MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปสัมมนา Money Talk@SET 16/9/2017

ช่วง 1 “ตะลุยหุ้นเวียตนาม” รู้ลึก รู้จริง ลงสนามจริง กับ CIMB”
1) คุณกัลชุญา ศุขเทวา ผู้เชี่ยวชาญเวียตนาม (คุณอุ๋ม)
2) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3) คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี
4) คุณเกษม พันธ์รัตนมาลา Head of Research บล.ซีไอเอ็มบี (ช่วยแปลให้คุณ Minh)
5) Mr.Minh Tran MD Investment Banking Division, VNDIRECT Securities Corporation
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ดำเนินรายการ

ในประวัติศาสตร์ไทยที่ลงทุนหุ้นจนร่ำรวยขึ้นมาได้ คิดอย่างไรกับการลงทุนเพื่อรักษาความมั่งคั่ง?
ดร.นิเวศน์ พยายามรักษาให้ไม่ลดลง เพิ่มขึ้นยากแล้ว เพิ่มได้นิดหน่อยก็พอใจ
การลงทุนให้ได้กำไรเยอะๆแบบ 10 ปีที่ผ่านมายาก เพราะมีสถานการณ์ที่คนไทยสนใจการลงทุนพิ่มขึ้นมาเยอะ
คนมาลงทุนในหุ้นที่คุณภาพดี ราคายังไม่แพง ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ขึ้นมาเยอะ
ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยที่เพิ่มขึ้นมาก็ไม่ได้ผิดปกติ ประเทศอื่นหุ้นก็ขึ้นแบบนี้
ดังนั้นลงทุนตามปกติไม่ได้เปลี่ยนชีวิต แต่หุ้นกลุ่มหนึ่งที่มีคุณภาพดี คนยังไม่สนใจ ขึ้นมาเยอะ
ทำให้ VI ที่ลงทุนเก่งๆ เลือกในสิ่งที่คนยังไม่สนใจ จึงรวยขึ้นมาเยอะ
พอคนลงทุนแบบนี้กันหมดหุ้นก็ขึ้นสูงหมด ทุกคนรู้ว่าแพง โอกาสที่จะเจอเพชรเจอทองง่ายๆไม่มีแล้ว
จึงคิดว่าการลงทุนในไทยจะอยู่ในภาวะปกติ ได้ 10% ต่อปีก็ดีใจแล้ว
ปี 40 หุ้น 800 กว่า ตอนนี้ 1600 เท่าตัว ซึ่งตั้ง 20 ปี แต่ถ้ามอง 10 ปีย้อนหลังถือว่าขึ้นเยอะ
โดยหลักการลงทุนที่ดี กระจายความเสี่ยงไปในหลายปรเทศหลายตลาด เพราะมันมีจังหวะของมันที่ดี
จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยความเสี่ยงเท่าเดิมหรือลดลง
เราเป็นคนไทย รายจ่ายต่างๆอยู่ในไทย ยังไงก็ลงทุนในไทยเป็นหลัก ต่างประเทศเป็นตัวรอง
เงินลงทุน 80% อยู่ในไทย 10%กว่าอยู่ในเวียดนาม ซึ่งที่ลงทุนเวียดนามที่ผ่านมายังไม่ได้ประสบความสำเร็จ
อย่าเพิ่งคิดว่าไปลงทุนเวียดนามแล้วจะรวย เหมือนตอนที่ลงทุนเมืองไทยใหม่ๆก็ไม่ได้คิดว่าจะรวย
ยังไม่ถึงจุดที่จะมีหุ้น VI ที่ลงทุนแล้วจะรวยเร็วๆ ยังไม่มี ที่ขึ้นเยอะๆเป็นหุ้นที่สถาบันลงทุน
คนเวียดนามก็ยังไม่เล่นหุ้นเท่าไร หุ้นถูกๆก็มีเยอะ แต่ไม่ค่อยขึ้น ปันผลดี

จะจัดการเงินให้ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนดี ต้องจัดการอย่างไร?
คุณวิน หลักง่ายๆถ้ามีเงินก้อนหนึ่งแล้วลงทุนอย่างเดียวจะมีความเสี่ยงสูงมาก
ถ้ามีเงิน 100 บาท ต้องลงทุนหลายหลักทรัพย์ก่อน หุ้น,ตลาสารหนี้,ทางเลือก
แล้วแต่ละหลักทรัพย์ก็ต้องกระจายอีก เช่น หุ้นหลายตัว, หุ้นหลายประเทศ
จะทำให้ความผันผวนของพอร์ตโฟลิโอน้อยลง
หุ้นไทยมี 500 ตัว หุ้นโลกจะมมีเป็นหมื่นตัวให้เลือก เช่น ผู้ผลิตยา,ผู้ผลิตมือถือ ในตลาดหุ้นไทยไม่มีให้เลือก
ตลาดหุ้นไทยมีขนาด 0.3% ของหุ้นโลก ถ้าจะมีทางเลือกให้มากขึ้นก็ไปลงทุนหุ้นอื่นในโลก

ถ้าต้องแบ่งเงินไปต่างประเทศ มีช่องทางประเทศไหน หรือควรเลือกอย่างไร?
คุณเกษม ก่อนไปต่างประเทศต้องทำการบ้าน ศึกษาให้ดีก่อนมีความเสี่ยงแต่ละประเทศ
กฏระเบียบต่างๆค่อนข้างเยอะ ถ้าดูการกระจายความเสี่ยง ช่วงหลังตลาดหุ้นไทยขยับเพิ่มมา แต่ตลาดหุ้นโลกขึ้นไปเยอะ
ช่วงต้นปีเงินไหลกลับไป US, Europe เพราะคาดว่าจะ perform ดี
ในตลาดเอเชีย มีการปรับตัวดีเช่นเดียวกัน มีของไทยที่เพิ่งขึ้นเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน
ส่วนหนึ่งเพราะการเมืองดีขึ้น และพวกกองทุนมองว่าหุ้นไทยจะขยับตามา
ปัจจัยสำคัญคือ เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นไหม ต้องมาเปรียบเทียบดูว่าเศรษฐกิจเราเทียบกับเพื่อนบ้านหรือตลาดโลกจะดีไหม?
ถ้าหากโตน้อยกว่าต่างประเทศ เราก็อาจจะพิจารณากระจายไปต่างประเทศ
เช่น ยุโรป ที่ผ่านมาแย่มาหลายปี หรือ ประเทศที่ได้ประโยชน์จากตลาดโลกฟื้นตัว
เช่น เทคโนโลยี เอเชียเหนือก็จะได้ประโยชน์ เช่น เกาหลี ไต้หวัน
2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ใช่มีแค่ตลาดหุ้นไทย เวียดนามก็ขึ้นสูสีกับเรา แต่ถ้าเทียบทั้งปีเวียดนามดีกว่าเรามาก

มีเงินลงทุนที่ไหนบ้าง?
คุณอุ๋ม 40% เวียดนาม 10% ไทย ที่เหลือเป็น mix ระหว่างอเมริกา 20%กับ เงินสด
สาเหตุที่ลงทุนเวียดนามเพราะใกล้พอที่จะไปได้บ่อยๆ ไปดูงานบ่อยๆ สามารถเดินทางไปทุกเดือน
การเจริญเติบโต และศักยภาพของบุคลากรเยี่ยมยอด ประชากรหนุ่มสาว
การเจริญเติบโตเศรษฐกิจรัฐบาลมองที่ 6.7% เทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค จีน 6.5% ไทย 3.2%
ดูในแง่ market cap. ไทย 4 แสนล้านเหรียญกว่า เวียดนาม 1 แสนล้านเหรียญ ยังต่างมาก PE ต่ำกว่า
ROE สูงกว่า ไทย 5% เวียดนาม 15% วัฒนธรรมอะไร สามารถเปรียบกับไทยได้เหมือน 15 ปีที่แล้ว

