=หนังสือทีเล่าด้านมืดของบริษัทผู้ตรวจบัญชี The Big Four ===

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ผักกาด
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 11

=หนังสือทีเล่าด้านมืดของบริษัทผู้ตรวจบัญชี The Big Four ===

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีค่ะ

พอดีเล่มนี้อ่านเเล้วเล่าคร่าวๆไว้นานเเล้ว ขออนุญาติเอามาแปะอีกทีในนี้ค่ะ
พอดีมีเคสปรับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY 13.8 ล้านบาท ... เรื่องแบบนี้ในหนังสือเล่มนี้เล่าไว้หลายเคสมากๆค่ะ

https://money2know.com/%E0%B8%A5%E0%B8% ... %E0%B8%B5/


=== The Big Four by Ian Gow & Stuart Kells ===

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ auditing firms ยักษ์ใหญ่ 4 แห่ง อันได้แก่ Deloitte, PwC, EY และ KPMG ... เล่าตั้งแต่ประวัติศาตร์ว่าบัญชีกับคนตรวจสอบบัญชีเกิดขึ้นมาได้ยังไงไปจนถึงเล่าดราม่าการล้มละลายของ Lehman brothers ว่าด้วยเกี่ยวกับความบกพร่องของการตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงการเข้าไปวางระบบตรวจสอบบัญชีในจีนตอนที่เปิดประเทศใหม่ จนกระทั่งกำลังจะโดนจีนเตะออกมา หลังจากที่ดูดความรู้ไปหมดแล้ว คนเขียนเป็นออสเตรเลีย

***เนื้อหามันจะปนดราม่านิดๆ เพราะฉะนั้น..please do not kill the messenger นะคะ อันนี้ว่าไปตามหนังสือ >< เราเล่าไปเรื่อยๆตามที่จำได้นะคะ ไม่ได้เรียงตามหนังสือเช่นเคย และไม่ใช่ทั้งหมดของหนังสือค่ะ ในหนังสือเคสเยอะ ใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ถ้าสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มดูค่ะ ***

.
เรื่องสถาบันการเงินและระบบบัญชีมันเริ่มมาจาก Medici bank ก่อตั้งในเมืองฟลอเรนซ์ (ประเทศอิตาลี ในปัจจุบัน) แบงก์นี้เค้าสนับสนุนการเงินให้พระคารดินัลไต่เต้าตำแหน่งขึ้นไป ทำให้แบงค์นี้กลายเป็นแบงก์ที่ได้รับความเชื่อถือและขยายไปมากที่สุดในยุโรป และสนิทกับพระสันตปาปา พระคาร์ดินัล ถือว่ากุมอำนาจระดับนึง พอขยายสาขามากๆเริ่มมีการทุจริต เลยต้องเริ่มระบบการทำบัญชี และการตรวจสอบขึ้นมา และแบงก์นี้แหละที่เป็นคนคิดเรื่องการบันทึกบัญชี 2 ขา พวก debit, credit

