Moneytalk@SET18/3/61หุ้นเด่นQ1และVIรุ่นใหม่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

Moneytalk@SET18/3/61หุ้นเด่นQ1และVIรุ่นใหม่

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สัมมนา Money Talk@SET 18/03/2561

ช่วงที่ 1 หุ้นเด่นไตรมาสแรกปี 61
แขกรับเชิญ คุณชูชาติ MTLS, คุณอนันต์ BRR,คุณประเสริฐ CK
ผู้ดำเนินรายการ อ.เสน่ห์, นพ.ศุภศักดิ์

ธุรกิจทำอะไร? ความน่าสนใจ?
MTLS
เมืองไทยลีสซิ่งทำธุรกิจมา 26 ปี เริ่มที่ต่างจังหวัด เช่น สุโขทัย,พิษณุโลก ให้เช่าซื้อจักรยานยนต์ ทำไปสักพักไม่ดี
เพราะร้านค้าเก็บลูกค้าดีๆไว้ ส่งลูกค้าไม่ดีหรือไม่แน่นอนมา ก็เป็นหนี้เสีย
พอดีเห็นโอกาสจากที่ลูกค้าเก่าที่ผ่อนหมดแล้วต้องการกู้เงิน จึงหันมาทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่ได้ทำลีซซิ่งแล้ว
ซึ่งคนมักจะมาถามเราเกี่ยวกับลิซซิ่ง ซึ่งเราไม่ได้ทำแล้ว คณะกรรมการจึงประชุมกันว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองไทยแคปปิตอล
ธุรกิจหลักมี 5 ประเภท
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ จยย,รถยนต์/รถการเกษตร,โฉนดที่ดิน , สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกับกับ, นาโนไฟแนนซ์
การแข่งขันมองเป็นเรื่องดีกับผู้บริโภค สิ่งที่แข่งขันกันเรื่องการให้บริการกับลูกค้า และ แข่งขันเรื่องดอกเบี้ยและค่าบริการอย่างเหมาะสม
MTLS มี Market share เป็นอันดับ 1 แต่ก็คอยปรับปรุงอยู่ตลอด ดูแลดอกเบี้ยให้เหมาะสม, ให้บริการให้ประทับใจให้ลูกค้า
ซึ่งสำคัญมากกว่าดอกเบี้ย อย่างลูกค้าเข้ามาเราก็มีบริการน้ำดื่มเย็นๆ ให้ชื่นใจ
ประเด็นพรบ.กำกับผู้ให้บริการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือควบคุมดูแลผู้ให้บริการ
ให้ดอกเบี้ยค่าบริการเป็นธรรม และดูแลให้ไม่เอาเปรียบ นั่นคือที่ผ่านมาเราทำธุรกิจโดยไม่มีเจ้าภาพ
แต่ตอนนี้จะมีเจ้าภาพ โดยคณะกรรมการมี 3 ส่วนราชการ,ผู้ทรงคุณวุฒิ,ผู้ประกอบการ มากำหนดกฏเกณฑ์ร่วมกัน
MTLS สินเชื่อไม่มีหลักประกันหนี้เสียต่ำสุด สวนทางกับคนอื่น เรามีฐานลูกค้าใหญ่ สามารถคัดลูกค้าดีๆ ได้
รวมถึงขายสินค้าสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มจากลูกค้าเดิมของเราที่มีหลักทรัพย์จำนำทะเบียนรถกับเราอยู่แล้ว

BRR
ธุรกิจ BRR เน้นวัตถุดิบก่อน เป็นโรงงานเก่าแก่มากสุดแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉี่ยงเหนือ 250,000 ไร่
มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยเกือบ 15000 ครอบครัว ธุรกิจหลักคือน้ำตาล เพาะปลูกอ้อยแล้วส่งมาสกัดที่โรงงานเป็นน้ำตาล
มี byproduct ที่ออกมาก็นำมาใช้ประโยชน์ น้ำตาลขายในประเทศราว 20% ราว 80% ส่งออกต่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก อันดับ 1 บราซิล
ในเอเชีย อุตสาหกรรมน้ำตาลไทย เข้มแข็งสุด ด้วยความได้เปรียบภูมิประเทศ
จากหัวหินลงไปปลูกไม่ได้ เหนือพิษณุโลกขึ้นไปปลูกไม่ได้ และปริมาณฝนต้องเหมาะสมด้วย
เราจึงมีความได้เปรียบสูงสุด ประเทศต่างๆจึงไม่ค่อยเหมาะสม (อาจปลูกได้ แต่ผลผลิตไม่คุ้มค่า/ต้นทุนสูง)
ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล(by product)
- กากอ้อย เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า เรามี 3 โรงไฟฟ้า และกำลังเพิ่มขึ้น
ปีที่แล้วปริมาณหีบอ้อยปี 2.1 ล้านตัน จะเพิ่มเป็นเกือบ 3 ล้านตัน จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศที่เหมาะสม
กากอ้อยเป็นตัวหลักที่ทำมูลค่าให้ ต้นทุนโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากวัตถุดิบ ซึ่งเราไม่ต้องขนส่ง
สายพานลำเลียงเข้าโรงไฟฟ้าได้เลย จึงมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ น้ำที่ต้มกากอ้อย
จะเป็นไอน้ำปั่นเทอร์ไบน์ และเข้า generator กำเนิดไฟฟ้า
รวมถึงความร้อนที่เหลืออยู่ก็สามารถส่งเข้าโรงน้ำตาล เป็นการใช้ co-generator เพื่อให้ต้นทุนต่ำ
- ใบอ้อย มีการเก็บมาใช้เป็นเชื้อเพลิง และต้องทิ้งไว้ที่ดินส่วนหนึ่ง ทำให้สามารถเพาะปลูกได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ธุรกิจต่อเนื่องจากกากอ้อยนอกจากไฟฟ้าแล้วยังเอาไปทำเยื่อกระดาษ
อยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่เพื่อลงทุนโรงงานวัสดุภัณฑ์ทำภาชนะอาหาร เพราะการใช้โฟม,
พลาสติคไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในช่วงปลายปี 61
- กากน้ำตาล(โมลาส) นำไปทำยา,เอทานอล,แอลกฮอลล์ได้,ทำพลังงานทดแทนได้ กำลังดำเนินการขอ EIA อยู่
- Filter cake เป็นสิ่งที่ติดมากับน้ำอ้อย นำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ เพราะมีคาร์โบไฮเดรต ทำให้ซากพืชซากสัตว์เจริญเติบโตได้
Refinery sugar เป็นการแปลสภาพน้ำตาลทรายดิบ เป็นน้ำตาลทรายขาย และเล็ก
จะขายได้ราคาแพงขึ้น 80-90 เหรียญ ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการพิเศษ

CK
ช.การช่าง ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทางด่วน, รถไฟใต้ดิน, ตึกอาคารต่างๆ, มอเตอร์เวย์
โครงการใหญ่ที่ทำอยู่ ฝายน้ำล้นไซยบุรี มูลค่ากว่า 130,000 แสนล้านบาท
จุดเด่นของ CK มีการก่อสร้างที่ความหลากหลาย แต่ละการก่อสร้างก็ต้องมีเทคนิคเช่น สร้างรถไฟใต้ดินก็ต้องมีหัวเจาะ เอาดินออก
โครงการรับเหมา เราคาดหวังอัตรากำไรขั้นต้นคาดหวัง 8-10%, ต้องให้ธนาคารช่วยสนับสนุนโครงการ
ต้องมีการใช้วงเงินหลายอย่าง bid bond, performance bond, advance bond เงินรับงาน
หรือต้องซื้อเครื่องมือเครื่องจักรก็อาจมีขอวงเงินกู้จากธนาคาร ทำคืบหน้าไป 80% ก็จะคืนหนี้แบงค์หมด ที่เหลือก็ใช้เงินเราเอง
โครงการไซยบุรี ตอนนี้เสร็จไป 85% แล้ว จึงต้องหางานใหม่ๆ เข้ามาเติบ
Backlog 7 หมื่นกว่าล้านบาท คาดว่าจะทำได้ 2-3 ปี
โดยปีนี้รายได้เข้ามาไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้าน GPM น่าจะได้ราว 8%
บริษัทลูก ประกอบด้วย BEM (BMCL+BECL), TTW ผลิตน้ำขาย, CKP ผลิตไฟฟ้าน้ำงึม,โซลาร์,ไซยบุรี
รวมกันจะได้ปันผลราว 1 พันกว่าล้านบาท คิดว่าผลประกอบการน่าจะดีขึ้นได้เรื่อยๆ
-BEM สีส้ม,สีม่วงใต้ และอีกหลายสาย คิดว่ามีไม่กี่เจ้าที่บริหารโครงการได้
ส่วนทางด่วนคิดว่ายังมีอีกหลายสายที่จะก่อสร้างในอนาคต เพียงแต่ว่าจะให้เอกชนบริหารไหม
-CKP ยังต้องการพลังงานไฟฟ้าอีกพอสมควร แต่สร้างเขื่อนยากหน่อยในไทย จะต้องสร้างที่ประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างน้ำงึม คือเขื่อนกักเก็บ แต่ไซยบุรีคือน้ำไหลมาเรื่อยๆ สร้างอยู่ในเชตประเทศลาว
เป็นของบริษัทไซยบุรีพาวเวอร์ CKP ถือหุ้นอยู่ 30% ในไซยบุรีพาวเวอร์ ร่วมกับกลุ่ม ปตท, EGCO เป็นต้น
ยังมีอีกหลายโครงการที่ศึกษาในลาวและพม่า , น้ำงึม 2 ก่อสร้างเสร็จก่อนเวลาและขายไฟฟ้าได้เร็วขึ้น
รวมถึงไซยบุรีก็คาดว่าจะเสร็จได้เร็วกว่าเวลา ถ้าสร้างเร็วและมีคุณภาพ ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ว่าจ้างและแบงค์ที่ให้เงินกู้
ตอนสร้างน้ำงึม 2 ทีแรก CK ไม่เคยสร้างเขื่อนเลย ไปคุยกับแบงค์ก็ค่อนข้างยาก
แต่พอสร้างมาเรื่อยๆ ผลงานดี พอแบงค์ไปดู เป็นที่ประจักษ์ เห็นความสามารถ พอเริ่มโครงการไซยบุรี ก็มีแบงค์เข้ามาร่วมปล่อยวงเงินให้ 7 แบงค์เลย
BEM สัญญาสัมปทานทางด่วน อยู่ระหว่างคุยและคิดว่าน่าจะต่อสัญญาได้
งานล่าสุด ทางด่วนศรีรัชวงแวนกาญจนาภิเษก ซึ่งปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบัน 6-7 หมื่นคันต่อวัน ต่อไปสามารถวิ่งเชื่อมกับแจ้งวัฒนะได้
น้ำประปา กำลังผลิตราว 7-8 แสนคิวต่อวัน ในเขตสมุทรสาคร,นครปฐม
มีโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังผลิตเกือบเต็มแล้ว มีการไปสร้างโรงน้ำประปาที่พม่า อยู่ระหว่างดูเรื่องการเซ็นสัญญา

การเติบโต? ความเสี่ยง?
MTLS
ปี 60 เป้าโต 50% สินเชื่อใหม่ โต 50% ลูกหนี้คงค้างโต 50% กำไรสุทธิโต 50%
ผลที่ออกมา สินเชื่อใหม่โต 55% ลูกหนี้ 55% กำไรสุทธิ 77% NPL 1.2%
สำหรับปี 61 ประกาศเป้าหมาย โต 40% คุมหนี้เสียไม่ให้เกิน 1.1-1.2%
ปีแรกเข้าตลาดโต 60% ปีถัดมาโต 80% ปีที่แล้วโต 50% ปีนี้จึงท้าทายที่จะโต 40%
และที่ทำมาในไตรมาส 1 เราก็เชื่อมั่นว่าเราทำได้
สิ้นปีที่ผ่านมา 2200 สิ้นปี 61 จะมี 2800 สาขา ก็จะลงไปที่ชุมชนมากขึ้น
เป้าหมายจะเปิด 400 สาขาในกรุงเทพ อย่างวินมอเตอร์ไซค์ก็เป็นลูกค้าหลัก เขามีกระแสเงินสดทุกวัน
การเปิดสาขาใหม่ จะกินพื้นที่เดิมบางส่วน เช่น ปากซอย กับ ท้ายซอย ในช่วงเปิดใหม่
ปี 2559 ลูกหนี้คงค้าง 14.0 ล้านบาท/สาขา ปี 60 14.6 ล้าน/สาขา
คือค่าเฉลี่ยต่อสาขาเพิ่มขึ้นแม้จะเปิดสาขาเพิ่มขึ้น แต่อนาคตก็เป็นไปได้ที่อาจลดลง
มีการชี้แจงกับลูกน้องในเมื่อเงินเดือนขึ้นทุกปี ดังนั้นสาขาเก่าก็ต้องเติบโตอย่างน้อย 20% ต่อปีขึ้นไป
แต่สาขาใหม่จะต้องเติบโตเป็น 100% ไป จึงคิดว่าเฉลี่ยจะโต 40% ได้
สาขาเดิมจะต้องมีลูกค้ามากู้ซ้ำ 70% สัญญามอเตอร์ไซค์ 12 เดือน รถยนต์ 24 เดือน
ถ้าลูกค้าปิดบัญชีแล้วไม่กลับมาใช้แสดงว่าเราบริหารไม่ดี จึงต้องมี KPI ลูกค้ามากู้ซ้ำ 70%

ปัญหาทางการเกษตร ปีที่แล้วปัญหาผลผลิตดี แต่ราคาพืชผลไม่ดี
ส่วนหนึ่งเพราะลูกค้าผู้มีรายได้น้อย วินัยดี ถ้าเขาไม่จ่ายเงินผ่อนก็ถูกยึด
ดังนั้นก็ต้องพยายามไม่ให้โดนยึด วงเงินส่วนมากน้อย
จยย.คันละ 8 พันบาท ทำงานวันละ 300 บาท 2 คน 10 วันก็ได้ 6 พันบาทแล้ว
ปี 61 ฝนฟ้ามาดี ชาวบ้านยิ้มแย้มแจ่มใส ไร่นาเขียวขจี ผลผลิตน่าจะดี ความเชื่อมั่นน่าจะดี ไม่น่าภัยแล้ง
ถัดมารอดูราคา ซึ่งก็ต้องให้รัฐบาลช่วยด้วย จึงเชื่อว่าปีนี้น่าจะดี และรัฐบาลก็ใส่เงินในโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งต้องใช้แรงงานด้วย เศรษฐกิจก็น่าจะดีขึ้นด้วย
ลูกค้า 1.4 ล้านราย มอเตอร์ไซค์ 35%
มอเตอร์ไซค์ในประเทศจดทะเบียน 20 ล้านคัน ตั้งแต่มีให้ลงทะเบียน
แต่ที่หมดสภาพไปกี่คันไม่ได้บอกไว้ ส่งไปเพื่อนบ้านเท่าไรไม่ได้บอกไว้ ผ่อนอยู่เท่าไรไม่ได้บอกไว้
IFRS 9 ใช้สำหรับเป็นมาตรฐานบัญชีระดับสากล เกี่ยวกับการประเมินหนี้เสีย
อดีตจะประเมินจากเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่ในฉบับใหม่น่าจะจะประเมินอนาคตจากเหตุการณ์ในอดีตให้สำรองไว้ก่อน
ซึ่ง MTLS หนี้เสีย 1 บาท สำรองไว้ 260 บาท หรือ 260% ของ NPL
ซึ่งแบงค์พาณิชย์จะมีเพียง 150% คิดว่าน่าจะเพียงพอกับมาตรฐานบัญชีใหม่

