MoneyTalk@SET8/10/60หุ้นเด่นQ460&ขยายแนวคิดพิชิตลงทุน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET8/10/60หุ้นเด่นQ460&ขยายแนวคิดพิชิตลงทุน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สัมมนา Money Talk@SET 8/10/60
เนื่องจาก เดือนตุลาคม 2560 เป็นเดือนแห่งการถวายความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙
ในช่วงเปิดรายการผู้เข้าร่วมรายการสวมใส่ชุดดำ ร่วมถวายความอาลัยและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
อ.เสน่ห์เป็นตัวแทนกล่าวกลอนน้อมถวายความอาลัย
“ถึงตุลาอาลัยทำใจยาก ครบหนึ่งปีที่ท่านจากไทยทั้งผอง
มิเคยคิดต้องอำลาน้ำตานอง โลกร่วมร้องรำลึกบึ้งหัวใจ
มิมีแล้วกษัตริย์ใดในโลกหล้า ทรงพระกรุณาฯทรงธรรม์อันยิ่งใหญ่
องค์พ่อหลวงรอเก้าของชาวไทย เด็จสู่สวรรคาลัยในนิรันดร์
เจ็ดสิบปีที่พ่อทำเกินคำกล่าว เป็นเรื่องราวมิรู้ลืมปลื้มภักดิ์มั่น
จะทำดีตามรอยพ่อขอยันยัน จะรักกันตลอดไปเป็นไทยเดียว
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าทีมงานมันนี่ทอล์ค”
__________________________________________________________________________
ช่วงที่ 1 “หุ้นเด่นไตรมาสสี่ปี 60”
1. คุณปรียนาถ สุนทรวาทะ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BGRIM
2. คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TKN
3. คุณสมหะทัย พานิชชีวะ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AMATAV
อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ


หมอเคเกริ่นนำบริษัท
AMATAV GDP เวียดนามโต 7% ติดต่อกันมาเป็น 10 ปี ล่าสุด FDI ครึ่งปีโตราว 40%
คิดเป็น 18 billon us ซึ่งมากกว่าประเทศไทย
BGRIM อยู่ในไทย 139 ปีแล้ว หันมาจับธุรกิจโรงไฟฟ้า 20 ปี เป็น SPP(small power producer) รายใหญ่สุดในไทย
และมีอัตรากำไรสูงอันดับต้นๆ ของ spp
TKN จากอดีตหลักล้าน มาถึงวันนี้ยอดขายเกือบ 5 พันล้านแล้ว

การดำเนินธุรกิจ
amatav
ไปเวียดนามตั้งแต่ 1994 เป็นนิคมแรกที่เป็นต่างชาติที่เข้าสู่เวียดนาม
เราเติบโตแบบอนุรักษ์นิยม เดิมไม่เคยคิดจะขยับจากตอนใต้เวียดนาม(โฮจิมินส์)
นิคมเราอยู่ห่างไซง่อน 35 km จน 3 ปีก่อน เรารู้สึกว่าภาคเหนือมีการพัฒนาและเศรษฐกิจเติบโตไว
จึงไปศึกษา คุณวิกรม ขับรถไปสำรวจภาคเหนือ ถูกใจพื้นที่ในจังหวัดหวั่งหนิง(ฮาลองเบย์)
พื้นที่เกือบ 4 หมื่นไร่ ติดกับจังหวัด ไฮฟอง มีท่าเรือน้ำลึกเริ่มก่อสร้าง ปลายปีนี้จะสร้างเสร็จ
ซึ่งท่าเรือน้ำลึกได้ oda จากญี่ปุ่น ทำให้เรามองภาพว่า จะเติบโตได้ชัด จึงเริ่มขยายไปภาคเหนือ
ขณะเดียวกันขยับโครงการที่ 2 ในภาคใต้ เข้าใกล้โฮจิมินส์มาอีก ห่าง 20 km อยู่ติด highway ใหม่ ที่สร้างเสร็จแล้ว
พื้นที่ 2 โครงการ รวมเกือบ 9 พันไร่ เริ่มเวนคืนที่ดินกับรัฐบาล จะเสร็จปีนี้และเริ่มก่อสร้าปี 61
GDP ปี 59 6.2% ปี 60 คาด 6.7% ขณะที่ FDI ที่เวียดนามสูงกว่าไทย เกิน 2 เท่า 24 bilion us ตอนนี้ครึ่งปี 19 กว่า billion us
ปกติครึ่งปีหลังจะลงทุนเยอะกว่า คาดว่าน่าจะถึง 27-30 billion us
ลูกค้า 97% เป็นนักลงทุนต่างชาติ ระยะหลังเริ่มมีนักลงทุนเวียดนามมาซื้อที่ในนิคมฯ
ในแง่เม็ดเงินลูกค้าใหญ่สุดของเราคือเกาหลี เจ้าใหญ่ Samsung, Lotte, LG
รองลงมาคือ ญี่ปุ่น แต่มีบริษัทหลายแห่งมาลงทุน
ลูกค้าเป็นรายกลางถึงรายเล็ก ทำให้ profile ลูกค้าเรา 50% อยู่ในกลุ่มนี้
เกณฑ์ประเทศเวียดนามในการซื้อที่ นักลงทุนต้องไปศึกษาว่าพื้นที่ดีกับบริษัทและกับจังหวัด,
เป็นไปตามกฏหมายกฏเกณฑ์ และเริ่มคุยจากรัฐบาลท้องถิ่น และไปถึงรัฐบาลส่วนกลาง จึงคุยกับฮานอย
หลังจากได้ใบอนุญาต ต้องตามหลังรัฐบาลท้องถิ่นด้วยการเคลียร์ที่ดิน
ซึ่งเป็นขั้นตอนปราบเซียน ว่าจะจัดการเองหรือให้ราชการทำให้ส่งที่ดินในราคาที่เหมาะสมในกำหนดเวลา
จากประสบการณ์ปีนี้ที่เข้าปีที่ 23 เราเชื่อว่าเราปรับตัวได้เร็วกว่ารายใหม่ๆที่เข้ามา
ที่ดินในเวียดนามมีทั้งเป็นของรัฐบาลและเอกชน ซึ่งมีของรัฐที่ใช้เอง และให้ทหารผ่านศึก,
คนที่ทำประโยชน์ให้ประเทศ จึงมีหลาย party ที่ต้องเข้าไปสัมพันธ์ด้วย
ที่ดินในเวียดนามให้เป็น leasehold 50 ปี ไม่ใช่ freehold แบบในไทย
โครงการที่เราเข้าไปเมื่อ 20 ปีก่อนก็เหลือราว 30 ปี ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใครลงทุนเข้าไปในเวียดนามถึง 50 ปี
เรื่องความเสี่ยงการต่อสัญญาหลัง 50 ปี ลูกค้าเวลามาเช่าที่ amatav จะคิดการลงทุน 50 ปีหลังจากนั้นไม่คิดมูลค่า
เรามองว่ารัฐบาลเวียดนามทุกวันนี้ทำหน้าที่เหมือนค้าส่ง คงไม่อยากเหนื่อยทำค้าปลีกเอง
จึงมองว่าเราน่าจะต่อสัญญาได้ ยกเว้นว่าในตอนปีที่ 51 เมืองเปลี่ยนไปเยอะ
จนการทำนิคมอุตสาหกรรมไม่เกิดในที่แปลงนั้น จะมีโอกาสที่ไม่ได้ต่อสัญญาได้
เช่น รอบขอบกรุงเทพที่เมื่อก่อนให้ทำโรงงานได้ แต่ปัจจุบันให้ย้ายออกไป
ทำเลมีความสำคัญ ถ้าไกลเกินจะลำบากกับโรงงานที่เข้าไปลงทุน ซึ่งเราไม่เคยไปลงทุนในพื้นที่ป่า

