที่ผิดพลาดหนัก และถูก ปรับเป็นเงินจำนวนกว่า 1.2 ล้านบาท เกิดขึ้น ระหว่างวันที่ 8 ม.ค.-19 ก.ค. 2564 ซึ่ง ก.ล.ต. ระบุ ว่า “บิทคับ ออนไลน์” มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (surveillance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บิทคับทราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็น “การผลักดันราคา” จากการแจ้งเตือนของระบบในทันที”

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ก.ค. 2564 “บิทคับ ออนไลน์” ยังเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้เป็นเวลา 33 วัน

ต่อด้วย วันที่ 5-24 ม.ค. 2564 “บิทคับ ออนไลน์” ยังยินยอมให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงาน และก่อนหน้าเหตุการณ์ครั้งล่าสุดที่เพิ่งขึ้น คือ 5 พ.ค. 2565 ก.ล.ต. ประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของ “บิทคับ ออนไลน์” จำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)

โดยมีความผิดตามมาตรา 94 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 5 รายดังกล่าวได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่พึงต้องกระทำ เป็นเหตุให้ “บิทคับ ออนไลน์” คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ฯ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) ทำให้มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 9/2565 โดยปรับเป็นเงินรายละ 2,533,500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,201,000 บาท

โอล่ะพ่อ KUB Coin ไม่มีมาตรฐาน

แต่ทว่า เงื่อนงำของ “บิทคับ”ยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะเพียงแค่เมื่อ ก.ล.ต. ประกาศมาตรการลงโทษผู้บริหารของ “บิทคับ” กับ Market Maker ได้ไม่เท่าไรก็มีคำสั่งออกมาอีกฉบับ “บิทคับ ออนไลน์” แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยให้ Bitkub ประสานกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (BBT) ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ KUB ดำเนินการแก้ไขมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB ให้เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และให้ Bitkub แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนต่อ ก.ล.ต. ว่า มาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้

เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เมื่อ Bitkub ได้พิจารณาอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub โดยที่เหรียญ KUB มีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติเข้ามาซื้อขายตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

นั่นทำให้ ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบการคัดเลือกเหรียญ KUB แล้ว พบว่า Bitkub มีการให้คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB เพื่ออนุมัติให้เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub ไม่เป็นไปตาม Listing Rule ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ขณะเดียวกัน Bitkub ได้ให้คะแนนในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ในระดับที่ “สูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานและเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า เหรียญ KUB มีเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่จริง

นอกจากนี้ Bitkub ยังให้คะแนนในหัวข้อการระดมทุนและหัวข้อส่วนลด Pre-ICO Sale ที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเหรียญ KUB ด้วย จึงทำให้ ก.ล.ต. เห็นว่า คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB โดยรวมไม่ถึงเกณฑ์ที่จะอนุมัติเข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อราคาเหรียญ KUB จะดิ่งลงมาต่ำกว่า 100 บาท/เหรียญ หลังจาก ก.ล.ต. มีคำสั่งดังกล่าวออกมา เรียกได้ว่าผลกรรมของ “บิทคับ” กำลังทยอยถูกเปิดเผยออกมาตามกรรมที่ได้กระทำไว้อย่างต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่ชวนให้น่าติดตามต่อสำหรับประเด็นดังกล่าว คือ การแก้ไขคะแนนของเหรียญ KUB Coin ให้ต้องกับเงื่อนไขของ ก.ล.ต. จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันได้หรือไม่ และเมื่อแก้ไขได้จะมีผลต่อราคาเหรียญในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

ขณะเดียวกันหากไม่สามารถแก้ไขได้ เหรียญ KUB จะสามารถถือซื้อขายบนกระดานเทรดต่อไปได้หรือไม่ รวมไปถึงนักลงทุนเหรียญอยู่จะได้รับความยุติธรรมจากผลที่เสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า?

วีรกรรมแบบนี้คู่ควร SCBX?

ขณะเดียวกัน จากวีรกรรมที่ก่อขึ้นของ “บิทคับ” ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่าดีลการขึ้นยานแม่ของ SCBX มูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท ควรจะไปต่อหรือไม่ นั่นเพราะบอร์ดไทยพาณิชย์ หรือ SCBX เมื่อไม่กี่วันก่อนเพิ่งจะมีข่าวว่า บอร์ดยังรอให้ทีมทำ “ดีลดิลิเจนซ์” หรือ ทีมตรวจสอบและประเมินสินทรัพย์ของ บิทคับ กลับมารายงานมาว่า เป็นอย่างไร โดยผู้บริหาร SCBX “อาทิตย์ นันทวิทยา” กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อ้ำๆ อึ้งๆ ไม่ยอมตอบคำถามนักข่าวว่า “จะไปต่อ หรือพอแค่นี้” กับ ยูนิคอร์น ที่ “ท๊อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา คนก่อตั้ง และเอาตัวเองทำตลาดโฆษณา สร้างภาพลักษณ์ไปทุกที่ แทรกซึมไปทุกแหล่ง

แม้แต่ ก็ไม่รู้ว่า ทีมที่เข้าไปทำดีลดิลิเจนซ์ในบิทคับที่ใช้เวลาตรวจสอบมา 7-8 เดือนมาแล้ว พบเจออะไร เหมือนที่ ก.ล.ต. เห็นมั้ย? ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ปกติ อย่างที่ถูก ก.ล.ต. จับโป๊ะ สร้างวอลุ่มเทียม หลอกนักเทรดได้ ก็ถามต่อว่า แล้วปริมาณการซื้อขายจริงๆ ที่ “ท๊อป-จิรายุส” มักเคลมว่า โตพรวดพราด ทำรายได้ให้บริษัทปีละเป็นพันเปอร์เซ็นต์ แน่ใจแล้วหรือว่าใช่ของจริง ไม่ใช่ปริมาณเทียมดังที่ถูกจับได้อย่างนี้ แล้วท้ายที่สุดตกลงนี่คือทองแท้หรือทองเค?

ทั้งนี้ ตามรายงาน ทีมผู้บริหารเอสซีบีเอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินจะทำ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย. 2565 นี้ และจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอสซีบีเอกซ์ พิจารณาต่อไป ดังนั้น ณ เวลานี้ SCBX ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะซื้อหุ้นของบิทคับ ออนไลน์ ตามดีลเบื้องต้นที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ต้องรอผลสรุปของการทำ Due Diligence เสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการพิจารณาว่าราคาที่ตกลงกันนั้นเหมาะสมหรือไม่ และเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปประการหนึ่งก็คือภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก ราคาปัจจุบันลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ CBX จะต่อรองขอลดราคาซื้อหุ้นบิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกัน ทั้งยังต้องดูระเบียบข้อกฎหมายจากหน่วยงานกำกับทั้ง ธปท. และ ก.ล.ต. มาประกอบด้วย.
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 76

โพสต์

SCB เผยซื้อ Bitkub อยู่ระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ-ขยายเวลาเข้าทำธุรกรรม

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงความคืบหน้ากรณีที่บล.ไทยพาณิชย์ หรือ SCBS จะเข้าลงทุนในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้คาดการณ์ว่าธุรกรรมการซื้อหุ้นจะดำเนินการได้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565 นั้น ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ และระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม

ทั้งนี้การเข้าทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นใน Bitkub ดังกล่าวอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง และมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องเป็นที่น่าพอใจและคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน
แนบไฟล์
3057848D-E4AC-4F09-8919-7B66CE5B336D.jpeg

pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 77

โพสต์

เทแบบสุภาพ SCBX แจ้ง ตลท.เลื่อนดีล "บิทคับ" ไม่มีกำหนด
เผยแพร่: 8 ก.ค. 2565 19:51 ปรับปรุง: 8 ก.ค. 2565 19:51 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

8 ก.ค. 2565 19:51



เทแบบสุภาพ ธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ "SCBX" ประกาศเลื่อนดีลซื้อ "บิทคับ" มูลค่า 1.78 หมื่นล้านไม่มีกำหนด อ้างอยู่ระหว่างตรวจสอบธุรกิจ และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ใช้เวลานานกว่า 8 เดือน และตั้งเป้าจะจบดีลตั้งแต่ไตรมาสแรกที่ผ่านมา

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า จากหนังสือของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน ) ที่ EI 6400008 ลงวันที่ 2 พ.ย.2564 เรื่องการเข้าลงทุนบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด(มหาชน) หรือ บิทคับ ของ บริษัทที่ได้แจ้งว่าคาดการณ์ว่าธุรกรรมการซื้อขายหุ้นดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565 นั้น

บริษัท เอสซีบีเอกซ์ จำกัด (มหาชน) แจ้งถึงการเข้าทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นใน บิทคับ ดังกล่าวอยู่ภายใต้การปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องและมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจของบิทคับ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องเป็นที่น่าพอใจและคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน


ทั้งนี้ ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทางธุรกิจและระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องโดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยกลุ่มเอสซีบีเอ็กซ์ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ ประกาศเข้าซื้อหุ้นของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub กระดานเทรดคริปโตเคอร์เรนซี อันดับหนึ่งของไทย ในสัดส่วน 51% มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 17,850 ล้านบาท โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2565
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 78

โพสต์

เบื้องหลัง SCBX เท “บิทคับ” คริปโตดิ่งเหว-โดนโทษบ่อย-ปั่นเหรียญ KUB-บัญชีม้า-สองมาตรฐาน-การตลาดยุเยาวชน-ธรรมาภิบาลมีปัญหา
July 11, 2022

บทความโดย ibit ผู้จัดการออนไลน์

เบื้องหลัง“ไทยพาณิชย์” เท “บิทคับ” ตลาดคริปโตฯดิ่งเหว และ ด้วยวีรกรรมของยูนิคอร์นรายนี้เอง ทั้งจากการถูก ก.ล.ต.ลงโทษและถูกปรับกว่า 11 ครั้ง ผู้บริหารขาดธรรมาภิบาล–ระบบงานมีปัญหา ตรวจพบบัญชีม้า นอมินี สร้างดีมานด์เทียม ปั่นราคา ให้คะแนนเหรียญ KUB ตัวเองเวอร์ สองมาตรฐาน อุ้มแต่รายใหญ่ ทิ้งรายย่อย เก็บค่าต๋งแพงลิบ–ค่าธรรมเนียมเอาเปรียบ การตลาดที่ปลุกปั่นต้อนเยาวชน

ดูท่าฝันจะค้างเสียแล้วสำหรับ “กลุ่มบิทคับ” เมื่อยานแม่ “กลุ่มไทยพาณิชย์” ในนาม บริษัท เอสซีบีเอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX เริ่มลังเลเปิดตู้เซฟควักเงิน 1.78 หมื่นล้านบาทจ่ายแลกหุ้น 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub กระดานเทรดคริปโตเคอร์เรนซี อันดับหนึ่งของไทย จนแวดวงตลาดทุนต่างพากันเชื่อว่า งานนี้ก็คือการบอก “เทแบบสุภาพ” นั่นเอง

ขณะที่แวดวงรายย่อยทั้งสายหุ้นและสายเหรียญต่างก็บ่นอุบเพราะ “โดนแกง” โดย ณ ช่วงเวลานี้หลายฝ่ายมีความเชื่อว่าดีลดังกล่าวมีโอกาสล่มที่สูงมาก เพราะหากพิจารณาจากสำนวนตัวอักษรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาให้ข้อมูลแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อช่วงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา (8 ก.ค.65) พอจะจับประเด็นได้ว่า กำหนดการเดิมที่หมายมั่นจะสู่ขอ Bitkub ขึ้นมาอยู่ในยานแม่ SCBX ไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในไตรมาสแรกปีนี้ นั่นเพราะ “ดีลดิลิเจนท์” ที่เข้าไปส่องดูบิทคับมานานกว่า 6 เดือนข้อมูลในการตรวจสอบที่ได้รับ น่าจะเป็นที่ไม่น่าพึงพอใจของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะในส่วนสาระสำคัญที่น่าจะเกิดปัญหา หรือไม่เป็นไปตามที่ต่างฝ่ายต่างคาดหวังไว้ระหว่างกัน

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือคำยืนยันจาก “ไทยพาณิชย์” ว่ายานแม่ของกลุ่มอย่าง SCBX จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์และข้อกำหนดของ Regulator ที่เกี่ยวข้อง หรือพูดง่ายๆ ว่าออกมาย้ำจุดยืนของตนเองว่าจะไม่มีการแหกคอกเกิดขึ้น เพียงเพื่อหวังจะคว้าดีลๆ เดียว แต่อาจสร้างผลกระทบให้กับการดำเนินธุรกิจอื่นๆ ของกลุ่ม โดยเน้นย้ำในข้อความชี้แจงว่า ….. “ดีลดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจของบิทคับ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องเป็นที่น่าพอใจและคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน”



ก่อนจะปิดท้ายอย่างสุภาพว่าปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทางธุรกิจ และระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม แบบไม่ขอระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนจนอาจรัดคอตนเอง นั่นทำให้โอกาสรับทรัพย์ก้อนโตของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ใน “บิทคับ” เป็นอันต้องฝันค้างเอาไว้ต่อไป รวมศิริอายุของดีลผ่านพ้นมาแล้ว 8 เดือน จากวันที่เขย่าวงการตลาดทุน หรือตลาดคริปโตฯไทยเมื่อเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64

ผู้ถือหุ้นโล่งไม่ต้องจ่ายโอเวอร์?

