2H 2021 Outlook by Blackrock

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2607
ผู้ติดตาม: 248

2H 2021 Outlook by Blackrock

โพสต์ที่ 1

โพสต์

⭐️BlackRock ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนใหญ่ที่สุดในโลก ได้เผยแพร่ภาพรวมการลงทุนในครึ่งปีหลัง 2021 โดยมองไปไกลกว่าการเปิดเมือง หรือการเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังโควิด ซึ่งเมื่อมองเป็นภาพระยะยาว จะมีประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจอยู่ 3 ประเด็นได้แก่ (แนะนำให้อ่านต่อ ในคำอธิบายใต้รูปเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) 🔭
Cr:เพจ สรุปย่อลงทุนนอก

2️⃣
🏦The New Nominal คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ได้ขยายวงกว้างขึ้น จากเฉพาะทางสหรัฐอเมริกาไปยังยุโรป และจาก sector เฉพาะไปยังตลาดโดยรวม อย่างไรก็ตามด้วยการใช้นโยบายการเงิน/คลังที่ต่างจากเดิมและสภาพเศรษฐกิจหลังโควิด ทำให้การฟื้นตัวจะไม่เหมือนรอบหลังวิกฤติปี 2008 โดยยังคงมุมมองเชิงลบต่อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้ว และมีมุมมองเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ และในระยะสั้นชอบหุ้นยุโรปมากกว่าหุ้นสหรัฐ

🇨🇳China Stands out โดย BlackRock มองว่าการเติบโตของจีนจะไม่สูงมากอย่างที่คาดไว้ช่วงต้นปี 2021 เนื่องจากการดำเนินนโยบายไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควร ประกอบกับการเข้ามากดดันบริษัทเทคขนาดใหญ่จากภาครัฐ อย่างไรก็ตามในระยะยาวเชื่อว่า สิ่งนี้เป็นการเสริมคุณภาพการเติบโตของจีน ทำให้ BlackRock ค่อยๆเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในจีนระยะยาวเพิ่มขึ้นทีละน้อย และในระยะสั้นเพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ในจีนด้วย แต่คงสัดส่วนหุ้นจีนสักระยะ

♻️Journey to Net Zero โลกเรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน แต่การเปลี่ยนผ่านนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คิด อย่างไรก็ตาม มันก็นำมาซึ่งโอกาสการลงทุน หากเลือกลงถูกฝั่งของการเปลี่ยนแปลง โดยมีมุมมองด้านบวกต่อกลุ่มเทคโนโลยีที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาด โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มดังกล่าวในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว

3️⃣ภาพนี้แสดงถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังจากวิกฤติต่างๆ BlackRock มองว่ารอบนี้จะเป็นการฟื้นตัวที่ไม่เหมือนรอบปี 2008 เพราะเมื่อวิกฤติ Sub-prime นั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า เงินเฟ้อน้อย/ลดลง และมีการ Deleverage ในวงกว้าง(เส้นสีชมพู) อย่างไรก็ตาม ใน scenario ถัดมา(เส้นสีเหลืองกลางล่าง) ที่อาจมีการใช้นโยบายตึงตัวเร็วเกินไปก่อนที่เงินเฟ้อจะมา กรณีนี้ BlackRock คาดว่าจะไม่เกิดเช่นกัน(เพราะมีบทเรียนจากรอบก่อนแล้ว) ดังนั้นผลลัพธ์อีก 2 Scenario ที่เป็นไปได้ ได้แก่
a) ใช้นโยบายตึงตัว(ชะลอ QE, ปรับขึ้นดอกเบี้ย)ช้าเกินไป ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ปรับตัวลงหนัก
b) ใช้นโยบายตึงตัวได้อย่างถูกจังหวะ ส่งผลให้เงินเฟ้อมาในระยะกลาง และไม่เกิด HyperInflation ซึ่งจะทำให้ภาวะตลาดหุ้นดี และตลาดบอนด์เป็นกลาง

