3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20

โพสต์ที่ 1

โพสต์

3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20 Part1/2
แขกรับเชิญ คุณเผ่า,คุณโต,คุณหลิน / ผู้ดำเนินรายการ คุณสายไหม


หุ้นเทคฮอตมากๆ เติบโตในช่วง covid ขณะที่ S&P500 ติดลบอยู่ แต่ NASDAQ +16% จากต้นปี
หุ้นเทคดีจริงไหม มีความเห็นอย่างไรบ้าง?


คุณหลิน
3 เหตุผลหลัก ไม่ว่าจะมี covid หรือไม่มี หุ้นเทคก็เติบโตอยู่แล้ว

1. เป็นกลุ่มที่เติบโตเร็วสุดกลุ่มหนึ่ง เวลาลงทุนต่างประเทศ ดู dowjones 30 ตัวแรก
ไล่เรียงลงมา แต่ละตัวรายได้แทบไม่เติบโต หรือลดลงด้วย เช่น โค้ก
แต่ที่เป็นหุ้นเทคที่ยังเติบโตอยู่

2. covid เป็นตัวเร่ง
ทุกอุตสาหกรรมจะมี status quo bias
เคยชินกับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่อยากเปลี่ยนสิ่งใหม่
แต่ช่วง covid คนก็ได้ลองใช้ tiktok ประชุมผ่าน zoom
ทำให้บริษัทเหล่านี้เติบโตเร็วขึ้น ผู้ใช้งานมากขึ้น

3. crisis ครั้งก่อน จะเห็นว่าปี 2009 หุ้นที่ฟื้นได้ดีสุดคือกลุ่มเทค
เดือน มี.ค. ที่ผ่านมาหุ้นลงทุกตัว พอไปย้อนดูอดีตหุ้นกลุ่มเทคก็ขึ้นได้เร็วสุด
ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ outperform ขึ้นมา
ดูหุ้นกลุ่มเทคแล้วนึกถึงหนังเรื่อง the matrix
มีโลกความจริงกับโลกเสมือน พอเราศึกษาและใช้งานเทคไปเรื่อยๆ
แล้วลองคิดว่า โลกความจริงกับโลกเสมือนอันไหนสำคัญกว่ากัน
เรื่อง Social ทุกวันนี้ใช้ facebook เจอเพื่อนมากกว่าเจอในโลกความเป็นจริง
รู้ชีวิตเพื่อน interact กันบนนี้
เรื่องการทำงาน เราไปออฟฟิศเราก็ไม่ได้ต้องการออฟฟิศ เราทำงานบน ms365
ทำงานบน cloud ประมวลผลบนนั้น หลายๆอย่างถูกสร้างโลกเสมือให้เหมือนจริงขึ้นเรื่อยๆ

[Slide-Software is eating the world]
5 หุ้นที่มีมูลค่าสูงสุดปี 2001 Walmart,Citibank,Exon,Pfizer
เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี Market cap ผ่านไป แทบไม่ไปไหน
แต่หุ้นผู้ชนะในช่วงที่ผ่านมา market cap แซงขึ้นไปแล้ว (fb,ms,alphabet,amazon,apple)


คุณโต
ช่วง covid เป็นแรงเสริมหุ้นเทค
Zoom แต่เดิมคนต้องประชุมผ่านบริษัทก็ประชุมออนไลน์ได้ เติบโตหลาย 100%
Docusign สมัยก่อนต้องเซ็นเป็นกระดาษ ผู้บริหารต้องเข้าไปเซ็นในออฟฟิศมีหลายคน
ช่วยตอบโจทย์ covid ตัวนี้ก็เติบโตเยอะมาก
Servicenow เป็นคล้าย workflow ในองค์กร สามารถเก็บและ track ปัญหาอยู่ที่ใครแก้ไขหรือยัง
เป็นอีกตัวที่เติบโตเยอะมาก
ไม่รวมพวก ecommerce amazon, Alibaba, fooddelivery, shopify

นอกจากนี้ Fed ออกมาปั๊มเงินหลายแสนล้านก็ช่วยให้หุ้นเติบโตเยอะ
อยากให้ระวังหุ้นไหนที่สามารถเติบโตได้ในระยะยาว ไม่ใช่โตแค่ช่วงที่ fed pump เงิน
แล้วพอถอนเราก็จะขาดทุนได้


คุณเผ่า
อเมริกาแจกเงิน 1200 เหรียญ 2-3 รอบ ไปให้ทุกคน
มีคนที่อยากเล่นหุ้นเปิดพอร์ต robnihood ไปลอเล่นหุ้น ก็อาจมีเป็นแสนล้านได้
พอเป็นคนรุ่นใหม่ซื้อก็อาจเป็นพวกหุ้นเทค ก็ทำให้หุ้นขึ้นได้
แต่ก็ต้องมองว่าพื้นฐานมันดีจริง ไม่ใช่แค่ช่วง promotion
อย่างปี 2008 ที่อเมริกาพื้นฐานกระทบ หุ้น Finance ตกลงมา 10 เท่า แป๊บเดียวก็ขึ้นมา 2 เท่า
ซึ่งหุ้นหลายอุตสาหกรรมก็เด้งขึ้นแบบนี้ แต่จะมีแค่หุ้นบางกลุ่มที่มันเติบโตจริง ถึงสามารถขึ้นต่อไปได้
หลังจากอารมณ์แรงซื้อเข้ามาหมด หุ้นที่ไม่ perform จริงก็จะร่วงลง
อย่างช่วงนั้น apple / google / amazon ตอนนั้นขึ้นมาก็ไม่ตกลงมาอีก
เสียดายที่เคยขาย amazon ออกไปก็คิดว่าได้กำไรดีแล้ว
โชคดีหน่อยที่หลังจากนั้นได้ไปซื้อ booking ซึ่งเติบโตและมีกำไร
ตอนที่ซื้อ pe17-18 เท่า รายได้โต 30-40% กำไรโต 70-80%

ด้วยความเป็นนักลงทุนเราก็จะคิดเองไม่ได้ ต้องดูตัวเลขประกอบ
รายได้แต่ละ industry เป็นอย่างไร
กลุ่ม tech เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังโต 25% ต่อปี / YoY 19% / Q1’20 17%
ถ้าไปดูกลุ่มอื่น consumer stable ยังพอรอดได้ Q1/20 โต 4% จากปกติโต 3-5%
หรือร้านอาหารก็ยังพอจะรอดได้เป็นบวกนิดหน่อย ซึ่งปกติโต 9-10%
แต่ถ้าไปดูกลุ่มที่กระทบ Airline,hotel,apparel ติดลบ 20-30% ขณะที่อดีตโตได้ 8-10%