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่า นักลงทุนต่างมีความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยในกลุ่มที่ลงทุนในหุ้นของ SCB ณ ช่วงเวลานี้ส่วนใหญ่พอใจกับข้อมูลที่ชี้แจงออกมา เนื่องจากเชื่อว่าการเข้าลงทุนใน “บิทคับ” ในช่วงเวลานี้มีความเสี่ยงทั้งจากสภาวะตลาดเหรียญคริปโตฯ ที่อยู่ในช่วงขาลงในทุกตลาดทั่วโลกนั่นย่อมส่งผลให้มูลค่าของเหรียญ KUB Coin ลดลงไปในทิศทางเดียวกับเหรียญอื่นๆ และนั่นย่อมส่งผลให้จำนวนผู้เข้ามาลงทุนผ่านกระดานเทรด “บิทคับ ออลนไลน์” อ่อนตัวลงไปด้วย ซึ่งน่าจะมีผลให้มูลค่าในการเข้าซื้อหุ้น 51% ด้วยเม็ดเงิน 1.78 หมื่นล้านบาทไม่สมเหตุสมผล

ขณะเดียวกันบางส่วนยังเชื่อว่า เหตุผลที่ SCB เลื่อนการเข้าลงทุนเป็นเจ้าของกระดานเทรดเหรียญ น่าจะมาจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เป็นไปตามที่ทั้งสองฝ่ายคาดการณ์ไว้ หรือ “ไม่ตรงปก” อาทิเรื่องของอัตราการเติบโตของธุรกิจ หรือกรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของดีลที่เจรจาร่วมกันไว้

เพราะที่ผ่านมานอกเหนือจากข่าวดีในด้านการขยายตลาดและการเติบโตธุรกิจ Bitkub ข่าวด้านลบออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการถูกกล่าวโทษ หรือถูกปรับจาก regulator อย่างคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลอดจนแผนการตลาดซึ่งเป็นที่ค้านสายตาหลายต่อหลายคน โดยเฉพาะการเชิญชวนเข้ามาลงทุนในเหรียญ KUB ด้วยเม็ดเงินเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับโอกาสของผลตอบแทนในอนาคต “10บาทก็ลงทุนได้” จนถูกใครต่อใครมองว่าเป็นบ่อนพนัน หนำซ้ำยังแทรกซึมเข้าไปในสถานศึกษาต่างๆ เข้ามาลงทุน

“มูลค่าการเข้าลงทุนรอบนี้สูงมาก ช่วงประกาศข่าวออกมาถือว่าเป็นปรากฏการณ์แก่ตลาดทุนและตลาดเหรียญคริปโตฯ เลยก็ว่าได้ แต่เอาเข้าจริงๆ เมื่อเทียบกับ Binance รายใหญ่ระดับโลกที่จับมือกับ Gulf บริษัทจดทะเบียนใหญ่ในตลาดหุ้นร่วมกันจัดตั้งธุรกิจหลายคนเริ่มมองว่าลงทุนได้ฉลาดกว่า และใช้ต้นทุนได้ต่ำกว่ามาก”

ตลาดคริปโตดิ่งเหวมูลค่าลดฮวบ

นอกจากนี้ หลายฝ่ายเชื่อว่า หากดีลดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริงราคาที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น 51% ไม่ควรจะเป็น 1.78 หมื่นล้านบาทเหมือนตอนแรก เมื่อเทียบกับสภาวะตลาดคริปโตฯในปัจจุบันที่ดิ่งเหว ดังนั้นหากดันทุรังตัวเลขเดิมในการดีลอาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่ประเมินกันในตอนแรกที่ 1.78 หมื่นล้าน ว่ากันว่า เป็นตัวเลขที่สูงเกินจริงไปมากอยู่แล้ว ขณะนั้นบิทคับได้โชว์ตัวเลขผลประกอบการที่ระบุว่า สามารถทำกำไรได้ปีละกว่า 2 พันล้าน โดยมีอัตราการเติบโตกว่า 1,000% ตลอดสามปีที่ผ่านมา ทว่า นับแต่ค้นปี65 จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่า ภาวะตลาดคริปโตฯผันผวนตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นทำให้มูลค่า และโอกาสทำรายได้ของบิทคับก็ลดลงตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


แม้ว่าตลาดจะตกต่ำ และแม้ว่า บิทคับ จะมีปัญหาอย่างไร 7-8 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารไทยพาณิชย์ กลับไม่แสดงท่าทีจะบอกให้ชัดเจนว่า จะไปต่อ หรือ พอกันทีกับดีล บิทคับ ไม่ยอมตอบกระทั่งข้อซักถามของผู้ถือหุ้นในการการประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา จนปล่อยให้มีข้อสังสัยกันเรื่อยมาว่า เพราะอะไร?

ว่ากันว่า ที่ SCBX ยื้อเวลามานานไม่ปล่อยมือจากบิทคับ มีคำถามว่า นั่นเพราะ นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กับ นายจิรายุส หรือ ท๊อป ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง บิทคับ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันดี ใช่หรือไม่? ซึ่งที่ผ่านมา ทราบกันดีว่า นายอาทิตย์ เป็นผู้ผลักดันดีลนี้มาตั้งแต่ต้น ออกตัวแรงว่าต้องการจะให้ธนาคารซื้อหุ้นของบิทคับ โดยพยายามโน้มน้าวผู้บริหารไทยพาณิชย์คนอื่นๆ ให้เห็นด้วย ทั้งๆ ที่หลายคนก็ฝืนใจโดยไม่เห็นด้วยนัก

ส่วนฝั่งท๊อป จิรายุส ผู้ขาย หากดีลนี้ไม่เกิดขึ้น นอกจากจะฝันค้างถึงเม็ดเงินที่จะไหลเข้ากระเป๋าส่วนตัวหลายพันล้าน ย่อมต้องมีผลกระทบเกิดขึ้นกับพาร์ตเนอร์ธุรกิจรายอื่นๆ ที่เข้ามาแล้ว และกำลังจะเข้ามาร่วมมือในอนาคต

“การได้อยู่ใต้ร่มเงาของ SCBX ย่อมช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียกร้องราคาความร่วมมือย่อมโก่งราคาได้มากกว่า แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนยานแม่ มูลค่าที่พันธมิตรรายอื่นๆ ที่ควักจ่ายไว้อาจต้องมีเงินทอนคืน หรือความน่าสนใจเข้าร่วมมือที่ลดลง นอกจากนี้ ด้วยเงื่อนไขสัญญาที่พันธมิตรจะต้องมีการลงทุนในเหรียญ KUB แม้จะเคยออกมาการันตีรับซื้อคืนในราคาเดิม แต่ระยะเวลาที่ต่างกัน และสถานการณ์ที่ต่างกัน บางทีเงินที่ประกาศรับซื้อคืนในราคาเดิมก็อาจสร้างปัญหาในอนาคตได้เช่นกัน”

วีรกรรมบิทคับทำพิษ

จริงๆ มีหลายฝ่ายเห็นว่า ไทยพาณิชย์ ไม่ควรจะซื้อบิทคับตั้งแต่แรกแล้ว เพราะถ้าไม่นับตลาดคริปโตฯที่ดิ่งนรก ด้วยการกระทำของตัวเองของบิทคับในช่วงที่ผ่านมา และจากการเข้าไปตรวจสอบของธนาคารเองก็น่าจะได้เห็น ว่า ภาพที่สร้าง ไม่เหมือน ภาพจริงที่ปรากฏ ใช่หรือไม่ ป้ายโฆษณาชวนเชื่อมต่อโลกอนาคตของนายท็อปที่ติดอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างสวยหรู ภาพจริง Bitkub ถูกตรวจสอบ หรือถูกติดตามการกระทำในหลายด้าน ดังที่ “ibit” เคยวิเคราะห์และไล่เรียงให้ฟังดังนี้

สร้างวอลุ่มเทียมเรียกแขกเข้าวง

โดยสามารถสรุปได้ อาทิ 1.ปั่นวอลุ่มเทียมหลอกนักเทรด จากกรณี ก.ล.ต.ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 3 ราย กรณีสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub (ศูนย์ซื้อขาย Bitkub) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด โดยให้ผู้กระทำผิดชำระเงินรวม 24.16 ล้านบาท พร้อมกับกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล และกำหนดระยะเวลาห้ามเป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร

เนื่องจาก ก.ล.ต พบเหตุสงสัยว่า อาจมีการสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ซื้อขาย Bitkub จึงได้ตรวจสอบโดยพบการกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดของบุคคล 3 ราย ได้แก่ (1) บริษัท บิทคับ (2) นายอนุรักษ์ เชื้อชัย (Market Maker) ร่วมกันในการส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับปริมาณการซื้อหรือขาย (3) นายสกลกรย์ สระกวี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท สั่งการ หรือกระทำการหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้บริษัท บิทคับ กระทำความผิดดังกล่าวในช่วงก.พ.2562

ระบบงานและบริการที่ยังมีปัญหา

ประเด็นถัดมาที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามีผลต่อการตัดสินใจดีล SCBX ถูกให้น้ำหนักไปที่ระบบสารสนเทศ และรับงานให้บริการลูกค้าที่เคยมีปัญหาจนถูก ก.ล.ต.สั่งให้ดำเนินการแก้ไข อาทิ ในช่วงเดือนมกราคม 2564 “บิทคับ ออนไลน์” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง



ถัดมาวันที่ 8 ม.ค. – 7 มี.ค. 2564 “บิทคับ” มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) “ไม่รัดกุมเพียงพอ” ที่จะทำให้บริษัท บิทคับ สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้นวันที่ 28 ธ.ค. 2563 – 20 ม.ค. 2564 “บิทคับ ออนไลน์” มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.

หรือเหตุการณ์ในช่วง วันที่ 2 -21 ม.ค. “บิทคับ ออนไลน์” มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้า ไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น จนทำให้ถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษ หรือมีคำสั่งปรับเงิน และคำสั่งอื่น ๆ เข้ามาควบคุมอีกมากมาย

ป้ายโฆษณาชวนเชื่อเชื่อมต่อโลกอนาคต ที่ติดตามตอม่อ บนทางด่วน และท้องถนน ยังคงมีให้เห็นเต็มบ้านเต็มเมือง ขณะที่ “SCBX” ประกาศเลื่อนดีลซื้อหุ้น “บิทคับ” ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ตรวจพบ บัญชีม้า –นอมินี

จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. ยังพบว่า บิทคับเคยมีปัญหาปรากฏเหตุระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทขัดข้องในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคม 2564 อันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าของบริษัทเป็นวงกว้าง

คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 สั่งการให้บริษัทระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ รวมถึงลูกค้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยืนยันหรือเพื่อพิสูจน์ตัวตนเพื่อเปิดบัญชี หรือ KYC

มีข้อสังเกตว่า บิทคับตอนนั้นปล่อยผี การเปิดบัญชีไม่เป็นไปตาม ก.ล.ต. กำหนดโดยเฉพาะกรณีลูกค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับลูกค้าของบริษัทก่อน

ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และหากที่ก่อนนี้ ผู้ก่อตั้งบิทคับ ระบุว่า บริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าจำนวนมากหลัง BX ปิดตัวไปหลายแสนบัญชีที่เข้ามาในช่วงระหว่างนั้น ผ่านระบบ KYC เข้ามาได้อย่างไร? และใครเลยจะรู้ได้ว่า บัญชีกว่า 3 ล้านบัญชีที่บิทคับกวาดมาจะมีบัญชีตัวแทน หรือ “นอมินี” หรือบัญชีม้า อยู่มากน้อยแค่ไหนหลุดลอดมา

