MoneyTalk@SET22Sep18หุ้นเด่นโค้งหลังและย้อนวิกฤติพิชิตโอกาส

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET22Sep18หุ้นเด่นโค้งหลังและย้อนวิกฤติพิชิตโอกาส

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk@SET22Sep18
ช่วงที่ 1 “หุ้นเด่นไตรมาส 4 ปี 61”
1. นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ / บมจ. บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH)
2. คุณ บัณฑิต สะเพียรชัย / บมจ. บีซีพีจี (BCPG)
3. คุณ นที พานิชชีวะ / บมจ . ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
4. คุณ ชาญวิทย์ อนัคกุล / บมจ. พริมา มารีน (PRM)
อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ

การดำเนินธุรกิจ
BCH
- ทำธุรกิจโรงพยาบาล รายได้จากลูกค้าทั่วไป 65% ที่เหลือระดับพื้นฐานแห่งรัฐ
ซึ่งส่วนใหญ่คือ ลูกค้าประกันสังคม
แต่ไม่มีกลุ่มที่เป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)
- พื้นฐานคนไทยมีสวัสดิการสุขภาพครบ 100%
ส่วนหนึ่งข้าราชการและผู้อาศัยสิทธิ์ 5-6 ล้านคน
, ประกันสังคม 13 ล้านคน ที่เหลืออยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

- สัดส่วนรายได้จากเกษมราษฎร์ 80% แต่ละแห่งอายุโรงพยาบาลไม่เท่ากัน
, WMC ดำเนินการราว 4 ปีกว่า ปัจจุบันมีกำไรแล้ว
รายได้คิดเป็นสัดส่วน 11% การุณเวชย์ราว 9%
- WMC เป็นโรงพยาบาลที่ดำเนินการจบในตัวเองได้(tertiary care)
จะเป็น growth driver
- ฐานประกันสังคม มองว่าอีก 3 ปีที่กำลังสร้างโรงพยาบาลเพิ่มอีก 5 แห่ง
จะทำให้ฐานลูกค้าจาก 8 แสนเพิ่มเป็น 1 ล้านคน,

- โรงพยาบาลแห่งที่เก่าแก่ เช่น เกษมราษฎร์ บางแค ต้องปรับปรุงเทคโนโลยีเครื่องมือ
- สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ 3P Physical กายภาพ ตึกอาคาร, People คน,
Process เอาเทคโนโลยีเข้ามาให้ speed ในการรักษา
มี turnover เร็วขึ้น เริ่มส่งผลบวกในต้นปีนี้

- ลูกค้าต่างประเทศ อันดับหนึ่งของไทยคือ เมียนมาร์ ไม่ใช่ตะวันออกกลาง
จะบินเข้ามาสุวรรณภูมิ,ดอนเมือง / ข้ามด่านแม่สาย,หนองแค
ซึ่งที่บางใหญ่เป็นอินเตอร์เนชันแนล บริษัทเตรียมสำหรับรับลูกค้า CLMV

- บุคลากรการแพทย์ของไทยขาดแคลน
WSO มีตัววัดประเทศไทย มีหมอ 4 คน ต่อประชากร 1 หมื่น
ในขณะที่สิงคโปร์เกิน 20 คน ถือว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
หมอ 1 คนใช้เวลา 6 ปี ถ้าเป็นเอกชนจบใหม่ก็ไม่รับยังไม่ใช่ผู้เขี่ยวชาญ
ก็ต้องใช้เวลา 10 ปี ได้หมอ 1 คน พยาบาลผลิตปีละ 8 พัน
เป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ
จะมีคุณหมอที่จะเกษียณ ซึ่งไทยเปลี่ยนนโยบายให้เกษียณ 63 ปี
และมีคุณหมอจาก CLMV ที่มาเรียนที่ไทย
ก็จะดึงบริเวณที่เขาอยู่ใกล้ การย้ายระหว่างโรงพยาบาลเป็นเรื่องปกติ

- โรงพยาบาลที่เปิดใหม่ กว่าจะหาวิธีให้ได้กำไรได้ใน 4 ปี ไม่ใช่เรื่องง่าย
กว่าจะดึงลูกค้าจากต่างประเทศได้ และรักษาให้อยู่ในระบบ

- ประเด็นการขาดแคลนบุคลากร บริษัทจะสำรวจบุคลากรก่อนเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ
เช่น เกษมราษฐร์ อรัญประเทศ อีก 16 เดือนกำลังจะเปิด
สิ่งที่กังวล จะเลือกไปในจุดที่มีคนเพียงพอ
หมอประจำครบทุก field อย่างน้อย 20 ถึงจะตัดสินใจทำ
หรือที่ดินในพัทยาที่เคยซื้อมาถูกมาสมัยก่อน
เคยไปสำรวจและประเมินการ recruit หมอจะแข่งขันกันสูง จึงยังไม่เปิดโรงพยาบาล

- โรงพยาบาลที่กำลังจะเปิดที่ลาว บริษัทจะใช้หมอจากไทย บริษัทได้ส่งเสริมการลงทุน 7 ปี
ประหยัดภาษี Corporate tax ที่ลาว อัตรา22% และได้ขยายคนเป็น 45% ซึ่งมีหมอมาสมัครแล้ว


ฺBCPG
- เป็นบริษัทด้านไฟฟ้าของบางจาก เน้นพลังงานสีเขียว รวม 600 MW
มี โซลาร์, ลม, ความร้อนใต้พิภพ (โซลาร์/ลมในไทย, โซลาร์ญี่ปุ่น,
พลังงานลมที่ฟิลิปปินส์, พลังงานความร้อนใต้พิภพที่อินโดนิเซีย )

- ขยายความเรื่องพลังงานความร้อนใต้พิภพ
วิธีการผลิตไฟฟ้าปกติ คือ เอาไอน้ำปั่นใบพัด และไปตัดสนามแม่เหล็กออกมาเป็นไฟฟ้า
วัตถุดิบโรงไฟฟ้าคือไอน้ำ ซึ่งเกิดจากการต้มน้ำ โดยใช้ถ่านหินหรือแก๊สธรรมชาติมาเผา
ซึ่งใต้พื้นดินมีไอน้ำอยู่ร้อน ต้องไปหาแหล่งที่มีขนาดเพียงพอเหมือนขุดเจาะน้ำมัน
และเอาไอน้ำขึ้นมาปั่นเป็นไฟฟ้า
- เมื่อเจาะไปเจอแหล่งจะมีความดันพุ่งขึ้นมา ปรับความดันให้เหมาะสมกับใบพัด
โดยเข้า scrubber ทำความสะอาดก่อน และส่งไป generator เกิดไฟฟ้าขึ้นมา
ส่วนไอน้ำจะกลายตัวเป็นน้ำเหมือนเดิม ก็ทำความสะอาดและอัดกลับไปใต้ดิน
เป็นพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ยังมีฝนตกลงไปเป็นน้ำใต้ดินอีก
- แหล่งความร้อนที่ใช้ผลิตไฟฟ้าไม่เหมือนแหล่งน้ำพุร้อนแบบเชียงใหม่
ที่มีปริมาณน้อย ความร้อนไม่มาก จะต้องมีความร้อนสูง 200-300 องศาเซลเซียส
เพื่อให้มีความดันมากพอ จะอยู่กระจายตามประเทศที่เป็น ring of fire
ถ้าโซนเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย
โซนอเมริกา แคลิฟอเนีย, ยุโรป – ไอซ์แลนด์

- การลงทุนที่อินโดนิเซีย เป็นสัมปทานระยะเวลา 50 ปี
ตอนนี้เหลืออีก 30 กว่าปี ถือหุ้น 30% มี partner เป็นอินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น และบริษัทในไทย
- พลังงานโซลาร์ ทำงาน 4-5 ชม., ลมทำงาน 8-10 ชม.,
พลังงานความร้อนใต้พิภพทำงาน 24 ชม. 1 MW โซลาร์ผลิตได้น้อยกว่าลมราว ครึ่งเท่า
ตอนนี้เราเป็นผู้ผลิตพลังงานสีเขียวใหญ่สุดของเมืองไทย

- ผลกระทบจากไต้ฝุ่นมังคุดไม่ได้กระทบกับการผลิตพลังงานลมที่ฟิลิปปินส์
เพราะบริษัทเราอยู่ตอนใต้ จึงไม่ได้รับความเสียหาย
ได้ผลด้านบวก Performance ดีมาก ซึ่งตามระบบ ถ้าลมมาเกิน 20 m/s ระบบจะตัด
ซึ่งไต้ฝุ่นมังคุดที่ผ่านมาอยู่ระดับ 18-19 m/s

- การปรับลดการสนับสนุนพลังงานทางเลือกจากรัฐบาล
ทางบริษัทได้เห็นประเด็นก่อนแล้ว ทุกประเทศที่ทำพลังงานทางเลือก
รัฐบาลต้องให้เงินสนับสนุนเพราะเทคโนโลยียังแพงอยู่ และผลตอบแทนต่ำ
เมื่อเทคโนโลยีดีขึ้น ค่าไฟฟ้าลดลง ถึงจุดที่รัฐบาลเห็นว่าต้นทุนแข่งขันได้กับ
โรงไฟฟ้า conventional อย่างในต่างประเทศ โซลาร์แข่งกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือแก๊สได้
จึงเป็นหน่วยมาช่วยผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ
สิ้นปีรัฐบาลจะประกาศว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเท่าไร
โดยแนวเป็น hybrid คือโซลาร์ ผสม hydro หรือ biomass
เพื่อให้ supply แน่นอนขึ้น ราคาเฉลี่ย 2.5-3 บาท ซึ่งจะไม่ดีเหมือนเดิม

