การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สมัยก่อนตอนที่ได้รับเกียรติจาก อ.พรชัย ให้ไปสอนเรื่องการประเมินมูลค่า หุ้น วีไอ ของสมาคมฯ ตอนทำเนื้อหาเรื่อง DCF แล้วก็ได้แต่หนักใจว่าจะเอายังไงดี ยากเหลือเกิน แถมตัวเองก็ทำไม่ค่อยเป็น อีกทั้งถ้าสอนเวลาก็จะมีไม่พอแน่ๆ เลยได้แต่พูดแนวคิดคร่าวๆ แล้วเน้นไปสอน Relative Valuation แทน แล้วก็บอกว่ากับนักเรียนไปว่า DCF เหมาะกับกิจการที่อยู่ในช่วงที่กำลังเปลี่ยนแปลงมากๆ เช่น เปลี่ยนธุรกิจ เจอวิกฤต หรือ ธุรกิจในช่วง Early Life Cycle เป็นต้น ถ้าพวกคุณเจอเคสอย่างนี้ ก็ค่อยไปเรียน DCF เอาแล้วกันนะ ผมไม่สอนนะ

เมื่อเวลาผ่านไป ผมก็ใช้ชีวิตแบบว่า หนี DCF มาตลอดเหมือนกัน เวลาดูคนอื่นทำ DCF ก็ดูแบบเพลินๆ ว่าคนนี้เค้าทำ DCF อะไรกันยังไง หลายปีก่อน Morgan Stanley ออก Research Paper ของ Tesla ออกมา อยู่ๆ ก็ให้ราคาสูงกว่าตลาด โดดไปไกลมาก ซึ่งอาจารย์ Aswath Damodaran ที่ผมคิดว่าเก่ง DCF ที่สุดในโลก บอกว่าที่ออกมาสูงขนาดนี้ เพราะ ทำผิด นักวิเคราะห์ใส่สมมติฐานว่า TSLA สามารถเติบโตยอดขายได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเลย

คิดดูสิ ขนาด Morgan Stanley ยังทำ DCF ออกมาผิด แถมทุกครั้งที่เราเห็นนักวิเคราะห์ทำ DCF ผมจะรู้สึกเหมือนกันว่า นักวิเคราะห์กำลังเล่นมายากล โดยปรับตัวเลขในโมเดล เพื่อให้ได้ราคาเป้าหมายตามที่ต้องการ ที่ผ่านมาผมเลยพยายามเลี่ยงการใช้ DCF ในการประเมินมูลค่ามาตลอด หุ้นที่สามารถลงทุนได้ก็ต้องเป็นกิจการที่อยู่ตัวแล้วระดับหนึ่ง มีกำไรให้ประเมิน

ตอนช่วงกลางๆ ปี 2012 ตอนที่จะเริ่มต้นไปลงทุนหุ้น วีไอ ต่างประเทศครั้งแรก วิเคราะห์เชิงคุณภาพออกมาแล้ว มีหุ้น VI ที่สนใจอยู่ 2 ตัว คือ Google กับ Netflix สุดท้ายพอมาถึงขั้นตอนการประเมินมูลค่าแล้วก็ไปไม่เป็นกับ Netflix เพราะ กิจการขาดทุน เลยให้ข้ออ้างกับตัวเองว่า ไม่รู้การแข่งขัน Streaming จะรุนแรงแบบในจีนไหม แล้วมันก็จะทำให้ไม่กำไรในระยะยาวหรือเปล่า ในขณะที่ Google ขณะนั้น Forward P/E แค่ 10 เท่า เงินสดเหลือบาน เลยตัดสินใจลงทุนแค่ Google แค่ตัวเดียว (ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไป Google ขึ้นมา 6 เท่า ในขณะที่ Netflix ขึ้นมา 60 เท่า)

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วมาถึงต้นปี 2020 ตัวผมเองก็หนี DCF มาตลอด เลยทิ้งกิจการพวก SaaS ทั้งหมด ทั้งๆ ที่เห็นเทรนของ AI Application กำลังจะเกิดผ่านการถือหุ้นของกองทุนที่ลงทุนใน AI อย่าง Allianz ที่ถือพวกนี้เยอะมากตั้งแต่ปี 2017-2018 เห็นกิจการพวกนี้ก็ได้แต่งงๆ เลยได้แต่ลงทุนผ่านกองทุนรวม ไม่มีความสามารถ และไม่อยากใช้เวลาในการพัฒนาความสามารถให้สามารถลงทุนกิจการพวกนี้ได้

จนกระทั่งเกิด COVID-19ขึ้น วิกฤตบีบทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลิกเป็น Value Investor กลายมาเป็น Impact Investor และขอบเขตของการลงทุนของ Impact Investor ที่เน้นไปที่ผลกระทบนี้ ทำให้ Universe ของกิจการที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนไป กิจการที่สร้างผลกระทบที่ดูแล้วน่าสนใจมักจะเป็นธุรกิจ Start-Up หรือ Young-Growth ซะส่วนใหญ่ ซึ่งไอ้พวกนี้มันขาดทุนทั้งนั้นเลย Impact ที่เราอยากได้มาพร้อมๆ กับลักษณะของกิจการที่เราประเมินมูลค่าไม่เป็น เลยต้องกลับมาทบทวนปรัชญาการลงทุน หลักการลงทุนใหม่ และองค์ความรู้ทางการลงทุนใหม่ทั้งหมด

ในบรรดาองค์ความรู้ที่ผมต้องมาเรียนใหม่ ศึกษาใหม่ ผมใช้เวลากับอาจารย์คนหนึ่งมากที่สุด นั่นคือ อาจารย์ Aswath Damodaran ผู้ได้สมญานามว่า Dean of Valuation ยิ่งผมได้ฟัง YouTube อ่าน Blog Post และหนังสือของอาจารย์ ผมก็ยิ่งได้แต่ทึ่งในความรู้และความสามารถของท่าน เหนือสิ่งอื่นใด ท่านเป็นอาจารย์ที่มีเมตตาที่ยิ่งใหญ่แผ่กว้างเป็นอย่างมาก ทุกๆ การสอนของท่าน ท่านอัดคลิปแล้วเผยแพร่ให้ดูฟรีผ่าน YouTube หลักสูตรไม่ว่าจะ ป.ตรี ป.โท หรือออนไลน์ ท่านแจกให้ดูฟรีหมด

ในมุมมองของอาจารย์ท่าน ท่านมองว่าวิธีการที่ตลาดใช้ในปัจจุบันในการลงทุนหุ้นเทค เป็นการประเมิน "ราคา" และเป็นการกำหนด "ราคา" เป้าหมาย ไม่ใช่การประเมินมูลค่า กิจการพวกนี้ถ้าจะประเมินมูลค่าจริงๆ ต้องทำ DCF เราถึงจะเห็นเรื่องราวที่วิเคราะห์ออกมาเป็นตัวเลข ท่านสอนให้ผมได้เข้าใจว่าทำไมลักษณะของกิจการเทคฯ Life Cycle มันแตกต่างจากปกติยังไง Scaling มีผลกับ Valuation อย่างไร การที่ธุรกิจในช่วง Scale Up จะเกิดผลกระทบกับ Free Cash Flow อย่างไร แล้วเราแปลง Story ของกิจการออกมาเป็นตัวเลข และทำ Valuation อย่างไร ตลอดจนความเสี่ยงแต่ละอย่าง เราจะประเมินมันออกมาอย่างไร ไปจนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด กำลังเกิดอะไรขึ้นอยู่ Market Participant แต่ละกลุ่มกำลังทำอะไร

phpBB [video]


Playlist อันนี้ผมคัดเอาที่ผมคิดว่าน่าสนใจเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้นเทคออกมา ถ้าฟังแล้วสนใจ ผมคิดว่าควรจะไปอ่านเพิ่มเติมใน Blog Post ของอาจารย์ หรือ หาหนังสือมาอ่านเพิ่มอีกที ซึ่งหนังสือที่ผมคิดว่าน่าสนใจ คือ Narrative and Number กับ The Dark Side of Valuation

ใน Narrative and Number อาจารย์จะสอนว่า "Story ที่คนมาขายฝันให้กับเรา เราควรที่จะนำมันมาวิเคราะห์แล้ว และศึกษาต่ออย่างไร จนกลายเป็นตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่เอาไปใช้ในการลงทุนได้ ไม่ใช่แค่ฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง" ซึ่งผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์มากๆ ในฟองสบู่ลูกนี้

อย่างไรก็ตามผมอยากจะแนะนำสำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือคนที่กำลังเคว้ง กำลังหลงทางกับแนวทางการลงทุน หรือต้องการที่จะใช้เวลาย้อนกลับไปพิจารณาหลักปรัชญาการลงทุนของเราให้ลองฟังคลาส Invesment Philosophies ของอาจารย์ดู น่าจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดหลักการลงทุนต่างๆ ไปจนค้นหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะกับนิสัยของเราได้

phpBB [video]


สุดท้ายแล้วถ้าเราจะเอาจริงเอาจังในการประเมินมูลค่าหุ้นเทคฯ แค่ดูและฟังเฉยๆ มันจะไม่พอ มันต้องลงมือทำ และตอนที่ลงมือทำนี่แหละที่เราต้องใช้ข้อมูล แม้ว่าหลักสูตรของอาจารย์ท่านจะให้ฟังฟรี ดูฟรี เอกสารฟรี excel ที่เราเอาไปใช้ทำ Valuation ต่อเองได้ฟรี ปัญหาต่อมา คือ เราจะเอาข้อมูลมาจากไหน มาทดลองทำดี

พอดีสัปดาห์หน้าผมกำลังจะเริ่มเรียนหลักสูตรออนไลน์ของอาจารย์หัวข้อ Advance Valuation ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ดูฟรี เอกสารฟรีเช่นกัน แต่ผมตัดสินใจจ่ายเงินเรียน ไม่ใช่เพราะอยากได้ Certificate แต่เพราะ อยากช่วยอุดหนุนอาจารย์ ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ละเลียด ได้มีโอกาส Meet Up กับอาจารย์ ถามคำถาม ทำการบ้าน ส่งการบ้าน สัปดาห์นี้ผมพึ่งได้รับการ Activate Account ให้เข้าไปใช้งานได้ และผมก็พบกับความมหัศจรรย์ของการเข้าไปสู่ระบบของ NYU Stern ได้

คนที่เป็นผู้ให้นี่ก็เป็นผู้ให้จริงๆ ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ที่พอจะทำได้ให้กับคนอื่น อาจารย์ท่านแถมคลาส Accounting ให้เรียนฟรีอีกคอร์สหนึ่งไม่พอ ในระบบ Virtual Library ของ NYU มีข้อมูล Service ให้ใช้บริการฟรีแบบว่า ผมเห็นแล้วได้แต่ร้องกรี๊ดออกมาดังๆ service ให้ใช้ฟรีในระบบของเค้ามีของให้ใช้ให้เล่นเยอะมาก Data Provider อย่าง Bloomberg, Capital IQ, Thomson แม้แต่ PitchBook ก็ยังมี ข่าวหนังสือพิมพ์ก็มีให้ครบหมด e-book, Journal เคสอะไร ต้องการอะไรเอาไปเลย รับไปเต็มๆ เยอะจนไม่รู้จะว่าไงดี อย่าง Access แค่ Bloomberg หรือ PitchBook พวกนี้ ค่ารายปีสูงกว่า 20,000 USD ต่อหนึ่ง Service ถ้าสามารถ Access พวกนี้ได้ ค่าเรียนออนไลน์ที่จ่ายไปนี่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

