MoneyTalk@SET3/2/61เศรษฐกิจโลก,ไทย61&กระแสเงินจัดพอร์ต

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET3/2/61เศรษฐกิจโลก,ไทย61&กระแสเงินจัดพอร์ต

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปสัมมนา Money Talk@SET 03/02/2018

ช่วงที่ 1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยในปี 2561
แขกรับเชิญ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


ตลาดหุ้นอเมริกาปิดลดลง 600 กว่าจุดสาเหตุจากอะไร?
ตลาดกลัวเรื่องหลัก ตัวเลขการจ้างงานนอกภากการเกษตร สูงกว่าคาดเอาไว้
เพราะตลาดแรงงานร้อนแรง การจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.8-1.9 เป็น 2 แสน และปรับตัวเลขดีขึ้นด้วย
ตลาดกลัวมาก คือ ตัวเลขเงินเดือน เดิมคาด ปรับเพิ่ม 0.2% จากเดือนก่อนหน้า ผลออกมาเพิ่ม 0.3%
หากเปรียบเทียบเป็นเเต็มปี YoY เดิมคาดปรับเพิ่มขึ้น 2.5-2.6% ผลออกมาเป็น 2.9%
ทุกอย่างขึ้นกับความกลัวเงินเฟ้อ ทั้งตลาดอเมริการวมไปถึงตลาดโลก เพราะ FED เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินโลก
ก่อนหน้านี้คาดว่าตลาดจะขึ้น 2 ครั้ง แต่ตอนหลัง มองว่าตลาดจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง
แต่เมื่อคืน ตลาดล่วงหน้าเริ่มมองว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง โอกาส 20%
หุ้น S&P 500 Trailing PE 26 เท่า ค่าเฉลี่ยในอดีต 15.7 แพงกว่าอดีต 40%
พอหุ้นแพงก็มีโอกาสลงได้ ถ้าตลาดไม่ดี โดยเฉพาะดอกเบี้ยขึ้น
ในอดีตเวลาตลาดหุ้นลงแรงๆ 5 วันต่อไปโอกาส 70% หุ้นจะเด้งขึ้น 2-3%
ที่สำคัญคือ เงินเฟ้อจะมาจริงหรือไม่? ถ้ามั่นใจว่าเงินเฟ้อไม่มา หุ้นจะกลับขึ้นมาใหม่
ในอดีต ตั้งแต่ปี 2015,2016,2017 FED เชื่อมาตลอดว่าเงินเฟ้อจะกลับมา
แต่สุดท้ายเงินเฟ้อก็ไม่มา ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น
ปกติถ้าตลาดแรงงานตึง มีปัญหาคนทำงานน้อย เงินเดือนขึ้น จะทำให้เงินเฟ้อขึ้น
แม้แต่เจเนต เยลเลน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดแรงงาน ยังไม่เข้าใจว่าตลาดแรงงานที่ตึงมาตลอด เงินเดือนจึงไม่ขึ้น
ขณะที่ตอนนี้ปรับเพิ่มเพียงเล็กน้อยตลาดยังตกใจ

ประเด็นคือ ขึ้นเกินกว่าที่คาดเล็กน้อย ปัจจุบัน ตัวเลขการว่างงาน 4.1% FED มองว่า 4.5% เป็นต้นไปตึงมากแล้ว
คาดว่าปลายปีจะเหลือ 3.9% จึงสามารถสรุปได้ว่า เงินเฟ้อมีโอกาสขึ้น ตลาดแรงงานตึง > เงินเดือนขึ้น > ราคาสินค้าขึ้น
สิ่งที่ตลาดพยายามทำความเข้าใจอยู่คือ แนวโน้มของเงินเดือนและเงินเฟ้อ

นโบายทรัมป์ลดภาษี 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทได้ประโยชน์เป็นหลัก 1.1 ล้านล้าน
ประชาชนได้ 5 แสนล้าน ซึ่งบริษัทได้ประโยชน์ในระยะยาว จึงมีกระแสที่บางบริษัทประกาศโบนัสเป็นพิเศษ
เช่น Walmart ขึ้นค่าจ้างขั้นต่อ, ให้โบนัสพิเศษ 1-2 พันเหรียญต่อคน จึงมีกระแสตรงนี้ที่อาจทำให้เงินเฟ้อเพิ่มได้

ตลาดจะปรับดอกเบี้ยขึ้นเป็นขาเดียวหรือไม่?
ปัจจุบันเศรษฐกิจอเมริกาโต 2.5% ว่างงาน 4.1% แปลว่า ไม่มีกำลังแรงงานเหลือ และโต 2.5 แล้ว
FED ประเมินไว้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐสามารถโตได้ต่อเนื่องและไม่มีปัญหาเศรษฐกิจได้ที่ 1.7%
แสดงว่าโตเร็ว โตแรงกว่าปัจจัยพื้นฐาน จึงสรุปว่าเงินเฟ้อจะมา เพราะการจ้างงานเต็มที่แล้ว
เวลาเศรษฐกิจอเมริกาปกติ ดอกเบี้ยนโยบาย 3% ซึ่งตอนนี้กลับมาปกติแล้ว อัตราว่างงานก็ดีกว่าปัจจัยพื้นฐาน
ดังนั้นดอกเบี้ย 1.25-1.5% ดอกเบี้ยระยะสั้นจะขึ้นได้อีกเท่าตัว
ตัวที่สำคัญกว่าคือ ดอกเบี้ยพันธบัตร ระยะยาว 10 ปี 2.84%
ขึ้นมารวดเร็วในระยะเวลา 4 เดือน
ค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว อยู่ที่ 4-5%
ดังนั้น ดอกเบี้ยระยะสั้น/ระยะยาว มีโอกาสปรับขึ้นได้อีก 1.5-2%

เวลาดูหุ้น เราดู PE ปัจจุบันคือสูงกว่าเฉลี่ยในอดีต
อีกวิธีดูการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง/ไม่เสี่ยง ได้ส่วนต่างเท่าไร
S&P PE 26 E/P = 4% แต่ซื้อ bond ได้ 2% เงินอยากไปลงทุนที่หุ้น
แต่ถ้า bond ขึ้นไป 4% แสงดว่า PE 26 จะอยู่ไม่ได้ อาจจะกลับไป PE 15 (E/P = 6.7%)
ยกเว้นถ้า E (Earning) จะเพิ่มสูง จะทำให้ PE ลดต่ำลง เป็นความหวัง

กำไร ถ้าดีมากจะเพิ่มขึ้น 15%
นักวิเคราะห์บางทีจะดูที่ PEG PE 25 EPS Growth 15% ดังนั้น PEG ไม่ถึง 1
ดังนั้น หุ้นจึงค่อนข้างแพง