ก.ล.ต.ยังระบุว่า การพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้าบิทคับ (“enhanced KYC/CDD”) ของกลุ่มลูกค้าที่เป็น “market maker” จำนวน 17 ราย พบว่า มีจำนวน 4 รายที่ไม่รัดกุม โดยบริษัทยังไม่ได้ enhanced KYC/CDD ซึ่งลูกค้า 4 รายดังกล่าวมียอดทรัพย์สินเป็นเงินสดและเหรียญเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานที่แสดงศักยภาพทางการเงินของลูกค้าที่นำมา

ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก การพิสูจน์ตัวตนไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นใคร หรือมีบัญชีม้า หรือนอมินีจำนวนมากในตลาด ย่อมทำให้เปิดช่องในการฟอกเงิน เลี่ยงภาษี ทำราคาซื้อขาย หรือปั่นเหรียญ ทำรายการที่ไม่เหมาะสม หรือธุรกรรมที่กระทำการผิดกฎหมาย

เรื่องนี้มีตัวอย่าง ของ อีลอน มัสก์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัทเทสลา และสเปซเอ็กซ์ ที่เพิ่งประกาศ ตัดสินใจยุติการยื่นข้อเสนอมูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อซื้อกิจการทวิตเตอร์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง เมื่อวันศุกร์ (8 ก.ค.) เพราะพบว่ามีการละเมิดข้อตกลงหลายอย่าง

โดยมัสก์ระบุว่า สาเหตุที่ไม่ไปต่อกับข้อตกลงซื้อกิจการนี้ก็เพราะทวิตเตอร์ล้มเหลวในการให้ข้อมูลที่เพียงพอเรื่องการ สแปม และบัญชีผู้ใช้ปลอม หรือ บัญชีม้า นั่นเอง

KUB Coin ไม่มีมาตรฐาน

เงื่อนงำของ “บิทคับ” ยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะเพียงแค่เมื่อ ก.ล.ต.ประกาศมาตรการลงโทษผู้บริหารของ “บิทคับ” กับ Market Maker ได้ไม่เท่าไรก็มีคำสั่งออกมาอีกฉบับ “บิทคับ ออนไลน์” แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยให้ Bitkub ประสานกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (BBT) ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ KUB ดำเนินการแก้ไขมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB ให้เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และให้ Bitkub แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนต่อ ก.ล.ต. ว่า มาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจคของเหรียญ KUB เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้

เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เมื่อ Bitkub ได้พิจารณาอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub โดยที่เหรียญ KUB มีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติเข้ามาซื้อขายตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

นั่นทำให้ ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบการคัดเลือกเหรียญ KUB แล้ว พบว่า Bitkub มีการให้คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB เพื่ออนุมัติให้เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub ไม่เป็นไปตาม Listing Rule ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ขณะเดียวกัน Bitkub ได้ให้คะแนนในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ในระดับที่ “สูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน” แต่ไม่ปรากฏหลักฐานและเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า เหรียญ KUB มีเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่จริง

ให้คะแนนเหรียญตัวเองเวอร์

นอกจากนี้ Bitkub ยังให้คะแนนในหัวข้อการระดมทุนและหัวข้อส่วนลด Pre-ICO Sale ที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเหรียญ KUB ด้วย จึงทำให้ ก.ล.ต. เห็นว่า คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB โดยรวมไม่ถึงเกณฑ์ที่จะอนุมัติเข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อราคาเหรียญ KUB จะดิ่งลงมาต่ำกว่า 100 บาท/เหรียญ หลังจาก ก.ล.ต.มีคำสั่งดังกล่าวออกมา เรียกได้ว่าผลกรรมของ “บิทคับ” กำลังทยอยถูกเปิดเผยออกมาตามกรรมที่ได้กระทำไว้อย่างต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่ชวนให้น่าติดตามต่อสำหรับประเด็นดังกล่าว คือ การแก้ไขคะแนนของเหรียญ KUB Coin ให้ต้องกับเงื่อนไขของ ก.ล.ต.จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันได้หรือไม่ และเมื่อแก้ไขได้จะมีผลต่อราคาเหรียญในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

ขณะเดียวกันหากไม่สามารถแก้ไขได้ เหรียญ KUB จะสามารถซื้อขายบนกระดานเทรดต่อไปได้หรือไม่ รวมไปถึงนักลงทุนที่ถือเหรียญอยู่จะได้รับความยุติธรรมจากผลที่เสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า?

ลาก Kub Coin ขึ้นไปถึง 1,833%

Kub Coin เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พ.ค.2564 แต่ไม่ได้สวยหรูอย่างที่นักเทรดคิด โดยการซื้อขายเปิดด้วยตัวแดงจากการเทขายอย่างหนัก ราคาร่วงจาก 30 บาทไหลรูดลงไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 12 บาท นักวิเคราะห์มองว่า นั่นคือภาพสะท้อนความเชื่อมั่นและปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อ Kub Coin และเจ้ามือถือโอกาสทำกำไรตั้งแต่แรกเลย

แต่ราคา Kub Coin ที่เปิดตัวไม่สวยด้วยแดงเลือดสาดทำให้บรรดานักลงทุนเรียกร้องผ่านโซเชียลทวีตข้อความเรียกร้องให้ท๊อป จิรายุส ที่สร้างตัวตนให้แฟนคลับบนโลกออนไลน์รับรู้ถึงคนที่จะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนชีวิตนักเทรด ให้เชื่อมั่นในเหรียญ Kub ออกมาช่วยเหรียญหน่อย ซึ่ง ท๊อป ก็ขานรับได้โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่า “เดี๋ยวคอยดูกัน”

ว่ากันว่า ใน 2 วันแรกที่ KUB Coin สามารถขายได้ 50 ล้านเหรียญ จากนั้นราคาก็ร่วงลงมาเหลือ 13-14 บาท เนื่องจาก ก.ล.ต. มองเห็นสัญญาณอันตราย จึงตั้งกฎว่า ห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายออกเหรียญเองเทรดเอง เพราะขัดแย้งผลประโยชน์ แม้จะไม่มีผลย้อนหลัง แต่ทำให้ศูนย์ซื้อขายอื่นๆ ทำไม่ได้จนเกิดเป็นดรามากัน



หลังจากนั้น ปรากฏในเวลาต่อมาเพียง 1 เดือน บิทคับต้องออกประกาศไวท์เปเปอร์ V2 ออกมา ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การ “เผาเหรียญ” ทิ้ง 89% หรือ จาก 1,000 ล้านเหรียญให้เหลือเพียง 110 ล้านเหรียญ เพื่อดึงราคา และสภาพคล่องให้ Kub Coin

ทว่า จุดเปลี่ยนของ Kub Coin ก่อนที่ราคาถูกปั่นทะลุเมฆต้องบอกว่า มาจากข่าวการเข้ามาซื้อหุ้นของผู้เล่นรายใหญ่ SCBX ค่ำคืนวันที่ 2 พ.ย.2564 ราคาเหรียญขยับจากเดิมที่ระดับ 30-33 บาทต่อ 1 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นถึง 98 บาทต่อเหรียญ หรือกว่า 196%

แต่หลังจากราคา KUB Coin ขึ้นไปทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันที่ 28 พ.ย. 64 ที่ราคา 580 บาท หรือเพิ่มขึ้นกว่าราคาตั้งต้นกว่า 1,833% ได้ไม่นาน ก็มีแรงเทขายอย่างหนักในช่วงเช้าวันที่ 30 พ.ย.2564 ส่งผลให้ราคาเหรียญดิ่งเหวลงไปอยู่ต่ำสุดของวันที่ 150 บาท หรือ ร่วงไป 70%

สองมาตรฐาน รายย่อยตาย อุ้มรายใหญ่

ขณะเดียวกันยังมีข่าวประเภทบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ไหลออกมาต่อเนื่อง อย่างเช่น ล่าสุด ในกรณีของ บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ PROEN และ บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD ลงทุนเหรียญ KUB Coin เข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ “บิทคับ” เพื่อวัตถุประสงค์การเป็นพาร์ทเนอร์ในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node) ในระบบการตรวจสอบธุรกรรมบล็อกเชน (Block chain)

โดย บมจ.โปรเอ็น คอร์ป ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 2.5 แสนเหรียญ ในราคาลงทุนเฉลี่ยเหรียญละ 291 บาท (ประมาณ 72.9 ล้านบาท) เมื่อราคาเหรียญปรับตัวลงมา ล่าสุด ( 31 พ.ค.) ราคาเหรียญเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 112 บาทต่อ 1 เหรียญ นั่นทำให้มูลค่าลงทุนของ PROEN ลดลงไปประมาณ 179 บาท หรือกว่า 159%

ส่งผลให้นักลงทุนที่ถือหุ้น PROEN ตัดสินใจเทขายหุ้นออกมา เนื่องจากกังวลว่าบริษัทจะได้รบผลกระทบจากการลงทุนในเหรียญ KUB ทำให้ผู้บริหารบริษัทต้องออกมาชี้แจง (31 พ.ค.) ว่า การร่วมลงทุนกับ Bitkub นั้นมีข้อตกลงในการยืนยันการรับประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำเมื่อครบกำหนดภายในวันที่ 31 พ.ค. 2566 ที่ไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุน แต่หากราคาซื้อขายสูงกว่าบริษัทจะได้รับส่วนต่างกำไรทั้งหมด


ขณะที่ บมจ.ทีวี ไดเร็ค หรือ TVD ทำสัญญาซื้อเหรียญ KUB Coin ที่ราคา 104.26 บาท/เหรียญ จำนวน 125,000 เหรียญ ใช้เงินทุนราว 13 ล้านบาท โดยทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงรองรับในระดับ 12% หรือจำนวน 15,000 เหรียญ ราคาซื้อคืนที่ 90 บาท ระยะเวลาสัญญา 1 ปี

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กรณี ทำให้เริ่มมีหลายฝ่ายมองว่า เป็นการเอาเปรียบนักลงทุนทั่วไปหรือไม่? เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องยอมรับความเสี่ยงต่อการขึ้นลง หรือความผันผวนของราคาเหรียญด้วยตนเอง และ “บิทคับ” ก็ไม่มีมาตรการอะไรออกมารับรอง

คำถามก็คือ พฤติการณ์ช่วงโปรโมชัน KUB ราคาดิ่งเหว ช่วยเหลือพันธมิตรด้วยการอุ้มสมประกันราคา โดยที่มีมาตรฐานไม่เท่ากันกับรายย่อยที่อยู่บนดอยสูงของเจ้าของเหรียญ KUB เพื่อดันราคาของ KUB ให้สูงขึ้น เพื่อมิให้มูลค่าของตลาดซื้อขายคริปโตของบิทคับดูราคาต่ำไปด้วย เพียงเพื่อให้ SCBX ไม่ทิ้งดีล

ค่าต๋งแพง โขกค่าธรรมเนียมสูง

บิทคับ เพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตสูงเป็นที่ต้องตาของ SCBX นั้น ถูกพบว่า บิทคับ คิดค่าธรรมเนียมในการเทรด 0.25% ไปกลับซื้อ–ขาย เก็บค่าต๋ง 0.50% ถือว่าแพงกว่า กระดานเทรดคริปโตรายอื่นๆ หรือ อย่างไบแนนซ์กว่าเท่าตัว และเมื่อมีการทำรายการถอนบิทคับ จะคิดค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อรายการกับนักลงทุน ซึ่งว่ากันว่าเป็นค่าธรรมเนียมที่ “มหาโหด” ที่คนในวงการการเงินมองว่า บิทคับเอากำไรเกินควร ทั้งๆ ที่แบงก์คิดค่าธรรมเนียมค่าบริการกับบิทคับเพียง 3 บาทต่อรายการ แต่บิทคับเอามาเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มถึง 17 บาท

ปั่นเยาวชน มอมเมาด้วยการตลาด

สิ่งที่สังคมรับไม่ได้ และ เห็นว่า ไทยพาณิชย์ต้องคิดให้รอบคอบในการเข้าลงทุนเทคโอเวอร์บิทคับ ก็คือ การทำการตลาดของยูนิคอร์นรายนี้ที่ทำทุกวิถีทางที่จะได้ลูกค้ามาเปิดบัญชีเทรดกับตลาดตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่เยาวชนที่อ่อนด้อยประสบการณ์ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ไทยพาณิชย์จะได้รับคือ การซื้อ “บ่อนพนัน”