เมื่อวานนี้ผมว่าจะเปิดหลักสูตร Accounting ขึ้นมาเรียน กลายเป็นว่าไม่ได้เรียน มั่วแต่อ่าน Research Paper ดีๆ เต็มไปหมด แล้วก็ขอบอกนิดนึงนะครับว่า ตั้งแต่ผมลงทุนต่างประเทศมาได้ 7-8 ปี ผมแทบจะไม่อ่านพวก Seeking Alpha หรือ Motley Fool เลย อาจจะแค่ใช้ดูอะไรผ่านๆ หรือ อ่าน Transcript จาก Seeking Alpha บ้าง แต่สำหรับการวิเคราะห์ในนั้น ผมพบว่าคุณภาพการวิเคราะห์ของ 2 แหล่งนี้ มันดีไม่พอที่ผมจะเอาไปใช้ได้ ทดลองอ่านแล้วเสียเวลา น้ำเยอะ เนื้อน้อย แถมต้องรับ Bias ของคนเขียนมาเยอะมาก (หลังๆ อาจจะดีขึ้นแล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ เพราะ ผมไม่ได้เป็น Member หลังๆ เลยอ่านอะไรไม่ค่อยได้) จะใช้ก็ได้แค่ตามข่าวเร็วๆ เวลาหุ้นมีการเคลื่อนไหวแรงๆ แล้วค่อยไปเจาะลึกเอา

อีกเหตุผลก็คือ คุณภาพของบทวิเคราะห์ ของคนที่ตั้งใจทำบทวิเคราะห์ในต่างประเทศมันสุดยอดจริงๆ อย่าง UBS ตอนเค้าจะทำบทวิเคราะห์เกี่ยวกับรถไฟฟ้า เมื่อ 2-3 ปีก่อนมั้ง ถึงกับซื้อรถไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อมา แล้วก็จ้างวิศวกรมาแกะชิ้นส่วน มาไล่ดู Supply Chain แล้วทำการวิเคราะห์เอาก่อนออกบทวิเคราะห์

เวลาจะเจาะหุ้นตัวหนึ่ง ผมชอบอ่านบทวิเคราะห์ Initial Coverage หรือไม่ก็อ่านบทวิเคราะห์ที่ Deep Dive ของโบรกต่างประเทศ บทวิเคราะห์พวกนี้ เค้าใส่เต็ม จัดเต็มมากๆ บางฉบับอัดกันเป็นร้อยหน้าก็มี มันจะทำให้เราเข้าใจภาพรวม การแข่งขัน แนวโน้ม ก่อนที่จะกระโดดลงไปใน Annual Report ของบริษัท หรือไปศึกษาลึกๆ ต่อในระดับอุตสาหกรรม

อย่าง Paper ที่ผมกำลังอ่านอยู่ของ Insider Intelligence เรื่อง The Digital Health Ecosystem ถ้าจะซื้อเอาก็ราคา 995 USD เนื้อหาดีมาก ดีสุดๆ อ่านแล้วจะเข้าใจเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้น และกำลังจะเกิดอะไรขึ้น ในอุตสาหกรรม Healthcare ในแบบที่เข้าใจได้ไม่ยาก

ทั้งหมดนี้สามารถ Access ได้ผ่าน Virtual Library ของ NYU ครับ

ในการประเมินโอกาสในการลงทุนหุ้นเทค "คุณจะสามารถ Build Up Story และ Total Addressable Market ได้จากการเข้าถึง และอ่าน Research Paper ภาพใหญ่ หลังจากนั้นคุณก็จะทำ Stock Screener ออกมาโดยใช้เครื่องมือของ Data Provider เอาตัวเลขทางการเงินต่างๆ มาวิเคราะห์ว่าตัวเลขมันสะท้อนคุณภาพจริงๆ นะ" จากนั้นก็เอาตัวเลขจาก Data Provider มาใส่ในโมเดลของอาจารย์ มาประเมินมูลค่า (จะขาดก็แต่เครื่องมือในการทำ Monte Carlo Simulation ที่ไม่ได้มีให้ใน NYU Library) ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้ ผมคิดว่าเราคงจะลงทุนในหุ้นเทคฯ ได้อย่างสมเหตุสมผล และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ และทั้งหมดนี้ผมคิดว่าผมจะได้รับจากการเสียเงินเรียนออนไลน์ในหลักสูตรนี้

ยิ่งตลาดแพง การลงทุนยิ่งยากขึ้น ล่าสุดอาจารย์ Aswath ออกคลิปมาวิเคราะห์ว่าตลาด
phpBB [video]

ณ ขณะนี้แพงมาก อาจารย์มีเงินสด และมีซื้อ Put Option เอาไว้ ใน 6 Scenario ของอาจารย์มีอยู่แค่ เคสเดียวเท่านั้นที่ตลาดโดยรวมยัง Under Value อยู่ ซึ่งการลงทุนในช่วงที่ตลาดแพงๆ หรือ เป็นฟองสบู่นี้ การมีหลักการ เครื่องมือ และสภาพจิตใจที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเป็นคนที่ไม่รอด และเป็นคนตายที่ไม่ได้พูด อย่างในฟองสบู่ที่แตกไปในรอบที่ผ่านๆ มา

มาลองฟัง คนตายที่เคยพูดมาก ในช่วงฟองสบู่ dot com ปี 2000 ดูสักหน่อย จากบทความนี้ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
VuudD
Verified User
โพสต์: 296
ผู้ติดตาม: 28

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับพี่ มีประโยชน์ทุกตัวอักษรเลย เป็นโชคดีของผมจริงๆที่ได้อ่าน :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 222

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สุดยอดมากๆครับ ดีใจที่ได้อ่าน และดีใจที่เห็นโพสต์น้องวุดที่เก่งมาก ๆ ด้วยครับ

อยากจะเรียนเชิญทั้งสองท่านมาสอนนะครับ อิอิ

ในเวลานี้หุ้นเทคฯ ผมเขยิบไปอ่านหนังสือ Venture Capital มากขึ้นมาก
เพราะแนวคิด mindset แบบ VC นั้นถึงจะทำให้เรากล้าลงทุนได้บ้าง
ตอนนี้อยากจะเรียกตัวเองว่า VI แบบ VC อะไรแบบนั้น

การประเมินมูลค่าแบบ VC ค่อนข้างดู qualitative มากกว่า quantitative มาก

พอเอาส่วนผสมมาผสม ๆ กัน หลัง ๆ ผมเลยใช้ relative valuation มากกว่าเดิมอีก
เพราะ DCF นั้นค่อนข้างได้คำตอบกว้างมาก และ dynamic มาก ๆ ด้วย

ตัวอย่างเช่น discount rate ของหุ้นพวกนี้ มันควรเป็นเท่าไหร่ มันควรจะสูงมาก ๆ ด้วยซ้ำ ถึงจะชดเชย risk ได้ ทำแล้วคงไม่ได้ซื้อซักตัว

อนาคตฟองสบู่จะใหญ่มากก็เพราะทุกคนใช้ relative valuation นี่แหละครับ

พูดถึง DCF ผมเพิ่งเรียน zoom กับ prof. Damodaran อาทิตย์ที่แล้ว

ผมแนบ slide ที่แกทำ DCF Tesla
ระยะเวลาแต่ละครั้งต่างกันช่วงละประมาณครึ่งปี แต่ค่าต่างกันพอสมควร
Tesla1.png
Tesla2.png
tesla3.png
สาเหตุสำคัญคือ assumption ที่ใส่ลงไป

เอาไว้มาแชร์ให้ฟังอีกนะครับอ.ตี่
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าอ้างอิงจากหลักสูตร Investment Philosophies ของอาจารย์ Aswath แล้ว Value Investing (VI) กับ Venture Capital นี่มันเป็นหลักปรัชญาที่ใช้กับคนที่มี Mentality กับความเชื่อต่างกันโดยสิ้นเชิงเลย VC นี่ถือว่าเป็น Active Investor ที่เข้าไปล้วงลูกยุ่งเกี่ยวกับ Start-Up เยอะมากๆ ถ้า Linzhi ชอบเรื่อง VC จริงๆ ถ้าได้ Access PitchBook นี่ขอบอกได้เลยว่า Mind-Blowing มากๆ แต่สาย VC ในไทยคงจะไปทำจริงๆ จังๆ คงจะไม่ได้ เพราะ มันเป็นเรื่องของ Social Capital ที่เป็น Local Network Effect ที่ไม่มีในไทย ถ้าอยู่ที่ SF หรือ จีน คงจะมีโอกาสมากกว่านี้

อย่างพวก VC เท่าที่ฟังอาจารย์เค้าอธิบายใน YouTube ก็อย่างที่หลินว่า พวก VC เค้าคิด Exit Value แล้ว Discount กลับมาที่ 50-60%

โดยส่วนตัวแล้ว เราคงจะไม่สามารถเจาะลึกได้ระดับ VC แต่โอกาสของเราจะไปอยู่จังหวะที่ IPO มากกว่า เพราะ เดี๋ยวนี้ตลาดยอมให้บริษัทเข้าตลาดในจังหวะที่เป็น Early Stage มากขึ้น การได้ข้อมูลในเชิงลึกจาก PitchBook หรือ CrunchBase ก่อนที่พวกนี้จะเข้า IPO จริงๆ อาจจะทำให้เราประเมินมูลค่าได้ หรือ ทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนที่กำลังจะขายหุ้นให้กับเราได้มากขึ้น

ส่วนการใช้ DCF ยังไงผมก็คิดว่าต้องใช้อยู่ดีนะครับ อย่างในเคสของ TSLA ถ้าดูใน คลิปอันนี้ อาจารย์เค้าทำ Valuation ให้เราดู เค้าให้ Template Excel เราไปลองเล่นดูเลยครับ ว่าเราคิดว่า Story ของ TSLA ของเราจะให้ Story มันโตได้ขนาดไหน เป็นแค่บริษัทรถยนต์ หรือเป็น Tech Auto เป็น Auto FANNG หรือว่า สุดยอดบริษัทที่ตัวเลขทางการเงินดีมากๆ แบบที่ไม่เคยมีบริษัทไหนในโลกดีได้ขนาดนี้มากก่อน

ซึ่งทั้งหมดนี้ Discount ด้วย WACC ตามปกตินะครับ อาจารย์ใช้ Cost of Capital ที่ 7% ประเด็นอยู่ที่ว่า พอบริษัท Young Growth พวกนี้ที่ผ่านช่วงในการหา Product Market Fit แล้ว มาอยู่ในช่วง Scale ธุรกิจ มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องอ่านให้ขาดว่า Story ที่เราคิด TAM ใหญ่พอไหม Dynamic ของการแข่งขันเป็นอย่างไร Growth Assumption ของเรามันจะไปได้กิน Market Share ได้เท่าไหร่จาก TAM โครงสร้างธุรกิจสุดท้ายแล้ว เราคิดว่าที่จังหวะที่เริ่ม Mature แล้ว Operating Margin จะเป็นเท่าไหร่ และ Reinvestment Efficiency เป็นอย่างไร (ทั้งหมดที่เขียนมา จำขี้ปากอาจารย์เค้ามาเขียนนะครับ อย่างไรรบกวนกลับไปอ่านที่ต้นทางเองจะดีกว่า)

ปัญหาของ Relative Valuation ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ ไม่ว่าลักษณะเชิงคุณภาพของแต่ละกิจการมีความแตกต่างกันมาก แต่เรากลับใช้มูลค่าเชิงเปรียบเทียบกับ Peer Comparison คือ มันง่ายในการใช้งานก็จริง แต่มันอาจจะไม่สะท้อนความเป็นจริงก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ Platform อย่าง AirBnB

