หน้า 1 จากทั้งหมด 1

10 trend technology โลกปี2021 by พี่เสือใหญ่

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 12, 2021 7:08 am
โดย amornkowa
10 เทรนด์​เทคโนโลยี​ของโลกในปี​ 2021​ โดย​ Alibaba​ DAMO​ Academy
โดยพี่เสือใหญ่ หรือ ศาสดา
1.เซมิคอนดักเตอร์รุ่นที่​ 3 (third-generation semiconductors)

แกลเลียมไนไตรด์และซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นวัสดุอันทรงพลัง​ที่สำคัญในอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์แบบ Wide Band Gap หรือที่เรียกว่าเซมิคอนดักเตอร์รุ่นที่สาม​ วัสดุใหม่เหล่านี้สามารถใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเดิม​ ซึ่งทนทานต่อไฟฟ้าแรงสูง, อุณหภูมิที่สูงและรังสีที่สูงขึ้น

ความก้าวหน้าล่าสุดในการผลิตวัสดุและอุปกรณ์จะทำให้เซมิคอนดักเตอร์รุ่นที่​ 3 มีราคาถูกลงสำหรับการนำไปใช้ในตลาด ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมากในอุตสาหกรรม​ต่างๆ​ เช่นการสื่อสาร 5G, รถยนต์พลังงานใหม่, ระบบส่งไฟฟ้าแรงดันสูง และ data center จากเมื่อก่อนที่ใข้กับงานเล็กๆเท่านั้น

2. ยุคต่อไปของ​ Quantum​ Computing

การแก้ไขความพลาดของ​ Quantum​ และประโยชน์ของการประมวลผลแบบ​ Quantum​ จะมีความสำคัญที่สุดในยุคหลัง Quantum Supremacy

ปี 2020 เป็นปีแรกที่โลกประสบความสำเร็จในการนำ​ Quantum​ Computer​มาใช้แก้ปัญหาที่โดยปกติแล้วไม่สามารถแก้ได้ด้วยคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือที่เรียกว่า Quantum Supremacy

ในปี 2020 นักลงทุนทั่วโลกได้หลั่งไหลเข้าสู่วงการ​ Quantum​ Computing​ เทคโนโลยีและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมากและแพลตฟอร์มทางด้าน​ Quantum​ Computing​ จำนวนมากได้รับความนิยม

ยุคใหม่ของ​ Quantum​ Computing​ ในปี​ 2021 และหลังจากนั้น​ จะต้องให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรได้ทำงานร่วมกัน​ ในระดับวิทยาศาสตร์​ นักวิจัยต้องแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดทาง​ Quantum​เพื่อปรับปรุงความแม่นยำในการคำนวณและความน่าเชื่อถือของ​ Quantum​ หากไม่มีิสิ่งเหล่านี้​ Quantum​ ก็จะใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

ส่วนวิศวกรก็จำเป็นต้องระบุคุณค่าที่แท้จริงของโซลูชันที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก​ Quantum​ และทำให้สามารถใช้งานจริงได้​ เพื่อเปลี่ยนจินตนาการ​ให้กลายเป็นความจริงให้ได้

3. วัสดุคาร์บอนแบบใหม่​ จะสามารถสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยืดหยุ่น​ ให้ประสิทธิภาพที่เสถียร​ เแม้จะเสียรูปร่างไป​เช่น​งอ, พับและยืด เป็นที่ต้องการในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก​แบบสวมใส่​และหน้าจอที่มีความยืดหยุ่น ในอดีตวัสดุเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ​ จึงไม่สามารถแข่งขันกับวัสดุที่ทำจากซิลิกอนแข็งซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์มากกว่าได้

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการพัฒนาที่ก้าวล้ำในวัสดุที่ทำจากคาร์บอน​ ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น​ จึงสามารถนำมาใช้แทนซิลิกอน​ได้แล้ว

เช่นปัจจุบันท่อคาร์บอนระดับนาโน​ ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตแผงวงจรรวมขนาดใหญ่​ ที่ให้สมรรถนะการทำงานดีกว่าวงจรซึ่งผลิตจากซิลิกอนในขนาดเดียวกัน