bgrim
SPP คือ small power producer เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ขนาดราว 120 -160 mw
หรือมูลค่าลงทุนราว 5-6 พันล้านบาทต่อโรงไฟฟ้า
ปัจจุบันมีทั้งหมด 12 โรงไฟฟ้า และกำลังก่อสร้างเสร็จในปีหน้าอีก 3 โรงไฟฟ้า และสร้างเพิ่มอีก 5 โรงไฟฟ้า
ขายไฟให้ EGAT 90MW ต่อโรง ที่เหลือ 20-30 MW ขายให้โรงงานในนิคมฯ
เป็นสัมปทาน 25 ปี ความเสี่ยงต่ำ เพราะรายได้แน่นอน EGAT ต้องซื้อตามสัญญา ทั้งช่วง peak และ off-peak
คือช่วง กลางวันซื้อ 90 MW กลางคืนซื้อ 60 MW
ดังนั้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆจะนิ่ง รวมถึงค่าแก๊สธรรมชาติที่คิดเป็น 70% ต้นทุน
และสามารถส่งต่อต้นทุนไปยังค่าไฟฟ้าได้ บริษัทจึงไม่ค่อยมีความเสี่ยง รายได้ไม่สูงมาก แต่นิ่ง
โรงไฟฟ้าทั้งหมดไม่ใช่มีแค่ SPP แต่เราขยายไปทำโรงไฟฟ้าแสงแดด ใช้ solar cell เมื่อ 2 ปีก่อนสร้างได้ทั้งหมด 15 โรง
มีขนาดทั้งหมด 114.1 MW และเพิ่งได้รับเซ็นสัญญากับองค์การทหารผ่านศึก 24.58 MW จากโควต้า 50 กว่า MW
นอกจากนี้มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีสัญญาระยะยาวกับรัฐบาลลาว 25 ปี ต่ออายุได้ 25 ปี
รวมแล้วกำลังผลิตปัจจุบัน 1646 MW โดยมีสัญญาต่อเนื่องที่เซ็นไว้แล้ว รวมเป็น 2500 MW ในอีก 5 ปี
รวมถึงมีโอกาสที่กำลังศึกษาในรอบบ้าน เชื่อว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตได้มั่นคง อาจไปถึง 5000 MW ได้
ในกำลังผลิต 2500 MW เป็นโรงไฟฟ้า SPP แบบใช้แก๊ส 90% อีก 10% เป็นโซลาร์และพลังน้ำ
แต่เทรนด์ของโลกจะขยายไปทางพลังงานทดแทน บริษัทมองจะปรับเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็น 30% ในอนาคต
ซึ่ง 70% จะเป็นแก๊ส 30% พลังงานทดแทน ซึ่งใน CLMV ก็มีความตื่นตัวในการส่งเสริมพลังงานแสงแดดและลม
มีที่กำลังศึกษาในมาเล และเริ่ม project ในกัมพูชาแล้วในการทำสายส่ง
ในนิคมอมตะ bgrim ก็มีโรงไฟฟ้าอยู่ เช่น อมตะนครมี 5 โรงงาน มีลูกค้าที่เป็นระดับ world class เป็น 100 กว่าราย
จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงและดีอยู่เสมอ ทุกวันนี้สามารถทราบได้ว่าลูกค้าแต่ละรายมีการใช้ไฟฟ้าอย่างไรในทุกๆ 15 นาที
ราคาที่ขายให้รัฐบาล 2 บาทกว่า แต่ทำกำไรได้สูงเพราะประสบการณ์ 20 กว่าปี ทำให้ไฟฟ้านิ่ง มีเสถียรภาพ
และประหยัดค่าแก๊สได้มาก เรียกว่าเป็น smart micro grid ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลที่มุ่งไปด้วยอย่างเช่นเดียวกับ smart city

tkn
กำลังหาแหล่งผลิตที่สองในการลดต้นทุนการผลิต อย่างตลาดที่เถ้าแก่น้อยส่งออก เวียดนามก็เป็น top5 ซึ่งปีก่อนโต 3 digit
รายได้หลัก 90% มาจากสาหร่าย เป็นผู้นำตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ
ล่าสุดมีการส่งออกไป 50 ประเทศทั่วโลก ประเทศหลักที่ส่งออกคือ จีน คิดเป็น 35% รองมาเป็นไทย
ตลาดที่มองว่ามีอนาคตที่อินโด,เวียดนาม มีตลาดที่น่าสนใจคืออเมริกา ตลาด snack ที่ใหญ่สุดในโลกอยู่ที่อเมริกา
ตลาด snack ที่อเมริกา มูลค่าราว 3 หมื่นล้านเหรียญ แต่มูลค่า snack ในไทย 3 หมื่นล้านบาท
ตลาด Potato chip ในอเมริกา ราว 1.5 หมื่นล้านเหรียญ
ตลาดสาหร่ายในอเมริการาว 100 ล้านเหรียญ มูลค่าราว 10% เทียบกับตลาดสาหร่าย snack ในเมืองไทย
คือคนยังไม่กินเยอะมาก ซึ่งตลาดสาหร่ายในอเมริกาปีก่อนโตราว 40% บริษัทจึงคิดว่าน่าสนใจที่จะโฟกัส
เขาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ถ้าไปดู snack ที่ whole food หรือ trader joe's จะเห็น shelf
เป็น healthy product 2 bay ใหญ่ๆ หรือมันฝรั่งก็จะ healthy ขึ้น ใช้น้ำมันมะกอก
เมื่อก่อนสาหร่าย shelf เล็กมาก แต่สมัยนี้เป็น shelf 1 bay เต็มๆ เป็นสินค้านำเข้า
ของเรายังไม่มีเข้าไป ที่เป็นพวก mainstream พวก Walmart, wholefood
ที่ผ่านมาเถ้าแก่น้อยขายในอเมริกามีมาเกือบ 10 ปีแล้ว เป็น asia grocery
จะเป็น thai town, Korean town ก็ขายค่อนข้างดี เติบโตมาเรื่อยๆ ล่าสุดเราหา partner ได้
เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงของ pepsi เกษียณอายุแล้ว เป็นการ JV ช่วยในการทำการตลาดในอเมริกา
คาดว่าจะเริ่มเห็นยอดขายในปีหน้า
เราอยากเป็น global company อยากมีสินค้าตัวนี้อยู่ใน 100 ประเทศทั่วโลก
ซึ่งต้องมีจุดยุทธศาสตร์ 1 ในนั้นคือจีนที่เรา focus อยู่ อันดับถัดมาที่เรามองคือ อเมริกา
อย่าง red bull ประสบความสำเร็จที่อเมริกา พอสำเร็จทำให้ประเทศรอบข้างหรือยุโรปก็ขยายได้ตามมา
คิดว่าการลงทุนที่อเมริกาต้องตั้งโรงงานผลิตที่นั่น
1) เขาอยากให้มีการลงทุน 2)สินค้าเราเป็น fast moving ใช้เวลาขนส่ง 3 เดือน
กว่าจะได้ขาย 4 เดือน ซึ่งสินค้าเก็บได้ 1 ปี ดีสุดคือควรไปอยู่ที่นั่นแล้วขาย
ต่อไปเถ้าแก่น้อยที่ขายใน asia grocery อนาคตก็คงผลิตที่อเมริกา
เปิดโรงงานเล็กๆเพื่อหล่อเลี้ยง ส่วนที่เหลือก็มองไปที่ช่องทางขายที่เป็น mainstream
รายละเอียดโรงงานที่อเมริกา จะเปิดเผยแผนการณ์ในอนาคตต่อไป
สินค้าเราที่จีน ถือว่ามี brand dominate ค่อนข้างดี เช่นไปออก thaifex จะมีบริษัทหรือห้างดังต่างๆเข้ามาติดต่อเรา
แต่การที่จะขายตรงไปกับเขาจะไม่ยั่งยืน วิธีที่เราทำมาตลอดคือหา partner ที่รู้ตลาดนั้นจริงๆแล้วร่วมวางแผนตลาดกับเขา
สรุปเราขายตรงในWalmart แต่ไม่มี ทีมไปดู shelf ไปทำ promotion จะขายได้ครั้งเดียว ไม่ยั่งยืน

ปีก่อนยอดขาย 4.7 พันล้าน เป้าหมาย 2024 ยอดขายไม่ต่ำกว่า หมื่นล้าน คิดว่าจีนและ SEA น่าจะเพียงพอ
ส่วนอเมริกาถ้าทำได้ และทำได้ดีจะเป็น top up
ไม่ได้มี roadmap ขนาด 10 ปี แต่มองเห็นโอกาสตลาด มองว่าเราจะไม่เป็นแค่บริษัททำสาหร่าย
แต่จะเป็น customer magic food เป็นอาหารที่มีเวทย์มนต์ อยากเวย์กินแล้วสุขภาพดี = อร่อยและมีประโยชน์
อาหารที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่จะไม่อร่อย เรามองจับกลุ่ม mass ทั้งหมด เรามอง premium mass ขึ้นมาหน่อย
อย่างประเทศจีน ที่โตขึ้นมาได้ เพราะคนชั้นกลางเติบโตขึ้น painpoint ตอนนี้คนชั้นกลางไม่ค่อยมีเวลา
กินอาหารไม่มีประโยชน์ ดังนั้นเราต้องทำอาหารที่อร่อย มีประโยชน์และเร็ว
ที่ผ่านมาสิ่งที่เราทำได้ดี คือ สร้างแบรนด์ หมายถึงเรามี product ที่เรามองว่าดี
เราสามารถมี platform ในการสร้างแบรนด์ หรือกระจายไปลูกค้าไม่อยาก
แต่สินค้าจะแก้ painpoint ลูกค้าได้จริงหรือเปล่าต้องดูอีกที
อย่าง เวย์โปรตีน ทุกวันนี้คน 90% กินโปรตีนไม่เพียงพอ จึงจุดประกายให้เราพัฒนาสินค้าขึ้นมา
สำหรับคนที่กินไม่เพียงพอ และสร้างกล้ามเนื้อ
คนเราไม่สามารถกินอกไก่ได้ตลอดเวลา และฝืนไปมันจะพัง ซึ่งเวย์ของเราแก้ปัญหาได้ คือ อร่อย ไม่พัง
เคยพยายามกินอาหารคลีน ทรมานมาก กินเวย์แทนก็ไม่อร่อยอีก ทำให้เราหงุดหงิด จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราออก my whey

