สรุป Money Talk Special “Update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล” 5 ส.ค.64

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
earthcu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 95

สรุป Money Talk Special “Update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล” 5 ส.ค.64

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เผื่อมีประโยชน์กับเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นครับ

Money Talk Special “Update หุ้นหลัก กลุ่มโรงพยาบาล” 5 ส.ค.64

แขกรับเชิญ : คุณเกษม พันธ์รัตนมาลา หัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)
คุณภิญญ์พิสิฐ ตั้งดำรงโรจน์ นักลงทุนเชี่ยวชาญ กลุ่มโรงพยาบาล
ผู้ดำเนินรายการ : ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

1.โดยรวมปีนี้ กลุ่มโรงพยาบาล Outperform Index ค่อนข้างเยอะ 20% vs 6% (ตั้งแต่ต้นปี) แต่ถ้ามองรายโรงพยาบาล Performance ก็ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับว่าสามารถตรวจรักษาผู้ป่วย Covid ได้มากน้อยแค่ไหน ที่ดีมากก็เครือ BCH และ โรงพยาบาลเล็กบางที่ที่ให้บริการด้าน Covid-19 ซึ่งราคาขึ้นไป 80% , ในขณะที่โรงพยาบาลบางที่ ราคาหุ้นก็ไม่ค่อยขยับ ถ้าไม่ค่อยได้ให้บริการเกี่ยวข้องกับ Covid-19

2.Q.ผลประกอบการจาก Covid-19 ที่ดีหรือดีมากจะถือว่าเป็นแค่ชั่วคราวหรือจะส่งผลระยะยาวกับ Value ของกิจการ
A.มีหลายประเด็น ถ้านับปีที่แล้วยกตัวอย่าง BCH ที่ Active เรื่องการตรวจ Covid ก็จะมีรายได้ส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ แต่พอ Q3,Q4 ที่เริ่มไม่มีผู้ป่วย ผู้คนก็จะคิดว่าจุด Peak เริ่มพ้นไปแล้ว แต่พอมองปีนี้นับจากการติด Covid-19 ในประเทศไทย Wave 2,3 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผ่านไป 8 เดือนก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ มองว่าอาจจะ Peak ช่วงเดือน กันยายน หรือ ตุลาคม ซึ่งปีนี้ทั้งปีอาจจะยังต้องเจอกับ Covid ทำให้มองว่าอาจจะไม่ได้เป็นแค่ระยะสั้นๆ, โดยที่กลุ่มโรงพยาบาล ถ้ามองไป เช่น Q4 ก็จะเริ่มมีฉีดวัคซีน เช่น BCH, BDMS, CHG ซึ่งจะเข้ามาชดเชยรายได้จากการตรวจ Covid-19 และยังมีรายได้จากการรักษาผู้ปวย Covid ในโรงพยาบาลและ รายได้จาก Hospitel ทำให้มองว่าปีนี้ Q2,Q3,Q4 ยังได้ประโยชน์ และถ้ามองยาวจากนี้อีกหลังจากนั้นก็อาจจะมีบางส่วนที่เข้ามาเป็นฐานลูกค้าใหม่ของโรงพยาบาลหลังจากได้มีโอกาสมาใช้บริการของโรงพยาบาล ซึ่งถ้ามองในมุมนักลงทุน โรงพยาบาลลักษณะนี้ ที่Management ที่มีวิสัยทัศน์ , ได้ช่วยเหลือสังคม และสามารถทำให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นดียิ่งขึ้น ในขณะที่บางโรงพยาบาลอาจจะไม่ค่อยปรับตัว อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานได้รับกระทบได้ เพราะอาจจะยึดติดกับกลยุทธ์ในอดีตมากเกินไปหรือเปล่า , ซึ่งส่วนตัวมองผลจาก Covid-19 ว่าโรงพยาบาลที่เน้นเรื่อง Covid-19 น่าจะได้รับผลต่อเนื่องทั้งปีนี้และปีหน้า

3.BCH, CHG บางส่วนประกันตนกับโรงพยาบาลรัฐ มีความเป็นไปได้ที่ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะย้ายมาประกันตนกับ BCH, CHG แทน ในขณะที่การตรวจ Covid รายได้บางส่วนได้จากการที่ลูกค้าจ่ายเงินเอง และบางส่วนเก็บเงินจาก สปสช.

