Moneytalk@SET19/10/62หุ้นเด่นไตรมาสสี่และปีหน้า&รวยหุ้นพลังงานทางเลือก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

Moneytalk@SET19/10/62หุ้นเด่นไตรมาสสี่และปีหน้า&รวยหุ้นพลังงานทางเลือก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ช่วงที่ 2 “รวยด้วยหุ้น Mega Trend พลังงานทางเลือก”
วิทยากร
- ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนากุล / กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ – Trinity
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญหุ้นแนวเน้นคุณค่า
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

เกริ่นนำเมกะเทรนด์
อ.ไพบูลย์
1.โลกหมุนจะฝั่งตะวันตก มาเอเชีย จีนยิ่งใหญ่มาก ขนาดทรัมป์ยังต้องหาทางจำกัดการเติบโตของจีน
2.โลกคนแก่กำลังเกิดขึ้น เมืองไทยก็เป็นอันดับต้นๆรองจากญี่ปุ่น
3.โลกคนอพยพจากถิ่นไกลๆเข้ามาในเมืองเป็นหลัก ทำให้สร้างคอนโดจนเหลือเยอะมาก
4.ถ้าขุดน้ำมันในโลกมาใช้ทำให้เกิดมลภาวะ โลกร้อน รวมถึง ไมโครพลาสติค
ที่ไม่ย่อยสลายและเข้ามาอยู่ในตัวเรา
ซึ่งพลังงานทดแทนจะไม่เกิดผลกระทบเหล่านี้ เช่น เอาหญ้า,ขยะ
หรือความร้อนใต้พิภพมาทำเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็ไม่เกิดมลภาวะ

รวยด้วยหุ้น Mega Trend พลังงานทางเลือก
อ.วิศิษฐ์
หุ้นโรงไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.conventional เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน,แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในปีนี้
โรงไฟฟ้า conventional มากกว่า SET 50% เช่น gulf, gpsc, bgrim, egco
2.renewable เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน มีทั้งโซลาร์,ชีวมวล
หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า SET 20% เช่น ea,tpch,bcpg,spcg

ในทางทฤษฎี หุ้นกลุ่มนี้มักจะ perform ในช่วงปลายเศรษฐกิจขาขึ้น นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่มีรายได้มั่นคง
ประกอบกับการที่มี trade war ทำให้กลุ่มธนาคาร,พลังงาน ไม่ perform เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง
รวมถึง FED ก็มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย ซึ่งปีนี้ลดลง 2 ครั้ง และมีโอกาสลดลงอีก 3-4 ครั้งข้างหน้า
ซึ่งส่งผลดีกับกลุ่มโรงไฟฟ้า
อ.ไพบูลย์เสริมว่า กลุ่มโรงไฟฟ้ามีความแน่นอนจากการ lock ความเสี่ยงคือทำสัญญาการไฟฟ้าไว้แล้ว
และ มี ปันผลที่แน่นอน ซึ่งตอนนี้สูงกว่าดอกเบี้ย และมีต้นทุนการกู้ลดลง

PDP ปัจจุบันโรงไฟฟ้า 43,000 MW 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ 18% ถ่านหิน
ซึ่งภาพข้างหน้า 2 กลุ่มนี้จะลดลงเหลือ 78%-> 60% จะไปเพิ่มที่พลังงานหมุนเวียน 8% -> 18%
ใน 20 ปี กำลังไฟฟ้า 56,000 MW โดยโรงไฟฟ้าเก่าๆจะถูกปิดลง จะเพิ่มเป็น 72,000 MW
สมมติฐานใน PDP การใช้ไฟฟ้า โตปีละ 2-3% ซึ่งยังไม่รวมว่ามีการลดการใช้น้ำมันมาใช้ไฟฟ้าที่รถยนต์
ที่น่าสนใจจะมีการ disruption จะทำให้การใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันเพิ่มอีก 40,000 MW
จึงต้องการไฟฟ้าอย่างน้อย 120,000 MW
สิ่งที่น่าสนใจคือ ไฟฟ้า 56,000 MW ที่เพิ่มขึ้น 37% เป็นพลังงานหมุนเวียน 10,000 MW เป็น Solar,
3500 MW เป็น ชีวมวล(ไม้ยูคาลิปตัส,ยางพารา) ทำให้อนาคตสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจะปรับเพิ่มขึ้น
ล่าสุดโรงไฟฟ้าขยะชุมชน fast track 400 MW จะถูกขายเข้าระบบใน 3 ปีข้างหน้า
เมกะเทรนด์แรกคือ disruption ของ demand แม้การใช้ไฟฟ้าโต 2-3% ต่อปี
แต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนได้เร็วขนาดไหน และแผนพัฒนาที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

อ.ไพบูลย์ นโยบายไฟฟ้ามีความไม่แน่นอนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล
เช่น แถวขอนก่อนปลูกหญ้าเนเปียร์ รัฐบาลไม่ซื้อก็ลำบาก แล้วนโยบายรอบนี้จะนิ่งไหม?
อ.วิศิษฐ์ การรับซื้อชีวมวล มักจะมีการเปิดให้แข่งขัน ซึ่งคนที่สามารถเข้าถึงวัตถุดิบราคาถูกจะเข้ามาประมวล
สำหรับหญ้าเนเปียร์อาจจะควบคุมต้นทุนสู้ไม้ยูคา หรือไม้ยางไม่ได้
มุมมองเรื่องนโยบายต้องสอดคล้องกันทั่วโลกด้วย
ตอนนี้เน้น circulated economy มี 88% ประเทศทั่วโลกทำสัญญา Paris agreement
ร่วมมือกันทำ Zero Carbon ในปี 2050 สังเกตว่า รถยนต์ใหม่ๆ ของยุโรปจะเป็นพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

เมกาเทรนด์ 2 ประเทศต่างๆ ทำ circulated economy มากขึ้น
นักลงทุนสถาบันทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับ theme ESG (environment social and governance)
มากขึ้น คือ บริษัทที่เน้นส่งเสริม สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