.
แต่หลังจากที่ James Watt คิดเครื่องจักรไอน้ำได้แล้ว เกิดการปฎิวัติอุสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้ระบบบัญชีไปเติบโตที่นั่น เกิดการขนส่งระบบรางขึ้นมา เกิดบริษัท railways หลายแห่งในอังกฤษ และมีธุรกิจรายรอบกิจการเดินรถรางด้วย รวมไปถึงเกิดบริษัทที่ล้มละลายจำนวนมากด้วย ทำให้ช่วงนั้นทนายความและนักกฎหมายมีเยอะ และเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก พอคนล้มละลายเป็นคดีความเยอะ ทำให้มีการต้องตรวจสอบการรับจ่าย จึงทำให้นักบัญชีและการตรวจสอบบัญชีเป็นที่ต้องการ แต่สมัยนั้นยังไม่มีการ qualified คุณสมบัติของนักบัญชีและผู้ตรวจสอบ ใครก้อได้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น (เช่นช่างทำหมวก ช่างทำรองเท้า) ก้อมาเป็นนักบัญชี ทำให้คนอื่นค่อนข้างดูถูก จนกระทั่ง 1880 เริ่มมีการก่อตั้งสมาคมนักบัญชี ICAEW (Institute of Chartered Accountants in England and Wales) และสร้างมาตรฐานบัญชีขึ้นมา เมื่อมีการลงทุนก่อสร้างรางรถไฟมากขึ้นทำให้รัฐบาลระดมเงินไม่ทัน มีการระดมทุนกันเองของบริษัท railways มีผู้ถือหุ้น มีการออกตราสารหนี้ มีปันผล เมื่อไม่มีระบบจัดการที่ดีทำให้เกิดการโกง ปลอมเอกสารได้ง่ายซึ่งส่วนใหญ่โกงโดยนักบัญชี จนเสื่อมเสียไปทั้งวงการ แต่ทีนี้ก้อเริ่มมีนักบัญชีบางคนที่ไม่โกง และเปิดโปงการทุจริต ยกตัวอย่าง William Deloitte ที่เปิดโปงการโกงทะเบียนหุ้นของ Great Northern Railway (GNR) โดยนาย Leopold Redpath แก้ชื่อหุ้นให้เป็นของตัวเอง และนาย Redpath โดนขับไล่ออกจากอังกฤษในสุด บริษัทเดินรถไฟอื่นๆเลยมาจ้าง Deloitte ให้มาตรวจสอบบริษัทตัวเองบ้าง จนเป็นที่มาของการชำระล้างการโกงในอุตสาหกรรมการรถไฟ รัฐบาลเลยให้มาช่วยร่างกฎหมายควมคุมบริษัทรถไฟ รวมไปถึงกำหนดให้บริษัทรถไฟบันทึกบัญชีแบบ 2 ขาด้วย สมัยนั้น Deloitte และ Waterhouse เลยเป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ทรงอิทธิพลมาก

ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 20 จัดเป็นยุคทองของการบัญชีและขยายไปอเมริกา Deloitte ไปเปิดออฟฟิศในอเมริกาปี 1893 ตรวจสอบบัญชีให้กับ บริษัทที่ทำสบู่กับเทียน ซึ่งต่อมาคือ Procter & Gamble หลังจากเกิดcrash ใน Wall Street ปี 1929 มีการออก พรบ. หลักทรัพย์ออกมา โดยกำหนดให้บัญชีของบริษัทจดทะเบียนต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ Price Waterhouse มีการเข้าไปช่วยร่าง GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ให้กับ กลต. รวมไปถึงช่วยร่างอะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชี รวมไปถึงการลด uncapped liability ที่นักบัญชีต้องรับผิดชอบผลจากการตรวจสอบบัญชีด้วย

.
ปัจจุบัน Big 4 มีพนักงานรวมกันมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก (โดยไม่รวม outsource) ในปี 2017, มี 497 บริษัทที่อยู่ใน S&P 500 index ใช้บริการตรวจสอบบัญชีจาก 1 ใน Big 4 รวมไปถึงใช้บริการที่ปรึกษา ขนาด PwC เคลมว่าเค้าให้คำปรึกษากับ 422 บริษัทที่ติด Fortune Global 500 ในปี 2017 กันเลยทีเดียว มันบ่งบอกถึงความเกือบจะเป็น monopoly ของ audit firms เหล่านี้

** ตั้งเเต่สมัยก่อน ..มีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไล่มาจาก

>> Big 8 (1-Arthur Anderson, 2-Arthur Young McClelland Moores & Co, 3 -Coopers & Lybrand, 4 -Deloitte Haskins & Sells, 5 -Ernst & Whinney, 6 -Peat Marwick Mitchell, 7 -Price Waterhouse, 8 -Touche Ross Bailey & Smart )