- ยังมีโอกาสส่วนอื่นที่จะดีกว่า คือ Retail เดิมผลิตขายให้การไฟฟ้า
Whole sale ได้ 2.5 บาท ดังนั้นถ้าขายตรงให้ บ้านเรือน 3 บาท
แทนที่ซื้อจากการไฟฟ้า 4 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ กฟผ,,กฟภ ต้องปรับตัว
อย่าง 3-4 ปีที่ผ่านมาพบว่ายอดขายการไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้น หรือลดลง
เพราะประชาชน หรือเอกชนหันมาผลิตไฟฟ้าใช้งานเอง
ต่อไป รัฐบาลจะประกาศให้ Prosumer (Consumer) ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้
และถ้าเหลือก็ขายคืนให้กับภาครัฐได้

- การขายคืนไฟฟ้าให้กับภาพรัฐ ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบการรับซื้อ
แต่บริษัทสามารถขายคืนกันเองได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่
และทำให้ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ และกำลังปรับเปลี่ยนภาพของอุตสาหกรรมไฟฟ้าไทย

UNIQ
- สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน จะเริ่มใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า
และจะมีแผนขยายเพิ่ม จากเดิมที่ Link ต่างจังหวัดจะรวม
การ Link Mass transit ในกรุงเทพทั้งหมดที่มี 12 สาย
รวมถึงสนามบินทั้ง 3 สนามบินกับ EEC –
บริษัทรับงานรัฐบาลด้าน Infrastructure อย่างเดียว
สะพาน,ถนน,ระบบราง ไม่มีรับงานเอกชน
อดีตบริษัทเคยรับงานเอกชน แต่เจอวิกฤติปี 40
แล้วไม่ได้รับเงินจากทางเอกชน จึงปรับมารับเฉพาะงานรัฐบาล

- สถานการณ์งานของบริษัท เรื่อง infrastructure
มีการวางแผนตั้งแต่รัฐบาลก่อน สร้างเป็น network น้ำ,บก,อากาศ
งบประมาณ 2.2 ล้านบาท โดยรัฐบาลปัจจุบันมีการทบทวนใหม่
และปรับเพิ่มเป็น 3.3 ล้านบาท เป็นงบประมาณผูกพัน
ผลจากการทบทวนทำให้เกิดการล่าช้า เพิ่งมาเริ่มทำงานในช่วงหลังนี้

- งาน ระบบราง Double track (ระบบรางเดิม ไป-กลับใช้รางเดียว
จะปรับเป็นรางอีกคู่ทำให้วิ่งสวนได้โดยไม่ต้องรอกัน ระยะทาง 3,000 km
ทั่วประเทศไทย ซึ่งบริษัทได้งานส่วนหนึ่งที่ประมูลไปแล้ว
- ระบบ Mass transit 12 สายทยอยประมูล
บริษัทได้งานของ สายสีแดง,น้ำเงิน,เขียว,ส้ม

- อัตราทำกำไรของบริษัท เนื่องจากทำงานที่ยาก
จึงต้องมีการควบคุมที่ดี ทั้งต้นทุน และเวลาทำงาน
โดยดูเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น สถานีกลางบางซื่อ
มีเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซื้อที่ดินลพบุรี และผลิต Precast เป็นชิ้น
ใช้รถไฟขนลำเลียงเข้ามาต่อที่บางซื่อ ทำให้ต้นทุนดี

- งานรถไฟทางคู่ ที่เพิ่มราง 2 ชุด เป็นงานไม่ยาก
แต่ต้องมีเทคโนโลยีตัวรางที่มีการยึดติด
และอุปกรณ์ตัวรางมีแค่บางบริษัทที่ทำได้ ซึ่งบริษัทเป็นหนึ่งในนั้น

- เวลาประมูลโครงการทั้งสายราว 1 แสนล้านบาท
จะมีแบ่งสัญญาซอยย่อย 6-10 สัญญา ทั่วไป 1-2 หมื่นล้านบาท
เช่น สายสีแดง ได้ 3 หมื่นล้าน 3 ปีเสร็จ ปีที่แล้วได้รับรู้ 1.2 หมื่นล้านบาท

- ความพร้อมในการรับงาน ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่บริษัทมี
น่าจะรับงานได้ปีละ 2 หมื่นล้านบาท
โดยปัจจัยแรงงานมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
เช่น precast ตรงนี้จะสามารถนำมาใช้กับการทำงานโครงการอื่นได้ด้วย

- บริษัททำหน้าที่เป็น Main contractor โดยจะมี Sub contractor ที่มาช่วยทำบางงาน
- การก่อสร้าง 3 สนามบิน บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการลงทุน
ซึ่งเป็นรูปแบบ PPP จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ มองว่าควรต้องมี Partner ที่แข็งแรง

PRM
- บริษัทมีธุรกิจ 4 กลุ่ม
- 1. Trading ขนส่งน้ำมันจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง มีเรือขนาดตั้งแต่หลักพันจนถึงแสนตัน
- อีกประเภทคือ อัลฟ่าแม็ก ขนาด 3 แสนตัน เดินในภูมิภาคเอเชีย ไปถึงจีน ญี่ปุ่น ออสเตเรีย
- เรือขนส่ง รับน้ำมันสำเร็จรูปจาก TOP, IRPC, SPRC, PTTGC ส่งภาคใต้ สิงคโปร์,มาเล,กัมพูชา
- ขนส่งในประเทศมีสัญญาระยะยาว PTT,Shell,Exxon โดยมีค่าขนส่งเปลี่ยนตาม
ค่าเชื้อเพลิงพลังงาน กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 12%
- ระยะเวลาสัญญามี 5,10, มากกว่า 10 ปี ลูกค้ารองๆจะเป็นสัญญาระยะสั้น 3-6 เดือน
หรือเช่าแบบเหมาเที่ยว ถ้าไม่จ่ายเงินจะไม่สูบน้ำมันขึ้น
- เรือขนาดใหญ่ค่าระวางเรือเป็นไปตาม demand, supply จากเรือที่ available และความต้องการสินค้า
- ธุรกิจเรือขนาดเล็กยังไปได้ดี แต่เรือขนาดใหญ่ยังไม่ค่อยแน่นอน

- 2. ถังกักเก็บน้ำมันลอยน้ำ(Floating storage) เป็น VLCC (Very Large Crude Carrier)
เรือขนาด 3 แสนตัน มี 4 ลำ อยู่ในน่านน้ำมาเลเซีย และสิงคโปร์
ขนาดยาว 3 สนามฟุตบอลครึ่ง กว้าง 60 เมตร สูง 50 เมตร อีก 1 ลำอยู่ที่เกาะสีชัง
เป็นการร่วมมือกับไทยออยล์ ชื่อ บงกชมารีนเซอร์วิซ
- เรือขนาดใหญ่ บริการให้ บางจาก ไม่ได้รับผลกระทบ เป็นไปตามสัญญา
- 4 ลำที่เหลือช่วงต้นปีสถานการณ์ไม่ดี ตอนนี้ปรับเรือที่มีอายุมากออก
ลดต้นทุน เอา volume มาเพิ่ม ทำให้ utilization ดี และเริ่มนิ่งขึ้น
- 3. ธุรกิจให้บริการ exploration เป็นเรือที่พักอาศัย ขนาด 300 เตียง
โดยมี contract จาก ปตท. และ Hosting storage of loading
ทำหน้าที่สูบน้ำมันจากใต้ภิพพขึ้นมาแยกน้ำและน้ำมันบนเรือ และให้ผู้ค้ามารับน้ำมันไป
น้ำที่แยกออกมาจากที่สูบน้ำมัน จะต้องขออนุญาตกรมอธิบดีสิ่งแวดล้อม
และใช้ปั๊มกลับลงไปที่หลุมว่างต่างๆ

- 4. Ship management บริหารคนเรือ ไปจนถึงกัปตันเรือ
ต้องได้รับการอบรมมี license ในแต่ละตำแหน่ง
- การขยายกองเรือเพิ่ม 1 เท่าตัว เข้าไป M&A กับ big sea
บริษัทเรือขนส่งลำดับ 2 ในประเทศ ประโยชน์ที่ได้
คือ ได้กำลังพลเพิ่ม 13 ลำ ลำละ 20 คน ถ้าต้อง training ใหม่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี
, ได้รับรู้รายได้ทันทีและได้กำลังการขนส่งเพิ่ม 4 หมื่นตัน
ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์การลงทุนทางเรามองว่าคุ้มค่า
- อายุเฉลี่ยของเรือปัจจุบัน 19-20 ปี พอซื้อ big sea เข้ามาอยู่ที่ 17 ปี
และอีก 2 ปีข้างหน้าขยายกองเรืออายุเฉี่ยจะอยู่ที่ 9 ปี
เพราะมีการต่อเรือใหม่มาทดแทน ปกติเรือต่อญี่ปุ่นใช้งาน 25 ปี เรือต่อจีนใช้ 20 ปี
- การปลดระวางเรือ จะดูว่าราคาเหล็กเท่าไร คุ้มทุนไหม กำไรขาดทุนไหม
- การต่อเรือ คล้ายการต่อเครื่องบิน บริษัทไปสำรวจ ควบคุมการต่อเอง
เรือต้องถูกห่อหุ้มและทนสภาวะคลื่นลมได้
- เรือเล็กวิ่ง อ่าวไทย พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย เรือใหญ่ วิ่งไปถึง จีน,ญี่ปุ่น,ออสเตเรีย
- เรือเล็ก ค่าเฉลี่ยจมในน้ำไม่เกิน 5 เมตร, เรือใหญ่ ค่าเฉลี่ยจมในน้ำราว18 เมตร