ประเทศเวียดนามน่าสนใจอย่างไร?
คุณ Minh เวียดนามหนึ่งในประเทศที่ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องของการส่งออก
ในอดีต ช่วงปี 1970 คือ ญี่ปุ่น ปี 1980 เกาหลี ปี 1990 ไทย ปี 2000 จีน
และตอนนี้คือ เวียดนาม เป็นประเทศส่งออกสำคัญ
demographic โครงสร้างประชากร >50% เป็นวัยทำงาน
จำนวนคนชั้นกลาง และรายได้ต่อหัวของคนชั้นกลาง จะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าในปี 2020
คุณเกษม เสริมว่าตัวเลข IMF GDP จะเติบโต 6.5% ไปได้อีก 3 ปี
คุณวิน แสดงและอธิบายข้อมูลเปรียบเทียบ เวียดนาม กับไทย
ข้อมูล Macro
- จำนวนประชากร เวียดนาม 95.3 ล้านคน ไทย 68.2 ล้านคน
- อายุเฉลี่ย เวียดนาม 30.1ปี ไทย 37.2 ปี เวียดนามส่วนใหญ่ยังเด็กอยู่ ต่อไปมีงานทำ มีรายได้ จะมีการบริโภคสูงขึ้น
- %urbanization เวียดนาม 33.6% ไทย 50.4% คนเวียดนามจะทยอยย้ายเข้าเมือง
ซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อมอเตอร์ไซค์ ใช้ร้านสะดวกซื้อ
- %ผู้ใช้อินเตอร์เน็ท เวียดนาม 52.7% ไทย 39.3% น่าแปลกใจ ที่คนไทยใช้อินเตอร์เน็ทน้อยกว่าเวียดนาม
คนเวียดนามสั่งซื้อมือถือonline ส่งถึงบ้านในครึ่งชั่วโมง การใช้ grab uber ใช้กันเป็นเรื่องปกติ
- %GDP growth(2016) เวียดนาม 6.2% ไทย 3.2% เวียดนามคาดว่าจะโตปีละ 6% กว่า
ข้อมูลตลาดหุ้น
- จำนวนหุ้น เวียดนาม มี 2 ตลาดหุ้น ฮานอย, โฮจิมินส์ รวมกัน 700 กว่าตัว ไทย 575
- %retail investor เวียดนาม 79% ไทย 46% เวียดนามมีรายย่อยเยอะกว่าไทย
ยังไม่มีสถาบัน ไม่มีประกันสังคม, กบข. รายย่อยชอบลงทุนรายวัน ข่าวดีซื้อ ข่าวร้ายขาย
มองว่าเป็นโอกาสนักลงทุนสถาบัน สามารถเข้าซื้อหุ้นดีราคาถูกในจังหวะที่ตกใจขาย
- %ผลตอบแทนYTD เวียดนาม 21.1% ไทย 7.9%
- ความผันผวน เวียดนาม 16.1 ไทย 12.5 เวียดนามมีความผันผวนมากกว่า
จุดดีของเวียดนามในภาพ macro คือ FDI ปี 2016 FDI 16 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 7% ของ GDP
สิ่งที่เวียดนามผลิตไม่ใช่แค่กาแฟ หรือสินค้าเกษตรเหมือนสมัยก่อน แต่ผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์
ครึ่งหนึ่งของ Samsung ที่ขายทั่วโลกผลิตในเวียดนาม และได้ประโยชน์จากการย้ายฐานจากจีน
มีการ Survey พบว่าเวียดนามเป็นอันดับ 1 ที่อยากย้ายจากจีน เพราะค่าจ้างเวียดนามเป็น 1 ใน 3 ของจีน
และมีแรงงานที่ราคาไม่แพงแต่คุณภาพดีมาก คะแนน Pisa เวียดนามชนะไทยทุกรายการ
ผลคะแนนภาษาอังกฤษเวียดนามก็ชนะไทยแม้จะไม่ได้เป็นเมืองขึ้นอังกฤษ
เวียดนามผลิตวิศวกรปีละ 1 แสนคน อันดับ 10 ของโลก
เคยสัมภาษณ์ผู้บริหารเวียดนาม เขาเล่าว่า คนเวียดนามยินดีมากที่จะเรียนภาษาที่ 3 เพื่อให้ได้งานดีขึ้น เช่น ไปทำงานกับ เกาหลี หรือญี่ปุ่น
คนเวียดนามมีความเหมือนคนจีน คือ ขยัน, ตั้งใจเรียน, ต้องการถีบตัวเองให้มีรายได้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

คุณอุ๋มเสริม เห็นด้วยอย่างยิ่ง คนเวียดนามผ่านสงคราม ผ่านการต่อสู้ดิ้นรนมาเยอะ พร้อมที่จะทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น
ในแง่ตัวเลขที่ชอบก็ดีทุกอย่าง consumer consumption, FDI, government spending, import/export
- consumption ล่าสุดขึ้นมา 10% กว่า ถ้า ไปตามหัวเมืองใหญ่ ร้านกาแฟ แมคโดนัลด์คนเต็ม คึกคักมาก
- การลงทุน Samsung ก็เพิ่มกำลังผลิตมากขึ้น ช่วงแรกมีแค่มือถือ แต่ตอนนี้ จอทีวี, เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็จะมาผลิตในเวียดนาม
รัฐบาลก็เรียกร้องให้เพิ่ม value added ให้เวียดนามมากขึ้น จึงเห็นความพัมนาในแง่คุณภาพการลงทุนด้วย
- การลงทุนรัฐบาล ยังต้องการเงินลงทุน infrastructure เพิ่มอีกมาก เป็นสาเหตุที่ต้องเอารัฐวิสาหกิจมาขายในตลาด
ก็เป็นโอกาสลงทุน ซึ่งรัฐวิสาหกิจของเวียดนามก็เป็นกิจการที่ดี อย่างที่เพิ่งเข้าตลาดช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทคล้ายๆ ปตท. ที่มีแต่ปั๊ม
หลังเข้าตลาดก็ขึ้นไป 40% ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง เวียดนามเป็นตัวเลือกที่ดี

คุณอุ๋ม ลงทุนในเวียดนามมาเกือบ 10 ปี ช่วงแรกผลตอบแทนไม่ดี มี crisis ช่วง 2012 ลดอัตราแลกเปลี่ยน
เรื่องค่าเงินก็เป็นความเสี่ยง แต่ก็ใช้ได้ มีหุ้นที่ลงทุนบางตัวก็ขึ้นมา 4 เท่า หรือบางตัวถืออยู่ลงมา 80% ก็มี
การบ้านก็ต้องทำเยอะ ไปทุกเดือน บางเดือนก็ไป 2 ครั้ง ไปหาความรู้