นอกจากนี้การ์ฟีน (Garphene) ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนที่มีศักยภาพสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น ก็สามารถผลิตปริมาณมากได้แล้ว

4. การใช้​ AI ช่วยให้พัฒนา​ยาและวัคซีน​ทำได้อย่างรวดเร็ว​ยิ่งขึ้น

เทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อวิเคราะห์​ภาพจาก​ CT Scan​และจัดการข้อมูลทางการแพทย์​ อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวัคซีนและการวิจัยทางคลินิกของยายังอยู่ในขั้นทดลอง

แต่ในปัจจุบัน​อัลกอริธึม AI ใหม่ๆผนวกกับพลังในการประมวลผลที่กำลังก้าวสู่จุดสูงสุดใหม่​ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การวิจัยพัฒนายาและวัคซีนซึ่งก่อนหน้านี้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูงมาก​ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว, มีประสิทธิภาพ​และถูกต้องมากยิ่งขึ้น

เช่น การคัดกรองความเสี่ยงของคนจำนวนมาก, การสร้างแบบจำลองของโรค, การระบุผู้ติดเชื้อ, การคิดค้นสารต้นแบบ และการพัฒนายาต้นแบบ โดยการนำมาใช้งานแบบบูรณการจะลดงานที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิจัยและพัฒนา ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือประชาชนทั่วไปที่จะได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์และมียาที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

5. ขยายขอบเขตของการเชื่อมต่อกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์​และจักรกล เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกายมนุษย์

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสมองของมนุษย์​์(Brain-computer interface) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันในยุคต่อไป​ ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์​ เทคโนโลยีนี้เป็นหลักในการผลักดันสาขาวิชาวิศวกรรมประสาท(neural engineering)

โดยจะวิเคราะห์การทำงานของสมองมนุษย์ในมุมที่ลึกขึ้น การเชื่อมต่อระหว่างสมองและคอมพิวเตอร์นี้สามารถสร้างเส้นทางการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมองและอุปกรณ์ภายนอก โดยจะรับข้อมูล วิเคราะห์ และแปลสัญญาณสมอง เพื่อใช้ในการควบคุมเครื่องจักร

ในอนาคตเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องจักรกับสมองของมนุษย​์จะช่วยให้สามารถควบคุมแขนกลหุ่นยนต์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยที่ยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน แต่ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวได้สามารถ​เอาชนะข้อจำกัดทางร่างกายนี้ได้

6. AI​ เข้ามาช่วยในระบบบริหาร​จัดการ​ข้อมูลโดยอัตโนมัติ​ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ในโลกยุคดิจิทัลทุกวันนี้ข้อมูล 1.7 เมกะไบต์ถูกสร้างขึ้นในทุกวินาทีโดยทุกคนตามสถิติจาก Domo แพลตฟอร์มเก็บสถิติบนระบบ​ Cloud

การจัดการและประมวลผลข้อมูลแบบดั้งเดิมขาดความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการรับมือกับความท้าทายด้านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การใช้​ AI​ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทุนการประมวลผล, การจัดเก็บ, การดำเนินการ​ และการบำรุงรักษา

ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการประมวลผลแบบ​ Cloud และการเติบโตของปริมาณข้อมูลอย่างมหาศาล​ ทำให้เกิดความท้าทายที่น่าวิตกในด้านระบบประมวลผลข้อมูล และค่าใช้จ่ายเพื่อเก็บข้อมูล รวมถึงการบริหารจัดการคลัสเตอร์ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบดั้งเดิม

ระบบบริหารจัดการข้อมูลที่สามารถเรียนรู้​ได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนและหลากหลาย ดังนั้นระบบบริหารจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติด้วย​ AI จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของการประมวลผลข้อมูลในอนาคต

AI​ และระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองจะถูกนำไปใช้ในหลายด้าน เช่น การแยกข้อมูลที่ใช้งานบ่อยและไม่ค่อยได้ใช้ออกจากกัน, การตรวจจับความผิดปกติของข้อมูล, การสร้างโมเดลอัจฉริยะ, การวางแผนทรัพยากร, การปรับพารามิเตอร์, การทดสอบความทนทานของระบบ และระบบ Index​Recommendation

วิธีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการคำนวณ, ประมวลผล, จัดเก็บ, การดำเนินงานและบำรุงรักษา ทำให้ระบบบริหารจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเองสามารถเกิดขึ้นได้

7. เทคโนโลยี​ Cloud-Native จะพลิกโฉมระบบ​ IT

ในอนาคตชิป, แพลตฟอร์มการพัฒนา, แอปพลิเคชั่นและแม้แต่คอมพิวเตอร์จะอยู่บนระบบ​ Cloud ทั้งหมด

วิธีการหรือรากฐานทางสถาปัตยกรรมประเภทนี้​ ช่วยลดอุปสรรคในการพัฒนาแอปบน​ Cloud ซึ่งหมายถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว, ความสามารถในการปรับขนาดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว, ​การกระจายข้อมูลและการเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อมูลสำหรับวิศวกร

สถาปัตยกรรมนี้ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการและใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และประมวลผล​ Cloud ที่มีหลายแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สถาปัตยกรรมที่รองรับระบบ​ Cloud ได้ตั้งแต่ต้น ทั้งระเบียบวิธี, ชุดเครื่องมือ, ขั้นตอน, ผลิตภัณฑ์ และเทคนิค ทำให้​Developer​ ไม่ต้องกังวลและสามารถใช้เวลาไปกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่เท่านั้น

ในอนาคตทั้ง​ Chip แพลตฟอร์มการพัฒนา แอปพลิเคชั่น และแม้แต่คอมพิวเตอร์ จะอยู่บน​ Cloud ทั้งหมด​ ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่รองรับระบบ​ Cloud ตั้งแต่ต้นนี้มีมากมาย

เช่น เทคโนโลยีนี้ช่วยจัดระเบียบเครือข่าย, เซิร์ฟเวอร์ และระบบปฏิบัติการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผล, เพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี, ลดข้อจำกัดในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน​ Cloud และขยายขอบเขตการใช้งานแอปพลิเคชั่น

ตัวอย่างเช่นในเทศกาลวันคนโสด​ที่ผ่านมานี้ Alibaba ได้ใช้เทคโนโลยี​ Cloud-Native เพื่อรองรับคำสั่งซื้อกว่า 583,000 รายการต่อวินาที เมื่อรวมกับการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ, โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล​ ทำให้สามารถจัดการธุรกรรมอันมหาศาล​ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่หยุดทำงาน(zero downtime)

8. เกษตรกรรม​จะถูกขับเคลื่อนด้วย​ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ

เทคโนโลยีดิจิทัลยุคใหม่รวมถึง Internet of Things, AI และ​ Cloud Computing กำลังถูกนำมาใช้ทางการเกษตร​ เพื่อแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างการวางแผนการผลิตและการค้าปลีก

การทำเกษตรแบบดั้งเดิมต้องประสบปัญหาจากการใช้พื้นที่อย่างไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้ขาย ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลรุ่นใหม่ ซึ่งรวมถึง​ Internet​ of​ Things​(IoT), AI, Big Data และ​ Cloud Computing​ ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร นับตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

เซ็นเซอร์รุ่นใหม่ช่วยเก็บข้อมูลจากไร่นาได้แบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์​ Big​ Data​และ​ AI​ ช่วยผลักดันการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ทางเกษตรกรรม เกษตรกรจึงสามารถตรวจดูพืชผล และปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างแม่นยำ รวมถึงจัดสรรทรัพยากรได้ตามความต้องการ

นอกจากนี้เทคโนโลยี เช่น 5G, IoT และ​Blockchain​ ยังถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมและติดตามการขนส่งพืชผลทางการเกษตร และสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยและการขนส่ง เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยเหล่านี้ทำให้เกษตรกรรมจะไม่ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศอีกต่อไป แต่จะถูกขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะแทน

ตัวอย่างเช่น​ Alibaba​ ได้ใช้เทคโนโลยี​Blockchain​ เพื่อช่วยในการติดตามความปลอดภัยและการขนส่งสินค้าเกษตรในจีน

9.​ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Industrial Intelligence)​ จะกลายเป็นปรากฏการณ์ทั่วทั้งอุตสาหกรรม

Industrial Intelligence คือการใช้ AI และเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม การนำ AI มาใช้อย่างสมบูรณ์สำหรับ บริษัทต่างๆอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและซับซ้อน​ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับทุกอย่างตั้งแต่เครื่องจักรที่ต้องปรับปรุงใหม่ไปจนถึงการปรับโครงสร้างการดำเนินงาน Industrial​ Intelligence​ จะช่วยให้ผู้ประกอบการรอดและเจริญ​ก้าวหน้าในยุคที่​ COVID-19​ ระบาด

ที่ผ่านมา​ Industrial​ Intelligence​ ถูกนำมาใช้ในงานบางประเภทเท่านั้นเนื่องจากมีราคาสูงและซับซ้อน และข้อมูลจากฝั่งผู้ผลิตแยกก็ส่วนกัน​ อีกทั้งระบบนิเวศ​ก็ยังไม่พร้อม

แต่หลังจากการระบาดของ​ COVID-19​ในปี​ 2020 ความยืดหยุ่นอย่างมากของเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้องค์กรต่างๆหันมาสนใจ จนทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากมาย

ปัจจัยเหล่านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงให้​ Industrial​ Intelligence​ ก้าวกระโดดจากการใช้งานที่กระจุกตัวอยู่แค่ในบางอุตสาหกรรม​ ไปเป็นการใช้งานในวงกว้างทั้งอุตสาหกรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีระบบ​ IT​ ครอบคลุม​อย่างเต็มที่แล้ว เช่น​ อุตสาหกรรมยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เสื้อผ้าคุณภาพสูง, เหล็ก, ปูน และเคมี

Industrial​ Intelligence​ จะถูกนำไปใช้ในทุกอุตสาหกรรม​และช่วยในการตัดสินใจในอุตสาหกรรมเหล่านั้นได้อย่างครบวงจร จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง และถูกประยุกต์ใช้กับซัพพลายเชน, การผลิต, การบริหารจัดการสินทรัพย์,​ โลจิสติกส์ และการขาย

ตัวอย่างเช่น​ Xunxi โรงงานดิจิทัล​แบบ New Manufacturing ของ​ Alibaba รวมเอา AI และการปรับปรุงระบบดิจิทัลในทุกด้านของการดำเนินงาน การใช้อัลกอริทึมและเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมขนาดใหญ่และแจ้งการตัดสินใจได้ในแบบ​ closed-loop สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

10. ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะสำหรับเมืองอัจฉริยะ​ จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเมืองในอนาคต

โครงการเมืองอัจฉริยะ(Smart City)​ เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อทศวรรษก่อน และจุดประกายให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

อย่างไรก็ตามเมื่อต้องรับมือกับการระบาดของ​ COVID-19​ เมืองอัจฉริยะหลายแห่งต้องประสบปัญหา ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operations Center) จึงได้รับการยอมรับ และถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้ทรัพยากรข้อมูล, สนับสนุนบริการสาธารณะและการดูแลเมืองทั่วโลกได้ในแบบเรียลไทม์

นอกจากนี้ Artificial Intelligence of Things (AIoT) ร่วมกับ​การประมวลผลเชิงพื้นที่(Spatial Cloud Computing)​ ยังถูกพัฒนาและนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย

โดยเทคโนโลยีการประมวลผลเชิงพื้นที่ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะสามารถมองแต่ละเมืองเป็นระบบเดียวกัน และนำเสนอความสามารถด้านบริการที่ครอบคลุมทั้งเมืองได้ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเมืองในอนาคต

DAMO ACADEMY UNVEILS TOP 10 TECH TRENDS SHAPING 2021
https://www.alizila.com/damo-academy-un ... ping-2021/

#Alibaba​ #AlibabaDAMOAcademy​ #AI​ #เทคโนโลยีโลก2021 #อาลีบาบา