เมกะเทรนด์ 3 พลังงานไฟฟ้า มีการแก๊สธรรมชาติ 60% มาจาก 3 แหล่ง
1.อ่าวไทย(แหล่ง อาทิตย์,บงกช,ไพลิน,ยูโนแคล) 230-250 บาท/ล้านบีทียู
2.พม่า(แหล่งยาดานา,เยตากุน,ซอติก้า) 350 บาท/ล้านบีทียู
3. นำเข้า LNG มาผสม 400-500 บาท/ล้าน บีทียู

จะสังเกตว่าถูกนำผสมและขายให้โรงไฟฟ้าเฉลี่ย 287 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งราคาค่อนข้างถูก
เนื่องจากสัมพันธ์กับน้ำมันเตา ต้องอาศัยแก๊สธรรมชาติค่อนข้างมาก ใช้วันละ 5,000 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน
อนาคต 20 ปีข้างหน้าจะเหลือแค่ 1,000 ล้าน ลบ,ฟุต /วัน ขึ้นกับการสำรอง ราคาไฟฟ้าจะผันผวนมากขึ้น
ซึ่งต้องนำเข้าปิโตรเลียมเหลว(LNG) จากตะวันออกกลาง คาดการณ์ว่าจะต้องนำเข้าถึง 10-70 ล้านตันต่อปี
หลายบริษัทเริ่มที่จะสร้าง tank หรือ Joint venture นำเข้ามาก็จะได้ประโยชน์

อ.เสน่ห์เสริม เดิมโรงไฟฟ้าน้ำเป็น zero carbon อยู่แล้ว แต่เราสร้างเขื่อนไม่ได้
จึงทำถ่านหิน ลิกไนต์ จนกระทั่งหมดจึงไปเอาบิทูมินัสมาใช้ จึงเกิดคาร์บอนเยอะขึ้น
และก็ต่อมาสามารถใช้น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลก็ผลิตไฟฟ้า
จนกระทั่งไทยเจอ แก๊สธรรมชาติ NG มี2 แบบ แก๊ส กับ ของเหลว LNG เพื่อให้ขนส่งได้
นอกจากนี้เรามีพลังงานบนดิน เช่น แสงอาทิตย์, ลม, ขยะ แม้กระทั่งต้นปาล์ม,อ้อย ก็มาทำไบโอดีเซล
เราก็เพิ่มเอามาผสมดีเซล 5% -> 10% -> 20% หรือ แก๊สโซฮอล์ที่ผสมจากอ้อย

จากนโยบายลดการสร้างคาร์บอน พวกสแกนดิเนเวีย ก็จะเลิกใช้พลังงานฟอสซิลก่อนเลย
เคยฟังนายก ภูฏาน แสดงวิสัยทัศน์ว่าประเทศเป็นเล็กๆ ที่ทำมากกว่า zero carbon คือ negative
คือเขาไม่สร้างคาร์บอน และยังช่วยลด มีป่าเขาต่างๆมาช่วยดูดคาร์บอน
รายได้อันดับ 1 ของประเทศ คือผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แหล่งน้ำจากหิมาลัย ขายไปยังประเทศรอบๆ

นอกจากนี้มีประเทศที่มีคล้ายๆกัน คือ ลาว เป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน
ซึ่งมีแหล่งน้ำสำรองอันดับ 2 ของโลก รองจากแคนาดา
ตำแหน่งประเทศลาวมีน้ำจากจีนไหลลงมา รวมถึงฝนที่ตกจากประเทศต่างๆมารวมที่ลาว
รวมถึงพื้นที่ 2 ใน 3 ของลาวเป็นภูเขาเป็นแหล่งรับน้ำ

อ.นิเวศน์
มองพลังงานต่างกับคนอื่นตรงหุ้นพลังงานก็คือหุ้นพลังงาน
เพราะเศรษฐศาสตร์ข้างหลังเหมือนกัน อย่างการผลิตไฟฟ้าก็หารายได้ด้วยการประมูล
โดยใช้ IRR เป็นเงื่อนไข คือลงทุนเท่าไร ได้ผลตอบแทนเท่าไร
ถ้าประมูลได้ IRR สูง ก็กำไรสูง ขึ้นกับสถานการณ์,อัตราดอกเบี้ย
ก่อนหน้านี้พลังงานทดแทน IRR ดี พอภาครัฐรู้ว่าพวกนี้กำลังดี
ก็ค่อยๆลดการชดเชยลงมา สุดท้ายก็ IRR พอๆ กับ พลังงาน conventional
ธุรกิจที่เป็น mega trend ก็ไม่ได้แปลว่าดี ถ้าเป็น supplier มีคนผลิตได้ตลอดเวลา
พลังงานทางเลือกโตเอาๆ แต่คนผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า ใครก็ผลิตได้ ไปซื้อโซลาร์ได้
และทำสำเร็จด้วย เพราะไปซื้อกิจการมา ไปดีลได้ดี
เรื่องพลังงานทางเลือกที่เติบโตมันเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ไทย
อย่างในเวียดนามที่ลงทุน หุ้นโรงไฟฟ้าไม่โต ทั้งๆที่ กำลังเติบโต ความต้องการไฟฟ้ามหาศาล
ทั้งที่กำไรดี PE 6-7 เท่า ปันผล 10% แต่ราคาไม่ได้ขึ้นอะไรมาก
แต่ที่หุ้นขึ้นตอนนี้ในไทยอย่างเดียว คือ ต้นทุนเงินทุนของไทยต่ำมากๆ
ประเทศไทยกู้ 3-4% กู้ง่าย สามารถแข่งได้ทั่วโลก ไปญี่ปุ่น ไปเวียดนามก็ได้
ดังนั้นก็ต้องระวังเหมือนกันว่าหุ้นโรงไฟฟ้า ถ้าขึ้นมากๆ ไปถึงจุดหนึ่งผลตอบแทนก็ไม่คุ้มก็อาจปรับตัวลงได้