โดยส่วนตัวผมคิดว่าธุรกิจ Platform จุดสำคัญ คือ ตอนออกแบบ Platform และกำหนดราคาตั้งแต่แรก ในมุมมองของผม โครงสร้างต้นทุนของ AirBnB สูงกว่าธุรกิจ OTA อย่าง Booking.com อย่างมาก ทั้งความยากในการ Match ลูกค้า ต้นทุนทางกฎหมาย ตลอดจนการที่ต้องทำประกันให้กับ Host แต่ด้วยความที่ Founder ตอนสร้าง AirBnB ขึ้นมาตอนแรกกลัวคนไม่ใช้ เลยกำหนด Transaction Cut ให้เท่าๆ กับ Booking.com เลยทำให้ทุกวันนี้ แม้ว่ารายได้จะโตในระดับเดียวกับ Booking.com เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว แต่อัตราการทำกำไรก็ต่ำกว่ามาก อีกทั้ง 60-70% ของยอดจอง AirBnB ไป Overlap กับสิ่งที่ Booking และ Expedia จะเข้ามาได้ ซึ่งมองไปในอนาคตการจะไปหวังว่า NPM ของ AirBnB จะขึ้นไปเท่ากับ Booking.com คงจะเป็นเรื่องยาก เรื่องนี้ ถ้าไม่ทดลองทำ DCF จะไม่มีทางเห็นมันออกมาผ่านทาง Relative Valuation อย่างแน่นอน

หรืออย่างในเรื่องกิจการ 2 กิจการ ที่ TAM และ Target Market Share มีขนาดไม่เท่ากัน และลักษณะของธุรกิจเป็น Local Network Effect หรือเป็น Global Network Effect เรื่องพวกนี้ก็มองไม่ออกผ่านทาง Relative Value

หรือในประเด็นที่ว่าหากธุรกิจที่เราลงทุน เป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งๆ ที่ปกติ Peer Comp จะใช้ได้ก็ต่อเป็นมันเป็นธุรกิจดั้งเดิม ที่เราเชื่อใน Mean Reversion และคิดว่า บริษัทที่เราวิเคราะห์แข่งขันได้เก่งกว่าชาวบ้านเค้าในบางประเด็น เรารู้ตลาดโดยรวมอยู่แล้ว เราจึงพอจะใช้ Peer Comp ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในธุรกิจเกิดใหม่ ที่กำลังสร้างตลาดใหม่ๆ ขึ้นมา Peer Comp ที่เราใช้ กลับเป็น Peer Comp ข้ามอุตสาหกรรม เช่น เราเทียบ SaaS ของ Cyber Security ไปเทียบกับ SaaS ของ Human Capital หรือ Data Storage เป็นต้น

แต่เห็นด้วยครับว่าการลงทุนใน Young-Growth Company ปัจจัยเชิงคุณภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าปัจจัยเชิงปริมาณ แต่การที่เราไม่ได้เป็น VC ที่จะสามารถเข้าไปคุยกับ Founder ได้ตรงๆ นี่ ทำให้การแปลงปัจจัยเชิงคุณภาพให้เป็นปัจจัยเชิงปริมาณได้ เป็นจุดชี้เป็นชี้ตายสำหรับการลงทุนที่สมเหตุสมผลและปลอดภัย

และโอกาสก็เกิดขึ้นตรงนี้แหละครับ ในมุมของคนที่เคยสอน Valuation มา คือ ถ้าคนส่วนใหญ่ใช้วิธีการ Valuation ยังไง เราจำเป็นต้องเหนือกว่า เพื่อขยายมุมมองที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็น อย่างตอน AOT หรือ THCOM สมัยก่อน จังหวะที่ซื้อ มันคือจังหวะที่คนส่วนใหญ่มองที่ P/E ในขณะที่นักลงทุนขั้นเทพมองไปที่ EV/EBITDA ในจังหวะที่ค่าเสื่อมกำลังจะหมดลง แล้วก็สามารถทำกำไรได้มหาศาล

ดังนั้น ในจังหวะที่คนส่วนใหญ่มองไปที่ P/S ใช้ Rule of 40 คุยกันแต่เรื่องจะโตอย่างนั้น โตอย่างนี้ การที่จะเหนือขึ้นไปอีกขั้นได้ ก็เหลือแต่ DCF แล้วล่ะครับ มันจะมีกิจการบางอย่างที่เราเชื่อว่า TAM มันใหญ่พอ ในขณะที่กิจการนั้นยัง Gain Market Share ได้อีกเยอะ แล้วทำให้ P/S ที่ 50 เท่าก็อาจจะเป็นหุ้นราคาถูกได้ ถ้าใช้ DCF อย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง

แต่ถ้าเหนือว่า DCF ก็คงจะต้องไหว้พระ ทำบุญ สวดมนต์ เยอะๆ แล้วครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
LA-Z-BOY
Verified User
โพสต์: 571
ผู้ติดตาม: 4

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่ตี่ และทุก comment

นักลงทุนงานหนักไม่น้อยนะครับ ที่ผมคิดออกอย่างน้อยต้อง
  • 1.ติดตามหุ้นที่ถืออยู่
  • 2.เรียนรู้หุ้นใหม่ เพื่อขยาย circle of competency
  • 3.ทำความรู้จักตลาด ซึ่ง dynamic และมี momentum ขึ้นๆลงๆ หลายปีก็ขึ้นสุดและลงสุดกว่าโชว์สักทีหนึ่ง :)
  • 4.ต้องแปลงความรู้ และข้อมูลที่มี ออกมาเป็นการทำมาหากินให้ได้
สรุป นักลงทุนต้องเป็นทั้งนักเรียน และนักทำงาน ไปพร้อมๆกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 222

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อ.ตี่วิเคราะห์และอธิบายสรุปดีสุดๆครับ กราบครับ

ในแง่ VC ผมคงไม่ถึงขั้น early stage แต่เป็น late stage VC mindset มากกว่า
เพราะหุ้นเทคฯตั้งแต่ยุค 2010 มา มัน ipo เร็วกว่าเดิมมาก
ลักษณะหุ้นเลยคล้าย ๆ กับที่ถูกประคบประหงมใน VC fund อยู่

DCF ยังไงก็คือเทพแห่งการประเมินมูลค่า และไม่น่าจะมีวิธีไหนดีกว่านี้
ความยากคือเราต้องพยายาม input ให้ดี output จะได้ดีด้วย

ส่วนการทำ relative valuation ก็ติดอย่างที่ว่า ปัจจัยมันเยอะมาก
จนแทบจะเทียบกันไม่ไหว ผมก็พยายามศึกษาลับเลื่อยไปเรื่อย ๆ

เพราะอุตสาหกรรมยุคใหม่แทบจะเทียบกันตรง ๆ ไม่ได้เลย
revenue model มันหลากหลายกว่า pipeline business มาก

สมัยก่อน P/E, P/BV, ROE แค่นี้หากินได้แล้ว
เวลานี้ก็ใช้ได้กับหุ้น value stock ซึ่งเป็นเรือเกลืออยู่ (แต่อาจจะ perform ดีกว่าก็ได้ในปีนี้)

ตอนนี้ผมอยากจะหาสูตรที่มันรวมเอา TAM, Growth/Margin, CAC, LTV, Churn, ARR, DBNER, R&D, P/M fit, unfair advantage, scalability, network effect, stickiness รวมกันได้

แต่มันคงไม่มี .....

หรือถ้ามีอ.ตี่คงตกผลึกได้ก่อนใคร มาแชร์ด้วยนะครับ :)

ปีนี้ อ.ตี่ หันเรด้า valuation ส่องไปแถว industry ไหนครับ ผมถามแทนแฟนคลับอ.ฮะ อิอิ
12.png
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
benzkanin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 172

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณ อ ตี่ และ อ หลินมากๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เอาจริงๆ นะครับ Linzhi คือ ผมเลิกมองผลตอบแทนเป็นรายปีไปนานแล้วครับ ผมเลิก Benchmark ตัวเองเทียบกับตลาดและคนอื่นมาน่าจะมากกว่า 5 ปีแล้วครับ คือ ถ้าน้องแดมเค้าปีที่แล้วเค้าจะได้ 5 เด้ง 10 เด้ง น้อง VuudD จะเล่นหุ้น 10 ปีได้ 700 เด้ง ผมก็ยินดีกับความสำเร็จของเค้า ยินดีกับความพยายามที่ออกดอกออกผลด้วยอย่างจริงใจ แล้วก็หวังว่าความสำเร็จของเค้าจะทำในสิ่งดีๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็แค่นั้น ส่วนตัวผมได้ปีละ 5% ผมก็พอใจ มีความสุขมากพอแล้ว ถึงแพ้ตลาดก็ไม่เป็นไร ดังนั้นคำถามว่าปีนี้เล็งอะไรคงจะไม่ใช่คำถามของผมในปีที่แล้ว ในปีนี้ และในปีถัดๆ ไป

ทุกๆ ครั้งที่หาหุ้น ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากถือตลอดชีวิต เพียงแต่ว่ามันหาได้ยาก เลยได้แค่หุ้นถือแค่ 5 ปี 10 ปี ก็เท่านั้น อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเหตุการณ์ COVID-19 ทำให้ผมเปลี่ยนหลักคิด และปรัชญาในการลงทุนไปเยอะมาก เพราะ ผมคิดว่าถ้าลงทุนสบายๆ ปลอดภัยๆ ไม่ได้หวังอะไรมาก ผมทำได้อยู่แล้ว แต่ผมเห็นมุมมองในการลงทุนในรูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบในเชิงบวกกับสังคมมากกว่า ในช่วงต้นอาจจะลงทุนใน Public Market จนฟอร์มความคิดระดับหนึ่ง ในอนาคตผมก็หวังว่าจะได้มีโอกาสไปลงทุนใน Private Market ใน Start-Up ที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างกับโลกใบนี้

กิจการที่ผมมองหา คือ กิจการที่เรียกว่า Impact Unicorn กล่าวคือ เป็นกิจการที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกให้กับคนระดับ 1 พันล้านคน ทำยังไงให้คนยากจน คนที่ขาดไร้โอกาสมีโอกาสที่มากขึ้น ผมคิดว่า COVID ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีมากขึ้น คำถามคือ เทคโนโลยีในปัจจุบันมีอะไรบ้างที่จะช่วยให้คนจนในประเทศที่กำลังพัฒนามีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งก็จะจินตนาการประมาณว่า คนที่ปากีสถาน บังกลาเทศ หรือแถบแอฟริกาจะมีชีวิตที่กินดีอยู่ดียังไง ผมก็มองว่าความลำบากที่เกิดขึ้นมันต้องเริ่มจาก 1) มีไฟฟ้าที่ถูกเพียงพอ 2) มี Connectivity ที่ถูกเพียงพอ 3) มีงานที่ทำทางออนไลน์ได้ 4) มีการศึกษาทางออนไลน์ที่ฟรี 5) มีการแพทย์ที่ถูกและทั่วถึง

เรื่องไฟฟ้า นี่ผมคิดว่าเทคโนโลยีเราอยู่ในจุด Inflection Point แล้ว เพราะ ราคาค่าไฟพลังงานแสงอาทิตย์ต่อกิโลวัตต์ ณ ตอนนี้ถูกกว่าไฟฟ้าจากไฟฟ้าจากถ่านหินหรือแก๊ส ผมได้ฟังสัมมนามาว่า ขนาดที่ตะวันออกกลาง (ซาอุมั้ง) ที่ค่าน้ำมันถูกสุดๆ ต้นทุนยังถูกสู้ค่าไฟฟ้าจาก Solar ไม่ได้เลย ยิ่งกระแสโลกมาทางนี้ Biden ขึ้นมาแบบนี้ สภาพการแข่งขันแบบนี้ ผมคิดว่าโลกมันหมุนไปในทางนี้โดยที่ผมไม่ได้ต้องทำอะไรอยู่แล้ว ประเด็นของคนที่แอฟริกา จะไปอยู่ที่ว่า ถ้ามีไฟฟ้าแล้ว จะทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มเสียมากกว่า ถ้ามีไฟแล้วรายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายก็ไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่ดี แต่ถ้ามีไฟฟ้าใช้แล้ว Investment Payoff มันชัดเจน สุดท้ายคนก็มีไฟใช้ไปเอง ดังนั้นพลังงานทางเลือก ผมก็จะลงทุนใน ETF ในสัดส่วนของพอร์ตไม่เยอะ