จากทั้งหมด บทสรุปของบิทคับ จากสตาร์ทอัป อัปเกรดขึ้นมาเป็น “ยูนิคอร์น” ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยการขี่กระแสขาขึ้นของ “บิทคอยน์” พร้อมกับความพยายามในการสร้าง “ลัทธิ” หรือการสร้างภาพให้ธุรกิจและตัวของ “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้เป็นดั่ง “เจ้าลัทธิ” ที่ปลุกเร้าเจ้าของธุรกิจ ชนชั้นอีลิท และ คนดัง ด้วยการตั้งโปรแกรม “ Chosen1” ทุ่มงบประมาณการตลาดมากมายมหาศาล ชวนเชื่อให้เชื่อไปในแนวทางเดียวกันกับบิทคับ ว่า บิทคับคือผู้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงิน และเชื่อมต่ออนาคตด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมกับการปูพรมกวาดต้อนนักลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ นักเรียนมัธยม เด็กมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเองด้วยแคมเปญเช่น 10 บาทก็ลงทุนได้ สะท้อนให้เห็นว่า บิทคับนั้นเอาการตลาดนำหน้าเพื่อรายได้ เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ มากกว่าผลลัพธ์การพัฒนาตลาดคริปโตฯ

ธรรมาภิบาลแบบนี้ ไทยพาณิชย์ ไม่เทไหวหรือ?
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 79

โพสต์

UPDATE: Nikkei Asia รายงาน ‘SCBX’ ชะลอการเข้าซื้อ Bitkub มูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาทอย่างไม่มีกำหนด อาจทำให้สถานะ ‘ยูนิคอร์น’ กลายเป็นหมัน
.
Nikkei Asia รายงานว่า SCBX บริษัทแม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้ให้กู้ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ชะลอการเข้าซื้อ Bitkub มูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาทอย่างไม่มีกำหนด อาจทำให้สถานะ ‘ยูนิคอร์น’ กลายเป็นหมัน
.
“เราได้ชี้แจงอย่างชัดเจนในแถลงการณ์ของเราต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะ” เจ้าหน้าที่อาวุโสของ SCBX ผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว “เราไม่รู้ว่าข้อตกลงจะเสร็จสิ้นเมื่อไร”
.
การตัดสินใจที่จะเลื่อนออกไปเริ่มชัดเจนเมื่อต้นเดือนนี้ เมื่อ SCBX ได้ส่งจดหมายถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน
.
“ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ และระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง” อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCBX กล่าวในแถลงการณ์ “มีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม”
.
เดิมนั้นการเข้าลงทุนในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) ของบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565 และจะทำให้ Bitkub ก้าวเข้าสู่สถานะ ‘ยูนิคอร์น’ ด้วยมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ตอนนี้อาจกลายเป็นหมันเสียแล้ว
.
ในเดือนกุมภาพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประกาศกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล สิ่งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ราคา Bitcoin ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น
.
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ก.ล.ต. ได้กำหนดบทลงโทษทางแพ่งต่อ ‘สกลกรย์ สระกวี’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Bitkub Capital Group ฐานปลอมแปลงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเขาถูกปรับ 8 ล้านบาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 12 เดือน
.
รายงานของ Nikkei Asia อ้างอิงคำพูดของสกลกรย์ ซึ่งได้ก่อตั้ง Bitkub ร่วมกับ ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ว่า ด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในไทย ทำให้ Bitkub ได้พยายามเข้าไปเจาะตลาดเวียดนาม ซึ่งคนรุ่นใหม่เข้าใจคริปโตเคอร์เรนซี และมีบรรยากาศที่เป็นมิตรกว่า
.
ในเดือนเมษายน Bitkub ได้เข้าร่วมกับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีของเวียดนามในท้องถิ่น เพื่อเปิดตัว KUBTECH ในฐานะผู้ดำเนินการบล็อกเชนส่วนตัว ที่มีเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนเป็นสกุลเงินดิจิทัลและแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคตอันใกล้
.
“เราได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์บางอย่างบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนของเรา ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลในการซื้อขาย เช่น เกม” สกลกรย์กล่าว “เราจะรอให้โครงสร้างพื้นฐาน 5G และหน่วยงานกำกับดูแลพร้อม จากนั้นเราจะแปลงร่างเป็นแพลตฟอร์มคริปโตได้”
.
ทั้งนี้ แม้ว่าธนาคารกลางของเวียดนามจะสั่งห้ามสกุลเงินดิจิทัลเป็นวิธีการชำระเงินในปี 2017 แต่การลงทุนใน Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ของชาวเวียดนามได้รับรายงานมาเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว
.
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 80

โพสต์

SCBX ยันการตั้งสำรองเพิ่มไม่เกี่ยวกับตลาดคริปโตผันผวน ย้ำลงทุนในโทเคนน้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์

เอสซีบี เอกซ์ แจงตั้งสำรองเพิ่มไม่เกี่ยวความผันผวนคริปโตเคอร์เรนซี ยันบริษัทไม่มีผลกระทบทางตรงและลงทุนในโทเคนต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์ ส่วนดีลบิทคับยังอยู่ระหว่างทำ Due Diligence เหมือนเดิม เตรียม Spin Off บริษัทลูกกลุ่มเทคโนโลยีไตรมาส 4 ปีนี้

มาณพ เสงี่ยมบุตร Chief Finance & Strategy Officer บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้แจงถึงกรณีที่ธนาคารได้มีการตั้งเงินสำรองในไตรมาส 2 ของปี 2565 จำนวน 10,250 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ว่าการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกและอัตราเงินเฟ้อระดับสูง โดยยืนยันว่าบริษัทไม่มีผลกระทบทางตรงจากความผันผวนของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีแต่อย่างใด

“คุณภาพสินเชื่อในไตรมาส 2 ของเราปรับตัวดีขึ้น โดย NPL ลดลงจาก 3.8% ในไตรมาสแรกลงมาอยู่ที่ 3.6% การตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นจึงอาจดูย้อนแย้งอยู่บ้าง แต่ยืนยันว่าเป็นการตั้งสำรองตามหลักความระมัดระวัง เนื่องจากปัจจัยภายนอกยังมีความเปราะบาง เงินเฟ้อมีแนวโน้มจะยืนอยู่ในระดับสูงมากกว่าที่คิด เราจึงเสริมความแข็งแกร่งเอาไว้ก่อน ไม่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซี” มาณพกล่าว

มาณพเปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีการลงทุนอยู่ในคริปโตเคอร์เรนซีอยู่บ้างผ่าน บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) แต่คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก โดยมีมูลค่าน้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงทุนดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลตอบแทนหรือเก็งกำไร แต่เป็นการลงทุนเพื่อทดลองเรียนรู้โปรโตคอลของบล็อกเชนที่บริษัทให้ความสนใจ ขณะที่การลงทุนของ SCB 10X ในบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ ก็จะเน้นลงทุนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหลัก ไม่มีการถือสินทรัพย์เอาไว้เองโดยตรง

“ราคาคริปโตที่มีความผันผวนอาจส่งผลกระทบทำให้มูลค่าของบริษัทสตาร์ทอัพปรับลดลงบ้าง แต่ที่ผ่านมาเราก็ลงทุนด้วยความระมัดระวังสูงอยู่แล้ว มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญสำหรับกลั่นกรองและประเมินความเสี่ยง เราไม่ไปลงทุนในบริษัทที่ยังอยู่ใน Early Stage แต่จะลงในรอบ Series B หรือ Series C ซึ่งมีรายได้มั่นคงระดับหนึ่งแล้ว” มาณพกล่าว

มาณพระบุอีกว่า ในเม็ดเงินทุน 500 ล้านดอลลาร์ของ SCB 10X เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลต่ำกว่า 20% โดยทุกการลงทุนจะถูกบันทึกบัญชีด้วยมูลค่ายุติธรรม คือมูลค่าจะเปลี่ยนแปลงทุกไตรมาสเพื่อความโปร่งใส และในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา SCB 10X ก็ยังทำรายได้ได้ดีถึง 2.4 พันล้านบาท สะท้อนถึงการประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบ

สำหรับแผนการเข้าลงทุนใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) หรือ บิทคับ ของบริษัทปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบทางธุรกิจและระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องโดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม โดยยังไม่มีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับกรอบระยะเวลา

มานพกล่าวว่า บริษัทและทีมผู้บริหารยังมีความเชื่อว่าในระยะยาวสินทรัพย์ดิจิทัลจะยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงและจะมีการใช้งานมากขึ้น แม้ว่าในระยะสั้นนี้สถานการณ์อาจมีความผันผวน โดยบริษัทยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์ระยะยาวที่ต้องการปรับตัวเองขึ้นเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

นอกจากนี้ มานพยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าของแผนการ Spin Off กลุ่มธุรกิจดิจิทัลและเทคโนโลยี เช่น CardX SCB Abacus Monix และ AutoX ออกจากธนาคารมาอยู่ภายใต้ SCBX ว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลขึ้นมายัง SCBX โดยคาดการการโอนธุรกิจน่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้

มานพระบุว่า แม้ว่าการโอนย้ายจะยังไม่เกิดขึ้นแต่บริษัทลูกในกลุ่มเทคโนโลยีก็มีของการเติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันบริษัทมียอดผู้ใช้งานดิจิทัลในภาพรวมถึง 23 ล้านคน เพิ่มขึ้น 35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดสินเชื่อดิจิทัลรวมมีอยู่ราว 4.8 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 69% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับแพลตฟอร์ม Robinhood มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 3.1 ล้านราย และมียอด Gross Merchandise Value (GMV) เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด และ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด ต่างมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า และมียอดผู้ใช้งานรวมเร่งขึ้นไปเป็นกว่า 4.5 ล้านราย ในด้านธุรกิจเปิดใหม่ บริษัท ออโต้ เอกซ์ จำกัด ก็ได้เปิดสาขาไปแล้วกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 81

โพสต์

‘ท๊อป - จิรายุส ’ ถอดสูตร ซีอีโอ ผู้เชื่อมั่นว่า ‘บิตคอยน์’ จะมาเปลี่ยนแปลงโลก
25 ก.ค. 2565 เวลา 10:39 น.

รายการ SUITS ถอดสูตรความสำเร็จ ฉบับ CEO ของ “กรุงเทพธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้ง และ Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

กว่าจะมาเป็น “ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้พลิกโฉมหน้าวงการไฟแนนซ์ของไทย กับความเชื่อว่า “บิตคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก” นั้นไม่ใช่ง่ายๆ เพราะกลับโดนต่อต้านต่างๆ นานา หากวันนั้นเขาไม่กัดฟันสู้ เราคงจะไม่มีดิจิทัลคอมพานี ที่เจ้าของเป็นคนไทย อย่าง “บิทคับ” ในวันนี้

"ท๊อป-จิรายุส” เล่าย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีก่อน ที่เขารู้จักกับ “บิตคอยน์” ครั้งแรก หลังเรียนจบการศึกษาปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย Oxford (University of Oxford) และบินไปทำงานที่แรก กับบริษัทเกี่ยวกับ Investment Banking ใน เซี่ยงไฮ้ เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน และทำเกี่ยวกับ Pink sheets (การซื้อขายหุ้นราคาถูกที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ โดยซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ OTC Bulletin board)


โดยพบว่า Penny Stock (หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 5 ดอลลาร์ต่อ 1 หุ้น) อะไร? ที่ราคาเหรียญพุ่งขึ้นกว่า 10,000% จากราคาเหรียญละ 11 ดอลลาร์ พุ่งขึ้นเป็น 1,150 ดอลลาร์ ในเวลาอันรวดเร็ว นั่นคือ “บิตคอยน์” นั่นเอง

ทำให้เขาเริ่มให้ความสนใจกับบิตคอยน์ แล้ว มันคืออะไร? เป็น Financial Asset สินทรัพย์แบบใหม่อย่างนั้นหรือ? จนกระทั่งไปเจอกับบทความบน Blog หนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับ บิตคอยน์ มีชื่อบทความว่า “Why Bitcoin Matters” ที่เขียนโดย Marc Andreessen เป็นผู้ก่อตั้ง Web Browser เว็บแรกของโลกที่มีชื่อว่า Netscape

โดยบทความดังกล่าว Marc ให้มุมมองว่า “บิตคอยน์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการเงินของโลกในอนาคต” ซึ่งบทความนี้เขียนไว้เมื่อราวๆ เกือบสิบปีก่อน ก่อนที่บิตคอยน์จะเป็นที่รู้จักเช่นในวันนี้ นั่นหมายความว่า Marc มองอนาคตข้ามชอร์ตกว่าคนทั่วไปล้ำหน้ากว่า 10 ปี

จากนั้นเขาตัดสินใจทันที โดยกลับมาสมัครงานที่ San Francisco ประเทศสหรัฐ เป็นที่ปรึกษาที่ Market Street, Bank of America แต่ทำงานได้เพียงสัปดาห์เดียวก็รู้ทันทีเลยว่า “ไม่ใช่”