อ.ไพบูลย์ อย่างที่อ.นิเวศน์บอกว่าพลังงานก็ไม่ได้ดีเด่นอะไรมากมาก
แต่รัฐบาลมีแผนความต้องการพลังงานชัดเจน รวมถึงต้องมีเทคโนโลยีมี knowhow
ในการทำพลังงานทดแทน มันจึงดีตรงนี้หรือเปล่า?
อ.วิศิษฐ์ อดีตพลังงานโซลาร์ได้ประโยชน์จาก adder 1 unit รัฐบาลรับซื้อราว 10 บาท
ดังนั้น 1 MW กำไร 14 ล้านบาท (adder 6.5-8 บาท) ปัจจุบันลดมารับซื้อราว 4 บาท เป็นเรื่องของนโยบาย
แก๊สในอ่าวไทยที่ลดลง สิ่งที่ทดแทน LNG ได้ คือ ชีวมวล ความต้องการ 3500 MW
จากการศึกษาวิทยาลัยพลังงาน 1 unit ของพลังงานชีวมวล จะให้เกิดความคุ้มทางชุมชน 22 บาท
ถือว่าสูง ขณะที่โซลาร์/ถ่านหิน/แก๊ส อยู่ที่ 3-5 บาท เท่านั้น
บริษัทที่เข้าถึง supply พืชพลังงาน และประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวลได้จะได้เปรียบ
เป็นเมกะเทรนด์ที่ 4

เมกะเทรนด์ที่ 5 คือ fast track โรงไฟฟ้า ชุมชน 300-400 วึ่งจะช่วยลดขยะต่างๆในชุมชน

เมกะเทรนด์ 6 สมาร์ทกริด และ P2P ระหว่างชุมชนกับชุมชน
ขายไฟฟ้าระหว่างกัน ต้องใช้เทคโนโลยี block chain

อ.นิเวศน์
เมกะเทรนด์จริงๆ คิดว่าจะเป็นการหยุดผลิต หยุดส่ง ผลิตที่ไหนก็ขายที่นั่น
ไฟฟ้าเมื่อเดินทางไกลก็เสียพลังงานไป อย่างที่อเมริกาโรงไฟฟ้ามีปัญหาขายเฉพาะกลางคืน
กลางวันขายไม่ได้ เพราะกลางวันผลิตไฟฟ้าโซลาร์ ซึ่งเมืองไทยยังไม่ถึงจุดนั้น
หากวันหนึ่งคุ้มค่าและมีคนจัดการได้ ก็จะผลิตไฟฟ้ากันเอง และส่งขาย
อย่างที่สแกนดิเนเวียก็เหมือนกัน ต่อไปรถยนต์ไฟฟ้าก็ชาร์จตอนกลางวัน ก็จะไม่ได้ต้องการผลิตไฟฟ้ามาก
พวกโซลาร์เซล์ กังหัน เป็นพลังงานทดแทนที่ไม่เกิดปัญหาก็ไม่จริงหรอก
บิล เกตต์บอกว่าวิธีรักษาโลกไม่เกิดแก๊สขึ้นต้องใช้นิวเคลียร์
อย่างการทำโซลาร์เซลล์ ก็ต้องใช้พลังงานสร้าง และกำจัดอีก แต่ถ้านิวเคลียร์ไม่มี
ปัญหาคือการใช้ นิวเคลียร์เกิดยาก เพราะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้
อ.ไพบูลย์ เสริม นิวเคลียร์ถูกสุด แต่ถ้ารั่วทีเดียวก็หายหมด เหมือนการเลือกหุ้น

อ.นิเวศน์
ลองมองภาพใหญ่ แก๊สในประเทศที่ปล่อยรวมกันคนละหน่อย ตายผ่อนส่งกันหมด
เทียบกับนิวเคลียร์ทำคนตายไม่เท่าไร
ส่วนตัวคิดว่าเมืองไทย ต้องกระจายให้คนไปผลิตไฟฟ้ากันเอง
แทนที่รัฐบาลจะแจกเงิน มาแจกโซลาร์เซลล์ดีกว่า

อ.เสน่ห์เสริม
โอกาสที่จะทำให้เกิดได้จริงนโยบายภาครัฐ ที่ประกาศหรือเขียนในแผนยุทธศาสตร์
เมื่อก่อน OECD ดูการบริโภคของน้ำมัน ซึ่งประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันเยอะสุด
ถัดมาจีนมีการพัฒนาและบริโภคน้ำมันสูงสุดขึ้นมา ซึ่งตอนนี้จีนก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดจากอเมริกา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดคาร์บอน เช่น มีการประกาศ 5G ก่อนคนอื่น
ซึ่ง สีจิ้นผิง มีการประกาศชัดเจนว่าจะยกระดับประเทศ เอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ

หุ้นพลังงานไฟฟ้า
ดร.วิศิษฐ์ หุ้น conventional ที่ outperform ขึ้นมา ต้องดูความเหมาะสมราคา
1. gulf ได้ ppa(สัญญาซื้อขายไฟฟ้า) ipp ราว 4,000 MW ทำให้เติบโตดี
2. gpsc หลังควบรวมทำให้ market cap เพิ่มขึ้น ทำให้ weigting ใน msci
มีโอกาสเพิ่มขึ้น ราว 1% ทำให้ fund flow ไหลเข้า
พลังงานหมุนเวียน บริษัทที่มีแหล่ง supply และพร้อมประมูลตามนโยบายภาครัฐ ประกาศซื้อโรงไฟฟ้าขยะชุมชน
หากบริษัทไหนมี track record สำหรับพลังงานแสดงอาทิตย์ irr จะสู้รอบแรกที่โปรโมตไม่ได้

ปิดท้าย
เอ.เสน่ห์ เล่านิทานการประกวดเมล็ดพันธ์มาแข่งขันกัน ซึ่งผู้ชนะทุกปีก็จะเอามล็ดพันธุ์ดีๆไปแจกให้คนอื่น
เป็นแง่คิดอีกมุมหนึ่งว่า เมื่อแจกของดีๆให้ คนอื่นเอาไปปลูกก็จะไม่มีเมล็ดพันธ์เสียๆมาอยู่ในพื้นที่เรา
และปีต่อไปเราก็ต้องทำพันธ์ให้ดีกว่าปีที่แล้ว ทุกไร่รอบๆก็จะดีขึ้นหมด
เปรียบดังคนที่มีความคิดดีๆหากเก็บเมล็ดพันธ์ดีๆไว้ไม่แจกไป ก็จะมีเมล็ดพันธ์แย่ๆเข้ามาอยู่รอบข้าง
ต้องเผยแพร่ความคิดดีๆ ออกไป แจกความรู้ดีๆ ออกไป เหมือนที่มาสัมมนากัน
อ.ไพบูลย์ เดือนหน้าเป็นเรื่องธรรมะเป็นประโยชน์กับการลงทุน
วิชาการลงทุนอยู่ในโลกของความโลภ ของกิเลส คนเจ๊งมากกว่าคนรวย ซึ่งธรรมะจะเป็นวิชาช่วยป้องกันตัวที่ดี
ครั้งหน้าจะมาฟังในแนวทางที่ลงทุนแล้วมีความสุขจะทำอย่างไร

ขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ พี่หมอเค ทีมงาน money talk ที่มาจัดรายการให้สิ่งดีๆเป็นประจำ
และขอบคุณวิทยากร ผู้บริหารทุกท่านที่มาให้ความรู้ ข้อมูลการลงทุนครับ

สำหรับช่วง 1 ทางพี่อมรจะมาโพสต์สรุปให้นะครับ
ขอบคุณพี่อมรด้วยครับ :D :D
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2610
ผู้ติดตาม: 257

Re: Moneytalk@SET19/10/62หุ้นเด่นไตรมาสสี่และปีหน้า&รวยหุ้นพลังงานทางเลือก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

MoneyTalk@SET 19 SEP 2019 13.30

ช่วงที่1 หุ้นเด่นไตรมาสสี่และปีหน้า

วิทยากร
1. คุณ สุวิทย์ ยอดจรัส. ประธานกรรมการบริหาร บมจ สหการประมูล (AUCT)
2. คุณ ปิยะ พงษ์อัชณา กรรมการ บมจ เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์คเซอร์วิสเซอร์วิสเซ็ส (JMT)
3. นพ . ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ โรงพยาบาลราชพฤกษ์ (RPH)

อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ

MoneyTalkคราวหน้า วันเสาร์ที่ 16 พย 2019 จะเป็นเรื่องธรรมะกับการลงทุน

หัวข้อแรก บริหารการลงทุนให้มีความสุข ทำอย่างไร
วิทยากร
1.ทันตแพทย์ สม สุจีรา. คุณหมอนักเขียนมือทอง
2.ผศ ดร วีรณัฐ โรจนประภา ประธานมูลนิธิบ้านอารีย์ (คุณใหม่ เจ้าของนสพ )
3.คุณ ชิณณ์ กิตติภานุวัฒน์ นักลงทุนรุ่นใหม่ไฟแรง
4.ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

อ เสน่ห์ ดำเนินรายการ

หัวข้อที่สอง เลือกหุ้นจัดพอร์ตบนเส้นทางธรรมะ
ทำอย่างไรลงทุนหุ้นด้วยความสุข

วิทยากร
1.คุณ วรวรรณ ธาราภูมิ
2.ดร สมจินต์ ศรไพศาล
3.ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ดร ไพบูลย์ และ อ เสน่ห์ ดำเนินรายการ

จองวันเสาร์ที่ 9 พย เวลา 7.00 น.

ส่วนรายการในเดือนธค จองวันที่ 14 ธันวาคม และสัมมนาวันที่21 ธันวาคม
คุยกับ ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ และ
คุณ ทอม ไพบูลย์ นลินทรางกูร

ส่วนเดือน มค จะเป็นเซียนวีไอหกคนมาพูดคุยกัน
ต้องรีบจองแต่เนิ่นๆเพราะเต็มไวในเดือน ธ.ค. และ ม.ค.

เข้ารายการ ช่วงแรก หุ้นเด่นไตรมาสสี่ และ ปีหน้า
อ เสน่ห์ เริ่มรายการ

คำถามแบ่งเป็นสองช่วงคือ
ช่วงแรก ธุรกิจทำอะไร จุดเด่นของบริษัท บริษัทละ15นาที
ช่วงสอง แนวโน้มของบริษัท และ ความท้าทาย


เริ่มจากบริษัท สหการประมูล เป็นบริษัทแรก

อ เสน่ห์สอบถามคุณสุวิทย์ว่า บริษัทประมูลอะไรเป็นหลัก มีอะไรที่อัพเดทและมาเล่าให้ฟัง
หมอเค บอกว่า คุณสุวิทย์ได้ออกมาพูดเมื่อต้นปีว่าปีนี้เป็นปีทองของสหการประมูล
เลยอยากถามว่า ปีนี้ปีทองไหม และ ปีหน้าเป็นปีอะไร

คุณสุวิทย์ ตอบ ปีหน้าจะเจอขุมทรัพย์ก้อนใหม่ ไม่ใช่ธุรกิจเดิมที่ทำอยู่
ธุรกิจของสหการประมูลเน้นประมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก
สัดส่วนจำนวนรถที่เข้ามาเป็น 60:40 ส่วนรายได้จะเป็นสัดส่วน 85:15
รถจากการประมูล เราจะเก็บค่าดำเนินการ
รถยนต์ คันละแปดพันบาท ส่วนมอเตอร์ไซค์ คันละพันห้าร้อยบาท ไม่ว่ารถจะขายมากน้อยเพียงใด
จำนวนรถเพิ่มขึ้น 20%กว่าในปีที่แล้ว. ปีนี้ตั้งกำไรมากกว่าปีที่แล้ว 14% สูงกว่าเป้า3%
อีกสองเดือนเป็นช่วงที่ดีที่สุดของเรา

ธุรกิจแบบเดิม เป็นรถที่ยึดจากธนาคาเป็นหลักและส่งมาที่เราทำการประมูล คนที่เข้ามาซื้อคือเต้นท์รถมือสอง ซึ่งเรียกว่า B2B
จุดเด่นของเราคือ Fair Price

คนที่เป็นเต้นท์รถ มาประมูลในราคาแฟร์
คนซื้ออยากซื้อถูกสุด คนขายอยากขายในราคาดีที่สุด เราเป็นตัวกลางแบบมืออาชีพของสองฝ่าย
เราต้องแจงข้อมูลของรถเพื่อใช้สำหรับการประมูลของรถ
ถ้าคนประมูลออกไปเป็นB2B เช่น เต้นท์รถมือสอง แล้วไปปรับปรุงรถ ให้คนไปซื้อต่ออีกที