Connectivity ที่ถูกเพียงพอนี่ เราก็เห็นเค้าร่างๆ ของ Project Starlink ของ SpaceX แล้วว่า น่าจะช่วยให้คนแทบแอฟริกาได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตราคาถูก ผมเชื่อว่า Starlink มันเป็น Fixed Cost จ่ายแล้วจ่ายเลย ผมเชื่อว่า Elon Musk น่าจะให้คนในประเทศยากจนใช้งานถูก หรือ ฟรีได้ ซึ่ง Musk เค้าตั้งใจที่จะเอา Starlink เข้าจดทะเบียนอยู่ในตลาด ดังนั้นถ้าเค้า IPO ผมคงซื้อติดพอร์ต ส่วนจะมากจะน้อยคงขึ้นอยู่กับ Valuation ที่ผมประเมินได้ กับราคาที่ซื้อขายจริงๆ ในอนาคต

เทคโนโลยีการทำงาน ผมเห็นความพยายามเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปให้คนใช้ทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในช่วง COVID ผมคิดว่าตรงนี้เป็น Universe ที่น่าสนใจมากที่ควรเจาะลึกเป็นรายตัว ลองจินตนาการ Platform ของการทำงานที่ทำให้การประชุมกลายเป็น AR/VR มีการถ่ายบันทึกการประชุม มี AI คอยจดบันทึกและแปลภาษา Track Project นำเสนอข้อมูล ผมว่าประสิทธิภาพของการทำงานในโลกถูก COVID ทำให้ก้าวกระโดดอย่างเหลือเชื่อ รูปแบบการทำงานร่วมกันของคนในอนาคตจะแตกต่างไปจากเดิมอีกเยอะมาก ซึ่งเป็น Space ที่ผมใช้เวลาศึกษาค่อนข้างเยอะ และเห็นโอกาสที่จะทำให้ชีวิตของคนในประเทศด้อยพัฒนาหลุดจากความยากลำบากได้ เพราะ การที่ขีดจำกัดของพื้นที่ ภาษา สีผิว และหน้าตาถูกทำลายไป ความเท่าเทียมกันมันจะวัดกันที่ความสามารถล้วนๆ คนที่เก่งๆ ในบ้านเราจะมีโอกาสในการทำงานแบบ Remote Work กับบริษัทใน US มากขึ้น บริษัท US หรือยุโรปจะได้คนที่มีความสามารถสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง ส่งผลให้คนทั่วโลกมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนตัวแล้วผมให้น้ำหนักกับกิจการที่มี Impact ในส่วนนี้มากที่สุด

การศึกษา ผมคิดว่า Space ในส่วนนี้ ถ้าเป็นระดับ MOOC หรือ Youtube ผมคิดว่ามันถูก ฟรี และดีมากอยู่แล้ว ผมมองไปที่ Virtual Classroom แบบ Immersive Experience มากกว่า ผมคิดว่าเด็กที่เรียนผ่านทางหน้าจอ iPad หรือ Note Book นี่ Experience มันยังไม่ดีพอ ผมเชื่อว่ามันจะมีกิจการที่ทำ Platform พวก AR/VR ที่จะทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก เป็น Adaptive Learning หรือเป็น Learning by Playing ที่จะทำให้ชีวิตของเด็กยุค Gen Alpha ดีกว่านี้รอให้ผมลงทุนอยู่

จริงๆ แล้ว COVID-19 เป็นการปลดล็อคทางองค์ความรู้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยนะ ในความรู้สึกของผม งานสัมมนาระดับโลกหลายๆ งาน ที่ถูกทำให้กลายเป็น Virtual แล้ว Scale Up ในระดับหนึ่ง ปีที่ผ่านมาผมได้ฟังอะไรเทพๆ จากคนเทพๆ ที่ผมคงจะไม่มีโอกาสได้ฟังหากไม่เกิด COVID เพิ่มขึ้นเยอะมาก อย่าง Janet Yellen รมต. กระทรวงการคลัง หรือนายกรัฐมนตรีหลายๆ คน ผมมีโอกาสได้เข้าไปร่วมฟัง และสามารถส่งคำถามที่อยากถามไปถามได้ ถามจริงๆ เถอะว่าถ้าไม่มี COVID เกิดขึ้น ผมจะได้มีโอกาสขนาดนี้ไหม ดังนั้นผมเชื่อว่า COVID-19 ทำให้คนเก่งขึ้นมาก เวลาคนต้องพยายามต่อสู้ เจอกับวิกฤต มันจะเป็นช่วงเวลาในการพัฒนาศักยภาพสุดๆ ดังนั้นผมเชื่อว่าคนในโลกวันนี้เก่งกว่าเมื่อหนึ่งปีที่แล้วไปมาก

ในเรื่องการแพทย์ ผมเชื่อว่า COVID-19 ได้ปลดล็อค Telehealth จะมีการนำ AI และ Technology หลายๆ อย่างมาทำให้การแพทย์มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ราคาถูกลง และเข้าถึงได้หลากหลาย แต่ในธุรกิจ Telehealth ผมคิดว่ามันเป็น Local Network Effect เพราะ เรื่องกฎหมายและ Ecosystem ของแต่ละประเทศ อง Impact มันไม่ถึงระดับพันล้านคน ดังนั้นน้ำหนักในการลงทุนสำหรับผมจึงไม่ได้เยอะมาก

อันนี้เขียนแนวทางคร่าวๆ ที่ผมอยากจะใช้ในการลงทุนในระดับ 10-20 ปีนี้นะครับ

ปล. จริงๆ ที่อยากลงทุนที่สุด คือ กิจการที่ทำคนสามารถช่วยเหลือกันได้ โดยไม่ต้องใช้เงิน ทำมากกว่าสามารถแบ่งปันให้กับคนที่มีน้อยกว่าได้อย่างสบายใจ โปร่งใส มีผลลัพธ์ที่ดี และเหมาะสมทันท่วงที หวังว่าจะมีบริษัทที่ทำ Philanthropy Platform บางอย่างเกิดขึ้นให้ลงทุนในอนาคต
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
FarmSabuy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ 🙏
armchakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 133
ผู้ติดตาม: 3

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อ่านบทความของอ.Picatos กับอ.หลินแล้ว ได้เปิดหูเปิดตาเยอะมากๆเลยครับ

นอกจากหลักสูตรของ Prof. Damodaran แล้ว อาจารย์หรือเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใด พอจะแนะนำหนังสือหรือ Paper อื่นๆ ที่พอจะช่วยปูพื้นฐานให้เข้าใจพวก Tech Stock มากขึ้นบ้างไหมครับ ไม่ว่าจะด้าน Qualitative หรือ Quantitative

คือเดิมเป็นพวกถนัดหาความรู้จากการอ่านเป็นหลัก หนังสือการลงทุนดังๆส่วนใหญ่ก็ตีพิมพ์มาหลายปีแล้ว มาเจอการลงทุนช่วงนี้ก็รู้สึกคลำทางไม่ค่อยถูกครับ - - ขอบคุณมากๆนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 222

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เป็นคำตอบที่ล้ำค่ามากๆๆๆครับ

ทุกคนที่อ่านคงรู้สึกอย่างผม คือรู้สึกดีและอิ่มครับ

​สำหรับ Covid19 รอบนี้
นอกจากผู้เสียชีวิตและความยากลำบากทางเศรษฐกิจช่วงนี้ (ซึ่งรัฐควรดูแล)

ผมก็ว่ามีข้อดีสูงมาก และคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นบันทึกหน้าใหม่ของ Homo sapien แห่งอนาคตเลย

ความเร่งใน digital economy นอกจากทำให้โลกแบนและเชื่อมกันยิ่งกว่า Thomas Friedman เขียนไม่รู้กี่พันกี่หมื่นเท่า

ยังส่งผลให้มนุษย์ได้ data จำนวนมหาศาลในการสร้าง AI และ automation ได้เร็วขึ้นไปอีก

เรากำลังเดินหน้าเต็มกำลัง ผมก็หวังว่า financial market จะ serve ให้กับ Zero to One company ไปถึงจุดหมายได้ โดยไม่ล่มกลางทางเสียก่อน

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะได้รับประโยชน์ของ inflection point นี้อย่างที่อ.ตี่หวังครับ

ผมสนุกกับการศึกษาหุ้นและความก้าวหน้าในต่างประเทศจริง ๆ ครับ
และสนุกกับการอ่านความเห็นดี ๆ แบบนี้ในสังคมแห่งนี้

ผลลัพท์การลงทุนนั้นเป็นแค่ของหวานครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ztar
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

armchakorn เขียน:
เสาร์ ม.ค. 23, 2021 6:25 pm
อ่านบทความของอ.Picatos กับอ.หลินแล้ว ได้เปิดหูเปิดตาเยอะมากๆเลยครับ

นอกจากหลักสูตรของ Prof. Damodaran แล้ว อาจารย์หรือเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใด พอจะแนะนำหนังสือหรือ Paper อื่นๆ ที่พอจะช่วยปูพื้นฐานให้เข้าใจพวก Tech Stock มากขึ้นบ้างไหมครับ ไม่ว่าจะด้าน Qualitative หรือ Quantitative

คือเดิมเป็นพวกถนัดหาความรู้จากการอ่านเป็นหลัก หนังสือการลงทุนดังๆส่วนใหญ่ก็ตีพิมพ์มาหลายปีแล้ว มาเจอการลงทุนช่วงนี้ก็รู้สึกคลำทางไม่ค่อยถูกครับ - - ขอบคุณมากๆนะครับ
รอฟังคำแนะนำจากพี่ๆ เรื่อง หนังสือ หรือ paper สำหรับผู้เริ่มต้นเหมือนกันครับ

ขอบคุณครับ :)
KAME_MRAZ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 8
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

อยากรบกวนสอบถามนิดนึงครับพี่ๆ

เวลาใช้ DCF
มูลค่าส่วนใหญ่มักไปกองอยู่ที่ Terminal value

ในขณะที่ Free cash flow ที่เราพยายามหากันในช่วง 10 ปีแรก มีผลกับมูลค่าน้อยมาก

และ Terminal value ส่วนใหญ่ก็หามาจากการจินตนาการซะเยอะ
ยิ่ง Life cycle ของบริษัทสั้นลงเรื่อยๆ
ก็ยิ่งจินตนาการยากเข้าไปใหญ่

ไม่ทราบบว่าพี่ๆมองจุดนี้ยังไงบ้างครับ
ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
XO
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1027
ผู้ติดตาม: 94

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

KAME_MRAZ เขียน:
อาทิตย์ ม.ค. 24, 2021 11:22 am
อยากรบกวนสอบถามนิดนึงครับพี่ๆ
........
ไม่ทราบบว่าพี่ๆมองจุดนี้ยังไงบ้างครับ
ขอบคุณครับ
ที่จริง เราลาก FCF ออกไปมากกว่า 10 ปีก็ได้ครับ จะ 20-30 ปีก็ได้ ไม่ได้มีกฏตายตัว เพื่อลด weight ของ terminal value ลง
แต่สุดท้ายไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม range มูลค่าที่ได้ จะกว้างมากๆครับ ยิ่งถ้าเทียบกรณี min-max จากส่วนประกอบที่เยอะแยะของมัน
("min FCF + highest discount rate" vs "max FCF + lowest discount rate")
* เวลาผ่านไปแต่ละไตรมาส แต่ละปี FCF เปลี่ยนไป ตาม timing, ดังนั้น assumption ต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยนอีก ทำให้ DCF เป็นไดนามิกมากๆ
* นี่ยังไม่รวมกับการที่ว่า เราคาดการ FCF แต่ละปี ถูกหรือผิดอีกนะครับ (ซึ่งคงไม่มีใครคาดการณ์ถูกง่ายๆ)