ตลาดจะหวั่นไหวเรื่องเงินเฟ้อ มากกว่าเรื่องราคาน้ำมันอีก

ปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวกับเงินเฟ้อ ?
นอกจากแรงงานที่เป็นปัจจัยสำคัญการผลิต ก็มี ราคาน้ำมัน
ในอดีตยุค 70 น้ำมันขึ้น 4 เท่า เงินเฟ้อขึ้น 2 หลักทั่วโลก แต่ทุกวันนี้มี Shale oil/gas
ถ้าน้ำมันขึ้นไปถึง 60-70 เหรียญ จะมีผลผลิตของ Shale oil ขึ้นมาทันที
(เจาะน้ำมัน/แก๊สจากหินที่มีอยู่ และทำได้รวดเร็วใน 3-6 เดือน)
เป็นการเพิ่ม supply แทนน้ำมัน และสามารถเพิ่มได้ในเวลาอันสั้น
จะทำให้ราคาน้ำมันแกว่างน้อย และมีกำแพงราคา
นอกจากนี้ ถ้าดูข่าว นสพ. ทุกค่ายกำลังทำรถ EV และบริษัทรถยนต์กำลังจะออกรถ EV มากว่า 100 รุ่น
Bank of america merrill lynch วิเคราะห์ว่า ความต้องการน้ำมันจะ Peak ในปี 2030
ดังนั้น ยากที่จะมองว่าราคาน้ำมันจะขึ้นได้เยอะๆ เหมือนสมัยก่อน
เพราะปัจจัยเศรษฐกิจทำให้น้ำมันไม่ใช่ปัจจัยผลิตหลักเหมือนสมัยก่อน
อย่างที่กล่าวว่า เจเนต เยลเลน ยังงงว่า ทำไมเงินเฟ้อไม่มาสักที
อาจเพราะประชากรแก่ตัว แล้วไม่ค่อยใช้จ่าย หรือเรื่องเทคโนโลยี ที่อเมซอนเข้าไปซื้อร้านขายของชำ ทำให้ราคาลดลง
แต่สิ่งที่ตลาดหุ้นเป็นห่วง คือ เราไม่ต้องไปถึงจุดเงินเฟ้อเพิ่มเยอะ แค่กลับมาภาวะปกติ 2%
Core PCE 1.5% และ ดอกเบี้ยกลับไปปกติ ไปถึง 3% เท่านั้นตลาดหุ้นก็ขึ้นได้ลำบากแล้ว
เพราะตลาดหุ้นแพงกว่าปกติเยอะ อะไรที่จะทำให้เงินเฟ้อขึ้นไปอีก ยังไม่เห็นปัจจัย นอกจากทรัมป์

ต่อไป คนจะตกงานเยอะ เพราะมีเทคโนโลยี,ระบบอัตโนมัติ?
การขาดคนทำงานจริง แต่เทคโนโลยีวิวัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แม้ขาดคนทำงาน แต่เงินเฟ้อขึ้นไม่เยอะ
เทคโนโลยีบางอย่างใช้ทรัพยากรน้อยมาก เช่น Facebook market cap ใหญ่กว่า
General Motor เยอะ แต่แทบไม่ได้ใช้ทรัพยากรเมื่อเทียบกับบริษัทสร้างรถยนต์
เมื่อ 10-15 ปีก่อน อยากได้โทรทัศน์ขนาดใหญ่ จอ 30 นิ้ว ต้องมีโปรเจคเตอร์กล่องใหญ่ๆ ราคาเกือบแสน หนักมาก
แต่สมัยนี้ 30 นิ้ว ราคา 7-8 พัน ขนาดเล็ก เบา ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิมมาก

ตลาดหุ้นกำลังเป็นขาลงหรือยัง?
เป็นไปได้ ในบทความพูดถึงเรื่อง inflection point คือจุดที่ทำให้หุ้นตกหรือยัง
เดิมนักวิเคราะห์มองว่า 3% หรือ 3.5% แต่ตลาดหุ้นเจอ 2.6-2.7% ก็ถอยแล้ว
Earning growth ดีขึ้น, ลดภาษีก็ทำไปแล้ว
ตัวที่ยังไม่รู้ ดอกเบี้ยระยะยาว ไปถึงจุดไหน และไปเร็วหรือไม่
บางคนบอกว่า ดอกเบี้ยระยะยาวขึ้นเพราะเศรษฐกิจดีก็ไม่เป็นไร
1) ปรับเพิ่มเร็ว เดือน ก.ย. – ก.พ. ขึ้นเร็วมาก จาก 2 เป็น 2.8%
2) ดอกเบี้ยระยะยาวขึ้น เพราะนักลงทุนมองแง่ดี หรือไม่ดี?
Behind the curve คือ ไล่ขึ้นดอกเบี้ยตามเงินเฟ้อ จะมีปัญหาว่าต้องปรับขึ้นตาม
ซึ่งจะต้องปรับเพิ่มมากกว่าที่คาดไว้เดิม จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไม่ได้
ดังนั้น ต้องดูว่าการขึ้นเพราะเศรษฐกิจดี ค่อยเป็นค่อยไป หรือขึ้นแบบรวดเร็วเพราะกลัว FED จะตามเงินเฟ้อไม่ทัน

QE สถานะเป็นอย่างไร? จะมีผลอย่างไร?
อเมริกาเริ่มถอย QE แล้ว เดิมงบดุลแบงค์ชาติอเมริกามี 9 แสนล้านเหรียญ
ไล่ซื้อพันธบัตร เพิ่มอีก 3.5 ล้านล้านเหรียญ กลายเป็น 4.4 ล้านล้านเหรียญ
ตั้งแต่ ต.ค.60 ไม่ซื้อเพิ่มและปล่อยให้หมดอายุ 2 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน
ราคาพันธบัตรรัฐบาลจะต้องลดลง และผลตอบแทนจะต้องขึ้น ทำให้ความน่าลงทุนในตลาดหุ้นลดลง
ทรัมป์ลดภาษี มีอีกข่าวที่ทำให้ตลาดพันธบัตรหวั่นไหว
คือ ปีก่อนกระทรวงการคลังต้องกู้เงิน 5 แสนล้านเหรียญ(ออกพันธบัตร)
แต่ผ่านกฏหมายภาษีทรัพป์ ต้องออกเป็น 9 แสนล้าน และปีถัดไปเป็น 1 ล้านล้านเหรียญ
ข่าวออกช่วงพุธ-พฤหัสที่ผ่านมา ตลาดหุ้นดาวโจนส์จึงเริ่งแกว่ง

เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเป็นอย่างไร?
ฟื้น การส่งออกดี การท่องเที่ยวดีมาก แต่การฟื้นตัวไม่กระจายตัว สาเหตุที่ยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจดี
1) NPL ยังสูงขึ้น ต่อเนื่อง ตั้งแต่ 2014
และเริ่มกระจายไปในภาค mortgage(หนี้จำนองบ้าน) ในคนกลุ่มวัยทำงาน Gen X, Gen Y
2) ตัวเลขการจ้างงานใน 3 ปีที่ผ่านมา ลดลง ปริมาณคนในวัยทำงานลดลง แต่การจ้างงานลดลงมากกว่า
3) ตัวเลข weight bill เงินเดือนทุกคน x เงินเดือน ในช่วง 2-3 ปี เงินเดือนไม่ขึ้น
ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่ดี เพราะ หนี้เพิ่มขึ้น แต่เงินเดือนไม่ขึ้น
ในอดีต ส่งออกฟื้น ภาคอื่นฟื้นเร็วมาก เพราะ ผลิต 60% จึงไม่มีคนเร่งผลิตเพิ่มหรือขยายลงทุน
Sector ที่โตดีคือ ส่งออก แต่ บาทแข็ง ทำให้ order ครั้งต่อไป อัตรากำไรจึงลดลง
ดังนั้น Sector ที่โต ก็โตได้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ ตลาดหุ้นเราจึงโตช้าๆเหมือนกัน
ของเราเติบโตโดยเงินเฟ้อใกล้ 0 คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่อายุมากคือมีเงินออม และมูลค่าไม่ตกด้วย
ดังนั้นถือเงินออมสุทธิจะได้ประโยชน์ในยุคที่เศรษฐกิจโตช้าๆ เงินเฟ้อต่ำๆ