ผลประกอบการและแนวโน้มธุรกิจ
BCH
- ช่วงที่ผ่านมากำไรโตมาก อยู่ในช่วงขยายธุรกิจ
จะไม่มีปัญหาเรือง รายได้เติบโต 2 digit 2-3 ปีก่อน Upgrade โรงพยาบาล
ครึ่งปี 61 รายได้โต 13-14% มากกว่าครึ่งปี 60 ที่โต 10-11%
แต่ถ้าหยุดขยายจะเหนื่อย เพราะในพื้นที่เดิมไม่โตเท่าต้นทุน

- ปัจจุบันกำลังขยายอีก 5 แห่ง อรัญประเทศใช้เวลา ก่อสร้าง 16 เดือน
,ปราจีนบุรี อยู่หน้านิคมฯ 304 , referral center ที่เพชรเกษม,
เวียงจันทร์ เดือนหน้าจะเปิด รามคำแหง

- ค่าเสื่อมราคา โรงพยาบาลบางแห่งที่ไม่ได้ลงทุนมาก
เพราะที่ดินราคาไม่เท่ากัน เช่น ที่ดินเวียงจันทร์ 3 hetra
ซื้อราคา 350 USD ต่อตารางเมตร, ที่อรัญประเทศยิ่งถูกกว่าอีก

- ช่วงเวลาในการเปิดโรงพยาบาลต้องเหมาะสม :
รามคำแหงเป็นการย้ายความฝั่ง, ปราจีน รับคนไข้ทั่วไปและผู้ประกันตน
มี 4 แสนคน ถ้าเปิดในวันเวลาที่ถูกต้อง ปีแรกก็ไม่ขาดทุนแล้ว ,
โรงเกลือ เป็นตลาดเงินสด ฝั่งปอยเปต มีประชากร ราว 1 ล้านคน
คนฐานกลางที่มีกำลังซื้อต้องการสะดวก

- ราคาเฉลี่ยในกลุ่มเกษมราษฏร์ OPD 2 พันกว่าบาท ไม่ได้สูงมาก
จำนวนคนไข้เติบโตตลอด ถ้าโรงพยาบาลที่ตั้งราคาสูงปรับราคาขึ้นตลอด คนไข้จะไม่โต

- อัตราการครองเตียง เช่น บางใหญ่ 100% เป็น High season หน้าฝน ต้องเข้าคิว
เพื่อรอเคลียร์ห้อง ที่ WMC รับได้ 150 เตียง Capacity 124 เตียง
โดยต้องขยายเพิ่มอีก 100 กว่าเตียง
- ธุรกิจศรัทธาต้องใช้เวลา เหมือนเปิดคลีนิควันแรกคนยังไม่รู้จัก
ก็ต้องสะสมความ ส่วนใหญ่บริษัทจะสร้างใหม่เอง โดยมีการซื้อกิจการเข้ามา 4 แห่ง

- กลยุทธ์บริษัทพยายามผลักดัน WMC และ เกษมราษฎร์อินเตอร์
โดยปรับปรุงตึก เพิ่มคน เพิ่ม เทคโนโลยี จะทำให้สัดส่วน cash เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 75-80%

- Successor planning ให้ลูกเรียนด้านที่เกี่ยวกับบริหารธุรกิจ/โรงพยาบาล ทั้งหมด
และแต่ละโรงพยาบาลจะมี Director 5 คน ต่อโรงพยาบาล
มี Gap ที่ห่างกัน 5-10 ปีที่จะทำให้ส่งต่อกันได้

BCPG
- โรงไฟฟ้าปี 2017 มี operation ที่ไทยและญี่ปุ่น ปี 2018
มีเพิ่ม ฟิลิปปินส์ กับ อินโดนีเซีย เป็น organic growth ที่มาตามแผน pipeline ของเรา
พลังงานที่ผลิตครึ่งปีแรกเปรียบเทียบปีก่อน เติบโต 5 เท่า
- Inorganic การเข้าซื้อกิจการพลังงานลมในภาคใต้เพิ่มราว 10 MW
- Retail การติดตั้ง rooftop สามารถ secure contract ที่ม.เชียงใหม่ 12 MW,
ที่ แสนสิริ 0.5 MW ไม่ใหญ่ แต่เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ประชาชนซื้อขายไฟฟ้าได้แบบ peer to peer
- รายได้/EBITDA โตเกือบ 2 เท่า โดยหักค่าใช้จ่ายลงทุน,
ค่าเสื่อมต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้กำไร drop ลงมานิดหน่อย

- Outlook ครึ่งปีหลัง นอกจากข้างต้นจะมี infra fund
เอา asset บางตัวที่ญี่ปุ่นขายเข้ากองทุน ได้เงินมาปลดหนี้
และได้กำไรจาก equity เป็นรายการเสริม bottom line บริษัท

- ติดตั้ง rooftop สิ่งที่เราต่างกับเจ้าอื่น เรามี ธุรกิจ battery
ถ้าเราเอาไปติดตั้งในชุมชน เช่น มีลูกค้า 4 คน ทุกเสี้ยงวินาทีนี้หากมี ไฟฟ้าเหลือ
จะขายเอาไปเก็บใน battery ของบริษัท ซึ่งหากไฟฟ้าขาดจะซื้อกลับจาก battery ได้
และ ธุรกิจPlatform ลูกบ้านขายไฟฟ้า ทุก transaction ที่ซื้อขายขอเก็บเงิน
ถ้ามองศักยภาพหลังคาทั้งประเทศมี 20 GW มี Opportunity ปีละ 500 MW

- เรากำลัง roll out program สร้างตลาดใหม่ อย่างที่เชียงใหม่เห็นได้ชัด
ที่ประมูลได้ 12 MW มีคู่แข่งหลายเจ้าที่ประมูลและต้องลดค่าไฟฟ้า
แต่เราแทบไม่ต้องลด เพราะมี value added ทำให้ได้ประโยชน์มากกว่า
ทั้งภาครัฐบาล และ regulator ก็กำลังเขียนบทกำกับอยู่

UNIQ
- 1-2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทบทวนโครงการทำให้เกิดความล่าช้า
จึงกระทบรายรับของบริษัทก่อสร้าง และ งานรัฐบาลงวดสุดท้ายจะใช้เวลานาน
เพราะมีระบบตรวจสอบแน่นหนา จึงเริ่มจ่ายเงินให้ บางงานใช้เวลาเป็นปีกว่าจะได้รับ
คิดว่า งานที่ค้างปลายปีนี้จะเริ่มทยอยออกมาให้ประมูลมากขึ้น
และเป็นรายรับปีถัดไป รายได้ปีนี้จึงน่าจะทรงๆ
- กลุ่มที่จะประมูลจากรัฐได้จะมี 4 รายหลัก
ส่วนต่างชาติจะเข้ามาได้เป็น JV

- Backlog 3.3 หมื่นล้านบาท ปกติจะมีทยอยเพิ่มจากการได้งานใหม่
ตอนนี้อยู่ระหว่างช่วงกลางๆมีทั้งที่กำลังเริ่มทำ และกำลังจะเสร็จ

- ความล่าช้าในการรับเงิน เป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งถ้าไม่มีตัวนี้
การรับรู้รายได้งานช่วงต้นหรือท้าย ไม่ได้ทำให้กำไรต่างกัน

- เรื่องการบริหารต้นทุนไม่ได้กังวล แต่เรื่อง PPP ที่มีความซับซ้อน
และวิธีการคิดที่ไม่เหมือนเดิม ต้องมีการลงทุนเอง จัดเก็บรายได้ และแบ่งให้รัฐบาล
เคยประเมินเช่น สายสีชมพู,เหลือง ตัวเลขยาวมากกว่าจะคืนทุน

- D/E เกือบ 3 เท่า เนื่องจากช่วงรับงานมี advance payment
ได้รับเงินล่วงหน้า บันทึกเป็นหนี้สิน จึงทำให้ก้อนนี้สูง (3-4 พันล้านบาท)
ถ้าตัดก้อนนี้ออกจะเหลือ 2 เท่ากว่า ถ้าจะประมูลโครงการก็ต้องใช้เงินทุนเพิ่ม
ตอนนี้บริษัทมีมีการขอมติที่ประชุมเพื่อออกหุ้นกู้