ตลาดหุ้นเวียดนาม มีเพดานในการถือหุ้นชาวต่างชาติป็นอุปสรรคไหม?
คุณ Minh FOL(Foreign Ownership Limit) ตั้งแต่ต้นปี 17 ส่วนใหญ่ได้ปรับเป็น 100%
แต่มีบางอุตสาหกรรมที่ยังมี FOL เช่น ธนาคาร 30% ค้าปลีกบางอย่าง 49%
แต่ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้ 100%
คุณอุ๋ม เสริม vinamilk สามารถซื้อ 100% ได้ แต่ที่ยังติด FOL เช่น mobile world, PNJ
โดยส่วนตัวก็ไปซื้อตัวอื่นแทน ที่จริงก็ซื้อได้ แต่ต้องซื้อที่ premium ซึ่งอาจแพงกว่าราคาตลาด 30%
นักลงทุนบางท่านก็มองว่าซื้อที่ premium ก็เอาไปขายที่ premium
ดร.นิเวศน์ เสริมมีซื้อที่ premium เหมือนกัน แต่ที่ premium 7%
พวกที่เป็น premium 30% จะเป็น superstock เช่น mobile world, FPT เป็นเทคโนโลยี เขียนโปรแกรมขายทั่วโลก
หรือ หุ้นพวกที่ลงทุนในไฟฟ้า ก็ซื้อเก็บมาตลอด ยังไม่ค่อยได้กำไร
ถ้าซื้อหุ้นที่ premium 30% ซื้อเข้าพอร์ตมาก็ต้องขาดทุน 30% ตั้งแต่วันแรก
แต่ปรากฏว่าพวกที่ซื้อพวกหุ้นแบบนี้ได้กำไรหมดแล้ว เพราะหุ้นดีจริงๆ

มีหุ้นอะไรแนะนำที่คนไทยซื้อได้?
คุณ Minh เรื่อง premium หุ้นที่ติด FOL เช่น พวกหุ้นชั้นนำ อย่าง mobile world
มองว่าถึงแม้จะต้องจ่าย premium แต่ถ้าลงทุนระยะยาวสามารถทำกำไรได้หลายเท่า
เมื่อ 2 ปีก่อน vinamilk 2 ก็ต้องซื้อที่ premium 20% แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่ดี
ตลาดหุ้นเวียดนาม ทุกวันนี้มีเสถียรภาพสูงขึ้น อาทิตย์ก่อนเพิ่งขึ้นไป 800 จุด
ทั้งที่มีสถานการณ์วุ่นวายหลายอย่าง เช่น ปัญหาประท้วงจากกรณีคอรัปชั่น, ปัญหากับจีน
หุ้น blue chip ผลดำเนินงานช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีกำไรดีขึ้นกว่า 30%เทียบปีก่อน
ตลาดหุ้นก็ปรับตัวสูงขึ้น สภาพคล่องก็ดีขึ้น ปีนี้เฉลี่ยประมาณ 200 ล้านเหรียญดอลลาร์ เทียบปีก่อนเฉลี่ย 120 ล้านเหรียญดอลลาร์
ตลาดหุ้นเวียดนามคล้ายประเทศไทยที่สภาพคล่องตลาดหุ้นผลักดันโดยรายย่อย คิดเป็น 85-90% ส่วนสภาพคล่องจากสถาบันแค่ 15-20%
คุณเกษม เสริมว่าเคยสอบถามเขามองว่าหุ้น blue chip เหล่านี้
น่าจะสามารถทำผลตอบแทน 20-30% ได้ต่อเนื่องในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า

ถ้าฟังแล้วสนใจลงทุนเวียดนามทำอย่างไร?
ดร.นิเวศน์ มี 2 ทาง
1) ลงทุนเอง ต้องมีเวลา ต้องศึกษา บางอย่างยากกว่าเมืองไทย
กฏเกณฑ์ทำธุรกิจที่ไทยอาจใช้ไม่ได้ที่เวียดนาม เช่น ผู้ผลิตไฟฟ้า มีสัญญาขายไฟฟ้า ให้กฟผ.
แล้วจะได้ค่าไฟฟ้า มีโควต้า ถ้าผลิตเพิ่มได้ ก็โตได้ แต่ที่เวียดนาม
ถ้ากำไรเยอะไปจะเอาคืน ถ้ากำไรน้อยจะชดเชย ทำให้หวังกำไรเยอะๆไม่ได้
2) โตไปกับเวียดนามโดยลงทุนไปกับกองทุน เช่น ETF เวียดนาม ล้อกับหุ้น 30-50
หรือ active fund เริ่มมีหลายแห่ง จะคล้ายๆ private fund ซื้อผ่านโบรกเกอร์ได้

ใครควรไปลงทุนเวียดนาม? ทำไมไม่ไปประเทศอื่น?
คุณอุ๋ม คิดว่าทุกคนควรไป มันไม่ไกลมาก บินไป 1.5 ชั่วโมง ต้องไปศึกษาเอง ชอบหรือไม่
ถ้ายังไม่พร้อม ก็ลงทุนเป็นดัชนีได้ แล้วโตไปกับเศรษฐกิจเวียดนาม
ถ้าไม่มีเวลาจริงๆก็ลงทุนในกองทุน ต้องดูความพร้อมและจัดพอร์ตตัวเองด้วย ลงทุน 100% ในเวียดนามก็ไม่ส่งเสริม

ดร.นิเวศน์ คิดว่าสัดส่วนที่ลงทุนเวียดนาม 10% น่าจะเพียงพอแล้ว
ซื้อกระจายเป็น 100 ตัว ส่วนใหญ่เป็นหุ้นถูกๆตัวเล็กๆ โตยาก อำนาจแข่งขันไม่ค่อยมี
แต่มีเงื่อนไข ราคาถูก มีกำไร ปันผลไม่น้อยกว่า 5%
ค่าใช้จ่ายจะแพงกว่าไทย ซื้อครั้งหนึ่งเยอะๆแล้วทิ้งไว้หลายปี
ผ่านไป 4-5 ปี แล้วค่อยมาคิดว่าจะทำอย่างไรกับมันต่อ
คิดว่าเฉลี่ยๆได้ปันผล 7%
หุ้นที่ถือเหมือนจะเป็นฤดู บางทีทั้งปีราคาหุ้นไม่ไปไหน อยู่ดีๆขึ้นมา 10%
คุณอุ๋ม เสริมช่วงฤดูจ่ายปันผลหุ้นจะขึ้น

ต่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น?
คุณอุ๋ม เวียดนามแพงสุด แต่ซื้อแล้วไม่ค่อยได้ขาย
ถ้าใช้โบรกเกอร์ที่เมืองไทยซื้อจะไม่เสียภาษี ถือว่าเป็นนักลงทุนสถาบัน
แต่ถ้าเปิดพอร์ตที่เวียดนามจะเสียภาษีปันผล 5%
จำนวนหุ้นเวียดนามถ้ารวม upcom 1350 ตัว
Upcom เป็นตลาดที่ 3 ซึ่งมีรัฐวิสาหกิจ list เยอะสุด มี 600 กว่าตัว
จะมีการเปิดเผยข้อมูลน้อยกว่าตลาดโฮจิมินส์และฮานอย
รัฐวิสาหกิจก็มีการแทรกแซงจากรัฐบาล เช่น ทำกำไรดีมาตลอด
รัฐบาลให้ตั้งอีกบริษัทเข้ามา เอาลูกค้าไป 50% หุ้นก็ตกลงตลอด

ดร.นิเวศน์ สมัยก่อนบริษัททั้งประเทศเป็นของรัฐบาล จะตั้งคนที่รบมาด้วยกันมาเป็นผู้บริหาร
จนผ่านมา 40 ปีถ้ายังนั่งได้ก็ยังอยู่ บริษัทพวกนี้จะไม่ค่อยโต