หุ้นไทยจะเป็นอย่างไร?
นักกลยุทธ์ บลจ.ภัทร คิดว่า SET อยู่ราว 1850 ตามปัจจัยที่กล่าวข้างต้น
แต่ถ้าราคาน้ำมันปรับขึ้นอีก อาจทำให้ตลาดหุ้นไทยขึ้นได้อีก เพราะมีหุ้นที่อิงราคาน้ำมันสัดส่วนเยอะ

ดอกเบี้ยนโยบายไทยควรปรับลดลงหรือไม่? มีคนบอกค่าเงินบาทแข็งเพราะดอกเบี้ยไทยดีเกินไป?
คาดว่าดอกเบี้ยแบงค์ชาติจะไม่ปรับขึ้นทั้งปี ตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายของเราและอเมริกาเท่ากันแล้ว
ถ้าอเมริกาปรับขึ้น 3 ครั้ง ดอกเบี้ยเราจะต่ำกว่าอเมริกา 0.75 basis point
ที่จริง ดอกเบี้ย 2 ปีของไทย และ 10 ปีของไทย ดอกเบี้ยต่ำกว่าอเมริกาแล้ว
ต่ำกว่า 40 basis point เพราะเงินเฟ้อต่ำกว่าอเมริกา 1% กว่า

เงินเฟ้อ อเมริกา 2% ไทย 0.7% ส่วนต่าง 1.3% เงินเฟ้อคือการเสื่อมค่าของเงิน
เสื่อมปีละ 2% ของไทยเสื่อมปีละ 0.7 ปีก่อนหน้าติดลบด้วยซ้ำ => เงินเฟ้อไทยต่ำมาก
จึงเป็นเหตุผลที่ ค่าเงินบาทต้องแข็ง purchasing power parity
ปีก่อน เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกือบ 5 หมื่นล้านเหรียญ
(มีคนต้องการแลกเงินบาท มากกว่าเอาเงินบาทไปแลกดอลลาร์)
ตัวนี้คือปัจจัยพื้นฐานให้เงินบาทแข็งค่า ปีก่อนไหลออก 2 หมื่นล้านเหรียญ
แบงค์ชาติจึงพยายามเปิดเสรีให้ลงทุนต่างประเทศ
แบงค์ชาติแทรกแซงเพื่อชะลอการแข็งตัวของเงินบาท
ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติรู้ว่าเป็น one way bet ค่าเงินบาทจะแข็ง จึงมีเงินลงทุนเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง

ปีที่แล้วหุ้นไทยขึ้น 13-14% เงินบาทแข็ง 10% ต่างชาติซื้อหุ้นไทยได้กำไร
ดังนั้น เราต้องหวังว่าอเมริกาจะมีเงินเฟ้อเยอะๆ FED ขึ้นดอกเบี้ยเยอะๆ จะทำให้บาทอ่อน และเงินเฟ้อเพิ่ม
จะมีแรงชักจูงให้ขยายกิจกรรมลงทุนในประเทศ่ส่วนหนึ่ง

แนะนำอย่างไรต่อในการลงทุน?
ยังไม่มีใครกล้าฟันธง ต้องดูเงินเฟ้อจะมาหรือไม่
หาก ม.ค. ตัวเลขแผ่วลง การจ้างงานอเมริกาแผ่วลง
เงินเดือนไม่ได้ปรับขึ้น Core PCE(ดัชนีรายจ่ายบริโภคส่วนบุคคล)ไม่เพิ่มขึ้น
ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิม เหมือนช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ช่วงแรกกลัวเงินเฟ้อกัน แล้วพอกลางปีความกังวลก็หายไปแล้ว
ดังนั้น ตลาดจะมองว่านโยบายการเงินไม่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยที่อเมริกา ยุโรปยุติการทำ QE เดือน ก.ย.
แต่ยังไม่ขาย Bond ญี่ปุ่น ยืนยันจะซื้อพันธบัตรต่อ
ดังนั้น หากเงินเฟ้อไม่มา และ FED ไม่ขึ้นดอกเบี้ยมาก , ยุโรปกับญี่ปุ่นยังไม่ได้อยากขึ้นอยู่แล้ว
ดังนั้น ตลาดจะกลับมาเล่นเหมือนเดิม FED เดินนโยบายผ่อนคลาย

แต่จาก นโยบายทรัมป์ลดภาษี ตลาดแรงงานตึง ราคาน้ำมันขึ้นไปแล้ว
จึงยังไม่ค่อยกล้าเชื่อว่าจะเหมือน 2-3 ปีก่อน
เราอยากให้ PE ลดลง โดย E เพิ่มขึ้น แต่ถ้า E ไม่เพิ่มขึ้น P ต้องลดลง

ปัจจัยที่คนยังไม่ค่อยพูดถึง คือ การกีดกันการค้าของทรัมป์
มีความเสี่ยงว่า ทรัมป์จะทำหรือไม่ในปีนี้ เช่น เจรจา NAFTA 6 รอบยังไม่คืบหน้า
และพูดว่าทรัมป์อาจจะยกเลิกข้อตกลง NAFTA คือ การเอาชิ้นส่วนราคาถูกจาก เม็กซิโก แคนาดา มาผลิต
ต้นทุนเพิ่ม => ราคาเพิ่ม ดังนั้น ราคาสินค้าในประเทศจะเพิ่มขึ้น
หรือ การลงโทษจีนขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้น ภาษีสินค้าจากจีน 30% => เงินเฟ้อจะพุ่งกระฉูด
ถ้าทรัมป์ทำตามที่พูดจริงๆ มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะพุ่งสูงกว่าที่คาดได้
มีโอกาสที่จะเกิดการ Panic ตลาดหุ้นลดลง 10-20%
ปี 2522 มีเหตุการณ์ ราชาเงินทุน บลจ.เจ๊ง ปี 30 Black Monday ปี 40 วิกฤติ ต้มตำกุ้ง
ปี 51 Hamburger crisis ปี 61 จะมีอะไรไหม?
ถ้ามองกลับไปตอน 2007-2008 เบน เบนันเก้ เป็นคน เอา QE เข้ามา โดยซื้อพันธบัตรระยะยาว
ปกติ FED นโยบายการเงิน คุมเฉพาะดอกเบี้ย ข้ามคืน แล้วที่เหลือขึ้นกับกลไกตลาด
แต่เขาไปซื้อพันธบัตรทั้งเส้นให้ต่ำลง (Portfolio balancing)
แปลว่า ต้องการให้คน ไม่เอาเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยง
แต่ให้เอาเงินไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้น
ดังนั้น FED เหมือนเป็นเจ้าของบ่อน ที่คนเล่นเข้ามาแทงก็ถูกตลอด
จนกระทั่งมายกเลิกในสมัย เยลเลนเมื่อปลายปี 60
ยุคนั้นหมดพอดีในปี 61 ดังนั้น สภาพคล่อง กลับมา และหุ้นแพง
เพราะไม่มีคนมาแย่งซื้อพันธบัตรที่เสี่ยงต่ำ แล้วประชาชนจะโยกเงินจากตลาดหุ้น มาซื้อพันธบัตรหรือเปล่า?
ตามแผนถอย QE 5 ปีจะถอยได้ 2 ใน 3 ของที่ซื้อทั้งหมด

สรุป คิดว่าไม่น่าเกิด Panic เพราะ FED ก็ยังสงวนสิทธิ์ที่จะซื้อพันธบัตรกลับมาได้อีก
ไม่งั้นก็ต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาอีก เช่น ที่ยกตัวอย่างกีดกันการค้ากับจีน

ตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร?
ปรับตัวตามตลาดโลกระดับหนึ่ง แต่ระยะหลังบทบาทต่างชาติลดลงไปมาก
เพราะเขาไม่ได้ซื้อหุ้นไทยสุทธิ หรือซื้อน้อยมาก ส่วนใหญ่ไปเล่นตลาดพันธบัตร
ดังนั้น ขึ้นกับกองทุนของเราเป็นหลัก
อย่าง มาเลเซีย จะทำให้ตลาดหุ้นมีเสถียรภาพระดับหนึ่ง
แต่ตลาดหุ้นไทยตัวใหญ่เกี่ยวกับน้ำมัน จึงมีผลกระทบจากราคาน้ำมันมาก
หรือหุ้นใหญ่อย่างธนาคารก็มีผลกระทบกับ
ดอกเบี้ยต่างประเทศจะปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับโครงสร้างเช่น ไทยพาณิชย์ ลดคนเป็นหมื่น
เพราะระบบเปลี่ยนแปลงไป ใช้คนลดลง

คิดอย่างไรกับ Bit coin ?
เป็นเรื่องยาก ถ้ามองกลับไปเริ่มปี 2008-2009 คนที่คิดค้นขึ้นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการเงินอเมริกา
เขาบอกไม่ไว้ใจระบบสถาบันการเงิน ไม่ไว้ใจแบงค์ชาติของโลก
จึงมาสร้างระบบการเงินใช้ blockchain เป็นสิ่งที่ทางการไม่ควบคุม
ถ้ามองว่า bitcoin เป็นเงิน ต้องมี 3 หน้าที่หลัก
1. Medium of exchange เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยน
2. Store of value ต้องเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ดได้
3. Unit of account วัดได้ บอกมูลค่าได้
ซึ่ง bit coin ไม่ต้องทั้ง 3 ข้อ ดังนั้น bit coin ไม่ใช่เงิน แต่เป็น commodities
ต้องถามว่าเป็น commodities ที่ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? ทองคำยังใช้ได้ แต่ bit coin ใช้อะไรไม่ได้เลย
ใครๆ ก็สร้าง currency ใหม่ได้ แค่รู้จักเทคโนโลยี block chain
จึงนึกไม่ออกว่าจะให้มูลค่า Bitcoin ตรงไหน แต่เขาออกแบบให้ทำ bit coin ใหม่ หรือ mining ได้ยากขึ้น
ที่จีน ค่าไฟฟ้าให้สร้าง bitcoin ใหม่ที่จีน เท่ากับค่าไฟฟ้าที่ใช้ที่ สิงคโปร์ได้ 1 ปี เป็นการทำให้ทำ bit coin ใหม่ได้ยาก

ปัจจัยสำคัญคือ ทางการทั่วโลก ไม่ชอบ และควบคุม bit coin ยิ่งจะทำให้มีปัญหา
ถ้าจะทำให้ bit coin มีผลกระทบกับเศรษฐกิจได้ ต้องทำให้ทางการยอมรับ
ตรงกันข้าง bit coin ถูกมองว่าเอาไว้ใช้ฟอกเงิน ต้องกีดกัน bit coin จึงมองว่ารุ่งไม่ได้

เศรษฐกิจไทยมองไป 4-5 ปีข้างหน้าทิศทางเป็นอย่างไร?
คิดว่ารัฐบาลมียุทธศาสตร์ชัดเจนคือ EEC เป็น engine of growth ใน 5 ปีข้างหน้า
ถ้ากลั่นให้เห็นแก่นสารสำคัญของ EEC คือ อู่ตะเภา เป็นสนามบินที่ปัจจุบันใช้กับผู้โดยสาร 1 ล้านคน
แต่สามารถใช้ได้ 20-30 ล้านไม่ยาก
ถ้าไปดูโครงการที่ให้ความสำคัญคือเน้นทำสนามบินอู่ตะเภาให้เพิ่มกำลังใช้งานได้มาก
และรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสุวรรณภูมิและอู่ตะเภา
ทำให้ 3 สนามบินเชื่อมกันได้หมด จะลดความแออัดของสุวรรณภูมิ
ที่ไม่ควรใช้เกิน 50 ล้าน แต่ใช้ 57 ล้าน ดอนเมืองปัจจุบันก็เริ่มแน่นมากแล้ว
นอกจากนี้มี air bus ที่เข้ามาทำ MRO (บริการ,ซ่อมแซมเครื่องบิน)
และนิคมอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องบิน
ของเดิมโครงการที่รัฐบาลคือ ท่าเรือแหลมฉบัง และมาบตาพุด ต้องขยายของเดิม
และการออกกฏหมาย EEC จะให้การส่งเสริมดีกว่าเดิม ให้คนมาลงทุนในพื้นที่เดิม
และใช้มาตรา 44 ยกเลิกแผนเดิมเพื่อขยาย และเพิ่มอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง
มีของใหม่คือ สนามบิน อุตสาหกรรมเครื่องบิน ของเก่า คือ อุตสาหกรรมเก่าลงทุนเพิ่ม และขยายท่าเรือ
ภาพของใหม่ที่จะ พัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวใหม่ จากสัตหีบ ไปพัทยาเลย
เหมือนภาคใต้ของฝรั่งเศส ถ้าทำได้ดี ภูเก็ตอาจสู้ไม่ได้ด้วยซ้ำ
และใช้สนามบินใหม่ที่อู่ตะเภาเป็นตัวรองรับ
ฉะเชิงเทราจะทำเป็น IT City ก็หวังว่าจะมีธุรกิจแบบซิลิคอนวัลลีย์เข้าไปอยู่
เป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ เทียบกับของเดิมเราใช้ eastern seaboard รถยนต์ ปิโตรเคมี เกษตรกรรม


ช่วงที่ 2 เศรษฐกิจ กระแสเงิน-ผลกระทบหุ้นและการจัดพอร์ต

1) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล
2) ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนากุล
3) คุณกวี ชูกิจเกษม
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และอ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

แนวโน้มหุ้นไทย และผลกระทบ?
ดร.สมจินต์
ดูในภาพใหญ่โลกกำลังดีขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ภูมิภาคอื่นทั่วโลกค่อยๆดีขึ้น PIMCO คาดว่า อัตรา world real GDP Growth 3-3.5% เงินเฟ้อ 2-2.5%
มองในภาค Real sector สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ในตลาดทุนจะมีความกังวลบ้างว่าจะส่งผลไปเกิดกับการขึ้นดอกเบี้ย
มองว่า การขึ้นดอกเบี้ยของ อเมริกาเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ แค่จะขึ้นเร็วหรือช้าอย่างไร
ยุโรป ยังมีนโยบายผ่อนปรนต่ออีกช่วงเวลาหนึ่ง
กระแสเงินที่เข้าใน emerging market น่าจะยังดี
สำหรับในไทย real interest rate ถ้าเอาเงินลงทุนในพันธบัตรไทย เทียบกับเงินเฟ้อที่ไม่ถึง 1 %
ได้ real interest rate สูงเมื่อเทียบกับอเมริกา รวมถึงได้ประโยชน์จากค่าเงินด้วย
PE SET 16 เท่า ถือว่าสูงเมื่อเทียบในอดีต ขณะเทียบกับ พันธบัตรที่ได้ผลตอบแทน 2.5%
แต่ ปันผลหุ้นไทยได้ 2.6-2.7% ยังไม่แย่เกินไป
ดังนั้นภาพใหญ่ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังไปต่อได้ แม้จะผันผวนบ้าง แต่ยังมีโมเมนตัม
ส่วนตัวไม่ได้เป็น นัก Market timing (เก็งตลาด) เชื่อว่ามีความผันผวน ตลอดเวลา
ถ้าตลาดไม่แพงหรือไม่ถูกเกินไป การจัดสรรน้ำหนักลงทุนให้เหมาะสม เป็นพื้นฐานตัดสินใจสำคัญ
ตอนนี้ไม่ได้ bullish หรือ bearish แต่เชื่อว่า การลงทุนตลาดหุ้นในระยะยาวยังสามารถทำได้