ผลประกอบการและแนวโน้มการเติบโต
amatav
อมตะซิตี้ ฮาลองอยู่ติดกับจีน และอยู่เหนือเวียดนามจะช่วยลดการขนส่งลงไปจีนได้อย่างน้อยได้ 2 อาทิตย์
และเป็น economic zone ให้สิทธิประโยชน์กับบริษัทและคนทำงาน ได้ 11+5 ปี แต่ที่ไทยได้ 8+5 ปีเฉพาะบริษัท
อย่าง EEC ให้ผลประโยชน์ภาษี 15-17% กับต่างชาติที่เข้ามาทำงาน แต่ที่เวียดนามให้ทุกคนที่ทำงาน
ยอดขายที่ผ่านมาของ amatav ไม่ดี แต่ในอนาคตน่าสนใจ มี presale 30 hector 190 ไร่ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีบันทึกบัญชี 9 ไร่
ภายในสิ้นปี น่าจะบันทึกได้ถึง 133 ไร่
การขายที่เวียดนามต้องโอนที่จึงจะบันทึกได้ ที่เหลืออีก 50-60 ไร่ จะโอนในปีหน้า
ที่ผ่านมา ขายได้ไม่ถึง 100 ไร่ต่อปี อย่างปี 59 รายได้ 900 ล้าน ปี 60 คาดว่า 1.1 พันล้านบาท
ที่เวียดนามจะมีบันทึกบัญชีแบบหนึ่งเป็น Vietnam accounting system พอออกมาแปลงต่อเป็น ifrs

ปีก่อนมีเรื่อง special item ของ amatav ราว 200 กว่าล้าน เป็นค่าบำรุงท้องที่
เกิดในกรณีที่เราเช่าที่ดิน มีเก็บแบบเป็นปี หรือเป็นก้อน ซึ่งลูกค้าส่วนหนึ่ง
จ่ายอมตะเป็นก้อน บางส่วนจ่ายเป็นปี แล้วเราก็เอาเงินไปจ่ายเป็นปีให้รัฐบาล
จึงมีเงินแบบเป็นก้อนเหลือเยอะ ปี 2014 รัฐบาลตั้งกฏหมายที่ดินใหม่ ในกรณีที่นิคมฯรับเงินเป็นก้อน
ต้องส่งรัฐบาลเป็นก้อนด้วย ซึ่งรัฐบาลต้องส่ง invoice มาเก็บเรา แต่รัฐบาลส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับลูก
จึงไม่สามารถ quote ได้ว่าจะเก็บเท่าไร จนปลายปีก่อน จึงมีการจัดเก็บค่าปรับ ซึ่งเก็บย้อนหลังไปจนถึงวันที่เราเริ่มทำ
เงินต้น 150 ล้าน โดนค่าปรับ 240 ล้าน ปีนี้ รัฐบาลเริ่มเปิดหูฟังเอกชน อนุมัติแล้วว่า เงินนี้ให้ amortization 30 ปีได้
เรามองว่าเขาไม่ควรคิดย้อนหลังก่อนกฏหมายออกได้ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลยอม เราจะ save ไปได้กว่า 70%
ซึ่งได้เรียนเรื่องนี้ให้ท่านนายกเวียดนามทราบ เพื่อเป็นสากลและภาพพจน์ที่ดีของประเทศเวียดนาม
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าหากแย่สุด 200 กว่าล้าน จะโดนหารตามปีที่เหลือ คือราว 15 ล้านบาทต่อปี
เป็นกฏหมายที่ใช้ทั้งประเทศ ไม่มีระบุแยกว่าใช้สำหรับภาคใต้/ภาคเหนือ

ปี 61 จะเปิดเฟสใหม่ อมตะซิตี้เวียงหัว มีที่ 18 hector + ของเดิมที่เป็น backlog
น่าจะขายได้ 25 hector ซึ่งจะมากกว่าปี 60 ที่ขายได้ 24 hector
อีกโครงการอมตะซิตี้ฮาลองน่าจะขายได้ 5 hector(30-40 ไร่) ใช้โมเดลแบบใหม่ในการทำที่ดิน โดยทำล่วงหน้าก่อนรัฐบาล
นอกจากนี้จะมี partner ที่มาร่วมทำเหมือน industrial zone เช่นเดียวกับอมตะซิตี้ ที่ระยอง เป็นนิคมไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งถ้าทำได้ก็จะเปิดขายได้ด้วย

bgrim
เรามีประสบการณ์ที่เวียดนาม 20 ปี ร่วมกับทาง อมตะซิตี้เวียงหัว ลูกค้า 160 กว่าราย
ขอ confirm ปัญหาเรื่องกฏระเบียบมีเปลี่ยนตลอด แต่โรงไฟฟ้าของเราคืนเงินกู้คืนทุนหมดแล้ว กำไรดี
แต่ก็มีการบังคับว่าห้ามมี roa เกิน 15% อีก
Bgrim ปี 59 รายได้ 2.7 หมื่นล้าน กำไร 2.46 พันล้าน
ปี 60 ครึ่งปีแรก รายได้ 1.56 หมื่นล้าน เติบโต 14.7% yoy กำไรครึ่งปี 1 พันกว่าล้าน โต 11.7% yoy
ในครึ่งปีหลัง มี factor ที่ทำให้รับรู้กำไรได้มากขึ้นเพราค่า ft สูงขึ้น
ดอกเบี้ยของเราจะถูกลง เพราะออก bond ได้ 1.1 หมื่นล้าน และมีเงินที่ได้จาก ipo เอามาคืนเงินกู้ 4.6 ล้าน
จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ปี 61 โรงไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง จะมี SPP เข้าดำเนินการเชิงพาณิชย์ เดือน ก.พ. 1 โรง มิย. 1 โรง ต.ค. 1 โรง รวม 499 MW
ซึ่งขายหมดแล้วตั้งแต่ก่อนสร้าง solar 36 mw ได้ 23.58 mw จากองค์การทหารผ่านศึก จะรับรู้ได้ทันที,
น้ำแจ ไฮโดรในลาว15 mwม รายได้จากแสงแดดค่าไฟฟ้า 4.12 บาท ที่เซ็นสัญญาขายไฟแล้ว 5.66 บาท
ซึ่งรายได้เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากการแข่งขันโซลาร์ที่ใครๆก็เข้ามาทำ 700 กว่ารายแข่งกัน
เราโชคดีที่มีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ อย่าง adb ให้ softloan ถูกมาก 20 ล้านเหรียญที่ ดอกเบี้ย 1.5%
อีก 240 ล้านเหรียญที่ราว 3-4% และมีความร่วมมือจาก energy china เป็นรัฐวิสาหกิจใหญ่ในจีน
มาขอร่วมหุ้นไม่เกิน 20% support ด้าน softloan, รับเหมา จึงมั่นใจว่าเราให้ผลตอบแทนกับหน่วยงานราชการได้สูง
แต่ยังทำผลตอบแทน energy irr ไม่ต่ำกว่า 12%
ความเสี่ยง สัมปทานอ่าวไทยจะหมดต้องบอกว่าตอนนี้แก๊สเจอปัญหากันทั้งโลก
LNG มีแหล่งธรรมชาติใกล้ๆบ้านเรา หรือจีนก็มี
บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายแก๊สก็อยากเข้ามาร่วมกับเรา เป็น pilot ในการไป clmv
และเขามีเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนแก๊สเหลวเป็นไอได้ถูกลง ซึ่งแก๊สหมดอ่าวไทยไม่เป็นประเด็น
ทุกวันนี้ที่ซื้อจากปตท.ก็มีการผสมกับ LNG อยู่แล้ว และกำลังเปิด 3rd party เข้ามา เรื่องท่อแก๊ส
กำลังทำกฏหมายเปิดเสรี ให้คนอื่นเข้ามาขายแก๊สด้วย
ความเสี่ยงลูกค้าไม่ซื้อไฟฟ้า จากประสบการณ์ที่ลูกค้าเป็นระดับโลกที่ย้าย world base มาไทย
เช่น มิชลิน,บริดสโตน ซึ่งเขาสามารถเปลี่ยนตลาดที่ขายได้
เรามีการดู load profile มีการ update ข้อมูลลูกค้าตลอด ไม่ตกลงเลย สำหรับเราคือยังดีอยู่