>> Big 6 (1989 Ernst & Whinney รวมกับ Arthur Young เป็น Ernst & Young (EY), Deloitte, Haskins & Sells รวมกับ Touche Ross เป็น Deloitte & Touche)

>> Big 5 (1998 when Price Waterhouse รวมกับ Coopers & Lybrand เป็น PricewaterhouseCoopers -PwC) โดยมี Arthur Anderson เป็น audit firm ที่มีชื่อเสียงที่สุด เข้มสุด และเค้าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Enron ด้วย ... แต่พอ Anderson ตกนรกไปพร้อม Enron ก้อเหลือเป็น Big 4 (แต่จะมี Anderson Consulting ที่เหลือรอดออกมาได้ เพราะ split ตัวออกมาทันเวลาภายใต้แบรนด์ใหม่ ชื่อ Accenture นั่นเอง) ต่อมาปี 2005 มี KPMG แอบไปช่วยเรื่องเลี่ยงภาษีให้ลูกค้า โดน US of Justice จับได้ …. แต่ว่าโลกใบนี้ไม่สามารถจะปล่อยให้เหลือแค่ Big 3 ทำให้ KPMG รอดจากการล่มสลาย เหลือแค่โดนปรับไป US$ 456 million

ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)


นอกจากการตรวจสอบบัญชีแล้ว Big 4 ยังรับเป็นที่ปรึกษา และช่วยยื่นเรื่องระบบภาษี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเลี่ยงภาษี ซึ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นดีกว่าการตวจสอบบัญชี (ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเยอะ เสี่ยงติดคุก คดีความอีก เลยมีการจ้างเด็กๆเข้ามาฝึกเป็น auditors เพื่อ “leverage” ด้วยๆ เด็กๆที่จบใหม่ที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ก้อประหนึ่งแรงงานทาส ทำงานเยอะ กลับดึก (หรือกลับเช้า)ไม่มีโอที ตรวจผิดก้อซวย โดนไล่เบี้ยตลอด แต่ทุกคนที่เข้ามาทำเพราะต้องการปั้น resume เพื่อที่จะเป็นบันไดไปต่อ..ที่ไหนก้อได้ .. อะไรก้อได้สักที่ >//< **อันนี้หนังสือเขาว่านะคะ**

**แต่หลังจากที่เกิดเรื่องราวของ Enron ที่ตอนนั้น Arthur Anderson รับเป็นทั้งบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาให้ ซึ่งทำให้นักกฎหมายเชื่อว่าผลประโยชน์จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ Enron ทำให้ขาด้านตรวจสอบบัญชีของ Arthur Anderson ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และไม่อิสระ ... หลังจากที่ Enron ล้มละลาย และเกิดมีการออก พรบ. Sarbox (Sarbanes-Oxley Act หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "Public Company Accounting Reform and Investor Protection Act" (in the Senate ) และ "Corporate and Auditing Accountability, Responsibility, and Transparency Act" (in the House) เพื่อช่วยปกป้องนักลงทุน) ออกมา ทำให้ Big 4 บางเจ้าออกจากกิจการที่ปรึกษา อย่าง PwC ขายธุรกิจ consulting ให้กับ IBM, KPMG ขาย KPMG consulting ออก...แต่สุดท้ายแล้ว ต่างก้อกลับเข้ามาทำกันใหม่ (ก้อมาร์จิ้นมันดี)

