รีวิวเนื้อหา คอร์สการลงทุน FBI ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
doctorwe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

รีวิวเนื้อหา คอร์สการลงทุน FBI ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รีวิวเนื้อหา คอร์สการลงทุน FBI ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล (1 ส.ค. 2563)
Youtube-02.jpg
คอร์สการลงทุน FBI (Fund Flow & Business model for Investment) เป็น คอร์สการลงทุน ที่่บรรยายโดย ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในผู้เชี่่ยวชาญอันดับต้นๆ ทางด้าน Fund Flow และ Business Model ของเมืองไทย

เทคนิคการหาหุ้นตั้งสำรอง (Provision)

เทคนิคอย่างหนึ่งที่่ ดร.วิศิษฐ์ มักจะใช้นั่นก็คือ การเล่าเรื่่องและให้บรรดานักศึกษาวิชา การลงทุน คาดเดาว่าเป็นหุ้นตัวไหนกันแน่? ในการบรรยายครั้งนี้ก็เช่นกัน ดร.วิศิษฐ์ได้กล่าวถึง ข้อดีของบริษัทที่ตั้งสำรองสำหรับการตัดค่าใช้จ่าย (Provision) ไว้สูงๆ ดังนี้ครับ

“มีลูกศิษย์ผมคนหนึ่ง ตอนนี้ก็เป็นระดับสามสี่่พันล้านแล้ว เขาบอกว่าเขาฟังเสร็จแล้ว เขาก็ลองไปหาซื้อหุ้นตัวที่ถูกตั้ง Provision เยอะเยอะ ซึ่งพบว่า มีบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทบัตรเครดิตที่่แยกตัวออกมาจากธนาคารแห่งหนึ่ง แล้วเจ้าบริษัทนี้ประกาศ earning ออกมาแย่มากเลย
ลองพยายามนึกดูนะครับว่า เป็นหุ้นบริษัทไหน?

ซึ่งต่อมาพบว่า Provision ของบริษัทนี้สูงมากๆ เมื่่อนำ Operating Expense, SG & A expense หารด้วย Sales
ออกมาก็ประมาณ 60% ของ Sales ขณะที่แบงก์ทั่วไป บริษัทบัตรเครดิตทั่วไป นอนแบงค์ทั่วไป อยู่ที่่ประมาณ 30% ของ Sales เท่านั้นเอง คิดว่าบริษัทเครดิตการ์ดแห่งนี้จะแย่ไหมครับ? โอ้โห บริหารกันยังไง? ค่าใช้จ่ายตั้งเยอะ

แต่พอไปดูไส้ในกลับพบว่า…
ไอ้พวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย
พวกอะไรต่างๆเหล่านี้ ถูกบันทึกด้อยค่าไปหมดแล้ว

ดังนั้น Going Forward Operating Expense ตรงนี้
ดูเหมือนว่ามันก็จะ ไม่มีโผล่มาอีกแล้ว ฉะนั้นกําไรก็จะเพิ่มขึ้น
เมื่อมียอดขายหรือ top line โตขึ้นเพียง 20%
แต่กำไรหรือ bottom line อาจโตถึง 50% ก็เป็นได้ ตรงนี้เข้าใจไหมครับ?”

ดร.วิศิษฐ์ ยังได้บรรยายเพิ่มเติมเกี่่ยวกับ บริษัทจดทะเบียนที่ชอบตั้ง Provision ในสัดส่วนที่สูงอีกบริษัทหนึ่ง…

“มีบริษัทกรุ๊ปอยู่แห่งหนึ่ง
กรุ๊ปนี้มีขายทั้งมือถือ มีบริษัทติดตามหนี้เสีย มีบริษัทเช่าซื้อ
และยังมีบริษัทลูกอีกแห่งหนึ่งขายแอร์ ทําลีสซิ่ง
นึกออกไหมครับว่าบริษัทไหน?
นอกจากนั้นยังพบว่า บริษัทลูกตัวหนึ่ง ได้ตั้ง Provision ไว้เป็นจำนวนเยอะมากเลย
สุดท้ายได้ตั้ง Provision เสร็จตั้งแต่ปีที่่ผ่านมา

พอปีนี้ Earning ก็ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
ราคาหุ้นขึ้นจาก 5 บาท มาเป็น 14 บาทกว่า
แถมระหว่างทาง…ยังมีแจก Warrant อีกด้วย แค่นี้พอนึกออกไหมครับว่า เป็นหุ้นของบริษัทอะไร?

นอกจากนั้น อย่าลืมว่าบริษัทนี้ยังให้ Warrant มาอีกด้วย
ราคา Warrant ของบริษัทนี้ขึ้นจาก 1 บาท มาเป็น 5-6 บาทเลยทีเดียว”

มุมมอง…เศรษฐกิจมหภาค

นอกจากนั้น ยังมีมุมมองของ ดร.วิศิษฐ์ เกี่่ยวกับเศรษฐกิจระดับโลก และผลกระทบต่างๆที่มีในระดับโลก และภายในประเทศไทย

“ตอนนี้ Retail sales ในโลกนี้แย่กันหมดเลย
แล้ว Retail sales นี่่คืออะไรครับ
ภาคค้าปลีก ภาคบริการ ค้าปลีกทั่วโลก ซึ่งติดลบกันถ้วนหน้า

พอมาดูภาคการเงิน ก็ต้องไปดูที่่ Credit Spread (Credit Spread คือ ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากพันธบัตรรัฐบาล โดยยิ่งอันดับเครดิตต่ำลง ส่วนต่างผลตอบแทนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อสิ่งที่ลงทุนมีความเสี่ยงสูงขึ้น นักลงทุนย่อมต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงเพิ่มขึ้น – Risk premium) ซึ่งช่วงแรกของวิกฤตโควิดครั้งนี้จะอยู่ที่่ประมาณ 10% ส่วน Credit Spread สมัย Lehman brothers ล้มตอน Subprime Crisis (ปี 2554) นั้น อยู่ประมาณ 17% ทีเดียว

