มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,BackRock

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 262

มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,BackRock

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สัมมนา มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562
ก่อนอื่นขออธิบายคำย่อต่างๆในบทความนี้
EM (EMERGING MARKET) คือตลาดหุ้นเกิดใหม่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 โซน
US คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
EU คือ ยุโรป
JP คือ ประเทศญี่ปุ่น
China คือ ประเทศจีน

คุณอาทิตย์ ทองเจริญ SVP Schroder (Singapore) พูดเป็นคนแรกว่า
ในหัวข้อ Global Emerging Market : Outlook and Market Perspective
ตลาดหุ้นปีที่แล้ว (2017) ดัชนี MSCI EMERGING MARKET บวก30%
ปีนี้ 2018 เดือนมค ตลาดยังเป็นขาขึ้น พอเดือนกพ ดัชนีลบอย่างหนัก
เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มไม่ดี จนถึงตอนนี้ ดัชนี EMERGING MARKET ติดลบ15%
คำถามคือ อะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

ดูจากภาพ Emerging Marketได้แบ่งเป็นส่วนแรกสีส้ม แย่กว่าเดิม
ส่วนสีน้ำเงิน ปีนี้เหมือนกับปีที่แล้ว ส่วนสีเขียวปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว

เรามาดูในส่วนสีส้มที่ปีนี้แย่กว่าปีที่แล้วได้แก่

1. A move from synchronized growth with low inflation to rising stagflation concerns
And $ Strength การเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในส่วน US,EU,JP เติบโตไปทางเดียวกันในปีที่แล้ว
การค้าขายต่างๆระหว่างประเทศไปในทิศทางเดียวกัน
ปีนี้ เศรษฐกิจของUS ยังคงดีอยุ่ แต่ EU ชะลอตัวลง, EMERGING MARKET ขยายตัวน้อยลง
ผลที่ตามมาเกิดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจเติบโตช้า แต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น (Stagflation คือ
คำที่มาจากการรวมกันของ 2 คำ ได้แก่ Stagnation และ Inflation ซึ่งปัญหาของ Stagflation
ก็มีที่มาจากทั้ง 2 ปัญหานี้นั่นเอง Stagnation คือ การที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากอัตราการว่างงานที่สูง
Inflation คือภาวะเงินเฟ้อ เป็นที่ภาวะมูลค่าของเงินลดลงทำให้ค่าครองชีพสูง)

2. $ strength
ค่าเงิน$ กับตลาดหุ้นแปรผันในทิศทางตรงกันข้าม
ดัชนีหุ้นEMERGING MARKET ลดลง , ค่าเงิน$ แข็งค่า
ย้อนไปหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ค่าเงิน$แข็งค่าขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี 2010
เมื่อลงทุนในตลาดหุ้น EMERGING MARKET จะมีกำไรมาตลอด
แต่ปีนี้ ค่า$ แข็งค่าขึ้น ทำให้EMERGING MARKETแย่ลง

3. Crude price strength
ปีที่แล้ว ราคาน้ำมันอยู่ระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ยังพึ่งพาส่งออก
ปีนี้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ถึงแม้ตค ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง แต่ก็ยังสูงกว่าปีที่แล้วเดือนเดียวกัน
ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ประเทศที่นำเข้าน้ำมันเยอะเช่น จีน อินเดีย ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
ทำให้ Current account หรือ ดุลบัญชีเดินสะพัดแย่ลง

4. Trade risk escalation
Trade war ที่ทรัมป์ เก็บภาษีนำเข้าสินค้า หลายๆคนเห็นว่าทำกับจีนเท่านั้น
แต่ supply chainเชื่อมโยงกัน จีนนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นมาผลิตให้สหรัฐก็เช่นกัน
ถึงแม้ว่าจะโฟกัสที่จีนกับสหรัฐ แต่จริงๆแล้ว ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายประเทศ
แต่ผลกระทบต่อส่งออก จะเห็นในอีก3-4เดือนข้างหน้า ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

5.Currency weakness and CB policy action in EM
ไม่มีใครทายได้ว่าคุณทรัมป์จะพูดอะไร อย่างนึงที่เห็นในช่วงนี้ ต้นเดือน พย ผลการเลือกตั้งที่สหรัฐ
คุณทรัมป์สูญเสียสภาล่างไป ทำให้การคุมเสียงในการVoteยากขึ้น แต่ยังคุมเสียงสภาบนอยู่
เกิดการbalanceนโยบายที่cracy น้อยลง แต่นโยบายยังดำเนินต่อไป แต่รุนแรงน้อยลงกว่าต้นปีที่ผ่านมา
ค่าเงินตลาดEMERGING MARKET อ่อนลง เมื่อ$แข็งค่า
สุดท้าย เกิดการrevise EPS ของตลาดEMERGING MARKET
ถ้าคิดว่า เศรษฐกิจไม่ดี ก็จะreviseกำไรให้น้อยลง
ยกเว้นปี 2017 ที่ปรับประมาณการณ์กำไรดีขึ้น