ในตอนนั้น "ท๊อป-จิรายุส" กล่าวว่า "ผมก็ยังค้นหาตัวเองว่าชอบไม่ชอบอะไร พยายามนึกถึงเพื่อนๆ ที่รู้จักว่า พอจะมีใครรู้จักคนวงในของ Sillicon Valley บ้าง จนกระทั่งเพื่อนคนหนึ่งได้นัดให้พบกับ Dan Schatt (อดีต) ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของ Paypal บริษัทรับชำระเงินออนไลน์ระดับโลกในเวลานั้น ที่ร้านแพนเค้ก

และเปิดประโยคคำถามแรกว่า “Dan คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ บิตคอยน์ บ้าง” โดย Dan ก็ตอบกลับมาว่า “คุณรู้ไหมว่า paypal จริงๆ แล้วตั้งใจที่จะสร้าง Digital Dollar แต่สมัยนั้น เทคโนโลยีไม่เอื้อ แต่คนรุ่นคุณเป็น The Luckier Generationที่โชคดีมากเติบโตมาเพียบพร้อมกับเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยทุกอย่าง”

และนี่ก็เป็นอีกครั้งทำให้ “ท๊อป-จิรายุส” เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า “บิตคอยน์” ต้องมาเปลี่ยนแปลงโลกนี้อย่างแน่นอน

เส้นทางสู่จุดเริ่มต้น “บิทคับ”

หลังจากพบ Dan ในวันนั้นก็เปลี่ยนชีวิตของ “ท๊อป-จิรายุส” ไปตลอดกาล เขาตีตั๋วบินกลับมาเมืองไทย แล้วปรึกษาที่บ้านว่า “อยากเปิดสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับ บิตคอยน์” โดยบริษัทแรกของเขามีชื่อว่า คอยส์ ไทยแลนด์ (Coins Thailand) และสถานที่แรกที่เขาใช้เป็นออฟฟิศคือ ชั้นลอยของร้านขายเสื้อผ้าของคุณแม่ที่ประตูน้ำ ซึ่งตอนหลังบริษัทสตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่จากประเทศอินโดนีเซีย Gojek ติดต่อขอเข้าซื้อกิจการ

“ท๊อป-จิรายุส” ย้อนเล่าเหตุการณ์วิกฤติ ที่ถาโถมเข้ามาเมื่อ 8 ปีก่อนว่า ครอบครัวไม่ได้ห้ามแต่ไม่เข้าใจ มีคำถามมากมายตามมาว่า "สตาร์ทอัพ คืออะไร ต่างกับเอสเอ็มอีอย่างไร และ บิตคอยน์ ยิ่งไม่มีใครรู้จัก

หลังจากเปิดบริษัทก็โดนทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สรรพากร เรียกตัวเข้าไปสอบสวน และตลอดเวลาเราจะได้ยินแต่ว่า บิตคอยน์ คือ แชร์ลูกโซ่ ฟอกเงิน ตลาดมืด หรือแม้แต่ เงินของเล่น

"ผมใช้เวลาทั้งหมดของชีวิต ทุ่มไปกับความคิด ความเชื่อ ที่ว่าบิตคอยน์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่จะมาเปลี่ยนโลกใบนี้ พยายามชี้แจงกับครอบครัว ผู้คน ทุกหน่วยงานภาครัฐ ต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงโลกต่อไป เงินจะไม่ใช่กระดาษ ไม่ใช่ เฟียตมันนี แต่จะกลายเป็นเงินดิจิทัล”

เมื่อเกิดการไม่เข้าใจกันระหว่างสองเจเนอเรชั่น “ท๊อป-จิรายุส” ยังต้องพิสูจน์กันอีกหลายสนาม จากครอบครัว ไปสู่การปิดช่องว่างกับคนในวงการไฟแนนซ์

แต่เขาไม่ล้มเลิกความตั้งใจและเดินหน้าต่อสู้ จนเป็น “บิทคับ” มีนักลงทุน 3 กลุ่ม คือ สยามราชธานี ,dtac Accelerate และSeaX Ventures มีอัตราการเติบโตของธุรกรรมต่อวันสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในปี 2559 บริษัทของเขาก็กลายเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับ บิตคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้

เป้าหมายและความฝันของ “บิทคับ”

“ท๊อป-จิรายุส”มุ่งมั่นในเป้าหมายเดียวมาตลอด “บิตคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก” และทำความฝันให้เป็นจริงทีละอย่าง “ท๊อป-จิรายุส” กล่าวว่า ผมมี 2 ความฝันใหญ่จะเดินไปพร้อมกัน คือ ความฝันคือ "การสร้าง digital infrastructure ของประเทศ ที่จะโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะเกิดเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดในเมืองไทยให้ได้

"บิทคับ เป็นยูนิคอร์นรุ่นแรกของคนไทย ที่อยากออกบุกตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปีนี้ เพื่อที่จะชนะและนำเงินกลับเข้ามาในไทยบ้าง เรายังดื้อที่จะอยู่ในไทย กัดฟันสู้ เพื่อให้มีเศรษฐกิจรุ่นใหม่ เกิดขึ้นในประเทศให้ได้ ไม่เช่นนั้นเราจะไม่มีดิจิทัลคอมพานีของคนไทย”

และอีกหนึ่งความฝันคือ "การผลักดัน บิทคับเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยแห่งแรกที่เป็นบริษัทคนไทย 100% เข้าไปจดทะเบียนในตลาดแนสแด็ก ประเทศสหรัฐ ให้ได้

“เราอยากให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของดิจิทัลคอมพานี ที่เป็นบริษัทไทยแท้ 100% และเป็นเจ้าของเทคโนโลยีร่วมกันและเป็นบริษัทคนไทยแห่งแรก ที่เข้าอยู่ในตลาดแนสแด็กให้ได้ ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน”

พิสูจน์ ด้วยการกระทำ โชว์ผลลัพธ์

หากวันนั้นเขาไม่กัดฟันสู้ เมืองไทยจะไม่มีดิจิทัลคอมพานี ที่เจ้าของเป็นคนไทย ซึ่งเขาไม่ล้มเลิกความตั้งใจ ตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ “ท๊อป-จิรายุส” ต้องเดินสายกว่า พันเวที ทุ่มเทเวลา เรียกว่า 1 สัปดาห์ มี 7 วัน 1 วันมี 24 ชั่วโมง แทบจะอุทิศเวลาให้กับการทำงาน

เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า “สิ่งที่เขากำลังทำอยู่มันคือ อนาคต หากไม่ปรับตัวให้ทัน เราจะเสียโอกาสมากขนาดไหนที่จะสร้างการเติบโตอีกครั้งในกระแสการเปลี่ยนแปลงรอบใหม่ของโลกใบนี้”

กว่าจะมาเป็น “ท๊อป -จิรายุส” แนวหน้าของวงการคริปโทเคอร์เรนซี ในวันนี้ได้นั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
แนบไฟล์
bitkub.JPG
bitkub.JPG

pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 82

โพสต์

บอร์ด ก.ล.ต. สั่งบิทคับ อนุมัติเหรียญ KUB เข้าศูนย์ซื้อขาย ภายใน 4 ส.ค.
วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 - 17:07 น.

บอร์ด ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด แก้ไขคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใน 4 ส.ค. 65

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานว่า ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีมติอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) สั่งการให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยจะครบกำหนดวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 นั้น


ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ทาง Bitkub ได้มีหนังสือขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ได้พิจารณาแล้ว มีมติอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ สั่งการให้ Bitkub ดำเนินการแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามคำสั่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 ภายในเวลาทำการของสำนักงาน ก.ล.ต. ในวันที่ 4 สิงหาคม 2565



หมายเหตุ –
ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 108 / 2565 เรื่อง ก.ล.ต. เปิดเผยมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Det ... 65&Lang=TH
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

BITKUB

โพสต์ที่ 83

โพสต์

เคลื่อนไหวแล้ว! ท๊อป จิรายุส ย้ำดีลกับ SCBX ยังเดินหน้าต่อไป

นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของ ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง Bitkub ที่ได้ออกมาพูดถึงดีลที่หยุดชะงักของ SCB และการเข้มงวดขึ้นของ ก.ล.ต. ซึ่งเขาบอกว่าไม่กระทบต่อธุรกิจมากนัก

ในการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV จิรายุสกล่าวว่า เขายังไม่สามารถพูดถึงข้อตกลงนี้ในที่สาธารณะได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบ แต่ทุกอย่างยังอยู่ในไทม์ไลน์ นั่นคือสิ่งที่เขาพูดได้

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา SCBX ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงความคืบหน้ากรณีการเข้าลงทุนใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด มูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาท โดยขยายการเข้าทำธุรกรรมเดิมออกไปอย่างไม่มีกำหนด



รายงานของ Bloomberg ชี้ว่า ระบบคริปโตเคอร์เรนซีทั่วโลกกำลังต่อสู้กับการล่มสลายของโทเคนดิจิทัลหลายตัว มีการยื่นฟ้องล้มละลายหลายครั้ง และการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้กระตุ้นให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดจากหน่วยงานกำกับดูแล อย่างในไทยเองทาง Zipmex ได้ระงับการถอนเงินของลูกค้าและยื่นขอพักชำระหนี้จากเจ้าหนี้

Bitkub ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ลงโทษปรับบริษัทจำนวน 24 ล้านบาท และเจ้าหน้าที่อีกสองคนฐานละเมิดกฎการซื้อขาย

“ไม่มีนักลงทุนรายใดได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว เราได้วัดจำนวนผู้ใช้งานประจำวันแล้ว และมันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก” จิรายุสกล่าว

โดยผู้ใช้งานคนไทยหลายรายได้ย้ายมาใช้ Bitkub หลังจากปัญหาของ Zipmex เหรียญของ Bitkub ลดลงประมาณ 85% จากระดับสูงสุด และอยู่ที่ประมาณ 2.60 ดอลลาร์ในวันจันทร์ (1 สิงหาคม) ตามข้อมูลของ CoinGecko
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 84

โพสต์

เบื้องหลัง “KUB-บิทคับ” แข็งเมือง! ถือดีเพราะมีอดีตรองเลขาฯ ก.ล.ต.นั่งกุนซือ!!?
By Admin -August 15, 2022


บทความโดย ibit ผู้จัดการออนไลน์

เปิดตัว “ทิพยสุดา” อดีตรองเลขาฯ ก.ล.ต. ที่ปรึกษา “บิทคับ” กรณี “KUB Coin” ไม่ได้มาตรฐาน ก.ล.ต.สั่งให้แก้ แต่ “บิทคับ” กล้าที่จะประกาศยืนยันว่า “เหรียญเทพ” แล้ว ไม่ต้องแก้อะไร ปฏิบัติการเย้ยหยันมาตรฐานเรกกูเลเตอร์ หรือจะเป็นศึกโดยคน ก.ล.ต.กันเอง???