ถ้าไปเจาะดูหุ้นเทค
พวก AMZN,MSFT,GOOG ก็เป็นบริษัทที่โตดีอยู่แล้วและเป็นบริษัทขนาดใหญ่
Q1/20 โต 15-25% แต่ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนสูงๆ ก็ต้องไปดูบริษัทที่ขนาดกลาง-เล็กลงมา
อย่าง NFLX,TWLO,TEAM,DOCU,CRWD,ZM 20-40 Billion และอยู่ในช่วงกำลังเติบโต
พวกนี้ยังโต 20-30% ต่อปี จะเห็น ZM วิ่งขึ้นมาเยอะมาก รายได้ก็โตเป็น 100% คนใช้งานเพิ่ม 200%
ถ้าหารายได้จากกลุ่มนี้ได้ต่อเนื่องเขาก็จะเติบโตไปได้
จะเริ่มเห็นชัดว่าหุ้นเทคฉีกตัวจากหุ้นที่เป็น Brick & Mortar ซึ่งประชากรใช้หมดทั่วโลกแล้ว
แต่กลุ่มเทคเพิ่งมา และคนยังใช้ไม่เยอะ
ถ้าเป็นหุ้นเล็กๆ ไม่น่าใช้ถึง 10% ของโลก
อย่าง Netflix มี member 100-200 ล้านคน แต่โลกมี 2 พันล้านคน


ปัญหาคือจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นนี้จะอยู่ได้อย่างไรลง QE หรือ COVD จบไปแล้ว
ต้องดู Business model อย่างไร หรือมีแบบไหนที่น่าสนใจ?


คุณเผ่า
หุ้นเทคแบ่งเป็นหลายแบบ แล้วแต่คนคิด
e-commerce,social media, travel tech, time service
ซึ่งมีรูปแบบทำธุรกิจที่ต่างกัน

e-commerce ทำได้ 2 แบบ
- คุมทุกอย่างเองและขาย เช่น amazon,JD
- เป็นตัวกลางให้คนมาขายกัน เช่น Alibaba,ebay
อาจจะเก็บเงินจากค่าใช้ platform หรือ margin การซื้อขาย
ที่น่าสนใจ อย่าง amazon ที่หุ้นโตมาก แต่ขายของไม่ได้กำไรเท่าไร
กำไรหลักๆมาจาก AWS, Amazon prime ต้องไปดูไส้ในแต่ละตัว

Ad tech พวก google, facebook แย่งตาคนมาดูเวบไซต์
ต้องมีบริการฟรี ให้คนเข้ามาเยอะๆ อย่าง tiktok ให้คนมาเต้นมาดู
ตอนนี้ก็จะเห็น tiktok for business
เมื่อไรที่ใช้บริการเวบพวกนี้ไม่ได้จ่ายตังค์ จงรู้ไว้ว่าเราเป็นสินค้าเขา
เพราะเขาไปขายโฆษณาจาก demography ของเรา
Travel tech เป็นพวก booking.com/airbnb ที่ช่วยให้เราท่องเที่ยว จองโรงแรมได้ง่าย

>>คุณหลิน เสริม
cloud หรือ tech เป็นอีกโลกหนึ่ง ส่วนตัวใช้ใช้วิธี category หุ้นกลุ่มนี้
ด้วยการมองว่าโลกจริงมีอะไรโลกเสมือนก็ต้องมีแบบนั้น
ยกตัวอย่างเช่น คุณเผ่าบอกว่า amazon cloud ที่จริง cloud คือที่ดิน
ก็ต้องมี landlord ต่อมาก็มีคนไปสร้างห้าง-ecommerce
ไปสร้างโรงเรียน-edtech โรงพยาบาล-medtech
หรือ ไปสร้าง function ต่างๆ บนที่ดินใหม่
รวมไปถึงตำรวจบน cloud เช่น crowd strike เป็น security
ซื้อบริการยามออนไลน์
เวลาทำ model จะดูว่าโลกใหม่ที่กำลังสร้าง
ถ้าเรามากรุงเทพ ตั้งแต่สมัยอยุธยามายึดพื้นที่ก่อนก็สบายเลย
หุ้นแต่ละตัวมีความสำคัญมีการเติบโตไม่เหมือนกัน

คุณเผ่า
มองคล้ายๆกันเวลามองหุ้นเทค เอามาช่วยให้ชีวิตคนเราสะดวกสบายได้อย่างไร
วิธีหาเงินเหมือนเดิม แต่เขามาแทนที่อะไร
ยกตัวอย่าง booking มองว่าธุรกิจ travel อยู่มานานแล้ว
การจองตั๋วสมัยเด็กแม่ต้องพาไปจอง แต่ booking ทำให้ออนไลน์ได้ ถูกลง คนก็ต้องเข้ามาซื้อของถูก
Disrupt มาแทนที่ของเก่า ต้องดูว่า industry มีมูลค่าเท่าไร สร้างรายได้ / market cap เท่าไร
สมมติ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1 แสนล้าน ปัจจุบันหลัก 1 พันล้าน จะได้ market share 10%
เป็นไปได้ไหม นั่นคือโต 10 เท่าตัวทำได้ไหม แล้วบริษัทมี competitive advantage อะไร

หรืออย่าง รถไฟฟ้า EV เทสล่า
มีคนพูดถึงกันเยอะ เปรียบเทียบกับโตโยต้า ถ้าไปกินรวบอุตสาหกรรมรถยนต์ยุคเก่า
เทสล่าจะเติบโตไปได้เท่าไร

Business model มีหลายแบบ วิธีคิดอย่าทำให้ซับซ้อน
มองว่าเราคุ้นชินอุตสาหกรรมอะไร
อย่าง speciality retail เช่น blockbuster เช่าหนังสมัยก่อนก็เปลี่ยนเป็น Netflix
หรือ toy R us จะเปลี่ยนเป็น retail อะไรที่ขายของเล่น ไหม
หรือ Antivirus แบบเดิมจะมีอะไรเปลี่ยนไปทำแบบ as a service ไหม
หรือ AWS สมัยก่อนบริษัทจะทำเวบต้องไปซื้อ server ตัวละ 2 แสนก็ไม่ต้องแล้ว
สมัยซื้อ amazon cloudจ่าย 2-3 ร้อยเหรียญ


คุณโต
พวกผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องกับเทค ก็ได้ผลประโยชน์ เช่น ผู้ผลิตชิป,การ์ดจอ, nvidia
, intel,amd รวมถึงที่มีการสร้าง data centerมากขึ้น ,คนเล่น game online มากขึ้น
บริษัท EA ในอเมริกาก็ปรับขึ้นเยอะ
หุ้น subscription สมัยก่อนซื้อครั้งเดียวขาดทำ valuation ได้ยาก
หุ้นเทคลงทุนไม่ได้เพราะไม่รู้รายได้ในอนาคตเป็นอย่างไร
ตอนนี้เป็น stickiness ซื้อไปแล้วเก็บรายได้ทุกเดือน
โดยเฉพาะพนักงานในองค์กรใช้แล้วเปลี่ยนยาก
นักลงทุนให้มูลค่าหุ้นที่เป็น subscription ให้มูลค่าหรือ PE สูงกว่า