BRR
ปี 60 ผลดำเนินงานกำไรเพิ่มกว่า 300% ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนผลิตลดลง
เรามีการดูแลชาวไร่ เน้นปริมาณน้ำตาลในไร่ ไม่ได้เน้นที่โรงงาน ทำให้อ้อย 1 ตันผลิตได้มากกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 15 kg
(บ.น้ำตาลทั่วไปอ้อย 1 ตันได้น้ำตาล 100 kg, BRR 115 kg) กับอีกส่วนกำลังผลิตเพิ่มขึ้นมา
BRR มีแผน 5 ปี ปริมาณน้ำตาล 3 ล้านตัน
โดยปีแรกที่เข้าตลาดมีปริมาณ 1.5 ล้านตัน -> 1.9 ล้านตัน -> ปี 61 เกือบ 3 ล้านตัน
นโยบายเรามีการช่วยดูแลชาวไร่ จะมีความชัดเจนต้นทุนที่ลงทุนแต่ละปีที่ลงทุนให้เกษตรกรเข้มแข็งมีอะไรบ้าง
อย่างค่าขนส่ง เป็นอันดับแรก ซึ่งเกษตรกรจะโดนต้นทุนขนส่งสูงมาก ราคาอ้อย 1000 บาท
ไม่ใช่เขาได้เงิน 1000 บาท เกษตรกรรัศมี 40 km รอบโรงงาน มี 3 ล้านตันอ้อย
เราจะเข้าไปช่วยให้เงินสินเชื่อ(เงินเกี๊ยว) และเก็บหนี้ด้วยการปลูกอ้อยมาคืนในฤดูกาลผลิต โดยต้องดูแลให้เขาอยู่ได้
เรามีรวมกลุ่มเกษตรกร ที่เราอบรมแล้วให้เขาไปถ่ายทอดต่อ ทั้งเรื่องพันธุ์ และการใช้เครื่องมือต่างๆ
เรื่องการดูแลเงินทุนเราก็ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่ากู้แบงค์เองด้วยซ้ำ , การปรับปรุงดินเราจ้างผู้เชี่ยวชาญดูแลสภาพดิน
ให้เหมาะกับความต้องการแต่ละแปลง ทะเบียนแต่ละแปลงเราแยกแยะได้ว่าต้องการสารอาหารแค่ไหน
ชาวไร่มีแอพในมือถือมีจัดลำกับคิวในการตัดอ้อย หรือจัดลำดับในการใช้เครื่องมือเกษตรต่างๆ
สิ่งที่ได้ตอบแทนคือ เราจะได้ yield หรือผลผลิตที่สูงกว่าเฉลี่ยทั่วประเทศ
การส่งออกน้ำตาล เราต้องขายไปราคาตลาดนิวยอร์คกับลอนดอน ซึ่งราคาน้ำตาลไทยจะมีพรีเมียม(ได้ราคาสูงกว่าตลาด 80-90 )
ราคาน้ำตาลตลาดโลก ปัจจุบันลงมาเยอะ ราว 30% กว่า รวมถึงค่าเงินบาทก็ผลกระทบ
แต่ไม่ได้กระทบกับโรงงานน้ำตาล 100% ระบบแบ่งปันผลประโยชน์
เงินที่ได้มา 70% เป็นราคาอ้อย 30% เป็นส่วนของโรงงาน
ซึ่งราคาขายที่ลด ก็จะปรับราคาต้นทุนอ้อยลงตามด้วย
ภาษีความหวานน่าจะมีผลกระทบบ้างไม่เยอะนัก
เรามีจำหน่ายในประเทศ 2.6 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมส่งออก

CK
ปี 60 รายได้ก่อสร้าง 3.5 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 1800 ล้านบาท
โครงการที่จะออกมาราว 5 แสนล้านบาท จากที่ฟังรัฐมนตรีออกมาพูดจะมีรถไฟอีกหลายโครงการทั้งรางคู่เด่นชันเชียงใหม่ ,
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้,รถไฟฟ้าความเร็วสูง, ทางด่วนพระราม 3 คิดว่าตั้งแต่ไตรมาส 2 น่าจะทยอยปล่อยออกมา
จากประสบการณ์เราเคยทำรถไฟฟ้ามาหลายเส้น เช่น สายสีน้ำเงิน, สายสีเขียวแบริ่ง,สายสีม่วง
คิดว่าน่าจะได้ 20-25% ของการประมูลแต่ละครั้ง ซึ่งงานจะทยอยออก ไม่ได้มาทีเดียว
ปี 61 รายได้คาดว่าไม่น่าต่ำกว่า 3.5 หมื่นล้าน มี Backlog 7 หมื่นจะทำให้เกิดรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้าน
และน่าจะมีงานเข้ามาเสริมอีก
การจัดการเรื่องส่งงานล่าช้า ที่ผ่านมาเราจะมี term ของการรับเงิน ทยอยส่งและรับเงินมาตลอด ยังไม่เคยมีปัญหา
ถ้าหากปีนี้ยังไม่ประกาศงานก่อสร้างขนาดใหญ่ออกมา
เราก็มีการลงทุนในโครงการสัมปทานจากงานเดิมที่เคยลงทุนไว้จะมีส่วนเพิ่มเติม
แต่ก็ยังมั่นใจว่าจะมีงานออกมา อย่างสนามบินอู่ตะเภา, EEC
BEM ถือหุ้นอยู่ 30.8% ถ้าปี 61 ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นก็น่าจะกระตุ้นให้รายได้ดีขึ้น, เราไม่ต้องไปลงทุนเพิ่ม
CKP เดือน ต.ค.ปี 62 น่าจะผลิตไฟฟ้าเพิ่มที่ไซยบุรีได้ 1285 MW
น้ำงึม 4 พันล้านบาทต่อปี ไซยบุรี จำนวนหน่วยผลิตได้มากกว่า
คาดรายได้ราว 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี irr ใกล้เคียงกัน ในลาวยังมีเขื่อนแบบนี้อีกมาก
หลายหมื่น MW คนที่เข้าไปทำมีทั้งจีน,เกาหลี อยู่ที่คุณภาพการก่อสร้าง แหล่งเงินทุนที่เข้าไปสนับสนุน
TTW ถือหุ้น 19.4% จ่ายเงินปันผลตั้งแต่เข้าบริษัท ได้ 5-6%