PRM
- ปลายปีก่อน บริษัทเจอปัญหา Floating storage unit สินค้าที่จีนพวกน้ำมันเตา
เอาไปเข้าโรงกลั่น โดยรัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้ Teapot refinery นำเข้าน้ำมันเองได้
จึงทำให้ธุรกิจนี้มีปัญหา ซึ่งตอนนี้เราได้ปรับเปลี่ยนขายเรือเก่าออกไป
รับรู้ในไตรมาส 3 (ขาย 2 ลำจาก 6 ลำ) ทำให้ได้ utilization เพิ่มขึ้นเป็น 95%
และกลับมาทำกำไรได้
- เรือขนาดเล็ก มีข้อจำกัดในการเข้าร่องน้ำ
เมื่อก่อนซื้อเรือมือสองญี่ปุ่น กินน้ำลึก บรรทุกได้ราว 2 ล้านลิตร
แต่เรือรุ่นใหม่ที่มาทดแทนซื้อกินน้ำตื้นขึ้น บรรทุกได้ราว 3 ล้านลิตร
รวมแล้วบรรทุกเพิ่มได้ราว 50% โครงสร้างค่าขนส่งไทยเป็น Flat
ค่าขนส่งเท่าเดิม แต่ Volume ได้เพิ่มขึ้นเป็น
ช่วงปลายปีนี้จะรับเรือ 3 ล้านลิตรอีก 1 ลำ ปีหน้า รับเพิ่ม 4 ลำ
และ เรือเคมิคอลรับ 1 ลำ และกำลังจะรับเรือ 5 พันตันอีกลำ ทดแทนเรือเก่าที่อายุมาก
- สรุปเรือขนาดเล็กทั้งหมด เพิ่ม 5 ลำ จาก 15 ลำ เป็น 18 ลำ
ทดแทนของเก่า 2 ลำ(ไม่รวม big sea)
- เรือใหญ่ลดต้นทุน เดิมวิ่ง Spot จ้างในราคาที่น้ำมันเชื้อเพลิง
ภาระท่าเรือ เป็นของบริษัท แต่พอค่าขนส่งตกต่ำจึงเกิดความเสียหาย
โดยบริษัทเปลี่ยนจาก Spot เป็น Time charter คือ จ้างเหมาเฉพาะเรือและคนประจำเรือ
จึงไม่ต้องรับภาระค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าภาระท่า
ส่งผลให้อัตรากำไรบางมาก แต่ไม่ต้องแบกรับโอกาสขาดทุน

- แนวโน้มค่าระวางเรือ มองว่าราคาเหล็กดีขึ้น
เรือขนาดใหญ่จะถูกตัดออกไปเยอะ แต่ก็มีเรือต่อใหม่ขึ้นมาเยอะเช่นกัน จึงมองเรือขนาดเล็กมากกว่า

- การเติบโตมาจากการขยายกองเรือ, การบริหารจัดการต้นทุน ยังไม่มี inorganic growth
- เรือทุกลำที่วิ่งในทะเล ต้องใช้ Sulphur ในน้ำมันต่ำกว่า 0.5%
ปัจจุบัน 3% น้ำมันเตา 2% เป็นโอกาส ถ้ากฏข้อบังคับนี้มา floating storage จะเติบโตขึ้น
เพราะน้ำมันเตาทั่วโลก ไม่ถึง 1% ที่จะทำเตา Sulphur ต่ำได้
จึงต้องไปเก็บใน Floating storage ซึ่งเรายัง blend น้ำมันได้ด้วย

ปิดท้ายรายการ
การลงทุนมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
กำไรขาดทุนเป็นของตัวเอง การสัมมนาเป็นการให้ข้อมูล

ช่วงที่ 2 ทางพี่อมรจะเป็นผู้แชร์ ขอบคุณมากครับ

ขอขอบพระคุณ อ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ พี่หมอเค ทีมงาน Moneytalk
รวมถึงแขกรับเชิญ ผู้บริหารทุกท่านที่ร่วมสัมมนาให้ความรู้ในการลงทุน
หากข้อมูลที่บันทึกมีความคลาดเคลื่อนอย่างไร ขออภัยไว้ที่นี้ด้วยครับ
สามารถติดตาม VDO ฉบับเต็มได้ทางทีวี หรือทาง fb,youtube ย้อนหลังครับ


Money talk@SET ครั้งต่อไป เสาร์ที่ 20 ตุลาคม 61 เปิดจองเสาร์ที่ 13
ช่วงที่ 1 ยุค AI เรียนต่อ ป.โทอะไรดี ดร.นิเวศน์,
คุณณัฐ ตราฐิติพันธุ์ ที่ปรึกษาการจัดการความเสี่ยง Deloitte,
คุณอภิวัฒน์ Project manager aCommerce,
คุณเจนจิรา ศรีดี ที่ปรึกษาอิสระ Digital Marketing,
รศ.ดร.ธัชวรรณ รองคณบดีฯ NIDA

ช่วงที่ 2 กลยุทธ์ลงทุนของรุ่นเก๋า ดร.นิเวศน์,คุณวัชระ เสี่ยป๋อง, คุณเจษฏา FINOMENA, คุณเคน โสรัช
อ.เสน่ห์ และ อ.ไพบูลย์ดำเนินรายการ
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2637
ผู้ติดตาม: 269

Re: MoneyTalk@SET22Sep18หุ้นเด่นโค้งหลังและย้อนวิกฤติพิชิตโอ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

MoneyTalk@SET 22 SEP 2018
ช่วงที่2 ย้อนวิกฤตพิชิตโอกาส


1. คุณสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เจ้าของคำพูด ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย อดีตที่โด่งดัง
เป็นต้วแทนที่ประสบวิกฤตในช่วงต้มยำกุ้ง มีปัญหาทางการเงินช่วงนั้น
2. คุณมนตรี ศรไพศาล CEO บมจ หลักทรัพย์ เมย์แบงค์กิมเอ็ง (ประเทศไทย)
3. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กูรูผู้ใช้ โอกาสในวิกฤต
อ เสน่ห์ เสริม ดร นิเวศน์ว่า เขาไม่หนี และหนี้จ่ายหมด

ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

สัมมนาครั้งหน้าวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2561 เริ่มเวลา 13.30-17.30
หัวข้อแรก ยุค AI เรียนต่อโทที่ไหนดี


วิทยากร
ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คุณ ณัฐ ตราฐิติพันธุ์ ที่ปรึกษาเรื่องการจัดการความเสี่ยง หรือเกี่ยวกับมาตราฐานทางบัญชี
คุณ อภิวัฒน์ เจริญรุ่งทรัพย์ Project Manager บริษัท A Commerce รับปรึกษาเรื่อง E-commerce ให้กับบริษัท
คุณ เจนจิรา ศรีดี ที่ปรึกษาอิสระด้าน Digital Marketing ช่วยประชาสัมพันธ์ทาง Online
ดร ชัชวาลย์ กณิชพงษ์ รองคณบดี Nida Business school

หัวข้อที่สอง กลยุทธ์ลงทุนของคนรุ่นเก๋า

วิทยากร 4 แบบ 4 ประเภท ได้แก่
1.เก๋าวีไอ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
2.เก๋าเทคนิเคิล เสี่ยป๋อง วัชระ แก้วสว่าง เป็นคนน่ารักมาก Lineไปชวน เสี่ยป๋องบอกว่าอยากมาแต่ติดงานตอนเที่ยง
ดร บอกว่าไม่เป็นไร งานเป็นช่วงบ่าย เป็นคนง่าย โทรมาด่วน ก็รับงานทันที
3.เก๋ากองทุน + Fintech คุณเจษฎา สุขทิศ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารFinnomenaและนายกสมาคม Fin Tech ประเทศไทย
4.เก๋าลงทุน เพื่อให้จิตใจสูงขึ้น คุณเคน โสรัตน์ วณิชวรากิจ
จะพยายามไม่พูดเรื่องหุ้น เว้นแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์กับผู้ฟัง

ดำเนินรายการทั้งสองช่วงโดย เก๋าสุดๆ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ ผม ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา

จองวันเสาร์ที่ 13 ตค 2561 สำหรับผู้อาวุโสเกิน 60 ปีไม่ต้องจองมาได้เลย เด็กๆก็มาได้
รายการของเราก็เหมือนครอบครัว ไม่กีดกัน แต่ถ้าไม่ถึง 60 ปีให้จองเข้ามาก่อน

ไม่ได้พูดเรื่อง ย้อนวิกฤตพิชิตโอกาส มาหลายปี
ความจริงเรามีวิทยากรอีกท่านคือ คุณตู่ วรวรรณ ธาราภูมิ
พึ่งเชิญเมื่องานMoneyTalkคราวที่แล้ว แต่บังเอิญเจออุบัติเหตุ ทำให้กระดูกหลังเท้าหัก
หมอให้นั่งรถเข็น 2 เดือน เลยมาร่วมรายการคราวนี้ไม่ได้

พี่หวัด หรือ คุณ สวัสดิ์ ซึ่งมีอายุ 76 ปี บอกว่า คนดีๆมักจะตายก่อน มีแต่คนอย่างเราตายยาก
ดร ไพบูลย์ บอกว่ามีอีก 50คนในห้องสัมมนาที่อายุเท่ากับพี่หวัด

อาจารย์เสน่ห์ เริ่มเอื้อนบทกลอนหัวข้อนี้ก่อนเข้ารายการจริงดังนี้

“ยามวิกฤติ คิดให้เป็น เห็นโอกาส
ยามผิดพลาด คือบทเรียน เปลี่ยนวิถี
ยามรุ่งเรือง ไม่ประมาท พลั้งพลาดมี
ยามอยู่ดี ที่ต้องก่อ คือพอเพียง
คุณสวัสดิ์ นั้นหนอ หอรุ่งเรือง
เคยฟูเฟื่อง ธุรกิจดี มีชื่อเสียง
เจอวิกฤติ หนี้แสนล้าน พาลล้มเอียง
กลับมาเกรียง ไกรได้ ไม่ซวนเซ
คุณมนตรี นี้กระฉ่อน ศรไพศาล
บริหาร รอดอย่างไร มิให้เขว
สัญญาณร้าย เป็นอย่างไร ไม่โอเค
มีเสน่ห์ เสียงหัวเราะ เพราะแปลกดี
เต่านิเวศน์ น้ำตาเครือ เหยื่อวิกฤติ
จบชีวิต ลูกจ้าง หมดทางหนี
รู้ลงทุน สร้างโอกาส ฉลาดมี
รวยวันนี้ เพราะวิกฤติ คิดได้ไง
แก่ไพบูลย์ เกือบหมดกัน มันนี่ทอล์ค
สปอนเซอร์ ถอนออก บอกไม่ไหว
ฝ่าวิกฤติ ที่กั้นขวาง ได้อย่างไร
ก้าวผ่านไป ยี่สิบเจ็ดปี มันนี่ทอล์ค
ย้อนวิกฤติ คิดบทเรียน อาจเวียนอีก
รู้หลบหลีก หลงถลำ อาจช้ำชอก
คนเคยรวย ซวยหรือพลาด อาจยากบอก
คนจนตรอก พลิกกลับได้ ไม่ธรรมดา”