เวลาไปประเทศอื่นเจอนักลงทุนรายย่อยแบบเมืองไทยไหม? มีสัมมนาแบบนี้? มีชมรม VI?
คุณ Minh สำหรับนักลงทุนรายย่อย ไทย, ไต้หวัน เพราะตลาดคล้ายกันกับเมื่อหลายปีก่อนของประเทศตัวเอง
นักลงทุนรายย่อยในเวียดนาม มีบัญชีนักลงทุน 85% ของตลาด ประมาณ1.2 ล้านคน น่าจะคล้ายๆประเทศไทย
วันหยุดก็มีจัดสัมมนาหมือนกัน อย่างบริษัทเราก็มีจัดให้นักลงทุนรายย่อยมาฟังเพื่อให้ความรู้ 50-60 คน
ไม่ได้ใหญ่ขนาดนี้ แต่ก็จัดฟรีเหมือนกัน
ที่เวียดนามไม่มีสมาคม VI มีแต่กลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่รวมกลุ่มกันเองไม่เป็นทางการ
กลุ่ม VI ที่เห็นก็คนไทยไปเยี่ยมชมกิจการที่เวียดนามเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ถ้ามีอีกประเทศที่จะไปเลือกลงทุนจะไปที่ไหน?
คุณอุ๋ม คง focus ที่เวียดนาม ยังมีอะไรให้ศึกษาอีกเยอะ ถ้าจะให้ดูที่อื่นก็คง ศรีลังกา, ปากีสถาน เป็นความชอบส่วนตัว
เป็น frontier การเจริญเติบโตก็ไม่แพ้เวียดนาม รวมถึงเคยไปทำดีลที่ 2 ประเทศนี้เลยคิดว่าน่าสนใจ
อ.ไพบูลย์ เสริม frontier คือเป็นชายขอบ ยังไม่พัฒนามากนัก ถ้าอย่างไทย เป็น emerging market

ถ้าสนใจลงทุนเวียดนาม cimb มีอะไรแนะนำ?
คุณเกษม ทาง cimb จับมือกับ VNDIRECTอยู่แล้ว ใช้เงินลงทุน 2 แสนบาทก็สามารถเทรดหุ้นเวียดนาม
โดยจะมีบทวิเคราะห์ของ VNDIRECT เป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย ค่า commission สมัยนี้ไม่แพง 0.33%
บัญชีที่เปิดเป็นบัญชีต่างประเทศแยกต่างหาก และสามารถเทรดหุ้นประเทศอื่นๆ ได้ด้วย เช่นฮ่องกง สิงคโปร์ อเมริกา

ถ้าไม่อยากลงทุนเอง แต่สนใจลงทุนเวียดนามทำอย่างไร?
คุณวิน cimb principle มีกองทุน มีคนดูแลให้ ทางทีมงานลงพื้นที่ศึกษามาเป็นปีแล้ว ลงทุนขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท
มีตัวอย่างบริษัทที่ไป visit 4 ตัว
- เด็กๆต้องกินนมกินโยเกิร์ต เป็น >> vinamilk
บริษัทจดทะเบียนใหญ่สุดในเวียดนาม market share 50% เป็นสินค้าพรีเมียม แบรนด์แข็งแรง ต้นทุนต่ำ
เคยมีคู่แข่งเข้ามา บริษัทก็ลดราคาสู้ จนคู่แข่งถอดใจออกไป ผู้บริหารก็เก่ง และมีการเปิดเผยข้อมูลที่ดี
-โตขึ้นมาก็ต้องแต่งงาน >>PNJ ทำเครื่องประดับที่ออกแบบจากทองคำ
ลูกค้าส่วนใหญ่พ่อแม่ซื้อของขวัญแต่งงานให้ลูก คนเวียดนามแต่งงาน 5 หมื่นคู่ต่อปี ทุกคู่ซื้อสินสอดเฉลี่ย 5-7 แสนบาท
เป็นสินค้าที่มีการออกแบบ Margin สูงกว่าซื้อทองคำ เป็นผู้นำตลาด แบรนด์แข็งแรง market share 25%
มีสาขา 300 กว่าแห่งทั่วประเทศ คู่แข่งเบอร์ 2 มีแค่ 10 กว่าสาขา คนเวียดนามประชากรยังอายุน้อย ยังแต่งงานอีกเยอะ
ต้นปีไปฮานอย เจอคู่แต่งงานถ่ายรูปแต่งงาน 5 คู่ติด ซึ่งประเทศไทยไม่มีภาพแบบนี้
-แต่งงานแล้วต้องแยกครอบครัว >>Num long เปรียบเทียบคือ LPN ในยุครุ่งเรืองมากๆ
ฃทำคอนโดดี ราคาไม่แพง คุณภาพดี partner เป็นบริษัทสิงคโปร์
ขายเฉลี่ย ตรม.ละ 3 หมื่นกว่าบาทไทย คนเวียดนามเพิ่งมีงานทำ ย้ายเข้าเมืองก็ซื้อคอนโด
เมื่อก่อนต้องใช้เงินสด ตอนนี้เริ่มกู้เงินเป็น ทำให้มีความสามารถซื้อคอนโดได้
demand คอนโด 3-4 หมื่น unitต่อปี market share 10%
-พอจะซื้อคอนโดก็ต้องไปแบงค์ >> Vietcom bank เป็นแบงค์ที่บริหารดีสุดของเวียดนาม
NPL ต่ำ ผู้บริหารเก่ง ระบบดี มี loan growth สูง
เทียบแบงค์ไทยแทบไม่โต นอกจากเงินกู้โต ยังได้ค่าธรรมเนียมด้วย คนเริ่มใช้บัตรเครดิต เริ่มซื้อประกัน

ในการลงทุนเวียดนามเราศึกษาและลงพื้นที่จริง ทีมงานที่เมืองไทยมี 2 คน มีเพื่อนที่มาเลเซีย 2 คน ที่ช่วย cover เวียดนาม
เราแบ่งเป็นเทศเป็น 3 กลุ่ม Develop, emerging, frontier สถาบันทั่วโลกมักมีข้อจำกัดว่าจะไม่ลงใน frontier
เราเชื่อว่ารัฐบาลเวียดนามกำลังผลักดันด้านต่างๆให้การลงทุน ปรับตัวจาก frontier เป็น emerging market ใน 3 ปี
ทำให้เงินไหลเข้าได้มากขึ้น จึงมองว่าเข้าไปก่อน
เนื่องจากเป็น frontier จึงมีข้อจำกัดที่ต้องซื้อราคา premium และสภาพคล่องต่ำ
จึงยากให้ลงทุนยาวหน่อยอย่างน้อย 1 ปีขึ้น สภาพคล่องน้อย เข้าออกไม่ค่อยคุ้มค่าธรรมเนียม
และความเสี่ยงอีกอย่างคือ วามเสี่ยงค่าเงิน ไม่มีผู้รับทำ hedging ให้ แต่ปัจจุบันก็ค่อนข้างนิ่งขึ้นมาก
กองทุนรวมนี้ไม่เป็น FIF เป็นการลงทุนเองโดยตรงจากเมืองไทย
ค่าบริหารจัดการคิดเหมือนกองทุนทั่วไป
ขนาดกองทุนจำกัดไว้ 1 พันล้านบาท เพื่อให้จัดการได้เหมาะสมกับขนาดตลาดเวียดนาม
ไม่ได้เปิดให้ซื้อขายทุกวัน ขาเข้าเปิดให้ 3 เดือนครั้ง ขาออกให้ 6 เดือนครั้ง เป็นกองทุนรวม
เราได้ทำการบ้านไว้แล้วมี universe ที่ลงทุนได้แต่ไม่ติด FOL อยู่ 200 ตัว
ถ้าหุ้นตัวไหนที่ชอบจริงๆ คงดูไม่เกิน premium 7%
ถ้าจะซื้อที่ premium มากกว่านั้นคงต้องคิดมากหน่อย เพราะซื้อที่ premium ก็จะ mark ขาดทุนทันที
แต่อย่างไรก็ตามถ้าซื้อหุ้นที่ premium ก็จะขายที่ premium ด้วยเช่นกัน
เรื่องภาษี ไม่มีภาษีทั้งการซื้อขาย และเงินปันผล เพราะเป็นกองทุนรวม

