เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Konsod2019
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 1

เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Konsod2019
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 1

Re: เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”

โพสต์ที่ 2

โพสต์

PORT
FUND
STOCK
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา

ตลาด

คลังความรู้

PORT Strategy
Videos
Podcast
เรียนออนไลน์
PORT FUND STOCK

ค้นหาบทความ หุ้น กองทุน

คลังความรู้ ตลาด ธุรกิจ ธุรกิจ หุ้น หุ้น
เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”
นายแว่นลงทุน นายแว่นลงทุน 11/11/19
11,692
(เงินล้าน) เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า ... “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”
การลงทุนในหุ้นนั้น สิ่งที่เราต้องติดตามเป็นอันดับแรก ก็คือ การมองหากิจการที่เติบโต กิจการใดก็ตามที่มีการเติบโต มักจะสะท้อนไปที่ราคาหุ้นที่จะขยับปรับตัวสูงขึ้นเสมอ

หากนักลงทุนต้องการมองหากิจการที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้ไป ต้องยอมรับว่า มันไม่ง่ายเลยที่จะประสบพบเจอกับกิจการเหล่านั้น และถ้าเราเจอ ในขณะที่ราคาหุ้นยังไม่แพงจนเกินไป เราก็ควรเก็บสะสมลงทุนเอาไว้ ไม่ใช่เพื่อจะขายทำกำไรวันนี้ พรุ่งนี้ แต่เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

แม้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ยังมีกิจการที่เจริญงอกงามอยู่นั่นเอง เปรียบเสมือนกับทะเลทรายที่ยังคงมีต้นไม้บางชนิดเจริญเติบโตได้ เรามาดูกันดีกว่าว่า กิจการใดบ้างที่จะโตได้ในยามนี้ เอาแบบ 3-5 ปีต่อจากนี้ นายแว่นลงทุน ขอเล่าให้อ่านดังต่อไปนี้

(เงินล้าน) เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า ... “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”
กิจการแรก … “กิจการเก็บหนี้”
แน่นอนที่สุดว่าในยามเศรษฐกิจไม่ดี คนที่มีหนี้สินอาจจะเริ่มผ่อนดอกเบี้ยไม่ไหว และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดหนี้เสียออกมาเป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนหนี้ NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย

(เงินล้าน) เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า ... “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”
(ภาพแสดง NPL ของประเทศไทย)

เราจะเห็นว่า การเติบโตของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เติบโตขึ้น สะท้อนจากหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 70-80% ต่อ GDP ประเทศ และนั่นทำให้เกิดธุรกิจซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มาบริหารจัดการต่อ

ธุรกิจดังกล่าวเรียกง่าย ๆ ว่า “ธุรกิจเก็บหนี้” จึงเติบโต และน่าติดตามอย่างยิ่ง ด้วยขนาดของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทยที่คาดว่าจะมีมูลค่าเป็นแสนล้าน ประกอบกับธนาคาร สถาบันการเงินใหญ่ ๆ ต้องการจะตัดหนี้ส่วนนี้ออกมาขาย เพราะกลัวว่ามาตรฐานด้านการธนาคารแบบใหม่จะทำให้การตั้งสำรองยากลำบากขึ้น ธุรกิจตามเก็บหนี้จึงน่าสนใจในห้วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย

ธุรกิจที่สอง … “ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูลด้วย Big Data และ AI”
อีกไม่นานเราก็จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G กันแล้ว สำหรับเทคโนโลยี 5G ต้องบอกเลยว่า ใครเริ่มก่อนย่อมได้เปรียบกว่า เนื่องจากเทคโนโลยีนี้จะนำความเปลี่ยนแปลงระดับ “พลิกโลก” และจะสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่กว่ายุค 4G ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนผ่านไปเร็ว ๆ นี้

nter logo
ลงทุนในกองทุนรวมที่ยอดเยี่ยม ปรึกษา FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะเป้าหมายการลงทุนแตกต่างกัน จึงต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด

ดูพอร์ตกองทุนแนะนำ
สิ่งที่เห็น ๆ ว่าจะมาสำหรับยุค 5G ก็คือ การบริหารจัดการข้อมูลแบบ Big Data ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ว่ากันว่า หากยุคใหม่ก้าวเข้ามาเต็มตัว การค้นหาข้อมูลอาจจะลดความสำคัญลง เนื่องจากอุปกรณ์ 5G จะรู้ดีกว่าคนที่ใช้มัน และวัตถุสิ่งของจะฉลาดกว่ามนุษย์ก็เป็นไปได้