การทำกิจกรรมเพื่อสังคม?
MTLS
มี 2 ส่วน 1. ทำในนามบริษัท สร้างศูนย์เด็กเล็ก ลูกหลานชาวบ้าน สร้างให้ปีละ 3 แห่ง
เหนือ,อีสาน,กลาง แห่งละ 1 ล้านกว่าบาท, มีการเชิญชวนพนักงานบริจาคโลหิตให้สภากาชาด ได้ปีละ แสนกว่าลิตร,
การทอดกฐินประจำทุกปีบริษัทร่วมสมทบบางสว่น 2.ทำในนามส่วนตัว ที่โรงพยาบาลที่บ้านเกิด
สร้างอาคารผู้ป่วยมูลค่า 50 ล้านบาทชื่ออาคารจิตเมตตา รวมถึงบริจาคเครื่องมือแพทย์อีก 40 ล้านบาท
และบริจาคเงินสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้กับม.เชียงใหม่
BRR
สิ่งที่บริษัททำอยู่ในทุกวันก็เป็นเหมือน CSR อยู่แล้ว เรามีทีมงานที่พัฒนาชาวบ้าน วัด โรงเรียนคู่กันไป
สถานศึกษาประมาณ 15 หมู่บ้านรอบโรงงาน เราช่วยดูแลน้ำดื่ม, อุปกรณ์การเรียน,
อาคาร มีบริษัท BRD ช่วยดูแล เป็นหน่วยวิจัยและพัฒนา มีการดูแลสภาพความเป็นอยู่ มีการตรวจสุขภาพประจำ
ในส่วนที่เน้นคือสถานศึกษามี 2-3 เรื่องที่ให้ความสำคัญมาก ในบางโรงเรียน ผบห.มีความสามารถต่างกัน
จัดทำอาชีพเสริม พวกขนม อาหารในท้องถิ่น ประกวดระดับประเทศได้ระดับเหรียญทองมา 4 ปีซ้อน,
ปีนี้มีโครงการพิเศษ เรื่องการอนุรักษ์นกกระเรียนไทย ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว มีการเพาะและพัฒนา
จะเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวมาส่งเสริมศักยภาพจังหวัดบุรีรัมย์ และจะมีการประชุมนกกระเรียนโลกที่จ.บุรีรัมย์ด้วย
CK
การก่อสร้างต้องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบ เช่น การสร้างตึกไม่ให้มีฝุ่นละออง,
ในส่วนสำนักงานมีการเชิญชวนพนักงานและเพื่อนบ้านที่อยู่รอบบริจาคโลหิตทุกปี มีการนิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง ,
มีการจัดกิจกรรมแข่งกีฬาภายในเป็นประจำ, ในช่วงที่เชียงรายแผ่นดินไหว
เราก็มีการเข้าไปสร้างโรงเรียนทดแทนให้ หรือ โรงเรียนที่โดนน้ำท่วมบ่อยๆ ในอยุธยา ช่วยซ่อมเครื่องเล่น,ทาสี

ปิดท้าย
การลงทุนมีความเสี่ยงมีโอกาสกำไรและมีโอกาสขาดทุน ต้องฟังแล้วกลับไปพิจารณาตัดสินใจด้วยตัวเอง


ช่วงที่ 2 “วีไอรุ่นใหม่มองหุ้นปี 61”
แขกรับเชิญ คุณกานต์ ณัฐชาต คำศิริตระกูล ,คุณมี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์
,หมอเค นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ,คุณทศ ทศวรรษ ทองสุข
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

มองหุ้นไทยอย่างไร?
คุณกานต์
ส่วนตัวไม่ได้เชี่ยวชาญในการพยากรณ์ จากประสบการณ์ที่อยู่ในตลาด 13-14 ปี
พบว่าเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่พอคาดการณ์ปัจจัยที่มีผล และเตรียมตัวรับมือ
ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไร โดยปัจจัยหลักที่มองว่ามีผลช่วงนี้ได้แก่
1) อัตราดอกเบี้ย จะปรับขึ้น 3-4 ครั้งในปีนี้ที่อเมริกา โดยสำหรับเมืองไทยน่าจะค่อยๆปรับ
ช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยต่ำจนเป็น 0 หรือติดลบ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สูงขึ้น
เพราะคนแสวงหาผลตอบแทน เมื่อดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลให้สินทรัพย์ที่ปรับขึ้นมาชะลอตัวหรือปรับลดลง
2) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง อย่างซาอุดิอาริเบียจะเอาบริษัทน้ำมันเข้าตลาดหุ้นในปีนี้ก็เป็นปัจจัย
3) การเลือกตั้ง เศรษฐกิจในประเทศจะคึกคักขึ้น
ธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในน่าจะดีขึ้น แต่ถ้าเลื่อนก็จะมีผลกระทบเช่นกัน

ถ้าพูดถึงมองตลาดหุ้นเป็นอย่างไร? ประเด็นคือเราไม่ได้จะซื้อตลาดหุ้น แต่จะซื้อหุ้น
มันจึงสำคัญที่บริษัทที่เราจะลงทุนเป็นอย่างไร
ขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์
SET index จากต้นปีปรับขึ้น 3% แต่ถ้ามองจากปีก่อนเพิ่มขึ้น 13%
SET50 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% มองจากปีก่อนขึ้น 17%
MAI ปรับตัวลดลง -8% มองรวมปีก่อน -13%
จะเห็นว่าถ้ามองหุ้นใหญ่ไปได้ดี แต่หุ้นเล็ก/กลางค่อนข้างแย่
แนวโน้มข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ก็มาดูที่ความถูกแพง
SET PE 18 เท่า, PBV 2.1, Div yield 2.7%
MAI PE 80 เท่า, PBV 2.4, Div yield 1.6%
มันบ่งบอกว่าแม้ดัชนี MAI ที่ลงจากปีก่อนแล้วก็ตาม ในแง่มูลค่าก็ยังค่อนข้างแพง
เราก็ต้องมาดูว่าที่เราลงทุนเป็นหุ้นแบบไหน และดูปัจจัยที่กล่าวไปว่ามีผลกระทบไหมอย่างไร
อ.ไพบูลย์เสริม ในการวิจัยวิชาการ ทั่วโลกก็พบว่าหุ้นเล็กจะผลตอบแทนชนะหุ้นใหญ่เสมอ
เพราะหุ้นเล็กมีความเสี่ยงมากกว่า เพียงแต่ 3-4 เดือนที่ผ่านมาผิดปกติ
อ.นิเวศน์เห็นด้วยว่าในระยะยาวหุ้นเล็กดีกว่า แต่มันก็มีเป็นรอบๆของมันบางช่วงก็หุ้นใหญ่ดีกว่า