6. Negative eps revisions
ปี2018 จากโซนสีแดง คนเริ่มมีการrevise ปรับประมาณการณ์กำไรน้อยลงใน
EMERGING MARKET ซึ่งจะส่งผลแย่ลง แต่จุดที่ดีคือมีการเติบโตจากปีที่แล้ว

โซนสีน้ำเงิน ที่ยังคงเดิมเหมือนเดิมได้แก่

1. EMERGING MARKET ยังอยู่ใน Mid cycle เศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในช่วงเติบโตสูงมาก
ถือว่าอยู่ในช่วงท้ายก่อนชะลอตัว EMERGING MARKETยังไม่ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด
ทำให้ภาวะเศรษฐกิจไม่น่าชะลอตัว หรือ ถดถอย

2. วิกฤตเศรษฐกิจที่ลามไปถึงเกาหลีใต้ สถานการเงินไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมานั้นมาก

3. เส้นสีน้ำเงินหมายถึงพึ่งพารัฐบาลหรือ Financingจากต่างประเทศเช่น ประเทศตุรกี
ดังนั้นจึงสรุปว่ามีทั้งตลาดที่ดี และ ตลาดไม่ดี

4. เวลาเงินไหลเรามีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

5. Monetary policy normalization
ธนาคารกลางของEMEเอื้อต่อระบบเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับธนาคารกลางของ สหรัฐ

6. จีน GDP Q2 อาจชะลอตัวลง การเติบโตของGDPจาก 2 digit ลดเหลือแค่ 1 digit.

โซนสีเขียวหมายถึง ส่วนที่ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว

1. Equity valuations เรื่องValuation จากที่ราคาหุ้นลงไปมากกว่า20%
ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นดูดีกว่าปีที่แล้วที่ราคาหุ้นของEMERGING MARKET แพงมาก
ROE , PB ของตลาดEMERGING MARKET ปัจจุบัน 2017 ที่ตลาดขึ้นเยอะ ตอนนี้ลงไป20%
Valuation ค่อนข้างถูก นอกจากนี้ PB, PE ปัจจุบันดูค่อนข้างน่าสนใจ

2. Currencies have sold off : ค่าเงินตลาด EMERGING MARKET
ผลตอบแทนของEMERGING MARKET ได้แก่ capital gain, dividend ดูน่าสนใจขึ้น

3. sentiment cautious flowที่นักลงทุนเข้าน้อยลง แสดงว่ามีการดูแลดีขึ้น

4. China stimulus restarting จีนเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจอีก
(EMERGING MARKET แบ่งเป็น 3 area) ถ้าดูน้ำหนักตลาดหุ้นยังอยู่ที่จีน ซึ่งมีอิทธิพลต่อ
EMERGING MARKET ได้ ธนาคารกลางจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

Why still EMERGING MARKET ? ทำไมตลาดเกิดใหม่น่าสนใจ

1. Size of EMERGING MARKET economics and capital mkt ประมาณ 50%
แต่ตลาดหุ้นมีมูลค่าแค่ 30% ภาพไม่balance

2. มีโอกาสที่ได้ผลตอบแทนที่สูง ในตลาด EMERGING MARKET

3. ปีนี้เศรษฐกิจ EMERGING MARKET ยังไม่สวยหรู ต้องระวัง Trade war

4. บริษัทจดทะเบียนในEMERGING MARKET มีการเติบโตดี ค่อนข้างถูก
zephyr
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 978
ผู้ติดตาม: 30

Re: มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,Back

โพสต์ที่ 2

โพสต์

EM 3 Zones สีส้ม สีน้ำเงิน สีเขียว ประกอบด้วยแระเทศไหนบ้างครับ ไม่มีรูปให้ดูครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1977
ผู้ติดตาม: 109

Re: มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,Back

โพสต์ที่ 3

โพสต์

zephyr เขียน:EM 3 Zones สีส้ม สีน้ำเงิน สีเขียว ประกอบด้วยแระเทศไหนบ้างครับ ไม่มีรูปให้ดูครับ
น่าจะเพจนี้นะครับ
https://www.focus-economics.com/blog/em ... ic-outlook
อย่าเชื่ออะไรผมนักเลย ผมโชว์โง่บ่อยมาก -..-

"ซื้อที่high ขายที่low Showแต่ดอย ทะยอยcut"
zephyr
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 978
ผู้ติดตาม: 30

Re: มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,Back

โพสต์ที่ 4

โพสต์

romee เขียน:
zephyr เขียน:EM 3 Zones สีส้ม สีน้ำเงิน สีเขียว ประกอบด้วยแระเทศไหนบ้างครับ ไม่มีรูปให้ดูครับ
น่าจะเพจนี้นะครับ
https://www.focus-economics.com/blog/em ... ic-outlook
ขอบคุณครับ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่นะครับ ในเพจแบ่งสีตาม geographic แต่ผมว่าในบทความแบ่งสีตาม fundamental status
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 262

Re: มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2562 JP Morgan,Schroder,Back

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พอดีวิทยากรไม่ได้ลงรายละเอียดมาให้
แต่ผมขอนำข้อมูลจากคุณแบงค์ MR Messengerมาให้ครับ