คุณเผ่า
แชร์เพิ่มเช่น มีดโกนหนวด ที่ปู่บัฟเฟตต์มองว่าเป็นหุ้นแข็งแกร่ง
แต่มีบริษัทชือ Dollor shave club จ่าย 1 เหรียญทุกเดือนแล้วจะส่งมีดโกนไปให้ทุกเดือน
ซึ่งปีที่บริษัทนี้เปิดมาส่งผลให้เป็นปีแรกที่ยิลเลตยอดขายตกลง
ตอนหลัง P&G ก็มาซื้อบริษัทนี้ไป
อีกอย่างที่น่าสนใจเทคโนโลยีไม่ใช่แค่โลกเสมือนที่อยู่บนจออย่างเดียว
แต่เป็น online to offline ด้วย อย่างมีดโกนก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามา
มีผลิตต้นทุนต่ำ จ่าย subscription
ต่อไปอาจมีแนะนำก็ได้ว่าต้องเปลี่ยนมีดโกนแล้วขึ้นมาที่แอพ
หรือขายรองเท้าออนไลน์ zappos ที่คนไม่คิดว่าจะขายได้ แต่ขายดีจนอเมซอนมาซื้อไป
ต่อไปก็คงมีอะไรแบบนี้เกิดขึ้นอีก และ capitalism ก็จะต้องไปทางนี้
เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเราเรื่อยๆ

คุณหลิน
Ceo บริษัท Saleforce พูดว่าธุรกิจไหน ไม่ว่าจะB2B หรือ B2C สุดท้าจะกลายเป็น B2B2C
หมายความว่าสมัยก่อนเป็นโรงงาน มีโรงงาน GM ผลิตรถ ขายผ่านดีลเลอร์
ดีลเลอร์ก็เอารถไปขายลูกค้าอีกที ซึ่ง GM ก็ไม่รู้ว่าลูกค้าพูดอะไร
แต่โมเดลที่ saleforce ใช้ทำให้ data flow ไหลจากลูกค้ากลับขึ้นมาที่บริษัทโดยตรง
อย่าง Tesla เหนือกว่า update ทุกวินาที
สามารถปรับได้ออนไลน์ทันที ไม่ว่าเราจะลงทุนหุ้นเทคหรือเปล่าก็ต้องเรียนรู้
มันอาจเข้ามาช่วยเรา หรือทำร้ายเราก็ได้

ตัวอย่างของบริษัท SaaS [dropbox, workday,slack,..]
ใครที่อยากศึกษาแนะนำเข้าไปอ่านทีละตัว เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องทำ
ย้อนกลับไปตอน dot com crisis คนมองว่าเป็น bubble
ก็กลัวตอนนี้จะเป็นเหมือนกันหรือเปล่า
ซึ่งไปอ่านแล้วเป็นคนละเรื่อง สมัยนั้น use case มีน้อยมาก
เทคโนโลยีเอาไปใช้ในธุรกิจได้น้อยมาก cat.com , van.com, pet.com
จดเวบไซต์ขายอันนั้นอันนี้ สุดท้ายไปอยู่ใน amazon.com หมด
ซึ่ง Jeff ฉลาดมาก เลือกสินค้าที่ถูกต้อง คือ ขายหนังสือ
แต่ยุคนี้ทุกอย่างไม่เหมือนตอนนั้น มีคนใช้อินเทอร์เน็ทเยอะ มือถือ
Use case สมัยนี้อ่านแต่ละตัว WOW มาก

Model ธุรกิจ SaaS เทียบกับสมัยก่อน ไม่ต้องลงทุนอะไรของตัวเองมาก
เทียบกับเมื่อก่อน ทุกอย่างเป็นของเราเอง Computer, Software , Storage, Network ฯลฯ

คุณโต
แชร์ปัญหาสมัยก่อนบริษัทต้องลงทุนซื้อ server 20 ล้าน
ทำ marketing launch 1 campaign ใช้เวลา 3-6 เดือน
พอทำเสร็จแล้ว สำเร็จหรือเปล่าไม่รู้ แต่ server 20 ล้าน ceo บอกให้ใช้งานให้เต็มที่เพราะลงทุนไปแล้ว
เป็น pain อันหนึ่งที่เห็นว่าระบบ cloud เข้าไปช่วย pay per use ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้โตมากขึ้น

คุณเผ่า
ปัจจุบัน as a service หรือ จ่ายเท่าที่ใช้ pay per use เป็นที่นิยมแพร่หลาย
อย่างที่จีนก็มีไปถึงแบบ girlfriend as a service จะกลับบ้านนอกก็เช่าไปโชว์พ่อแม่ได้
มีมากกว่านั้น ไม่ต้องมีแฟนเป็นตัวเป็นตน บริการให้ผู้หญิงโทรมาปลุกเหมือนเป็นจิตแพทย์รับฟังปรึกษา
เหมือนเป็นแฟนแต่ไมใช่แฟน ได้ครั้งละ 5-10 หยวน

คุณหลิน
สิ่งที่อยากจะเน้น SaaS มีสิ่งที่ต่างจาก PaaS,IaaS,On-Premise
คือ Application กับ Data GPM ของธุรกิจเหล่านี้สูงมากเพราะเราฝากชีวิตไว้กับเขา
และเขาเอา data เหล่านี้ไปใช้งานเพื่อให้ชีวิตเราดีขึ้น
ธุรกิจเหล่านี้จึงมีความสามารถในการแข่งขันสูง

คุณโต
เสริมจากคุณหลิน มีคนตั้งคำถามเยอะว่าหุ้นเทคขึ้นเยอะจะเป็นฟองสบู่เหมือนปี 2000 ไหม
ตอนนั้น 1995-2000 Nasdaq ขึ้น 400% หรือ 5 เท่า PE 72 กว่าเท่า
แต่รอบนี้ 2015-2020 ตลาดขึ้นจาก 4.7 พันจุดขึ้นมาหมื่นกว่า หรือราว 2 เท่า
ประเด็นคือ ตอนนี้Earning มาจริง ทำให้เปรียบเทียบ PE ตอนนี้ 32 เท่า เทียบกับสมัยก่อน PE 72 เท่า
ส่วนตัวคิดว่า bubble ไม่ได้แตกเร็วๆนี้เพราะ Earning ยังมา
และช่วงนั้นการให้บริการหลักๆอยู่ในอเมริกา และยังไม่ตอบโจทย์ painpoint ธุรกิจเท่าไร
แต่ตอนนี้จะเห็นว่า penetration ของ device และ internet สูงกว่าสมัยก่อนเยอะมาก
การให้บริการ Saas สามารถให้บริการได้ทั่วโลก โอกาสการเติบโตอาจได้ผู้ชนะที่เปลี่ยนชีวิตได้เยอะ
ในช่วง covid ลูกค้าถามมาถึงเรื่อง workflow เยอะมาก อย่าง documsign
ผู้บริหารสั่งมาต้องมีระบบอัตโนมัติ
คุณเผ่า เสริม docusign หุ้นขึ้นเยอะเป็นช่วงๆ เพราะหน่วยงานที่อเมริกาอย่าง
DMV(Department of Motor Vehicle) ที่ให้อนุญาตใบขับขี่ ก็ปลดล็อคให้ใช้ได้
รวมถึงหลายๆหน่วยงานในอเมริกาในช่วง covid ก็มีการอนุญาตให้ใช้
จึงทำให้หุ้นพุ่งขึ้นๆเป็นช่วงๆ