ตอนนี้เรามีเพิ่มลูกคัารายย่อย ซึ่งมีความต้องการรถที่มีสภาพดี ปรับปรุงน้อยสุด
ซึ่งราคาจะดีกว่าที่เต้นท์รถมาซื้อ (ราคาสูงกว่าที่เต้นท์รถประมูลเพราะมีการปรับปรุงสภาพรถให้ดีสำหรับลูกค้าไปใช้ต่อได้)

ปกติเริ่มจากมอเตอร์ไซค์ก่อน ลูกค้ากำเงินสด สองหรือสามหมื่นบาทมา ก็ซื้อออกไปได้เลย
ซึ่งในแง่ของคนที่ประมูล อาจเป็นเงินจำนวนมาก ตอนนี้สามารถรูดผ่านบัตรKTCได้เเล้ว

เริ่มมาถูกทางเเล้ว การไปตลาดรถยนต์ที่ใหญ่กว่า โดยมีFinanceมารับรอง
ปกติถ้าหลายที่มีการเอารถไปโดยไม่มีดาวน์ จะขายดี (จริงๆมีเทคนิคในการทำ)
ว่าสามารถรับรถยนต์ออกไป โดยมีfinance มารับรอง

ถ้าตลาดend userโต market share ตลาดเดิมจาก50% หรือ แปดหมื่นคัน ต่อปี
จะเพิ่มขึ้น ตอนนี้financeใหญ่ส่งเราเกือบหมด

เรามีการบริหารความเสี่ยง เช่น อุทกภัย ตอนนี้ครอบคลุม100% และ วาตภัย
ต้นทุนที่กำไร รวมความเสี่ยงหมดแล้ว

วันนี้ตลาด200,000คัน เรามีสัดส่วนรถผ่านเรา แปดหมื่นคัน ตอนนี้เกือบได้แสนคันแล้ว
เรามีตลาดใหม่ ที่เอารถมาเทิรน์ด้วย ขาเข้าได้แปดพัน ขาออกก็ได้แปดพันบาทด้วย
ต่อไปรถมือสอง มีประกันรถในเวลาที่กำหนดไว้ โดยให้บริษัทประกันมาทำการประกันให้

รถ 36ล้านคัน ตีว่าเอาเข้าระบบ 10ล้านคัน เอาแค่สองล้านคัน ตีว่าได้แค่4%คือ 80,000คัน
80,000 คันคูณด้วย 16,000 บาทคือรายได้ในอนาคตของเรา
กำไรมาจากการให้บริการทั้งขาเข้าแปดพัน และขาออกแปดพันบาท
คู่แข่งทำให้เราถดถอย ดังนั้นตลาดใหม่ รายละ16,000 บาทต่อคัน จะไปเพิ่มในส่วนกำไร

ลูกค้าต้องการ one stop service ไม่อยากขับมา ก็ให้เราไปรับรถมาตรวจสภาพรถได้
คนไทยปกติดูแลรถดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เพราะรถราคาเท่าบ้าน
เราตรวจเช็ครถให้ว่าอยู่ในสภาพไหน จะได้ตีราคาซึ่งดีกว่าที่อื่น
แต่มีการเก็บค่าบริการในการตรวจเช็ครถ แต่ละอย่างๆละ400บาท
ถ้าบริการสิบอย่างก็4,000บาท เป็นรายได้เข้าบริษัท

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นต้องการการบริการแบบ one stop service
อ เสน่ห์ พูดว่า ตอนนี้เราทำอยู่ในeco system หากินอยู่วงจรที่คุ้นเคย
รอบหลัง จะถามคุณสุวิทย์ว่ามีประมูลอย่างอื่นด้วยหรือไม่

บริษัทที่สอง JMT

หมอเคถามว่า ธุรกิจ JMTจะไปต่อหรือไม่ ให้อัปเดทธุรกิจก่อน

คุณปิยะ อธิบายธุรกิจของJMTคือซื้อหนี้มาบริหาร เช่น หนี้บัตรเครดิต คิดเป็นประมาณ 85%
14% เป็นธุรกิจService และ อีก 1%มาจากการไปลงทุนบริษัทประกัน

นโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเพื่อไม่ให้NPLเพิ่มขึ้นสำหรับธนาคาร
การเติบโตของหนี้ครัวเรือนเติบโตขึ้นทุกปี ​NPLก็จะโตตามตัว
ส่วน เงินผ่อน 0%10เดือนเขาก็ยกเลิกไปแล้ว
นโยบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยสะท้อนว่าNPL สูงขึ้น
โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ได้ชำระระยะเวลา 1-3เดือน สูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์
ดังนั้น เชื่อว่าหนี้ในตลาดยังคงมีอัตราที่สูงขึ้น

รัฐบาลการทวงหนี้ต้องเข้มขึ้น คือ นโยบายการทวงหนี้ยอมให้ทวงได้วันละครั้ง
หมายถึงทวงสัปดาห์ละเจ็ดครั้ง แต่การดูแลของเรา
นโยบายเราไม่เกินสามครั้งต่อสัปดาห์
ประเด็นนั้นยังไม่น่าสนใจ ที่น่าสนใจคือเราต้องการสื่อสารอะไรให้กับลูกหนี้

