สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ...ที่ไหนดี? ตอนจบ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
doctorwe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ...ที่ไหนดี? ตอนจบ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

maxresdefault.jpg
คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ...ที่ไหนดี? ตอนจบ
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety

เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันไปแล้วเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน โดย เริ่มต้นจากวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา อเมริกาประกาศเพิ่มภาษีเป็น 25% ของสินค้านำจากจีนที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 50,000 ล้านดอลลาร์ ต่อมาในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้เริ่มเก็บภาษี 10% กับสินค้าที่นำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีกสูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ และในวันที่ 1 มกราคม 2562 ก็จะถูกปรับการเก็บภาษีในอัตราจาก 10% ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 25% ทันที นอกจากนั้นเรายังได้พูดถึงหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นวอลมาร์ท แอปเปิ้ล ฟอร์ดมอเตอร์ และโบอิ้ง เป็นต้น วันนี้...เราจะมาคุยกันต่อว่า ระหว่างสงครามการค้าในขณะนี้ ควรจะเอาเงินลงทุนไปหลบที่ไหนดี? ดังนี้ครับ

- เฟสบุ๊ค ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทุกวันนี้เฟสบุ๊คจะขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งของโซเชียลมีเดียของโลกใบนี้ คาดการณ์กันว่า คนทั้งโลกจะมีผู้ใช้งานเฟสบุ๊คอยู่ประมาณ 2,200 ล้านคน ผู้ใช้งานวอทส์แอป (WhatsApp – หนึ่งในแอปที่เฟสบุ๊คไปซื้อมานานแล้ว) อีกประมาณ 1,500 ล้านคน คนใช้งานเฟสบุ๊คเมสเซนเจอร์อีก 1,300 ล้านคน และอินสทราแกรมอีก 1,000 ล้านคน สงครามการค้าที่เกิดขึ้นบางคนอาจคิดว่า คงจะทำให้การค้าขายทั่วโลกซบเซาลง และทำให้การโฆษณาลดน้อยลง แต่อีกมุมมองหนึ่งคาดว่า จะเป็นโอกาสของเฟสบุ๊ค และแอปอื่นๆในเครือเฟสบุ๊ค เพราะมีแนวโน้มว่าผู้ขายสินค้าจะตัดค่าใช้จ่ายโฆษณาในสื่ออื่นที่มิใช่เฟสบุ๊ค สาเหตุเป็นเพราะว่า จำนวนผู้ใช้เฟสบุ๊คยังคงไม่ลดลงอยู่ดี...ไม่ว่าสงครามการค้าจะร้อนระอุถึงเพียงไหน เมื่อจำนวนผู้ใช้ไม่ลดลง บรรดาผู้ขายสินค้าก็คงต้องใช้เฟสบุ๊คในการโฆษณาหาลูกค้าอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

- อีทีเอฟ (ETF – Exchange Traded Fund) ของหุ้น Defensive Stocks หรือกองทุนเปิดที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index Fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนอื่นๆ กองทุน ETF สามารถอ้างอิงสินค้าได้หลายประเภท เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Equity ETF) ดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) และ ดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF) ในช่วงที่เวลานี้ดัชนี S&P 500 มีอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นเฉลี่ยหารด้วยกำไรต่อหุ้นเฉลี่ย (ค่า P/E) อยู่ที่ 17.3 เท่า ซึ่งนับได้ว่าสูงมาก ดังนั้นการซื้ออีทีเอฟที่ประกอบไปด้วยหุ้นประเภท Defensive Stocks หรือหุ้นประเภทที่สามารถป้องกันผลกระทบจากวิกฤตต่างๆได้ค่อนข้างดี ราคาลดลงได้ค่อนข้างยากเพราะเป็นสิ่งจำเป็น เช่น หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค เป็นต้น อีทีเอฟที่น่าสนใจได้แก่อีทีเอฟที่มีชื่อว่า Utilities Select Sector SPDR (XLU) หรือ หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค...มอร์แกน สแตนลีย์ ได้ปรับระดับบรรดาหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภค (Uitlity) เป็น “เพิ่มน้ำหนัก” ซึ่งรวมถึงหุ้น NextEra Energy (NEE), Xcel Energy (XEL) และ American Electric Power (AEP)