คุณมี่
อ.นิเวศน์มักบอกเสมอว่าถ้าจะคาดการณ์อะไรให้ดูประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปยาวๆ
มีคนบอกว่าตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นเพราะหุ้นขึ้นตามดอกเบี้ย
จึงได้ทำตัวเลขย้อนหลังไปดู 15 ปี พบว่าปีที่หุ้นขึ้นมี 9 ปี หุ้นลง 5 ปี ไม่ขึ้นไม่ลง 1 ปี
พบว่ามีรอบดอกเบี้ยขึ้น 2 รอบใหญ่ๆ ที่ดอกเบี้ยขึ้น ปี 2548 ขึ้นจาก 2%ไป 5%
ซึ่งเป็นปีพิเศษที่ตลาดหุ้นไม่ได้วิ่งล้อตามดอกเบี้ย ถ้ากำไรบลจ.ขึ้น จะทำให้ตลาดหุ้นขึ้นได้แรง
มีอยู่ครั้งเดียว 49,50,51 เป็น 3 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ปี 49 eps -13% ปี 50 -10% ปี 51 -26%
แต่ราคาหุ้นปีก่อนเกิด subprime ดัชนีวิ่ง 700 ไป 930 จุด ทั้งที่กำไรลดลง
ถ้าตัดความผิดปกตินี้ไป เกือบทุกครั้ง กำไร บลจ.ขึ้น ตลาดหุ้นขึ้น
ปกติตลาดหุ้นจะโตติดกันไม่ค่อยยาว คือโต 2 ปี แล้วจะลง ซึ่งตอนนี้ปี 58-60 ก็บวกมาต่อเนื่อง
และดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น คงไม่ได้ปรับ PE ให้ตลาด อยู่ในช่วงที่ต้องลุ้นว่า กำไรบลจ.จะโตได้จริงหรือเปล่า
ปีนี้โบรกเกอร์คาด โตได้ 10-13% โดยในปีที่แล้วมีกำไร stock บริษัทพลังงานเยอะ และส่งออกโตได้มากถึง 10%
คิดว่าปีนี้ไม่ง่ายมาก และค่าเงินบาทก็แข็งด้วย คิดว่ากำไรบลจ.น่าจะโต 3-5%
ซึ่ง ณ pe 18 เท่าคิดว่าสูงอยู่เหมือนกัน จึงต้องระมัดระวังเลือกหุ้นที่น่าจะเติบโต
อย่างตลาด MAI ที่ติดลบมา 2 ปี ตัวที่มันติดลบก็ไม่ควรขึ้นได้ขนาดนั้นจริงๆ แต่ก็มีตัวที่กำไรเติบโตอยู่ก็น่าลงทุนได้
เชื่อว่า 3-5 ปีนี้ยังไม่เกิดวิกฤติ แต่ก็ต้องเลือกให้ดี ซึ่งชอบหุ้นกลางกับหุ้นเล็กมากกว่า
เพราะปีที่แล้วหุ้นใหญ่กำไรโตดี จึงปรับขึ้นได้ดี แต่ปีนี้ถ้าหุ้นกลางหุ้นเล็กที่กำไรไม่ดีนั้นกลับขึ้นมาได้ก็น่าสนใจ
อ.ไพบูลย์เสริม ทางทฤษฎีดอกเบี้ยขึ้นจะกระทบมูลค่าหุ้น ดอกเบี้ยขึ้น บริษัทกู้เงินก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น,
มูลค่าบริษัททางทฤษฎีเกิดจากกระแสเงินสดในอนาคตที่ทอนมาเป็นปัจจุบันในอัตราที่สูงขึ้น
แต่ปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้น ดอกเบี้ยขึ้น คนกลัวเงินเฟ้อสูง แต่เงินเฟ้อสูงคนมีเงินจะรู้สึกว่าถือเงินจะด้อยค่า
ต้องไปหาอะไรที่สู้เงินเฟ้อได้ ก็จะมีหุ้น และที่ดิน ก็ทำให้ไม่เป็นตามทฤษฎี
อ.นิเวศน์เห็นว่า ไม่ได้มีอะไรมาก ในระยะสั้นๆ มีคนซื้อมากกว่าคนขาย => หุ้นขึ้น คนขายมากกว่าคนซื้อ =>หุ้นลง
แต่ระยะยาวๆ ดอกเบี้ยถ้าขึ้นยาวๆไป 7-8% ก็ไม่ต้องเล่นหุ้นขายไปฝากดอกเบี้ยดีกว่า ถึงจะสอดคล้องกับทฤษฎี

คุณทศ
ส่วนตัวจะมองภาพใหญ่ก่อน ระยะสั้นมองภาพยาก ดอกเบี้ย,น้ำมัน ขึ้นลงไม่ค่อยถนัดประเมิน
แต่ดอกเบี้ยภาพใหญ่จะกระทบต้นทุนขึ้น และมีอะไรเข้ามาในระบบที่ไม่เสี่ยงเข้ามาจึงอาจมีเงินไหลไปอีกสินทรัพย์หนึ่ง
สำหรับ VI จะมองหุ้นเป็นตัว ซึ่งหุ้นเรามีผลกระทบจากดอกเบี้ยเยอะไหม
เช่น หุ้นที่ได้ สเปรดดอกเบี้ยต่ำ ที่กู้มาแล้วปล่อยกู้ได้น้อย ก็อาจระวังเป็นพิเศษ
ปัจจัยสำคัญที่มีผลการลงทุนช่วงนี้ เนื่องจากมองภาพใหญ่ก็ต้อง มองหาสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนขึ้นมา
มองเปรียบเทียบผลตอบแทนกับดัชนีตลาดหุ้น เพื่อเทียบกับการลงทุน passive แบบไม่คิดอะไร
แต่เราลงทุนแบบ active ใส่แรงเข้าไป อย่างน้อยควรชนะ ถ้าแพ้ติดต่อกันหลายปี ก็อย่าเลือกหุ้นแล้วซื้อดัชนีตลาดหุ้นแทนดีกว่า
วิกฤติเศรษฐกิจผ่านมาสิบปีแล้ว คนรับรู้ว่าไม่ช้าก็เร็วต้องเกิดวิกฤติ 10-14 ปี วนเวียนแบบนี้
เรานั่งคิดทุกวันว่าเราจะผ่านวิกฤติให้ได้ เหมือนการเตรียมตัวตายในวันพรุ่งนี้จะมีใครเดือดร้อน เตรียมแผนไว้ก่อน
ถ้าหากพรุ่งนี้เกิดวิกฤติ ผลกระทบจะเป็นอย่างไร พยายามมอง portfolio เราเหลือ20% ทุกวัน
ส่วนใหญ่ VI ทุกคนจะถนัดขาขึ้น เวลาหุ้นลงจะลงหนักเหมือนกัน และจุดนั้นจะปลอดภัยที่สุด
อ.ไพบูลย์เสริม VI ไม่ค่อยมองเหมือนตามทฤษฎีที่มองภาพใหญ่ Top down
มองเศรษฐกิจรวมลงมาถึงอุตสาหกรรมและบริษัทรายตัว เรียกว่า EIC Economy Industry Company
แต่ VI จะมองแบบ bottom up เป็นบริษัทย้อนกลับขึ้นไป
อ.นิเวศน์ มีสิ่งที่น่าสังเกตเขามีการเตรียมตัวตายทุกวัน อยากรู้ว่าเตรียมตัวอย่างไร?
อ.ไพบูลย์ ถ้าวันนี้เราตายขึ้นมาได้ทำสิ่งที่ควรจะทำแล้วหรือยัง
้เช่น คนทะเลาะกับพ่อแม่ ไม่ได้โกรธพ่อแม่ แต่ไม่ได้ขอโทษให้เรียบร้อย ไม่ได้คุยให้เข้าใจ แล้วคาใจอยู่
หากตายไปก็เคลียร์ให้เรียบร้อย โดยเฉพาะสิ่งที่ดีงาม หรืออะไรที่เป็นความชั่วที่ไม่ควรทำ ก็เลิกเสีย
หรือถ้ามีหุ้นตกลงมาเหลือ 20% ของเงินที่มีเราอยู่ได้ไหม

