MoneyTalk@SET16/2/63กลยุทธ์จัดพอร์ตปี 63 และวีไอรุ่นกลางใหญ่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET16/2/63กลยุทธ์จัดพอร์ตปี 63 และวีไอรุ่นกลางใหญ่

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk@SET16/2/63

่ช่วง 2 จะทำยังไงดีกับหุ้นไทย? โดยวีไอรุ่นกลางใหญ่
1. คุณ ชาย มโนภาส / นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
2. คุณ ณัฐชาต คำศิริตระกูล / อุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
3. คุณ ทิวา ชินธาดาพงศ์ / นักลงทุนเน้นคุณค่า
4. นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ / นักลงทุนเน้นคุณค่า
5. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ปรมาจารย์หุ้นคุณค่า
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ


มองหุ้นไทยปี 63 อย่างไร?


คุณชาย
ส่วนตัวไม่ได้เก่งกาจที่จะประเมินตลาดได้ว่าเป็นอย่างไร
ปีนี้ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างนถาโถมมาตั้งแต่ต้นปี
ความเสี่ยงอย่างหนึ่งไม่ได้รุนแรง แต่ยาวนาน คือ ดอกเบี้ยต่ำมาก
ประเทศไทยไม่เคยต่ำขนาดนี้มากก่อน ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่ 1.18-1.19%
แต่ปัจจัยเสี่ยงชั่วคราว ตั้งแต่ เหตุการณ์ตะวันออกกลาง,โรคระบาด
ซึ่งพอเหตุการณ์พิเศษหายไป ก็จะกลับมาเจอเหตุการณ์ปกติ คือ ดอกเบี้ยต่ำ

หลายท่านก็อยู่ในวัยใกล้เกษียณ หรือเกษียณอายุแล้ว การที่ดอกเบี้ยต่ำยาวนานมีผลกระทบ
โดยส่วนตัวเชื่อว่าควรมีหุ้นอยู่บ้าง และควรมีสภาพคล่องอยู่บ้าง
ในสภาวะความไม่แน่นอนสูง จะมีหุ้น 100% เสี่ยงเกินไป
ไปดูสถิติตลาด TFEX 10 ปีก่อน volume ซื้อขาย ไม่ถึง 1 หมื่นสัญญา
ปีที่แล้ว ตลท. สรุป volume ซื้อขาย TFEX 1 วัน 4 แสนกว่าสัญญา
50% ของสัญญา เป็น single stock future / 40% เป็น SET 50 index
ยังมีหลายคนคิดว่าดอกเบี้ยต่ำ เลยเอาเงินมาเก็งกำไร เป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก
การถือหุ้น 100% และใช้หนี้สินในสภาวะนี้เป็นเรื่องที่เสี่ยงสูง
แต่การถือเงินสด 100% ก็เป็นเรื่องที่เสี่ยงเหมือนกันในระยะยาว

ดอกเบี้ยนโยบาย 1% เงินเฟ้อ 1% ดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย คือ 0 %
เป็นความเสี่ยงระยะยาว ดังนั้นGap ผลตอบแทนหุ้นกับเงินฝาก ยังจูงใจอยู่
แต่เลือกหุ้นที่พื้นฐานดี หนี้สินน้อย
ตั้งแต่ 1982 ดอกเบี้ยเป็นขาลงตลอด ทำให้ตลาดหุ้นได้รับความนิยม

ได้ฟังสัมภาษณ์บลูมเบิร์กของโซรอส ชื่อ Stanley Druckenmiller
เขาบอกว่ายังถือหุ้นอยู่ แต่มีปัจจัยที่ต้องจับตา 3 เรื่อง
1. การเมืองสหรัฐ การเลือกตั้งประธานธิบดี ในเดือน พ.ย.
ยังคงนโยบายสนับสนุนทุนนิยม และดอกเบี้ยต่ำ อยู่หรือไม่
2. ดอกเบี้ยจะมีการกลับทิศไหม ตอนนี้ทุกคนเชื่อว่าดอกเบี้ยจะยังอยู่ในระดับต่ำ
แต่ถ้าหาก มีเหตุการณ์ให้เงินเฟ้อกลับไปสูง แล้วดอกเบี้ยจำเป็นต้องกลับทิศ อันตราย ต้องพึงระวัง
3. ความเสี่ยงไม่ว่าเรื่อง trade war, ดอกเบี้ย, การค้าขาย , technology disruption ต้องจับตาดู
การถือหุ้นยังเป็นเรื่องที่มีเหตุผล แต่ความเสี่ยงต่างๆก็มากขึ้น
เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำยาวนาน หลายท่านไปซื้อตราสารหนี้ ให้ดอกเบี้ยสูง
ซึ่งไม่ถูกจัดเครดิตเรทติ้ง บางบริษัทก็อาจจะดี
แต่บางทีมีความเสี่ยงสูงกว่าลงทุนในหุ้นสามัญของบางบริษัทอีก
การผิดนัดชำระหนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดคิด

ในสภาวะนี้ก็มีทรัพย์สินแปลกๆที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ จะลงทุนอะไรขอให้พิจารณาให้ดี
บางท่านคิดว่าตราสารหนี้ไม่เสี่ยง แต่ในวิกฤติเกิดการผิดนัดชำระหนี้มากมาย
ตอน subprime ใครจะนึกว่าตราสารหนี้ระดับ AAA จะเกิดการผิดนัดชำระ
เราอยู่ในโลกที่ความไม่แน่นอนสูง อย่ากลัวจนไม่ลงทุนเลย แต่ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงด้วย


คุณกานต์
ไม่ได้มารายการราว 2 ปีเลย เคยพูดมุมมองเกี่ยวกับตลาดหุ้น
มองย้อนกลับไปสิ่งที่พูดเป็นอย่างไร พบว่าตอนนั้นมองว่าหุ้นเล็กมีราคาค่อนข้างแพง
บางทีจะมองว่าตลาดหุ้นดีไม่ดี มองเป็นภาพรวมไม่ได้ มันมีหุ้นที่ขึ้นเยอะลงเยอะ
กลุ่มหุ้นที่ใหญ่ SET 50 มีการเปลี่ยนแปลง ม.ค. 2018 ถึงปัจจุบัน ลบไป 10% ไม่รวมปันผล ,
SET -14% ไม่รวมปันผล MAI -40 กว่า% สะท้อนถึงเม็ดเงินในตลาดหุ้นกระจุกตัวกับหุ้นแค่บางกลุ่ม

จะเห็นหุ้นขนาดใหญ่ขึ้นไปสูงมาก PE เหมือนหุ้น high tech หรือเป็น super stock
ทั้งที่ธุรกิจไม่ได้มีผลตอบแทนสูง หรือเติบโตเร็วขนาดนั้น
ต้องดูว่าแรงจูงใจและสถานการณ์จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไปไหม
โดยสาเหตุน่าจะมาจาก ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้แสวงหาผลตอบแทน และซื้อหุ้นที PE แพงขึ้น
เม็ดเงินตอนนี้อยู่ที่นักลงทุนสถาบัน สามารถกำหนดทิศทางตลาดได้