นโยบายการลงทุน ไป visit บริษัท ทำการบ้าน เขียน research เลือกหุ้นที่ชอบ สภาพคล่องต่ำ
ลงทุนหุ้นรายตัว 60-70% และ 30-40% ลงทุนใน ETF สภาพคล่องสูง สามารถเข้าออกง่าย
ได้หุ้นตัวใหญ่ในราคาไม่ติด premium ข้อเสีย ETF คือมีหุ้นแบงค์เยอะ

ฝากอะไรในการลงทุนในเวียดนาม?
คุณ Minh มี Top pick จะเล่าถึง big cap 1 ตัว, mid cap 1 ตัว, small cap 1 ตัว

Big cap - mobile world เป็นเบอร์ 1 ค้าปลีก handset และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึง online ด้วย
อุตสาหกรรมกลุ่มนี้มูลค่าราว 70 พันล้านดอลลาร์ จะเพิ่มเป็น 80-90 พันล้านดอลลาร์ใน 2-3 ปีหน้าข้างหน้า
บริษัทตั้งเป้าเติบโต 10% ใน 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งกำไรก็อาจจะโตเป็นเท่าตัว
คุณวิน ช่วยเสริม mobile world นึกภาพ jmart นอกจากมือถือ มีเครื่องใช้ไฟฟ้า
และยังมีร้านขายของชำเล็กๆ คล้ายตลาดสดโลตัส
Ceo คุณแทรม เก่งมาก เหมือน Mark Zuckerburg นอกจากนี้จะทำออนไลน์ด้วย
ถ้าซื้อมือถือมาส่ง ภายในครึ่งชั่วโมง ร้าน mobile world เปิดอยู่ริมถนนไม่เปิดในห้าง
เวลาคนเวียดนามขี่มอเตอร์ไซค์มาซื้อ จะมีพนักงานเอารถไปเก็บให้ด้วย ทำให้ขายแพงกว่าตู้ 200-300 บาท
เขาเก่งดูพฤติกรรมคนเวียดนามออก คนเวียดนามไม่ไปซื้อร้าน mobile world ไม่ก็ซื้อตามตู้
ซึ่งซื้อที่ mobile world มั่นใจได้มากกว่า รวมถึงตอนนี้สามารถผ่อนได้ ก็จะขายดียิ่งขึ้นด้วย

Mid cap - LOC Troi group เป็นธุรกิจผู้นำด้านเกษตรกรรม มีธุรกิจ 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 สารเคมี ปุ๋ย ส่วนที่ 2 ผลิตเมล็ดพันธ์ เช่น ข้าว, ข้าวโพด,พืชผัก
ส่วนที่ 3 ธุรกิจครบวงจรผลิตข้าวและส่งออก รวมถึงมีแบรนด์ในประเทศ
เป็นบริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรสนับสนุนกัน อยู่ในตลาด upcom PE 8-10 เท่า และปีหน้ามีแผนเข้าตลาดหุ้นโฮจิมินส์

Small cap - Hang Xanh เป็นเบอร์ผู้นำดีลเลอร์เบนซ์ในเวียดนาม
บริษัทเป็นดีลเลอร์เบอร์ 2 สำหรับเบนซ์ ซึ่งมี market share โตเร็วมาก อัตราทำกำไรสูง
เนื่องจากรายได้ต่อหัวจะโตเป็น 2 เท่าในปี 2020 จึงคาดว่าตลาด luxury car จะเติบโตสูงเช่นกัน

ดร.ไพบูลย์ ปิดท้าย
การลงทุนต่างประเทศจะมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะเราไม่รู้จักเท่ากับเมืองไทย แต่ขณะเดียวกันก็จะมีโอกาสด้วย
บางคนอาจจะเหมาะ บางคนอาจจะไม่เหมาะ ไม่แน่ใจก็ใช้เวลาศึกษาไม่ต้องรีบ
ถ้าแน่ใจก็เปิดพอร์ตลงทุนกับ cimb ได้ แต่ไม่แน่ใจก็ซื้อกองทุนรวม cimb principle
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เงินของเราเองก็รักษาให้ดีที่สุด

ช่วง 2 “จัดทัพรับลงทุนต่างประเทศ”
1) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
2) คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี
3) คุณพีรนาถ โชควัฒนา นักลงทุนเน้นคุณค่า
4) คุณทิวา ชินธาดาพงศ์นักลงทุนเน้นคุณค่า
5) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญหุ้น
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

ควรลงทุนต่างประเทศหรือไม่?
อ.สมจินต์ มีคำกล่าว there’s no free lunch
ถ้าใครเลี้ยงข้าวฟรี คงหวังอะไรบางอย่างจากเรา
ของฟรีในโลกมี 2 อย่าง คือ มาทานที่ money talk กับ การกระจายความเสี่ยง
เป็นคำกล่าวของ Professor Markowitz ซึ่งได้รับรางวัล Nobel prize
เขาบอกว่า การลงทุน ถ้าเราเก็งกำไร และกระจุกตัว ความเสี่ยงจะสูง
แต่ถ้าหากกระจายการลงทุนให้กว้างขึ้น เราสามารถคงระดับผลตอบแทน โดยความเสี่ยงโดยรวมลดลง
การกระจายความเสี่ยงจึงมีความสำคัญมาก
นักลงทุนไทย เราสามารถกระจายความเสี่ยงเพิ่มจาก1 เป็น 2 ตัว เป็น 5-10 ตัว
หรือไปซื้อเป็นกองทุนรวมที่กระจายได้หลายตัว
เราลงทุนกระจายไปเรื่อยจนถึง 40 ตัว ความเสี่ยงจะหายลงไปครึ่งหนึ่ง
แต่ทางเลือกในโลกยังมีอีกมา ถ้าเทียบประเทศไทยกับเศรษฐกิจโลกมีนิดเดียว
เป็นเหตุผลประการที่ 1 การกระจายการลงทุนไปในโลกจะช่วยลดความเสี่ยงได้
ประการที่ 2 ประเทศไทยเคยได้ผลตอบแทนเคยดีมากๆ เพราะมีการเติบโตเศรษฐกิจสูง
ในระยะหลังเติบโตลดลง ผลที่ตามมาคือ ความสามารถทำกำไรบริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง
โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉี่ยของโลกจะลดลง
ดังนั้น การลงทุนกระจุกในประเทศ หรือ ไม่ไปต่างประเทศเลยอาจจะเสียโอกาส
ประการที่ 3 นอกจากเรื่องหุ้น ยังมีประเด็น Asset class
เครื่องมือบางอย่างในต่างปรเทศมี แต่ในประเทศไทยไม่มี
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีภาพความกระวนกระวายในหุ้นเพราะ PE ขึ้นสูงกว่าอดีตมาก
ในขณะที่เงินฝาก หรือพันธบัตรให้ผลตอบแทนน้อยมาก
สิ่งที่เคยเสี่ยงสูงทั้งๆที่เสี่ยงสูง ก็ดูเสี่ยงมากเป็นพิเศษ สิ่งที่เคยไม่ค่อยเสี่ยง แต่ให้ผลตอบแทนพอใช้ได้ก็ลดลงไปใกล้ศูนย์
ดังนั้น นักลงทุนจำนวนมากจึงมองหาสิ่งที่ผลตอบแทนกลางๆ แต่ให้ผลตอบแทนดีกว่าหรือใกล้เคียงอดีต
เครื่องมือเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่ม income เช่น MBS - Mortgage back securities
เป็นหลักทรัพย์ที่เอาหนี้จากการซื้อบ้านมารวมกันและกระจายเป็นหน่วยให้นักลงทุนซื้อได้
ไม่ได้ลงทุนได้ง่ายๆจากนักลงทุนธรรมดา ต้องอาศัย fund manager และอาศัยประเทศที่มีทรัพย์สินประเทศนี้ขายอยู่
กองทุนที่สามารถลงทุนในทรัพย์สินแบบนี้ได้จึงเติบโตดีมาก อย่างกลุ่ม global income fund
เป็นกองทุนใหญ่สุดในโลกในด้าน fix income fund

