การฉีดวัคซีนของประเทศไทย/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1890
ผู้ติดตาม: 311

การฉีดวัคซีนของประเทศไทย/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมเคยอ่านข่าวใน The Standard วันที่ 19 ม.ค.64 ว่านโยบายวัคซีนของไทยนั้นเราไม่จำเป็นต้องเดือดร้อนหาวัคซีนมาทีเดียว 100% ของประชากรไทย

กล่าวคือเราจะไม่ได้คำนึงถึงความรีบอย่างเดียว ไม่ดำเนินการตามกระแส (ตอนนั้นสหรัฐอเมริกา อังกฤษและยุโรปกำลังเร่งรีบฉีดวัคซีนวันละ 500,000-1,000,000 โดส) เพราะ “การรีบร้อนอาจจะเกิดผลเสีย” โดยมีเป้าเหมายว่าเราน่าจะได้วัคซีนมาฉีดในปี 2564 ครอบคลุม 50% ของประชากรไทย ( 61 ล้านโดส)

(ข้อมูลเพิ่มเติม The Standard เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 (https://thestandard.co/mof-reveals-astr ... ioscience/)

ต้องยอมรับว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพราะในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของ COVID-19 อย่างรุนแรงและกว้างขวางในเอเชียเริ่มจากประเทศอินเดียและแพร่ขยายมาอย่างรวดเร็วไปสู่ประเทศต่างๆ ในเอเชียที่เดิมมั่นใจอย่างมากว่ามีระบบเฝ้าระวัง คัดกรอง ควบคุมและรักษาพยาบาลที่ดีเยี่ยม ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อวันละไม่กี่คนและเกือบจะไม่มีผู้เสียชีวิตเลยในครึ่งหลังของปีที่แล้ว

แต่มาวันนี้ประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และเกาะไต้หวันกำลังเผชิญปัญหาการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่สถานการณ์ดูไม่น่าไว้วางใจอย่างยิ่งสำหรับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงกลายมาเป็นวาระแห่งชาติของไทยในครึ่งหลังของปีนี้ โดยการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นนำเอาการฉีดวัคซีนให้ได้มาซึ่งภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) เป็นปัจจัยหลักในการคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีของไทยในปีนี้และปีหน้า

โดยสรุปคือธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าหากการฉีดวัคซีนทำได้อย่างรวดเร็ว (ฉีดได้ 100 ล้านโดสในปี 2564) ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในไตรมาส 1 ของปีหน้า จีดีพีก็จะขยายตัว 2% ในปีนี้และขยายตัว 4.7% ในปี 2565 แต่ในกรณีที่จัดหาและกระจายวัคซีนช้า (ฉีดได้น้อยกว่า 64.6 ล้านโดสในปี 2564) ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในปลายปี 2565 ก็จะทำให้จีดีพีปีนี้ขยายตัวเพียง 1.0% และขยายตัวอีกเพียง 1.1% ในปี 2565

แปลว่าการขาดแคลนวัคซีนจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำนาน 3 ปีติดต่อกันและเมื่อเปรียบเทียบกรณีแรกกับกรณีหลังก็จะคิดเป็นมูลค่าจีดีพีที่สูญเสียไปเท่ากับ 890,000 ล้านบาท (ในขณะที่วัคซีน 100 ล้านโดสนั้นหากซื้อวัคซีน Pfizer ที่ราคา 20 เหรียญต่อโดสตามราคาที่ขายให้กับสหรัฐและสหภาพยุโรปก็จะมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 63,000 ล้านบาทเท่านั้น)

แต่ผมเกรงว่าการคาดการณ์ดังกล่าว อาจเป็นการคาดหวังกับวัคซีนมากเกินไปดังที่ผมได้เคยเขียนถึงในตอนก่อนหน้านี้ เพราะการฉีดวัคซีนนั้นจะต้องใช้เวลาฉีดทั้งโดสแรกและโดสสองเป็นเวลาหลายเดือนให้ได้จำนวนผู้ที่ฉีดครบมากเพียงพอ ที่จะชะลอการระบาดและพลิกฟื้นความมั่นใจให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในบางกรณี

เช่น เกาะ Seychelles นั้นแม้จะฉีดให้ประชาชนโดสแรกเกือบครบทุกคน แต่การระบาดของ COVID-19 ก็ยังสามารถปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากได้ ในกรณีของประเทศเทศชิลีก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ในขณะที่กรณีของประเทศอิสราเอลและสหรัฐที่ลดการระบาดลงได้อย่างมากและสามารถเปิดเศรษฐกิจได้อย่างกว้างขวางแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมากทุกวันและมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ทุกวันเช่นกัน

เช่นตัวเลขล่าสุดที่สหรัฐอเมริกานั้นมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละประมาณ 25,000 คนและมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 วันละประมาณ 550 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบว่าสหรัฐมีประชากร 5 เท่าของประเทศไทย ก็เสมือนว่าประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 5,000 คนและมีผู้เสียชีวิตวันละ 110 คน แปลว่าประเทศที่ฉีดวัคซีนให้ประชนอย่างครอบคลุมแล้วก็ยังจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพในการรองรับภาระดังกล่าวที่จะต้อง “อยู่” กับ COVID-19 แม้ว่าสหรัฐอเมริกานั้นปัจจุบันมีวัคซีนเหลือใช้แล้ว

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือปัจจุบันนี้ประเทศไทยกำลังรีบเร่งฉีดวัคซีน เพราะเราคงเข้าใจกันว่าเมื่อฉีดวัคซีน (เข็มแรก) แล้วก็ชะลอการระบาดของ COVID-19 ได้อย่างเฉียบพลัน แต่งานวิจัยล้าสุดนำโดย Public Health England ลงข่าวเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมพบว่าการฉีดวัคซีน AstraZeneca โดสแรกนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 สายพันธ์อินเดีย (B 1617) ได้เพียง 33% (หลังจากรอให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว 3 สัปดาห์) และป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 สายพันธ์อังกฤษ (B 117) ได้เพียง 50%

แต่เมื่อได้รับครบ 2 โดสแล้วการป้องกันจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% และ 66% ตามลำดับ ทั้งนี้อังกฤษนำเอาวัคซีน AstraZeneca มาเปรียบเทียบกับวัคซีน Pfizer เพราะเป็นสองวัคซีนหลักซึ่งให้ผลที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังปรากฏในตารางข้างล่าง

รูปภาพ

จะเห็นได้ว่าวัคซีน Pfizer นั้นแม้จะฉีดโดสแรกไปแล้ว ก็จะให้การป้องกันการติด COVID-19 สายพันธ์อินเดียและอังกฤษไม่สูงมากนัก ต้องฉีดให้ครบ 2 โดสเสียก่อนจึงจะได้รับการคุ้มกันเต็มที่

งานวิจัยดังกล่าวอาศัยข้อมูลจากผู้ที่ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 1,054 รายในทุกช่วงอายุในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของปีนี้ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวยังไม่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงายวิจัยดังกล่าว (not peer-reviewed).
โพสต์โพสต์