มามองที่กลุ่มหุ้น เขาก็มีข้อจำกัดบางอย่างไรในการลงทุน จะลงทุนในหุ้นได้ไม่เกิน %
ต้องมีสภาพให้ซื้อขายเท่าไร ทำให้หุ้นที่สถาบันจะลงได้มีจำกัด
สถาบันเอาเงินชาวบ้านไปบริหาร สิ่งที่เขาได้คือค่าบริหารจัดการ ขึ้นกับขนาดของกองทุน
ถ้ามีผลประกอบการดี ก็จูงใจให้คนไปซื้อกองทุน มีการสรุปว่าปีที่ผ่านมาลงทุนชนะตลาดหุ้น
ชนะกองทุนอื่น เท่าไร ซึ่งการวัดผลระยะสั้นจะบอกได้ยากว่าบริหารดีหรือไม่ดี
บางกองทุนอาจมีการเปรียบเทียบถึงระดับสัปดาห์ด้วยซ้ำ
ทำให้กองทุนไม่สามารถพลาดที่จะลงทุนหุ้นร้อนได้ หุ้นใหญ่หลายตัวที่ถูกผลักดันขึ้นไป
ถ้าลงทุนตอนนี้กี่ปีจะได้ผลกำไรหรือปันผลกลับคืนมาคุ้มค่า
อยากให้ระวัง ถ้าเราคิดจะลงทุนหุ้นเหล่านี้เพราะเชื่อว่าเป็น bluechip

ตลาดหุ้นเป็นอะไรที่คาดการณ์ไปข้างหน้าเสมอ
อย่างเกิดโรคระบาดก็ทำให้การท่องเที่ยวมีผลกระทบ
ถ้ามองไปถึงสิ้นปีจะเป็นอย่างไร ปี64 จะดีกว่าปี 63 ไหม
ต้นปี 63 มีหลายอย่างเข้ามา แค่ทุกอย่างกลับไปเป็นปกติก็จะดีกว่าปีก่อน
ถ้ามองไปปลายปี คิดว่าหุ้นจะดีกว่าปีนี้ แต่ระหว่างทางอาจลงไปอีก
เช่น ประกาศ GDP หรือผลประกอบการแย่กว่าที่คาด
โรคระบาดก็เป็นปัจจัยชั่วคราว คิดว่าปัจจัยที่ต้องมองก็เป็นเม็ดเงินของกองทุน


คุณมี่
ทีแรกคิดว่าต้นปีนี้ตลาดหุ้นจะค่อนข้างดี เพราะมีเรื่องร้ายปีที่แล้วเยอะ และคนไม่ค่อยคาดหวัง
มีสัดส่วนเงินสดค่อนข้างเยอะ เห็นทรัมพ์กับสีจิ้นผิง เริ่มมีสัญญาดี จะคลี่คลาย
ผ่านมา เดือนครึ่ง ความรู้สึกเหมือนปีครึ่ง เกิดทุกเหตุการณ์ที่ไม่คิดมารวม
ตั้งแต่ผู้นำอเมริกาสั่งยิงอิหร่าน มีชักธง ตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์
เดือนครึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มเห็นแววว่ามองผิด จากดีมากเป็นดีพอสมควร

มีบทความหนึ่งของ อ.นิเวศน์ มาปรับกับสถานการณ์นี้ 6 ปัจจัยที่กำหนดว่าตลาดหุ้นจะดีหรือไม่ดี
โดยตัดไปหนึ่งปัจจัยที่คาดการณ์ไม่ได้ออกไปก่อนคือการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ความถูกแพงตลาด นั่นคือ PE ตลาด
ขอใช้ EPS ของโบรกเกอร์ asp ที่ conservative 92.5 หารกับดัขนีล่าสุด PE = 16.5 เท่า
เทียบกับอดีต 12-14 เท่า แพง แต่เทียบกับเพื่อนๆ ที่ถูกกว่าคือ ฮ่องกอง จีน แพงกว่า อินโด ฟิลลิปปินส์
ทั้งนี้ EPS 92.5 asp คาดว่าโคโรน่าจะลุกลามบานปลาย วันนั้นมีผู้ติดเชื่อ 7 พันกว่าคน วันนี้ 7 หมื่นกว่าคน

2. กำไรบริษัทจดทะเบียน
ลองเอามาแยกดู พบว่าน่าเป็นห่วงหลายกลุ่ม เช่น พลังงาน มี oversupply โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี
มีกำลังผลิตใหม่เข้ามาเยอะ ประกอบกับโคโรน่าไวรัส ราคาผลิตภัณฑ์ก็ไม่ดีอีก

โคโรน่าไวรัส กระทบท่องเที่ยว ลูกค้าจีน ถือเป็นสัดส่วน 28%
บทวิเคราะห์ก็บอกว่าไม่นานเปิด free visa ดึงจีนกลับมาได้ในเวลาไม่นาน
สมมติว่าดึงจีนกลับมาได้จริง แต่นักท่องเที่ยวที่เหลืออีก 72% จะกลัวไม่กล้ามาหรือเปล่า
จึงเป็นไปได้ที่นักท่องเที่ยวปีนี้จะพลาดเป้า ล่าสุด ผู้ว่าการท่องเที่ยว ออกมาปรับเป้านักท่องเที่ยวปีนี้
จำนวนลดลงเกือบ 5 ล้านคน ถ้าคูณง่ายๆจ่ายคนละ 5 หมื่น ก็เป็น 2.5 แสนล้านบาท
เงินก้อนนี้ไม่ได้ซื้อวัตถุดิบ ก็จะกระทบกับ GDP 16 ล้านล้านบาทของเราอยู่ระดับหนึ่ง
กำไรบริษัทจดทะเบียนปีนี้มีโอกาสเท่ากับหรือน้อยกว่าปีที่แล้วนิดหน่อย

3.ดอกเบี้ย
ก.พ.เพิ่งปรับลดดอกเบี้ย และ มี.ค.หลายคนคาดการณ์ว่าจะปรับลดอีก 0.25 บาท
อีกปัจจัยก่อนหน้าคุ้มครองเงินฝาก ถ้าธนาคารเป็นอะไรจะได้รับความคุ้มครองบัญชีละ 5 ล้าน
แต่หลัง ส.ค จะเหลือบัญชีละ 1 ล้านบาท ดังนั้นการฝากเงินอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

4. GDP
มีความอ่อนแอตั้งแต่ก่อนเกิด โคโรน่าไวรัส เหมือนคนแก่ที่เจ็บปวดเรื้อรัง พอเจอโคโรน่าก็เจ็บป่วยซ้ำซ้อน

5. ปีไหนตลาดดีมาก ปีหน้าแย่ บังเอิญไทย 2 ปีก่อนแย่ติดกัน ปีนี้จึงมีโอกาสดี

พอเอา 5 ปัจจัยมาดูมีปัจจัยบวก 2 เรื่องคือ ข้อ3 กับ 5 ที่ลบ คือ 2 กับ 4 คือกลางๆ
ส่วนข้อ 1 PE กลางๆ เลยคิดว่าตลาดจะกลางๆ คิดไปทางบวกนิดหน่อย แต่ไม่รุนแรงมาก