สรุปการลงทุนในต่างประเทศมีประโยชน์ ไม่ใช่ดีกว่าการลงทุนในไทย
แต่ช่วยขยายการลงทุน ช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้
และมีความหลากหลายทางภูมิศาสาตร์ และในประเภทหลักทรัพย์

นักลงทุนทั่วไป สนใจลงทุนต่างประเทศไหม?
คุณทิวา ช่วงต้นปี คิดกันเยอะ เพราะหุ้นไทยไม่ไปไหน
ส่วนตัวเห็นด้วยตามอ.สมจินต์ ว่าเปิดโอกาสและลดความเสี่ยง
ถ้าพูดในมุม VI ต้องหาธุรกิจที่เราเข้าใจ พอมันลงเราจะไม่สบายใจ ตามไบเบิลบอกว่า
ทรัพย์สินอยู่ที่ไหน ใจเราอยู่ที่นั่น พออยู่ไกลตัว จะหวาดระแวงเกิดความทุกข์
แต่บางครั้งไม่ต้องจำแนกว่าเป็นหุ้นไทย แต่เป็นธุรกิจที่เราเข้าใจหรือไม่เข้าใจต่างหาก
เห็นน้องบางคนไปลงทุนต่างประเทศประสบความสำเร็จมาก เป็น หมอฟัน
ไปเจอเทคโนโลยีจัดฟันแบบใส แม้ราคาแพงกว่าปกติเท่าตัว แต่พบว่าลูกค้าเข้ามาแล้วต้องการมาก
เขาก็ไปเจอว่ามีบริษัทนี้ในตลาดหลักทรัพย์ ชื่อ alive technologies มีสิทธิบัตรมีเทคโนโลยี
จึงไปซื้อตอนราคา 50-60 เหรียญ ตอนนี้ราคาปิดอยู่ที่ 184.5
ประเด็นคือ เขาไม่ได้แยกว่าเป็นหุ้นไทยหรือต่างประเทศ
แต่เขาเข้าใจมันดีว่าสิ่งนี้ไม่มีคู่แข่ง ว่าสินค้ามีความต้องการสูง คนอยากจัดฟัน อยากดูดีขึ้น
จึงควรหาธุรกิจที่เราเข้าใจ ผู้หญิงบางคนอาจรู้สินค้า รู้ความเคลื่อนไหวแอร์เมส ได้ดีกว่าดร.นิเวศน์
ทุกคนสามารถลงทุนในสิ่งที่เรารู้จักและถนัดได้
หุ้นเวียดนามมี พันกว่าตัว หุ้นญี่ปุ่น มี 2 พันกว่าตัว หุ้นอเมริกา ยุโรปเป็นหมื่นตัว
รวมทั้งโลกก็มีหุ้นเป็นแสนตัว มีหุ้นที่รอบตัวเราใช้บริการเต็มไปหมด
เมื่อ 3-4 ปีก่อน เคยไปสัมมนาบอก google เหมือน ปตท. ใหญ่มาก โตเป็นเท่าตัวไม่ได้รอก
ในวันนั้นเชื่อ แต่เวลาผ่านมาพบว่า ถ้าเราไม่สามารถลงรายละเอียดในอุตสาหกรรมนั้นได้ คำนี้ไม่มีความหมาย
มูลค่า google คือ 1 trillion ในตลาดโฆษณา มันไปได้ไกลกว่านั้น
มันอาจต่อยอดเป็นรถขับด้วยตัวเอง ต่อยอดเป็น AI ต่างๆนานๆ
ทุกคนใช้ google ทุกคนใช้ facebook เราสามารถบอกได้ว่ามันจะไปได้หรือไปไม่ได้ ข้างหน้าจะดีอยู่หรือไม่
ถ้าเรามีไอเดียในการลงทุนที่ดี และเข้าใจสินค้าและบริการเหล่านั้น
เช่น ถ้ามีไอเดียว่า AI หรือ Robotics จะมา เปิดดูหุ้นไทยไม่มี เราก็หาโอกาสจากต่างประเทศได้
ความเสี่ยงสำหรับ VI ที่จะปิดให้ได้มากสุดคือ business risk
พวก market/political risk เราปิดไม่ได้
พยายามหาธุรกิจที่เราคิดพลาดได้น้อยที่สุด เป็นความเสี่ยงแบบหนึ่ง
ไม่ขึ้นอยู่กับว่าลงทุนในหรือต่างประเทศ

การลงทุนต่างประเทศดีไหม?
คุณพีรนาถ มีติดตามดูบ้าง อย่างช่วงแรกที่ฟังหัวข้อเวียดนามคิดว่าน่าสนใจ
สิ่งที่ต้องวิเคราะห์อย่างแรกคือ ตัวเราเอง มองว่าตัวเราเองเป็นอย่างไร อายุเท่าไร เหลือเวลาในโลกกี่ปี
และอีกเรื่องคือภาษา อ่านหนังสือกระดาษก็ยากแล้ว อ่านที่เป็นหน้าจอยากเข้าไปอีก
บวกกับที่มันเป็นภาษาอังกฤษก็ยิ่งเหนื่อย ก็ถามตัวเองว่ามันจะมีความสุขไหม จะลงทุนไปทำอะไรเยอะแยะ
มาคิดทบทวนการลงทุนในอดีตที่ตัวเองพลาดหรือสำเร็จมาจากอะไร เมื่อก่อนเคยมีหุ้นเป็น 100 ตัวในไทย
เพื่อศึกษาก็มีเยอะ ตอนนั้นยังมีแรง เวลาผ่านไปก็น้อยลงเรื่อยๆ
ระยะหลังการกระจายความเสี่ยงก็น้อยลง เราก็โฟกัสมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนอายุน้อยเรายังไม่รู้ขอบเขตความสามารถตัวเอง แต่มาตอนนี้อายุขนาดนี้ก็ต้องรู้แล้ว
สิ่งที่จะลงทุนคือ สิ่งที่เราเข้าใจจริงๆ
ถ้านับหุ้นในอุตสาหกรรมที่ลงทุน เราก็ต้องมีความเข้าใจอยู่ใน 20 คนแรก
การลงทุนในวันนี้เป็นการเดินทาง เป็นความสุข
การลงทุนในหุ้นมีความรู้สึกว่าหุ้นไม่ได้เป็นตัว ต้องเรียกเป็นบริษัท
เป็นสิ่งที่อยู่ไปกับเขา เจริญงอกงามไปกับเขา เหมือนเราเลี้ยงลูกเติบโตมีความสามารถ
ถ้าให้ไปลงทุนสิ่งที่ไม่รู้จัก แล้วไปเหวี่ยงแห ก็คงไม่ใช่
แม้จะคิดว่ากลยุทธ์นี้ถูกต้อง แต่ส่วนตัวคงไม่มีความสุขมากขึ้น