ดาวโจนส์ลง หกร้อยกว่าจุด หุ้นไทยจะลงแค่ไหน?
ดร.วิศิษฐ์ ปัจจัยพื้นฐานขอเสริมจากอ.สมจินต์ ว่าเศรษฐกิจโลกดีขึ้นจริง ทั้ง GDP
และเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อเพิ่มมากกว่า GDP จึงเป็นเหตุผลให้ ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเร็ว
ผลตอบแทนตลาดหุ้นโลกใน 1 เดือนที่ผ่านมาเพิ่ม 5.8% ดีที่สุดครั้งหนึ่งอันดับ 3 ในรอบ 30 ปี
ผลตอบแทน emerging ตลาดเกิดใหม่ ให้ผลตอบแทน 8.3%
ราคาน้ำมัน 7% หุ้นอเมริกา 5% หุ้นไทย 4.6%
สิ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดพันธบัตรสหรัฐให้ผลตอบแทน -1.3% เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009
หมายความว่ามี Fund flow ไหลออกจาก Develop market, ตลาดสหรัฐ เข้า emerging market
ตลาดไทย ฝรั่งขาย 5 พันกว่าล้าน ซื้อพันธบัตร แสนกว่าล้านในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
สิ่งที่น่าสนใจ ตลาดหุ้นจีน นักลงทุนซื้อ 8.5 หมื่นล้านเหรียญ
คือ flow ไหลเข้าตลาดหุ้นจีนสูง เพราะ GDP โตดี Earning โตดี China A share มีการปรับพอร์ตเพิ่มเข้ามา
ดูจากงบดุล ธนาคารกลางโลกทั้งหมด 14 ล้านล้านเหรียญ
อเมริกาขึ้นดอกเบี้ย Bond yield 10 2.7-2.8%
ถ้าดูไส้ใน เป็นส่วนของเงินเฟ้อ 2.02 เป็นส่วนเม้ดเงิน 0.6-0.7 หมายความว่าดอกเบี้ยแท้จริงยังต่ำอยู่
4 ล้านล้าน ธนาคารสหรัฐ 10 ล้านล้าน ธนาคารกลางยุโรป+ยี่ปุ่น
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อีก 3 ปีข้างหน้า ดอกเบี้ยจะขึ้น 0.01%
ธนาคารกลางยุโรป อีก 3 ปีข้างหน้า ดอกเบี้ย 0.1% หมายความว่าตอนนี้ยังติดลบอยู่
พอเงินเฟ้อขึ้นมาจะมีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นค่อนข้างเยอะ จึงเป็นเหตุผลให้ผลตอบแทนตลาดทุนดี

ปีที่แล้ว emerging market ให้ผลตอบแทน 34% ปีนี้ 1 เดือน ให้ผลตอบแทนแล้ว 8.3 %
เม็ดเงินออกจากตราสารหนี้ ให้ตลาดทุน เป็นการหนีเงินเฟ้อ fund flow ไหลไปประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง
เม็ดเงินที่ไหลออกจากะนาคารกลางค่อนข้างสูง และมักมองหาประเทศที่ค่าเงินแข็งขึ้นด้วย
เดือนที่ผ่านมา ไทยแข็งค่าขึ้น 4% จีน 3.4% ญี่ปุ่น 2% รวมทั้งไต้หวัน,สิงคโปร์
มีประเทศเดียวทีค่าเงินอ่อนคือ ฟิลิปปินส์
Fund flow เลือกประเทศที่ Capital gain เติบโต และค่าเงินแข็งด้วย
อัตราจ้างงานดีขึ้น และเงินเฟ้อขึ้นมา ถ้าดูจาก real bond yield 5,10 ปี
ผลตอบแทนแท้จริงอยู่ที่ 0.6-0.7% เท่านั้น จึงยังมองว่าเป็นปีของตลาดทุนอยุ่ อาจจะมีช่วงปรับตัวจาก การออกจาก bond yield

เงินเฟ้อ ตอนนี้นักวิเคราะห์มอง 2.6 เป็น 3% ถือว่าสูง โดยมีโอกาสเป็นขั้นต่ำ
ตอนนี้ ที่สหรัฐขึ้นไป 2.2 -2.4%
ราคาน้ำมันปีก่อน 50 กว่าเหรียญ ตอนนี้ 60 กว่าเหรียญ
ดังนั้นขึ้นมาเกือบ 15-20% เป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ
ปีนี้เป็นปีแรกที่ตลาดตราสารหนี้สหรัฐให้ผลตอบแทนติดลบตั้งแต่ปี 2009
ปีที่แล้วให้ผลตอบแทนเกือบ 3% จึงเป็นเหตุให้เม็ดเงินหนีไปที่ตลาดทุน
ส่วนหนึ่งเข้าตลาดหุ้นจีน ส่วนหนึ่งเข้า emerging market
เงินเฟ้อมี Core inflation(ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพลังงาน,อาหารสด)
กับ inflation ที่เป็น head line อัตราเงินเฟ้อไทย ปีนี้เป็นปีท้าทาย
เพราะราคาน้ำมันปรับขึ้นมาค่อนข้างสูง จาก 50 เหรียญ ดังนั้นเงินเฟ้อจึงควรปรับขึ้นตามไป เงินเฟ้อมีหลายมิติ
demand full คนมีกำลังซื้อ อยากซื้อของแพงเพิ่มขึ้น อีกส่วนก็มาจากต้นทุนเพิ่ม
แต่พอมีเทคโนโลยีเข้ามาตัวกลางก็หายไป รวมถึงทำให้ต้นทุนต่างๆลดลง

กระแสเงินเข้าออกปีนี้จะเป็นอย่างไร?
ดร.วิศิษฐ์ ครึ่งเดือนแรก ม.ค. เข้าตราสารหนี้เยอะมาก
ครึ่งเดือนหลัง ม.ค. เข้าน้อยกว่าครึ่งแรก 1 เดือนเข้ามาแสนกว่าล้าน
แต่ fund flow กลับไม่ค่อยลงทุนหุ้นไทยเท่าไร
เหตุผลที่ fund ต่างประเทศยังไม่ซื้อหุ้นไทย
1 PE/Growth ของไทยยังไมน่าดึงดูดเทียบกับจีน
2 PBV, ROE ของไทยก็ยังไม่จูงใจ
3 Dividend yield ของไทยน่าดึงดูด จึงมีโอกาสที่ Fund flow จะเข้ามาลงทุนจากปัจจัยนี้ได้

คุณกวี
เดือน ม.ค. ตลาดหุ้น new high ก็ไม่ได้ผิดจากที่นักวิเคราะห์คาด
คำถามที่น่าสนใจว่าตลาดหุ้นจะทำ new high เพิ่มอีกไหม
ส่วนตัวเชื่อว่าจะมี new high อีก แต่จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
นักลงทุนต่างประเทศไม่ได้ซื้อหุ้นเท่าไร
กองทุนจาก LTF แรงขายก็ไม่ได้มีแบบรวดเร็ว ต้องถือ 5 ปีเต็มๆ ต่อให้ขายก็ต้องกลับมาซื้อแน่ๆ
สำหรับนักลงทุนรายย่อยก็ขายมาตลอดทาง ที่คุยกับลูกค้ารายย่อยมีเงินสดเยอะ สภาพคล่องสูง
ดังนั้นถ้าเกิดวิกฤติขึ้นมา นักลงทุนต่างประเทศก็ไม่มีของมาถล่ม
ในช่วงที่เกิดวิกฤติ subprime ต่างชาติมีเม็ดเงินตลาดหุ้น 3-4 แสนล้าน
ที่กดดัชนีหุ้นไทยลงมา 50% และรายย่อยกับกองทุนก็ซื้อกันวันนั้นจนมารวยกันวันนี้
สถานการณ์วันนี้ยังไม่เห็นวิกฤติ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิกฤติ

เงินเฟ้อขึ้นยังไม่น่ากลัวเหมือนปี 2008 ที่ต้องระมัดระวัง
ถ้า Plot กราฟระหว่างกำไรสุทธิ กับ SET index มีความสัมพันธ์ 80%
ถ้ากำไรปีนี้นักวิเคราะห์ไม่ได้ปรับลดลง จะเห็นหุ้นไทยสูงได้ถึง 1976 จุด
ซึ่งถ้าขึ้นได้ขนาดนี้เป็นหุ้นใหญ่ ช่วงเศรษฐกิจฟื้นใหม่ๆ ปลาเล็กจะกลับตัวได้เร็ว
ตอนนี้ปลาใหญ่กลับมาแล้วและมากินปลาเล็กปลาน้อย

ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย ถ้ามองรวมค่าเงินบาท ตลาดหุ้นไทยก็ไม่ได้ด้อย
ยิ่ง yield ขึ้นมาเท่าไร เงินจะไหลจากตราสารหนี้ ไปตลาดหุ้น
ดังนั้นตลาดหุ้นไทย จึงมีโอกาสที่เงินจะไหลเข้ามา
ถ้าจะเกิดวิกฤติ ต้องมีเม็ดเงินเข้าตลาดหุ้นไทยมากเป็นระดับแสนล้านจึงจะเกิดวิกฤติได้

ตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างประเทศลดสัดส่วนการลงทุนเหลือ 32% เทียบกับก่อนเกิดวิกฤติ sub prime ที่ถือ 36-37%
แต่ก็มีหุ้นกลุ่มที่นักลงทุนถือลงทุนมากขึ้น คือ หุ้นกลุ่มพลังงาน, ปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้า
มีโอกาสที่อาจปรับตัวได้ถ้าถูกขายออกมา
รอบต่อไปหุ้นน่าจะไม่ได้ขึ้นแค่ด้วย fund flow ต้องดูปัจจัยพื้นฐานรองรับด้วย

ดร.นิเวศน์
หุ้นไทยไม่น่าสนใจ ยกเว้นว่า บริษัทเติบโตเร็วมาก และหุ้นตกลงมาเยอะ
อย่างในต่างประเทศที่เห็น ฝรั่งเข้าซื้อเยอะมาก โดยเฉพาะตัวที่โตเร็วๆ และไม่แพงไป ซื้อเฉพาะตัวที่สนใจ
ตราบเท่าที่หุ้นไทยไม่ตก ประเทศไทยจะมีหุ้นไหนโตเร็ว?
แบงค์ => โตไม่เร็ว, พลังงาน => ฉาบฉวย,
สื่อสาร => น่าจะช้าๆ ดูแล้วแทบไม่มีตัวใหญ่ที่โตเร็วๆ ได้เป็นปัญหาใหญ่ที่ฝรั่ง
หุ้นตัวใหญ่ๆของเวียดนามโตได้ 2 digit หลายตัว แบงค์ใหญ่ๆสินเชื่อจะโต 15-20% ทุกอย่างโตหมด จึงมีเหตุผลที่จะซื้อ
เชื่อว่า กองทุนต่างประเทศบริหารโดยมืออาชีพ เขาต้องมีการ bottom up ด้วย ไม่ใช่แค่เขาเห็นตลาดดีแล้วย้ายเม็ดเงินมา
หุ้นไทยที่ยังไปได้ มองว่ามีกองทุน มีรายย่อยเข้าซื้อ แต่ฝรั่งเขาขายไป ก็อาจจะไม่กลับมาก็ได้
ถ้าหากตลาดหุ้นประเทศอื่นตกลงแรงๆ เราก็อาจจะตกตามได้เหมือนกัน
เพราะดูจากอดีตที่ผ่านมา สิบปีที่ผ่านมาอเมริกาดีสุดยอด ประเทศไทยก็ดีสุดยอด
อะไรก็ตามที่ดีสุดยอด และเป็นประวัติศาสตร์ที่มีความผันผวนน้อยมาก ไม่เคยติดลบแรงๆ
ต่อไปถ้า ดอกเบี้ยขาขึ้นตลอด จะทำให้การลงทุน 5-10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนภาพไป
พอนักลงทุนไทยขายหุ้นไปถึงจุดหนึ่งแล้วลงแรงๆ ฝรั่งก็อาจกลับมาซื้อเพราะหุ้นถูกลง
ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะมีคนที่คาดปัจจัยที่หุ้นตกแรงๆได้
ส่วนใหญ่จะเกิดตอนเผลอ ภาวะที่ตลาดหุ้นตกลงแรงๆ มักเป็นภาวะที่ตลาดดี
เช่น ปี 1929 นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง จะบอกว่าตลาดหุ้นสุงไปต่อเนื่องระดับนี้ไม่มีลงแล้ว
พอหลังจากนั้นตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงอย่างหนัก
ลองดูประวัติศาสตร์อเมริกา หุ้น PE 100 เท่า 1000 เท่า ตกลงมา 90%
รวมถึงอเมซอน ซึ่งเป็นส่วนน้อยที่กลับขึ้นมาได้

หุ้นเด่นที่น่าลงทุน?
ดร.วิศิษฐ์ ปีที่แล้วมี 3 theme เด่น โรงไฟฟ้า ผลตอบแทน 40-50%
บางบริษัทสะท้อนถึงราคาอนาคตไปไกลจึงไม่ยั่งยืน
ถ้ามี install capacity ใหม่ๆ สามารถเอากระแสเงินสดในอนาคตมาคิดได้เลย
2 กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ให้ผลตอบแทนเกือบ 50%
3 กลุ่มโรงกลั่น ให้ผลตอบแทนเกือบ 50% นอกจากปันผลแล้ว
ตัว earning จะเติบโตได้เท่าปีที่แล้วหรือไม่?
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การลงทุนมี theme
สิ่งสำคัญต้องดู valuation มีหนังสือชื่อ security analysis ตีพิมพ์ 1934
มีการคำนวณ net liquidation value ยังสามารถใช้ได้ถึงปัจจุบัน
ถ้าคำนวณกลุ่มพลังงาน เช่น ปตท. 286 แต่ราคาลงมา 200 สุดท้ายวันนี้ราคาเกือบ 500
นักลงทุนสามารถเลือกคำนวณได้ ว่าหุ้นตัวไหนมีการปรับฐาน อาจจะจาก bond yield ปรับหรือมีข่าวร้าย
หรือ net liquidation value banpu 14 บาท ,net liquidation value pttep 56 บาท ราคาตอนนี้ไปเท่าไร
มีหลายบริษัท PE หลักเดียว ปันผล 3-4% กำไรมากๆอาจยังไม่เห็น แต่ราคาปรับตัวลงมา เป็นโอกาสเข้าไปซื้อหุ้นได้