คุณโต
ในช่วง tech bubble มีหุ้น 400 กว่าตัวที่เข้ามา IPO
ทุกคนไม่ได้ focus ทำธุรกิจ เข้ามา spend โฆษณาเยอะมากให้คนรู้จัก
ซึ่งมีเป็นร้อยกว่าตัวที่เข้ามาวันแรกแล้วผลตอบแทนได้เท่าตัว
เทียบกับตอนนี้ไม่ได้หวือหวา เหมือนตอนนั้น
Mark Cuban ให้สัมภาษณ์ cnbc เรื่องเกี่ยวกับ tech buble
เขาตอบว่าครั้งนี้ไม่ได้คล้ายในอดีต
ครั้งนี้มี FED อัดฉีดเงินเข้ามา แต่ถ้าภาพเล็ก
ก็มีความคล้ายอยู่บ้าง หลายคนก็เข้ามาถามว่าเล่นหุ้นยังไงดี
แม้แต่เพื่อนของหลานก็เล่นหุ้นได้ กำไรวันละ 30%
เป็นสิ่งที่ดูน่ากลัว
อยากให้นักลงทุนดูว่าหุ้นตัวไหนชนะจริง อยู่ใน long term
ก็จะเป็นหุ้นที่ปลอดภัย

คุณเผ่า
สมัยก่อนเรารู้วิธีลงทุนร้านสะดวกซื้อตอนนี้ 1000 สาขา 10% ของประเทศ
สามารถโตได้เป็น 1 หมื่นสาขา ตอนนี้ก็ต้องมองเหมือนกัน
ให้ดูข้อมูลเปรียบเทียบหุ้นกับสมัย tech bubble
AMZN
1999 price 106 Rev 1639 P/S 55.7
2020 price 3138 Rev 296,274 P/S 6.6
ถ้าตอนนี้รู้สึกว่าแพง แต่เทียบไม่ได้เลยกับสมัย tech buble
BKNG(Booking.com)
1999 price 974 Rev 482 P/S 655.6
2020 price 1711 Rev 14571, P/S 5.3
สิ่งที่ต่างอีกอย่าง Infrastructure สมัยนี้
เทคใหญ่ๆโตแล้วก็ยังไปกินตลาดในส่วนอื่นของ ecosystem
ไปทำ amazon prime, cloud service, echo
หรือ facebook เองก็ยังมี facebook match หรือทำ libra
Google ก็ยังทำสิ่งที่ไม่เคยคิดว่ามีคนทำได้ คือ จ่ายตังค์ให้ปิด Ad
คือ youtube premium เป็น subscription service อย่างหนึ่ง
ที่จริง Founder google ชอบแนวนี้ คือจ่ายเงินแล้วปิด ad
เพราะมันได้ experience ที่ดีกว่า
สมมติมองว่ามี 100 ล้านคนที่จ่าย 7 เหรียญก็รายได้ปีนึงเป็นหมื่นล้านเหรียญ
ทำอะไรได้อีกเยอะมาก

คุณหลิน
VC ตอนยุค dot com ไม่รู้จัก burn rate
มันเกิดขึ้นหลังจากยุคนั้น เทคมันเป็นเรื่องใหม่มาก VC ยังไม่มีความรู้ด้วยซ้ำ
Run ไปถึงจุดคุ้มทุนหรือ monetization อย่างไร
มันเปลี่ยนไปเยอะ

คุณโต
ขยายความต่อเรื่อง SaaS เปรียบเทียบภาพให้เห็นง่าย
On-Premise เหมือนตัดเสื้อผ้าเอง แต่ SaaS เป็นเสื้อสำเร็จรูป
ข้อดีการลงทุนบริษัทเหล่านี้มีรายได้ที่แน่นอน
อย่าง Office 365 มีแผนตั้งแต่จ่ายเงินน้อยไปจนจ่ายเพิ่มขึ้น
พนักงานพอเข้ามาใช้ก็จะติด มีการเก็บข้อมูล, share ข้อมูล
ใช้ team meeting รวมถึง roadmap ในการเพิ่ม service ขึ้นไป
อย่าง PDPA ทำให้ องค์กรต้องปรับแผนที่จ่ายเงินมากขึ้น เป็น 100%
ซึ่งในตลาดก็มีคู่แข่ง แต่จะซื้อเป็นชิ้นๆหลายๆเจ้าเทียบกับการมีปัญหาอะไรก็ติดต่อเจ้าเดียว
ก็ทำให้ saas ของ ms ก็ได้เปรียบตรงนี้
คือ มี stickiness และ upsale ได้เรื่อยๆ คล้ายๆ docusign
เป็น topping ไปเรื่อยๆ ที่มี journey ในการสร้างรายได้เพิ่มเรื่อยๆ

คุณเผ่า
อ้างอิง Sale101 บอกว่าเวลาดีที่สุดในการ upsale คือจ่ายบัตรเครดิตครั้งแรก
พอมีข้อมูลบัตรเครดิจต่อไปจะ upsale ก็กดปุ่มเดียว หรือบาง service ก็ไม่ต้องกดปุ่ม
สมมติพนักงาน 10 คนคิดเท่านี้ พอ 100 คนก็คิดเพิ่มเท่านี้ตัดอัตโนมัติ
หรือบางอย่างให้ใช้ไปก่อนค่อยไปเก็บรอบปี
อย่างนักลงทุนจะชอบธุรกิจที่โต yoy, qoq เมื่อก่อนจะดูค้าปลีก
ซึ่ง saas ก็จะเป็นแบบนั้น เหมือนเป็น snowball
ลูกค้า 100 คนที่มียังจ่ายอยู่และมีลูกค้าใหม่เพิ่มมาอีก
แต่ธุรกิจพวกนี้จะมี Revenue run rate คือเอารายได้ไปหาลูกค้ามาเพิ่มให้มากที่สุด
เขามองว่าการที่มีลูกค้ามาติดอยู่กับเขาแล้ว Switching cost สูง
แล้วจะเอา data ที่เป็น feedback จาก user มา add on และขายเพิ่ม
เขาจะมีตัวเลขเรียก Dollar expansion คือ ลูกค้าเดิมจ่ายเพิ่มเท่าไร