**ช่วงปี 2008 Financial Crisis บริษัที่ตรวจสอบบัญชีของแบงก์ต่างๆรับเละ .. Deloitte ตรวจ Bear Sterns และ Fannie Mae, KPMG ตรวจ Citigroup, PwC ตรวจ AIG และ Goldman Sachs, EY ตรวจ Lehman Brothers แต่ดูเหมือนว่าเคสของ Lehman Brothers จะหนักที่สุดเพราะ EY ไปรับตรวจให้เค้าอยู่ 7 ปี..จนถึงปี 2007 ได้รับค่าจ้างตรวจไป US$ 185 million ในเคสของ Lehman เกิดจากไปทำ Repo 105 (Repurchase ด้วย level collateralization ที่ระดับ 105%) คือเหมือนไปทำ window dressing ทางการเงินด้วย การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ากว่าหลายสิบ US$ bn ออกทุกๆสิ้นไตรมาส แล้วซื้อกลับในเวลาอันรวดเร็ว เงินที่ขายทรัพย์สินได้ เอาไปจ่ายหนี้ทำงบการเงินดูมีหนี้สิ้นน้อย ... ในขณะที่ผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY รู้อยู่เต็มอกว่า Lehman มีการกระทำลักษณะนี้ แต่ยังรายงานงบการเงินว่าไม่มีอะไร (clean audit)

ที่อังกฤษ ปี 2012 PwC โดนปรับ £1.4 million เพราะไปรายงานว่า JP Morgan Securities ทำตามกฎเกี่ยวกับ Segregation and Separation ของเงินลูกค้าที่อยู่ในกองทุน..ทั้งๆที่ JP Morgan Securities ไม่ได้ทำตามนั้น

ปี 2014 ปู่ Buffett เสียเงิน US$750 million ขายหุ้น Tesco ทิ้งเพราะงบการเงินปี 2013 มีความน่าสงสัย แต่ audit firm ไม่ได้แสดงความเห็นและให้ clean audit

**ส่วนเรื่องการเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเรื่องการทำภาษี ให้จ่ายภาษีน้อยลงเวลาไปทำกิจการที่ประเทศอื่น โดยช่วยในการหา defendable expense allocation (หาที่ลงให้ คชจ ต่างๆโดยไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถอธิบายได้ เวลาสรรพากรมาตรวจสอบ) จนเป็นที่มาของการรั่วไหลของ LuxLeak (Luxembourg Leak) ในปี 2014 (ซึ่งคล้ายกับ Panama paper ในปี 2015 และ Paradise paper ในปี 2017) เรื่องของเรื่องก้อประมาณว่า พนักงานของ PwC เอาเอกสาร 30,000 หน้าให้นักข่าว มันเป็นเอกสารเกี่ยวกับการที่บริษัทแบบ Accenture, Burberry, FedEx, Heinz, IKEA หรือ Pepsi รวม 343 บริษัท ใช้ประเทศอย่าง Luxembourg ในการจัดการกับ Corporate tax deals
===เอาประมาณนี้พอล่ะกันค่ะ ===
bigfour.jpg
ผักกาด
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 11

Re: =หนังสือทีเล่าด้านมืดของบริษัทผู้ตรวจบัญชี The Big Four

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)

วาร์ปไปเคส Enron แบบคร่าวๆ

เคสกลบัญชี- จากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)

พยายามเอาแบบสั้นๆ ได้ใจความก้อแล้วกันค่ะ
ROYNET

ROYNET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 2546 ถูกกล่าวหาด้วยความผิด 3 ประการคือ 1) จัดทำข้อมูลทางการเงินที่เป็นเท็จ 2) ใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้อขายหุ้น 3) ไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นทุก 5%
มาดูเฉพาะความผิดแรก ที่จำทำข้อมูลทางบัญชีเป็นเท็จ ROYNET บันทึกรายได้จากการขายบัตร internet ในงบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ถึง 3 ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 71 ล้านบาท รายงานยอดลูกหนี้ 66 ล้านบาท เมื่อ auditor ไล่ตรวจกลับไปถึงการชำระเงินของลูกหนี้ใน ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทได้รับชำระเงินเพียง 8 ล้านบาท .... แสดงว่าบริษัท “บันทึกรายได้เร็วเกินไป” เพราะบัตร internet ที่บันทึกเป็นรายได้นั้น ยังไม่ได้ถูกขายออกไป ... แค่นำไปฝากขายเท่านั้น
เมื่อบริษัทต้องแก้ไขงบ ไตรมาส 3/2546 ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. พบว่า กำไรสุทธิที่เคยแสดงไว้ที่ 11 ล้านบาท กลับกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 13 ล้านบาท (แสดงว่าบันทึกรายได้สูงเกินไป 24 ล้านบาท) และงบในงวด 9 เดือนแรก ต้องแสดงผลขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท (จากที่เคยระบุว่า 9 งวด เดือนแรก กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท)