หมอเค
เห็นด้วยกับทั้ง 3 ท่าน
มองตลาดหุ้นขึ้นกับ earning yield (ส่วนกลับ PE)
เป็นเรื่องสภาพคล่อง กับ earning growth กำไรแต่ละปีโตเท่าไร
สภาพคล่องล้นแน่นอน แต่ยังกังวลเรื่องดอกเบี้ย
ปี 2018 ขึ้นดอกเบี้ยตลาดหุ้นลง ปี 2019 ลดดอกเบี้ย
ซึ่ง FED ไม่เคยลดดอกเบี้ย 2 ปี คิดว่าปีหน้ามีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย
เนื่องจากสินทรัพย์ในต่างประเทศขึ้นค่อนข้างเยอะ
ตอนนี้หุ้นระดับโลก เช่น แมคโดนัลด์ โค้ก all time high
ถ้าเราเป็นนักลงทุนต่างประเทศ ก็ต้องหันมามองหุ้นที่ต่ำอยู่
ประเทศไทยมีปัจจัยลบติดกันหลายปี อันหนึ่งคือ LTF ปีนี้จะลดลง
เชื่อว่ากองทุนต่างประเทศก็ขายออกมาก่อนแล้ว
อ่านบทวิเคราะห์มาเขาบอกว่าสัดส่วนต่างชาติใกล้เคียงกับบ subprime แล้ว
ถ้าเขาเห็นว่าประเทศไทย turn around จะน่าสนใจ ดังนั้นถ้าลบมากๆก็จะมีโอกาสบวกได้

ในส่วนearning growth 2019 หลายบริษัทมีตัวเลขค่าใช้จ่ายพนักงาน ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดี
อีกอย่างไตรมาส 1 มีมาตรฐานบัญชีใหม่ ทำให้ตัวเลขที่ออกมาดูเหมือนกำไรลดลง แต่กระแสเงินสดไม่ได้แย่
ซึ่งถ้ามองข้ามไป ตัวถ่วง 2 ตัวนี้จะไม่ดี

โคโรน่าไวรัส ถ้าถามว่าไวรัสรุนแรงสุดเกิดเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้นปีหน้าไม่น่าเกิด ฟ้าหลังฝนน่าจะดี

บาทแข็งที่เคยแย่ ตอนนี้ก็บาทอ่อน และสินค้าเกษตรหลายตัวดีขึ้น ปาล์ม ยาง ข้าว
แต่ดีขึ้นเพราะภัยแล้ง ต้องดูหลังจากนี้จะดีขึ้นต่อเนื่องหรือเปล่า

อีกอันหนึ่งคือ รัฐบาลมีปัญหางบประมาณ ที่ต้องเซ็น ต.ค. แต่ละปี ทำให้เลื่อนมาต้นปี
และมีปัญหาเลื่อนอีก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ถ้าเรื่องเหล่านี้ผ่านไปน่าจะดี

ภาพรวมปีนี้ถ้าผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ น่าจะดี ลงทุนได้ แต่ต้องศึกษาให้มากขึ้น


ดร.นิเวศน์
ต้นปีให้คะแนนราว 6 หรือ 6.5 คิดว่ายังมีโอกาสนะ ทุกอย่างมันแย่แล้ว ยังอยู่ได้
ปลายๆปีก็อาจพลิกขึ้นมาได้ ยังมีอีกอย่างที่หลังๆคนคิดเยอะ คือปันผล
อย่าง กสิกรไทยประกาศ ซื้อหุ้นคืน และเพิ่มปันผล
ไม่เคยมีสถานการณ์นี้ แบงค์รู้สึกว่าราคาถูกเกินไป กิจการเขามั่นคงยังดี
และสามารถจ่ายปันผล หรือซื้อหุ้นคืน เขาก็ยังอยู่ได้ และมีเงินสดที่จะมาทำอย่างนี้
ปัญหาหนี้เสียอะไรก็มีสำรองไว้เยอะ

ฝากแบงค์ได้ 1% ปันผลหุ้นได้ 3-4% ถึงจุดหนึ่งหลายบริษัทใหญ่ก็น่าจะทำคล้ายๆกัน
ราคาหุ้นต่ำไปแล้ว และไม่ได้ใช้เงินมาขยายธุรกิจ
อย่างกลุ่ม property ก็อาจทำอย่างนั้น กลุ่มสื่อสารก็ยังจ่ายปันผลเยอะ คนไทยก็ยังใช้
หลายบริษัทใหญ่ๆฐานะการเงินใช้ได้ อย่างปิโตรเคมีต่างๆ เราก็แย่มาตลอด
ถ้าคนมองว่าแย่ไม่ต้องสนใจหุ้นไทย ถ้าซื้อไปก็มีโอกาส กลายเป็นปัจจัยที่คิดไม่ถึง
อย่างอเมริกา ราคาหุ้น all time high ทั้งที่มีปัญหาต่างๆมากมาย

ส่วนตัวรอปันผล หุ้นแต่ละตัวได้เป็นกอบเป็นกำ อย่างไรก็มีปันผลให้


ในภาวะผันผวนมีความไม่แน่นอนจะสู้อย่างไร? หุ้นกลุ่มไหนที่ลงทุนได้หรือหลีกเลี่ยง?

คุณชาย
ลงทุนกลุ่มไหนดีสุด คำตอบ classic ของ VI ลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เราเข้าใจ
มองเห็นผลประกอบการในอนาคต เราไม่สามารถความบ้าคลั่งตลาด หรือดัชนีได้
สิ่งที่พอประเมินได้คือผลกำไรบริษัท ในระยะสั้นหรือยาว

เห็นด้วยกับอ.นิเวศน์ ดูให้ดีปีนี้อาจเป็นโอกาสทองในการลงทุนได้
เซียนหลายคนก็มั่งคั่งจากวิกฤติเพราะมีโอกาสตามมา
อุตสาหกรรมที่เป็นอนาคตของประเทศชาติ ถ้าปรับตัวลงก็อาจเป็นโอกาส
สิ่งที่เกิดขึ้นในไทย ค่าแรงในประเทศต้องปรับให้สูงขึ้น การบริโภคต่อไปน่าจะดี
เราไม่สามารถหากินกับค่าแรงถูก ให้ต่างชาติมาลงทุน ต้องมีการกระตุ้น และหามูลค่าเพิ่มให้แรงงานเราด้วย

สิ่งที่จะมาช่วยการท่องเที่ยว ในระยะยาว infrastructure ที่ลงทุน
รถไฟความเร็วสูงต่างๆ การเชื่อมกรุงเทพ เวียง จันทร์คุนหมิง จะทำให้การเดินทางสะดวกสบาย
value added ตรงนี้ยังมีอยู่ กรุงเทพ ผ่านไปพนมเปญ โฮจิมินส์เหมือนกับริเวียร่า ของยุโรป
มีสถานที่เที่ยวสวยงาม สามารถพัฒนาได้ถ้าการคมนาคมเชื่อมโยง

นักท่องเที่ยวไทยปีนี้คาดว่ามา 40 ล้านคน ศักยภาพไทยคิดว่าเท่าไร
จำนวนคนที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ จีน 100 ล้านคน อินเดีย 10 ล้านคน
ไทย 10 ล้านคนราว 15% ของประชากร
ถ้าสมมติคนจีนท่องเที่ยว 20 % 260 ล้านคน ถ้าอินเดีย 10 % ก็ 100 ล้าน
คิดว่านักท่องเที่ยวจะมาไทย double เป็น 80 ล้านไม่น่ายาก