DCF เลยเป็นเหมือนหลักการทางการเงินที่ make sense เป็นเหตุเป็นผลมาก แต่ใช้ทางปฏิบัติจริงได้ยากครับ
อย่าพยายามเข้าใจ จงใช้ความรู้สึก :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

KAME_MRAZ เขียน:
อาทิตย์ ม.ค. 24, 2021 11:22 am
อยากรบกวนสอบถามนิดนึงครับพี่ๆ

เวลาใช้ DCF
มูลค่าส่วนใหญ่มักไปกองอยู่ที่ Terminal value

ในขณะที่ Free cash flow ที่เราพยายามหากันในช่วง 10 ปีแรก มีผลกับมูลค่าน้อยมาก

และ Terminal value ส่วนใหญ่ก็หามาจากการจินตนาการซะเยอะ
ยิ่ง Life cycle ของบริษัทสั้นลงเรื่อยๆ
ก็ยิ่งจินตนาการยากเข้าไปใหญ่

ไม่ทราบบว่าพี่ๆมองจุดนี้ยังไงบ้างครับ
ขอบคุณครับ
เราก็ต้องเข้าใจกิจการนั้นๆ อย่างลึกซึ้งครับ ต้องทำการบ้านหนักๆ เปลี่ยนจินตนาการของเรา ออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงว่ามันเป็นไปได้ขนาดไหน ศึกษาเคสในอดีตเปรียบเทียบ คุยกับผู้เชี่ยวชาญ ดูเคสการ blitzscaling ของบริษัทเทคในอดีตที่อาจจะใกล้เคียงกับกิจการที่ศึกษา เอาตัวเลข growth บ้าง performance บ้าง market share มา adjust แล้วก็ compressed มันหนักขึ้นไปอีก เพราะ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และ การแข่งขันที่สูงขึ้น เวลา project ให้ดึงยาวไป 10 ปี 5 ปีนี่ไม่พอครับ run way ไม่พอที่จะ turn operating margin ให้เป็นบวก

นั่นเลยเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมรู้สึกว่าหนังสือเรื่อง narrative and number นี่ดีมากสำหรับยุคนี้ และคลิปทั้งหมดที่ผมแชร์ไป มันน่าจะพอตอบอะไรได้ระดับหนึ่ง

ที่สำคัญที่สุด คือ ให้บอกตัวเองเลยว่า มูลค่าที่ได้มาจะเป็นค่าที่ผิด บอกตัวเองเลยว่า มันจะยาก มันจะเหนื่อย และมันจะได้ค่าที่ผิด แต่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในทิศทางที่ถูก ดีกว่าคิดว่าถูกแต่จริงๆ แล้วโดยอิทธิพลของตลาดยัดมูลค่าที่ควรจะเป็นใส่หัวเราทั้งๆ ที่ผิดไปคนละเรื่องคงละราว โดยที่ไม่มีจุดยึด หรือหลักการจริงๆ

ในช่วงฟองสบู่ dot com บริษัทเกินกว่าครึ่งไม่รอด เจ๊ง ล้มละลายไปครับ รอบนี้เป็นฟองสบู่ที่เกิดจาก social media และ tech ที่ก้าวหน้า ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงไปอีก ผมเชื่อว่าอัตราการเจ๊ง และล้มน่าจะสูงกว่ารอบที่แล้ว โดยส่วนตัวผมแค่พยายามหาทางลงทุนที่ปลอดภัยเท่าที่ผมจะยอมรับได้ในสถานการณ์แบบนี้

ขอบอกไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าทางสายนี้เหนื่อยกว่า ใช้เวลามากกว่าแน่ๆ แถมผลตอบแทนอาจจะต่ำกว่า การที่ดู story คร่าวๆ แล้วเล่นตาม momentum แถมการลงทุนวิธีการนี้จะไปคุยโอ้อวดอะไรใครก็ไม่ได้ จะรู้สึกว่าคนอื่นรู้หุ้น รู้จักกิจการเยอะกว่าเราไปหมด เพราะ สำหรับคนอื่นเค้ามีแค่ story 8-10 บรรทัดก็พร้อมกระโดดใส่กันแล้ว แต่กว่าเราจะรู้จะซื้ออะไรได้สักตัวนี่ใช้เวลาศึกษานานมาก แต่ข้อดี คือ เวลาหุ้นเทคลงนี่มันไม่มี floor นะครับ วันดีคืนดี ลงทีเดียวได้ 70-80% เลย ณ จุดนั้น ถ้าคุณไม่มี valuation ที่คุณเชื่อจริงๆ คุณจะกลัวจับจิตเลยทีเดียว

ซึ่งผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าสิ่งที่ผมเขียนไป แชร์ไป จะมีคนเอาไปทำเยอะหรอกครับ แค่มีคนสักคนหรือสองคนนำไปใช้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครับ สำหรับผม

เป้าหมายของผม อยากแชร์ให้รู้จักอาจารย์ Aswath มากกว่า การที่มีหลักคิดแนวคิดที่ถูก อย่างน้อยก็ช่วยลดความ over confident ลงไปได้บ้าง และเมื่อมีสติรู้ว่าสิ่งที่ลงทุนมันอาจตายได้ ยิ่งที่ลงทุนมันไม่ใช่ value investing ไม่มี margin of safety มูลค่าทั้งหมดอยู่ในอนาคตที่ปัจจุบันจับต้องไม่ได้ อย่างน้อยจะได้หาเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอันอื่นเข้ามาใช้บ้าง

คนที่เป็น VC ก็มีวิธีการบริหารความเสี่ยงแบบ VC
คนที่เป็น VC เค้าไม่ได้ใช้ MOS ในการบริหารความเสี่ยงแน่นอน

ย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าผมไม่ได้เป็น value investor แม้ว่าผมกำลัง post อยู่ใน board value investor และทุกๆ การลงทุนที่ผมลงทุนอยู่ เป็นการลงทุนที่ไม่ได้ปลอดภัย แบบที่ควรจะเป็นในแนวทางของ VI
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เอามาแบ่งปัน กันละกัน
  • 1. ตลาดใหญ่แค่นั้น แล้ว คู่สามารถไปกินส่วนแบ่งตลาดได้มากแค่ไหน
  • 2. การที่ทำให้ลูกค้าอยู่กับเราได้นาน (อันนี้เหมือน บริษัททั่วไป) และ ลูกค้ามาใช้บริการรายใหญ่เท่าไร (ก็เหมือนเดิม)
  • 3. Growth เป็นเช่นไร เมื่อไรถึง Limitation
แต่อย่างไรเสีย บางครั้ง เทคโนโลยี่มันล้ำน่าใช้ แต่ทว่า มาไม่ถูก timing ก็จบได้เหมือนกัน
ทุกอย่างมันขึ้นกับ เวลา เป็นจุดที่บอกได้ว่า มันถึงเวลาของเทคโนโลยีนั้นหรือไม่

เช่น AI เมื่อ ปี 2000 นั้น บูมมา แต่ทำไมหายไป เพราะว่า ตอนนั้น ยังไม่ค่อยมี ecosystem ที่เหมาะสมกับ AI
ไล่ตั้งแต่ เรื่องของการจัดการ Data ที่ยังเป็นยุคเริ่มต้นของการเขียนโปรแกรมแบบ Object (JAVA มาได้ไม่นาน หรือ dot net ของ MS) การ Cross platform ของระบบปฏิบัติการยังไม่สะดวก การทำโปรแกรมแต่ติดตั้งบนเครื่องเท่านั้นขยายยากต้องซื้อเครื่องใหม่ (ติด Limitation ของ Hardware โดยที่ ยุค Cloud ก็เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่ รวมถึงการประมวลผลแบบขนานก็เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น) ไม่ต้องพุดถึง เรื่องของ Hardware ที่ใช้กับ AI โดยเฉพาะ ยังไม่มีเหมือนในยุคนี้ที่มี Chip เฉพาะ ในการประมวลผล แถมแข่งกันออกมาอีกต่างหาก

ตอนนี้ตัวที่น่าจับตาคือ quatum computer ที่เริ่มตั้งไข่ได้ซักพักหนึ่ง ยังอยู่ตามมหาวิทยาลัย ต้องรอระยะเวลาอีกอย่างน้อย 10 ปี กว่าจะออกมาให้ใช้งานได้เต็มที่ แต่ทว่า ภาษาที่ใช้งานกับ Quatum computer มาก่อนเลย มีความนิยมก่อน
นั้นคือ Software lead hardware เมื่อไร ก็ตาม Hardware ไล่ตามได้ทัน เมื่อนั้น เทคโนโลยีนั้น ก็เข้าสู่การใช้งานแบบ Massive production ทันที และยังไม่มีคู่ชนะ ก็ต้องรอเวลาซักหน่อย ว่าใครชนะก็รอซักแป๊บก็เห็นกัน

พาออกนอกเรื่องซักไกลเลย แต่ทว่าคงได้ความรู้แหละ
:)
non_sang
Verified User
โพสต์: 36
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

โชคดีจริงๆที่ได้อ่าน post นี้ ขอบคุณท่าน picatos และทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ :o
yamajung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 34

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

นอกจากเรื่องการประเมิณมูลค่าแบบลึกๆแล้ว เราจะประเมินว่าฝันที่บริษัทขายไว้จะเกิดขึ้นจริงอย่างไรครับ หรือเราควรจะขายที่ระดับไหนก่อนที่ความจริงจะเฉลย ตลาดหุ้นคือตลาดรอง เป็นแค่ความเชื่อของนักลงทุน เหมือนตอนนี้ตลาดมันดี คิดวิเคราะอะไรมันก็ถูกต้องไปซะหมด
มีหุ้นล้าววเชียได้ ขายละค่อยด่า
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

แนะนำหนังสือพวกสาย Tech ซักหน่อย บางเล่มไม่ใช่ tech จ้าแต่ทว่า เป็น Management ของสาย Tech
ที่เขียนแล้ว apply ไปใช้งานกับสายอื่นๆได้ หรือ ไม่ก็เป็นการจัดการในอนาคต
Hard thing about hard thing (เล่มนี้มีภาษาไทย)
No rule rules (อันนี้โดยป้ายยามา กำลังนั่งอ่าน แต่ทั้งอ่านและฟัง review แล้ว ต้องอ่าน
แนะนำไปหาได้ที่ asia book หนังสือเข้ามาแล้ว เป็นปกแข็ง แต่ปกอ่อนไม่แน่ใจว่าเข้าหรือยัง ราคาประมาณ 500 กว่าบาทเอง)
Unicorn Tears (เล่มนี้มีแปลไทย)

กลุ่มนี้เป็นสายพื้นฐานของ startup
Design thinking (เล่มนี้มีแปลไทย แต่หายากมาก)
Business Model canvas (เล่มนี้มีแปลไทย เพิ่งพิมพ์ใหม่แต่หมดหรือยังไม่รู้ )

ตัวนี้เป็น HBR ออกปี 2020 เพิ่งสอยมา
Monopolies Tech giants (ไม่แพง เพิ่งออกมาไม่นาน)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
cashcycle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 330
ผู้ติดตาม: 3