Emerging Market คืออะไร? คงต้องปูพื้นเริ่มจากคำถามนี้ก่อน

Emerging Market หรือ EM คือ ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ หรือ ก่อนหน้าเรียกว่า ตลาดกำลังพัฒนา ซึ่งตรงกันข้ามกับ ตลาดพัฒนาแล้ว หรือ Developed Market (DM)

แบ่ง EM กับ DM ยังไง?
1. ดูที่รายได้ประชาชาติ (GNI –Gross National Income per capita) ถ้าเป็น DM จะแบ่งคร่าวๆที่รายได้ USD 10,066 ต่อหัวขึ้นไป หรือ ปีละ 312,000 บาท (เดือนละ 26,000 บาท) ต่ำกว่านั้น เป็นประเทศเกิดใหม่ ปัจจุบัน ไทยอยู่ที่ USD 5,400 หรือ 167,400 บาท ตกเดือนละ 13,950 บาท ต่างกับเกณฑ์ของ DM เกือบ 2 เท่า ฉะนั้นเราเป็น EM นะครับ
2. ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และระดับการศึกษาเฉลี่ยของคนในประเทศ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชากร
3. ผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตร



กลุ่มประเทศ Emerging Market นั้น ถูกนักวิเคราะห์และนักลงทุนแบ่งออกตามภูมิภาค 3 โซนด้วยกัน
1. เอเชีย มีประเทศ ไทย, เกาหลีใต้, จีน, อินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ปากีสถาน
2. ละตินอเมริกา มีประเทศ อาร์เจนตินา, บราซิ, ชิลี, โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เปรู และ เวนาซูเอลา
3. ยุโรปตะวันออก และตวันออกกลาง มีประเทศ สาธารณรัฐเชก, ฮังการี, โปแลนด์, รัสเซีย, อิสราเอล, จอร์แดน, โมร็อคโค, อียิปต์, แอฟริกาใต้ และ ตุรกี

ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมดที่กล่าวมา มีประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ และถูกจับตาว่าจะเป้นตัวขัยเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกอยู่ 4 ประเทศด้วยกัน นั้นคือ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และ จีน โดยใช้ชื่อย่อว่า BRIC นั้นเอง

จุดเด่นของเศรษฐกิจประเทศในตลาดเกิดใหม่คืออะไร?
ประเทศเหล่านี้ มีอัตราการเติบโตทาง GDP ที่สูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว อย่างตอนนี้ อเมริกาขยายตัวได้ราวๆ 2% ต้นๆ ส่วนยุโรปนั้น GDP Growth กำลังจะติดลบให้เห็น แต่ประเทศใน EM สามารถโชว์การเติบโตได้ที่ 3% ขึ้นไป นี่คือจุดเด่นข้อสอง
จุดเด่นอีกข้อคือ มีปัจจัยพื้นฐานที่รองรับการพัฒนาประเทศได้ดีกว่า นั้นคือ มีหนี้สาธารณะในระดับต่ำ ในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ไม่เหมือนอย่างกลุ่ม Euro Zone ที่ Debt to GDP สูงกว่า 70-80% บางแห่งอย่างกรีซนั้นสูงถึง 120%

เศรษฐกิจของ Emerging Market ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ของยุโรปไหม?
สำหรับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวเยอะๆ ย่อมเจอปัญหานี้เป็นธรรมดา นั้นเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา EM โดยรวมถึงดูสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นได้ค่อนข้างน้อย
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่ปรับกลยุทธ์และหันมาจริงจังกับการเติบโตภายในประเทศมากขึ้น ก็จะโดนผลกระทบจะโลกน้อยลง หรือแทบไม่มีผล ดูได้จากเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นของไทยในปีนี้ ซึ่งยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน โดยหากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย (SET Index) สร้างผลตอบแทนได้เป็นอับดับ 3 ของโลก ที่ 30.68% เป็นรองแค่ ตุรกี และฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศนั้น เป็นประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใมห่ (Emerging Market) เหมือนกัน

อนาคตข้างหน้า จะเป็นอย่างไร?
ระยะสั้นๆแล้ว เงินเฟ้อของกลุ่ม EM จะทยอยลดลง ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีกระสุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ลดดอกเบี้ย) ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากสหรัฐและยุโรปมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงทำให้ดูยังพอรับมือได้ แต่ในระยะยาว เมื่อกระตุ้นได้ดี เศรษฐกิจโตขึ้น เงินเฟ้อจะกลับมาเป็นปัญหากดดันอีกครั้ง จากการที่เงินทุนไหลเข้า และนักลงทุนต่างชาติพยายามนำเงินมาลงทุน แทนที่จะกอดเงินอยู่ในบ้านตัวเองที่อเมริกาหรือยุโรป ดังนั้น ประเทศที่ดำเนินยุทธศาสตร์ทางเศรษบกิจที่ถูกต้อง เน้นส่งเสริมการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จะดูดีกว่า และปลอดภัยกว่า ในแง่ของการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเมื่อมองในมุมนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ ก็อยู่ใน “เอเชีย” แทบทั้งหมด

ออกไปลงทุนในต่างประเทศ ก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีหากมีข้อมูล และเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้นะครับ
โพสต์โพสต์