คุณกวี
เห็นด้วย เรื่องโรงไฟฟ้า คิดว่าแพง
นักลงทุนมีหลายประเภท วันนี้พูดในฐานะนักวิเคราะห์ก็มองภาพ 1 ปีข้างหน้า
ไม่รู้จะมีวิกฤติข้างหน้าไหม สิ่งที่ระวังสุด ที่เป็น Classic case คือ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขึ้นเร็วและแรงเกินไป จนประเทศที่มีหนี้เยอะไม่สามารถบริหารได้ แล้วหนี้เสีย
อย่าเพิ่งเอาเงินก้อนมาซื้อ ค่อยๆ dollar cost average ไปก่อน ถ้าตลาดปรับฐานแรงๆค่อยสะสม
ในฐานะนักวิเคราะห์ ถ้าปีนี้หุ้นจะขึ้น ฝรั่งจะเข้า
Fund flow ยังเยอะ ประเด็นตลาดหุ้นไทยคือการเติบโต
กลุ่มที่โดนกดตลอดเวลา เป็นกลุ่มที่ valuation ไม่ขึ้นเลย คือ ธนาคาร
ที่ผ่านมาหนี้เสียเพิ่มอีก สินเชื่อไม่ได้โต ค่าธรรมเนียมโต ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องปรับตัว
อย่างล่าสุดกสิกร ก็ทำ platform เหมือนพวก lazada แต่ขายสินค้าเกษตร
ซึ่งมีการใช้ machine learning

สินเชื่อถ้าเป็นหนี้เสียเยอะจะพัง PBV จะไม่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น PBV ปรับด้วยหนี้เสียลดลง น่าจะทำให้กลุ่มธนาคารดีขึ้น และถ้าสินเชื่อไม่ได้แย่ลง กำไรแบงค์น่าจะโต
ซึ่งปีนี้คาดการณ์ว่าน่าจะโตได้ 2 digit หุ้นแบงค์ที่น่าสนใจ เช่น kbank, bbl, tmb, tisco
ถ้ายอมจ่าย MTLS 30-40 เท่า ทำไมจะจ่าย tisco ไม่ได้ ทั้งตั้งสำรองดีกว่า และมีเงินปันผล 6%

หุ้นรับเหมาก่อสร้าง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจเพราะงานดีเลย์ แต่กำไรยังเติบโต
Theme การลงทุนภาครัฐหวังว่าจะชัดเจนขึ้น และมีการก่อสร้าง จะทำให้รับเหมาเติบโตดี
ตัวที่เด่น STEC, CK, SEAFCO, UNIQ

หุ้นค้าปลีก ไม่ได้ outperform ปีที่แล้ว PE สูง แต่ปลอดภัย
ตัวที่ดีสุดคือ cpall ซึ่งขึ้นมาเยอะ ตัวที่ถูกสุดแล้วน่าจะมี growth story
มองว่า robins น่าสนใจ, com7 เป็นตัวที่ไม่เหมือนกล้องถ่ายรูปที่จบรอบก็หายไป
มือถือเป็นสิ่งที่มีรอบเปลี่ยน และ com7 มี market share 5% ซึ่งน่าขยายเพิ่มอีก
pe 25 เท่า roe 30% ซึ่งมีปัญหาสินค้าตกรุ่น แต่สมัยนี้ขายดีกว่าสินค้าใหม่
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม คิดว่ายังมีช่องว่างในการเพิ่ม
ราคาที่ดินชะลอ จากการรอ EEC ตัวที่มีพื้นที่ในเศรษฐกิจ EEC เยอะสุดคือ amata

ตลาดขาลงไม่ค่อยเห็นตัว V คือหุ้นขึ้นไปสูงสุดแล้วหักลงเลย จะเกิด blue trap หลายรอบ
คือตลาดลงแล้วกลับขึ้นไปใหม่ ลงมาแล้วไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่
ขึ้นไปไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ ต้มยำกุ้ง, sub prime ก็ blue trap อยู่เป็นปี
หรือถ้า ราคาน้ำมันถูกปั่น จนเงินเฟ้อขึ้น แล้ว real rate (ราคาพันธบัตร 10 ปี ลบเงินเฟ้อ)
ถ้าถ่างมากขึ้นเรื่อยๆ จะน่ากังวล เหมือนเช่นเกิดในปี 2008
ช่วงก่อนเกิดวิกฤติอย่าหลอกตัวเอง ซึ่งครั้งนี้อาจจะแกว่งลงได้ต้องระวัง
โดยกลุ่มที่น่าจะ outperform ได้ คือ ธนาคาร และกลุ่มที่น่าจะขึ้นก่อนปิดตลาดใหญ่ๆ คือพลังงานต้องขึ้นมากกว่านี้

สัดส่วนการลงทุน การจัดพอร์ต?
ดร.สมจินต์ เวลากังวลความผันผวนให้กลับมาจัดทัพลงทุนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
แบ่งเป็น 3 ส่วน
1) กองหน้า เป็นเงินที่ต้องการเติบโต สร้างความมั่งคั่งระยะยาว ลงทุนในหุ้น
คุณสมบัติ เป็นเงินเย็น ขนาดอยู่ใน
1 วงจรเศรษฐกิจ 5-7 ปี ถ้าลงทุนได้ยาว สามารถเลือกลงในกองหน้าได้
2 กระจายความเสี่ยงดีพอสมควร ไม่กระจุกตัวที่พลาดแล้วสูญเสียขนาดใหญ่
ถ้ากระจายความเสี่ยงเองไม่ได้แนะนำกองทุนรวม
2)กองหลัง เงินที่ต้องใช้ 1-12 เดือนข้างหน้า หน้าที่หลักให้สภาพคล่อง รักษาเงินต้น
เป็นเงินฝากธนาคาร หรือกองทุนรวมตราสารตลาดเงิน/ตราสารหนี้ระยะสั้น
3)กองกลาง เป็นเงินที่ลงทุนให้ได้ medium risk medium return ให้ชนะเงินเฟ้อ และมีสภาพคล่อง
ในห้วงเวลาความผันผวน เงินกองหน้าจะไม่ถูกบังคับให้ขายในยามที่ไม่ควรขาย
กองหน้า ในทางปฏิบัติ สิ่งที่สำคัญ เราควรกระจายความเสี่ยงให้ดี ทั้งไทยและต่างประเทศ
ไทย – ถ้าไม่รู้เลือกอย่างไร tmbset 50
ต่างประเทศ – น่าสนใจ 2 theme ใหญ่
Theme 1 บริษัทคุณภาพดี การเติบดตดี เพื่อให้ปฏิบัตได้ง่าย
กองทุนที่ชอบคือ tmb global quality growth
เวลลิงตัน เป็น master fund เลือกจาก 3 พันบริษัทที่ติดตาม
เอาบริษัทที่คุณภาพสูง เติบโตดี มีความคุ้มค่าราคา จ่ายปันผล/ซื้อหุ้นคืนอย่างเหมาะสม
ลงทุน 70-75 บริษัท ใน 3 ปีก่อนเขาชอบ apple ตอนนี้เป้น amazon, facebook
หรือที่ก่อนหน้ามีลงทุนใน health care, immunology
บริษัทที่มีเทคโนโลยีดีๆ การเติบโตดีๆ น่าลงทุน ถ้ามีผู้จัดการช่วยติดตาม
Theme 2Emerging market คาดการเติบโต หรือ valuation ยังต่ำ เมื่อเทียบกับ develop market
Tmb emerginig active equity

กองกลาง – เครื่องมือหลักคือ bond fund ขณะที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ในระหว่างทาง ราคาจะมีการปรับตัวบ้างโดยเฉพาะ bond ที่มีระยะเวลายาว
กลุ่มที่เน้น income จะปรับตัวไม่แรง เหมาะลงทุน 3-4 ปี
Tmb global income fund