เรื่อง demographics ของไทยเชื่อว่าเป็นความเสี่ยงจริง
GDP per capita ของไทย 2.4 แสนบาทต่อปี หรือ 2 หมื่นบาทต่อเดือน
นักท่องเที่ยว 1 คนใช้เงิน 4 หมื่น นักท่องเที่ยว 6 คน เท่ากับประชากรไทย 1 คน
ดังนั้นถ้านักท่องเที่ยวเพิ่ม 40 ล้านคน หาร 6 เท่ากับประชากรเพิ่มในสัดส่วนนั้น
ดังนั้นประชากรมีแนวโน้มลดลง แต่อาจมีปัจจัยบวกอื่นมาช่วย

เรามีแรงงานต่างด้าว 3 ล้านคน ถ้าค่าแรงสูงขึ้นก็สามารถดึงประชากรจากเพื่อนบ้าน
ซึ่งประเทศอยู่ระหว่างเติบโตมาอยู่
เคยคุยกับคนกรีซ ซึ่งมีปัญหา demographics ด้วยเหมือนกัน
แต่ปัญหากว่านั้นคือ คนที่หัวกะทิไปทำงานประเทศอื่น อยู่ อังกฤษ เยอรมัน
หรือประเทศที่ศักยภาพสูงกว่าประเทศเขา
ประเด็นคือ ถ้าไม่พัฒนาประเทศเราให้มีความสามารถแข่งขัน ให้น่าอยู่ ถึง
แม้จะไม่มีปัญหา demographic ประชากรก็ย้ายถิ่นได้

ปีนี้ sector น่าลงทุนก็ยังมี เช่น การแพทย์
โรงพยาบาลที่มีรายได้จากต่างชาติมารักษาอาจตกลง
ซึ่งการแพทย์ไทยมีความสามารถแข่งขันสูง ถ้าราคาหุ้นตกลงมาเยอะก็เป็นโอกาส

ถ้าลงทุนหุ้นพลังงานในไทย สิ่งที่ควรศึกษาคือหุ้นต่างประเทศ มีลักษณะเป็น global play
จากที่ทำข้อมูล หุ้นพลังงานทั่วโลกเหมือนกันหมด underperform ตลาด
หุ้น apple ตัวเดียว มากกว่าหุ้น sector พลังงานทั้งหมดในอเมริการวมกัน
หุ้นพลังงานทั่วโลกปันผลสูงเหมือนกันหมด
ถ้าซื้อ shell ปันผล 7.3% PE 10.38 BP ปันผล 6.88% PE 11.3 หุ้นไม่ perform
ฟังผู้เชี่ยวชาญ บอกว่าพลังงาน โดยเฉพาะ oil&petroleum มีปัญหาด้าน demand side

Sector ธนาคาร เทียบกับอดีตถูกมาก ถ้ามีเวลาแนะนำ research ของ mckinsey
เรื่อง Future of Asia ในหัวข้อเรื่อง banking
(Link:https://www.mckinsey.com/~/media/McKins ... final.ashx)

ข้อมูลหนึ่งที่บอกไว้ pbv หุ้นธนาคารในเอเชีย drop ลงอย่างมากใน 10ปีที่ผ่านมา
Pbv 0.7 ในขณะที่ global bank Pbv 0.9
รายได้ ธนาคารในเอเชียในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาค่อนข้าง flat
ลองไปดูธนาคารของจีนก็เป็นอย่างนั้นจริง นอกจากนั้น ROE มีแนวโน้มลดลงจาก12 เหลือ 8-9%
เหตุผลส่วนหนึ่งจาก เศรษฐกิจ และ disruption พวก tech firm ทั้งหลาย
แบงค์เอเชียไม่ใช่ว่าไม่มีอนาคต แต่ต้องผ่านความเจ็บปวดก่อน
หลังจากนี้จะเกิดการ consolidation เริ่มควบรวมกิจการกัน มีการซื้อกิจการต่างประเทศ
หลังจากนั้นต้อง invest capex ด้าน IT สัดส่วนค่อนข้างสูง
หลังจากผ่านเรื่องเหล่านี้ ธนาคารในเอเชียก็อาจมีแนวโน้มสดใส
อุตสาหกรรมนี้อยู่ในแนวโน้มเปลี่ยนแปลงก็อาจมีโอกาสลงทุนได้


คุณกานต์
กลยุทธ์ส่วนตัว และที่แนะนำคนอื่น แต่ละคนก็มีข้อจำกัด หรือความถนัดต่างกัน
ตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลาตามหุ้นเยอะ ก็ต้องกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะกับตัวเอง
ได้ผลตอบแทน 10-15% ก็ดีใจมากแล้ว แต่ถ้าน้องๆที่อยากได้ผลตอบแทนเป็นเท่า
หรือพี่ๆในวัยเกษียณอยากได้ cash flow ไม่อยากเสี่ยงมาก็ต้องกำหนดให้เหมาะกับตัวเอง

ส่วนตัวพยายามเลือกหุ้นที่มีขนาดใหญ่ อย่างใน SET 50 ช่วงที่ผ่านมาบอกว่าผลตอบแทน -10 %
แต่มีปันผลอะไรเข้ามาก็ไม่ได้ลบอะไร หลีกเลี่ยงหุ้นเล็ก PE สูง สภาพคล่องต่ำ
อาจทำให้ไม่สบายใจถ้างบไม่ดีก็ขายไม่ทัน ไม่ได้แกะงบ หรือไป company visit ก็ต้องดูให้เหมาะ

ถ้าแนะนำน้องๆที่อยากได้ผลตอบแทนสูงคิดว่า โอกาสอยู่ที่ต่างประเทศ
เริ่มจากเล็กๆ แล้วค่อยเพิ่มสัดส่วนการลงทุน
เมื่อมีวิกฤติก็อาจมีโอกาสให้ลงทุนได้ อยากให้ลองดูกว้างออกไป

ถ้าลงทุนแล้วมีความมั่งคั่งระดับหนึ่ง แล้วใช้เวลาลงทุนมาก แล้วทิ้งเวลาอื่นในชีวิต ก็อาจยังไม่สมดุล
ก็ต้องมององค์รวม กลยุทธ์ลงทุนก็สัมพันธ์กับกลยุทธ์ในการใช้ชีวิตด้วย

อย่างตอนนี้โรคระบาดกระทบท่องเที่ยว หุ้นหลายตัวลงมาค่อนข้างมาก
ก็ต้องดูว่ามีตัวไหนที่ผ่านพ้นวิกฤติอยู่รอด มีสภาพคล่อง มีเงินสด มีความสามารถชำระหนี้
เราคงไม่ซื้อวันนี้หวังพรุ่งนี้ขึ้น ต้องให้เวลาบริษัทพิสูจน์ตัวเอง 2-3 ปีก็อาจได้ผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ

กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง อย่างที่พูดว่านักลงทุนสถาบันก็มีแรงจูงใจในการซื้อ เหมือนเทรดกันคนละตลาด
ในสถานการณ์นี้ควรลงทุนโดยไม่ได้เก็งว่าลงทุนได้ดีกว่าคนอื่น แต่หวังผลตอบแทนจากบริษัทจากการดำเนินการ
เราสามารถลงทุนได้ผลตอบแทน หรือเก็งกำไรได้ผลตอบแทน นอนหลับได้ไม่เครียดก็ OK