tkn
ปี 59 ยอดขาย 4.7 พันล้าน npm 16% ปี 60ครึ่งปีแรก 2300 q3 แนวโน้มดี น่าจะได้ตามเป้าหมาย
หลังจาก q2 ที่ยอดขาย drop เพราะมีปัญหาแรงงานพม่าโยกย้าย ซึ่งซ่อมแซมแล้ว ยอดขายน่าจะได้ตามที่วางไว้
Q4 ถ้า ทุกอย่างเป็นไปตามที่คาดน่าจะปิด + ทำให้ทั้งปีตลาดในประเทศกลับมาบวก และตลาดต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย
ประเทศจีน เมื่อก่อนฐานเล็ก ยอดขาย 4 ร้อยล้าน ทำให้ดูว่าโตได้เยอะ ปีนี้ที่การเติบโตน้อยลง
เพราะฐานใหญ่ขึ้น, q2 มีปัญหาการผลิต และช่องทางจัดจำแหน่าย tier 1 หัวเมืองใหญ่ tier 2 หัวเมืองรองลงมา tier 3 ชนบท
ที่ผ่านมาที่ยอดขายเยอะ มากจาก tier 1 เกือบ 2 พันล้าน พอหัวเมืองหลักเริ่มแน่น ก็ต้องเพิ่มสินค้าใหม่ช่องทางเดิน
หรือเพิ่มช่องทางไป tier 2 จึงท้าทาย่วาเราจะเริ่ม distribution ได้ไหม
ใน tier 1 ในขายใน modern trade เยอะแล้ว แต่ยังขาดการขยายใน convenient store เขามีราว 3 หมื่นสาขา
น่าจะขายอยู่ไม่เกิน 3 พันสาขา ไม่ถึง 10% ในขณะที่ modern trade น่าจะ 50-60% แล้ว
กำลังคุยกับ distributor เจ้าใหม่ 2 ราย ถ้าตกลงได้ ปีนี้จะสามารถรับรู้ยอดขายได้

ปี 61 มองว่าการขยายเถ้าแก่น้อยจะเน้นที่ convenient store(cvs) มากขึ้น
cvs ในจีนยังเล็กอยู่มาก ตลาดราว 15% ของ total market online 30% modern trade 30% ที่เหลือค้าปลีกโชว์ห่วยทั่วไป
Tkn จะเน้น cvs มากขึ้น อย่างก tencent จะมาขยาย cvs ใน 5 ปี 1 แสนสาขา
ต่อไปน่าจะเหมือนบ้านเราคือขยายมากขึ้นโชว์ห่วยจะเล็กลง

เรื่อง online เราก็จะเน้นด้วย ยอดขาย 2 พันล้าน มาจาก online 40% Alibaba,taobao,tmall,jd.com
เป็น online ที่ครองแชร์ 95% เรากำลังเปิด office ที่เซี่ยงไฮ้กับกวางเจา น่าจะช่วยให้ขยายไปที่ tier 3 กับ 4 ง่ายขึ้น

ประเทศไทย ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่ดีเท่าไร โดยเฉพาะ fmcg(fast moving consumer goods)
แต่ snack +1% สาหร่าย +3% อีกตลาดที่สำคัญคือ tourism ที่มาเมืองไทย ชาวจีน ปีก่อนมาไทย 8 ล้านคน
ครึ่งปี 61 ลดลง 70% อย่างยอดขายที่คิงพาวเวอร์ลดลง 70% พอเข้าสู่ง q3 ตลาด tourist ดีขึ้นเยอะ ใกล้เคียงกับ q1,q2 ปีก่อน
หลังจากกำจัดทัวร์ 0 เหรียญปีก่อน นักท่องเที่ยวที่มาไทยเป็นแบบมาเที่ยงเอง
ทำให้ตลาดในไทยน่าจะปิด +5% ต่างประเทศน่าจะบวก 20% โดยรวมน่าจะบวก 25% ถ้าเป็นไปตามแผน
ปัญหาแรงงานขาดแก้ปัญหาหมดแล้วคิดว่าไม่มีประเด็น
ปัญหาต้นทุนสาหร่าย ที่เพิ่มขึ้น สาหร่ายเป็นเกษตร ออกเป็นฤดู
ปีหน้าถ้าธรรมชาติไม่มีปัญหาอะไร ราคาสาหร่ายน่าจะถูกลง ถ้าไม่มีวิกฤติธรรมชาติ
เพราะมีโรงสาหร่ายที่เป็นวัตถุดิบ เพิ่ม 20% กว่า 30 โรงงาน ซึ่งแนวโน้ม demand สาหร่ายไม่ได้โตหวือหวา
โอกาสที่ demand จะพุ่งเยอะๆไม่น่ามี

ช่วงที่ 2 “ขยายแนวคิดพิชิตหุ้น”
1. คุณศักดา สรรพปัญญาวงศ์ / A-Academy
2. คุณอลงกฎ มโนรุ่งเรืองรัตน์ / เพจ Buffetcode
3. ภก.กิตติศักดิ์ โภคา / เพจ ลงทุนศาสตร์
4. คุณเจษฎา สุขทิศ / FINTECH FINNOMENA
5. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญหุ้น
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

ประวัติ?แนวทางการลงทุน?การเลือกหุ้น?
คุณเจษฎา
เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง finnomena และ บลน. Infiniti (บริษัทหลักทรัพย์แนวหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน)
ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนายก fintech ประเทศไทย ดูแล financial technology
เรียนจบป.ตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ธรรมศาสตร์ ป.โท ที่จุฬา ทำงานสายผู้จัดการกองทุน อยู่หลาย บลจ.
เช่น แบงค์เอเชีย, boa asset management, cio ของ cimb principle
ก่อนที่จะลาออกมาตั้ง infiniti และ finnomena
สมัยเป็น fund manager เน้นลงทุนในกองทุนรวม ในกองทุนที่ตัวเองบริหาร ซึ่งต่างประเทศก็นิยมทำแบบนี้
หลังจากออกจากงาน มาลงทุนเป็นรายย่อยเอง ยังมีประสบการณ์น้อยเพียง 2 ปี
สไตล์การลงทุนส่วนมากเน้น bottom up คือ ดูเป็นรายหลักทรัพย์ ยกเว้น ltf
แนวคิดในการลงทุนเคยแชร์ผ่านเพจ Fund manager talk มาจากหลายแนวคิดกลั่นกรองการเป็นผู้จัดการลงทุน
เรียกว่า “io3” เป็นวิธีการลงทุนแบบสถาบัน (https://www.finnomena.com/fundtalk/io3- ... tock-idea/)

แนวคิดที่อยากลงทุนที่อยากแชร์ในวันนี้ เป็นการลงทุนที่เปลี่ยน business model เปลี่ยนผู้ถือหุ้น หรือเปลี่ยน ceo
เช่น ต้นปี pm ที่เปลี่ยนแปลง ceo ที่อดีตมาจากดัชมิลค์มาแทนท่านก่อน
หรือเปลี่ยน model เช่น มติชน ยุบโรงพิมพ์แล้วไปใช้ของ siamsport แทน
หรือที่เห็นก่อนหน้านี้ที่ศรีสวัสดิ์ซื้อบริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาธร
ส่วนตัวจะมองเข้าเรดาร์ ว่าน่าสนใจติดตาม

คุณกิตติศักดิ์
เป็นเจ้าของเพจ ลงทุนศาสตร์ จบเภสัช มหิดล ปัจจุบันทำงาน 3 อย่าง
1 ) ทำธุรกิจครอบครัว เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อแบรนด์สมุนไพรคงคา คงคาเป็นนามสกุลคุณยาย
ก่อตั้งเมื่อ 20 ปีก่อน จากรุ่นแรกซื้อมาขายไปจนมารุ่นพ่อแม่เป็นโรงงานผลิต และปัจจุบันขยายช่องทางการขาย
2) เป็นนักเขียน เขียนหนังสือเกี่ยวกับเภสัชศาสตร์ ทำยา ผลิตยา สอบใบประกอบวิชาชีพ
3) เป็นนักลงทุน มีเปิดเพจชื่อ ลงทุนศาสตร์
จุดเริ่มต้นลงทุน จากเงินที่พ่อแม่ให้มาซื้อรถ แต่ไม่อยากซื้อ จึงเอาเงินไปบริหาร
และพบกับการลงทุนในหุ้นซึ่งทำแล้วมีความสุข จึงลงทุนมาถึงทุกวันนี้
การเปิดเพจลงทุนศาสตร์ เพราะเพื่อนเป็นสายวิทยาศาสตร์หมด จึงอยากหาเพื่อนลงทุน
แนวคิดอยากเป็นเพื่อนกับทุกคน “คุณเบื่อคุณเหงา คุณมาที่เพจเรา”
ในงาน 3 ส่วน ใช้เวลากับธุรกิจราว 40% ลงทุน 40% งานเขียน 20%