ENRON

ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เกิดจากการควบรวมกิจการของ Houston Natural Gas ในแท็กซัส และ InterNorth บริษัทขายแก๊สธรรมชาติในเมืองโอมาฮา เพื่อจัดส่งแก๊สธรรมชาติระหว่างรัฐ Kenneth Lay คือประธานบริษัทคนแรก ...ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเริ่มมาจาก เมื่อปี 1989 Lay กับ Skiing (คนหลังนี่เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน) ตัดสินใจให้ เอนรอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน ไม่นาน เอนรอนกลายเป็นบริษัทผู้ค้าแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ รวมไปถึงไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ ให้คำปรึกษาทางอินเตอร์เนทความเร็วสูง และเป็นบริษัท ที่ขายโภคภัณฑ์ผ่านเวบ (ผ่านทางอนุพันธ์) ด้วยความเก่งและใหญ่ ในปี 1993 เอนรอนก้อได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ทำการจัดตั้ง JEDI-1 (Joint Energy Development Investment-1) เพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และซื้อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วโลก (ขนาดโรงไฟฟ้าราชบุรีที่บริษัทเราทำ ยังโดนจีบเลย) โดยลงขันคนละ US$ 250M โครงการ JEDI-1 ตอนนั้นกำไรมหาศาล เป็นเงินประมาณ US$ 400M (ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ ประมาณ 23%) CalPERS เรียกให้เอนรอนชำระบัญชีและแบ่งผลกำไร ในปี 1997.... แต่เอนรอน (โดย Skiing) ไม่อยากเลิก เพราะเห็นว่าโครงการมันทำกำไรได้มากมาย และยิ่งไปกว่านั้น เค้าต้องการทำ JEDI-2 ขึ้นมาด้วย โดยจะเอาให้ใหญ่กว่า JEDI-1 เป็นสองเท่าอีกต่างหาก (ลงเงินเพิ่มคนละอีกเท่าตัว) ทาง CalPERS ก้อโอเคที่จะลงเงิน US$ 500M สำหรับ JEDI-2 แต่มีข้อแม้ว่า CalPERS ต้องขอถอนผลตอบแทนทั้งหมด US$ 383M ออกจาก JEDI-1 เสียก่อน ... แต่เอนรอนไม่อยากขาย แต่ก้อต้องหาเงินมาคืน ซึ่งการจะเก็บทั้ง 2 โครงการไว้เอนรอนต้องไปกู้เงินมา US$ 500M แต่ถ้าเอนรอนทำแบบนั้น... งบจะไม่สวยเพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา US$ 500M ในงบตัวเอง

เอนรอนก้อเลยจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ เอาหนี้สินส่วนนี้ไปซุกไว้นอกงบการเงินของตัวเอง โดยบริษัทเฉพาะกิจนี้ จะต้องดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอนรอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำงบมาแสดงในงบการเงินรวม ... CHEWCO จึงเกิดขึ้น เพื่อจ่ายเงินจำนวน US$ 383M ให้ CalPERS เพื่อซื้อ JEDI-1 >>> CHEWCO ซึ่งไม่ได้มีตังค์มากขนาดนั้น ก้อไปยืมเงินเอนรอน US$ 132M + กู้ US$240M จากธนาคาร Barclays = US$ 371.5M ยังขาดอีก US$11.5M (หรือ 3%) ซึ่งต้องไปหาจากบุคคลภายนอกมาลงทุน ตามกฎบัญชีของเมกา (ในเมกา จะมีกฎ 3% ซึ่งอนุมานมาจากการตีความของคำถามทางบัญชีเรื่องนึงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า ... กฎสรุปว่า ผู้เช่า ไม่ต้องนำงบการเงินของ ผู้ให้เช่า มารวมในงบการเงินรวบ ถ้าผู้ให้เช่ามีเงินลงทุนที่มาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า) เป็นจำนวน 3% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ... พูดง่ายๆก้อคือ ผู้เช่า จะลงทุนและค้ำประกัน ผู้ให้เช่า ได้ไม่เกิน 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ....ทีนี้ การตีความนี้ ก้อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นเกณฑ์ในการคิดว่าจะการนำ งบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารวมหรือไม่)