หมอเค
ระยะสั้น สนับสนุนที่ดร.นิเวศน์บอกว่าคนซื้อคนขายกระทบหุ้นขึ้นลง
มีข้อมูล 1st day trade วันที่ beauty เข้าตลาดวันแรก pe 27 เท่า แต่ปี 2017 pe 89 เท่า
บ่งบอกว่าตลาดหุ้นนักลงทุนอยากซื้อมากกว่าอยากขาย ยอมจ่ายแพงเพื่อลุ้นการเติบโตของผลกำไร
ซึ่งหากเขาทำไม่ได้ตลาดก็อาจทำโทษกับราคาหุ้นบริษัทนั้น , หุ้นโรงพยาบาล CHG เข้าตลาด pe 24 เท่า
ล่าสุด โรงพยาบาลธนบุรีเข้าตลาด pe 56 เท่า กำไรต่างกันไม่เยอะ แต่ pe ค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจตกใจได้
เงินระดมทุนเมื่อก่อนต้องให้ได้ 25% เช่น หุ้น beauty ระดมทุนได้ 600 ล้านบาท แต่บริษัทที่พูดถึงก่อนหน้านี้ระดมทุน 4000 พันล้าน
จะเห็นว่าเงินระดมทุนเข้าไปสูงแตกต่างกันมาก บริษัทที่ได้เงินระดมทุนไม่มาก จะมีแผนชัดเจน แต่พอเงินมาก
จะท้าทายว่าจะเอาเงินไปทำอย่างไรให้เติบโต แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะได้ผลตอบแทนไม่ดี หรือไป M&A ซึ่งมีโอกาสล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ
ระยะยาว มองเหมือนพี่มี่กับกานต์ คือปีก่อนดีจากปิโตรเคมีและส่งออก สิ่งที่ยังไม่ได้ใช้คือ การบริโภค,การลงทุนในประเทศ
ซึ่งถ้าตรงนี้สามารถขับเคลื่อนได้ เศรษฐกิจก็น่าจะดีขึ้น
ดร.นิเวศน์ ต้นปีให้คะแนนตลาดหุ้นไทยไว้ 3 คะแนน ปัจจัยต่างประเทศดอกเบี้ยกำลังขึ้น หุ้นขึ้นมาดีต่อเนื่องหลายปี
ไม่เกิดวิกฤติมาเป็นสิบปีแล้ว ที่น่ากังวลตลาดหุ้นเราจะตามต่างประเทศเป็นหลัก บ้านเราอาจไม่มีวิฤติ
แต่ต่างประเทศมีความเสี่ยงรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้

หุ้นกลุ่มไหน ประเภทไหน ที่สนใจเป็นพิเศษ? เพราะอะไร?
คุณกานต์
ขยายความที่พูดในรอบแรก ที่พูดถึงตลาด MAI เพราะหลายตัวมีการผลักดันราคาที่อยู่ในระดับฟองสบู่
เล่น growth story มากๆ มีฟองสบู่แน่นอน สิ่งที่คาดหวังการเติบโตอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด
ก่อนที่พูดว่าจะแนะนำกลุ่มไหน แต่จะขอพูดในกลุ่มไหนที่ควรหลีกเลี่ยงก่อน ถ้าจะตายที่ไหนก็ให้หลีกเลี่ยงตรงนั้นก่อน
กลุ่มที่เสี่ยงสูงคือ กลุ่มหุ้นขนาดเล็ก pe สูง มีความคาดหวังสูงมาก การเข้าสู่ธุรกิจใหม่
การเปิดสู่ตลาดใหม่ๆ ถ้าหากทำไม่ได้ แล้วซื้อในราคาสูง จะเกิดความเสียหายได้มาก
อย่างการเอา PEG มาคิดก็ควรเอา Growth ที่ยาวหลายปีมาคิด ไม่ใช้กำไรโต 50% ปีเดียว แล้วใช้ PEG 50 เท่า
หุ้นที่ PE สูงๆ ต้องมีคุณภาพของกำไร โดยดู 4 ปัจจัย
1.Feasible ความเป็นไปได้ จะเชื่อว่าเขาทำได้ ต้องดูปัจจัยแห่งความสำเร็จ
2. Visible ต้องมองเห็นกำไรมีที่มาที่ไป เป็นบริษัทที่ลูกค้ามาซื้อจริง
3. Predictable คาดการณ์ได้ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคใช้มีความสม่ำเสมอ
4. Durable มีความคงทน โตได้จริงไม่ได้กลับลงไปที่เดิม
กลุ่มที่น่าสนใจ มองว่า หุ้นที่เกี่ยวกับบริโภคในประเทศ
ตั้งแต่ต้นปีที่แล้วจนมาถึงปลายปีอยู่ในช่วงความโศกเศร้า ซึ่งหลังจากนั้นตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว
ส่วนหนึ่งเพราะฐานไตรมาส 4 ปี 59 ค่อนข้างต่ำ คิดว่าน่าจะต่อเนื่องมาถึงปีนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมองว่ามีบริษัทไหนที่ยังไม่ได้ถูกมองว่าดีแล้ว เช่น ตัวเลขการเงิน
บริษัทที่ pe, pbv ที่ต่ำกว่าตลาด แล้วไปดูปัจจัยเชิงคุณภาพว่ามีแนวโน้มพัฒนาให้กำไรดีขึ้น
เช่น ROE เคยได้ 10% ถ้าขึ้นมาเป็น ROE 12-15% น่าจะปรับ PE เพิ่มขึ้นได้
กลุ่มที่น่าสนใจ คือ แบงค์ ที่ผ่านมา NPL ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นน้อย
ถ้าแนวโน้ม NPL ต่ำสุดก็จะเป็นสัญญาณบวก รวมถึงการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนภาครัฐจะเป็นปัจจัยบวก
อสังหา ถ้าดูอัตราส่วนการเงินก็ไม่แพง การเลือกบริษัทก็ต้องเข้าใจสินค้า โครงสร้างการเงินของบริษัทนั้นด้วย
ค้าปลีก ต้องเลือกเป็นรายตัว บางตัวอาจแพง บางตัวอาจเพิ่งฟื้นตัว
อ.ไพบูลย์ เสริม PEG ถ้า PE สูงยิ่งแพง ต่ำยิ่งถูก แต่หุ้นที่ PE สูงๆ อัตราเติบโตดี
เช่น PE 50 ดูว่าเติบโตเท่าไร ถ้าโต 50% เอา PE 50 ตั้ง หารอัตราเติบโต 50 = 1
แต่ถ้าเอาเติบโต 50% ปีเดียวมาใช้ไม่ได้ ต้องเป็นการเติบโต 50% ระยะยาว

คุณมี่
ไม่ว่าจะหุ้นตัวใหญ่ตัวเล็กก็ต้องระวังหุ้น PE สูง หุ้นตัวใหญ่ๆก็มีความหวังสูงมากเหมือนกัน
เช่น หุ้นแบตเตอรี่ ต้องพิจารณาดูตามความเข้าใจของตัวเอง
การวิเคราะห์ว่าหุ้นกลุ่มไหนน่าสนใจ แปลว่าอุตสาหกรรมนั้นต้องมี demand มากกว่า supply และเกือบทุกตัวในกลุ่มนั้นต้องดี
แต่โลกวันนี้มันเดินทางผ่านจุดเป็น oversupply ในทุกอุตสาหกรรม จะมีแค่ผู้ชนะจะเก็บเกี่ยวแล้วได้ผลประโยชน์
เช่น ตอนเด็กชอบดูหนัง ไปดูปีละ 2 ครั้ง มักดูหนังที่ได้ความนิยมสูง และนั่งเก้าอี้เสริม
มีครั้งหนึ่งไปดู หนังเรื่อง รองต๊ะแล่บแปร๊บ ไปถึงปรากฏเก้าอี้เสริมไม่มี ต้องจ่ายเงินเข้าไปยืนดูจนจบเรื่อง
แต่วันนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปโรงหนังเกิดขึ้นมากมาย หนังที่ดีที่สุดมีคนดูครึ่งโรง แถมผ่านไป 2-3 สัปดาห์มีคนดูอยู่ไม่กี่คน
หรือธุรกิจร้านอาหาร สมัยก่อนไปกินร้านโคคาในวันตรุษจีน รอ 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อกินร้านโคคา
มาวันนี้แทบจะไม่ต้องรอ แม้จะเป็นร้านที่ได้รับความนิยม ทำให้อาจจะมองเป็นกลุ่มไม่ได้
ต้องมองไปที่ความสามารถการแข่งขัน competitive factor ชนะกันเพราะอะไร มันมีสิ่งนี้หรือเปล่า
มันมี 3 ปัจจัยคือ แข็งแกร่ง,เติบโต, ถูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องแข็งแกร่ง,เติบโต,ถูกในมุมมองเรา ไม่ใช่สายตานักวิเคราะห์
ถ้าทำแบบนี้แล้วไม่แพ้ตลาดหรอก ที่แพ้เพราะเราชอบไปตามแห่กันซื้อหุ้นบางกลุ่มที่ได้รับความนิยม
แอนโทนี โบลตัน เคยแนะนำว่าการทำกำไรในตลาดหุ้นที่ความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง
อาจจะดีกว่าคาด น้อยกว่าคาด หรือเสมอตัว แต่หุ้นอย่างโรงไฟฟ้า ความเสี่ยงต่ำ ความแน่นอนสูง
มันไม่ควรจะ pe สูง เพราะมันรู้กันอยู่แล้ว แต่ที่เรามักจะเสียหาย คือ ไปเล่นหุ้นความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนสูง
สรุปถ้าให้มองเป็นกลุ่มวันนี้คงหายากขึ้นเรื่อยๆ

