ธุรกิจครอบครัว ทำอย่างไรไม่ให้จลที่รุ่นเรา โดยคุณเกตุวดี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

ธุรกิจครอบครัว ทำอย่างไรไม่ให้จลที่รุ่นเรา โดยคุณเกตุวดี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุป Clubhouse ตอน ทำยังไงไม่ให้จบที่รุ่นเรา

• ธุรกิจครอบครัวมักจะอยู่กันได้แค่สามรุ่น รุ่นแรกทำให้เกิด รุ่นที่สองทำให้โต รุ่นที่สามทำให้ตาย ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็มีแนวคิดเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้วน่าจะจริงแต่ไม่ได้เป็นกฎตายตัว แต่ก็มีที่ธุรกิจครอบครัวอยู่ไม่ถึงสาม หรือ ยาวไปห้าหกรุ่นก็เป็นไปได้สิ่งสำคัญคือ ต้องมีแผนการสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง

• ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ดับไปเพราะข้อเสียมากกว่าข้อดี

ข้อดี
- ธุรกิจครอบครัวมีการวางแผนระยะยาว
- มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันของสมาชิกในครอบครัว
- การเตรียมทายาทเพื่อส่งมอบให้ลูกให้หลานได้ มีการสอนการบริหาร ซึ่งต่างจากจ้าง professional CEO มาบริหาร

ข้อเสีย
- ลูกหลานมีความสามารถไม่เท่ารุ่นปู่รุ่นพ่อ
- รุ่นลูกหลานไม่ได้อยากทำธุรกิจที่รุ่นปู่รุ่นพ่อทำ
- แยกความสัมพันธ์ไม่ได้ ชอบเอาเรื่องครอบครัวไปปนกับเรื่องของธุรกิจ
- แทนที่จะตั้งเป้าหมายว่าทำธุรกิจเพื่อให้ได้กำไรทำให้ระยะยาวอาจจะอยู่รอดได้ยาก

องค์ประกอบของการส่งมอบธุรกิจที่ดี
1. ต้องมาจากการเต็มใจจากทั้งคุณพ่อและคุณลูก ไม่ได้โดนบังคับหรือคิดว่าธุรกิจที่บ้านเป็นของตาย

2. ค่อยๆส่งมอบงานทีละส่วนจะดีกว่า รุ่นพ่อประคองส่วนหลักและลูกเข้ามาค่อยๆ เสริมงานในส่วนที่รุ่นพ่อทำไม่ได้ ไม่แนะนำให้เปลี่ยนแบบล้างบาง

3. แกนหลักของธุรกิจคืออะไร สิ่งที่รุ่นพ่อตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร รุ่นลูกก็ควรยึดในแกนหลักเดียวกัน เช่น อาจจะไม่ได้เน้นกำไร และปรับใช้กลยุทธ์ให้เข้ากับผู้บริโภค

• การคุยกับรุ่นพ่อแม่ ต้องพูดความจริง เพื่อให้ธุรกิจอยู่ต่อไป
• คุยกับที่บ้านเหมือนเราเป็นพนักงานคนนึง ทำงานแบบเป็นมืออาชีพ การของบประมาณหรือเสนอไอเดียต้องไม่คิดว่าที่นี่คือที่บ้าน อย่าคิดว่าขอเงินค่าขนมแม่

หากเราเป็นรุ่นพ่อแม่จะส่งต่อให้รุ่นลูกอย่างไร

1.คุยให้รู้เรื่องว่าลูกอยากทำมั้ย

2. อย่าโลกสวย ลูกหลานอาจจะไม่ได้รักกันอย่างที่คิด พ่อแม่ไม่อยู่แล้วอาจจะแย่งสมบัติกันก็ได้

3. ปล่อยวาง ส่งมอบแต่เนิ่นๆ ถ้าลูกหลานไม่อยากทำหรือศักยภาพไม่ถึงให้ใช้มืออาชีพเข้ามาทำ หรือหากไม่มีทางออก ก็ขายธุรกิจได้เลย จะดีกว่ายื้อไว้

4. ด้วยสังคมสูงวัยเพราะครอบครัวไม่ได้มีลูกหลานเยอะเท่าเมื่อก่อน ที่จะมาดูแลต่อได้ เขย สะใภ้อาจจะจำเป็นในการเข้ามาช่วยธุรกิจ อาจารย์เกด ยกตัวอย่างเขย สะใภ้ ที่ญี่ปุ่น ลูกเขยจะเปลี่ยนนามสกุลเป็นนามสกุลของผู้หญิงเพื่อเข้ามาช่วยธุรกิจ และอาจจะเริ่มได้ไอเดียใหม่ๆ ไม่ติดอยู่กับกรอบเดิม ธุรกิจผ้าขนหนูที่พิมพ์ลายขายเป็นของที่ระลึกและขายดีมาก

ส่งมอบธุรกิจยังไง
1. แนะนำคุณพ่อคุณแม่ ว่า ต้องเตรียมใจว่าจะต้องปล่อยให้ลูกเข้ามาช่วยในงานที่ตัวเองทำไม่ได้ก่อน
เช่น ทำ online เพราะเรื่องสินค้า ลูกสามารถถามคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่ทายาทเข้ามาหาช่องทางใหม่ๆ ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เช่นสั่งซื้อของหรือขายของonline

2.สร้างความมั่นใจให้เค้าด้วยว่าเราทำได้ และสร้างความมั่นใจให้ลูกน้องว่าทายาททำต่อได้

3. ถ้าสิ่งที่ลูกทำล้มเหลว ลองหาสาเหตุดู ว่าไม่มีใจ/ไม่อยากทำ ทำอะไรก็ติดขัด ช้า อาจจะให้เอามืออาชีพมาวางระบบแล้วค่อยเรียกลูกมาทำเมื่อระบบพร้อม แต่ถ้าลูกทำทุกอย่างดีหมดแล้วแต่มีปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบก็เป็นอีกเรื่องนึง

• ก่อนทำprojectต้องคุยให้ชัดก่อนว่าไปในทิศทางไหน

• ลูกค้าต้องได้ผลตอบแทนต้องได้เท่าเทียมกันไม่ว่าจะ telesales หรือ online

• บางครั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์บริษัทว่าจำเป็นมั้ยที่ต้องละทิ้งลูกค้าเก่าบางส่วนเพื่อลูกค้าใหม่

• การหาคนเก่งมาช่วยบางครั้ง ใช้ outsource มาช่วยเป็นบางเรื่องก็ได้ ไม่ต้องผูกพันจ้างงานให้วุ่นวาย หรือจะจ้างผู้สูงอายุที่เกษียณแล้วมาช่วยเป็นที่ปรึกษา sme แบบธุรกิจเราได้

• ธุรกิจครอบครัวไม่เพียงแต่เน้นเรื่องกำไรหรือความสำเร็จ แต่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวควบคู่กันไปด้วย เปิดอกคุยกันมากขึ้นก็จะไม่จบที่รุ่นเราแน่นอน

เกตุวดี Marumura
ทำที่บ้าน
แนบไฟล์
4FCD23B9-3D09-4926-8D69-7BD23C64D82D.jpeg

โพสต์โพสต์