คุณศักดา
เป็นคนต่างจังหวัด ใช้ชีวิตตามที่พ่อแม่บอก จึงไปเรียน ปวช. ช่างกลโรงงาน
พอเรียนเสร็จก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
แต่ก็เรียนไม่ดี เพราะไม่เคยเรียนสายวิทยาศาสตร์
เรียนฟิสิกส์ตัวแรกได้คะแนน 18เต็ม100 ก็ drop
จนได้มาเจอ อ.สุรพล เป็นอ.ที่ดี ก็สอนว่าอย่าทำที่สังคมบอกเรา ลองคิดว่าเราอยากทำอะไร ลองเปิดโลก
สอนให้เราช่วยเปิดแนวคิด แล้วก็ได้มาอ่านหนังสือ ซึ่งเล่มแรกที่เปลี่ยนชีวิตคือ “ไม่คิด ก็ไม่มี”
ของคุณวิเชฐ ตันติวานิช ทำให้เห็นว่าการเงินมีมากกว่าที่เรารู้จัก
มากกว่าออมลงทุน ได้รู้จักคำว่าเกษียณ ดอกเบี้ยทบต้น
รวมถึงคำว่า aging society ก็มีเขียนถึงตั้งแต่ปี 47-48 แล้ว จากนั้นก็เริ่มศึกษาต่อมาเจอหนังสือ “ตีแตก”
และเป็นเหตุผลที่มาเรียน นิด้า และได้เจออ.ไพบูลย์ ด้วย ในช่วงนั้นได้เริ่มวางแผนการเงินของตัวเองแล้ว
วางแผนชีวิตในวันข้างหน้า แผนเกษียณ การลาออกมาทำงานที่ตัวเองเลือก
ก็เกิดจากการวางแผนเมื่อ 12 ปีก่อน จากหนังสือเล็กๆเล่มเดียว และจุดประกายเป็นเล่มต่อๆไป
หลังจากนั้นก็เปลี่ยนสายไปทำงานด้านการเงิน ได้ทำงานกับ อ.สมจินต์
ขยายความเรื่องที่ไม่ได้เรียน ป.เอก ต่อ ตอนที่เรียนกับอ.ไพบูลย์ ก็เห็นอ.เป็นแบบอย่าง
สอนการเงินแต่ไม่ค่อยพูดเรื่องการเงิน ทำให้เราเห็นว่าเรื่องชีวิตสอนในห้องเรียนได้
เรื่องที่ไม่ใช่ทฤษฎีก็เอามาคุยกัน ก็พยายามจะเรียนต่อปริญญาเอก แต่ก็สอบไม่ผ่านซักที
เลยตัดสินใจว่าไม่อยากสอบแล้ว อ.ไพบูลย์จึงช่วยแนะนำให้ได้ทำงานกับอ.สมจินต์
(อ.ไพบูลย์เสริมว่าเป็นการที่คนดีได้เจอกัน อ.สมจินต์ เคยบอกว่าได้คุณเอ
การได้เอ มาช่วยทำงานเป็นของขวัญคริสมาสต์ที่ดีที่สุดในรอบหลายๆปี )
คุณศักดา(ต่อ)
การได้ทำงานร่วมกับ อ.สมจินต์ ถือว่าเป็นการสร้างตัวเราเยอะ ซึ่งแนวคิดใน a acedamy ด้วย
อย่างที่มี flow การสอน หรือสิ่งที่เป็นวิชาการเล่าแบบง่าย และให้แรงใจด้วย
แนวคิดการลงทุนช่วงแรกก็เริ่มจากกองทุนรวม และฝึกลงทุนหุ้นเองด้วย หลังจากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆก็ไปได้ดี
สมัยที่สร้างเนื้อสร้างตัว ชอบบริษัทแนวที่ replicate การทำงานเดิมๆ แล้วขยายตัวเองไม่ยากไป
อย่าง mint , scnyl, bki ตัวที่เปลี่ยนชีวิตจริงๆ คือ global ที่บ้านทำวัสดุก่อสร้างที่มหาสารคาม ก็ได้เห็นลูกค้าขับรถไปซื้อสินค้า global
แนวทางการลงทุนปัจจุบันก็เปลี่ยนไปเยอะ ลาออกมาก็รับความเสี่ยงไม่ได้เท่าเดิม
เมื่อก่อนพอร์ตหลักหมื่นหลักแสนลดลงก็เอาเงินเดือนเติมเข้าไปได้ แต่พอพอร์ต 15 ล้านถ้าลดลงก็กระทบเยอะ
จึงมีสินทรัพย์อื่นเข้ามาแทรก ใช้เวลาราว 70% เลี้ยงลูก เมื่อก่อนถือหุ้น 6-7 ตัว มีเวลาศึกษา
แต่ปัจจุบันใช้เวลาลงทุนไม่ถึง 5% กลับมาซื้อกองทุนมากขึ้น ซึ่งตัวเลือกปัจจุบันมีเยอะ
นอกจากนี้ยังมี private fund บางที่ก็เริ่มต้นล้านเดียวก็มี
เมื่อเราไม่มีเวลา มีเก็บเงินไว้บริหารเอง 2 ล้าน ซึ่งวิวัฒนาการคือ warrant มองว่าเสียหายไม่เป็นไร
ก็เลือกหุ้นไม่กี่ตัวที่มั่นใจ ตัวที่ warrant อายุยาว ก็จะรับความเสี่ยง ที่เล่าก็เพื่อให้เห็นว่าคนเรามีวิวัฒนาการ

คุณอลงกฎ
เจ้าของเพจ บัฟเฟต์โค้ด เป็น investment committee ของ finnomena
จบป.ตรี สถาปัตย์ จากสถาบันบางมด ไม่ได้มีความรู้ด้านการเงินมาก่อน
รู้จักตลาดหุ้นจากคุณพ่อ ซึ่งสมัยเด็กพ่อชอบพาไป แต่ก็ไม่รู้อะไร ไปกินไมโลฟรี
ช่วงปี 40 พวกอาอี๊อากู๋ก็เลิกไปตลาดหลักทรัพย์กัน
ถัดมาเจอตอนปี 3-4 ที่มหาลัย คุณพ่อก็เอาพอร์ตหุ้นให้ไปลองเล่น
ครั้งแรกก็ถามอาอี๊อากู๋ ว่าเล่นอะไรดี ptt,pttep,banpu ช่วงปีก่อน 2007
ตอนนั้นซื้อ pttep สัปดาห์เดียวได้กำไร 1 หมื่น ก็คำนวณเลยว่ารวยแน่
ต่อไปก็ซื้อ ptt 420 บาท แล้วก็เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ปิดสนามบิน จนมาขาย 180 บาท
รู้สึกเสียใจ ไม่เคยเสียเงินเยอะ จนมาเจอเวบ thaivi
ได้ศึกษาเรื่องหุ้น เข้าสัมมนาไม่ทัน แต่ได้โอกาสไปถ่ายรูปสัมมนา จนได้ฟังเรื่องหุ้น ฟังอ.นิเวศน์
จึงไปซื้อหนังสือของอ.นิเวศน์มาอ่าน แล้วก็เข้าใจว่าการลงทุนไม่ใช่แค่การซื้อขาย จึงเริ่มศึกษาการลงทุนอย่างจริงจัง
แล้วก็ลงทุนมาเรื่อย เก็งกำไร technical ลองผิดลองถูก จนได้หลักการลงทุนที่เราได้มา
ซึ่งก็พบว่าหลักการเหมือนที่อ.นิเวศน์ หรือ บัฟเฟตต์บอกไว้ แต่ตอนแรกเราไม่เชื่อ
สุดท้ายจึงแนวคิดลงทุนเป็นพื้นฐาน ในกิจการมีคุณภาพ มีการเติบโต ราคาสมเหตุสมผล
และจากที่ได้เห็นการประชุมประจำปีของบัฟเฟตต์ นอกจากแนวคิดการลงทุน และ life style ของบัฟเฟตต์ก็น่าสนใจ
จึงเป็นที่มาที่เปิด เพจ buffetcode เพื่อช่วยให้คนใหม่ๆได้ข้อมูล ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ดร.นิเวศน์
เมื่อ 60 ปีก่อน สถานการณ์ใช้ชีวิตคนไทยไม่เหมือนสมัยนี้ ประเทศยังเพิ่งพัฒนา
เกิดในครอบครัวที่ไม่มีอะไร ชีวิตยังยากลำบาก ที่จำได้มาตลอดว่าชีวิตเรามาถึงทุกวันนี้เพราะอะไร
1.เรามีสมองพอใช้ได้ เรียนใช้ได้ เหนือกว่า average หน่อย
2.โชคดี เพราะเราเกิดถูกเวลา
สมองที่พอใช้ได้ทำให้สามารถพัฒนาตัวเองได้ และโชคดีที่ทำงานที่ไหนก็เจ๊งหมด
เพราะคนที่ประสบความสำเร็จในงานสุดท้ายดี ถ้าสำเร็จก่อนก็จะติดงานนั้นไป
แต่เราไปสำเร็จในงานสุดท้ายคือการลงทุน ก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะเป็นเซียนหุ้น
คิดแค่ว่าจะเขียนหนังสือเก่ง เป็นได้นักวิชาการ ได้รับการยอมรับ แต่ไม่ได้คิดว่าจะร่ำรวยจากหุ้น
การลงทุนทำให้ทุกวันนี้ก็ทันสมัยขึ้น มีโลกทัศน์ขึ้น มีเวลาอ่านหนังสือเยอะขึ้น
จนอ่านหนังสืออาทิตย์ละเล่ม อ่านกว้างขึ้น เช่น จะเลี้ยงเด็กอย่างไร