ธุรกิจที่ทำข้อมูลด้านนี้ในประเทศไทยแม้จะมีน้อยแต่ก็ยังพอมีนะครับ หนึ่งในตัวอย่างที่ผมอยากจะหยิบยกให้พิจารณาก็คือ เทคโนโลยีการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางมือถือ หรือที่เรียกว่า Peer to peer lending (P2P Lending) ซึ่งหมายถึง การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล โดยผ่านระบบออนไลน์และไม่ผ่านตัวกลาง

หากเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้น จะทำให้ตัวกลางหายไป และนั่นหมายความว่าต้นทุนการปล่อยกู้จะต่ำลง และถ้ามันแพร่หลายมากขึ้น มันอาจจะทำลายการปล่อยสินเชื่อแบบเก่า ๆ ก็เป็นไปได้

แต่การที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยฐานข้อมูล การประมวลผลลูกค้าที่แม่นยำ เพราะหากปล่อยสินเชื่อไปแล้วกลายเป็นหนี้สูญ ก็คงไม่ดีเป็นแน่แท้ กิจการที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวย่อมได้รับผลประโยชน์จาก “เมกะเทรนด์” นี้อย่างแน่นอน

ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ …
ตัวอย่างที่ยกมานั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแนวคิดการมองหาหุ้นเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อะไรที่มีแววจะเติบโต นักลงทุนควรเข้าไปศึกษาไว้ก่อนไม่เสียหลาย เพื่อที่จะได้เท่าทันคนอื่น หากเราพบเจอก่อน ก็มีโอกาสที่จะทำกำไรได้ แต่ถ้าเราไม่ตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้เราอาจจะ “ตกยุค” เอาแบบไม่รู้ตัวก็ได้นะครับ

#นายแว่นลงทุน

ติดตามนายแว่นลงทุน ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada/

**สนใจลงทุนในพอร์ต RUNNING for Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นซึ่งจัดโดยนายแว่นลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเลย >>
https://www.finnomena.com/port/naiwaen



nter logo
ลงทุนในกองทุนรวมที่ยอดเยี่ยม ปรึกษา FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะเป้าหมายการลงทุนแตกต่างกัน จึงต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด

ดูพอร์ตกองทุนแนะนำ
Article, Basic, GURUPORT, Infographic, Product Recommend, Short Content, ไอเดียสร้างเงินล้าน



อ่านอะไรต่อดี

อังกฤษได้นายกใหม่แล้ว!! เป็นลุง Boris Johnson คนเดิม เงินปอนด์พุ่งทะยาน!!
การวางแผนมรดก จะใช้ประกันชีวิต หรือ ทรัสต์ ดี?
การวางแผนมรดก จะใช้ประกันชีวิต หรือ ทรัสต์ ดี?
รู้จัก Exchange ที่ใช้ Blockchain แบบ 100%
รู้จัก Exchange ที่ใช้ Blockchain แบบ 100%
ติดตามเราผ่านไลน์
@Finnomena
นายแว่นลงทุน
นายแว่นลงทุน
"นายแว่นลงทุน" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" และเป็นผู้ก่อตั้ง www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย และ www.topofliving.com ที่เล่าเรื่องราวของบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"

บทความของ นายแว่นลงทุน
LINE it!
FINNOMENA Appอ่านบทความนี้บนแอป พร้อมแจ้งเตือนข้อมูลและสิทธิประโยชน์ดีๆ และลองใช้ PORT

FINNOMENA PORT เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา กูรู เรื่องราวของเรา ร่วมงานกับเรา ความเป็นส่วนตัว
© 2015-2019 FINNOMENA. All rights reserved.


Thailand Web Stat
Konsod2019
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 1

Re: เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”

โพสต์ที่ 3

โพสต์

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndP ... n2019.aspx.



EN
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
เกี่ยวกับ ธปท.
นโยบายการเงิน
สถาบันการเงิน
ตลาดการเงิน
ระบบการชำระเงิน
วิจัยและสัมมนา
สถิติ
Toggle navigation
หน้าหลัก> วิจัยและสัมมนา> บทความ
Peer-to-Peer Lending สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคลรูปแบบใหม่
​นางสาวปณิดา ถกลวิโรจน์
ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

ในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันทั้งในแง่ความสะดวกสบายและความรวดเร็ว เห็นได้จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น การซื้อสินค้า การจองตั๋วภาพยนตร์ การจองที่พัก รวมไปถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันการกู้ยืมเงินก็เป็นอีกหนึ่งธุรกรรมทางการเงินที่สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยผู้ที่ต้องการเงินทุนสามารถมาขอกู้เงินผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือช่องทาง หรือหากเป็นผู้ที่มีเงินเหลืออยากหาทางเลือกใหม่ในการลงทุนก็สามารถปล่อยกู้ได้เช่นกัน โดยอาจทำผ่านผู้ให้บริการ Peer-to-peer lendingplatform (P2P lending platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมผู้ที่ต้องการเงินกับผู้ที่มีเงินเหลือให้มาเจอกัน