4️⃣โดย New Nominal หรือปกติใหม่คือ การที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล(Bond Yield) เริ่มไม่ปรับตัวตามความคาดหวังเงินเฟ้อแล้ว(ปกติแล้ว หากกลัวเงินเฟ้อ Bond Yield จะปรับขึ้น) โดยในครั้งนี้ FED จะต้องปล่อยให้เงินเฟ้อมาสูงสักระยะนึง เพื่อชดเชยกับภาวะเงินเฟ้อที่น้อยเกินที่ผ่านมา โดยจากรูปที่ 4 กราฟขวาจะเห็นว่าคาดการณ์เงินเฟ้อในรอบเดือนมิถุนายน 21 นี้เพิ่งขึ้นมาอยู่ในกรอบล่างของที่ FED อยากให้เป็น อย่างไรก็ตาม New Nominal นี้จะไม่อยู่ตลอดไป ทำให้ BlakcRock มองว่าตลาดกระทิงรอบนี้จะสั้นกว่ารอบก่อน(หลังวิกฤติ Sub prime ที่ตลาดกระทิงยาวนานเป็น 10 ปี)

5️⃣ จากเหตุผลข้างต้น ทำให้ BlackRock มีมุมมองเชิงกลยุทธ์เชิงบวกต่อหุ้น มากกว่าตราสารหนี้/พันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงต่ำไปอีกสักระยะ(มองว่าปี 2023 ถึงจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้) ยิ่งไปกว่านี้ ยังเชื่อว่า Yield ระยะยาวที่อาจจะสูงขึ้นนั้น จะยังไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดหุ้น เนื่องจาก Risk Premium ของตลาดหุ้นยังอยู่ในเกณฑ์สูงหรือปานกลาง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง(ดังกราฟขวาของรูป5)

6️⃣”จีน มีความโดดเด่นออกมากจากกลุ่มตลาดเกิดใหม่”
Blackrock พิจารณาให้การลงทุนในจีนไม่เหมือนตลาดเกิดใหม่(Emerging Market) ด้วยลักษณะที่พิเศษ ดังนี้
-การฟื้นตัวหลังโควิดแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่น
-ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตแบบมีคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยดำเนินนโยบายตึงตัวบ้างประกอบกับจำกัดการเก็งกำไร ทำให้อัตราเร่งของการเจริญเติบโตช้าลง แตกต่างจากตลาดพัฒนาแล้วที่ดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย ทำให้เกิดหนี้ในระดับสูง และแตกต่างจากตลาดเกิดใหม่ ที่ใช้นโยบายตึงตัวได้ยากเพราะจะขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
-inward investment สูงขึ้นเพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก(แตกต่างกับในตลาดพัฒนาแล้วที่ดอกเบี้ยแท้จริงต่ำหรือติดลบ)
นอกจากนี้แล้วจีนยังตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์(zero emission) ให้ได้ภายในปี 2060 ด้วย
มุมมองต่อหุ้นจีน : เนื่องจากยังอยู่ในช่วงปฏิรูปจัดระเบียบ ทำให้ยังต้องมีความระมัดระวังในการลงทุนระยะสั้นนี้ แต่Blackrock ก็เชื่อว่าการปฏิรูปนี้จะนำไปสู่คุณภาพที่ดีในระยะยาว
มุมมองต่อตราสารหนี้: ชอบพันธบัตรรัฐบาลจีนทั้งในมุมมองระยะยาวและระยะสั้น เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดี

7️⃣“หนทางสู่ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเป็นศูนย์”
การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์นั้นได้ถูกวางเป้าหมายไว้และเริ่มดำเนินการแล้ว แต่แบบแผนการดำเนินการไปให้ถึงจุดนั้นยังไม่แน่ชัด โดยมีสองประเด็นที่ต้องพิจารณา ได้แก่
-ความต้องการของสินค้าโภคภัณฑ์ บางประเภทมากขึ้น ทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ศูนย์ยากขึ้น เช่น ทองแดง และ ลิเธียม ซึ่ง Blackrock ย้ำให้แยกถึงความแตกต่างของ ความต้องการชั่วคราวจากการฟื้นตัวจากการเปิดเมือง กับความต้องการระยะยาวจริงๆ เช่นในกรณีของน้ำมัน อุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นจนดันราคาให้สูงขึ้นเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว แต่ความต้องการทองแดงอาจจะเป็นความต้องการที่ยั่งยืนกว่าที่จะผลักดันให้โลกก้าวสู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจริงๆ ดังจะเห็นได้ตามกราฟด้านขวา
-การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น และยังต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอีกมากมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งบางการเปลี่ยนแปลงอาจจะเร็วมาก ทำให้ Blackrock มองว่าสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวอาจมีอุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนไปในระยะสั้นนี้ด้วย
โดยสรุป Blackrock คิดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจไม่สมูท แต่นั่นก็เป็นโอกาสการลงทุนที่ซ่อนอยู่เช่นกัน