ยืนยันมาตรฐานสุดลิ่มสำหรับ “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” ที่ออกประกาศผ่านเพจ Bitkub วันที่ 4 ส.ค. ว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีคำสั่งการให้บริษัท แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB ในการเข้ามาให้บริการซื้อขาย ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ โดยให้ประสานกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (บิทคับ บล็อกเชน) ผู้ออกเหรียญ KUB ให้แก้ไขมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB หรือ Bitkub Chain ให้เป็นไปตามคะแนนที่คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ได้พิจารณาเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 นั้น

ล่าสุด บริษัทฯรายงานว่า ได้ประสานงานกับ “บิทคับ บล็อกเชน” และยืนยันว่ามาตรฐานเทคโนโลยีของ โปรเจกต์ของเหรียญ KUB หรือ Bitkub Chain เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่พร้อมแก่การให้บริการตั้งแต่วันแรกที่มีการออกและเสนอขายให้แก่นักลงทุน

ดังนั้น บริษัทฯ จึงเชื่อว่า เหรียญ KUB เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโครงสร้างเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากนี้อยู่ระหว่างดำเนินการส่งหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับความเหมาะสมของการให้คะแนนเหรียญ KUB ในการนำเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ตามที่ ก.ล.ต. ร้องขอ

ยืนยันมาตรฐานแต่ขอยืดเวลา

พูดง่ายๆ คือ “กลุ่มบิทคับ” ยืนยันมาตรฐานของเหรียญ และการให้คะแนนเพื่อนำเหรียญเข้ามาซื้อขายยนกระดานของตนเองนั้นมีมาตรฐานสูง คะแนนที่ได้มีความเหมาะสมทุกอย่างอยู่แล้ว แต่ที่น่าแปลกใจหากเป็นเอกสารชี้แจงฉบับเดียวกัน ทำไม ก.ล.ต.จึงต้องออกมาเป็นคำสั่งให้แก้ไข หรืออ่านหนังสือเล่มเดียวกันแต่เข้าใจกันคนละความหมาย และทำไมต้องขอยืดเวลา

งานนี้แว่วๆ ว่ากว่าจะออกมาซ่าส์ กระต่ายขาเดียวยืนยันประสิทธิภาพเหรียญ KUB ครั้งนี้ “กลุ่มบิทคับ” ก็ต้องคร่ำเครียดไม่น้อย ไม่งั้นคงชี้แจงไปตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 ตามกำหนดของ ก.ล.ต.ที่ให้เวลา 30 วันไปแล้ว แต่กลับขอยืดเวลาชี้แจงออกไปอีก จากนั้นก็ออกมาอ้างมาตรฐานที่กำหนดเองว่าถูกต้องทุกอย่างไม่จำเป็นต้องแก้ไข

แต่วงในเชื่อกันว่าเครียดหนักตั้งแต่วั้นแรกที่โดน ก.ล.ต.มีมติสั่งการ นั่นเพราะหากเกิดการแก้ไขจริงย่อมมีผลต่อความเชื่อมั่นในตัวเหรียญ KUB ของนักลงทุน ยิ่งทุกวันนี้ก็อยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้ว หากต้องแก้ไขการให้คะแนน หรือถูกเพิกถอนเหรียญ KUB ออกยิ่งมีแต่แย่ลงไปอีก ไม่มีช่องทางไหนที่จะเป็นปัจจัยบวกให้ “บิทคับ” และเหรียญ KUB เลย

“บิทคับ” เหิมหนักดื้อแพ่งซ้ำซาก

ย้อนไปก่อนหน้านี้ 6 พ.ค. 65 ก.ล.ต. รายงานว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ (BO) และกรรมการ 5 คน ในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของ BO ในกรณีที่คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)

โดยกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้ง 5 ราย ประกอบด้วย นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์, นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ, นายปิยพงษ์ โคตรชนะ, นายพงศกร สุตันตยาวลี และนายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำเป็นเหตุให้ BO คัดเลือกเหรียญ KUB ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ให้ปรับเงินรายละ 2,533,500.00 บาท และบิทคับเอง 2,533,500.00 บาท

โดยครั้งนั้น บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ออกแถลงการณ์ตอบโต้ ก.ล.ต.มาแล้วครั้งหนึ่ง ยืนยันว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บิทคับ ประกอบธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยในส่วนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ KUB (Bitkub Coin) บริษัทพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละครั้ง จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) เดียวกัน

พร้อมทั้งยืนยันว่า ได้พิจารณาทบทวนคุณสมบัติของเหรียญ KUB (Bitkub Coin) แล้ว เหรียญ KUB ยังคงมีคุณสมบัติเพียงพอและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ได้เคยพิจารณาคัดเลือกไว้ และยังคงอยู่ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินการโดยบริษัทฯ ตามปกติรวมทั้ง บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาโดยตลอด โดยขอแจ้งดังต่อไปนี้

1. บริษัทฯ พิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนและคำนึงถึงความเสี่ยงของเหรียญเป็นสำคัญ ซึ่งบริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหรียญเพื่อให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญก่อนการเปิดให้ซื้อขายทุกครั้ง

2. บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing) เช่น มีการหารือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และการขอ Profile listing ID ก่อนที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการและขั้นตอนที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ หลังจากที่ได้รับทราบประเด็นข้อสังเกตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับแจ้งแล้ว

3. บริษัทฯ มีการติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่เป็นประจำ และมีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบผ่านช่องทางของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ

“บิทคับ ยืนยันได้ตระหนักถึงหลักบรรษัทภิบาลมาโดยตลอด ซึ่งให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยถือประโยชน์ของลูกค้า นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมาตรฐานในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไป”

เจ้าของตลาดออกเหรียญเองไม่รวย?

นอกจากนี้ การกำหนดและให้คะแนนเหรียญเอง แถมยังเอามาเข้าซื้อขายบนกระดานของตัวเองมันก็ชวนให้น่าคิดว่าจะช่วยทำให้ราคาเหรียญ KUB ปรับตัวขึ้นได้ง่ายหรือเปล่า? เหมือนแข่งรถยนต์ที่เจ้าของสนามแข่งรถ มีรถแข่งของตัวเองมาเข้าร่วมแข่งขันด้วย ความได้เปรียบ หรือประโยชน์ หรือสิทธิพิเศษมันย่อมมีมากกว่าปกติ งานนี้มีแต่ได้กับได้ หรือทับซ้อนกันแบบ Conflict of interest หรือไม่?

อย่างไรก็ตาม สงสารก็แต่นักลงทุนรายย่อยจะไม่ทันเกมส์ เมื่อคนคุมกระดานเป็นเจ้าของเดียวกับเหรียญ ดังนั้นแค่เรื่องนี้ก็ไม่น่าแปลกใจที่ก.ล.ต.จะมีคำสั่งให้ชี้แจงแก้ไข เพื่อให้มันโปร่งใส และควรเป็นเรื่องที่ “บิทคับ” ต้องทำให้กระจ่าง

ซ่าส์ได้เพราะมีกุนซือช่วย

ย้อนกลับมาที่คำสั่งแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายบนกระดาน “บิทคับ ออนไลน์” แว่วมาว่าในการประชุมครั้งนั้น (30 มิ.ย.2565) เฉพาะเรื่องเหรียญ KUB ที่ประชุมคณะกรรมการก.ล.ต.มีการถกเหตุผลกันแบบมาราธอนร่วม 3 ชั่วโมงกว่าจะมีมติเคาะออกมาเป็นคำสั่งดังกล่าวได้ ลือกันว่ามีความคิดเห็นที่แยกกันเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีการแก้ไขชี้แจง แต่อีกฝ่ายออกตัวแทน “บิทคับ” ว่าที่ทำมาตลอดนั้นถูกทางแล้ว

รายงานว่าในฝั่งที่ออกกมาแก้ต่างให้ “บิทคับ” ล้วนเป็นทีมงานของอดีตมือดีของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ทำงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลของ ก.ล.ต.มาตั้งแต่ต้น ได้ลาออก และผันตัวมาเป็นที่ปรึกษาให้กับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ “บิทคับ” จึงมีความเกรงใจหรือให้ความเคารพในฐานะเจ้านายเก่า

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2562 ก่อนจะลาออกจาก ก.ล.ต. และผันตัวมาเป็นที่ปรึกษาและกรรมการให้กับบริษัทเอกชนหลายแห่ง อาทิ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน,กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท โกลบอลคอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลูชิต้า คอนซัลติ้ง จำกัด รวมถึงที่ปรึกษา บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และอีกหลายบริษัท

ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองเลขา สำนักงาน ก.ล.ต.นั้น ทิพยสุดา นับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญและโดดเด่น รวมเป็นคีย์สำคัญคนหนึ่งของ ก.ล.ต. โดยก่อนลาออกนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มอบโล่ประกาศเกียติคุณ ในพิธีเชิดชูเกียติ เพื่อแสดงความขอบคุณในฐานะผู้มีคุณูปการต่อ ก.ล.ต.ด้วย เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2562

ว่ากันว่า “ทิพยสุดา” หลังจากลาออกจากรองเลขาฯ ก.ล.ต. ยังคงคลุกคลีอยู่ในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี ที่ตนเองมีความชำนาญ โดยได้เข้าไปช่วยงานในสมาคมฟินเทคประเทศไทย ที่มี “กรณ์ จาติกวณิช” เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและชักชวนให้เข้ามาร่วมงาน ซึ่งในสมาคมฯ เองก็มีนักธุรกิจรุ่นใหม่ในแวดวงคริปโตฯ เข้ามาร่วมงานด้วย ซึ่งรวมถึง “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ก็นั่งเก้าอี้กรรมการบริหารของสมาคม ทำให้ไม่น่าใช่เรื่องแปลกใจที่อดีตมือดี ก.ล.ต.จะเข้ามาให้คำแนะนำช่องทางต่างให้แก่ “บิทคับ” เพื่อให้สะดวกโยธินในการตรวจสอบของ ก.ล.ต.

ความจริงผู้เล่นกับกรรมการไม่ควรร่วมก๊วนเดียวกัน เพราะนั่นย่อมช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้เล่นรู้ลึกถึงช่องทางต่างที่ๆ จะหลบเลี่ยง เกณฑ์หรือกฎในการควบคุมของ regulator อย่าง ก.ล.ต.ได้ รวมไปถึงความเกรงใจแฝงที่เกิดขึ้นในบรรดาทีมงานที่ยังอยู่ในก.ล.ต.ของอดีตมือถือ ทำให้ไม่กล้าที่จะดำเนินการหรือเกรงใจเสมอหากมีเรื่องที่ชวนสงสัยเกิดขึ้น ดังนั้นงานนี้หนีไม่พ้นที่ก.ล.ต.จะถูกครหาว่าโดนล้วงลูก เมื่อเจ้าหน้าที่เกรงใจผู้เล่น จนอาจกลายเป็นสปายแฝงอยู่ในองค์กร ย่อมทำให้การผ่อนปรนกฎเกณฑ์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดขึ้น เพื่อเอื้อเฟื้อ หรือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และถือเป็นเรื่องสำคัญที่ Regulator ควรออกมาแสดงความโปร่งใส งานนี้ คนที่ได้กับได้มีแต่ “บิทคับ” สร้างสัมพันธ์กับคนแค่คนเดียว ก็เหมือนได้คนของ ก.ล.ต.มาครึ่งโต๊ะ
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

BITKUB

โพสต์ที่ 85

โพสต์

PROEN ยกเลิกสัญญา Bitkub ไม่เข้าลงทุนเหรียญ KUB มูลค่า 73 ล้านบาท
18/08/2022 18:08

“โปรเอ็น คอร์ป” ร่อนหนังสือถึง “Bitkub” ใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ Validator Node บน Bitkub Chain พร้อมยกเลิกลงทุนเหรียญ KUB จำนวน 250,000 เหรียญ มูลค่าไม่เกิน 72.95 ล้านบาท หลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ KUB พร้อมปัจจัยอื่นหวั่นกระทบบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ เผยยังเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยีต่อไป

บริษัท โปรเอ็น คอร์ป (PROEN) แจ้งว่า ตามที่บริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2565 เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอเร็นซี่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) โดยบริษัทจะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอเร็นซี่ สกุลเงิน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Bitkub เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node POSA)แบบ Proofof Stake Allianceในระบบบล็อกเชน Bitkub Chain ซึ่งบริษัทมีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบยืนยันข้อมูลสำเนาการทำรายการธุรกรรมจากบัญชีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์ม Bitkub Chain ที่ถูกกระจายไปยังเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์มีเงื่อนไขการเข้าร่วม โดยบริษัทต้องซื้อเหรียญ KUB จาก Bitkub จำนวน 250,000 เหรียญ KUB มูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 72,949,815 บาท และได้รับเหรียญ KUB เข้าบัญชีบริษัท

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ตามประกาศของกลต.จท-1.(ว) 37/2565 เรื่องการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ KUB และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ จึงได้ทำหนังสือแจ้งใช้สิทธิเลิกสัญญาและขอยกเลิกการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยได้ส่งหนังสือไปยัง Bitkub เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2565

แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยี (Tech Partner) ตามความเหมาะสมในด้านความชำนาญร่วมกับทาง BitKub สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี Bitkub Chain และร่วมมือกันในด้านต่างๆ สู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบเศรษฐกิจดิจิทลัของไทยในอนาคตต่อไป
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

BITKUB

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ถอดรหัส PROEN ล้าง KUB สัญญาณชีพ “บิทคับ” โคม่า!!?
August 22, 2022

บทความโดย ibit ผู้จัดการออนไลน์

ถอดรหัส “โปรเอ็น คอร์ป” หรือ PROEN ยอมขาดทุนเหรียญ KUB กว่า 52 ล้านบาท ล่มสัญญาพาร์ทเนอร์ “บิทคับ” วงในเชื่อเพราะเห็นสัญญาณหายนะ หลังโดนใบเหลืองจากก.ล.ต. ให้แก้คุณสมบัติเหรียญ KUB แต่ยังดื้อแพ่ง นับวันรอใบแดง สั่งห้ามซื้อขาย แถมดีลเอสซีบีเอ็กซ์ ยังโดนเทอย่างไม่มีกำหนด ได้กลับมา 20 ล้านบาท ดีกว่าไม่ได้ จับตาบจ.พันธมิตรรายอื่น ทยอยสลายก๊วนถอนตัว

