อยู่ให้รอดแล้วจึงเติบโต (ตอนที่ 3) การบริหารความเสี่ยงของหุ้นรายตัว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
หมอวิ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 290
ผู้ติดตาม: 15

อยู่ให้รอดแล้วจึงเติบโต (ตอนที่ 3) การบริหารความเสี่ยงของหุ้นรายตัว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

#อยู่ให้รอดแล้วจึงเติบโต (ตอนที่ 3)
#การบริหารความเสี่ยงของหุ้นรายตัว
20 มิย. 2564
.
จากประสบการณ์ส่วนตัวผมพบว่า ข้อดีมากๆ อย่างหนึ่งของการกระจายสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ดังที่กล่าวในตอนที่แล้วก็คือ จะทำให้เราสามารถโฟกัสการลงทุนในหุ้นได้อย่างเต็มที่ (ด้วยสัดส่วนเงินที่แบ่งไว้แล้ว) โดยไม่ต้องคอยพะวงว่าตลาดหุ้นจะปรับฐานหรือตกหนักลงมาเมื่อไหร่ เพราะว่าได้แบ่งเงินไว้ในสินทรัพย์อื่นแล้ว หากตลาดหุ้นตกหนักจริง ก็ยังมีโอกาสที่จะย้ายเงินมาช้อนซื้อในจังหวะที่เหมาะสมได้
.
แต่หากท่านใดที่แบ่งสัดส่วนเสร็จแล้วยังรู้สึกกังวล หรือรู้สึกกลัวจะเสียโอกาส ก็อาจเป็นไปได้ว่าสัดส่วนที่แบ่งไว้ยังไม่เหมาะสม ในกรณีเช่นนี้ แนะนำให้ปรับสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นใหม่ โดยอาจลองจินตนาการและสังเกตความรู้สึกในใจของตัวเองดูว่า ถ้าตลาดหุ้นตกหนักจริงๆ เราจะเสียใจว่าซื้อหุ้นมากไปมั๊ย แต่หากตลาดหุ้นไม่ตก เราจะเสียดายที่ซื้อน้อยไปหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ให้ปรับสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นให้น้อยลงหรือมากขึ้น ทำเช่นนี้ไปจนกระทั่งถึงจุดที่รับได้ทั้งสองทาง โดยต้องทำใจยอมรับให้ได้ว่าไม่มีทางที่เราจะล่วงรู้อนาคต และเรียนรู้ที่จะเคารพการตัดสินใจของตัวเอง
.
อย่างไรก็ตาม หากมุมมองต่อสถานการณ์แวดล้อมเปลี่ยน ก็อาจพิจารณาทบทวนสัดส่วนเงินลงทุนใหม่
.
หลังจากจัดการเลือกประเภทสินทรัพย์ที่จะลงทุน และกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมแล้ว ก็ให้มาโฟกัสที่การ “หาโอกาสทำกำไร + บริหารความเสี่ยง” ของหุ้นรายตัวต่อไป
.
สำหรับการบริหารความเสี่ยงของหุ้นรายตัวนั้น ตามภาพแนบ (จากคู่มือวีไอหน้าที่ 118) จะเห็นว่ามีหลักการอยู่สามข้อ คือ
.
1) เลือกลงทุนในบริษัทที่เข้าใจ และอยู่ในขอบเขตความรู้ของเราเท่านั้น
โดยเข้าใจมากพอจนสามารถประเมินอนาคต และมูลค่าที่เหมาะสมของกิจการได้
.
2) ซื้อขายใน “ราคา” และ “เวลา” ที่เหมาะสม
กล่าวคือซื้อเมื่อมีส่วนลด หรือ margin of safety ที่มากพอ และอนาคตของกิจการมีแนวโน้มที่ดี ทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว โดยควรมองไกลไปได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี
.
3) ลงทุนด้วยสัดส่วนเงินที่เหมาะสม
โดยขอกล่าวถึงข้อนี้ในสองนัยยะ
นัยยะแรกคือจะซื้อหุ้นแต่ละตัวไม่เกินกี่เปอร์เซนต์ของพอร์ต
อีกนัยยะคือจะกระจายหุ้นไม่ต่ำกว่ากี่ตัว (ควรกระจายอุตสาหกรรมด้วย)
โดยหากกระจายหุ้น 5-10 ตัว ก็หมายความว่าแต่ละตัวจะไม่เกิน 10-20% ของพอร์ต
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดูในหนังสือคู่มือวีไอ หน้าที่ 116-117)
.
ส่วนตัวแล้ว ผมมักจะพยายามลดความเสี่ยงในขั้นนี้ให้น้อยลงไปอีก
ด้วยการพยายามหาหุ้นที่คาดว่าจะเติบโตมากกว่า + ราคาถูกกว่า + ปันผลสูงกว่าตลาดโดยรวม
โดยหากมีครบทั้งสามข้อก็จะชื่นชอบมากเป็นพิเศษ
.
ท้ายนี้ อยากจะบอกว่านอกจากความเสี่ยงในการลงทุนแล้ว อย่าลืมบริหารความเสี่ยงของชีวิตด้วยนะครับ
ผมเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วในบทความเรื่อง #ครึ่งหนึ่งของการลงทุนเป็นเรื่องของการรับมือกับความไม่แน่นอน
.
ขอให้ทุกท่านลงทุนอย่างเข้าใจ มีความสุข และประสบความสำเร็จ
.
“คู่มือวีไอ” ฉบับพิมพ์ใหม่ ปกดำ กระดาษหนา
ไม่มีวางขายตามร้านหนังสือนะครับ
หากสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่เพจหมอวิ ตามลิ้งค์
https://www.facebook.com/Dr.Vichian
หรือ Shopee ตามลิ้งค์
https://shopee.co.th/dr.vi.official
.
ติดตามบทความอื่นๆ ได้ในเพจหมอวิ
https://www.facebook.com/Dr.Vichian
.
หัวใจของการปฎิบัติ_เพื่อลดความเสี่ยง.jpg
"อย่ากลัวตกรถ" ...ถึงจะดี ถ้าไม่ถูก ก็ไม่ซื้อ
"อย่ากลัวติดดอย" ...ถ้าถูกพอ ก็ซื้อ ไม่รอราคาต่ำสุด
โพสต์โพสต์