เรามาฟังย้อนวิกฤตกัน
ดร ไพบูลย์บอกว่ารายการMoneyTalkนี้อายุ 27ปีเท่ากับอายุลูกสาว
สมัยก่อนมีปัญหาช่วงต้มยำกุ้ง รายการอยู่ได้เพราะเงินเดือนข้าราชการ
(หมายถึงใช้เงินเดือน ดร ไพบูลย์มาจ่ายค่าใช้จ่ายทำรายการMoneyTalk)
ตอนออกรายการที่ช่อง 11 ได้rating ดีสุด เพราะเหลือรายการเศรษฐกิจเพียงรายการเดียวของช่อง
Sponsor ส่วนใหญ่ตอนนั้นคือบงล หรือ บล เจ๊งหมด
ผมเอาเงินเดือนราชการที่รับมาจ่าย เหลือแค่1/3 ของเงินเดือนมาใช้จ่ายในครอบครัว

ผู้มีพระคุณมี3รายของรายการ คือ

รายแรก คุณวสันต์ เบนซ์ทองหล่อ
ให้ด้วยความเต็มใจ แต่ไม่ได้ให้เงิน ให้กินไก่ย่างที่ร้านอยู่ทองหล่อ

รายที่สองให้เงินมาเลย เขาบอกว่า ผมฟื้นแล้ว อยากให้รายการดีสุด คือ คุณอนันต์ อัศวโภคิน
บมจ แลนด์แอนด์เฮ้าส์
สนับสนุนรายการจนถึงปัจจุบัน

รายที่สาม คุณวิเศษ จูภิบาล มาสนับสนุนเมื่อ5-6ปี ตอนนั้นคุณวิเศษเป็นผู้บริหารของปตท
บอกดร ไพบูลย์ว่าให้มาเอาเงินไปช่วยรายการMoneyTalk หลังจากนั้น ผู้บริหารทุกรุ่นของปตท ก็มาช่วยเหลือ

วิกฤตของรายการMoneyTalkเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ทางช่องสถานีบอกว่าให้เรามาหาsponser
ผู้บริหารแค่ท่านเดียวอยากได้เงินตอนนั้น หมอเค โพสไปที่ผู้บริหารบริษัทแม่ของช่องนั้น
พร้อมกับแฟนรายการอีก 4,000กว่าคน จนเขาเปลี่ยนใจ
ช่วงนั้นเลยหลุดปัญหามาได้ ทุกวันนี้ผู้บริหารรุ่นใหม่เข้าใจกับเราดี

เริ่มเข้าสู่ช่วงสัมมนา

มีสองคำถามที่จะถามวิทยากรแต่ละท่าน

คำถามแรก คือ ถามแต่ละท่าน เจอวิกฤตมาอย่างไร เจอวิกฤตแบบไหน ทำไมจึงวิกฤตแบบนี้
มีวิธีการผ่านวิกฤตทำอย่างไร


เริ่มจาก ดร นิเวศน์ก่อน ขอคนละ 15 นาที
ดร นิเวศน์เจอวิกฤตมาเรื่อย ๆ ทำธุรกิจเองก็เจ๊งมาตลอด
เริ่มจากตั้งบริษัทสอนคอมพิวเตอร์ชื่อ Expert computer บนตลาดสดสามย่านกับ ดรไพบูลย์ และ
ดร มือcomputerคือคุณมนตรี ศรไพศาล ลงทุนคนละแสนบาท
ช่วง6 เดือนแรกปันผล 30,000 บาท หลังจากนั้นไม่ได้อะไรกลับมา
ดร นิเวศน์เล่าว่า ก่อนหน้านั้นหลังกลับจากอเมริกา ไปทำที่บริษัทเงินทุน IFCT
วิกฤตในตลาดหุ้นมีมานาน เช่น วิกฤตครั้งแรก คือ วิกฤตราชาเงินทุน
บริษัทปล่อยกู้พนักงานมาซื้อหุ้นตัวเองเลยเจ๊ง ช่วงวิกฤตตลาดหุ้นช่วงนั้นรัฐบาลเอาเงินมาตั้งกองทุนพยุงหุ้น

ส่วนเหตุการณ์วิกฤตจริง ๆ ที่เห็นกับตา ผมบังเอิญเป็นเหยื่อของวิกฤต ช่วงนั้นทำงานที่ บงล นวธนกิจ
ถือเป็นBrokerอันดับหนึ่งในช่วงนั้น เพราะซื้อขายหุ้นเยอะสุด ผมทำงานอยู่ฝั่งเงินทุน
เศรษฐกิจตอนนั้นโตเร็วมาก อสังหาริมทรัพย์โตมาก มีบริษัทอสังหามาขอกู้จากบง เพราะธนาคารปล่อยกู้ยาก
ตอนนั้นเราไม่ระวัง เงินกู้ปล่อยง่ายเกินไป ประกอบกับบริษัทสามารถเอาเงินกู้$จากต่างประเทศ ผ่าน BIBF

ก่อนนั้นก็เป็นวิกฤตธนาคารที่ตระกูลใหญ่เป็นผู้ควบคุมธนาคารเพื่อปล่อยกู้บริษัทในเครือ
ช่วงนั้นถึงมีหลักประกัน ก็เลยปล่อยกู้ไปจนเศรษฐกิจโตเร็วเกินไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ควบคุมค่าเงิน 25บาทต่อ$ ระบบไม่มีความยืดหยุ่น
แต่ถ้าเจอพายุแรงๆก็ล้มได้ ปี 2538-2539 ผมนั่งทำงานที่บริษัท รู้แล้วว่าไปไม่รอด
เพราะไทยส่งออกไม่ได้ สินค้าส่งออกราคาแพงขึ้นมีสาเหตุมาจากค่าเงินไทยแข็งมากมาจากผูกกับค่าเงิน$
ทั้งที่เศรษฐกิจในช่วงนั้นไม่ดีเลย ทำให้ขาดดุลการค้า เงิน$ก็ไหลออกไปตลอด ไทยมีการลงทุนเยอะด้วย
โดยเฉพาะโรงงานผลิตเหล็กดูดเงินเข้ามาเยอะ เช่นบริษัทของคุณสวัสดิ์ก็มี ทุกคนเปิดพร้อมกัน เหล็กล้นตลาด
ผู้นำในการปล่อยเงินกู้ ก็มองแต่ภาพดี ถ้าธนาคาร หรือ บง ไหนไม่ปล่อย ที่อื่นก็ปล่อย การแข่งขันสูงมาก
จนกระทั่ง จอร์จ โซรอสเห็นปัญหาค่าเงินแข็งค่าเกินจริงจึงมาโจมตีค่าเงินบาท
เงินหมดคลังเพราะนำเงินไปปกป้องค่าเงินบาท เลยต้องประกาศปล่อยลอยตัวค่าเงินบาท
ทำให้เกิดหนี้เสียจากการกู้ต่างประเทศ เพราะเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มเป็นสองเท่าจากค่าเงินอ่อนไปถึง 50 บาทต่อ$
มีการขายที่ดินที่ติดจำนองออกมาเยอะ

ก่อนบงล นวธนกิจเจ๊งมา2-3ปี ธนาคารบางแห่งก็เจ๊งรวมถึง บง บางแห่ง
เราคิดว่าไม่เจ๊งเพราะเป็นบริษัทลูกของธนาคาร (Too big To sell)
ตอนนั้นบริษัทยังคิดว่าเป็นผู้นำในการรวม ธนาคาร บง เล็กๆเข้ามา ปรากฏว่าเราเจ๊ง
เพราะตอนนั้น เรามองโลกในแง่ดี เช่นไทยจะเป็นเสือตัวที่5ของอาเซียน เศรษฐกิจเติบโตเร็วมากช่วงนั้น
ช่วงวิกฤต บงล นวธนกิจ กู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาจ่ายให้กับคนที่ถอนเงินเพราะตอนนั้น
คนฝากเงินไม่เชื่อถือสถาบันการเงินในระบบ จนบงล นวธนกิจไม่สามารถอยู่ได้
ผมได้รับซองขาวจากเลขาของผม เป็นหนังสือส่งมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย (เป็นครั้งแรกที่เจอซองขาว)
เป็นข้อความสั้นๆให้ออกจากงาน ไม่ได้มีความผิด และไม่ได้รับสวัสดิการหรือชดเชยที่ให้ออกจากงาน
ตอนนั้นแต่งงานแล้วและเริ่มลงทุนในหุ้นเพราะไม่มีอะไรให้ทำ เขียนเช็คไปแลกเช็คกับธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งจะโอนเงินมาให้เราจ่ายกับคนฝากเงินที่มาถอน สุดท้ายก็ก็ขายเงินทรัพย์สมบัติจนหมด
ผมกลับบ้านตัวเปล่า แต่เลขาไม่ถูกไล่ออก เฉพาะผู้บริหารให้ออกเท่านั้น
เงินเดือนไม่สูงในตอนนั้นประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อเดือน โบนัส 5-6 เดือนต่อปี
เราเตรียมตัวมาสักพักเพราะเห็นสัญญาณจากการที่มีการถอนเงินตลอดเวลา
มีบริษัทที่ล้มก่อนหน้าเพราะไม่มีธนาคารแม่คอยsupport
สุดท้ายสถาบันการเงินปิดไป 56 แห่งจาก 58 แห่ง บงลที่รอด คือ เกียรตินาคิน กับ Bangkok Investment
หลังถูกให้ออกจากงาน ผมก็ไปรับเป็นที่ปรึกษาในบางบริษัท แต่ไม่ค่อยได้เป็นที่ปรึกษา
เหตุผลที่รับดร นิเวศน์เข้าทำงาน คือเคยปล่อยกู้ให้บริษัทเหล่านี้ ก็เลยช่วยรับไปเป็นที่ปรึกษา