คุณมี่
ในอดีตใช้กลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงมาก ช่วง 7-8 ปีแรก มักลงทุนหุ้นน้อยตัว ราว 2 ตัว
แถมบางครั้งยังอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันที่ความเสี่ยงสูง เช่น อสังหาริมทรัพย์
แต่โชคดี ว่าสถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นใจทำให้ไม่เจอเรื่องร้ายๆ
ช่วงเศรษกิจโตดีๆ ปัญหาคือ ขายอย่างไรให้ทัน เวลาลงทุนไปงบก็จะออกมาตามคาด
พอ GDP ลงมาเหลือ 3 % ปัญหาเปลี่ยนเป็นขายอย่างไรให้ดี
พอ GDP ลงมาเหลือ 2% ปัญหาคือ ขายอย่างไรให้ได้ ถ้าเรามั่นใจจัดๆโอกาสที่จะผิดในภาวะแบบนี้สูง
งบการเงินที่ออกมาเห็นแล้วว่าคาดการณ์ผิดเยอะมาก
ตอนนี้จึงกระจาย และถือราว 20 ตัว ก็ยังมีปัญหา เพราะตลาดไม่ค่อยดี

กลุ่มหุ้นที่เริ่มลงทุนจากไม่เคยลงทุน คือ การแพทย์
มองว่าปี 64 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีโอกาสเจ็บป่วย เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ
ข้อระมัดระวัง อ.นิเวศน์เคยบอกว่าคนสูงอายุมากขึ้น ป่วยมากขึ้น ประเด็นหนึ่งอาจ offset กับการที่เด็กเกิดน้อยลง
สมัยก่อนเกิด 8 แสนคน ในช่วง 4-5 ปีนี้ก็ลดแรงขึ้นจนเหลือ 6 แสนต้นๆ
คิดมุมกลับตั้งแต่โตมาเคยเข้าโรงพยาบาลครั้งเดียวคือถูกรถชนที่หน้าบ้าน
เด็กทุกวันนี้เกิดน้อย แต่พ่อแม่ดูแลลูก ทำประกันให้ลูก
อัตราในการที่เด็กใช้โรงพยาบาลโดยรวมอาจเพิ่มขึ้น มีการดูแลใกล้ชิด เป็นเทรนด์ที่เติบโตได้ดี

ที่น่าลงทุนอีกกลุ่ม คือหุ้นที่ลงมามากเกินไป เช่น pbv ต่ำ 0.5 หรือ pe ไม่สูง ปันผลรับได้
ไม่ถูก disruption ก็อาจพิจารณาหาจังหวะลงทุน

กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง บังเอิญมีโอกาสฟังโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง มี 25% ในตลาดเป็น DW
ซึ่งเป็นตัวคูณที่มีพลังมหาศาล บางตัวสมมติเราซื้อไป 1 ล้าน เท่ากับซื้อหุ้นจริง 17 ล้าน
แต่เราไม่รู้ว่าทำอะไรไป ทำให้หุ้นขึ้นไปได้ด้วยแรงซื้อเทียม ก็ต้องระวัง


หมอเค
ในแง่ sector เห็นด้วยกับพี่ชาย พี่มี่
Joel Greenblatt บอกว่า สินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาขึ้นสูงจนคนมองว่าไม่เสี่ยง
เวลานั้นคือเสี่ยง สินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยง ที่คนมองว่าแย่แล้ว เวลานั้นไม่เสี่ยงเท่าไรนัก
เวลาคนกลัวอะไรมากๆ ถ้าเฟ้นหาดูดีๆ อาจเจอสิ่งที่น่าสนใจก็ได้
พี่ประชา เคยพูดว่านักลงทุนชอบมองกระจกหลัง แต่ที่จริงรถมีกระจกหน้าใหญ่กว่า
หุ้นลงมาต่ำๆ ต้องมองอนาคตว่าดีกว่าที่เขากลัวกัน จุดนั้นถึงจะน่าสนใจ

อย่างไวรัสโคโรน่ามีพี่ที่รู้จักกันที่เชียงใหม่ขายของให้คนจีน
มี stock หน้ากาก ก็ขายได้มาก ในวิกฤติก็จะมีคนได้ประโยชน์เสมอ
เวลาหุ้นลงจะกลับขึ้นไปได้ มันต้องมีการปรับตัว ยกเคสตัวอย่าง
มีหุ้น 2 ตัว ตัวที่ 1 ขายชุดชั้นใน เป็นบริษัทต่างประเทศ ตัวที่ 2 ขายกางเกงโยคะ
ปี 2010 2 ตัวนี้ราคา 20 เหรียญเท่ากัน วันนี้ราคาปรับขึ้นมาก
บริษัท 1 คือ L brands ขาย Victoria secret
ปี 2015 ราคาขึ้นไป 100 เหรียญ ปัจจุบันอยู่ที่ 20 เหรียญ
บริษัท 2 lulu lemon ปัจจุบันอยู่ที่ 250 เหรียญ
L brands เริ่มจากขายความ sexy เจ้าของแบรนด์ชอบอะไรแบบนี้
ออกแบรนด์ pink ทั้งร้านเป็นสีชมพู จุดเด่นคือ แฟชั่นทีวี ให้ super model มาเดินโชว์
หุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ หลังจากนั้น sssg ติดลบ ติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่เกิดขึ้น คนที่ดู fashion sexy tv ลดลงเรื่อยๆ
คนก็บ่นว่าบริษัทอวดแต่ความสมบูรณ์แบบ อย่างล่าสุดมีประเด็นเรื่อง transgender ซึ่งบริษัทก็เห็นว่าไม่เหมาะสม
และ มีแบรนด์บริษัทอื่นเอานางแบบที่ไม่ได้หุ่นดีมาใช้ ซึ่งได้รับการยอมรับ แต่บริษัทมองว่าต้อง sexy หุ่นดี
ซึ่งกว่าจะปรับตัวได้ ไปทำอย่างอื่นก็มีเจ้าตลาดทั้งนั้น ราคาหุ้นก็ลดลงเรื่อยๆ
และเริ่มมีประเด็นว่า L brand อาจต้องขาย Victoria secret ทิ้งหรือเปล่า

ด้าน Lulu lemon ปี 2010 ราคาต่ำ มีประเด็นว่า ลูกค้าใส่กางเกงโยคะแล้วฉีก
มีคนไปถามว่าเกิดอะไรขึ้น CEO/Founder ก็ comment ว่ากางเกงเราเหมาะกับคนหุ่นดี
จึงมีกระแสต่อว่าผู้บริหาร ทำให้ยอดตก จนต้องลาออก และมีคนใหม่เข้ามาแทน
แล้วปรับตัวให้เหมาะกับ trend เพิ่มคุณภาพ ขายสินค้าท่อนบน ขยายลูกค้าผู้ชาย
มีสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ตลาดมากขึ้น และขยายไปประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น
มีการใช้ data science วิเคราะห์ผู้บริโภคต้องการอะไร และจับตลาดให้ได้ก่อนคนอื่น
เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าต้องปรับตัวให้ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งตัวบริษัท หรือแม้แต่ตัวนักลงทุนเอง
Charles Darwin บอกว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอด ไม่ใช่แข็งแกร่งสุด แต่ปรับตัวได้ดีที่สุด