8️⃣การเตรียมความพร้อมไปสู่โลกสีเขียว
-Blackrock เชื่อว่าการแก้ไขวิกฤตการณ์ภูมิอากาศ(climate change) โดยรวมแล้วจะไม่ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยมองว่าหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข climate change อาจจะส่งผลเสียมากกว่าภายหลัง
-Blackrock ยังเชื่ออีกว่า ราคาสินทรัพย์ต่างๆในตลาดยังไม่ได้สะท้อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้นสินทรัพย์ใดที่จะได้ประโยชน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังมี upside เหลืออยู่ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าองค์กรณ์ต่างๆจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายนี้มากขึ้น
-ดังจะเห็นได้จากกราฟ โดย การลงทุนที่เกี่ยวกับ IT และการสื่อสาร หากไม่มีนโยบายเกี่ยวกับโลกสีเขียว ผลตอบแทนต่อปีจะมีค่าประมาณความหนาของแท่งสีเหลือง แต่เมื่อบวกกับนโยบายสีเขียวจะทำให้ผลตอบแทนต่อปีสูงขึ้น ตรงข้ามกับสินทรัพย์เกี่ยวกับสาธารณูปโภค และพลังงาน ซึ่งเมื่อมองไปข้างหน้าอัตราผลตอบแทนน่าจะเป็นลบ

9️⃣สรุปมุมมองกลยุทธ์และเทคนิคต่อสินทรัพย์ต่างๆ ของ Blackrock
👉ในมุมมองระยะยาวและระยะสั้น ยังคงชอบหุ้นมากกว่าตราสารหนี้และพันธบัตร
-สำหรับหุ้นนั้น ในระยะสั้น BlackRock ชอบหุ้นกลุ่มวัฏจักร และให้น้ำหนักกับยุโรปมากขึ้น(overweight) และปรับมุมมองต่อประเทศญี่ปุ่นสู่คงน้ำหนักการลงทุน(neutral) สำหรับหุ้นสหรัฐให้คงน้ำหนักการลงทุน(neutral) และเลือกลงทุนในกลุ่มที่มีการเจริญเติบโต(จากในตาราง จะพบว่า BlackRock แนะนำกลุ่ม ที่จะได้รับผลประโยชน์จาก นโยบายสีเขียน เช่น tech และ healthcare และในระยะสั้นให้น้ำหนักไปกับกลุ่มที่จะได้ผลประโยชน์จากการคงดอกเบี้ยในระดับต่ำ)
-ในระยะยาวมีมุมมองเชิงลบต่อตราสารหนี้ และมีมุมมองเป็นกลางในระยะสั้น ส่วนพันธบัตรสหรัฐ เนื่องจากผลตอบแทนต่อความเสี่ยงเริ่มไม่น่าดึงดูด จึงคงมุมมองเป็นลบ โดยมีเลือกพันธบัตรรัฐบาลที่มีการปรับมูลค่าตามเงินเฟ้อ(TIPS) มากกว่าพันธบัตรรัฐบาลปกติ และพันธบัตรรัฐบาลจีน มีความน่าสนใจเนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า นอกจากนี้ ยังมีมุมมองต่อ High yield bond ให้คงน้ำหนักการลงทุน
-มีมุมมองเป็นกลางต่อเงินสด และควรถือเงินสดไว้บางส่วน เพื่อลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงตอนตลาดปรับตัวลง นอกจากนั้นมีมุมมองต่อบริษัทนอกตลาดว่าจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยงได้ โดยคงมุมมองเป็นกลางต่อ Private Market