คุณโต
เตรียม Saleforce มาเล่า
ถ้าจะลงทุน SaaS ก็ควรดูที่เป็นผู้ชนะในตลาด
Market share CRM อันดับ 1 Saleforce 18.4%
SAP 5.3%,Oracle 5.2%,MS 3.7%
กราฟยอดขายก็มีการเติบโตต่อเนื่อง

ตั้งแต่ปี 2010-2020 โตตลอด 1.31-> 17.1 Bn dollars
Profit margin เติบโตเช่นกัน
2015->2020 13.8%->23.5%

สมัยก่อนขายระบบ CRM เก็บข้อมูลลูกค้าและบริหาร pipeline ของพนักงานขาย
ขายของได้ไหม, สร้าง Lead ขึ้นมาเมื่อไรปิด ช่วยให้ forecast การขายได้ดีขึ้น
ระยะหลังเริ่มไปทำ marketing เป็น module มากขึ้น
ทำให้ enterprise ที่ขายผ่านตัวกลางเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้
และเอา data มาช่วยวิเคราะห์ด้วย AI
ราคา list price 100 $/User/Month

คุณเผ่า
แชร์ว่า มีเพื่อนทำบริษัทที่เป็น authorized ขาย saleforce ในไทย ขายดีมาก
ไปสิงคโปร์ปูพรมแดงเลย ยอดขายโตเร็วมาก
Saleforce เป็นเหมือนตัวพ่อของ SaaS เพราะเป็นตัวแรกที่ listed ในตลาด
ทำให้ทุกคนหูตาสว่าง เอาซอฟท์แวร์มาอยู่บน cloud ทำแบบนี้ได้ ทุกคนจึงเข้ามาทำตามกัน
บริษัท listed ตอนปี 2004 ซึ่ง google ก็เข้ามาช่วงเดียวกัน
แต่ถ้าไปดู 15-16 ปีที่ผ่านมา ราคา saleforce พุ่งกว่า google เยอะมาก
คือ โตขึ้น 40 กว่าเท่า เป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง
อย่างที่คุยกันว่า model มัน recurring และ upsale ต่างๆได้
ขณะที่ google ทำโฆษณา อาจคู่แข่งหรือมีการดึงเม็ดเงินได้
ซึ่ง โมเดลที่รายได้มั่นคงแบบนี้ ถึงจุดหนึ่งที่หยุด spend กำไรก็จะโตได้มาก


ยาวเกิน 8 บรรทัดแล้ว ขอตัดขึ้น Part 2 -> Post ถัดไป :D
Go against and stay alive.
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

Re: 3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20

โพสต์ที่ 2

โพสต์

3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20 Part2/2
แขกรับเชิญ คุณเผ่า,คุณโต,คุณหลิน / ผู้ดำเนินรายการ คุณสายไหม

[ต่อจาก Part1]
คุณหลิน
เหตุผลหรือหลักในการเลือกหุ้น
3 ตัวแรกจากซ้ายคือ SAP, Oracle, Saleforce(ตัวย่อ CRM)
เป็น Saas 101 ต้องอ่าน 3 ตัวนี้เพื่อเข้าใจ Dynamic กลุ่มนี้
มีจุดที่คล้ายกัน GPM สูงมาก ราว 70%+ แต่ NPM saleforce ยังติดลบอยู่
แต่ถ้าดู Revenue growth SAP 7-8%, Oracle 0.4-1% แต่ Saleforce 20-30%

วิธีการดูหุ้นกลุ่มนี้ มีทั้งหมด 6 ข้อ โดยก่อนอื่นต้องพิจารณาก่อนว่า
TAM – Total Addressable Market ตลาดที่เป็นไปได้รวมใหญ่ไหม
จากนั้นถึงพิจารณา criteria ต่อไปนี้

1.ต้นทุนในการ Acquire ลูกค้า หากยิ่งสูง Value ยิ่งน้อย
ช่วง covid ต้นทุนตรงนี้ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ลูกค้าเข้ามาเองโดยไม่ต้องทำอะไร
2.ธุรกิจนี้มี product variety ไหม มัน top up ได้ไหม ง่ายขนาดไหน
ยิ่งขายเพิ่มได้ง่าย ยิ่งดี
3. Network effect พูดง่ายๆเหมือนโทรศัพท์
ถ้ามีเครื่องเดียวไม่มีประโยชน์
แต่ถ้ามี 2 เครื่องเริ่มมีประโยชน์ และมันจะทวีคูณ
ถ้ามี 2 เครื่อง เกิด 1 connection
ถ้ามี 100 เครื่อง เพิ่มเป็น 4950 connection
ถ้ามี ล้านเครื่อง เพิ่ม connection เป็น billion มันเยอะมาก
Value จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่บริษัทไม่ต้องทำอะไร
ยกตัวอย่าง หุ้น FAANG –
ถ้าดู character GPM ไม่เท่ากันแต่ละตัว
FB 81.7% เป็น SaaS GPM สูงสุด
AMZN 40.6% ที่จริงก็สูง แต่มี ecommerce มาถัว ถ้าดูเฉพาะ cloud
AAPL 38.1% อาจจะดูต่ำ แต่ถ้าดูเฉพาะ sotware ก็สูงเหมือนกัน
NFLX 38.98% ที่ยังไม่สูงเพราะ EOS
4. Economy of scale ผลิตสินค้ามา 1 ชิ้น คนใช้ซ้ำหรือ duplicate ไหม
ถ้า NFLX อาจมี network effect ยิ่งคนดูเยอะผู้กำกับก็ยิ่งอยากทำ
แต่ไม่ได้ EOS เพราะต้องทำหนังออกมาเรื่อยๆ ถ้า drop เมื่อไรคนก็ย้ายไปดูเจ้าอื่น
ไม่เหมือน saleforce ที่ทำมาทีเดียวใช้ทั้งโลก
5. Stickiness หรือ switching cost ตัวประกันสำคัญสุดคือdata หรือความไม่เคยชิน
6. Unique ability ต้องมีความเก่งกว่าคนอื่น อย่าง crowdstrike ก่อนหน้าก็มี cyber security เจ้าอื่น
แต่ตัวนี้เขาบอกว่าเหนือกว่าคนอื่น พอมี unique ability ก็ทำให้คนไม่เปลี่ยน หรือไม่แข่งขันราคา
อย่าง NFLX ก็มี exclusive serie แต่ก็ทดแทนได้ด้วยการดูเรื่องอื่น
Goog ใช้เป็น search engine ข้อมูลใน google ที่มีคืออะไร? แทบไม่มี
มี email ที่เขาแทบ charge เงินไม่ได้ วึ่งตอนนี้มี google suite
คุณเผ่าเสริม คนที่เก่ง SaaS ในองค์กรสุดน่าจะเป็น Microsoft
ทาง google ทำ gsuite ก็น่าจะสู้ไม่ได้
คุณโตเสริมว่า Microsoft มี office พอทุกคนใช้ติดต่อลูกค้าก็ต้องโปรแกรมด้วยเหมือนกัน

ถ้าหุ้นเข้า 6 criteria นี้โดยสมบูรณ์ จะ GPM สูงมาก และถ้ามี TAM ใหญ่ด้วย
ก็จะชนะคนอื่นโดยกินตลาดไปเรื่อยๆ

ขอ 3 ratio หรือวิธีที่จะประเมินธุรกิจเทค?