ขยายแนวคิดพิชิตหุ้น
คุณเจษฎา
อยากแชร์แก่นที่เหมาะกับยุคปัจจุบันและใช้วิธีคิดนี้มานานแล้ว
MOSAIC คือ ตำรา CFA, ตำรา Finance
เป็นวิธีคิดของเรากับข้อมูล ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งจากเชิงพื้นฐาน กับสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว
เราคิดว่าหุ้นนี้ดี แต่ตลาดรับรู้หมดไปแล้ว เช่น เวลาประกาศงบดี แต่หุ้นลง
ข้อมูลมี 4 ชนิด คือ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ตามนัยสําคัญและความลับ
กลุ่มหนึ่งคือ มีนัยสําคัญกับ ไม่มีนัยสําคัญต่อพื้นฐานหุ้น
- มีนัยสําคัญเช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง, อัตรากำไรดีขึ้น
- ไม่มีนัยสําคัญเช่น ประวัติความเป็นมา, พื้นเพ ต้นตระกูล
อีกกลุ่มคือ ข้อมูลที่เป็นความลับ กับไม่เป็นความลับ
ข้อมูลที่ไม่มีนัยสำคัญ แต่เป็นความลับเปิดเผยได้
แต่ข้อมูลที่มีนัยสําคัญและเป็นความลับ เช่น ผู้รับเหมากำลังประมูลงาน
จะไม่สามารถบอกได้ว่าประมูลได้หรือไม่ได้ ซึ่งถ้าผู้บริหารใช้สิ่งเหล่านี้มาใช้ซื้อขายผิดกฏหมาย
สิ่งสำคัญในการหาหุ้น เราควรเอาข้อมูลที่มีนัยสําคัญกับไม่มีนัยสําคัญมารวมกัน
แล้วทำให้เป็นความเชื่อของเราที่มีกับหุ้นตัวนั้น ย้อนไปเมื่อ 4 ปีก่อน หุ้น uniq
สมัยนั้นทำงานเป็นผู้จัดการกองทุนแล้วศึกษาเจอบริษัทนี้ ประมูลรถไฟฟ้าได้ครั้งแรก
คือสายสีแดง mkt cap ราว 4-5 พันล้าน สมัยนั้นมี เสือสามตัว itd,ck, stec ซึ่งมี mkt cap 3-4 หมื่นล้าน
ซึ่ง PE เสือ 3 ตัว 30 เท่าเท่า แต่ uniq 10 กว่าเท่า เวลาไปไหนก็เห็นรถของ uniq เต็มไปหมด
ในขณะข้อมูลในตลาด โบรกเกอร์ต่างๆก็ไม่มีใครคิดว่า uniq จะขึ้นมาได้ในตลาด
หลักสำคัญคือ เก็บต้องเอาข้อมูลที่มีมาปะติปะต่อกัน เหมือนเล่นโป๊กเกอร์ถ้าเรามีโอกาสชนะมากกว่าก็ควรจะสู้
ในยุคปัจจุบันอยากเสริมว่า ถ้าเราตามอะไรในยุคออนไลน์ ตัวเราก็จะเป็นแบบนั้น
ลอง search stock space ใน facebook เป็นพื้นที่แชร์ความรู้หุ้นรายตัว หลายคนก็มาทำการบ้านในนี้
ช่วยกันแชร์ความเห็นความคิดที่มีกับหุ้น การลงทุนให้สำเร็จไม่ได้เกิดจากนั่งฟัง
แต่มาจากการทำการบ้านเอง เช่น ใน thaivi, ติดตามเพจใน stockspace จะมีคนช่วยคิดช่วยแชร์ ช่วยให้เราสำเร็จได้มากขึ้น

คุณศักดา
ชวนขยายแนวคิดใน 2 ด้าน คือเข้าใจตัวเองในการลงทุน กับ ทางเลือกใหม่ๆที่เปิดให้คนทั่วไปใช้ได้
อย่างที่ 1 การเข้าใจตัวเองในการลงทุน เราลงทุน 12-13 ปี ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จคือยืนระยะอยู่ได้นาน
ผ่านภาวะตลาดดีตลาดแย่ การยังเคารถศรัทธาตัวเองอยู่
อย่าง fb ตลาดดีคนจะโพสต์กำไร ความสำเร็จ ถ้าเราเป็นคนที่แย่ก็จะกระทบด้วย
อยากชวนให้ลงทุนแบบมีเป้าหมายก่อน ลงไปเพื่ออะไร เป็นมูลค่าเท่าไร ควรบรรลุในกี่ปี
จะออกมาเป็นผลตอบแทนค่าหนึ่ง คือ required rate of return ที่เราต้องได้
เท่าที่คุยมาส่วนใหญ่ไม่มีคิดไว้ สิ่งแรกที่อยากให้คิดคือเราต้องการเท่าไรที่ทำให้เรามีความสุขในชีวิต
ตั้งแต่มีลูกก็มีเวลาน้อยลง ปีนี้พอร์ตลบ 15% ส่วนที่บริหารเอง ทั้งที่ตลาดบวก 13% แสดงว่าติดลบ 28%
จึงเริ่มทบทวนตัวเอง ส่วนหนึ่งคือเวลาน้อยลง กับอีกส่วนคือเราลืมความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง
จึงเริ่มทบทวนว่ามีเท่าไรจึงมีความสุข สำหรับตัวเองมี 15 ล้านก็อยู่ได้ มีความสุข แต่ถ้ามี 20-30 ล้านก็คงสบายกว่านี้
แต่ถ้ามี 50 ล้านคิดไม่ออกเลยว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร
ซึ่งถ้าคิดเรื่องดอกเบี้ยทบต้น ปีละ 8-10% เราก็ไปถึงตรงนั้นได้ ไม่ต้องหมกมุ่นเรื่องการลงทุน
เคยได้ยินคำว่าชีวิตคือการลงทุน แต่ที่จริงการลงทุนคือส่วนหนึ่งของชีวิต ยังมีอีกหลายด้านที่เราต้องไปพัฒนา
จึงเริ่มวางใจที่จะวางมือ เริ่มใช้กองทุนรวมมากขึ้น เริ่มใช้ private fund พอเห็นคนโพสต์กำไรแรงๆก็เริ่มมีอิจฉาอยู่บ้าง
แต่ก็เข้าใจตัวเองว่าเราไม่ได้มีเวลา เราไม่ได้ต้องการขนาดนั้น
อย่างที่ 2 ทางเลือกการลงทุน ในโลกนี้ไม่ได้มีแต่หุ้นไทย และหุ้นไทยก็ไม่ได้มีแต่ที่ต้องซื้อเอง
กองทุนรวมเป็นเครื่องมือพื้นฐานสุดจนคนมองข้าม ว่าเอาชีวิตตัวเองไปฝากกับ fund manager
ซึ่งที่จริง fund manager ก็ต้องทิ้งชีวิตส่วนตัวตัวเองมาบริหารกองทุน
อย่างกองทุนหุ้นไทยที่ดีๆ บวก 30-40% ก็มี ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ถ้าติดตามใน thaivi มาเองก็จะเห็นว่ามีกองทุนไปเวียดนามเยอะ ทางเลือกก็มีอีกเยอะในโลก
อย่างตอนนี้พอร์ตก็มีหุ้น technology เห็น amazon, Alibaba ขึ้นมาเยอะ
แต่ก็ถอยไปข้อแรก ว่าเราไม่มีเวลาไปทำเหตุให้ดี ก็ลงทุนในกองทุน global tech
หรือบางคนอย่างลงทุนหุ้นที่มั่นคงสูงหน่อย หุ้นโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศก็มี option ที่ดี
อย่าง ทางด่วนในยุโรป สายส่งไฟฟ้า ประปาในประเทศที่พัฒนาแล้ว
อยากให้มองหุ้น มากกว่าหุ้นไทย มากกว่าแค่ลงทุนเอง บางกองเริ่มจากใช้เงินแค่ไม่กี่บาทก็ลงทุนได้