4.สปสช. ปรับรายได้จากค่าตรวจ Covid-19 ของโรงพยาบาลจาก 2,300 บาท เป็น 1,500 บาท (การตรวจ PCR แบบสองยีน) และ 1,700 บาท (การตรวจแบบ 3 ยีน) ซึ่งในปีที่แล้ว ต.ค. 63 ก็มีการปรับลดจาก 3,540 บาท เหลือ 2,300 บาท ซึ่งมองว่าโรงพยาบาลก็มี Economy of scale และยังมีกำไร Margin ค่อนข้างเยอะ เพราะจำนวนบุคลากรไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเยอะ
ในขณะที่มีการปรับรายได้เพิ่มสำหรับผู้ป่วยหอวิกฤติ, ICU โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่ 29 มิ.ย. เพื่อเพิ่มแรงจูงใจดึงดูดโรงพยาบาลเอกชนให้เพิ่มเตียง, เพิ่มห้อง ICU
ซึ่งมองว่าการที่ปรับเพิ่มรายได้สำหรับผู้ป่วยหอวิกฤติและ ICU น่าจะทำให้สามารถ Cover ชดเชยรายได้จากการปรับลดค่าตรวจCovid ได้เกือบทั้งหมด

5.Q.วัคซีนที่ไปฉีดตามโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลได้กำไรเยอะไหม ถ้าเทียบกับวัคซีนเอกชนอย่าง Moderna
A.ถ้าเฉพาะค่าฉีดวัคซีนของรัฐ ได้กำไรนิดหน่อย เช่นเข็มละ 100-200 บาท แต่ถ้าเป็นวัคซีนอย่าง Moderna จะได้กำไรมากกว่า (ต้นทุนวัคซีน 1,100 บาท ในขณะที่คิดค่าบริการ 1,650 บาท/Dose น่าจะกำไร 450 Baht/Dose

6.ข้อมูล Cover หุ้นรายตัว

6.1 BCH
กลุ่มนี้ Active สุดในเรื่องการตรวจรักษา Covid , Q2 และ Q3 กำไรดีมาก เนื่องจากมาช่วยเรื่องการตรวจรักษา Covid ให้ประเทศ ส่วนเรื่องการลดค่าตรวจ Covid ลงของสปสช. ยังมองว่าถือเป็นการตอบแทนบางส่วนกลับคืนสู่สังคม
Q2 BCH ตรวจ Covid ประมาณ 600,000 Case เทียบกับ Q1 ประมาณ 128,000 Case ในขณะที่เดือน ก.ค. ตรวจ 260,000 Case คาดว่า Q3 ตรวจ 900.000-1,000,000 case งบ Q2 เติบโตอย่างมากเมื่อเทียบกับ Q2 ปีที่แล้ว และ Q1 ปีนี้

6.2 CHG
Q2 CHG ตรวจ Covid ประมาณ 80,000 Case เทียบกับ Q1 20,000-25,000 Case และมีรายได้เสริมจากการรับบริหารศูนย์หัวใจให้รัฐบาล 2-3 แห่งตั้งแต่ Q1 ซึ่งรายได้ยังไม่เต็มใน Q1 แต่ Q2 จะได้รายได้ส่วนนี้เต็มไตรมาส มองว่างบ Q2 กำไรก้าวกระโดดเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับ Q2 ปีที่แล้ว

6.3 BDMS
เรื่ม Active ในการตรวจ Covid หลังจากการเกิด Covid Wave 2 ซึ่งอาจจะเกิดจากการชะลอตัวจากการรับผู้ป่วยต่างชาติ ในขณะที่กลาง Q2 มีการปรับกลยุทธ์ตรวจรักษา Covid มากขึ้น + เริ่มทำ Hospitel แต่มีจุดด้อยตรงที่ต้นทุนการบริหารสูงกว่า BCH,CHG ทำให้ในกรณีตรวจรักษา Covid ที่ถ้าไม่มีประกัน รายได้อาจจะไม่ค่อยคุ้มในการเบิกจาก สปสช. สักเท่าไร นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับกองทัพบกในการตรวจและทำโรงพยาบาลสนาม , มอง Q2 เทียบกับ Q1 อาจจะเท่าเดิม แต่ถ้าเทียบกับ Q2 ปีที่แล้ว เพิ่มมาพอสมควร

6.4 BH
ไม่ได่เน้นเรื่องการตรวจ Covid เพราะเน้นลูกค้า Hi-end อย่างเดียว และมี Location ของโรงพยาบาลแค่ที่เดียว ตอนแรกโรงพยาบาลมองว่าปีนี้น่าจะมีการฟื้นตัวของคนไข้ชาวต่างชาติทำให้อาจจะไม่ได้เตรียมตัวเรื่องการรักษา Covid-19 สักเท่าไร เพราะต้นทุนการดำเนินงานค่อนข้างสูง ,มอง Q2 น่าจะปรับตัวได้ดีขึ้นเทียบกับ Q1 เนื่องจากมีรายได้จากการฉีดวัคซีน และมี Traffic จำนวนคนไข้มากขี้น และถ้าเทียบกับ Q2 ปีที่แล้วและ Q1 ปีนี้น่าจะดีขึ้นค่อนข้างเยอะ