คุณทศ
ถ้าดัชนีสูงขึ้น เราก็จะระมัดระวังมากขึ้นด้วย จะมีหลักเกณฑ์เข้มงวดขึ้น
ช่วง 2-3 ปีนี้เกิดวิกฤติเราจะเตรียมพร้อมให้ดีที่สุด ตอนนี้มี 3 แผน คือ แผน A แผน B แผน C
แผน A มีมุมมองว่าหุ้นเสี่ยงสูง ทุกตัวที่ซื้อต้องมีโอกาสขึ้นได้ 1 เท่า เหมือนถูกล็อตเตอรี่ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไปที่แผน B
แผน B แผนที่บริษัทจะโตตามปกติ 20-30% ถือด้วยความคาดหวังถ้าเขาจะได้ตามนี้ แต่ถ้าโชคดีอาจจะได้แบบแผน A
แต่ทุกอย่างมีโอกาสผิดพลาดได้ จึงต้องมีแผน C
แผน C คือผู้บริหาร ส่วนตัวจะชอบอยู่ข้างเดียวกับผู้บริหาร เช่น ผู้บริหารถืออยู่เยอะ หรือซื้อเยอะ อย่างน้อย
ถ้าการคิดข้อ A หรือ B ผิดไปแล้วก็ยังมีตรงนี้อยู่
จะชอบหุ้นที่มี 3 ข้ออยู่ในนี้ ถ้ามีแค่ B ไม่มี A จะถือไม่เยอะ แต่หุ้นที่ถือเยอะ ก็จะมี 3 ประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ

หมอเค
เมื่อก่อนก็พยายามจัดกลุ่มว่าจะเล่น theme อะไร แต่พอเล่นไปเรื่อยก็พบว่าเล่นตาม theme ยาก
จึงจัดกลุ่มตามชาลี มังเจอร์ คือ YES เข้าใจ , NO ไม่เข้าใจ, Too tough ยากเกินไปที่จะเข้าใจ ขึ้นกับความเชี่ยวชาญแต่ละคน
YES ที่ชอบแบ่งเป็น 2 อย่าง
1. ชอบหุ้นเติบโต ซึ่ง PE จะแพงกว่าหุ้นที่โตไม่สูง ดูบริษัทเป็นเบอร์ 1,2 ในตลาด
และมีโอกาสได้ market share ในตลาด รวมถึง market size สามารถเติบโตได้
และการเติบโตเมื่อเทียบกับคู่แข่งเขาสามารถเติบโตได้ดีกว่า เพราผู้บริหารหาช่องทางตลาดได้ดีกว่า
มี runway ของบริษัทพอสมควร อย่างบริษัทที่มี market share 50-60% ขึ้นไปแล้ว
ก็อาจจะรักษาได้ยาก รวมถึง price ที่เราไม่อยากเข้าไปเสี่ยง
2. หุ้น turn around เป็นหุ้นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นเติบโต เพียงแต่มันชนะได้แค่ 5%
จึงต้องมองหาอีก 2 อย่าง คือ ในวิกฤติมีโอกาส อย่างช่วงที่มีการประมูลคลื่นทีวี หุ้นกลุ่มนี้ก็ร่วงกันหมด
แต่คนที่พลิกชนะขึ้นมาได้ก็ได้ประโยชน์ หรือหุ้นพวกบัตรเครดิต ปรับขึ้นมาเยอะ
เพราะมีช่วงที่รัฐบาลประกาศจะควบคุมเรื่องบัตรเครดิต ซึ่งเขามีการตั้งสำรองไว้เยอะแล้ว
อีกอย่างคือ ในโอกาสมีวิกฤติ ธุรกิจเติบโตดีอยู่ แต่บริษัทสะดุดขาตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลัก
เช่น ผู้บริหารที่ซื้อหุ้นตัวเองและมีข่าว ทำให้นักลงทุนกังวลขายมาก และเป็นโอกาสให้คนทำกำไรได้มาก
หรืออย่าง ฟิลิปฟิชเชอร์ ที่ชอบ คุณภาพกำไร มากกว่าความแพง จุดที่น่าสนใจของหุ้นเติบโต นักลงทุนมักจะมองโลกแง่ดีเกินไป
โรงงานเดิมกำไร 100 โรงงานใหม่ควร 100 ให้ PE สูงๆไปเลย แต่หลายๆครั้งการขยายโรงงานมักมีปัญหา
และกำไรลดลง นักลงทุนก็มักจะขายหุ้นจนราคาตกไปมาก
สิ่งที่ต้องกลับไปดูคือธุรกิจหลักยังสามารถสร้างการเติบโตของผลประกอบการได้หรือไม่
ถ้าหาได้ก็เป็นจุดน่าสนใจในการลงทุน สิ่งที่สำคัญคือ กำไรต้องเติบโตมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

ดร.นิเวศน์ วิธีการลงทุนของตัวเอง เล่นหุ้นเหมือนผู้ชายที่ดูผู้หญิง หลายคนชอบผู้หญิงเลือกผู้ชาย
เวลาจะแต่งงาน ผู้หญิงมักคิดว่า วันหนึ่งผู้ชายจะเปลี่ยนนิสัยให้ดีขึ้น เคยกินเหล้า ใช้จ่ายเกิน เจ้าชู้ ก็จะเปลี่ยนแปลง
แต่ผู้ชายจะคิดว่า ผู้หญิงคนนี้จะไม่เปลี่ยน การซื้อหุ้นคาดหวังว่าบริษัทนี้จะไม่เปลี่ยน ถ้าสวยอยู่แล้วดีอยู่แล้ว ก็ไม่ได้อยากให้เปลี่ยน


กลยุทธ์การจัดพอร์ต?แบ่งเงินอย่างไร?
คุณกานต์
ส่วนใหญ่เป็นหุ้น 90-100% มาตลอด จน 3-4 ปีหลัง มีการปรับไปซื้อที่ดิน,อสังหา 10%
ส่วนหนึ่งคือกระจายความเสี่ยงจากตลาดหุ้นบ้าง และทำอะไรที่มีประโยชน์กับครอบครัวบ้าง
ส่วนตัวคิดเหมือนคุณทศคือเตรียมตัวสำหรับวิกฤติ พอร์ตที่ถืออยู่ก็ต้องฝ่าวิกฤติไปได้ สิ่งสำคัญคือสภาพคล่อง
มีหุ้นแต่ขายไม่ได้ ขายแต่ละครั้งเหมือนเฉือนเนื้อตัวเอง
ตลาดหุ้นไม่มีไฟเหลือง ไฟเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นไฟแดงเลย
ต้องมีความตระหนักอยู่ตลอดเวลา อาจเตรียมพร้อมเช่น ถือเงินสด หรือถือหุ้นสภาพคล่องขนาดใหญ่ มีปันผลใช้ได้
ถือหุ้นตรงนี้ราว 50% พอร์ต ที่เหลือเป็นหุ้นขนาดกลาง/เล็ก ที่เติบโต มีปันผล ไม่แพง