ทีนี้ ไอ้เงิน 3% (ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ CHEWCO) ที่ยังขาดอยู่ ทาง ผบห ก้อจะเอาชื่อเครือญาติมาลงไม่ได้ ... ก้อเลยไปตั้งบริษัท Big River Funding และ Little River Funding ขึ้นมา แล้วเอาเงินของเพื่อนที่อยู่ใต้บังคัญบัญชาไปลงทุน เพื่อให้โครงสร้างดูซับซ้อน โดยใช้ Big River Funding เป็นผู้ลงทุนใน CHEWCO และใช้ Little River Funding เป็นผถห ใน Big River Funding

CHEWCO เอาตังค์ไปจ่าย CalPERS เรียบร้อย และหนี้กว่า US$400M นี้ ไม่เคยปรากฎในงบของเอนรอนเลยแม้แต่เพนนีเดียว

ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในการคำนวนว่าเงินลงทุนของ เอนรอนใน CHEWCO จะเกิน 97% หรือไม่นั้น เอนรอนจะต้องนำทั้งเงินกู้ยืมที่เอนรอนเป็นผู้คำประกันให้แก่ CHEWCO และหุ้นส่วน CHEWCO มารวมด้วย ... ดังนั้นเงินประมาณครึ่งนึงของ จำนวน US$ 11.5M ที่ Big River Funding และ ใช้ Little River Funding เอามาลงนั้น ... มาจาก ผบห ของเอนรอนเอง ... จึงเท่ากับว่าเป็นเงินกู้ยืมที่เอนรอนค้ำประกันให้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ แปลว่า เอนรอนคือผู้ลงทุนใน CHEWCO เกินกว่า 97% และต้องนำ CHEWCO เข้ามารวมในงบการเงินของเอนรอน ซึ่งควรทำมาแล้วตั้งแต่ปี 1997... งานนี้บริษัท audit บัญชี อย่าง Andersen ก้อมีส่วนรู้เห็นด้วย เพราะลงชื่อรับรองความถูกต้องมาตลอด (เมื่อก่อนบริษัท audit บัญชี ขนาดใหญ่จะมี 5 ที่ เรียก BIG5>> EY, KPMG, Deloitte, PwC และ Andersen แต่ Andersen ก้อล้มเพราะงานนี้เหมือนกัน)

ปี 2001 เมื่อเอนรอนทำการแก้ไขงบการเงินไตรมาส 3/2000 ด้วยข้อผิดพลาดที่สำคัญ.... โดยการนำงบของ CHEWCO มารวมด้วย ทำให้มีการแสดงผลขาดทุนจำนวน US$ 618M (ก่อนหน้านั้นรายงาน กำไร ไตรมาส 3 อยู่ที่ US$ 292 M)
เท่านั้นแระ ... นรกแตก
ผักกาด
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 11

Re: =หนังสือทีเล่าด้านมืดของบริษัทผู้ตรวจบัญชี The Big Four ===

โพสต์ที่ 3

โพสต์

.
.
หรือ Michael Burry จะหมายถึง SVB ซึ่งเป็น talk of the town ในวินาทีนี้
.
.
Enron like.jpg
โพสต์โพสต์