ได้ไป company visit ที่เวียดนามเหมือนกัน แต่ยังไม่เจอบริษัทที่ใช่สำหรับเรา
อย่าง mobile world ตอนไปเจอเจ้าของก็ประทับใจ แต่ซื้อไม่ได้เพราะติดเพดาน
ให้เลือกที่เวียดนามกับที่ไทย ก็เลือกที่ไทยดีกว่า เพราะเราเข้าใจมากกว่า
ยังไงก็ไม่น่าเข้าใจคนเวียดนามได้มากว่าที่เราเข้าใจคนไทย
สมัยเรียนวิศวะจุฬาฯ ออกจากห้องบอกว่ายาก แต่ได้ A คำว่าเข้าใจไม่ได้แค่อ่านจากอินเตอร์เน็ทแล้วเข้าใจ
การจะเข้าใจเวียดนามคิดว่าต้องไปอยู่ที่นั่น แล้วเรียนภาษา คือเข้าใจต้องสอบแล้วได้ A

ทำไมนักลงทุนกล้าลงทุนหุ้นไทย ทั้งที่ไม่เคยมาอยู่บ้านเรา?
คุณพีรนาถ มีพวกผู้จัดการกองทุนที่เคยมาลงทุนเมืองไทยก็เข้ามาอยู่ที่ไทย ปัจจุบันก็ย้ายไปเวียดนามกัน
ผู้จัดการกองทุนก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกกอง หลายกองที่ซื้อขายหุ้นแบบไม่ได้มีสาระ
ไม่สามารถตัดสินใจว่าเขาสำเร็จหรือไม่สำเร็จได้
เพราะก้อนเงินที่มาบ้านเราเล็กมาก และดีลหลายอย่างก็แปลกๆ
ส่วนตัวถ้าจะไปถือหุ้นกองทุนคุณวิน คงต้องขอสัมภาษณ์ผู้ช่วยคนไทย และผู้ช่วยคนที่อยู่มาเลเซีย
ซึ่งแม้จะทำแบบนั้นก็ยังคงไม่ได้เข้าใจเวียดนาม นี่คือสิ่งที่วิเคราะห์ตัวเองว่าอยากทำแบบนี้

คุณวิน คุณพีรนาถให้ข้อคิดดีมาก ถ้าเป็นหุ้นไทยที่เรารู้จักดี เราก็คิดเอง ติดตามเอง
แต่หุ้นต่างประเทศเราไม่ถนัดมากพอ ก็ไปใช้ fund ที่ถนัดกว่าเรา
พอมาเวียดนาม เราก็ให้ทีมงานไปสำรวจ แล้วเราชอบ
เราก็ต้องลงไปทำงานจริง ซึ่งการทำงานในหุ้นเวียดนามต้องทำงานหนักกว่าไทยเยอะ
ข้อมูลภาษาอังกฤษก็มีน้อย ต้องบินไปหน้านงาน แต่ก็ต้องถามตัวเองตลอดเวลาว่าเราพร้อมหรือยัง
จนตัดสินใจว่าพร้อมและทำเอง ลูกน้องที่ทำก็ทำงานหนักมาก เรียนภาษาเวียดนามด้วย
มีข้อมูลอยากให้ดูเรื่องความเสี่ยง ว่าการลงทุนในต่างประเทศช่วยเราอย่างไร
จากข้อมูลเปรียบเทียบความเสี่ยง ตราสารหนี้ 0.8 %, หุ้นไทย 18%, หุ้นต่างประเทศ 13.1%, iprop(อสังหา) 7.9%
Sharpe ratio คือผลตอบแทนตั้งหารด้วยความเสี่ยง เป็นค่าที่บอกว่ารับความเสี่ยงได้ผลตอบแทนคุ้มค่าไหม
คือ รับความเสี่ยง 1 หน่วย ได้ผลตอบแทนกี่หน่วย ค่า ยิ่งสูงยิ่งดี
ซึ่งในการลงทุนให้ลูกค้าจัดพอร์ต ถ้าเรามีหุ้นกับตราสารหนี้แล้ว ก็สามารถนำจัดพอร์ตเพื่อช่วยลดความเสี่ยงได้
- จัดพอร์ต 3 อย่าง(หุ้น,ตราสารหนี้,อสังหา) ความเสี่ยง 5.8 ผลตอบแทน 4.57% Sharp ratio 0.62
- จัดพอร์ต 4 อย่าง(หุ้น,ตราสารหนี้,อสังหา,หุ้นต่างประเทศ) ความเสี่ยง 4.7 ผลตอบแทน 4.42 sharp ratio 0.73

ดร.ไพบูลย์เสริม Sharpe ratio ที่มาเป็นชื่อคน Sharpe เป็นลูกศิษย์ของ Markowitz
เป็น 1 ใน 3 ของผู้คิดโมเดลที่มีค่า เบต้า ซึ่ง sharpe ratio เป็นที่นิยม และ sharpe ก็ได้รับ Noble prize ด้วย

ไปลงทุนต่างประเทศ วิเคราะห์ดีแล้วหรือ?
ดร.นิเวศน์ เคยเขียนบทความ บอกว่าต่างประเทศเป็นสิ่งที่วันหนึ่งต้องไป แต่ไม่คิดว่าจะไป
แต่มันโอกาสเปิดขึ้นเร็วมาก อยู่ๆก็สามารถซื้อหุ้นต่างประเทศ
โดยส่วนตัว ถ้าไม่ค่อยมั่นใจไม่ไป ทำอะไรโอกาสพลาดต้องน้อยมาก
ซื้อหุ้นแต่ละตัวโอกาสแพ้ต้องน้อยมาก ในระยะยาว
ซึ่งลงทุนเวียดนามคิดว่าเป็นแบบนั้น ตอนที่ไปไม่คิดจะซื้อหุ้นเวียดนาม แต่จะซื้อประเทศเวียดนาม
พอตรวจสอบ ดูตัวเลข ดูภาพใหญ่ของเวียดนาม คิดว่าต้องเป็นประเทศที่เจริญเติบโต
โดยเศรษฐกิจเล็กมาก แต่มีศักยภาพสูงมาก ทั้งบุคคลากร ขนาดประเทศ
ยังไงประเทศนี้ต้องตามประเทศไทยทันและเลยขึ้นไปด้วย
คุณภาพคนคิดว่าเหนือกว่าเราด้วยซ้ำ
ข้อเท็จจริงก็เกิดขึ้นแล้วว่ามีการลงทุนต่างๆเข้ามา การบริโภคก็เติบโตเร็วมาก
เวียดนามยังไม่ได้กู้เงิน ประชากรเอาเงินซื้อ คนกู้เงินน่าจะราว 10%
พวกโบรกเกอร์ นักวิเคราะห์ในเวียดนาม ยังไม่มีบ้าน ไม่มีรถ พอเงินเดือนมั่นคงคนก็จะกู้เงิน
มีการซื้อบ้าน ซื้อรถ เศรษฐกิจก็จะเติบโตก้าวกระโดด ทุกอย่างมันกำลังโต
รัฐบาลสร้าง infrastructure เก็บภาษีได้มากขึ้น ก็ลงทุนมากขึ้น
จะเติบโตไปเป็น 10 ปีเหมือนเมืองไทยที่เกิดขึ้น
ซึ่งตอนที่เห็นตลาดหุ้นก็ยังไม่ไปไหน 1 ใน 7 ของประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ market cap. นิดเดียว
บริษัทที่เหมือน ปตท. หรือผลิตไฟฟ้า ขนาดเล็กนิดเดียว
เวียดนาม Mkt cap 3 ล้านล้าน ประเทศไทย 16 ล้านล้าน
แม้กระทั่งการท่องเที่ยว ที่เราบอกว่าเติบโต เวียดนามจะโตปีนี้ 30%
เพราะการท่องเที่ยวก็มาจากการเข้ามาลงทุนด้วยเหมือนกัน
เรามีสนามบิน mkt cap 6-7 แสนล้าน เขาก็มีสนามบินแบบเดียวกัน mkt cap 1 แสนกว่าล้าน
เศรษฐกิจเขาโตไปเรื่อยๆ บริษัทพวกนี้ก็ต้องใหญ่เหมือนของเรา
ถ้าเทียบกับประเทศอื่น เช่น พม่า เล็กเกินไป ตลาดหุ้นก็เพิ่งเกิด ยังไม่ลงตัว