P2P lending ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยกระแสดังกล่าวเริ่มเข้ามาในประเทศไทยกลายเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้ต้องการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ จากการนำเทคโนโลยีมาทำหน้าที่ตัวกลางทางการเงินซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้กู้ต่ำลง อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ประชาชนและบุคคลผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ (เพราะไม่มีรายได้ประจำหรือไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน) โดยไม่ต้องไปกู้นอกระบบซึ่งอาจมีดอกเบี้ยที่สูงมาก นอกจากนี้ P2P lending ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ให้กู้ในการกระจายความเสี่ยงที่สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบเดิมในระดับความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้ยอมรับได้

อย่างไรก็ดี การทำธุรกรรมสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวก็มีความเสี่ยงในหลายด้าน อาทิ ความเสี่ยงที่ผู้กู้จะก่อหนี้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของตน หรือความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้อาจไม่ได้รับชำระหนี้คืนตามสัญญา เนื่องจากการให้สินเชื่อไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ให้กู้จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้จะขาดสภาพคล่องเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกการให้สินเชื่อหรือเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญาได้ และที่สำคัญ P2P lending เป็นธุรกรรมการให้สินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการในวงกว้าง สัญญาสินเชื่อสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน จึงมีโอกาสเกิดการหลอกลวงทั้งจากแพลตฟอร์มและผู้กู้ ดังเช่นกรณีศึกษาในต่างประเทศที่แพลตฟอร์มมีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง ผู้บริหารแพลตฟอร์มทุจริต แพลตฟอร์มหรือผู้กู้สร้างโครงการขอกู้ปลอม เป็นต้น

สำหรับ P2P lending ในประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลเฉพาะแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา กับ ผู้ให้กู้ที่เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดย ธปท. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ P2P lending platform ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของแพลตฟอร์มต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถ ไม่เคยมีการทำงานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานวิชาชีพ และไม่มีปัญหาด้านสถานะทางการเงิน (ไม่เป็น NPL) แพลตฟอร์มต้องมีระบบงานที่มั่นคง น่าเชื่อถือ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรฐานในการให้บริการโดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงปลอดภัย มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการและข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) มีการเปิดเผยข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน และมีคำเตือนให้ผู้ใช้บริการตระหนักถึงความเสี่ยงของตน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ และดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเสถียรภาพระบบการเงิน

Article_05Jun2019.PNG

ถึงแม้ ธปท. จะมีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ P2P lending platform แล้วก็ตาม แต่ธุรกรรมการให้สินเชื่อออนไลน์ยังอาจมีความเสี่ยง ผู้ใช้บริการควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เลือกใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ หากเป็นผู้กู้ควรก่อหนี้ด้วยความระมัดระวัง และหากสนใจเป็นผู้ให้กู้ควรทำความเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของสินเชื่อก่อนการตัดสินใจทำธุรกรรม เพื่อให้การใช้นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่นี้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF


ตารางเวลาเผยแพร่เงื่อนไขการให้บริการ
เชื่อมโยงคำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร
©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.
Thailand Web Stat
Konsod2019
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 1

Re: เฟ้นหาหุ้นเติบโตในทศวรรษหน้า … “ธุรกิจอะไรที่จะเติบโตในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้”