การติดตามหนี้ต้องมีวัตถุประสงค์และช่วยเหลือลูกค้า
พนักงานที่ติดตามหนี้. เขาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
JMTซื้อลูกหนี้มาคิดเป็นสี่ล้านคน คิดเป็นมูลค่าหนี้ 150,000ล้านบาท
ข้อได้เปรียบคือ การซื้อLotใหม่มา6,000ล้านบาท ปรากฏว่าที่เราได้มา เป็นลูกค้าเก่า40%
สิ่งที่ลูกค้าสนใจคือ เราofferอะไรให้กับลูกค้า
หนี้ที่ซื้อมาอยู่เฉลี่ยประมาณ 5% เรามีgap offer สามารถให้ส่วนลดกับลูกค้าได้
ตัวอย่างเช่น ลูกค้าธนาคารที่เคยจ่ายธนาคารห้าหมื่นบาท ก็สามารถจ่ายเราแค่หมื่นบาทได้
รายที่เงิน ก็สามารถdiscount 30%ได้ โดยไม่คิดดอกเบี้ย ถ้าเอาเงินมาจ่าย
บางคนเดือนชนเดือน สามารถrestructureสำหรับรายที่ไม่สามารถจ่ายได้
วิธีการrestructure มีหลายแบบ เพราะเราซื้อหนี้มาในราคาต่ำมาก
หนี้4ล้านตัว บางคนมีหนี้บัตรกับเรา15ใบ เราก็สามารถเข้าไปจัดการหนี้ได้
โดยจัดโครงสร้างใหม่ แก้ไขหนี้ทีละตัว ซึ่งตอบโจทย์ว่าเราเข้าไปช่วย ประนีประนอมได้ หรือ เขาอยากได้อะไร ดังนั้นกฏเกณฑ์ เรื่องการทวงหนี้ได้วันละครั้ง ก็ไม่เป็นปัญหากับเรา

พรบ ติดตามหนี้สมัย4-5ปีก่อน ถ้าลูกค้าปฏิเสธจ่ายหนี้ ก็ห้ามโทร
ตอนนี้ดีกว่าสมัยนั้น

อ เสน่ห์ สอบถาม การติดตามsocial media ได้ไหม
คุณปิยะ ตอบว่า เราไม่อนุญาติให้ทำ ยกเว้นลูกค้าอนุญาต
การพูดคุยกับJMT อาจให้คนอื่นมาช่วยคุยได้ เพื่อต่อรอง

หมอเค สรุป ธุรกิจสามกลุ่มของJMT
1.ธุรกิจหนี้ไม่มีหลักประกันที่เราซื้อมา
2.ธุรกิจหนี้ที่มีหลักประกัน
3.ธุรกิจประกันภัยที่เราซื้อมา

พูดถึง กลุ่มหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน คุณปิยะแจ้งว่า เป้าที่ซื้อ 4,500 ลบ ตอนนี้เราซื้อในส่วนunsecured มา20,000ลบ ใช้เงินลงทุน1,000 ลบ
หนี้มีหลักประกัน 2,700 ลบ ใช้เงิน 1,700 ลบ

Personal loan , หนี้รถยนต์ หมอเคถามว่าเราซื้อมาเท่าไหร่
คุณปิยะ ตอบว่า เราซื้อมาพอๆกันสำหรับ Personal loan,บัตรเครดิต ล้อตามNPL
ส่วนรถยนต์ เป็นพอร์ตที่รองลงมา แต่รถยนต์ได้outstandingที่เยอะ
แต่personal loan จะได้ number of customer
ซึ่งทั้งสองตัวนี้contributeรายได้ของเราค่อนได้ดี
เวลาเราไปซื้อ unsecureมา เราต้องตั้งอย่างน้อยควรได้ IRR 12% ไม่งั้นเราก็ไม่ซื้อ

ตอนเข้าไปซื้อ หนี้ที่สามารถติดตามได้ หรือ success rate ซึ่งเราเคยทำมาก่อน
ทุกคนเป็นห่วงว่าเราตามหนี้ได้หรือไม่ ซื้อมาแล้วเป็นsunk cost บ้าง หรือ ซื้อมาแล้วเก็บหนี้ไม่ได้บ้าง ต้องเรียนว่า ตลาดของหนี้ที่มีหลักประกันมีความแตกต่างกัน
คนที่ซื้อหนี้มา เช่นอสังหาริมทรัพย์ ก็มีสองกลุ่มที่ชอบไม่เหมือนกัน
กลุ่มแรก ซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะได้กำไรจากการซื้อและขาย
กลุ่มที่สอง ชอบราคาถูก ซื้อมาพัฒนาที่ดินขาย

JMT เรามีความรู้ หนี้ที่ซื้อมาราคาประมาณ 65% และราคาจะ < 5 ล้านบาท
อยู่ในเเหล่งกรุงเทพและ EEC
การขายเอาcapital gain อยู่ท้ายสุด จุดประสงค์ของเราคือซื้อหนี้มาเพื่อคุย เพื่อขอให้เขาชำระหนี้

สิ่งที่เราทำตลอดสองปี ได้ผลตอบแทน 20-30% เพราะเราเก็บเงินสดออกมาได้
ลูกค้าได้ส่วนลดดอกเบี้ย ค่างวดที่ผ่อนจากธนาคาร เราลดให้จากห้าหมื่นเหลือสองหมื่น

เราเป็นFinance advisor ทำอย่างไรให้เขายังอยู่ และจ่ายหนี้เราได้
ที่ผ่านมา 1-2ปี ยังไม่ใช่ช่วงพีค เราให้จ่ายเป็นขั้นบันได
ปีที่3-5 เป็นช่วงพีค กำไรจะเติบโตขึ้น

บริษัทที่สาม รพ ราชพฤกษ์ หรือ RPH
ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ขยายตึกแต่คนเต็มตลอด
คุณหมอ เล่าเรื่อง รพ ให้ฟัง
โรงพยาบาลนี้มีอายุ25-26ปี สร้างตั้งแต่ขอนแก่นไม่มีรพ เอกชน

เริ่มจากเรามีเตียงคนไข้แค่ 55เตียงมา20กว่าปี เริ่มขยายเป็น200 เตียงเมื่อ ส.ค. 2561
โดยเราเริ่มเพิ่มเตียงเป็น 107 เตียง ในช่วง ส.ค. 2561
เปิดแล้ว เตียงเต็มเลยตั้งแต่แรก
ตอนนี้เพิ่มเป็น 171 เตียงแล้ว
เรามีความfamous ด้านรพ เป็น รพ ที่น่าเข้า ไม่อยากออก หมายถึง
เป็นลักษณะของ รพ คล้ายresort และ เหมือน รร มากกว่า รพ
ส่วน รพ บรรยากาศปกติ รู้สึกอึดอัด

มีคนสนใจรูปแบบนี้มาก ตอนเดือน สค ปีที่แล้วที่เพิ่มเตียงเป็น107เตียง ก็เต็มเกินความคาดหมาย
ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นhigh season มีเด็กป่วยเรื่องทางเดินหายใจมากขึ้น