🔟จากกราฟจะเห็นได้ว่ากลุ่มผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มวัฏจักรตั้งแต่เดือน มีนาคม 2020 เช่น หุ้นในกลุ่มการเงินในยุโรปยังให้ผลตอบแทนตามหลังกลุ่มหุ้นแบบเดียวกันในอเมริกา ทาง Blackrok เชื่อว่าในที่สุดหุ้นกลุ่มนี้จะตามตลาดอเมริกาทัน โดยให้มุมมองที่เป็นบวกแก่ หุ้นยุโรป และให้มุมมองที่เป็นกลางต่อหุ้นสหรัฐ เนื่องจากความเสี่ยงของการปรับขึ้นภาษีในกลุ่มหุ้นใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนอาจจะมีการปรับตัวขึ้นได้
-คงมุมมองเป็นกลางในหุ้นจีน เนื่องจากกังวลเรื่องความเสี่ยงเชิงนโยบาย ซึ่งอาจจะทำให้การเจริญเติบโตของบริษัทเป็นไปได้ช้า และปรับมุมมองต่อพันธบัตรรัฐบาลจีนเป็นบวก
-จากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐทำให้Blackrockชอบ พันธบัตรรัฐบาลที่มีการปรับมูลค่าตามเงินเฟ้อของสหรัฐมากกว่าในกลุ่มยุโรปที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ค่อยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังชอบสินค้าโภคภัณฑ์และสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อ

1️⃣1️⃣สรุปมุมมองทางเทคนิค ระยะ 6-12 เดือน
-BlackRock ลดความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐและอังกฤษ จากเชิงบวกเป็นปานกลาง เนื่องจากราคาปรับตัวขึ้นมามากแล้ว และการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะเริ่มแผ่กว้างไปยังตลาดอื่นที่น่าสนใจเช่น ยุโรปโดยรวมและญี่ปุ่น โดยปรับความน่าสนใจของยุโรปและญี่ปุ่นขึ้น 1 ช่องทั้งคู่
-ปรับลดความน่าสนใจของตลาดเกิดใหม่ และ Asia ex-Japan (จากบวกเป็นปานกลาง) โดยหลักมาจากมุมมองการใช้นโยบายตึงตัวบ้าง และความเสี่ยงจากจีน
-ปรับลดความน่าสนใจของพันธบัตรสหรัฐ(จาก -1 เป็น -2) และหุ้นกู้ผลตอบแทนสูง(High Yield)จาก -1 เป็น 0
-ปรับเพิ่มความน่าสนใจของ พันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อ จาก 0 เป็น +1 และยังคงความน่าสนใจที่ +1 ของทั้งพันธบัตรรัฐบาลจีน และ Asia Fixed-Income

#ลงทุนต่างประเทศ #BlackRock #Economics #Stock #Bond #ChinaMarket #NetZero #NewNominal #หุ้นนอก

✍️โพสต์นี้เป็นการสรุป/แปล เนื้อหามาจาก BlackRock Investment Institute ผู้สรุป/แปลนี้ไม่ได้มีสิทธิ์ในรูปต่างๆ และไม่มีความเห็นต่อมุมมองของสถาบันดังกล่าว
แนบไฟล์
A843FCC9-5958-4081-9A9A-307013EE497B.jpeg
1D587911-BB0D-4A1E-B9B9-A060928DFD6F.jpeg
0F2041A9-70AA-4B5B-8FCF-03AB3714014F.jpeg
F31BFB21-BB77-4CD2-9BE2-C44A17EB6425.jpeg
31C37D58-2B90-4892-A033-7105C1397F76.jpeg
E9AA4F37-D68F-4061-B69E-0C1A919C9320.jpeg
9017B0EF-86FE-4D5E-AB5E-7F2A242C1CEA.jpeg
90EBB6F9-4B8B-46E1-B824-18A94CDEEB6B.jpeg
E2D98123-E255-4B3B-9141-14057A047407.jpeg
57EF3860-DB8D-4A74-8F2A-B5D7F071D9CC.jpeg

โพสต์โพสต์