Property เป็นกองกลางค่อนไปทางกองหน้า
ควรมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีด้วย ซึ่งน่าสนใจในแง่เป็น income product
มีกระแสเงินค่อนข้างเสถียร จะ sensitive กับอัตราดอกเบี้ย
ถ้าเงินเราสามารถลงทุนได้ 3-4 ปี การปรับตัวลดลงบ้าง จะมาพร้อมกับ yield ที่ดีขึ้น
และจะเป็น asset class ที่ดี และช่วยกระจายความเสี่ยงจากกองหน้าที่เป็นหุ้นทุน

ดร.นิเวศน์
ฝันมาหลายปีแล้วว่าหุ้นจะตกลงมาเยอะๆ โลกไม่ได้ดีตลอดไป ช่วงหนึ่งจึงตัดสินใจขายหุ้นถือเงินเพื่อรอซื้อ
จนกลับมาสู่ความเป็นจริง ซื้อหุ้นกลับเข้าไป แต่ยังเหลือเงินก้อนสุดท้ายที่เก็บไว้
ต้องมองว่าตลาดหุ้นมี 2 ตลาด คือ ตลาดที่สถาบันถือต่างชาติถือ กับตลาดที่รายย่อยเล่น
ซึ่ง ตลาดรายย่อยเล่น PE สูง ไม่ขึ้น แต่ไม่ลง ซึ่งถ้าความมั่นใจหมดก็จะอันตราย

ขอสรุปปิดท้าย
ดร.สมจินต์ โดยหลักเชื่อว่าการเป็นนักลงทุนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จมากกว่าเป็นนักเก็งกำไร
จัดทัพลงทุนโดยมุ่งวัตถุประสงค์ มองยาวๆ มีการกระจายไปต่างประเทศ มีหุ้น มี Property มีพวก income
ด้วยจะทำให้ทัพลงทุนแข็งแกร่งผ่านเวลาที่ดีและร้ายได้
ดร.ไพบูลย์ เสริม บางทีฟังคนอื่นพูดเรื่องหุ้นคิดว่าง่าย เข้าซื้อ เดี๋ยวก็ขึ้น
เวลาหุ้นตก คนพูดหายไปหมด เราจะเดือดร้อนและเข้าไปในยามที่หุ้นหวือหวา
ถ้าเราไม่ได้เป็นคนที่ติดตามหุ้นจริงๆ ควรลงทุนผ่านกองทุนรวม ไม่ต้องทำเองดีกว่าเยอะ
ดร.วิศิษฐ์ นักลงทุนต้องใช้ทั้ง top down และ bottom up
top down มองอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน
bottom up ศึกษา valuation มีการศึกษา bull market 35 รอบที่ผ่านมา
คือช่วงตลาดให้ผลตอบแทนมากกว่า 40% ช่วงเวลาใดหนึ่งๆ
ซึ่ง correction จะกินลึกเกิน 10% ใน 1 เดือน ถ้าเป็น correction ใน bull market จะขึ้นต่อ
แต่ถ้าเป็นตลาดหมี เดือนที่ 3-4 จะเลือกอีกทางหนึ่งในทางลง
ตัว real bond yield เป็นสิ่งสำคัญ ตอนนี้อยู่ที่ 0.6% สมัยเกิน sub prime
อยู่ที 3% ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นตัวกำหนดทิศทาง fund flow
คุณกวี ตลาดหุ้นในช่วงที่ผันผวนและแพง ต้องศึกษาหุ้น และหาตัวที่พื้นฐานดี
เน้นไปตัวใหญ่ๆก็ได้ ถ้าเลือกหุ้นพื้นฐานดีจริงๆ ต่อให้ติดดอย น่าจะมีดอยต่อไปให้หายใจ
ถ้าเลือกหุ้นผิด จะไม่มีดอยใหม่ ดังนั้นถ้าเลือกที่จะลงทุนในช่วงหุ้นแพง
แล้วต้องติดดอย จะได้ติดในหุ้นที่พื้นฐานดี ตัวใหญ่ๆหน่อย ตัวที่ระยะยาวน่าจะดี
มีคำว่า circular bull รอบใหญ่ๆ กับ cycle bull รอบราวๆ 10 ปีเกิดที
ซึ่งมองว่าประเทศไทยยังมีความหวัง ด้วยการเพิ่มขึ้นของ aging society
โดยเฉลี่ยคนมีอายุมีรายได้เพิ่ม ซึ่งตลาดหุ้นจะขึ้นไป Peak แบบญี่ปุ่น, ยุโรป
ซึ่งเราก็หวังว่าของเรายังไม่ถึง Peak ตอนนี้ 37 ไปถึง 47 ก็อาจจะมี Bull อีกรอบ
ไม่ต้องเล่นหุ้นแปลกๆที่ไม่รู้จักธุรกิจทำอะไร
ดร.นิเวศน์ เวลานี้เป็นเวลาที่จำเป็นสุดที่กลับไปสู่พื้นฐาน VI คือ
ต้องดูกิจการละเอียด ดูว่าคุ้มค่าไหมที่จะถือยาวไปเรื่อยๆตลอดชีวิต
ถ้าอยู่กับเรามานาน กำไรตลอด พอใจจะถือยาวๆ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ต้องขาย
แต่ตัวที่คิดว่าแพง อนาคตไม่แน่นอน อาจถูก disrupt ก็ขายไป และเตรียมเงินสดไว้ซื้อ
อ.ไพบูลย์ เวลาหุ้นขึ้นต้องแบ่งปันให้คนอื่น ที่ไม่มีโอกาสเหมือนเรา
เวลาหุ้นตกก็จะบอกว่าบาปที่ทำส่งผลแล้ว วิธีแก้ส่วนหนึ่งก็ทำใจให้ดีขึ้น เจือจางลง
ก็แบ่งปันให้คนอื่น ถ้าไปดูคนที่ลำบาก คนพิการ จะรู้ว่าหุ้นตกเรื่องเล็ก

ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ แขกรับเชิญ ทีมงาน money talk ทุกท่านครับ

ข้อมูลที่แชร์หากมีผิดพลาด ตกหล่นอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตาม VDO ฉบับเต็มได้ทาง fb live, youtube และช่อง TV ครับ


MoneyTalk@SET ครั้งต่อไป อาทิตย์ 18 มี.ค. 61 เริ่ม 13.30 น. เปิดจองเสาร์ 10 มี.ค.61 7.00 น.
หัวข้อ 1 หุ้นเด่นไตรมาสแรก ปี 61 ผู้บริหาร 3 บริษัท คุณชูชาติ (MTLS) คุณอนันต์(BRR), คุณประเสริฐ(CK)
ดำเนินรายการ อ.เสน่ห์,หมอเค
หัวข้อ 2 VI รุ่นใหม่ มองหุ้นไทย ปี 61 คุณณัฐชาติ(กานต์), คุณทิวา(มี่), นพ.ศุภศักดิ์(หมอเค), คุณทศวรรษ (พี่ทศ)
ดำเนินรายการ ดร.นิเวศน์, อ.เสน่ห์, อ.ไพบูลย์
Go against and stay alive.
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 37

Re: MoneyTalk@SET3/2/61เศรษฐกิจโลก,ไทย61&กระแสเงินจัดพอร์ต

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ^^
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 256

Re: MoneyTalk@SET3/2/61เศรษฐกิจโลก,ไทย61&กระแสเงินจัดพอร์ต

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
niksznik
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 61
ผู้ติดตาม: 6

Re: MoneyTalk@SET3/2/61เศรษฐกิจโลก,ไทย61&กระแสเงินจัดพอร์ต

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบบบคุณมากๆๆๆเลยครับ
โพสต์โพสต์