(คุณสวัสดิ์ เสริมว่า หลายคนที่ก่อนเกษียณก็มาขอเป็นที่ปรึกษา คือ พลเอกปรีชา โรจนเศียร หรือ พี่แหลม
ซึ่งเสียชีวิตไป 86 ปี พี่แหลมมาทำงานตั้งแต่ 6.30 ทำงานhappyมาก)

บริษัทที่รับดร นิเวศน์เป็นที่ปรึกษาก็เจอวิกฤตก็เลยให้ออก
ต่อมาได้ไปทำงานที่สถาบันการเงินแห่งนึงซึ่งช่วงนั้นเริ่มฟื้นตัวแล้วจากวิกฤต
มาดูแลความเสี่ยง ในฐานะที่รู้ว่าอะไรจะเจ๊ง ก็ควบคุมความเสี่ยงนั้นไว้
เราเข้ามาช่วยพร้อมกับทีมใหม่ที่เข้าไป (เป็นทีมของทางการ)
เราระวังเรื่องปล่อยกู้ เรากลัวความเสี่ยง เพราะถ้าผิด คนเสนอไม่ผิด คนอนุมัติติดคุกแทน
กลับจากที่ทำงานไปก็นอนไม่หลับ เพราะมีความเสี่ยงติดคุกจากเคสที่ต้องอนุมัติบางเคส
เคยปรึกษา ดร ไพบูลย์ว่าไม่ไหว ความเสี่ยงสูง สุดท้ายธนาคารนี้ก็ล้มไป
ดร นิเวศน์กลับบ้านนอนไม่หลับ สุดท้ายเลยตัดสินใจลาออกมา ถือเป็นงานสุดท้ายก่อนมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว
(แต่ดร นิเวศน์ ช่วงนั้นมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว)
คนเรียนเก่งมากจะไม่ค่อยฝัน แต่ดร ตอนปริญญาตรีกลัวว่าจะเรียนจบหรือไม่
ตอนนี้ยังฝันถึง เช่นไปเรียนไม่ทัน หรือ ฝันว่าเรียนไม่จบ ตื่นขึ้นมาพบว่าเรียนจบแล้ว ก็ดีใจ
ตอนนี้มีความสุขดี แต่ก็ยังอยากฝัน เพราะคนไม่ฝัน คือคนใกล้ตาย

วิทยากรท่านต่อมาคือ พี่หวัด หรือ คุณสวัสดิ์
ถามพี่หวัดว่าเจอวิกฤตจริงคืออะไร รอดมาได้อย่างไร

คุณสวัสดิ์ บอกว่าเป็นลูกคนที่ 7 จาก 9 คน มีพี่คนที่5และคนที่6เสียชีวิตก่อนหน้า
คุณพ่อและคุณแม่มาจากเมืองจีน คุณสวัสดิ์ทำงานหนักตั้งแต่อายุ6ขวบ
ตอนวิกฤตปี 1997 ทุกคนคิดว่าผมมีหนี้เพิ่มเป็น 2,700 ล้านเหรียญ น่าจะฆ่าตัวตาย
แต่ผมรู้ตัวว่าผมมาจากจุดที่ไม่มีอะไรเลย ผมอยู่ได้เพราะครอบครัวผม อย่าลืมที่มาที่ไปของตัวเอง
คุณสวัสดิ์เล่าว่าตอนทำงานกวาดแท่นกลึงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ
ตอนเรียนหนังสือเมื่ออายุ8ขวบ เริ่มจากที่โรงเรียนกว่างเจ้าซึ่งเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนของคนจีนสมัยนั้น
เริ่มจากชั้นเรียนชั้นมูลเล็ก มูลใหญ่ (สมัยนั้นไม่มีอนุบาล เข้าใจว่าเป็นชั้นศึกษาก่อนเข้าป1)
เรียนป 1 ตอนอายุ 10 ปี เรียนถึงอายุ14ปี จบ ป4 ไปหาโรงเรียนเองที่ บางจาก พระโขนง
จากพระพิเรนทร์ วรจักร เดินไปขึ้นรถเมล์ราคา25 สต ที่ประตูผี ประปาเก่าใกล้สะพานดำ มาเรียนหนังสือ
พอถึงม 2 ไม่ไหวกับโรงเรียนนี้ ช่วงนั้นโรงเรียนสาธรวิทยาถูกปิดเพราะสอนภาษาจีน เนื่องจากช่วงนั้นมีการต่อต้านคอมมิวนิสต์ พอโรงเรียนเปิดใหม่ ช่วงนั้นนายสหัส มหาคุณซึ่งเป็นนายกสมาคมพ่อค้าไทยจีนตอนนั้น
คุณสวัสดิ์ก็มาเรียนชั้นม 2 ข้อดีอย่างนึงของโรงเรียนนี้ที่ไม่เคยดูประวัติการเรียนมาก่อน
แต่เราไม่เคยเรียน A,B,C หลักสูตรcopyจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เลยเรียนไม่เข้าใจ
สมัยนั้นผมหนีเรียนไปดูหนัง เช่าหนังสืออ่านที่ วงเวียน 22 กค ถ้าอ่านจบเราจะไปเช่าหนังสือจีนต่อ เกี่ยวกับรำมวยจีน
ผมไม่ได้รับความกดดันจากที่บ้าน ตอนไปดูผลการสอบ พ่อและแม่ถามคำเดียวว่าสอบได้หรือไม่
สมุดพก ผมก็เซ็นต์แทนพ่อผม ครูก็ไม่รู้เรื่อง เด็กวันนี้ แค่ได้เกรด C ตัวเดียว
ทำไมต้องคิดฆ่าตัวตาย น่าสังเวส เป็นข้อคิด

ผมเคยเจอครูดี (เลยเอาประกาศนีย์บัตรมาโชว์ในรายการ) ผมเล่าชีวิตให้เด็กรุ่นหลังรู้
โรงเรียนไม่ได้รับวิทยาฐานะ จากกระทรวงศึกษาธิการ ตอนม3 เลยต้องไปสอบเพื่อรับรอบวิทยาฐานะที่ รร สันติราษฏร์บำรุง คนรอบตัวผมไม่รู้จัก ไม่สามารถลอกได้
ครูแก้คะแนนพละศึกษา เพราะผมตัวเล็ก ชม พละทีไรมีปัญหาในการเล่น บาร์คู่ บาร์เดี่ยว เกิดอุบัติเหตุในการเล่น ขาหักได้ ผมกับเพื่อนขอคะแนนเต็มชั่วโมงพละในการยกเบาะ เก็บเบาะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุนั้น ครูก็ให้
ครูสุนทร เป็นคนซื่อ น่ารักมากให้คะแนนตอนจบม 6 =50.00 % ผมต่อรองให้ 51%กว่าๆ สุดท้ายจบมาได้คะแนน 52%
ผมดูแลครูสุนทรจนตาย ตอนเจอทางสองแพร่ง ไปไม่ถูก ครูสุนทรบอกว่าไม่ต้องไปเรียนต่อ
เพราะเธอฉลาดกว่าเพื่อนเธอเยอะ สิ่งที่เธอรู้ไม่อยู่ในโรงเรียนหรอก ถึงไปเรียนก็หนีเรียน
ผมฉีกประกาศนียบัตรทิ้งไป ตอนเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการทำงานทรัสต์ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกฏเกณฑ์ว่า
กรรมการต้องมีประกาศนียบัตรเพื่อดูเกรด และ ดูว่าจบอะไรมา เพื่อนไปขอสำเนาประกาศนียบัตรให้
ที่โรงเรียน ตอนเข้าป1 ไม่แฟร์ เพราะไม่มีเรียนภาษาจีน มีสอนแต่ภาษาไทยกับอังกฤต ผมเรียนภาษาจีนมา6ปี
ผมอยากบอกว่าที่ผมเป็นหนี้มากเพราะว่าอยากบอกคนรุ่นหลังว่า
“เกิดมาเป็นคน ต้องมีความทะเยอทะยาน มีจินตนาการ นอนหลับ ฝันดี ๆ ว่าพรุ่งนี้จะมีชีวิตที่ดีกว่านี้”