จากกรณีที่ บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) (PROEN) ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยนายกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา บริษัทได้ทำหนังสือถึงบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) แจ้งใช้สิทธิยกเลิกสัญญา และขอยกเลิการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยบริษัทให้เหตุผลระบุว่า หลังจากบริษัทได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.เรื่องการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ KUB และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ PROEN จึงได้ทําหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริษัท PROEN ได้อนุมัติการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท บิทคับ บล็อคเซน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) โดยบริษัทจะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทคริปโตเคอร์เรนซีสกุลเงิน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Bitkub เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node POSA) แบบ Proof of Stake Alliance ในระบบบล็อกเชน Bitkub Chain

โดยมีเงื่อนไขการเข้าร่วมโดยบริษัทต้องซื้อเหรียญ KUB จาก Bikub จำนวน 250,000 เหรียญ KUB มูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 72,949,815 บาท หรือคิดเป็นราคาเฉลี่ยประมาณ 291.80 บาท และได้รับเหรียญ KUB เข้าบัญชีบริษัท และไม่ให้บริษัทขายและ/หรือแลกเปลี่ยนเหรียญดังกล่าวเป็นระยะเวลาก่อนวันที่ 31 พ.ค. 66 โดยบริษัทได้รับประกันราคาซื้อคืนในราคาที่ไม่ต่ำกว่าต้นทุนเมื่อครบกำหนดเวลา

PROEN ถอนตัวแบบเจ็บๆ

จากเงื่อนไขดังกล่าว ในเมื่อ PROEN เป็นผู้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จะครบกำหนด 31 พ.ค. 65 แล้วส่งที่เกิดขึ้นคือผลขาดทุนจากเหรียญ KUB นั้น บริษัทต้องแบกรับภาระเองใช่หรือไม่ หากเทียบราคาต้นทุนที่ PROEN ใช้เงินลงทุน 72.75 ล้านบาทในการเข้าถือเหรียญ KUB จำนวน 2.5 แสนเหรียญ ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 291.80 บาท / 1 KUB

ปัจจุบัน (20 ส.ค.65 เวลา 21.30 น.) ราคา KUB อยู่ที่ประมาณ 80 บาท ทำให้ PROEN ขาดทุนเหรียญละ 211.80 บาท หรือคิดเป็น 72.58% มูลค่าการขาดทุนรวมทั้งสิ้น 52.88 ล้านบาทบาท จากต้นทุนทั้งหมด 72.75 ล้านบาท



PROEN เผ่น–เห็นสัญญาณหายนะ?

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เพราะเหตุใด PROEN จำต้องยอมรับผลขาดทุนแบบเจ็บปวด จำนวนกว่า 52 ล้านบาท ทำไมไม่อดทนยอมถือ KUB ต่อจนครบกำหนด 31 พ.ค. 66 หรืออีกประมาณ 9 เดือนกว่า ก็สามารถขายคืนให้ “บิทคับ” ในราคาต้นทุน ตามสัญญาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ คือได้เงินคืนครบตามจำนวนที่ลงทุน 72.75 ล้านบาท แต่กลับเลือกเอาส่วนที่เหลือแค่ 20 ล้านบาทคืน

หรือว่า? ผู้บริหาร PROEN ได้เห็นสัญญาณร้ายอะไรบางอย่าง ที่อาจจะก่อให้เกิด “หายนะ” กับ “บิทคับ” ในอนาคตอันใกล้ ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญาหรือไม่ จึงได้รีบยกเลิกสัญญา และถอนเงินทุนออกมา แม้จะขาดทุนหนัก แต่ก็ยังได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาบ้าง หากรอให้ถึงวันนั้นอาจจะเสียหายหนักกว่านี้ หรือไม่เหลืออะไรเลยหรือไม่?

ตีจากก่อน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอน KUB

บุคคลในแวดวงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และนักเทรดคริปโต ได้ให้มุมมองต่อการถอนตัวจากการลงทุนเหรียญ KUB ของ PROEN ในครั้งนี้ ประเด็นหลักไม่น่าจะเกิดจากตลาดคริปโตฯ ผันผวน หรือราคา KUB ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมาก เพราะหากเป็นประเด็นนี้จริง เมื่อครบกำหนดสัญญา ก็สามารถขายคืนให้ “บิทคับ” ในราคาต้นทุนตามสัญญาที่ทำไว้อยู่แล้ว

แต่ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ปัญหาของตัวเหรียญ KUB เอง ที่สำนักงานงานก.ล.ต. ออกมาระบุชัดเจนว่า บิทคับให้คะแนนเหรียญตัวเองสูงเกินมาตรฐานแบบไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เหรียญขาดคุณสมบัติเข้ามาเทรดในกระดานคริปโต ซึ่ง ก.ล.ต. ได้มีคำสั่งให้ บิทคับ ทำการแก้ไข แต่กลับไม่มีการแก้ไขจากบิทคับแต่อย่างใด อีกทั้งยังยืนยันว่าเหรียญ KUB มีมาตรฐานและเหมาะสมเข้ามาเทรดในกระดานตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว

สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65 มีมติสั่งการให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมีการให้คะแนนเหรียญตัวเองสูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ขาดคุณสมบัติเข้ามาซื้อขายในกระดานสินทรัพย์ดิจิทับ โดยให้แก้ไขคุณสมบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 ก.ค. 65 โดยจะครบกำหนด 30 ก.ค. 65

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 65 ทาง บิทคับ ได้ทำหนังสือขอขยายระยะเวลาออกไป ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ขยายเวลาให้ตามที่ร้องขอ โดยกำหนดให้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาทำการของสำนักงาน ก.ล.ต. ในวันที่ 4 ส.ค.65

แต่เมื่อถึงเส้นตาย ก.ล.ต. ทางบิทคับ กลับโต้แย้งว่า เทคโนโลยีของเหรียญ KUB เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่พร้อมแก่การให้บริการตั้งแต่วันแรกที่มีการออกและเสนอขายให้แก่นักลงทุน ดังนั้น บริษัทฯ จึงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เหรียญ KUB เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโครงสร้างเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การท้าทายอำนาจ ก.ล.ต. โดยไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขคุณสมบัติของเหรียญ KUB ของ บิทคับ ในครั้งนี้ เริ่มมีหลายฝ่ายออกมาประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่เหรียญเจ้าปัญหาตัวนี้ อาจถูก ก.ล.ต. สั่งห้ามซื้อขาย หรือถอดถอนออกจากการดานคริปโตได้ ซึ่งหากเกิดเป็นจริงขึ้นมา อาจนำไปสู่ความพังพินาศของใครต่อใครเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย

นอกจากเรื่องความดันทุรังของ “บิทคับ” แล้ว บิทคับเองยังมีปัญหากับ ก.ล.ต. จนนำไปสู่บทลงโทษ ทั้งการตักเตือน และปรับอีกหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระบบ ที่มีนักลงทุนร้องเรียน หรือการรวมหัวกับ Market Maker แทรกแซงราคาเหรียญ จนถูก ก.ล.ต.สั่งปรับไปแล้วหลายครั้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือจากพันธมิตรลง

SCBX เททำพาร์ทเนอร์ฝันค้าง

ไม่เพียงเท่านี้ พันธมิตร ที่เข้ามาลงทุนเหรียญ KUB เอง นอกจากจะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือสนับสนุนทางธุรกิจแล้ว ต่างมุ่งหวังกำไรจากราคาเหรียญที่พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่กลับตรงกันข้ามตลาดคริปโตเข้าสู่ขาลง จนราคาย่ำแย่ อยู่ที่ปัจจุบันไม่ถึง 100 บาท จากเคยขึ้นไปสูงสุดกว่า 500 บาท ทำให้ความน่าสนใจของ KUB หมดลง

ขณะที่ปัจจัยบวกที่พันธมิตรต่างคาดหวังจะให้เข้ามาช่วยสนับสนุนราคาเหรียญกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง คือ กรณีที่กลุ่มไทยพาณิชย์ ในนามบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ประกาศเข้ามาร่วมทุนซื้อหุ้นในสัดส่วน 51% มูลค่ารวมกว่า 1.78 หมื่นล้าน ซึ่งสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่วงการตลาดคริปโตฯในประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะเพียงแค่ประกาศความสนใจก็ทำให้มูลค่าของเหรียญ และมูลค่าองค์กร “บิทคับ” ติดจรวดขึ้นไปทันที



ระยะเวลาล่วงเลยนับตั้งแต่ 2 พ.ย. 64 รวมระยะเกือบ 9 เดือนแล้วกลับไม่มีวี่แววความคืบหน้าแต่อย่างใด

และดูท่าจะกลายเป็นฝันค้างเสียแล้ว สำหรับ “กลุ่มบิทคับ” เมื่อยานแม่ “เอสซีบีเอกซ์” ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 65 ประเด็นสำคัญว่า การตรวจสอบกิจการ หรือดีลดิลิเจนท์ อาจจะเป็นเป็นที่พึงพอใจของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะในส่วนสาระสำคัญที่น่าจะเกิดปัญหา หรือไม่เป็นไปตามที่ต่างฝ่ายต่างคาดหวังไว้ระหว่างกัน รวมทั้งยืนยันถึงนโยบายการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอสซีบีเอกซ์ จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์และข้อกำหนดของ Regulator ที่เกี่ยวข้องก่อนจบอย่างสวยหรูว่า ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบทางธุรกิจ และระหว่างการหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีการขยายเวลาการเข้าทำธุรกรรมออกไปจากกำหนดการเดิม แบบไม่ขอระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน

ประเด็นดังกล่าว ทำให้แวดวงตลาดทุนต่างพากันเชื่อว่า งานนี้ก็คือการบอก “เทแบบสุภาพ” นั่นเอง ขณะที่แวดวงรายย่อยทั้งสายหุ้นและสายเหรียญต่างก็บ่นอุบเพราะ “โดนแกง” นั่นเอง

“เมื่อโอกาสจะทำกำไรจากดีล เอสซีบี เอกซ์ มันจบลงไป ความน่าสนใจการลงทุนกับบิทคับทั้งรูปแบบพาร์ทเนอร์ หรือลงทุนในเหรียญมันก็หมดไปโดยปริยาย ไม่แปลกที่พาร์ทเนอร์ธุรกิจที่แห่เข้ามาประกาศร่วมลงทุนในช่วงเวลานั้นจะเริ่มทยอยถอนตัว เพราะโอกาสในการทำกำไรมันจบลงแล้ว ประตูนี้แทบจะปิดไปแล้ว…

จะมีก็แต่คำพูดปลอบประโลมกันเองของนักลงทุนรายย่อยที่ยังเชื่อใจในตัว ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ว่าท้ายสุดดีลจะเกิดขึ้น ราคาเหรียญจะกลับมา แต่ความเจ็บปวดที่ต้องกัดฟันถือเหรียญต่อไปทั้งที่มีแต่โอกาสเป็นขาลงมันเจ็บกว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ความต้องการถือเหรียญนี้ลดลงไปมาก นักลงทุนเข้ามาเพื่อลงทุนเมื่อกำไรไม่เห็น ทุนมีแต่หด ใครล่ะจะยอมขาดทุน ยิ่งบิทคับไม่ยอมแก้ไขคุณสมบัติเหรียญตามคำสั่งก.ล.ต.ที่เป็นผู้ควบคุม ก็เหมือนนักฟุตบอลที่โดนใบเหลืองจากกรรมการไปแล้ว ยังดื้อแพ่งจะทำผิดอีก ก็มีแต่รอใบแดงจากกรรมการเท่านั้น นั่นยิ่งทำให้คุณค่าของเหรียญลดลงไปด้วย เพราะทุกคนก็ต่างกังวลว่าต่อจากนี้ ก.ล.ต.จะมีบทลงโทษ หรือคำสั่งออกมาเช่นไร และเมื่อพิจารณาจากราคาเหรียญในปัจจุบัน พร้อมกับปฏิกิริยาของผู้ก่อตั้ง ก็พอรู้แล้วว่าคงไม่ได้รับคำชื่นชมเป็นแน่ ตอนนี้ยังพอใกล้หลักร้อยหน่อย หลังจากนี้อาจไม่ใช่แล้ว”

จับตาพันธมิตรรายอื่นๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่านอกจาก PROEN แล้ว “บิทคับ” ยังมีพันธมิตรหรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจอีกมากมายที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ตัดสินใจเข้าไปร่วมลงทุนถือเหรียญ KUB ด้วย โดยปัจจุบันหลายฝ่ายเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการทยอยถอนตัวเกิดขึ้น