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณพี่ๆทุกท่านครับ ได้ความรู้เยอะจริงๆครับ
"One good day out of 365 does not make a champion - It takes a lifetime of dedication." - Adam Copeland
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เข้ามาขอบคุณ อาจารย์ตี่ กับ อาจารย์หลิน
ขอบคุณมากๆครับ เคาะโหลก เคาะสนิมของผมได้มากๆเลยครับ
แต่ยังเขลอะอยู่เยอะ ยังต้องเรียนรู้อีกมาก เหมือนยิ่งเรียนยิ่งโง่ลงๆ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

อาจารย์แชร์มาให้ดู จาก course ที่เรียนออนไลน์

ดีงาม ควรแค่แก่การดู

phpBB [video]
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

เชิญชวนเพื่อนๆ มาเรียน Valuation ด้วยกันครับ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ตอนนี้ผมพึ่งเริ่มเรียนคลาส Valuation แบบ "ออนไลน์" กับอาจารย์ Aswath Damodaran ได้ 1 สัปดาห์ แล้วก็ทดลองเข้าไปเรียน Valuation แบบ "ปกติ" ได้เห็นโครงสร้าง วิธีการสอน การติดต่อสื่อสารทั้งหมดแล้ว เลยอยากเข้ามาบอกเพื่อนๆ ว่าเหตุการณ์ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้เกิดโอกาสในการเรียน Valuation หลักสูตรปกติกับอาจารย์ Aswath ฟรีๆ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนครับ และอยากเชิญชวนเพื่อนๆ มาเรียนหลักสูตร Valuation แบบ "ปกติ" ที่ปรับปรุงใหม่ของ NYU ด้วยกันครับ

ตามปกติอาจารย์เค้าจะสอน Valuation แบบจัดเต็มสำหรับนักศึกษา ป.ตรี และ MBA ที่มหาวิทยาลัย NYU Stern แบบเจอตัวเจอหน้าเจอตากันในห้องเรียนปีละแค่ 1 เทอม 1 รอบ เริ่มเรียนกันประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์นี่แหละ แล้วระหว่างเรียนก็อัดวีดีโอในห้องเรียนจริง แล้วก็เอามาเผื่อแพร่ให้เราดูกันผ่าน YouTube

เหตุการณ์ COVID-19 ทำให้เมื่อกลางเทอมของปีที่ผ่านมา อาจารย์จำเป็นต้องเอานักเรียนทั้งหมดย้ายขึ้นมาเรียนบน Zoom แทน ซึ่งตอนย้ายมาเรียนแรกๆ ก็มีปัญหาคลุกคลักอะไรอยู่หลายอย่าง จำเป็นต้องปรับการเรียนการสอน พอจบเทอม อาจารย์เค้าก็คิดว่าเทอมหน้า Spring 2021 (ซึ่งก็คือตอนนี้) อาจารย์คงต้องสอนใน Zoom อีกแน่ๆ และคิดว่าหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทั่วโลกจะถูก Disrupt จาก COVID-19 อาจารย์เลยทำให้การปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาครั้งใหญ่ จากเดิมที่มีสอนเนื้อหาหลักๆ คือ 1) Investment Philosophies 2) Corporate Finance 3) Valuation

อาจารย์เค้าก็เลยเพิ่มหลักสูตรสั้นๆ สำหรับปรับพื้นฐานคนที่จะมาเรียนกับอาจารย์ ในส่วน Accounting และ การเงินขั้นพื้นฐาน มาให้สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้เรียนบัญชีหรือการเงินมาก่อนเลย

เรียกได้ว่า ตอนนี้ถ้าคุณเป็นมือใหม่แบบว่าเริ่มต้นเข้ามาลงทุน มาตรงนี้ทีเดียวจบ ครบทั้งหลักสูตร ไม่ต้องไปเสียเวลาที่อื่นอีก มาลองฟังอาจารย์เค้าเล่าโครงสร้างหลักสูตรที่ปรับปรุงทำขึ้นมาใหม่กันครับ

phpBB [video]


ในคลิปที่อาจารย์อธิบายหลักสูตร ตอนนั้นเดือนสิงหาคม 2020 อาจารย์คงจะคิดได้ว่า ช่องโหว่ของระบบการศึกษาของอาจารย์ยังขาดเรื่องบัญชีอยู่ ซึ่งอาจารย์ก็แนะนำให้ไปเรียน แล้วก็มีหลักสูตรบัญชีของอาจารย์ท่านอื่นให้เรียนฟรี หากลงเรียนกับ online กับทางมหาวิทยาลัย แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ทำหลักสูตรบัญชีขั้นพื้นฐานแจกอีกหลักสูตรไปเลยดีกว่า เลยเกิดหลักสูตรบัญชีขั้นพื้นฐานสำหรับนักลงทุนขึ้นในเดือนกันยายน 2020

โลกในยุคก่อน COVID อาจารย์เค้าจะแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น "ออนไลน์" ที่เรียนผ่านระบบออนไลน์ของ NYU กับหลักสูตร "ปกติ" ที่เจอตัวกันเป็นๆ หลักสูตรออนไลน์อาจารย์เค้าจะย่อ ตัดเนื้อหาลงสั้นๆ ซอยให้เรียนตามสะดวกสำหรับคนที่อาจจะมีเวลาน้อย

ในขณะที่หลักสูตรปกติจะเข้าไปรับแสงเฮ้ากวงจากอาจารย์ในคลาสกันแบบจริงๆ เรียนกันคลาสละ 80 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ระหว่างสัปดาห์อาจารย์ก็จะมี Assignment ให้ทำ ทั้งไปอ่านบทความ ไปฟังคลิป ทดลองทำ Valuation กับหุ้นจริงๆ ในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ รวมไปถึงมี Test มี Quiz มีอัปเดตข่าวสารกันตลอดทั้งสัปดาห์

แต่โลกระหว่าง COVID ทำให้อาจารย์ตั้งใจปรับหลักสูตร "ปกติ" ให้กลายเป็นออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนและเผื่ออนาคต ซึ่งเป็นโอกาสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นปีนี้อาจจะเป็นปีพิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่หลักสูตร "ปกติ" ที่ตามปกติแล้วคนต้องแย่งกันสอบเข้า NYU กันเข้าไปเรียน ถูกตั้งใจทำให้เป็นออนไลน์ตั้งแต่ต้นไปจนจบ แถมเนื้อหา ข้อมูล การสื่อสารของอาจารย์กับนักเรียนในคลาสเกือบทั้งหมด เป็นการสื่อสารแบบเปิด เราคนข้างนอกสามารถเห็นได้เกือบทั้งหมด เหมือนได้เข้าไปเรียนจริงๆ โดยไม่เสียเงินเลยสักบาท

เพื่อนๆ อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยว่า "มันมีด้วยเหรอ มาให้เรียนกันฟรีขนาดนี้?" ไทยวีไอยังเก็บเงินค่าเรียน คนในไทยคนบางคนพึ่งจะเริ่มต้นลงทุนมาปีหรือสองปีมาเปิดคลาสลงทุนหุ้นเทคฯ เค้ายังมาเก็บเงินเลยอยู่เลย อาจารย์ที่สอนมา 37 ปี มีคนยอมจ่ายเงินแพงๆ ไปลงเรียน มาสอนให้ฟรีๆ แบบนี้ มันมีอยู่จริงเหรอ?

มันมีอยู่จริงครับ ถ้าฟังคลิปที่อาจารย์เล่าเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรนี้ ในช่วงต้นของคลิป อาจารย์มีพูดถึง Magic ที่เกิดขึ้นระหว่างการสอน มันเป็นความสุขที่หาจากที่ไหนไม่ได้ ไม่มีความรู้สึกแบบไหนเทียบเคียงได้ เลยทำให้ไม่ว่าอาชีพอื่นจะรายได้ดีขนาดไหน อาจารย์เค้าไม่สนใจ เค้ารักและมีความสุขกับอาชีพครูจริงๆ

และ ตอนท้ายสุดของคลิป อาจารย์บอกว่า เค้าหวังว่าหลักสูตรของเค้าคงจะมีประโยชน์กับเรา แล้วถ้าเรารู้สึกว่าได้ประโยชน์ ก็ไม่ต้องขอบคุณอะไรเค้า แต่ช่วยส่งต่อแชร์ความรู้นี้ออกไป เพราะ อาจารย์เค้าเชื่อว่า ความรู้จะเติบโตได้ด้วยการแบ่งปัน

นี่คือ จิตวิญญาณของอาจารย์คนนี้ครับ ดังนั้นเนื้อหาที่เรียน การติดต่อสื่อสารที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจริงๆ ถูกเปิดเผยออกมาให้เราเข้าถึงได้ ผมว่าน่าจะ 95% ของหลักสูตร เท่าที่ลองไปเรียนทั้งหลักสูตร "ปกติ" ของอาจารย์ จะมีส่วนที่แตกต่างดังต่อไปนี้
  • 1) Project ที่ได้รับมา จะไม่มีคนมาตรวจมาให้คะแนน มา Feed Back (แต่ผมเชื่อลึกๆ นะครับ ว่าถ้าเราเป็นคนที่ทุ่มเทจริงจังจริงๆ ลองส่ง Project ที่ได้ Assign มาไปให้อาจารย์โดยตรงทางอีเมล์ อาจารย์คงจะให้ Feed Back แหละ)
  • 2) เราจะเข้าถึงข้อมูลบางอย่างไม่ได้ เช่น Capital IQ แต่อาจารย์เค้ามีทำข้อมูลสรุปตัวเลขอะไรหลายๆ อย่างให้เราใช้อยู่แล้วใน Website หรือ Excel File ที่อาจารย์แจกจะมีข้อมูลอุตสาหกรรม ตัวเลขหลายๆ อย่าง ที่เอามาใช้ในการทำ Valuation
  • 3) เราจะไม่มีโอกาสได้ถามตอบใน Session Zoom ในขณะเรียนจริง หรือในช่วง Office Hour (แต่สำหรับคนไทยอย่างเราแล้ว คงจะไม่ค่อยกล้าถามภาษาอังกฤษโชว์หน้าผ่านทาง Zoom อยู่แล้วเนอะ)
แต่อย่างพวก Quiz หรือ Test อะไรพวกนี้ อาจารย์เค้าทำระบบให้เราทำเองตรวจข้อสอบเองอยู่แล้ว ความแตกต่างคงจะไม่มี

---------------------------------------------------

ถาม จำเป็นไหมที่ต้องเรียนตอนนี้ ในเมื่อมันเป็นออนไลน์อยู่แล้ว เดี๋ยวว่างๆ ค่อยเรียน ค่อยดูได้ไหม?