ดร.นิเวศน์
สมัยเรียนต่างประเทศ ที่ oxford ทุกอาทติย์ต้องไปจ่ายตลาด ไป super market ชื่อโครเกอร์
ผ่านไป 30 กว่าปี กลับไปดูว่าเป็นอย่งไร ก็พบว่าคนยังไป โครเกอร์อยู่ และขายดีเหมือนเดิม
ไม่ถูก disrupt และยังเป็นอันดับต้นๆ
ล่าสุด บัฟเฟตต์ ออกข่าวว่าซื้อหุ้นโครเกอร์10% ด้วยราคา 1.5 หมื่นล้านบาท ยอดขาย ราว 4 ล้านล้านบาท
มันไม่น่าจะโดน disrupt เพราะเขาก็อยู่ตามชุมชน มีบริการส่ง ขายออนไลน์ได้ 40-50%
บัฟเฟตต์น่าจะรู้จักโครเกอร์มานาน แต่ ผ่านมาตั้งนานเพิ่งจะมาซื้อ ทั้งๆที่ทุกคนกลัวว่าจะถูกทำลาย
มานั่งคิดดูถ้าตลาดหลักทรัพย์ไทยปิดไป 5-10 ปี จะซื้อหุ้นตัวไหน
ก็คิดว่าวิธีนี้ใช้ได้ จะเอาอะไรที่อยู่ได้มานาน ปรับตัว และมีความเข้มแข็ง
ซื้อในราคาที่ไม่แพง น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ปลอดภัย


Part 1 ทางพี่อมรจะเป็นผู้สรุปให้ครับ


ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ และทีมงาน moneytalk ที่จัดสัมมนาดีๆมาตลอด
ขอบพระคุณวิทยากรพี่ชาย พี่มี่ พีกานต์ พี่หมอเค ที่มาให้ความรู้ และมุมมองในการลงทุน

Money talk@SET ครั้งถัดไป 14 มี.ค. เปิดจอง 7 มี.ค.
ช่วง 1 สัมภาษณ์ผู้บริหาร 3 บริษัท Bgrim, Chayo, Jubile
ช่วง 2 มองหุ้นไทยผสมผสานกัน ปริญญ์ พานิชภักดิ์, สุกิจ อุดมศิริกุล, วัชระ แก้วสว่าง,ดร.นิเวศน์
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 264

Re: MoneyTalk@SET16/2/63กลยุทธ์จัดพอร์ตปี 63 และวีไอรุ่นกลางใหญ่

โพสต์ที่ 2

โพสต์

MoneyTalk@SET 16 Feb 2020 13.30 ช่วงที่1
กลยุทธ์การจัดพอร์ตปี63

วิทยากร
1.ดร สมจินต์ ศรไพศาล. กรรมการผู้จัดการ บลจ TMBEastspring
2.คุณ เจษฏา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ Founder Finnomina

ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ พิธีกรดำเนินรายการ

งานวิจัยที่ดร ไพบูลย์บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จ
นั้นปัจจัยที่สำคัญคือ การบริหารพอร์ต

คำถามถาม อ สมจินต์เรื่องความสัมพันธ์ในการจัดพอร์ต
อ สมจินต์ บอกว่า วารสารทางวิชาการโดนFinancial analyze ศึกษาว่า
การตัดสินใจลงทุนมีปัจจัยสามอย่างคือ

สมมติว่ามีเงิน 100 บาท แบ่งเงินไปลงทุนตามประเภททรัพย์สิน

ขั้นแรก จะแบ่งเงินไปซื้อ หุ้น หรือ กองทุนหุ้น ซึ่งให้ผลตอบแทนเยอะสุด แต่ก็มีความเสี่ยงสูงสุด
มีกี่บาท ที่ออมเพื่อสภาพคล่อง ในตลาดการเงิน ซึ่ง Low risk,low return
ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า asset allocation หรือ การแบ่งเงินลงทุนตามประเภททรัพย์สิน หรือ จัดทัพลงทุน

ขั้นที่สอง เงินที่ลงหุ้น 60% จะซื้อหุ้นอะไรบ้าง
ส่วนอีก30%จะซื้อตราสารหนี้หรือพันธบัตรอะไรบ้าง เรียกวิธีการนี้ว่า
Security selection(Stock selection)
Security คือ หลักทรัพย์ที่เลือกลงทุน เช่น พันธบัตร หุ้น ตราสารหนี้

ขั้นที่สาม จะซื้อทันที หรือ ตั้งราคาซื้อ หรือ รอซื้อ เรียกวิธีการนี้ว่า market timing

ซึ่งทั้งสามปัจจัย ที่ผลต่อการลงทุนต่างกัน
ในสามอย่าง การแบ่งเงินลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ที่ผลต่อการลงทุนถึง93%
ส่วนการเลือกหุ้นมีผลแค่ 5% และ จับจังหวะการลงทุนมีผลเพียง 2%

ตอนนี้มีคนถามเยอะว่าลงทุนได้หรือยัง เป็นคำถามที่ฮิตสุด ซึ่งมีผลต่อการลงทุนแค่5%
คำถามฮิตต่อมา คือ เลือกตัวไหนดี ซึ่งมีผลต่อการลงทุนแค่2%
ถ้ามีผู้แนะนำที่ดี อย่างเช่น Finnomina จะช่วยให้การลงทุนทำได้ดีขึ้น
ทางบริษัทไม่ได้เก็บค่าแนะนำในการลงทุนเลยจากลูกค้า
นี่เป็นโอกาสที่ทุกคน Win-Win
โดย ทางบลจ จะแบ่งเงินในการแนะนำการลงทุนให้กับทาง Finnomina

อ เสน่ห์ บอกว่า ลงทุนหุ้นน้อยมาก เพราะเหลือหุ้นคิดเป็นมูลค่าน้อยมาก

ส่วนดร ไพบูลย์บอกว่า เวลาอ่านนิตยสาร ถ้าไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องการ
จัดสรรสินทรัพย์ในการลงทุน แต่ข้ามไปพูดถึงการเลือกซื้อหุ้น จะไม่ดูต่อ
เพราะไม่ได้พูดถึงส่วนสำคัญในการลงทุน คือ การจัดสินทรัพย์ในการลงทุน
เวลาเรียนในมหาวิทยาลัย จะเรียกว่า Asset Allocation.
เวลาตลาดหลักทรัพย์มีปัญหา ก็จะกระทบต่อพอร์ตลงทุนน้อย เพราะได้กระจายความ
เสี่ยงไปลงหลากหลายสินทรัพย์


คุณเจ็ท พูดว่าถ้าดูข้อมูลจาก Finnomina.com ซึ่งทางเราได้ซื้อฐานข้อมูลมาเผยแพร่ต่อ
ส่วนหุ้นก็ซื้อข้อมูลย้อนหลัง40weeksจากตลาดหลักทรัพย์ เริ้มแรกก็นำข้อมูลมาให้
ตัวเองกับMarchดูก่อน หลังจากดูแล้วเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
หลังจากนั้น ก็ปล่อยให้คนส่วนใหญ่ดู ก็มีคนมาดูเป็นแสนคน

3ปีที่ผ่านมา หุ้นที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด
คือ SKY, SPVI, TQM ,GULF
ผลตอบแทนที่ผ่านมา ได้ 250-300%
แต่ถ้าดูผลตอบแทนของกองทุน เช่น
TMB china opportunity ซึ่งบริหารโดยUBS ได้ผลตอบแทน 18-20%ต่อปีในปีที่แล้ว