คุณหลิน
VI ต้องมี quantitative ด้วย
หุ้นกลุ่มเทคยังไม่มีหนังสือออกมาชัดเจน
เพราะถ้าออกมาก็แปลว่าใช้ไม่ค่อยได้แล้ว
อย่างเมือก่อน มีหนังสือปีเตอร์ลินซ์ ที่เขาเกิดอเมริกา แต่เราใช้ในไทยก็เลยใช้ได้
หุ้นอย่าง ToyRus, Walmart ตอนนั้นโตไปเยอะแล้ว แต่ในไทยยังไม่เยอะ
ก็ไปดูตามเขามา แต่หุ้นกลุ่มเทคก็พยายามดูตามเขามา
แต่วิธีการที่ใช้กันสุดท้ายก็ต้องมีกำไรเข้าสักวัน

สำหรับหุ้นพื้นฐานเดิม
กราฟแกนตั้ง PBV แกนนอน ROE ถ้า ROE สูงก็จะมี PBV สูง ซึ่งเป็น correlation กัน
สำหรับหุ้นเทค startup ก็มีพยายามหาคล้ายๆกัน correlation อาจต่ำกว่าคือราว 40%
กราฟแกนตั้ง EV(Enterprise Value)/ Sales 12 เดือนข้างหน้า
เขาไม่ใช้ P/S แต่ใช้ EV เพราะบางบริษัทเทคเงินสดเยอะมาก ต้องหักออก
กราฟแกนนอน เป็น FCF margin+Revenue growth หรือบางครั้งเขาก็ใช้
Net profit margin โดยใช้ Rule of 40 คือรวมกันมากกว่า 40 ถึงจะดี
ยกตัวอย่าง Crowd strike รายได้เติบโต 90% + Profit margin ขาดทุน 20%
= 90%-20% = 70% ถือว่า OK
[ยิ่งกราฟแกนนอนค่าสูง มูลค่ากราฟแกนตั้ง EV/Sales ก็ควรจะสูงตามไปด้วย]

หุ้นที่เข้าเกณฑ์ที่บอก 6 ข้อข้างต้น
โดยธรรมชาติโต 100 จะขาดทุน 50
พอมาหักกันก็มากกว่า 40
กฏพวกนี้บริษัทก็รู้ VC ก็รู้ ไม่งั้นไม่เกิดเคส wildcard หรือ luckin coffee
สามเหลี่ยมของการ fraud มี 3 องค์ประกอบ 1 ใน 3 คือ motivation หรือ pressure
เช่น Toshiba กำไรลดลงทุกปี อยากให้ขึ้นบ้างก็เกิด fraud
บางครั้งดู top line อย่างเดียวก็ไม่ดี R square จึงแค่ 40 กว่า
จึงมีโอกาสผิดโดยผู้บริหาร หรือ VC ก็ได้
ล่าสุดไปเจอนักลงทุน VI ก็พบว่าบางอันที่เราอ่าน story มามันสวยหรู
พอไปถามผู้ใช้จริงมันก็ไม่ค่อย work เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจอุตสาหกรรมให้เยอะ
คุณเผ่า เสริมว่าต้องเข้าใจ TAM สินค้าอยู่อุตสาหกรรมไหน หาเงินได้อย่างไร
หลายอย่างที่ชอบใช้คือหาใน google ดู review คู่แข่งเป็นอย่างไร
ไปอ่านผู้ใช้งานจริง ก็ต้องใช้วิจารณญานเราประกอบ

คุณโต
Valuation ก็คล้ายที่คุณหลินแชร์
ส่วนตัวจะให้น้ำหนัก qualitative เยอะ
หุ้น SaaS พอจุดติด รายใหญ่ก็อยากเข้ามาแข่ง
ถ้าไม่มีความ unique จริง ไม่สามารถแข่งได้ราคาก็จะลงอย่างรวดเร็ว
ส่วนตัวก็ยังไม่ได้ลงทุนกลุ่มนี้เพราะยังยึดติดการทำ valuation แบบเก่า
องค์กร startup จุดหนึ่งที่อยากให้นักลงทุนดูคือ free cash flow
ถ้าเงินหมดก็ไปต่อไม่ได้ ในแง่ topline revenue เป็นอย่างไร
สัดส่วน SG&A ดีขึ้นไหม cash flow โดน burn ไปเรื่อยๆ จะไปต่อไม่ได้

คุณเผ่า
เวลาดูหุ้นกลุ่มนี้จะไปเข้าเวบไซต์เขา ถ้าไปเจอตัวที่บอกให้ติดต่อเซล
แสดงว่ากระบวนการได้ลูกค้าเหนื่อยมาก
แต่ถ้าสมัครทดลองใช้ได้เลยแบบนี้ดีกว่า และโตได้เร็ว

นอกจากนี้มีตัวเลขที่ใช้ประเมิน
Net dollar expansion จะหายากหน่อย ไม่ได้อยู่ในงบทั่วไป
อยู่ที่บริษัทจะประกาศออกมาไหม เหมือน sssg
ถ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110% แต่ถ้าอยู่ที่ 120-130% ต้องมี uniqueness
Retention customer ควรเกิน 90% ขึ้นไป
ลูกค้า 100 คน cancel 10 คน ก็ยังพอหาลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าเติบโต
แต่ถ้าต่ำกว่านั้นแสดงว่า product ก็น่าจะมีปัญหา

SG&A/Sale หลายธุรกิจที่รายได้เพิ่ม แต่ต้นทุนไม่เพิ่ม
มันจะเริ่มเห็นได้ว่ากำไรซักวันหนึ่ง
ดีกว่าบริษัทที่รายได้โตแต่รายจ่ายยังพุ่งตาม


คุณหลิน
มันมี metric ที่ค่อนข้างเยอะ
ที่อ่านมามี MRR, ARR [Monthly,Annual Recurring Revenue]
ลูกค้าแต่ละคนจ่ายเท่าไรต่อหัว
และ Customer Lifetime Value
ลูกค้า acquire ยากไหม แล้วอยู่กับเรานานแค่ไหน
ยิ่งอยู่ยิ่งติด หรือยิ่งอยู่ยิ่งจ่ายไม่ไหว
ยิ่งมี churn rate เยอะเท่าไร ก็ทำให้ CLV ยิ่งลดลง
ธุรกิจนี้ความเสี่ยงคือเจ้าใหญ่สู้แล้วชนะ ชนะแล้วไม่แบ่งคนอื่น
มันอาจจะมี market share เหลือ แต่เล็กเกิดไปที่จะเกิด eos