รพ รัฐ ที่นั่น มี2แหรง
1. รพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเตียง 1,000 เตียง และอีกที่ก็พันกว่าเตียง
ส่วน รพ เอกชน ก็มี รพ ขอนแก่นราม 199 เตียง ซึ่งมากกว่าเรา
และ รพ กรุงเทพ 140 เตียง
เราอยู่ในระดับต้นๆของ รพ เอกชนที่จังหวัดขอนแก่น
ทั้งสามที่สามารถรักษาโรคซับซ้อนได้

จุดเด่นของเราเรื่องอาคารสถานที่ เราเยียวยาด้วยสิ่งแวดล้อม
กายป่วย และ ใจไม่ป่วย เป็นคำขวัญของเรา

จุดเด่นอีกอัน คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับลึกๆ
ระดับsubboard หมอระดับอาจารย์แพทย์ รักษาโรคซับซ้อนได้

มาตราฐานการรักษาระดับสากลJCI
สอดรับกับความคาดหวังกับลูกค้าได้

เราจะไม่เรียกคนไข้เป็นลูกค้า ถึงแม้เทคแคร์ดีในมุมของลูกค้า
เพราะมีเสียงสะท้อนจากลูกค้าที่ไปใช้รพ เอกชนอื่น ซึ่งคนไข้รู้สึก
ว่ารพ จะทำกำไรกับคนไข้เกินไป หรือ ชวนตรวจละเอียดมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้

เรามองคนไข้เป็นคนไข้ ไม่ใช่ลูกค้า
ปัจจัยที่ทำให้คนมาแน่น เพราะ ความไว้วางใจ เชื่อมั่นกับรพของเรา

แพทย์ ครู พระ ไม่ควรมองคนที่มารับบริการเป็นลูกค้า

ซึ่งความเชื่อมั่น และ ความไว้วางใจเป็นเรื่องใหญ่
ที่จะทำให้ รพ สามารถให้เติบโตได้ในอนาคต

ซึ่งเป็นสิ่งที่เราภูมิใจ และ สร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
ไม่อยากให้เป็นเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อยากให้เป็นของหมอที่รักษา
บางทีไม่มีเงิน แต่สามารถช่วยดูแลให้ไหม

ตัวอย่างเช่น มีคนไข้เสียชีวิตในห้องฉุกเฉิน เราก็ทำบุญให้กับคนไข้โดยไม่เก็บเงิน
ถือเป็นคุณค่าที่ทำให้เราเติบโตได้ เรามีmarket share อันดับหนึ่ง

ปัจจุบันจำนวนคนไข้ กลุ่มประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เป็น 60%หลังขยายเตียง
ถ้าจ่ายเป็นเงินสดก็ได้รับส่วนลด

เราถูกจัดอยู่ในสีเขียว เหลือง ในเรื่องการจัดกลุ่มของภาครัฐ
ต้นทุนในรพ แต่ละที่แตกต่างกันมาก การบริการที่ดี ก็จะยาก

เข้าสู่ช่วงที่สอง

AUCT

คุณสุวิทย์ พูดถึงแนวโน้มครึ่งปีหลัง
ปีที่แล้วโต20%กว่า ปีนี้โตขนาดนี้ ทีมบริหารพอใจ

เราปูพื้นฐานไปตลาดใหม่ในปีหน้า
ในเเง่ทุนประกอบการ ROA อยู่ในระดับต้นๆ
ปีหน้า จะไปสู่ตลาดใหม่ 4ที่โดยไม่ใช้เงินเยอะ
เพราะเป็นตลาดที่ต่อเนื่อง เราจ่ายปันผลเกือบ100%
4-5ปีที่ผ่านมา สหการประมูล ชื่อเหมือนเก่าแก่ เราไม่เคยขาดทุน

อยากคุยเรื่องvalue ของเราหมายถึงเรื่องโครงสร้างของบริษัท
บอร์ดบริหาร ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อาจารย์เสาวณีย์
เราเป็นคนกลาง และ โปร่งใสที่สุด
Board สามารถforcast อนาคตได้แม่น

คุณเทพไท ศิลา ถือหุ้นมากกว่า50% รวมถึงผมและทีมงาน
ผมก็อยากได้ปันผลเพิ่ม ถือว่าเป็นvalueอีกอย่าง
อีกอย่าง เรื่องการเติบโต ตลาดเดิมเราโตอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะโตขึ้นอีก คู่แข่งจะบาดเจ็บกัน
ดังนั้นตลาดที่ไปและสร้างvalueให้สังคม
สหการประมูล มีการประมูลทุกวัน จาก8-9 แห่ง ทำให้เรามีราคารถที่ประมูล ซึ่งทันสมัยที่สุด
Red book , Blue book ถ้าเข้าไปดูต้องเสียเงิน
เราเลยทำ Green book ให้สามารถเข้าไปดูราคาประมูลได้

เราคิดว่าตอนนี้ไม่มีที่เพียงพอ ลูกค้าไม่มีที่จอดรถ
เพราะรายย่อยเพิ่ม 40%
ผมบริการ และ ใส่ใจละเอียด เช่น บริการรถGolf
ผมมีการให้บริการรายย่อยทั้งสองข้าง
ตอนนี้มีการประมูลแบบonsiteโดยใช้ipadมาประมูล
ตอนนี้เราเข้าประมูลในส่วนที่ล้างรถในห้างสรรพสินค้า
เรามีเครื่องมือล้างรถที่ทันสมัย มีตรวจ ตรอ
ผมสามารถประมูลonlineโดยเอารถ15คันมาเป็นตัวอย่างเพื่อประมูลonline

ผมเชื่อว่า เรามีสถานที่บริการการประมูลเยอะสุด
แต่จะโตแบบtripple เราต้องไปหาลูกค้า