6.5 PR9
ไม่ได้เน้นเรื่องการตรวจ Covid เนื่องจาก Positioning ลูกค้า B+ ถึง A- ต้นทุนเบิกสปสช. ในการรักษา Covid อาจจะไม่ค่อยคุ้ม และมีการเตรียมเตียงเพื่อรักษา Covid ไม่ได้เยอะ , Q1 ปีนี้ รายได้ดีจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตค่อนข้างเยอะ ,Q2 ปีนี้เทียบกับ Q1 อาจจะลดลง เพราะการผ่าตัดเปลี่ยนไตอาจจะลดลง แต่ถ้าเทียบ Q2 กับปีที่แล้วยังดีอยู่

7.โรงพยาบาลระดับบน ถ้ารับคนไข้ Covid แล้วไปเบิกรัฐบาล อาจจะไม่ค่อยคุ้มเนื่องจากค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างสูง
โรงพยาบาลระดับกลางถึงล่าง ถ้ารับคนไข้ Covid แล้วไปเบิกรัฐบาล กำไรจะมากกว่า เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่า

8.Q.Hospitel BCH, BDMS, CHG สถานการณ์และแนวโน้มเป็นยังไง
A.ตอนนี้มีรวมกันกว่า 12,500 เตียง ปัจจุบัน utilization rate 85% ซึ่งมองว่า Hospitel เป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับโรงพยาบาล เพราะสามารถเพิ่มเตียงสีเขียวได้อย่างรวดเร็วโดยร่วมมือกับ Hotel โดยให้คุณหมอให้คำปรึกษาผ่าน Telemedicine และมีพยาบาลคอยตรวจวัดไข้ สามารถเพิ่มจำนวนเตียงอย่างรวดเร็วและรายได้ค่อนข้างดี อย่างแต่ก่อนที่เป็น ASQ (Alternative State Quarantine) นั้นยังถือว่าไม่ได้เป็นผู้ป่วย แค่ถูกกักตัวทำให้ทางโรงพยาบาลจะได้รายได้ไม่เท่าไร ในขณะที่ Hospitel ถือว่าเป็นผู้ป่วย ได้รับค่ายา,ค่าตรวจรักษา และเนื่องด้วยปริมาณจำนวนเตียงที่เยอะทำให้จะได้รายได้จากส่วนนี้ปริมาณค่อนข้างสูง ทำให้รายได้ส่วนนี้ช่วยเสริมให้กลุ่มโรงพยาบาลตั้งแต่ Q2 และ Q3 และมีโอกาสจะวิ่งไปถึง Q4 ปีนี้ เพราะฟังจากคุณหมอว่า Covid รอบนี้อาจจะไม่จบเร็วนักอาจจะมีโอกาสไปถึง Q4

9.รายได้จากการฉีดวัคซีน Moderna รอบแรก ต.ค.-ม.ค. 3.9 M Dose, รอบสอง ได่รับวัคซีน Q1,Q2 ปีหน้า ซึ่งอาจจะสั่งเพิ่ม 5 M Dose

10. Q.โรงพยาบาลเล็กอื่นๆ มีความเห็นเป็นอย่างไร
A.ก่อนหน้า Covid-19 โรงพยาบาลเล็ก ค่อนข้างเสียเปรียบถ้าเทียบกับโรงพยาบาลใหญ่ เช่นอำนาจต่อรองในการจัดซื้อ แต่พอเกิด Covid-19 ทำให้คนเริ่มรู้จักโรงพยาบาลเล็กๆมากขึ้น ทำให้มีโอกาสการขยายฐานลูกค้ามากขึ้น

11.หลัง Covid-19 ภาพ Dynamic กลุ่มโรงพยาบาลอาจจะเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยต่างชาติอาจจะกลับมาเหมือนเดิมได้ยากขึ้น เพราะ Pend Up Demand ที่มีอยู่อาจจะรอการรักษาไม่ไหว (Covid เกิดมา 1 ปี 8 เดิอน) ทำให้ต้องรักษาในประเทศของตัวเอง และ Covid อาจจะทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศเริ่มมองเห็น Weak Point ในระบบสาธารณสุขของตัวเอง ทำให้มีโอกาสจะลงทุนเพิ่มในด้านสาธารณสุข เช่นสร้างโรงพยาบาลหรือเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์

ขอขอบคุณรายการ Money Talk, อาจารย์ไพบูลย์, คุณเกษม และ พี่ภิญญ์พิสิฐด้วยครับ ที่ช่วย share ความรู้และข้อมูลกลุ่มโรงพยาบาลให้ทราบครับ

ขอบคุณครับ
earthcu
Life is beautiful + Financial freedom within 2015 by investment stock & real estate
โพสต์โพสต์