แต่ช่วงหลัง Credit Spread กลับลดลงมาเหลื่อเพียงประมาณ 5% เท่าน้้น หมายถึงอะไรครับ? เศรษฐกิจแย่
แต่ว่าภาคสถาบันการเงินยังได้รับการปล่อยกู้ได้อยู่
นั่นคือเหตุผลว่า รอบนี้วิกฤตเศรษฐกิจ Real Economy ไม่ลามไปสู่ Financial Sector
นั่นคือข้อดีของรอบนี้เพราะ Real Economy พัง แต่ว่า Financial Sector ยังฟังก์ชันอยู่
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้ารอบนี้ Real Economy แย่
สถาบันการเงินแย่ไปด้วย มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ?
ลองดูซิครับว่า รอบนี้…เราโชคดีขนาดไหน?”

เข้าใจ… “หุ้นพลังงาน”

อีกตัวอย่างหนึ่ง ในคอร์สการลงทุนครั้งนี้ ที่่ทุกคนห้ามพลาดก็คือ การบรรยายเกี่่ยวกับ Business Model ของโรงไฟฟ้า Solar ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มหุ้นที่่ให้ผลตอบแทนดีที่่สุดของเมืองไทย

“นโยบายเรื่องเกี่่ยวกับการแจก PPA (Power Purchase Agreement) ของโรงไฟฟ้า Solar ที่่ระดับ 8 บาท ท่านทราบไหมครับว่า ตอนที่่ IPP (Independent Power Producer) ของโรงไฟฟ้า Solar ที่่ให้ค่า adder ที่่ 8 บาท เรารู้กันไหมครับว่า ผลิตไฟฟ้าออกมา 1 megawatt จะให้กําไรเท่าไรครับ?

ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจในเรื่่อง Clean Energy ซึ่งถ้าท่านเข้าใจ
ท่านก็จะสามารถทํา Valuation ของพวก Bgrim, Gulf, EA, GPSC ท่านทำได้หมดเลยนะครับ
และถ้าเกิดท่านเข้าใจลึกลงไปอีก ท่านก็จะรู้ว่าวันแรกที่ Gulf เพิ่งเข้าตลาดหุ้น รู้สึกว่า จะเป็นการเรียน FBI เมื่อประมาณสามปีที่่แล้วนะครับ
ผมเคยบอกไปว่า น่าซื้อมากเลย ราคาจองนั้นสี่สิบกว่าบาท
เปิด 57 บาท ลงไปต่ําสุด 51 บาทใช่ไหมครับ?
จากนั้นเราก็ไม่เคยเจอราคานี้อีกเลยใช่ไหมครับ?

จำได้ว่า… ตอนนี้พากันเฮโลไปซื้อที่่ 57 บาทกันหมดเลย
แต่พอราคากลับตกลงมาเหลือ 51 บาทเท่านั้น…ไลน์มาถามผมสายแทบไหม้เลย หลายๆคำถาม เช่น อาจารย์ Stop Loss ดีไหมครับ? ผมบอกไปว่า ให้ซื้อเพิ่มไปเลยครับ เพิ่ม..เพิ่ม..เพิ่ม
ในที่สุดทุกคนก็ไป exit แถวร้อยหนึ่ง ร้อยหนึ่งเสร็จ..ก็ไปสองร้อย
คราวนี้ กลับมาถามผมใหม่ว่า ทําไมอาจารย์ให้ผมขายที่่หนึ่งร้อย 5..5..5…

ขอผมเล่าเรื่อง Solar ก่อนนะครับ นโยบายท้องถิ่นนี่่..สำคัญที่่สุดครับ สมัยที่่มีการทํา Clean Energy นะครับ ก็มี adder ชุดแรกที่่ให้มาด้วยสูงถึง 8 บาทเชียว
หลังจากนั้น ก็ให้มาที่ 6.50 บาท จากนั้นก็เป็นลักษณะแบบ Feed-in Tariff เลย ที่่ประมาณ 4.44 บาท หรือ 4.40 บาทนี่่ครับ
คนที่ได้ adder ที่่ 8 บาทนี่่คุ้มที่่สุด
8 บาท บวกกับค่าไฟฐาน ค่าไฟฐานมันสามบาทกว่านะครับ
ท่านว่า 1 megawatt จะกําไรเท่าไรครับ? คำตอบคือ กำไรสูงถึง 14 ล้านบาทเชียวนะครับ

ส่วน adder ที่่ 6.50 บาทนั้น 1 megawatt กําไรก็ประมาณ 10 ล้านบาท และถ้าเป็น 4 บาทล่ะ 1 megawatt ก็จะเหลือแค่ 4-5 ล้านบาทเท่านั้นเอง ฉะนั้นสังเกตนะครับว่า คนที่ได้ adder ไป 8 บาทนี่่ จะคิดเป็นกำไรมากกว่า 90% เพราะมาจาก adder ล้วนๆเลยครับ
นั่นแสดงให้เห็นว่าอะไร? แสดงให้เห็นว่า นโยบายท้องถิ่น…เป็นเรื่่องที่สำคัญมากที่สุด”

เรียบเรียง: ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์ โครงการนักลงทุน CSI

(ถอดความจากการบรรยาย 2 ตอนแรก จากทั้งหมด 10 ตอน ของวันที่่ 1 สิงหาคม 2563)

ชมคลิปการบรรยายสดตอนที่่ 1 ได้ที่่ https://www.youtube.com/watch?v=dTZP97FpIkg
โพสต์โพสต์