ผมเลื่อนจาก ช่างกลึง ช่างฟิต เสร็จแล้วเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเหล็ก
ซึ่งดร นิเวศน์บอกว่า กู้เงินมาทำโรงเหล็กเยอะ ขยายเกินขนาดนั้นอยากอธิบายว่า
จริงๆเราลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กที่พัฒนาการมากขึ้นจากเมื่อก่อนเป็นแบบ manual
เมื่อก่อนซื้อเหล็กจากสหรัฐที่มีคุณภาพต่ำก็ขายได้ เพราะไทยอย่างเก่งก็สร้างบ้านแค่สองชั้น
ต่อมามีการปลูกอาคารที่สูงขึ้น 50ชั้น ต้องทำเตาหลอม
ไม่สามารถใช้เหล็กคุณภาพต่ำมาใช้ในโครงการได้
ตอนนั้นคุณสวัสดิ์ก็เลยก่อตั้งบริษัท MTS เพื่อผลิตเหล็กที่มีคุณภาพมากขึ้น
ตอนอดีตนายกเปรมลดค่าเงินบาทสองรอบ ผมก็ได้ผลกระทบทั้งสองครั้ง
จนกระทั่งล่าสุดเจอปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว
ผมมาทำโรงงานเหล็กขนาดใหญ่เพราะว่าผมมีเพื่อนดี(โชว์หลักฐานบนเวทีด้วย)
Johny เป็นเจ้าหนี้ส่งวิศวกรมาคุมงานผม ชื่อมาร์ค ริกเป็นชาวยิว แต่เกิดในอเมริกา อายุมากกว่าผม 3-4 ปี
ก่อนนั้นทำPhillip brother ของยิว100% ต่อมามาร์คก็ย้ายมาทำ Solomon brother
เขารวยเพราะเก่งเกินไป จากธุรกิจการซื้อน้ำมัน เมื่อก่อนไม่มี paper oil
โดยเช่าเรือทุกลำไปซื้อน้ำมันที่อิหร่าน ซึ่งช่วงนั้นสหรัฐบอยคอตอิหร่าน ซื้อจากราคา20$ ราคาน้ำมันขึ้น
เลยขายไปจนถึง100$ สุดท้ายไม่ได้เอาเงินเข้าสหรัฐ ก็เลยถูกจับเข้าคุก
เขาบริจาคเงิน 200 ล้านเหรียญให้คลินตันสมัยที่สองเลยได้พ้นโทษ แต่ไม่อยากไปอยู่สหรัฐ กลับมาตายที่เยรูซาเล็ม

ตอนนั้นเขาช่วยผมมาก เปิดorder โดยไม่ต้องมี L/C
เขาเสียชีวิตเมื่อสองปีที่แล้ว ผมไปเยี่ยมเขาก่อนหน้าที่เมืองซุก(ZUG) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ตึกเขาเป็นสแตนเลสทั้งตึก
ตอนผมตั้งโรงงานผลิตเหล็ก เขาช่วยผมเต็มที่ ผมตั้งโรงเหล็ก MTS
ตอนออก convertible bond ไปขายที่สวิส และ ลอนดอน
และนั่งเครื่องบินคองคอร์ดไปนิวยอร์ก ผมรวยขึ้นมาเรื่อยๆ
ธนาคารก็ช่วยลูกค้าตอนลดค่าเงินบาท ก็มีทุกธนาคารมาช่วยในครั้งที่หนึ่งและสอง
ส่วนครั้งที่สาม หนี้เงินกู้ต่างประเทศกลายเป็น 2,700 ล้านเหรียญ (เพิ่มเท่าตัวจากค่าเงินบาทอ่อนลง)
สุดท้ายไม่มีธนาคารไหนช่วยได้ วันนี้ผมสบายแล้ว อยากบอกว่า มนุษย์ไม่ได้ทำเพื่อเงิน

ถ้าผมทำเพื่อเงิน ผมก็เลิกธุรกิจก่อนปี 1997 เพราะ ตอนนั้น
Forb magazine ประกาศให้ผมเป็น 1 ใน 500 คนที่รวยที่สุดในโลก
เมื่อก่อนใส่ผ้าขาวม้าอยู่บ้านก็ต้องเปลี่ยนเป็นชุดสากลเพื่อลงใน Forb magazine เวลาเจ๊งก็ลงให้ผมอีกหน
Journal Wall street ปี1998 ออกข่าวเรื่องบริษัทผมจะออกBond 650 ล้านเหรียญ
กำลังปิดดีลโดยเชิญสถาบันการเงินที่ร่วมปล่อยกู้มาทานDinner คืนนั้นธนาคารไทยปิดดีลหมดแล้ว ปรากฏว่าตอนตี 2
นักกฎหมายต่างประเทศสามคนเป็นตัวแทนที่ดูแลแค่ 100กว่าล้านเหรียญพึ่งเข้ามา
พวกเขาบอกว่านายธนาคารไทยไม่อยู่ เขาไม่สามารถเซ็นต์ได้ (ถ้าไม่มีนายธนาคารเซ็นต์ ดีลก็ล้ม)
ผมบอกคนชับรถ ไปเอาอาวุธมา บอกว่าคืนนี้ไม่ได้เงิน ก็จัดการนักกฎหมาย3คนนี้
ถ้าไม่ได้เงินกู้ คุณ อนุทิน ช การช่างก็ไม่ได้เงินค่าก่อสร้าง ก็จะล้มไปด้วย
และผมก็ไม่สามารถบริหารงานบริษัทเป็นเวลาสิบปี
เจรจากันถึงตอน ตีสาม ก็ยังไม่ยอมเซ็นต์ ซึ่งช่วงนั้นที่สหรัฐเป็นตอนกลางวัน ธนาคารใกล้จะปิดแล้ว
สุดท้ายผมก็ยอมอ่อนลงในการเจรจา เป็นผลจากการที่ น้าชาติชายเคยสอนไว้
บอกนักกฏหมายว่าพรุ่งนี้ 9 โมง ให้ธนาคารไทยมาเซ็นต์มอบอำนาจให้ โดยให้ฝรั่งเซ็นต์ก่อน
Lawyerคนนึงได้ภรรยาคนไทยเลยฟังภาษาไทยออก เลยรู้ว่าโดนขู่ก็กลัวสุดท้ายยอมเซ๊นต์
พอเซ็นต์เสร็จ ตี3-ตี4 ก็ยังไม่มีเงินเข้ามาทั้งที่โทรไปแล้ว ปรากฏว่าแขกโรงแรมกำลังใช้Telex
ผมไปบอกโรงแรมให้ลูกค้ายกเลิกการใช้Telex สุดท้ายก็ได้เงินกู้ทยอยโอนมาให้คืนนั้น
บอกเด็กรุ่นหลัง ให้เรียนรู้จากการทำจริง

เด็กรุ่นใหม่ตามเทคโนโลยีให้ทันยากมาก เรียนจบหมอ เทคโนโลยี รัฐศาสตร์การปกครอง
แต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหมด จบหมอ แต่มีโรคใหม่ๆเกิดขึ้น เราต้องเรียนรู้ไปด้วยในตอนทำงาน

จุดอันตรายคือความเป็นมนุษย์หายไป เมื่อก่อน อ นิเวศน์ ดร ไพบูลย์ เราสัมผัสได้หมด
แต่ตอนนี้ใช้เทคโนโลยีส่งวิเคราะห์แทน ในอนาคตจะไม่มีความเป็นมนุษย์เหลืออยู่
จะได้เงินกู้หรือไม่ ขึ้นกับระบบตัดสินใจ

กฎหมายทำธุรกิจ 7,000 กว่าฉบับที่ต้องแก้ไข
รุ่นลูก จบวิศวะจากเมืองนอก ทำสนามฟุตซอลในบ้าน ปรากฏว่าโดนหมายจับ ข้อกล่าวหาคือทำโดยไม่ขออนุญาต
หรือ สร้างตึก4ชั้น เวลาไปยื่นก็โดนแก้แบบ สร้างตึกสูง ก็ต้องมีประชาพิจารณ์ หรือ ต้องขอEIA
ทำให้เด็กใจฝ่อหมด รุ่นหลังที่ทำธุรกิจ คุณมี Strong business , Know how ต้องมี Know who ด้วย

ถามคุณคุณมนตรีซึ่งน่าจะอยู่ท่ามกลางวิกฤตใช่ไหม

คุณมนตรีตอบว่า ผมตอนนั้นยังเด็ก ปี 2540 ได้รับเกียรติจากอ ไพบูลย์เชิญไปออกราการ money talk
ช่วงนั้นคนไทยไม่เจอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ผมโชว์ภาพที่มืดๆที่เคยโชว์ตอนนั้นมาให้ดูอีกครั้ง
เป็นภาพเกี่ยวกับมุมมองชีวิต (Attitude) จะเห็นภาพมืด 70%-80% มีแสงสว่างเพียง20%
สังคมมองแต่จุดมืด เช่นคนนี้ไม่มีเงินชำระ คนนี้ล้มละลาย ไม่ได้มองจุดอื่น
แต่ที่สำคัญกว่านั้น เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มองให้เห็นแสงสว่าง
“เชื่อ แล้วจะเห็น ไม่ใช่เห็น แล้วค่อยเชื่อ”
คนเลือกได้ เชื่อในทางสว่าง ชีวิตจะดีขึ้น