คุณกิตติศักดิ์
หลักที่คิดขึ้นมาและใช้มาตลอด ซึ่งสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก
ซึ่งหลักไม่ได้ต่างกับท่านอื่น แต่ที่ชอบใช้คือ post honey moon period
หุ้น ipo วันแรกเหมือนแต่งงาน ทุกคนจะแห่ซื้อกันวันแรกจึงมีโอกาสยากมากที่ต่ำก่วาราคาพื้นฐาน
แต่ 3 เดือนแรก เรียกว่าช่วง honey moon อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ยังมีคนที่ถือ ราคามักจะทรงอยู่ในช่วงสูง
จนถึงหลัง 3 เดือน ถึง 1 ปี คนไม่ค่อยสนใจ ไปหาหุ้นใหม่ ดู ipo ใหม่
ซึ่งงบการเงินออก 2-3 ไตรมาสแล้ว บทวิเคราะห์ก็จะไม่ค่อยเยอะ
หุ้นเหล่านี้จะมีข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่ไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณ
สิ่งที่ชอบคือ scuttlebutt ไปสำรวจที่หน้าร้าน ว่าขายดีแค่ไหน ยอดขายได้แค่ไหน
ซึ่งทำให้สามารถเอาชนะคนส่วนใหญ่ในตลาด คนส่วนใหญ่มักจะทำสิ่งที่เป็นค่าเฉลี่ย
เช่น ดูงบย้อนหลัง อ่านบทวิเคราะห์
ในช่วง 1 ปีหลัง ipo ก็จะติดตามหุ้นที่น่าสนใจ ในอุตสาหกรรมที่ดี และเลือกลงทุน
ซึ่งก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีจากกลุ่มนี้
การลงทุนคือการทดสอบสมมติฐาน การลงทุนไม่ใช่คิดว่าหุ้นนี้ดีแล้วซื้อคือจบ
มันคือ scenario analysis ถ้าดีจะทำอะไร ถ้าไม่ดีจะทำอะไร ถ้างบออกมาดีหรือไม่ดีกว่าที่คิดเราจะทำอะไร
แชร์หลักการซื้อและขายหุ้น 2 แบบ
1.ซื้อแบบฟิลิป ฟิชเชอร์ จะซื้อหุ้นเมื่อโตและถือไปให้ยาวที่สุดจนกว่าหุ้นตัวนั้นจะไม่โต จึงยอมขาย
2. ซื้อแบบลินซ์ คือหุ้นแบบแข็งแกร่ง ถ้าซื้อหุ้นที่ถูก แต่แข็งแกร่ง โตไม่มากนัก เช่น 10-15%
เมื่อหุ้นขึ้นมาในราคาที่เหมาะสมหรือแพง เราก็จะขายออกไป เราซื้อเมื่อถูกก็จะขายเมื่อแพง
ซึ่งจะทำตามหลักและทำตามวินัยไปเรื่อยๆ วิธีนี้อาจไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด
เมื่อเรารอจนมั่นใจว่ามันไม่โต ราคาตลาดก็ลงมาแล้ว แต่หุ้นที่มันเติบโตดีมากๆ เราก็ยังถือไปเรื่อยๆ
เราไม่ได้เชื่อตลาดคิด อาจไม่ใช่วิธีสร้างผลกำไรมากที่สุด แต่เป็นวิธีที่ทำแล้วสบายใจกับเรา เราคาดหวังผลตอบแทนไว้ 10%
เราทำธุรกิจด้วย เรา มองว่าการซื้อหุ้นคือซื้อธุรกิจ เมื่อมีปัญหาหรือเมื่อจะขายเราต้องคิดเยอะ
อยากให้ขยายว่าหุ้นไม่ได้มีแค่ set 50 , set100 หรือแค่หุ้นร้อน แต่จะมีหุ้นเงียบๆที่คนไม่ได้สนใจ

คุณอลงกฎ
ชอบลงทุนในหุ้น consumer กำลังมองว่าในสิ่งที่เรามองตอนนี้คืออะไร
อย่างของกินของใช้ขนม แล้วถ้าตั้งคำถามว่าอะไรคือหุ้น consumer ในยุคถัดไปอีก 10 ปีข้างหน้า
ในอดีตสมัยเราใช้รถม้า แล้วมีคนสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ขึ้นมา มันจะสู้รถม้าได้หรือ มันจะปลอดภัยหรือ
แต่ถัดมา 100 ปี รถทุกคันขับเคลื่อนด้วยรถยนต์
ในอดีตคนใช้เทียน แล้วมีคนคิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ มันจะดีไหม มันจะอันตรายหรือเปล่า แต่ทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
สิ่งที่อยากพูดถึงวันนี้คือ internet ทุกวันนี้ มีใครไม่ใช้ internet บ้าง
ต่อไปจะกลายเป็นสินค้า consumer ในยุคถัดไป สินค้านี้จะมีความยั่งยืนมากขึ้น
อย่าง facebook, google กลายเป็น consumer ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน
มันมี sector technology ที่เป็น consumer ไม่ได้เป็นแค่ technology อีกต่อไป
ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เราก็จะคิดถึงอเมริกาก่อน google, Netflix, amazon แต่ปัจจุบัน
ที่เราบอกว่า facebook ดี เขา copy บริษัทหนึ่งมา เป็น app ที่สำเร็จมากในจีน
คือ wechat ของ tencent ในจีน ซึ่ง app นี้สามารถเรียก taxi ได้
จึงทำให้เริ่มสนใจหุ้น technology ในจีน จากที่เคยคิดว่า บริษัท technology ในอเมริกา เป็นบริษัทใหญ่มาก
แต่พอศึกษาพบว่า tencent มี mkt cap 4 แสนล้านเหรียญ ใกล้เคียงกับ facebook มาก
จึงอยากฝากไว้ว่ามันน่าสนใจและอยู่ใกล้กับประเทศไทย
ซึ่งเราสามารถลงทุนหุ้นเหล่านี้ผ่านกองทุนรวม เช่น Alibaba หรือ wechat
ซึ่ง business model พวกนี้เป็นแบบ true winner take all เช่น Alibaba เรารู้จักว่าเป้น e-commerce แต่ที่จริงมี
ธุรกิจ cloud, ขนส่ง มีการเติบโตสูง
อย่างบริษัทใหญ่ในไทย เติบโตปีละ 5-10% แต่บ.ใหญ่อย่าง Alibaba, tencent เติบโต 50% กำไร 2-3 แสนล้านบาท
ซึ่งสามารถเอากำไรมา takeover หุ้นในไทยได้เลย

ดร.นิเวศน์
ดูตัวเองมาตลอด และระยะหลังคิดกับการลงทุน พูดตลอดว่าใช้ competitive model มองทุกอย่างในโลกเป็นการแข่งขัน
ที่บ้านมีแมว 1 ตัว มีหมา 1 ตัว มีแมวเป็นโลกไตต้องฟอกเลือดทุก 2 วัน หมาเป็นโรคตับ
แมวกับหมา 2 ตัวนี้เก่งมาก ทั้งคู่เอาใจที่บ้านตลอดเวลา ที่จริงเป็นแมวเถื่อนมาขอกินจนเลี้ยงประจำ
อย่างที่ชอบดูดารา ก็เป็นการฝึกสมองว่าใครแข่งกับใคร จะตัดสินใจว่าใครชนะหรือแพ้ เป็น master of all judge
ใครจะเอาตัวรอดได้ดีกว่ากัน หรืออย่างเรื่อง uniq แข่งอีก 3 เจ้า ใครจะแพ้ชนะแบบนี้ก็จะอยู่ในสายตา
หรือดาราใหม่โผล่เข้ามาก็จะจับตาดู ว่าจะแสดงเรื่องอะไร จะดังเมื่อไร จะมีการตัดสินในสมองเรา
อย่างญาญ่าจะเป็นแนวสดใส แต่แต้วเป็นแนวหวาน
บริษัทก็เหมือนกัน จะมองว่าใครชนะ แล้วถ้าราคาหุ้นไม่แพง ก็จะซื้อแล้วถือไปเรื่อย
ถ้าเรามองปัจจัยในการแข่งขันเก่ง ความได้เปรียบคู่แข่ง อุตสาหกรรมยังโต ยิ่งอยู่นานยิ่งดี
จนกว่าจะโตเต็มที่ หรือมีคู่แข่งเจ้าใหม่ที่เด่นมาก ทำให้เขาตกไป
ถ้าเป็นคนอายุมากขึ้น ต่อให้เป็นระดับ top แต่วันหนึ่งก็ต้องตกลงไป valuation เราก็ต้องให้ลดลง
อย่างข้อมูลกำไรขาดทุน ไม่ค่อยศึกษา มันเปลี่ยนได้ง่าย แต่ความสามารถแข่งขันจะเป็นสิ่งที่อยู่ทน