ส่วนผลตอบแทนต่ำสุด
หุ้นขาดทุนได้ถึง 98-99% หมายความว่า
ลงทุนหนึ่งล้านบาท เหลือเงินแค่ หนึ่งหมื่นหรือสองหมื่นบาทเอง
หุ้นที่ชื่อเร็วๆ จากสามหรือสี่บาท เหลือแค่7สตางค์
หรือมีหุ้นติดลบเยอะสุดคือ 100% คือหุ้นที่ติดSP เช่น
หุ้นที่ทำโรงไฟฟ้าแล้วไม่เหลืออะไรเลย หรือ หุ้นที่ลงทุนค้าขายถ่านหิน ที่ลง100%

ส่วนกองทุน สามปีย้อนหลัง กองที่แย่สุด เป็นกองที่ลงทุนหุ้นไทย
ขาดทุน 12-13%ต่อปี หรือ 40%ต่อ3ปี
เห็นว่ากองทุนและหุ้นมีลักษณะลงทุนต่างกันสิ้นเชิง

มีคนมาขอคำแนะนำการจัดพอร์ต
ผมจะบอกว่าอย่าเชื่อผม หรือ Finnomina แต่ให้เชื่อตนเอง
การฟังอย่างเดียว ไม่ประสบความสำเร็จ
Build-Measure-Learn หรือ ต้องทำด้วยตนเอง
กำไรบริษัท 100 ลบ ราคาหุ้น10 บาท PE เท่าเดิม กำไรโตขึ้นเป็น300ลบ
โตขึ้นสามเท่า ราคาหุ้นก็สามารถขึ้นเป็น30บาท
ดังนั้น ถ้าหาหุ้นให้เจอ เราก็ได้กำไร แต่ถ้าผิดตัวก็อาจขาดทุน90%
อ โจ เคยพูดว่า เจ้ามือที่แท้จริง คือ กำไรของบริษัทนั่นเอง
ความรู้ในการลงทุน คือ ตัวปลดLockในระยะยาว
Warren Buffett ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ย 20%กว่าต่อปีในช่วง60ปีที่ผ่านมา
ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยในเรื่องการลงทุน

กองทุนที่ลงทุนในSET Index ผลตอบแทน 1.39% ย้อนหลังสามปี
เทียบกับ ลงในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น กองทุนทหารไทยธนเพิ่มพูน TMBUSB ได้1.85%
ส่วนกองตราสารหนี้ระยะยาวของกรุงศรี ชื่อKrungsri A Fix ได้ผลตอบแทน 3.14%
พอมาตราสารหนี้โลก คือ TMB G-income 3.3%
แต่Property Fund ,REITs ของ LH คือ LH TProp ได้ 11.22%
ส่วนทองคำ 1ปีที่ผ่านมาได้ผลตอบแทน 17% และ 3ปีที่ผ่านมาได้ 5.5%
ส่วนกองที่ลงทุนหุ้นเติบโตทั่วโลกของ บลจ TMBEastspring คือ TMBGQG ผลตอบแทนสามปี 15%ต่อปี
ส่วนกองทุนหุ้นเอเชีย คือ กองทุนPrinciple APDI ที่คุณวินดูแล ได้return 7.8%ต่อปี
กองญี่ปุ่น UOBSJSM return11%ต่อปี ก็เป็นกองที่แนะนำ
เป็นข้อนึงที่ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในยุคเศรษฐกิจที่ต้องหาแรงเสริม
เรามีสินทรัพย์หลายชนิด ที่น่าสนใจลงทุน

รอบถัดไป 3-6 เดือนที่แล้ว ที่แนะนำ GQG ไป
ตอนนี้ทองคำ หุ้นโลก วิ่ง แต่หุ้นไทยลง
Yield พันธบัตรระยะยาว10ปี 1.2%ต่ำมาก ดอกเบี้ยได้แค่1%
Property Thailandชลอการขึ้นไปบ้าง
ปกติ หุ้นเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง
เวลาศก แย่ จะลงพันธบัตร ทองคำ แต่ความเป็นจริงไม่ใช่
จะมาดูว่าจัดพอร์ตแบบไหน เพื่อรับมือในอีก3-6เดือนข้างหน้า


ถาม ดร สมจินต์ การจัดพอร์ตในช่วงผันผวนต้องปรับพอร์ตอย่างไร
อ สมจินต์บอกว่า เราต้องเริ่มต้นในการจัดพอร์ต
ผมเชื่อว่าทัพลงทุนที่ดี เหมือนการจัดทีมฟุตบอลที่ดี
กองหน้าที่ทำประตู กองหลังรักษาประตู กองกลางคอยสนับสนุนกองหน้า

กองหน้า ทำหน้าที่สร้างความมั่งคั่งในระยะยาว เช่น กองทุนรวมหุ้นซึ่ง High risk High return
ซึ่งเงินที่นำมาลงทุน ต้องอยู่ได้ครบหนึ่งวงจรศก ประมาณ 7ปี

กองต่อมา กองหลัง ต้องการสภาพคล่อง ไม่สามารถลงทุนเสี่ยงเกินไป
ตัวอย่างเช่น กองทุนตราสารการเงิน เช่น TMBUSB

กองกลาง เงินที่มาลงทุนอยู่ได้2-3ปี ซึ่งมีหน้าที่สร้างกระแสเงินได้ เช่น กองทุนตราสารหนี้
Slideหน้าที่4 ซ้ายมือ ทัพฟุตบอล ขวามือ คือ รายชื่อกองทุน

กองหน้า คือ หุ้นทุน Wealth Builder :
ชื่อกองทุนที่แนะนำให้ลงทุน คือ Global Quality Growth(GQG) ,SET50
SET50 (15,000 ลบ return 12-13% )
GQG ลงทุนหุ้น 3,000บริษัททั่วโลกที่มีmarginดี คุณภาพสูง และเติบโต
ซึ่งมีกระบวนการคัดกรองที่ดี มีตัวพยากรณ์ คือ การวัดคุณภาพ margin จ่ายปันผล เป็นเกณฑ์
คัดเหลือหุ้น 500 บริษัท เพื่อมาเลือกอีกครั้ง โดยใช้แมคโครfactor จะเหลือหุ้นให้ลงทุน 75 ตัว
กลุ่มนี้เวลาหุ้นขาขึ้น กองทุนจะขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย และ เวลาขาลง จะลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
เราไม่ควรลงทุนในส่วนไหนมากเกินไป เราควรกระจายความเสี่ยงไปในต่างประเทศ

กองกลาง ทรัพย์สินรายได้ ตราสารหนี้.
Income Provider จุดประสงค์คือชนะเงินเฟ้อได้ :
ชื่อกองที่แนะนำให้ลงทุนProperty income Plus ,Global Income.
เชื่อว่าตราสารหนี้ น่าเชื่อถือ แต่ต้องยอมรับผลตอบแทนต่ำมาก
ดังนั้นไปลงทุนใน Global income (Pimco) รวม MDS ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
อีกประเภท property จะมาช่วยและเป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น