- หุ้นกลุ่ม Consumer Staples ได้แก่ หุ้นของบรรดาบริษัทที่จำหน่ายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ผู้บริโภคจะซื้อหรือใช้บริการสินค้าเหล่านี้โดยแทบไม่ต้องใช้เวลาคิดตรึกตรองมาก และคงต้องใช้สินค้าเหล่านี้ต่อไปถ้าหากสงครามการค้าไม่บานปลายจนเกินไป สินค้าที่จำเป็นเหล่านี้ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าให้ความบันเทิง หรือสินค้าที่ใช้ในยามว่าง ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกันสามารถปกป้องตัวเองได้จากสงครามการค้า ทั้งนี้มีกองทุนมากมายที่ลงทุนในหุ้นเหล่านี้ เช่น กองทุนอีทีเอฟ Vanguard Consumer Staples (VDC) ซึ่งกองทุนนี้ได้เข้าไปถือหุ้น Procter & Gamble (PG), Coca-Cola (KO), PepsiCo (PEP) และ Philip Morris International (PM) ซึ่งหุ้นทั้ง 4 ตัวนี้ก็มีน้ำหนักอยู่ในกองทุนนี้ถึง 35% ทีเดียว

- หุ้นที่อยู่ถูกที่ถูกเวลา จากสงครามการค้า...จีนคงจะต้องพยายามแก้เผ็ดอเมริกาในหลายๆรูปเป็นแน่แท้ และก็คงหนีไม่พ้น...ธุรกิจน้ำมันของอเมริกา ดังนั้นจีนคงจะพยายามซื้อน้ำมัน Brent มากกว่าซื้อน้ำมัน Texas อย่างแน่นอน ซึ่งการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน Brent ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ควรกระทำในช่วงเวลานี้ เช่น การลงทุนในหุ้น Cowen & Company (Nasdaq: COWN) เป็นต้น

- กลุ่มหุ้นที่จีนไม่สามารถปฎิเสธการสั่งซื้อได้ หุ้นของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จีน และจีนไม่สามารถลดปริมาณการซื้อลงได้ เช่น บริษัทที่ผลิตชิปประมวลผลในคอมพิวเตอร์อย่าง Nvidia (NVDA) บริษัทที่ผลิตการ์ดจอชื่อดังของโลก และเป็นหนึ่งในผู้นำสินค้าเทคโนโลยีของโลก พบว่ามียอดขายที่ส่งให้จีนประมาณ 19% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท อีกบริษัทหนึ่งได้แก่ Intel (INTC) ผู้ผลิตชิปประมวลผลระดับโลก ก็มียอดสั่งซื้อจากจีนสูงถึง 24% ซึ่งจีนก็คงไม่สามารถปฎิเสธการสั่งซื้อได้เช่นกัน

- กลุ่มหุ้น FANG อันประกอบไปด้วย Facebook, Amazon, Netflix และ Google (ชื่อบริษัทและชื่อหุ้นคือ Alphabet) ซึ่งมีราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นในหลายเดือนที่ผ่านมา Daniel Ives ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของ GBH Insights ให้ความเห็นว่า บรรดาหุ้นเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าครั้งนี้ไม่มากนัก จึงถือได้ว่าจะเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนที่จะหลบมรสุมในครั้งนี้ นอกจากนั้น Ives ยังให้มุมมองแง่บวกกับหุ้นแอปเปิ้ลอีกด้วย ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของนักวิเคราะห์หลายสำนักที่มองว่า แอปเปิ้ลจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามการค้าในครั้งนี้ เนื่องจาก Foxconn ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าของแอปเปิ้ลรายใหญ่ของแอปเปิ้ล ถือได้ว่ามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัฐบาลจีน เขาจึงไม่คิดว่ารัฐบาลจีนจะแก้เผ็ดในสงครามการค้าโดยการเพิ่มภาษีหรือออกมาตรการใดๆเพื่อทำให้ยอดขายของแอปเปิ้ลลดลง และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง...บรรดากลุ่มหุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้ก็จะน่าสนใจเข้าไปลงทุน ในยามที่ตลาดกำลังเริ่มผันผวนอย่างหนักจากสงครามการค้าในครั้งนี้

ในสงครามการค้าครั้งนี้ ผมมักจะคิดถึงคำพูดของนักลงทุนคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Charlie Munger ซึ่งเป็นนักลงทุนคู่หูของของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งเขากล่าวไว้ว่า
“I'm a great admirer of the Trump change of mind about China and making an ally out of China instead of screaming about their trade.” แปลตามความได้ว่า
“ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชมทรัมป์ แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับจีนนั้น ผมว่าเขาควรจะดึงเอาบรรดาพันธมิตรต่างๆออกมาจากจีน มากกว่าจะกรีดร้องใส่เรื่องการค้าของจีน”
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doctorwe.com
โพสต์โพสต์