ส่วนพันธมิตรที่น่าสนใจ และเคยเป็นข่าว ได้แก่ บมจ.ทีวี ไดเร็ค หรือ TVD ทำสัญญาซื้อเหรียญ KUB Coin ที่ราคา 104.26 บาท/เหรียญ จำนวน 125,000 เหรียญ ใช้เงินทุนราว 13 ล้านบาท โดยทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงรองรับในระดับ 12% หรือจำนวน 15,000 เหรียญ ราคาซื้อคืนที่ 90 บาท ระยะเวลาสัญญา 1 ปี ซึ่งเหตุการณ์ของ TVD เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ PROEN ซึ่งในช่วงเวลานั้น ทั้ง 2 บริษัทออกมายืนยันความเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ได้รับการรับประกันราคาซื้อคืนจากกลุ่ม “บิทคับ”ที่แตกต่างกันไป และก็นำมาซึ่งระบบ 2 มาตรฐานทางธุรกิจที่รายใหญ่ได้ประโยชน์หรือสิทธิพิเศษมากกว่านักลงทุนรายย่อยซึ่งต้องยอมรับชะตากรรมกับราคาที่ร่วงลงในชีวิตประจำวัน

นอกจากบริษัทจดทะเบียน 2 รายข้างต้นแล้ว ยังมีบจ.อีกหลายแห่งที่ทำสัญญาและร่วมลงทุนกับ “บิทคับ” ในลักษณะดังกล่าว อาทิ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ลงทุน 225,000 KUB คิดเป็นเงินลงทุน 60.77 ล้านบาท โดยมีการรับประกันราคา (Price Guarantee) ซื้อคืนขั้นต่ำเมื่อครบกำหนด

บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) หรือ TPCS ลงทุน KUB จำนวน 247,106 เหรียญ มูลค่าลงทุน 35 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยเหรียญละ 141 บาท ไม่มีการรับประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำ ขณะที่บริษัทย่อย คือ บริษัท ทีพีซีเอกซ์ จำกัด (TPCX) เข้าลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท จำนวน 62,500 เหรียญ ต้นทุน 312 บาท มีการประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำ

บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ได้ชี้แจงว่า บริษัทได้ลงนามในข้อตกลง Memorandum of Understanding (MOU) เพื่อเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Node Validator) ในลักษณะ Sharing Node ไม่จำเป็นต้องลงทุนเหรียญ KUB เพิ่มเติม แต่มีเงื่อนไขกำหนดให้ฝาก KUB ที่ได้รับผลตอบแทนจากการเป็น Node Validator ในช่วงปีก่อนหน้านี้ มูลค่า 3.96 ล้านบาท ( 31 มี.ค.65)

บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SIS ลงทุน 250,000 KUB มูลค่ารวม 67,113,829.80 บาท มีประกันราคาซื้อคืนขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าราคาทุน

ส่วนบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC เป็นเพียงผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Node Validator) ด้วยการนำ facilities ที่บริษัทมีอยู่แล้วไปมีส่วนร่วมในการเป็น Node Validator ไม่ได้เข้าลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล มีเพียงเหรียญ KUN ที่ได้รับเป็นค่าธรรมเนียมจากการเป็น Node Validator เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียง บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) (PROEN) หรือ PROEN พันธมิตรของ “บิทคับ” แค่เราเดียวที่มองเห็นสัญญาณร้ายบางอย่าง จึงรีบถอยฉากออกมาก่อนที่จะได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูท่าทีของพันธมิตรรายอื่นๆ จะเดินหน้าหรือถอยฉากออกมาเหมือนกับ PROEN หรือไม่?
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 87

โพสต์

bitkub.JPG
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 88

โพสต์

"กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" และ "บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์" ตกลงร่วมกันยกเลิกการเข้าลงทุนใน "บิทคับ ออนไลน์"

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 25, 2022 13:34 —ThaiPR.net

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ("SCBS" หรือ "ผู้ซื้อ") ในการประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติอนุมัติให้ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ("Bitkub") จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ("ผู้ขาย") ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Bitkub คิดเป็นมูลค่า รวมประมาณ 17,850 ล้านบาท รวมเรียกว่า "ธุรกรรมการซื้อขายหุ้น" นั้น

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ และ SCBS ได้ร่วมกันดำเนินการสอบทานธุรกิจ (due diligence) ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ขายและ Bitkub โดยในระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ บริษัทฯ และ SCBS ได้เห็นศักยภาพและความสามารถในหลากหลายด้านของกลุ่ม Bitkub และเห็นโอกาสในการร่วมมือพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินธุรกิจของ Bitkub ในอีกหลายด้าน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้การสอบทานธุรกิจจะไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติอันเป็นนัยสำคัญซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เนื่องจาก Bitkub ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาในการหาข้อสรุปดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายจึงได้ตกลงร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ที่ประชุมคณะกรรมการ SCBS ครั้งที่ 15/2565 จึงมีมติให้ SCBS ยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2565

ทั้งนี้ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจและภาคการเงินของประเทศไทย
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 89

โพสต์

SCB เผย บล.ไทยพาณิชย์ ล้มดีลเข้าซื้อหุ้น บิทคับ ออนไลน์ 1.78 หมื่นลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 25, 2022 13:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.เอสซีบี เอ็กซ์ (SCB) เปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการ บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) ในการประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 2 พ.ย.64 ได้มีมติอนุมัติให้ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCB เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) จาก บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Bitkub คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาทนั้น

ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ และ SCBS ได้ร่วมกันดำเนินการสอบทานธุรกิจ (due diligence) ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ขายและ Bitkub โดยในระหว่างกระบวนการสอบทานธุรกิจ บริษัทฯ และ SCBS ได้เห็นศักยภาพและความสามารถในหลากหลายด้านของกลุ่ม Bitkub และเห็นโอกาสในการร่วมมือพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินธุรกิจของ Bitkub ในอีกหลายด้าน

อย่างไรก็ดีถึง แม้การสอบทานธุรกิจจะไม่มีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติอันเป็นนัยสำคัญ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้แต่เนื่องจาก Bitkub ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาในการหาข้อสรุปดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายจึงได้ตกลงร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวที่ประชุมคณะกรรมการ SCBS ครั้งที่ 15/2565 จึงมีมติให้ SCBS ยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.65

ทั้งนี้ SCB และ SCBS ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจและภาคการเงินของประเทศไทย
pakapong_u
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 398

Re: BITKUB

โพสต์ที่ 90

โพสต์

พวกมึงเล่นอะไรกัน?! จับพิรุธดีลทิพย์ "โปรเอ็น"-"บิทคับ" ปั่นหุ้น ปั่นเหรียญ
เผยแพร่: 24 ส.ค. 2565 08:24 ปรับปรุง: 24 ส.ค. 2565 08:24 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

พวกมึงเล่นอะไรกัน?! จับพิรุธ "โปรเอ็นฯ" ร่วม "บิทคับ" ลงทุนเหรียญ "KUB" เป็นเพียง "ดีลทิพย์" แค่หวังช่วยปั่นราคาหุ้น-ปั่นเหรียญ หลังผู้บริหารยันไม่มีขาดทุน ไม่กระทบงบการเงินจากการยกเลิกสัญญา เหตุยังไม่ได้ลงทุน แม้บอร์ดอนุมัติตั้งแต่ 25 ก.พ. และได้ออกมาให้ข่าวเป็นระยะการลงทุนคริปโตฯ จะช่วยผลักดันให้ผลงานบริษัทโดดเด่น ขณะที่ราคาหุ้นพุ่งแรงรับข่าวไปแตะระดับสูงสุด 10.20 บาท ส่วนบิทคับ รับอานิสงส์ดึงดูดพันธมิตรรายอื่น และพาร์ทเนอร์ช่วยพยุงเหรียญ KUB ในช่วงตลาดขาลง

หลังจากที่บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ PROEN แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา บริษัทได้ทำหนังสือถึงบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) แจ้งใช้สิทธิยกเลิกสัญญา และขอยกเลิกการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยอ้างการเปลี่ยนแปลงราคาเหรียญ KUB และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ

ทั้งนี้ บอร์ดบริษัท PROEN ได้อนุมัติการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท บิทคับ บล็อคเซน เทคโนโลยี จำกัด (Bitkub) โดยจะเข้าลงทุน เหรียญ KUB จำนวน 250,000 เหรียญ มูลค่าไม่เกิน 72.45 ล้านบาท ตามเงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Bitkub เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node POSA) แบบ Proof of Stake Alliance ในระบบบล็อกเชน Bitkub Chain

ล่าสุด วานนี้ (23 ส.ค.) นายกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โปรเอ็น คอร์ป (PROEN) ได้ออกมาชี้แจงว่า ตามที่ปรากฎข่าวบริษัทมีผลขาดทุนจากการลงทุน KUB นั้น บริษัทยืนยันไม่มีผลขาดทุนจากการทำธุรกรรม และไม่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท เนื่องจากยังไม่ได้ลงทุนแต่อย่างใด

เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้บริหารของ PROEN ได้ประกาศแผนการขยายธุรกิจสู่ธุรกิจสินทรัพย์มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 65 เรื่องการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล และร่วมเป็นพันธมิตรกับ บิทคับ ซึ่งจะช่วยให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเติบโตอย่างโดดเด่น

จากประเด็นข่าวดังกล่าว กลายเป็นจุดสนใจทำให้นักลงทุนทยอยเข้ามาลงทุนหุ้น PROEN จนให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเมื่อต้นปีที่เคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 7.15 บาท แต่ในช่วง ก.พ. - เม.ย. กลับมีแรงซื้อขายเข้ามาอย่างคึกคัก และราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปยืนอยู่เหนือ 8-9 บาท และสูงสุดในวันที่ 14 มี.ค. 65 ที่ราคาหุ้นละ 10.20 บาท

หลังจากนั้นเมื่อยื่นได้ระยะหนึ่งราคาหุ้นก็เริ่มปรับตัวลดลง จากภาวะตลาดหุ้นซบเซา รวมถึงความน่าสนใจของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีลดลง ทำให้นักลงทุนประเมินว่าการลงทุนอาจจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท

จนทำให้ช่วงปลายเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ผู้บริหาร PROEN ต้องออกมาชี้แจงอีกครั้งว่า บริษัทได้ขอเปลี่ยนสัญญาการร่วมทุน และลงทุนเหรียญ KUB โดยทาง บิทคับ จะการันตี การซื้อเหรียญคืนในราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุนภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทต้องถือครบสัญญาวันที่ 31 พ.ค. 66 เพื่อไม่ให้นักลงทุนกังวลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัท

X

ต่อมาเมื่อเจอปัจจัยลบถาโถมที่ส่งผลกระทบทั้งราคาหุ้น และ KUB จึงได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง โดยปัจจัยหลักๆ เรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาหุ้น PROEN ปรับตัวแตะระดับต่ำสุดที่ 4.88 บาท เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 65 ก่อนจะเริ่มขยับตัวดีขึ้นและปิดล่าสุดที่ 7.00 บาท (23 ส.ค.)

ทั้งนี้ หลังจากที่ PROEN ประกาศยกเลิกสัญญาดังกล่าว ราคา KUB ได้ปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 65 ราคาลดลงเหลืออยู่ที่ประมาณ 87 บาท ล่าสุด (23 ส.ค.) แตะราคาต่ำสุดที่ 72.54 บาท ก่อนจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 75.25 บาท ณ เวลา 21.45 น.

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดคำถามตามมาว่า สัญญาการร่วมทุนและลงทุนเหรียญ KUB ระหว่าง โปรเอ็นฯ และบิทคับ มีจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงดีลทิพย์ เพียงแค่หวังสร้างกระแสให้นักลงทุนสนใจ และช่วยดันราคาหุ้นให้สูงขึ้นเท่านั้นหรือไม่ ขณะที่บิทคับ เองก็จะได้รับประโยชน์ในการสร้างข่าวเพื่อดึงพันธมิตรรายอื่นเข้ามาร่วมและยังช่วยพยุงราคาเหรียญ KUB ในช่วงตลาดคริปโตฯ ขาลงด้วย

สุดท้ายแล้ว นักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาลงทุนหุ้น PROEN และเหรียญ KUB หวังเก็งกำไรจากข่าวการร่วมทุนดังกล่าว โดยคาดหวังราคาจะปรับตัวดีขึ้น ก็ต้องแบกรับภาระผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น หลังจากที่ดีลล่ม อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น PROEN และเหรียญ KUB ด้วย