กองหลัง. ตราสารหนี้ระยะกลางและสั้น
Money Manager ซึ่งอัตราผลตอบแทนสู้เงินเฟ้อไม่ได้ ใช้ได้1-12เดือนข้างหน้า:
ธนไพบูลย์ : (6-12เดือนขึ้นไป) 80,000 ลบ
ธนเพิ่มพูน : (1-6เดือนขึ้นไป) 60,000 ลบ
กองหลัง ถ้าหากฝากกับธนาคารผลตอบแทนแค่ 0.25% เราก็ไปลงทางเลือกได้1.5%
เหมาะกับการลงทุนมากกว่า6เดือนขึ้นไป ถือเป็น Core investment



กองกลาง Global income ห้าปี ขนาดโต 40,000 กว่าล้านบาท จ่ายปันผล20Q return 10%ต่อปี


คำว่า สอดคล้องวัตถุประสงค์ เราต้องรู้วัตถุประสงค์
1.สร้างความมั่งคั่งระยะยาว
2.บริหารการจัดการสภาพคล่องใช้ในหนึ่งปี
3 เพื่อชนะเงินเฟ้อ และ เอาเงินมาใช้จ่าย

เรารู้ว่าเครื่องมืออะไรที่สอดคล้องในแต่ละวัตถุประสงค์
เราไม่หวั่นไหวในการลงทุนคือ เรามีเงินสำรองไว้ใช้ในระยะหนึ่งปี

Purposed-Driven asset allocation คือการจัดทัพตามวัตถุประสงค์

อีกคำคือ การกระจายความเสี่ยง
การเลือกลงทุนในกองทุนรวมถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว
และสามารถรอบรับความผันผวนที่เกิดขึ้น

ดร ไพบูลย์ บอกว่า มีคนแนะนำสัดส่วนในการลงทุน
กองหลัง 25% ให้ภรรยา มั่นคง เห็นตัวเลขไม่เห็นเงิน
กองกลาง 50% ซื้อหุ้นและจองคอนโด
กองหน้า 25% ซื้อหวยใต้ดิน หวังว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดี
และให้อ สมจินต์ดูปรากฏว่าใช้ได้อย่างเดียว คือให้ภรรยา มั่นคงปลอดภัย

อ สมจินต์ บอกว่ากองหลัง ควรลงทุนในmoney market fund
ลักษณะที่สำคัญ คือ เอาเงินออกมาใช้ได้ง่าย

ส่วนหวยไม่ใช่ High return asset เพราะคำนวณผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ยต่ำมาก
ไม่เข้าข่าย ซื้อแล้วหาย ต้องซื้อใหม่ตลอดเวลา ไม่ใช่เครื่องมือสร้างความมั่งคั่ง
ส่วนกองกลาง คอนโด ไม่มีสภาพคล่อง
ส่วนหุ้น ที่ซื้อขายเป็นวัน วัน ก็ไม่มีเงินปันผล

ตามที่เรียนมา การจัดเป็นกองทัพ ขึ้นกับความเสี่ยงที่รองรับอย่าง

มีพอร์ตอยู่3แบบ คือ
1. อนุรักษ์.
2. เสี่ยงปานกลาง.
3. พอร์ตก้าวหน้า

รายละเอียด สามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 1725

คุณ เจษฏา เพิ่มระดับความเข้มข้น โดยเอาเงินออกจากเงินฝาก
โดยเพิ่มความรู้ และ มี conviction call ว่าสินทรัพย์อะไรดี

วันนี้เตรียมมาสามกองทุน
สิ่งที่เราเจอ หุ้น ทอง ตราสารหนี้ ก็ขึ้นกันหมด
สิ่งหลักที่ทำให้เกิดตั้งแต่ Q4 2019 คือ FED เข้าไปซื้อพันธบัตรระยะสั้น ให้เกิดสภาพคล่อง
ทำให้ไทยลดดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติการณ์ 1%
จีนก็อัดฉีดสภาพคล่องมหาศาล เพื่อกดดอกเบี้ยให้ต่ำ
ซึ่งสะท้อนเศรษฐกิจทั่วโลกไม่แย่อย่างที่คิด
ยุโรป งบออกมาดีกว่าคาดการณ์
ญี่ปุ่น งบก็ออกมาดีกว่าคาดการณ์
สหรัฐ งบของGoogle , Apple โต20%
SET index ETF ต่ำกว่า 100 แล้ว

คำถามคือจะดูอย่างไร ทองขึ้นมาเพราะกลัวความเสี่ยงที่ศก ถดถอย
11ปีที่ ศก ขึ้นไม่ยอมลง และ มีโอกาสที่ภาวะ ศก โลก ที่ยังเติบโตต่อไปได้
นักลงทุนส่วนนึงไปลง ทองคำ ซึ่งคนไปซื้อทองคำเก็บสองล้านหกแสนกิโลกรัม
เงินก็ไหลไปตราสารหนี้ไทย หรือ ไหลไปซื้อหุ้นสหรัฐ

แต่สินทรัพย์นึงที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เงินสด ไม่ควรถือเงินสด
ตราสารหนี้ระยะยาว ไม่ชอบ , พันธบัตร 10ปีได้ 1.2%
กองอสังหา ให้ความชอบเป็นกลาง กองที่น่าสนใจ คือ LHTProp return 5%
ผลตอบแทนมาจากปันผลเป็นหลัก

ส่วนกองทุนที่แนะนำให้ลงทุน

1.ทองคำ ให้แนะนำลงทุน เพราะเดือนทีผ่านมาเงินบาทอ่อนมาบาทนึง.
เนื่องจากเงินทุนไหลออก ทำให้เงินบาทอ่อน
แนะนำให้ลงทุน ซื้อทองเยาวราช หรือลงทุนใน TMBGOLD ซึ่งกองนี้ไม่ได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน

2.หุ้นภูมิภาค บริหารโดย Principle ที่ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งPE 14-15 ยังไม่แพง
กองทุนที่แนะนำชื่อว่า Principle APDI

3.หุ้นญี่ปุ่น กองทุนที่แนะนำ คือ UOB sjsm

ส่วนการลงทุนหุ้นไทย เป็นรายตัวที่กำไรโตขึ้นในหนึ่งเท่าในช่วง3ปีข้างหน้า


แถมท้าย เรื่องกองทุนใหม่ที่ลดหย่อนภาษี ซึ่งมาแทน LTF คือ

กอง SSF ซึ่งไม่ได้คล้าย LTF มาก แต่ให้สิทธิ 30%ของรายได้ แต่วงเงินไม่เกิน250,000 บาท
ลงทุน 10ปีเต็มจึงจะถอนได้ ซึ่งข้อดีของSSF คือการลงได้หลากหลายสินทรัพย์

เงินที่ลงทุน 30%ของรายได้แต่ไม่เกิน 250,000 บาท แต่ไปรวม RMF ,กบข ไม่เกิน500,000 บาท

คนที่มีอายุมากหน่อย สัก45ปีขึ้นไปจะสนใจRMFมากขึ้น แต่คนอายุน้อยกว่า 45ปี ก็ลง SSF บางส่วน

ส่วน ดร ไพบูลย์ ฟันธง ให้ลง RMF ให้เต็ม500,000บาทก่อน

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร ไพบูลย์ วิทยากร และทีมงาน MoneyTalkทุกท่านนะครับ
โพสต์โพสต์