JMT

ครึ่งปีหลัง จะโตกว่าครึ่งปีแรก อัตราการเติบโต กำไรสุทธิโต30%เป็นขั้นต่ำ

จุดเด่นของเรา
1 . Fully amortizeที่ซื้อมา6000 ลบ
2. หนี้ที่เก็บ และ มีลูกค้าเข้ามาจ่ายเรามากขึ้นจากหนี้เมื่อ12ปีก่อน ซึ่งคนแก่อายุ70ปีเป็นกลุ่มแรกที่เราตามเก็บ ความจริงที่ว่าคนไทยไม่อยากเป็นหนี้ ทำให้หนี้ที่ตัดไปแล้วกลับมาเป็นรายได้รวมถึงหนี้ใหม่
3. เรารับจ้างตามหนี้ ได้มากกว่า40% สถาบันการเงินหรือ non bank จะส่งหนี้ที่ค้างตั้งแต่30วันมาให้เราตามหนี้ และ พออายุหนี้เกิน180วันก็ขายให้เรา
4. ลดต้นทุนการดำเนินงาน คนตามหนี้3000คน ลดลงเหลือ2500 คน โดยใช้เทคโนโลยีและโอนย้ายคน500คนไปทำในบริษัทในเครือ
ทำให้เราเก็บหนี้ได้ การตัดต้นทุนจะมีอีกหนึ่งชุดในไตรมาสสี่และอีก4-5ชุดในปีหน้า

ส่วนที่สาม เราทำต้นทุน บางอย่างที่เราไม่ถนัด เราก็ไปsynergy เช่น รถที่ถูกยึดส่งไปauctขายได้100กว่าคัน เราได้กำไรกลับมา เราก็เดินหน้าทำพวกนี้ต่อไปเรื่อย
เราจะofferประกันให้สหการประมูล. หมายถึง สหการประมูลให้ประกันกับคนที่ประมูลรถ
โดย JMT เสนอประกันให้

โดยสรุป เราก็ยังfocusที่ธุรกิจหลัก คือ ติดตามหนี้ เรารู้จักลูกหนี้ดี
โชดดีเราปลดหนี้ปีที่แล้ว 230,000คน ปีนี้เป็นสามแสนคน ต่อไปจะเป็นห้าแสนคนที่ปลดหนี้ได้
อีกธุรกิจนึง คือ ประกันภัย ปีหน้าจะturnaround ปีนี้ขาดทุนทางบัญชี
เพราะให้ประกันกับTaxiซึ่งเคลมหมดทุกคัน เราterminateสัญญากับรถสาธารณะ
และเริ่มเห็นผลชัดเจนในปีหน้า
โบรคเกอร์ ลดปรับพอร์ต motor:non motor = 50:50
เราจะทำอย่างไรโดยใช้licenseประกัน. หารายได้ในปีหน้า

ธุรกิจนี้ เสน่ห์คือ เราจะไปคุยกับคนให้ทั่วถึงได้อย่างไร เพื่อให้ทยอยคืนหนี้เรา
คนเป็นหนี้ ก็อยากทำธุรกรรมตามปกติ ก็ต้องมาจ่ายให้เรา เพื่อให้หลุดจากการเป็นหนี้
คนที่ช่วยมาคืนหนี้ คือ คนในครอบครัวมาช่วยจ่าย โดยเราไม่ได้คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
สามปีข้างหน้า น่าจะเติบโตในส่วนกำไร30%
เป้าปีนี้ เรายังมั่นใจว่าทำได้30%


RPH

ครึ่งปีหลัง ไตรมาสสามเป็น​high season ของ รพ เพราะเป็นฤดูฝน
แต่บางพื้นที่เช่นภาคใต้อาจไม่ใช่
ส่วนไตรมาสสี่ก็มาใช้บริการแต่น้อยกว่าไตรมาสสาม

เราตั้งไว้รายได้ 800ลบ
ค่าใช้จ่ายจากQ2ไปQ3ก็ไม่ค่อยเพิ่มเยอะแล้ว
ดูงบQ1,Q2 ซึ่งcover ค่าเสื่อมและค่าพนักงาน
ส่วนQ3พึ่งรับรองมาตรฐานJCIอาจมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้

รพ เราเติบโตเร็วในแง่การลงทุน ทั้งรายได้และจำนวนคนไข้
ปีนี้ก็น่าสนใจ ในปีถัดไปก็มีโอกาสเติบโตมากขึ้น
จุดเด่นของเรา เริ่มรับรู้อย่างกว้างขวาง
เราเชื่อว่า มาตราฐานสากล ความสามารถของแพทย์ การดูแลคนไข้ที่ไว้วางใจ

ปีหน้ายังไม่มีการขยายไปจังหวัดอื่น แต่จะมีแผนจะเปิดรพ เดิม เป็น General hospital
ขอนแก่นเป็นเมืองใหญ่ที่โตขึ้นเรื่อย มีความพร้อมหลายเรื่อง
คนไข้ระดับกลางและล่างเยอะ มีความลำบากไปใช้บริการรพ ภาครัฐ
การเข้าบริการ รพ เอกชน ทั้งสามที่ก็ยาก

ดังนั้น รพ ที่เปิดมา จะรองรับกลุ่มนี้ และ รองรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย
ส่วนขยายไปพื้นที่อื่น เราเตรียมที่ดินที่ซื้อไว้แล้ว ต้องดูจังหวะอีกที
ที่ใหม่ที่ขยายเมื่อปีที่แล้ว ก็เริ่มดี มีคนลาวมาใช้บริการด้วย


สภาวะเศรษฐกิจ ตอนนี้ brandของเราไม่แพ้ใคร
ถ้าเศรษฐกิจถดถอย ก็ไม่น่ากระทบมาก เรายังเติบโตอยู่
รพ รับรู้ในมุมคนไข้ ว่าไม่แพงเกินไป
ตอนนี้ รัฐมีมาตรา7 ดูแลลูกค้า ในเคสฉุกเฉินวิกฤติ เข้าไปไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในช่วง72 ชม และที่คนไม่ค่อยทราบคือ
ถ้าเป็น opd case ได้รับบริการ700 บาท ส่วน iPd เบิกรัฐได้ 4500 บาท
ส่วนผ่าตัดก็ได้10,000บาท. ซึ่งช่วยประชาชนได้เยอะ

รพ เราบริการห้าดาว แต่ค่าบริการแค่สามดาว

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน อ ไพบูลย์ อ เสน่ห์ หมอเค และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่านครับ
โพสต์โพสต์