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เฟ้นหาหุ้นดีลงทุนระยะยาว ... “หุ้นที่จะโตสิบเท่า ในทศวรรษหน้า”
.
มีคำถามมาหลังไมค์ในเพจ “นายแว่นลงทุน” บ่อยมากครับว่า ... หุ้นอะไรจะเติบโตในอนาคต ส่วนใหญ่อยากหาหุ้นที่จะเติบโตแบบรวดเร็วเอาภายในหลักเดือน หรือไม่เกินปี
.
สำหรับผมแล้ว หุ้นที่จะลงทุนระยะยาวได้นาน ๆ เป็น 5-10 ปี อันนี้น่าสนใจกว่าในมุมมองส่วนตัวของผม นักลงทุนพอร์ตใหญ่บางท่านอาจเห็นแย้ง เนื่องจากหุ้นที่จะถือยาว ๆ ได้ในยุคนี้ ต้องบอกว่าหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรก็ว่าได้
.
แล้วหุ้นอะไรเล่า ที่จะเติบโตเป็นเท่า ๆ ตัวในทศวรรษห้า หรืออีก 5-10 ปีต่อจากนี้ ? คำตอบของคำถามต้องบอกเลยครับว่า คาดเดายากมาก เพราะหากผมล่วงรู้อนาคต ผมคงรวยมากกว่านี้ไปนานแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเราจะพอทำนายอนาคตไม่ได้ เพียงแต่ว่า อนาคตอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ผมลองนักคิดนอนคิด เลยขอจำแนกกิจการที่คาดว่าจะเติบโตภายใต้กระแส Disruption ดังต่อไปนี้
.
กิจการแรก ... “กิจการที่ขายข้อมูล Big Data”
.
กิจการที่น่าติดตามสำหรับอนาคต ผมคิดว่า น่าจะเกี่ยวข้อกับข้อมูล Big Data เพราะกิจการแบบนี้หากเป็นผู้เชี่ยวชาญก็น่าจะทำเงินได้ ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า และขายข้อมูลให้กับธุรกิจที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ
.
กิจการที่น่าสนใจสำหรับผม ได้แก่ หุ้น BOL หรือ บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ที่มีลักษณะธุรกิจในการให้บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งด้านโอกาสและความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
.
โดยให้บริการข้อมูลเชิงลึกผ่านซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัย ตลอดจนเป็นผู้ออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นสำหรับผู้ประกอบการและสถาบันการเงิน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน
.
ผมเข้าใจว่า ... อนาคตธุรกิจปล่อยสินเชื่อออนไลน์ อาจจะมา Disrupt วิธีการปล่อยสินเชื่อแบบเดิม ๆ ตามสาขาของสถาบันการเงิน ที่มีต้นทุนด้านสถานที่ และการที่จะหาข้อมูลลูกค้าจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สำหรับ BOL ที่ให้บริการด้านนี้น่าจะมีอนาคตสดใส
.
กิจการที่สอง ... “โฆษณาในระบบปิด”
.
สำหรับการโฆษณาในระบบปิด ได้แก่ โฆษณาบนรถไฟฟ้า ในสถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นระบบปิด ทำให้การโฆษณานั้นออกแนวผูกขาดโดยเจ้าของ
.
ด้วยจำนวนคนของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งบนดิน และใต้ดินที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้โอกาสที่โฆษณาในระบบปิดดังกล่าวน่าจะมีอนาคตสดใสทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
.
กิจการที่น่าสนใจ ได้แก่ VGI BMN Planb สำหรับ BMN ยังเป็นบริษัทลูกใน BEM ซึ่งผมคิดว่า อนาคตคงต้องเปิดขายหุ้น IPO ซึ่งในจังหวะนั้น ถ้าราคาหุ้นไม่แพงเกินไป ผมคิดว่าน่าสนใจยิ่ง
.
กิจการที่สาม ... “กิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G”
.
สำหรับเทคโนโลยี 5G น่าจะทำให้เกิดการทำลายกิจการเก่า ๆ หลายอย่าง เหมือนอย่างที่ 4G เคยทำมาแล้ว ผมคิดว่าถ้าความเร็วอินเตอร์เน็ตเร็วขึ้นมาก ๆ จะทำให้เกิดกระแสใหม่ ๆ ที่น่าจับตามอง
.
ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดทางไกลด้วยความแม่นยำสูง หากผมพบเจอกับโรงพยาบาลใด หรือกิจการใดที่เริ่มก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีการผ่าตัดทางไกลผ่านระบบที่มีความแม่นยำสูง ๆ ผมจะรีบเข้าไปศึกษาทันที เพราะคิดว่า ด้วยความสะดวกนี้น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง
.
หรือแม้แต่การขนส่งสินค้าด้วย “โดรน” ซึ่งจะมีความแม่นยำมาก และถ้าทำได้จริงจะปฏิวัติการส่งสินค้ามาที่หน้าบ้านของเราแบบไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
.
ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ ... สำหรับนักลงทุนแล้ว เราต้องหมั่นมองหา “สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงใหญ่” ผมเชื่อว่า อะไรที่ผิดไปจากวันธรรมดา นั่นคือ “โอกาส” และหากเราเข้าไปจับโอกาสได้ก่อนใคร การจะเป็นเจ้าของหุ้นหลาย ๆ เด้ง คงไม่ใช่เรื่องไกลเกินจินตนาการอย่างแน่นอนครับ #นายแว่นลงทุน
.
#รวย #ร่ำรวย #ร้อยล้าน #พันล้าน #หุ้นสิบเด้ง #หุ้นเติบโต #หุ้นโตเร็ว #หุ้น #เล่นหุ้น #เล่นหุ้นออนไลน์ #สูตรเล่นหุ้น
.......................

หนังสือชุดที่จะช่วยคุณหาหุ้น "เติบโต" ได้เร็วขึ้น ... สนใจคลิ๊กที่นี่เลยครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada ... =3&theater
โพสต์โพสต์