ตอบ เท่าที่ศึกษาแนวคิด วิธีการสอนของอาจารย์ อาจารย์เค้าเป็นคนที่จะเอาสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันมาสอน ณ ปัจจุบัน อาจารย์เค้าจะไม่เอาเคสหรือตัวเลขในอดีตมาสอน เพราะ การทำ Valuation สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมันจะมีอคติตัวหนึ่งที่เรียกว่า Hindsight Bias ทำให้คุณค่าความหมายของการประเมินมูลค่ามันหมดไป ดังนั้นทุกๆ สัปดาห์ เราจะมาทำ Valuation กันบนโลกและสถานการณ์จริง มาดูกันสิว่าในมุมมองของเรา Story ของเรา มันแปลงออกมาเป็นมูลค่าได้เท่าไหร่

อย่างเคสล่าสุดของสัปดาห์นี้ ที่อาจารย์ให้การบ้านมาในวันที่ 2 กพ คือ Game Stop ครับ นักเรียนทุกคนจะได้รับแจ้งให้ไปลองปรับค่า Valuation ใน Excel ไฟล์นี้ โดยให้ทดลองจินตนาการเรื่องราวของ GME ในมุมมองของเรา แล้วเข้าไปปรับค่า 4 อย่างนี้
  • a. Revenue growth rate
  • b. Target operating margin
  • c. Sales to Invested capital
  • d. Failure probability
ค่าที่ได้ออกมาเค้าก็ให้ไปส่งคำตอบกันใน Google Spreadsheet อันนี้

สมมติว่าเวลาผ่านไป 1 ปี เรากลับมาดูเคส GME มันจะไม่สนุกเหมือนที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ เรากำลังเรียนรู้และทดลอง Valuation สิ่งที่เกิดขึ้นจริง กับคนที่สอนเรื่อง Valuation ที่เก่งที่สุดในโลก เราได้ทดลองคิดตาม ทดลองทำ แล้วก็ได้เห็นเพื่อนๆ ร่วมเรียนกับเราแสดงความคิดเห็นกับเรื่องนี้ไปด้วยกัน

ความสนุก และความจำเป็นที่ต้องรีบเรียนตามให้ทันกับปัจจุบัน และเรียนให้เป็นปัจจุบัน ก็คือ เรื่องนี้แหละครับ

และนั่นทำให้ผมจำเป็นต้องรีบเขียน Reply อันนี้เพื่อเชิญชวนเพื่อนๆ ให้รีบมาเรียนตามให้ทันกับเนื้อหาอาจารย์

------------------------------------------------------------------

ถาม Valuation หลักสูตร "ปกติ" มันมีของ ป.ตรี (UG) กับ ป.โท (MBA) เราควรเรียนอันไหนดี?

ตอบ เท่าที่ทดลองฟังดูทั้งสองอัน ผมคิดว่า อาจารย์สอน ป.ตรี ดีกว่าสอน ป.โท ครับ ส่วนสาเหตุนี่ อาจจะเป็นเพราะว่า คนเรียน MBA เค้าจะได้เรียน Corporate Finance กับอาจารย์มาตอนปี 1 แล้ว พอมาปี 2 ค่อยมาเรียน Valuation ในขณะที่ ป.ตรี นี่ น่าจะเจออาจารย์แค่คอร์สเดียว เลยทำให้ผมรู้สึกว่าอาจารย์สอน ป.ตรี ละเอียดกว่า แน่นกว่า

อีกทั้งคนที่มาเรียน MBA ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์การทำงานมาต่างๆ กัน อายุจะมากกว่า อาจารย์เค้าน่าจะจัดเต็มกับ ป.ตรี ให้มากกว่า เพราะ ไม้อ่อนย่อมดัดง่ายกว่าไม้แก่

ในการสอน อาจารย์เค้าเลยจะสอน MBA ก่อน เพื่อเป็นการวอร์มเครื่อง ตอน 14.00-15.20 แล้วค่อยไปจัดเต็มกับ UG ตอน 15.30 เวลาสอน ป.ตรี เลยรู้สึกได้ถึงความไหลลื่น และพลังงานที่มากกว่า

อย่างไรก็ตามในส่วนของการสื่อสาร e-mail หรือ Assignment นี่มันมีอะไรแตกต่างกันอยู่เล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้เป็นนัยยะสำคัญมาก ถ้าดูหรือเก็บตกได้หมดก็ดีครับ

e-mail ของ ป.ตรี
e-mail ของ ป.โท

เนื้อหาของ ป.ตรี
เนื้อหาของ ป.โท

------------------------------------------------------------------

ถาม เรียนหนักไหม?

ตอบ หนักครับ อาจารย์เค้าจัดเต็มมาก Assignment เยอะ เนื้อหาเยอะอยู่ เตรียมใจไว้เลยครับว่าต้องจัดสรรเวลาให้กับอาจารย์สัปดาห์หนึ่งอย่างต่ำสัก 10 ชั่วโมง

-----------------------------------------------------------------

ถาม ถ้าหนัก เรียนไปแล้วจะได้อะไร? เล่นหุ้นง่ายๆ ไม่ต้องทำงานหนักๆ ก็รวยได้เหมือนกันนี่นา?

ตอบ ผมคิดว่า ถ้าเราคิดจะลงทุนในหุ้นเทคที่ขาดทุน การเรียนและมีความรู้ในการ Valuation กับอาจารย์เป็นทักษะและองค์ความรู้ที่สำคัญมาก ผมอาจจะเปรียบเทียบเหมือนกับนิทานเรื่อง ลูกหมู 3 ตัว

นช่วง COVID ที่ผ่านมา ผมเชื่อว่ามีนักลงทุนหลายๆ คนถูกบีบให้ผันตัวไปลงทุนหุ้นเทคที่ขาดทุน จำเป็นต้องรีบศึกษา รีบทำความเข้าใจ Story ของหุ้น แล้วก็ลงทุนเกาะกระแสไปอย่างเร็วที่สุด ไม่อย่างนั้นจะตกรถด่วน Speed ความเร็วแสง เหมือนเห็นพื้นดินที่เรายืนอยู่กำลังถล่มจำเป็นต้องกระโดดขึ้นรถก่อน ค่อยไปถามละเอียดการเดินทางกับเด็กตั๋ว หรือเพื่อนร่วมขบวนอีกทีว่า รถขบวนนี้ไปไหนกันแน่

เราทำความเข้าใจ Story แบบเร็วๆ จะทำ Valuation แบบเร็วๆ อย่างที่ลงทุนง่ายๆ แบบในอดีตก็ไม่ได้ เพราะ ธุรกิจเกิดใหม่ Business Model ใหม่ ธุรกิจขาดทุน MOS ไม่มีเลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยอาการหนีตาย เราเลยจำเป็นต้องประกอบเครื่องบินขึ้นมาระหว่างที่กระโดดลงมาจากหน้าผา (ยืมสำนวนของ Reid Hoffman มาหน่อยนะครับ) เราเลยเอาแค่ Story ก่อน โดยไม่ทำ Valuation เพราะ ทำไม่เป็น และคิดว่าทำไม่ได้ แถมใครๆ เค้าก็ไม่ทำกัน TAM ใหญ่ Quality ได้ Relative Value ดูแล้วไม่น่าเกลียด Key Metric ใช้ได้ กราฟสวย แล้วก็ลุยเลยแล้วกัน

ผมคิดว่า Story ที่ไม่มี Valuation ก็เหมือนกับลูกหมูตัวที่ 1 ที่สร้างบ้านขึ้นมาจากฟาง... โอเคแหละ เราได้บ้านที่มีที่คุ้มหัวนอน พอบังแดด บังละอองฝน ให้หลับนอนชั่วคราวในยามจำเป็นได้

แต่บ้านฟางก็เป็นได้แค่เพิง เป็นบ้านพักชั่วคราว ถ้าเจอหมาป่าเป่าทีเดียว มีเฮ... ถ้าเจอความผันผวนไม่แน่นอนในระดับ Micro เช่น กิจการทำได้ไม่ดี ไม่เข้าเป้า เจอคู่แข่งใหม่ๆ ที่ใหญ่กว่า ที่แข็งกว่า กระโดดเข้ามาซัด มาเล่นด้วย บ้านเราอาจจะพังได้

การลงทุนหุ้นเทคที่ขาดทุน ที่เราหวังว่าธุรกิจของเราจะ Scale ขึ้นไปแล้วเกิด Network Effect กลายเป็น Winner Take Most/All เป็นอะไรที่อันตรายมาก เพราะ คนอื่นๆ เค้าก็มองเห็นเหมือนกันและพร้อมที่จะกระโดดเข้ามาแย่งชิงเค้กก้อนโต ทั้งระหว่าง Start-Up ด้วยกันเอง หรือ Big Tech ที่อาจจะลงมาเล่นด้วย กิจการพวกนี้ถ้าดูไม่ดี เลือกผิด โอกาสตายจะสูงมาก เพราะ ในเมือตลาดเป็น Winner Take All แสดงว่าผู้ชนะจะมีน้อยมากในขณะที่คู่แข่งคนอื่นตายหมด การที่เราคิดว่าหุ้นเทคที่ขาดทุนในวันนี้จะกำไรในอนาคตได้ ผมคิดว่าโอกาสผิดมีมากกว่าถูก กิจการที่เราคิดว่าเป็นเพียงแค่ 1 เดียวในตองอู เป็นผู้นำ มีแค่ตัวนี้เท่านั้นที่มีการซื้อขายในตลาด จริงๆ แล้วเราอาจจะแค่มีองค์ความรู้ มีข้อมูล ที่สามารถเห็นได้แค่นั้น แต่จริงๆ แล้วคู่แข่งมีมากกว่านี้อีกเยอะ อาจจะอยู่นอกตลาด อาจจะเป็นบริษัทลูกอยู่ในบริษัทใหญ่ หรืออาจจะอยู่ในต่างประเทศ หรืออาจจะเป็นคนที่มาทีหลังที่ทำได้ดีกว่า

ในช่วงที่ตลาดดีๆ เงินท่วม เงินล้น การลงทุนในกิจการที่ขาดทุนก็คงจะยังไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า กิจการที่คุณลงทุน คือ Amazon.com ไม่ใช่ Pet.com

หรือถ้าคุณมั่นใจว่ากิจการที่คุณลงทุนคุณภาพดี แข็งแรง สามารถรอดพ้นผ่านวิกฤตไปได้ ราคาที่คุณซื้อมันสมเหตุสมผลไหม ตัวอย่างเช่น กิจการอย่าง EMC ที่เค้าฮิตๆ เล่นกันช่วง dot com แม้ว่าจะผ่านฟองสบู่แตกไปได้ แต่ก็ไม่เคยกลับไปที่ High เก่าแถวๆ 100 USD สุดท้าย EMC ถูก Dell ซื้อออกไปที่ประมาณ 30 USD ในปี 2016 แม้ว่าจะกิจการจะรอด แต่ถ้าคุณซื้อ EMC ที่ High ทนถือไป 16 ปี คุณก็ยังขาดทุนอยู่ 70% อยู่ดี

การเรียน Valuation เหมือนกับการ Upgrade บ้านของเราให้กลายเป็นบ้านไม้ การลงทุนของเรา เราจะรู้ชัดมากขึ้นว่า ราคาที่เราซื้อมันสะท้อนอนาคตอะไรอยู่ข้างในบ้าง ถ้าเกิดคู่แข่งเข้ามา ทำให้ Growth Projection ของเราแย่ลง และทำให้ Valuation ของเราเปลี่ยนไป มันเปลี่ยนไปขนาดไหน เรายังถือต่อได้ไหม หรือจำเป็นต้องรีบขาย เปลี่ยนตัว หรือถ้าราคาขึ้นหรือลงหนักๆ จริงๆ แล้วเราควรที่จะ Take Action อะไรกับมันกันแน่ การถือหุ้นลงทุนจะได้รับอะไรตอบแทนกลับมาในระยะยาว

ดังนั้นการที่เรามี Valuation ประกอบกับ Story จะช่วยให้เราเผชิญกับหมาป่าได้ดีขึ้น หมาป่าไม่น่าจะเป่าบ้านเราพังได้ แต่ถ้าเกิดว่าเราเจอกับแผ่นดินไหว หรือ พายุไต้ฝุ่นล่ะ บ้านไม้ของเราจะเอาอยู่ ไหวหรือไม่

ผมเชื่อว่าการลงทุนที่แข็งแรงต้องประกอบด้วย ขา 3 ข้าง เก้าอี้ที่มีขาน้อยที่สุดต้องมี 3 ขา รถที่มีจำนวนล้อน้อยที่สุดที่สามารถทรงตัวได้ ต้องมี 3 ล้อ องค์ประกอบอันสุดท้ายที่ผมคิดว่าจะ Upgrade บ้านอีกครั้งให้กลายเป็นบ้านอิฐ คือ Portfolio/Money Management กับ Risk Management ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ Diversify การจัดสัดส่วนของ Port กลยุทธ์ในการปรับพอร์ต การมองความน่าจะเป็น Risk/Reward ของกิจการในพอร์ตแต่ละตัว แล้วปรับหน้าตักในการลงทุนให้เหมาะสม อาจจะใช้ Kelly Criterion ตลอดจนการบริหารความเสี่ยง อาจจะทำ Monte Carlo Simulation การใช้ Derivatives ในการป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต ฯลฯ