คุณเผ่า
ราคา IPO หุ้นเทคที่เข้าตลาด เฉลี่ยแล้วอยู่ที 3.4 เท่าของราคา IPO
แทบจะอยู่ได้ทุกตัว ตัวที่ต่ำๆ ส่วนมาก โดย acquire
ถ้ากลุ่มนี้ product ดีๆ รายใหญ่ก็ไม่ไปแข่งด้วยแต่ซื้อแทน
หรือถ้าดีลกันได้จบ มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่ได้ลูกค้าด้วย
อย่างล่าสุด Twillio ที่ take over Sendgrid ก็ไปซื้อมาทำด้วยกันมากกว่า
การที่จะเปลี่ยนแบรนด์มาทำใหม่ยาก ไปซื้อมาแล้ว upsale อย่างอื่นดีกว่า
Docusign ก็พึ่งไป acquire AI software มาเพื่อวิเคราะห์สัญญา
มาต่อยอดธุรกิจเดิมที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว
อย่าง List ของบริษัทที่ saleforce ไปซื้อก็มีเยอะมาก
หรืออีกมุมก็ใช้งานร่วมกันได้ อย่าง Saleforce ก็มี feature ให้ไป sign ด้วย docusign
แต่ก็ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจจะทำแข่งขึ้นมาก็ได้
ถ้าไปจีนเอาทุกอย่างมาอยู่บน platform ทั้งหมด
ถ้าเป็นอเมริกาจะมีอุดมการณ์หน่อย

ลงหุ้นเทคต้องทำอย่างไรบ้าง?
คุณหลิน
เปิดโบรกไทย จะมีแฟลตฟอร์มซื้อต่างประเทศ
โอนไปที่โบรกจะ convert ให้
ก็พยายามแบ่งไปหลายอันหน่อย เพราะหุ้นไม่ใช่ชื่อเรา
แต่มี custodian มาดูแล

คุณเผ่า
คล้าย thainvdr พวกโบรกก็ต้องมี custodian หรือตัวกลางมาซื้อแทน
ซึ่งโบรกก็จะมี obligation กับเราอยู่
อีกวิธีก็ไปเปิดโบรกต่างประเทศก็ได้
เช่น interactive broker ปัจจุบันก็ทำให้โอนเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ ไม่เกิน 2 แสนเหรียญต่อปี
>> Jitta.com/brokers เราก็ทำเปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียมให้

ถ้าไม่ต้องการลงทุนด้วยตัวเอง ก็ซื้อกองทุน
>> Jittawealth/ustech
ก็ไปค้นหา solution อย่างถ้าเอา algorithm ไปจับคงไม่ติดหุ้นเทค
ถ้าไปดู jitta score คะแนน เพราะกำไรหายไปก็ score ไม่ดีแล้ว
เราก็พลิกมาทำ universe เฉพาะหุ้นเทค แล้วมาเข้า ranking ก็จะทำได้เหมือนกัน
โดย Correlation สำคัญคือรายได้เติบโต ราคาจะมีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง
ดังนั้นเราก็เริ่มจากคัดหุ้นเทคใน growth stage มาเข้า universe ก่อน
แล้วก็เอามาเข้า Algorithm ด้วยสิ่งที่เราคุยกัน FCF,Profit margin,sg&a
ทุกอย่างก็จะวิเคราะห์อย่าง conventional ได้แล้ว

อย่าง jitta ustech ก็จะลงเหมือน jitta ปกติ 30 rank แล้วกระจายความเสี่ยงเท่ากัน
ซึ่งเป็น SaaS เยอะ เพราะมันโตแรงในปัจจุบัน
แล้วก็เอาวิธีคิดในแบบ Value investing มาด้วย ว่าเป็นของดี ราคาถูก เมื่อเทียบในกลุ่มเทค
และมีการ rebalance ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน รายได้ตก, FCF หาย ก็ควรจะหลุดจากพอร์ตไปก่อน
เพราะไม่รู้ว่าจะกลับมาหรือไม่ ถ้ากลับมาได้ค่อยเอาเข้าพอร์ต
เรากระจายความเสี่ยง ไม่รู้ตัวไหนเป็น winner ที่ชัดเจน แต่ก็ต้องมีตัวที่โต 20-30 เท่าได้
ทำ backtest มา ก็ได้ผลตอบแทนที่ดีมาก คิด 3 ปีล่าสุดได้ 30% ต่อปี
Universe ก็มีหลายร้อยตัวที่คัดมาแล้ว และมีระบบคัดอีกรอบ

หุ้นเทคเกินครึ่ง IPO 5 ปีหลังสุด
ถ้าเราเรียนรู้จาก พฤติกรรมในอดีตหุ้นSaaS ที่เป็นตัวพ่อคือ Saleforce
หลังวิกฤติ 2008 ปรับตัวลดลงจาก 15 -> 5 เหรียญ
แต่พอขึ้นกลับมาเป็น 20 เหรียญในอีก 1-2 ปี ก็เป็น 4 เท่า
เราก็รู้สึกว่ามันสูงแล้ว ก็ขายทำกำไร
จาก 20 ก็เห็นว่าปัจจุบันขึ้นมา 200 คือ 10 เท่า
ซึ่งมันก็โต 30-40% ขึ้นมา บางตัวขึ้น 50-90% ก็มี
ดังนั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาพแบบนี้ได้
ราคาสูงหรือต่ำไม่เกี่ยวกับถูกแพง
ถ้าราคาขึ้นมาเยอะ แต่รายได้ยังโตขึ้นทุกปีได้เหมือน saleforce

Book.com
ช่วงปี 2008 ราคาตกจาก100 กว่าเหรียญ 50
พอกลับขึ้นมา 200 ก็ขึ้น 4 เท่าเหมือนกัน และตอนนี้ก็ขึ้นมา 2000 ได้
อยู่ที่ TAM และ Rev growth ที่คุยกัน
ถ้ามันยังโตได้ 30-40% ไปอีก 10 ปีราคาก็ต้องขึ้น
การลงทุนหุ้นเสี่ยงก็มีความเสี่ยงที่ต้องรับ
ถ้าเป็น Jitta ranking ธรรมดามีหลาย industry
แต่อันนี้เป็นหุ้นเทค industry เดียว

คุณหลิน
ลงทุนเองเหนื่อยหน่อย ตอนเช้าก่อนตลาดไทยเปิดก็ต้องดูหุ้นไทย
พอกลับถึงบ้านตลาดหุ้นอเมริกาก็มาแล้ว
ช่วงที่ขึ้นที่ผ่านมาเป็นช่วงประวัติศาสตร์ของช่วงที่ยาวมาก
มีหลายตัวที่ตกลงครึ่งหนึ่งในเวลาสั้นๆ Netflix,apple,amazon
ถ้าเราใจไม่แข็ง หรือไม่มั่นใจว่าเราคิดถูก ก็จะโดนสะบัดตกรถได้ง่าย
กลุ่มนี้เป็นเมกะเทรนด์แน่นอน แต่ต้องเลือกถูกตัว และไม่ถูกสะบัดลงก่อน
อย่างตอนนี้ก็ลงทุน 10-20 ตัว และไม่ได้ศึกษาละเอียดได้เหมือนกับไทย
ถ้าใครไม่มีเวลาอาจจะลงทุนผ่านกองทุนก่อนก็ได้