คุณมี่
ช่วงแรกลงทุนถือหุ้น 1-2 ตัว เคยฟังอ.นิเวศน์ให้เลือกหุ้นเหมือนเลือกภรรยา
พอเราตกผลึกเข้าใจใหม่ อาจจะใช้วิธีเลือกเหมือนเลือกคู่ แต่วิธีจัดการพอร์ตอาจไม่ต้องทำแบบนั้น
พอพอร์ตมาถึงจุดหนึ่งที่พอใจแล้วกำเงินสดออกไปนอกตลาดราว 20-30%
ตอนนี้กระจายความเสี่ยงออกไปต่างประเทศ 15% ที่เมืองจีน ส่วนหุ้นไทยถือประมาณ 10 ตัว
ไม่รวยเร็วไม่เป็นไร แต่ชีวิตไม่อยากเปลี่ยนให้ถอยกลับไป
บางคนเสียหาย 3 ล้านนอนหลับ บางคนเสียหาย 3 หมื่นนอนไม่หลับ
ก็ต้องปรับให้เหมาะกับเรา มีหมื่นล้านเป็นโรคมะเร็งก็ไม่มีความหมาย

คุณทศ
ถือหุ้นเกือบ 100% ตั้งแต่เริ่มต้นการลงทุน จนกลางปีที่แล้วถือ 50% แต่เพราะหาหุ้นที่ตรงเกณฑ์ไม่ได้ จึงไม่เล่น
ตอนนี้กลับมาเกือบ 100% แต่มีซื้ออสังหาฯเล็กน้อย ทุกปีที่ผ่านมาโอกาสจะมากขึ้น ไม่เดาอะไร
เมื่อเกิดแล้วมีทัศนคติที่ดีกับมัน แล้วมองโอกาสจะพลิกชีวิตได้เลย

หมอเค
ลงทุนหุ้น 100% มีหุ้น 5 ตัว ขึ้นกับชอบมากหรือน้อย ถ้าเข้าเกณฑ์เรามากๆก็ถือมาก
ไม่เข้าก็ถือน้อย แต่ส่วนตัวคิดช้าบางตัวเพื่อนขายแล้ว เราถือไป 3 ปี บางทีก็ขายเร็วไป
เราได้เรียนรู้ไปกับผู้บริหารและเป็นบทเรียนที่ไปลงทุนกับบริษัทอื่นได้
อย่างที่บัฟเฟตต์เคยลงทุนใน sea candy ทำให้เข้าใจในพลังของแฟรนไชส์
จนทำให้เห็นโอกาสลงทุนในโคคาโคล่าและได้กำไรมาก
จะแบ่งพอร์ตและคาดการณ์กำไร 3 ปีข้างหน้าถ้าราคาหุ้นมาถึงก่อนก็ขายหาตัวใหม่ ถ้าไม่ได้ก็จะถือเงินสด
อีกส่วนมีการกระจายไปลงทุนต่างประเทศ ในบริษัทที่ใช้อยู่ประจำ และผลประกอบการก็เติบโตอยู่เรื่อยๆ
ในช่วงหลัง พบว่ามีความเสี่ยงในตลาดหุ้น ได้คุยกับผู้ประกอบการหลายคนก็พบว่าเขาอยากเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้นกันมากขึ้น
เดิมนักลงทุนต้องศึกษาผู้บริหาร ตอนนี้ผู้บริหารก็ศึกษาว่านักลงทุนชอบอะไร
เช่น ชอบเติบโตเยอะๆ ผู้บริหารก็ซื้อบริษัทเข้ามา ให้โตเยอะๆ จึงต้องระมัดระวังศึกษาให้ดี
อ.ไพบูลย์เสริม สังเกตว่าทุกคนจะมีสัดส่วนในหุ้นเยอะ ไม่ใช่ทุกคนควรทำแบบนี้
แต่ละคนกลัวความเสี่ยงไม่เท่ากัน ถ้ากลัวความเสี่ยงมากก็อย่าเอาเงินไปใส่ในหุ้นทั้งหมด
การจัดการแบ่งเงินสำคัญกว่าการเลือกหุ้นด้วยซ้ำไป อย่าง อ.สมจินต์มักพูดถึงการจัดพอร์ตเหมือนฟุตบอล
อย่าคิดแต่ยิงประตู กองหน้าตายหมด ต้องมีกองหลัง โกลเก่งๆ จะได้ไม่แพ้

ขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ พี่หมอเค และ ทีมงาน money talk ทุกท่านครับ
ขอบคุณแขกรับเชิญ ผู้บริหารทุกท่าน พี่ๆVI พี่มี่ พี่กานต์ พี่ทศ พี่เค ที่มาให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์

ข้อมูลที่แชร์หากมีผิดพลาด ตกหล่นอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตาม VDO ฉบับเต็มได้ทาง fb live, youtube และช่อง TV ครับ
_________________________________________________________________
MoneyTalk@SET ครั้งต่อไป อาทิตย์ 22 เม.ย. 61 เปิดจองเสาร์ 14 เม.ย.61
หัวข้อ 1 MBA ยุค digital เส้นทางมืออาชีพ
แขกรับเชิญ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน, ดร.นิเวศน์, ดร.กำพล (รองอธิการนิด้า)
หัวข้อ 2 อยากเป็นนักลงทุน VI ต้องทำอย่างไร
แขกรับเชิญ ดร.นิเวศน์, คุณธันวา เลาหศิริวงศ์, คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ,คุณวราพรรณ(theenuch)
Go against and stay alive.
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

Re: Moneytalk@SET18/3/61หุ้นเด่นQ1และVIรุ่นใหม่

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปล. กลอนช่วง 2 อ.เสน่ห์วันนี้อินเทรนด์มากครับ…

ฤาวีไอ รุ่นใหม่ ได้โอกาส เป็นบุพเพ สันนิวาส แต่ชาติก่อน
ร่วมลงทุน หนุนส่ง คงนิกร มาถึงตอน ขึ้นเวที ชี้มุมมอง
ท่านหลวงมี่ ทิวา วาจาเด่น อดีตเป็น วินมอไซค์ ไร้เรื่องหมอง
โกษากานต์ ณัฐชาต มาดไม่รอง เป็นเบอร์สอง สมาคม น่าชมเชย
พระยาเค ศุภศักดิ์ รักหญิงจ๋า ได้ธิดา องค์น้อย ค่อยเฉลย
ท่านขุนทศ ทศวรรษ จัดเต็มเลย เอาละเหวย รู้กัน ในวันนี้
ออกญาเต่า เจ้านิเวศน์ พิเศษโหร รู้ดาวโจนส์ ยันหุ้นไทย ไม่เคยหนี
พระไพบูลย์ พูนสวัสดิ์ จัดสิ่งดี หมื่นเสน่ห์ ชาญวาที มีคารม
มองหุ้นไทยจะไปต่อไหมออเจ้า หุ้นแมงเม่า หุ้นวีไอ ไทยอาหม
กลุ่มไหนเด่น กลุ่มไหนดี ที่นิยม อย่าบรรทม ตะวันลับ ค่อยกลับเรือน
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 262

Re: Moneytalk@SET18/3/61หุ้นเด่นQ1และVIรุ่นใหม่

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับน้องบิ๊ก
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 38

Re: Moneytalk@SET18/3/61หุ้นเด่นQ1และVIรุ่นใหม่

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากเลยค่ะ :wink:
โพสต์โพสต์