ขาที่ 3 นี้เป็นอะไรที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและประสบการณ์มากๆ ปรัชญา หลักการ แนวทางในการลงทุน ตลอดจนความเข้มแข็งของสภาพจิตใจ การจัดการอารมณ์ มีผลต่อการเลือกกลยุทธ์ Portfolio/Risk Management ที่เหมาะสม เลยทำให้แนวคิดนี้ ถ้าถูก Standardize ออกมาก็จะมีแค่เรื่อง Portfolio Optimization ภายใต้สมมติ Efficient Market สำหรับคนที่ปรัชญาการลงทุนไม่เชื่อเรื่อง Efficient Market แบบนักลงทุนแนว VI จำเป็นต้องปรับแต่งเครื่องมือส่วนนี้กันเอง ถึงขนาดที่ส่วนนี้แหละเป็นส่วนที่ชี้เป็นชี้ตายถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของนักลงทุน แม้ว่าจะลงทุนในหุ้นตัวเดียวกัน ลักษณะพอร์ตคล้ายๆ กัน ก็ตาม

ขาที่ 3 นี้อาจจะไม่ได้เรียนภายใต้เนื้อหาของหลักสูตรนี้ แต่ถ้ายังไม่มีขาที่ 2 หรือ ขาที่ 2 ยังไม่แข็งแรง ผมว่าอย่าพึ่งไปหาขาที่ 3 เลยครับสำหรับ VI แต่ถ้าไม่ใช่ VI หรืออาจจะไม่อยากเอาดีกับขาที่ 2 จะข้ามไปขาที่ 3 เลย ก็โอเคครับ มี 2 ขา ยังไงก็ดีกว่ามี 1 ขา บ้านไม้ยังไงก็ดีกว่าบ้านฟาง

แต่ไม่ว่าจะเป็นบ้านฟาง บ้านไม้ หรือบ้านอิฐ เราต้องเป็นคนลงแรงสร้างเองครับ ไม่มีเทวดาที่ไหนมาเสกให้คุณ คุณอาจจะซื้อหุ้นตามเซียนได้ แต่เวลาพายุเข้า แผ่นดินไหว เซียนเค้าก็ยุ่งกับการหนีตาย เอาตัวรอดเหมือนกันครับ

------------------------------------------------------------------

ถาม ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ฟังไม่ค่อยได้ อ่านก็ไม่ค่อยเป็น

ตอบ โชคดีของยุคนี้มากๆ ครับ ที่อาจารย์เค้าเผยแพร่การสอนผ่าน YouTube ใน YouTube สำหรับคนที่ฟังภาษาอังกฤษไม่เก่ง เราสามารถชะลอความเร็วในการพูดของอาจารย์ลง แล้วอ่าน Subtitle ตามไปช้าๆ

สำหรับคนที่ภาษาอังกฤษอ่อนแอมากๆ ใน YouTube บน Computer เราสามารถกดให้ YouTube แปล Subtitle ภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยได้ ถึงการแปลจะงงๆ ไปบ้างในบางครั้ง แต่ก็คงช่วยได้มาก

---------------------------------------------------

ผมคิดว่าไม่มีโอกาสในการเรียน Valuation ที่ไทยตอนไหน ดีขนาดนี้อีกแล้ว... ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ นักลงทุนเน้นคุณค่า คงจะมองเห็นคุณค่าในโอกาสพิเศษแบบนี้เหมือนกับผม และร่วมเรียนไปด้วยกันครับ

มาเป็นนักเรียน Valuation ของอาจารย์ Aswath Damodaran รุ่น Spring 2021 ไปด้วยกันครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
อทิวัชร์
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 247
ผู้ติดตาม: 2

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ผมเข้าไปฟัง Investment Philosophy จบแล้ว ขอบคุณพี่มากๆที่แนะนำครับ
drsp
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 72

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ผมต้องขอขอบคุณคุณ picatos ที่โพสท์สุดยอดกระทู้นี้ขึ้นมา

ช่วยเปิดกะลาให้กบแก่ๆอย่างผมรู้ว่า

ตลาดหุ้นอเมริกานั้นกว้างใหญ่และลํ้าหน้าเพียงใดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นไทย

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากกระทู้นี้ที่พอนึกออกมีดังนี้


1.ตลอด10กว่าปีที่เล่นหุ้นมาผมไม่เคยใช้ dcf ประเมินหุ้นเลยสักตัว

เพราะอ่านเกี่ยวกับ dcf แล้วผมรู้สึกว่ามันต้องอนุมานมากเกินไป

ทั้งกระแสเงินสดที่ได้และ discount rate ที่ใช้

ถ้าตัวเลขฐานผิดแต่แรกแล้วประเมิน10ปีตัวเลขที่ได้ยิ่งผิดมหาศาล

แต่พอดูอจ. Asawath Damadoran แกทําผมว่าดูน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งทีเดียว

ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีอย่างไม่น่าเชื่อที่แค่ใช้ P/E P/B roe margin

และการขยันติดตามข้อมูลหุ้นแค่นี้

สามารถทํากําไรได้พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวโดยไม่ต้องทํางานประจํามานานขนาดนี้

ต้องขอบคุณตลาดหุ้นไทยที่ยังไม่ efficient เท่าอเมริกา

ไม่เช่นนั้นผมคงต้องทํางานประจําจนเกษียณ



2.ผมรู้สึกประะทับใจในตัวอจ. AD มาก

ท่านทุ่มเททั้งชีวิตให้กับการ valuation จนผมเชื่อว่าเก่งระดับต้นๆของโลก

แทนที่จะใช้ความรู้ที่มีหาเงิน

ท่านกับทุ่มเทชีวิตแจกจ่ายความรู้ฟรีๆเป็นวิทยาทาน

ผมว่าท่านมีจิตใจสูงส่งอย่างหาได้ยากมากในยุคปัจจุบัน



3.ผมนึกถึงที่ Munger พูดว่า

สิ่งเดียวที่ผมอยากรู้ว่าคือผมจะตายที่ไหน

แล้วผมจะไม่ไปที่นั่นตลอดชีวิต

ผมรู้เลยว่าถ้าไปอเมริกาตอนนี้ผมตายแน่นอน

แต่มันมีควาสนุกท้าทายที่เย้ายวนมาก

ผมคิดว่าจะให้เวลาตัวเองสัก1-2ปีหาความรู้ที่จําเป็น

ถ้ามั่นใจว่าไปแล้วไม่ตายแน่

ผมอาจแบ่งเงินบางส่วนไปอเมริกาบ้าง

ไม่ใข่เพื่อผลตบแทน แต่เพื่อความสนุกและอยากรู้อยากเห็นล้วนๆ



ปล.เกือบ 10 ปีก่อนผมซื้อหนังสือ Investment Valuation ของอจ. AD

จาก Amazon จําได้ว่าหลักพัน หนังสือหนา 800 กว่าหน้า

ผมอ่านไป 20 กว่าหน้ายอมแพ้เพราะไม่รู้เรื่องเลย

เป็นหนังสือที่ซื้อแล้วเสียดายเงินที่สุด

ตอนนี้รู้แล้วว่าผมคือไก่ได้พลอย

ตั้งใจว่าจะอ่านจนจบให้ได้



สุดท้ายอยากบอกว่ากระทู้นี้มีคุณค่ามหาศาล

ผมอยากให้มันอยู่ค้างในหน้า value investingไปนานๆ

ไม่อยากให้มันตกหล่นเลือนหายไปตามกาลเวลา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tanukicho
Verified User
โพสต์: 216
ผู้ติดตาม: 1

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ผมไม่เคยได้ยินชื่อแกเลย

แต่พอกดเข้าไปดู อ้าวเคยกดติดตามในยูทูป ลองนึกดูช่วงหนึ่งอยากฝึกภาษาอังกฤษกับลงเรียนคอร์สฟรีออนไลน์

อาจารย์แกน่าจะสอนใน edx ด้วย น่าจะหลายปีแล้ว เราเจออาจารย์ดี แต่ตัวเองไม่ตั้งใจเรียนเอง เลยไม่ได้สนใจอะไร เพราะช่วงนั้นคิดว่าฝึกในตลาดจริงได้ความรู้ และประสบการณ์มากกว่า

ใจเรามันเปิดไม่มากพอมากกว่า ego ในตัวเองมันมากเกินไป
“ กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่เมื่อขาย ”
Cr.Richdad
mix357
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 21

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

สวัสดีครับ ผมอยากรบกวนถามคุณ picatos เกี่ยวกับการ access Virtual libraryต้องเข้าไปที่ไหนอย่างไรบ้างครับ ผมกำลังพยายามหา paper,Research ดีๆอ่านแต่หาไม่ได้เลยครับตอนนี้ ได้อ่านคุณ picatos เขียนถึงแล้วอยากเข้าถึงมากๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Peter1011
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 105

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

เวปอจ. ดู webcast investment philosophy ไม่ได้ เป็นมาสองสามวันแล้ว มีใครเป็นบ้างครับ
To try not to lose money in stocks is when you know what you own and why you own it so that you can buying things well and own a great company at a fair price, therefore the time to sell it is - almost never!
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

mix357 เขียน:
จันทร์ มี.ค. 29, 2021 12:27 am
สวัสดีครับ ผมอยากรบกวนถามคุณ picatos เกี่ยวกับการ access Virtual libraryต้องเข้าไปที่ไหนอย่างไรบ้างครับ ผมกำลังพยายามหา paper,Research ดีๆอ่านแต่หาไม่ได้เลยครับตอนนี้ ได้อ่านคุณ picatos เขียนถึงแล้วอยากเข้าถึงมากๆครับ
https://guides.nyu.edu/vbl/analyst-reports

ลองดูใน Thomson ONE ครับ แต่คงต้องลงเรียนอะไรสักอย่างกับ NYU ก่อนมั้งครับ ถึงจะ Access ได้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
VLykanZ
Verified User
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆนะครับ ผมเคยซื้อ The Little Book of Valuation ของอาจารย์มาอ่านแบ้วลองทำตาม ผมก็รู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มากๆ

ตอนนี้หุ้นไทยผมก็มีใช้ DCF บ้างอยู่ครับ แต่ถือไปก็ท้อใจไปเพราะมีความกังวลว่าตลาดจะมองไม่เหมือนเรา เพราะในเล่มอาจารย์เคยเขียนไว้ “ไม่ตลาดก็คุณนี่แหละที่เป็นฝ่ายผิด หรืออาจจะผิดทั้งคู่ก็ได้”

พอได้ศึกษา วิธี DCF เป็นวิธีที่นิ่งมากเลยครับ ผมรู้สึกหลงไหลมากๆ เพราะมันเป็น Intrinsic Value ไม่ใช่ Relative Value

หลังจากอ่านกระทู้นี้ผมมีไฟในการหาหุ้นมา DCF เลยครับ เคยมีความคิดอยากไปหุ้นนอก แต่ด้วยความที่พอร์ตยังเล็กกับภาษาไม่แข็งกลายเป็นข้อจำกัดตัวเอง ตอนนี้เริ่มอยากลองหยิบหุ้นเทคนอกมา Valuation แล้วครับ!!!
นิ่งให้พอ รอให้เป็น จะเห็นผลเอง
โพสต์โพสต์