คำถามจากทางบ้าน
q. เทียบผลตอบแทนหุ้นเทคกับ benchmark อะไร?
คุณเผ่า benchmark ตัวเองก่อน ถ้าต้องการ 10-20% ได้ไหม
และถ้าเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก็น่าจะเป็น NASDAQ
ซึ่งในไส้ในก็มี Pepsi อะไรด้วย แต่ตัวหลักๆ ก็เป็นหุ้นเทค
หรือไปเทียบดัชนีเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่ม cloud

q. แหล่งศึกษาประเมิน valuation สำหรับกลุ่ม tech ใน business model ต่างๆไหม
คุณเผ่า google หรือ youtube ก็มี vdo review
คุณโต แนะนำ seeking alpha
คุณเผ่า นอกจากนี้มี investor presentation , conference call เหมือน opp day
พอออกงบอีก 3 วันต้องมี conference call และไปอ่านว่า analyst ถามอะไร
ใช้ metric ไหนวัด เช่น สัดส่วนรายได้ หรือ billing กับ revenue ต่างกัน
billing เป็นยอดที่ได้แต่ยังไม่นับเป็น revenue
พวก travel tech หรือ ecommerce ก็ไปอ่านหุ้นตัวนั้นแล้วค่อยๆแตกไปต่อใน industry

คุณหลิน SaaS เราต้องไปเอาตัวพ่อก่อน 101 ไม่ว่าจะ oracle, SAP, Saleforce
พวกนี้ presentation จะดี แต่บริษัทเล็กก็อาจไม่ได้ต้องการบอกความลับให้คนอื่นรู้เยอะ
ไปอ่านตัวใหญ่ให้อ่าน presentation ก่อน ส่วนตัวเล็กไปอ่าน 10K ซึ่งจะลำบากมาก
ของต่างประเทศมันเป็น 100-200 หน้าตัวหนังสือเยอะ ไม่มีกราฟด้วย
คุณเผ่า จะอ่าน 10K เป็นอย่างหลังสุด ถ้าอ่านอย่างอื่นแล้วหาข้อมูลไม่ได้ค่อยเจาะเป็นเรื่อง
เพราะอ่าน 10K เหนื่อยมาก ถ้าเป็นหุ้นเทคต้องอ่าน 10-Q ด้วย
ถ้าสนใจหุ้นจีนหนักกว่าเดิม ต้องไปหาเป็นภาษาอังกฤษ
คุณหลิน อย่างจีนหุ้น saas kingdee ก็ขึ้นเยอะแต่มันยังไม่ชัดเจนเท่ากับอเมริกา
ต้องระวัง saas ของจีนมันฆ่ากันแบบเลือดสาดอย่างที่คุณเผ่าบอก
ที่จีนไม่สนใจ Copy มาใช้ดีก็ทำเลย กินรวบ

q. อเมริกาสั่งปิดกงสุลจีน รอก่อนหรือเข้าเลย?
คุณโต มองว่าเป็นเกมการเมือง ปัจจัยชั่วคราว
อยากที่มีเรื่อง delist หุ้นจีนในอเมริกา แต่ไม่ได้มีผลกับการลงทุนเท่าไร
คุณเผ่า ต้องแยกระหว่างราคาหุ้นกับผลประกอบการ
ถ้าเผากับวันนี้ลูกค้าจะหายจาก saleforce ไปครึ่งหนึ่งไหม
ก็มองเป็นโอกาสการลงทุนได้ ถ้ามีข่าวตกใจแต่ไม่เกี่ยวกับหุ้น
งบ Q2 ก็คาดกันกลุ่มนี้ว่าจะดีมาก ซึ่งมีการ lock down มากกว่า Q1

q. ลงทุนหุ้น tech กับ jitta wealth ต้องเริ่มเท่าไร?
a. เหมือนกับ jitta wealth ต่างประเทศ เริ่ม 3 ล้านบาท กระจายความเสี่ยง 30 ตัว
ข้อดีของอเมริกาคือซื้อ 1 หุ้นได้ ของ jitta wealth เหมือนเป็น private fund
ไม่ได้ซื้อหน่วยลงทุนจึงใช้เงินสูงหน่อย ถ้าอนาคตลด scale ลงทุนได้ก็อยากทำ
Amazon 1 หุ้น ก็ 3 พันกว่าเหรียญ ราว แสนกว่าบาท

[พูดคุยส่งท้าย] เนื้อหาเยอะมาก อยากเอาสมองไปใส่ใน cloud บ้างแล้ว ประมวลผลไม่ทัน
คุณเผ่า ถูกต้อง cloud service หลายอันเป็น business analytics แล้วประมวลผลที่เขา
มี SaaS ที่วางแผน budget เงินให้ด้วย เหมือนมี CFO และไปเชื่อมจ่ายภาษี
ตำแหน่งหน้าที่ต้องมีคนทำบางอย่างก็จะถูกโยกไปบน cloud เพราะมี data มากกว่าประมวลผลเร็วกว่า
คุณโต ต่อไปนักกฏหมายก็จะถูก disrupt
คุณเผ่า ใช่ อย่าง docusign ทีแรกเริ่มรายได้จาก document แต่ตอนนี้มองว่าเอา AI มาเขียนสัญญาได้
พอมี agreement ซ้ำๆเป็นล้านฉบับ ต่อไปก็ trailer made ได้หมด
มา disrupt กลุ่มพวกนี้เป็น ทนาย outsource บัญชี outsource ใช้พวกนี้ถูกกว่า
คุณหลิน เสริมให้เห็นภาพง่ายๆเหมือนพอแต่งงานกับผู้หญิง เค้าคิดประมวลผลแทนเราหมด :twisted:

ขอบคุณพี่เผ่า พี่โต พี่หลิน และทีมงาน jitta ที่จัดรายการแชร์ความรู้ดีๆให้นักลงทุนครับ
ผมจดไปด้วยประกอบการฟังของตัวเอง หากมีบันทึกไว้ผิดพลาดอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้
ที่จริงช่วงที่ผ่านมานี้มีรายการ online เยอะมาก บางครั้งได้จดบ้างไม่ได้จดบ้าง
หากอันไหนถ้าพอได้จดรู้เรื่องจะเอามาแชร์อีกครับ

สามารถดู clip เต็มๆ ได้ที่นี่ครับ >>https://www.youtube.com/watch?v=Qse5R9C ... pp=desktop
Go against and stay alive.
A57524

Re: 3 นักลงทุนสายเทคโนโลยีแชร์แนวคิดเลือกหุ้นเทคดีๆ แบบ VI by JittaWealth 23/7/20

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์