ผมเห็นวิกฤต3เรื่องได้แก่
1. วิกฤตชีวิต
2. วิกฤตเศรษฐกิจ
3. วิกฤตการเมือง


1.วิกฤตชีวิต

โดยส่วนตัว ตอนลูกโป่งผมก็รวย ผมลง Warrant ของ บงล ธนสยาม ประมาณ 60 บาทไป 600 บาท
ราคาช่วงนั้นพุ่งแรงมาก กระแสนึงนั่งนึกในใจว่าพอแล้ว คิดว่าเป็นเสียงกระซิบจากพระเจ้า
แต่ต่อรองว่าขอเพิ่มเป็น 20 ลบ ปรากฏว่าลงมาจนขาดทุนสิบล้านบาท (พระเจ้าบอกว่าเกิดจากความเสี่ยง
ซึ่งสอนมาหลายรอบแล้ว จนขาดทุน 10 ล้านบาท เจ้าจึงค่อยฟัง)
ชีวิตมีแต่ Wining & Learning
จุดที่เป็นความเสี่ยงถือเป็นบทเรียน ตอนมาทำงานที่ เมย์แบงค์เมื่อ17 ปี หนี้เสียแค่400กว่าล้านบาท
เหลือแค่คดีเดียว จากการปล่อยmargin สูงสุด 12,000-16,000 ล้านบาท
เราต้องซื่อสัตย์ ต้องมีธรรมาภิบาล ปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบ
เราไม่ปล่อยสินเชื่อให้เจ้าของธุรกิจมาซื้อหุ้นตัวเอง
ในวิกฤตชีวิต อย่าให้มีความท้อแท้ ตอนออกจากงานก็โชคดีได้งานใหม่ถึงแม้เงินเดือนลดลง
จริง ๆ ชีวิตก็มีที่ไป อดทน เข้มแข็ง ยืนได้ กินน้อยหน่อยก็ได้
ผมเกิดปีเดียวกับ แจ๊คหม่า ทำงานไอทีเหมือนกัน แต่แจ๊คหม่ารวยกว่าผมล้านเท่า ผมมั่นใจว่ากินไม่เท่าผม

หลักธรรมที่ผมได้เป็นบทเรียน
1. ต้นไม้ดี ก็ให้ผลดี หลายคนเป็นนักสู้เช่น คุณ สวัสดิ ทำโรงเหล็ก ก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหมราช โรงไฟฟ้า
เป็นมืออาชีพมากๆ ไม้ดีให้ผลดี
2. คนที่อดทนต่อการทดลองใจได้จะมีความสุข ทนได้แล้วจะได้มงกุฎแห่งชีวิต ความสุขไม่ใช่ได้มงกุฏจึงมีความสุข
แต่อดทนก่อนจึงมีความสุขได้แล้ว อยู่สถานการณ์ลำบากอย่าไปคิดว่าผ่านแล้วจึงมีความสุขก็ทนอย่างมีความสุข


หนังสือ ร่วมกันคิด กู้วิกฤต เศรษฐกิจไทยที่คุณมนตรีเขียนตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี2540
ได้ให้ข้อคิดกับผู้อ่านสรุปได้ว่า
1.มองโลกในแง่ดีให้เป็นนิตย์
2.มองชีวิตทำงานให้สดใส
3.สร้างทีมงานด้วยรักและพลังใจ
4.ปลูกฝังคนไทยให้คิดสร้างสรรค์ ดั่งไทยให้เจริญ
ตอนนั้นคนมีแต่เรื่องเศร้า เรื่องTeam work เป็นปัญหาของคนไทย หลายคนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้นการสร้างTeam workเป็นเรื่องสำคัญ


2.วิกฤตเศรษฐกิจ

ดร ศุภชัย กรุณาเล่าวิกฤตให้ฟังว่าปัญหาเศรษฐกิจมาจากปัจจัย3อย่างคือ
1. Cyclical ทุกอย่างเป็น commodity เช่นน้ำมัน เหล็ก เชื้อเพลิง ผันผวน ขึ้น ลงตลอด
2. Bubble วัดด้วยความโลภ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็โลภ ที่ดิน ตอนนั้น ถ้าจะซื้อก็ต้องรีบซื้อเพราะราคาขึ้นตลอด
ปล่อยสินเชื่อถึง80%ของหลักประกัน ช่วงแฮมเบอร์เกอร์ ที่สหรัฐปล่อยสินเชื่อถึง 110%ของหลักประกัน
3. Structurer เราต้องระวัง ประเทศอื่นก็สามารถพัฒนาและผลิตได้เหมือนเรา

ชอบคุณ ชนินท์ ว่องกุศลกิจ บริษัท Banpu พูดในที่ประชุมAGM ว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจาก
management เราควรจะระมัดระวังป้องกันปัญหา ซึ่งถือเป็นวิธีคิดที่ดี ไม่ใช่การโยนความผิดออกจากตัว

3.วิกฤตการเมือง

ข้อสรุปทางการเมือง
1. Corruption ไม่ควรให้corruptionเกิดขึ้น สังคมไม่ควรยอมรับเรื่องCorruption
2. Bubble แก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฏี เศรษฐกิจพอเพียง การกู้เงิน หรือ ปล่อยกู้ไม่ควรเกินตัว

ตอนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ไทยฟื้นตัวได้เร็วเป็น 1 ใน 5 ของโลก
เราได้บทเรียนและสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ดร นิเวศน์ ปิดท้าย

ชีวิตตอนนี้แตกต่างจากอดีต แต่ค่อยๆเปลี่ยนแปลง
ชิวิตผมไปช้ามาก จะรวยก็รวยช้าๆ ตลอดมา ผมโชคดี ที่หลบอันตราย เราไม่เอาตัวไปอยู่ในที่อันตรายผมมองความเสี่ยงอยู่เสมอ เราเจ๊งมาตลอด แต่ไม่เคยลำบาก จะผิดพลาดอย่างไรก็อยู่ได้

เรียนเมืองนอก เจอเรื่องร้ายๆ ก็คิดแค่ว่า อย่างมากสุดก็กลับบ้านได้
ชีวิตที่แย่ลงมีแค่ 2-3ครั้งเอง ใครวิกฤต ผมก็รอดมาได้เรื่อยๆ
ชีวิตไม่หวือหวา ไม่มีการท้าทาย แบบชักปืน
ชีวิตนักลงทุนกว่าจะมีฐานะดีก็แก่แล้ว เราค่อยๆไป จนไม่รู้สึกว่าเรามีเงินมาก
เราก็ปรับตัวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ก็จ้างคนมาล้างจานแทน
แต่ปวดหัวเรื่องคนขับรถของภรรยาและลูกที่ลาออกไป ส่วนผมขับรถเอง
อย่างน้อยได้เห็นการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

ดร ไพบูลย์ บอกว่า ความสบายหรือความร่ำรวย คือการเปรียบเทียบ คนที่เคยสบายแล้วไม่สบายขึ้นจะรู้สึกลำบาก

อาจารย์ นิเวศน์ บอกว่า หลายคนเคยประสบที่ประสบความสำเร็จเร็วมาก ไต่เต้าจนใหญ่โต
และเจอตอนวิกฤตปี 40 หลายคนแย่ลง

อ เสน่ห์ถาม ดร นิเวศน์ว่า แนะนำให้นักลงทุนว่าหลบเลี่ยงวิกฤตอย่างไร
อ นิเวศน์ บอกว่า อย่าให้ตัวเองอยู่ในวิกฤต
ต้องรู้ตัวก่อนเกิดวิกฤต ตอนปี 39-40 รู้ตัว เราไม่รวยกว่าคนอื่น ช่วงหุ้นตกเราก็ไม่ได้ถือหุ้นมาก
และไปช้อนซื้อช่วงนั้นหลังหุ้นตกลงมา เราไม่พาตัวไปอยู่ในที่อันตราย


คุณสวัสดิ์กล่าวเสริมก่อนจบสัมมนาว่า
การทำธุรกิจมีโอกาสพลาด วันที่โชคดี จังหวะชีวิตดี รวยจนเป็นมหาเศรษฐี
แต่ผิดพลาดก็ถูกลงโทษเหมือนนักโทษคดีหนักๆ แต่ผมไปแก้กฎหมายว่าเจอคดีล้มละลายแค่ 3 ปี
เราไปลงโทษคนทำธุรกิจ จนทำอะไรไม่ได้เลย
มาตรา 78,79 คนที่ล้มละลายผ่านไป 10 ปีถ้าอยากให้พ้นสภาวะล้มละลาย
ต้องผ่านความเห็นของเจ้าหนี้ก่อนจึงจะพ้นจากคนที่ล้มละลาย ผมก็ให้ตัดมาตรานี้ไป
และระยะเวลาเริ่มต้นล้มละลาย การนับให้นับหนึ่งตั้งแต่ศาลล้มละลายตัดสินว่าล้มละลาย
บังเอิญโชคดี ที่กรรมาธิการชุดนั้นเห็นด้วยกับความคิดผม ก็เลยแก้ไขข้อนี้ไป

ฝรั่งตอนที่มาควบคุมโรงงานของผมกินเงินเดือน 1ล้านบาทเทียบกับผมเคยได้ 200,000 บาท เพราะเป็นเจ้าของ
แต่หลังจากมาบริหารใหม่ กินเงินเดือน 2 ล้านบาท แถมบริษัทช่วยออกภาษีให้ด้วย
ผมขายนิคมอุตสาหกรรมเหมราชเมื่อสองปีที่แล้วตามเงื่อนไขของผมกับเพื่อนสามคน ได้ไป สี่หมื่นกว่าล้านบาท
ดีใจที่คนซื้อจากผมได้มากขึ้น ตอนนี้ยังทำธุรกิจอยู่ เพราะจะได้หาเรื่องออกจากบ้าน
คติที่คุณสวัสดิ์พูดเสมอว่า “ งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แต่อย่าคิดหนัก คิดหนักจะฆ่าเรา “

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทั้งสามท่าน ดร ไพบูลย์ อาจารย์ เสน่ห์ ดร นิเวศน์ และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่าน
โพสต์โพสต์