อ.ไพบูลย์
33 ปีที่อยู่ในตลาดหุ้น หลังกลับจากเมืองนอกก็เข้าตลาดหุ้น สอนหนังสือ
มีสรุป 3 เรื่อง คือ โลภ โกรธ หลง
โลภ หุ้นขึ้น เสียดายซื้อน้อย ซื้อเยอะ เสียดายขึ้นน้อย
โกรธ ซื้อเสร็จลง หงุดหงิด
หลง สำคัญสุด เรากำลังหลงว่า การรวยหุ้นที่สุด กำไรมากสุด มีเงินมากกว่าคนอื่นคือเป้าหมายที่อยากได้
มีน้อยคนที่จะเป็นอย่างคุณศักดา ว่าเราตั้งเป้าเท่านี้ มีความสุขกว่า มีเวลามากกว่า น่าจะถูกต้องกว่า
ถ้ามองผิดทุกอย่างผิดหมด หลงมาก่อน ตามด้วยโลภ ตามด้วยโกรธ
ถ้าอยู่ในตลาดหุ้นต้องมีหลักยึดให้ชัดเจน ตามที่คุณเอ พูดถึงน่าจะเป็นหลักยึดที่มีประโยชน์
พุทธศาสนาสอนไว้สำหรับปุถุชน เป็น ทาน ศีล ภาวนา
ถ้าอยู่ในตลาดหุ้นแล้วอยากมีหลักยึด
1.ต้องทำทาน 2.ต้องมีศีล 3.ถ้ามีโอกาสก็หาโอกาสภาวนา มากบ้างน้อยบ้างชีวิตถึงจะดีขึ้น
พวกเราอยู่ในโลกการเงิน เป็นโลกที่ใครๆอยากจะอยู่ แต่คนที่ไม่ได้อยู่ในโลกนี้
เขามองว่าพวกเราเป็นโลกที่มีกรรม มีเงินแล้วไม่เคยพอ มีเงินแล้วไม่มีความสุข
ยังโลภอีก หุ้นตกยังโกรธ ยังหลงว่าเป็นวิถีชีวิตที่ต้องทำจนตาย
ลองไปทำทาน ศีล ภาวนา รายการ money talk ก็ทำด้วยแนวคิดอยากให้เรามีหลักคิดที่ถูกต้อง ถวายเป็นพระราชกุศล

อ.เสน่ห์กล่าวปิดท้าย
เสริมแนวคิดเสริมค่าความสำเร็จ อย่าคิดเข็ดคิดเคืองเรื่องล้มเหลว
คิดสิ่งใหม่จากหลายแหล่งเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ลงเหวหรือติดดอยพลอยร่ำรวย


ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ หมอเค และทีมงาน money talk ที่ร่วมจัดงานและดำเนินรายการดีๆครับ
ขอบคุณผู้บริหารทั้ง 3 บริษัทที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
และขอบคุณแขกรับเชิญคุณเจษ คุณเอ คุณเบส คุณมาร์ชที่ให้มาช่วยขยายแนวคิดการลงทุน

ข้อมูลที่แชร์หากผิดพลาด ตกหล่นอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตาม VDO ฉบับเต็มได้ทาง fb live, youtube และช่อง TV ครับ

Money talk@SET ครั้งถัดไป เสาร์ 11 พ.ย. จอง เสาร์ 4 พ.ย.
หัวข้อ 1 หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย แขกรับเชิญ ผู้บริหารจากบริษัท prm, pttgc, uniq
หัวข้อ 2 ยุทธศาสตร์สู้วิกฤติ แขกรับเชิญ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์(น้องธันย์), คุณศิริวัฒน์ แซนด์วิช,
ชิณณ์ กิตติภานุวัฒน์, เฮียคลาดเครียด คุณธานินทร์
Go against and stay alive.
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 38

Re: MoneyTalk@SET8/10/60หุ้นเด่นQ460&ขยายแนวคิดพิชิตลงทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะน้องบิ๊ก ^^
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 260

Re: MoneyTalk@SET8/10/60หุ้นเด่นQ460&ขยายแนวคิดพิชิตลงทุน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณน้องบิ๊กครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2620
ผู้ติดตาม: 260

Re: MoneyTalk@SET8/10/60หุ้นเด่นQ460&ขยายแนวคิดพิชิตลงทุน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หลังจากฟังแนวคิดการลงทุนจากช่วงที่2ของMoney Talk
หัวข้อ ขยายแนวคิดพิชิตหุ้น

ลองมาคิดดูว่าสามารถปรับใช้กับนักลงทุนทั่วไปที่พึ่งลงทุนได้อย่างไร

หุ้นกลุ่มconsumer ที่คุณมาร์ท และ คุณเอพูดถึง เช่น Alibaba หรือ Tencentซึ่งมีโอกาสโตมากๆในอนาคต

แต่ถ้าเป็นมือใหม่ หรือ คนที่ยังทำงานอยู่
ก็อาจจะยากในการติดตามเพราะเป็นหุ้นต่างประเทศ ลองเอาแนวความคิดของคุณเอมาใช้

คือให้คนอื่นมาทำงานแทน เช่น ลองหาดูว่ามีกองทุนต่างประเทศกองไหนบ้างที่ลงทุนหุ้นเหล่านี้บ้างก็ไปลงทุนในกองนั้นเลย

หรือ ถ้าง่ายกว่านั้นก็ไปลงทุนกับบลจในไทย ซึ่งไปลงทุนกองต่างประเทศนั้นอีกต่อ อาจต้องเสียค่าmanagement fee 2 ต่อ แต่ก็ยังคุ้มถ้าเรามองว่าหุ้นเหล่านี้จะโตอีกมาก

ส่วนถ้าต้องการลงทุนในหุ้นเองต้องศึกษาตัวหุ้นค่อนข้างมาก ผมอีกวิธีที่เคยใช้สมัยก่อนตอนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจการลงทุนแบบวีไอ เพราะตำราและกรณีศึกษามีน้อยมาก สัมมนาเรื่องหุ้นก็มีแต่Moneytalk
ท่ีช่อง11แต่ตามชมลำบากเพราะเวลาออกอากาศเลื่อนบ่อย
บางทีเที่ยงคืนยังไม่มาเลย

ช่วงนั้นได้มีโอกาสไปฟังคุณณสุ จันทร์สม ซึ่งเป็น fund manager
อยู่ที่ บลจ อเบอร์ดีน พูดถึงแนวคิดการลงทุน
โดยใช้แนวของฟิลิป ฟิชเชอร์ ไปเยี่ยมชมบริษัทก่อนการลงทุน
เป็นแนวทางการลงทุนแบบหุ้นคุณค่า จึงตัดสินใจลงทุนกองทุนAberdeen small cap และ ดูหุ้นที่กองทุนลงทุน
เช่น Modern trade ในเมืองไทย หรือ ธนาคารขนาดเล็กที่พึ่งซื้อส่วนconsumerของธนาคารStandard charterไป

เราก็สามารถนำหุ้นเหล่านี้มาศึกษาต่อ และ รอคอยจังหวะราคาหุ้นที่อาจเจอวิกฤตชั่วคราว เข้าไปซื้อลงทุน
โดยปกติคนทำงานจะไม่ค่อยเข้าไปดูหุ้นบ่อยๆ ซึ่งเป็นข้อดีเพราะถ้าเราถือยาวพอ จะข้ามช่วงวิกฤตเหล่านี้ไปได้

ส่วนที่ดร นิเวศน์ พูดถึงว่า การใช้ชีวิตประจำวัน จะคอยเปรียบเทียบ2สิ่งว่าอะไรดีกว่ากัน
ผมอาจจะประยุกต์ เช่น ถ้าเห็นหุ้นบางตัวน่าสนใจ แต่ราคาแพงมาก อาจไปหุ้นที่ลักษณะคล้ายกัน หรือ ทำธุรกิจร่วมกัน
เพื่อลงทุนแทน ตัวอย่างเช่น AMATAV ซึ่งตอนIPOราคาแพงมาก ก็ไปลงทุนบริษัทแม่ เช่น AMATA ซึ่งตอนนั้นเมื่อปี2559 ราคายังไม่สูงแทน ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีที่เราสามารถลงทุนโดยมีแต้มต่อได้

ส่วนแนวทางการลงทุนของอีก2ท่านคือคุณเจษฎาและคุณเบส เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์มากขึ้นหน่อย
กลยุทธ์ของคุณเจ๊ด IO3 รายละเอียดติดตามจากstockspace
Page เป็นกลยุกต์การติดตามบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่มีสาระสำคัญ
เช่นการเปลี่ยนผู้บริหารต้องตามศึกษาว่าบริษัทไหนที่มีการเปลี่ยนผู้บริหาร คนใหม่เข้ามาจะดีกว่าเดิมหรือเปล่า

หรือ กลยุทธ์Post Hunneymoon periodของคุณเบสเป็นการตามบริษัทที่เข้าตลาดมา1ปี และ สนใจเข้าไปศึกษา ทำscuttlebutt กว่าจะลงทุน น่าจะเป็นขั้นต่อไปสำหรับมือใหม่ แต่ถ้าเราอยากลองทำตาม ก็ดีครับ เป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมหาประสบการณ์ ถ้าได้ลงทุนจริง เป็นการเล่นจริงเจ็บจริงแต่ก็จะเก่งขึ้นด้วย

คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาก่อนการตัดสินใจทุกครั้งนะครับ
โพสต์โพสต์