วิธีการลงทุนแบบไหนเหมาะสมลงทุนต่างประเทศ?
ดร.สมจินต์ สิ่งที่คุณทิวาพูดถึง ,อ.นิเวศน์ หรือ คุณพีรนาถพูด
ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสุด
สำหรับเรา ไม่ปิดโอกาสตัวเองในการลงทุนที่ไม่ชำนาญ
ในโลกนี้มี global fund manager ที่เก่งๆ เห็นทีมงาน เห็นผลงาน
เราก็เลือกบริษัทที่ดี หรือกองทุนที่ดีเข้าไปลงทุน

ถ้าเราเป็นนักลงทุนไทยที่สามารถรับความเสี่ยงในหุ้นไทยได้
และจะก้าวไปลงทุนต่างประเทศ
ก้าวแรก อาจเริ่มด้วยการลงทุนกระจายความเสี่ยงที่ดีใน global equity fund
ที่มีการกระจายความเสี่ยงกว้างๆ กรองหุ้นคุณภาพดี และการเติบโตที่ดี
และมีการจ่ายปันผล และ/หรือซื้อหุ้นคืน
กองทุนที่ชอบคือ global quality growth ของ wellington
ลองจำลองพอรต์ฟอลิโอย้อนหลังลงทุนกองทุนนี้ 50% และหุ้นไทยเฉลี่ยๆ 50%
พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หุ้นไทยผลตอบแทนเฉลี่ย 12% แต่กองนี้ผลตอบแทนเฉลี่ย 17%
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หุ้นไทย 13% ของเขา 11%
พอผสมกัน 50:50 ทำให้ผลตอบแทนดี 15% กว่าและความเสี่ยงลดลงเหลือ 10%
น่าสนใจที่ บริษัทที่กองทุนนี้ไปลงทุนค่อนข้างก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และจัดในประเทศพัมนาแล้วค่อนข้างมาก
ซึ่งทำให้ correlation กับหุ้นไทยต่ำ อยู่ที่ 0.5%
สรุปว่าการผสมผสานทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยค่อนข้างดี และความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

ก้าวถัดไป อย่างแนวความคิดที่ไปลงทุนเป็นประเทศอย่างเช่นเวียดนาม
จะเริ่มมี concentration risk
กองทุนที่อยากยกตัวอย่าง เช่น china opportunity fund
กองทุนนี้ YTD return 38% ปีนี้ เปิดเมื่อ ต.ค. 2014
ผลตอบแทนเฉลี่ย 16%
จีนเคยมีผลตอบแทนสูงแล้วย่อลงมา ซึ่งเขาจะมีเศรษฐกิจแบบเดิม และสมัยใหม่ เช่น tencent ที่ทำ wechat
ซึ่งการเติบโตธุรกิจเหล่านี้จะดีกว่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของจีน
พอ focus ในธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนสูงมาก

เวลาจัดทัพลงทุน ไม่ได้จำกัดแค่ลงทุนในหุ้นไทย
เรามีกองหน้า สร้างความมั่งคั่งระยะยาวเช่น หุ้น
ในอีกส่วน กองกลาง ลงทุนในทรัพย์สินที่เสี่ยงน้อยกว่า แต่ชนะเงินเฟ้อ
เช่น global income fund 4.88% YTD
อีกประเภทหนึ่ง property income plus ซึ่งลงทุนในอสังหาต่างๆในไทย และ REIT
รวมถึงต่างประเทศด้วย ทำให้การกระจายความเสี่ยงดีมาก
และได้ผลตอบแทนปันผลเข้ากองทุน 5-6% รวมถึงมีการเติบโตของราคาด้วย
ทำให้จ่ายเงินปันผลได้ 10 ครั้งใน 3 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนปันผล 5%กว่า ราคาเติบโต 3% กว่า
ทำให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทน 8%กว่า เป็นลักษณะของกองกลางที่เหมาะกับการลงทุน 2-4 ปีขึ้นไป

มีลงทุนในต่างประเทศไหม?
คุณทิวา มีแต่ไม่เยอะ ไปจีนเป็นหลัก เคยไป visit เวียดนาม 4-5 ครั้ง ตัวที่ชอบก็ซื้อไม่ได้
ตัวที่ไม่แข็งแกร่ง แต่ถูก ก็ซื้อยากมาก ไม่มีสภาพคล่องเหมือนหุ้นไทย
จึงหันไปมองหุ้นจีน เพราะ pe ต่ำกว่าเวียดนาม และเคยไปใช้ชีวิตมา 2-3 ปี
20 กว่าปีที่เคยเห็นในจีน สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ สี จิ้นผิง เคยพูดไว้แล้ว
เขาจะส่งออก เป็นประเทศ factory อันดับ 1 ของโลก จะเป็นเศรษฐกิจอันดับ 2
ตอนนั้นอยู่กวางเจา 2 ทุ่มก็ตัดไฟแล้ว รู้สึกว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร
เขาก็ประกาศทุกวัน เปิดเพลงชาติจนจำขึ้นใจได้
ตอนนั้นฟังแล้วไม่ได้ศรัทธา อยากเรียนจบแล้วรีบกลับบ้าน แล้วให้ไปทำห้องส้วมให้ดีก่อน
หลังจากนั้น ค่อยๆติดตามเห็นชีวิตพี่ชายพี่สาวที่นู่นขับ audi ขับ bmw
จากวันนี้ที่เขาพูดนโยบาย Made in china 2020 สิ่งที่จะเกิดขึ้นคิดว่าง่ายกว่าที่เขาพูดเมื่อ 20 ปีก่อน
ถ้าวันนี้ใครไปจีน แม้แต่สิบสองปันนายิ่งกว่าสีลมบ้านเราอีก เจริญมาก เปลี่ยนไปเยอะ
แม้อายุประชากรไม่ sexy เท่าเวียดนาม แต่ถ้าเขามีโอกาสเป็นเบอร์ 1 ของโลก
หรือสร้าง global brand เช่น Huawei มันอาจเป็น next usa ได้

ที่จริงเคยไปลงทุนจีนเมื่อ 5-6 ปีก่อน แล้วเสียหายค่อนข้างเยอะ
ซึ่งความเสี่ยงที่จีนมีคือบริษัทที่โกง เช่น เอาบัญชีไปตรวจสอบแล้วไม่เจอเงินจริง
หรือเช่าโรงงาน เช่าร้านปลอม แล้วให้นักลงทุนไปเข้าเยี่ยมชม อย่างโรงงานโปรไบโอติกส์จุลินทรีย์
และบริษัทลักษณะนี้ก็มีจำนวนมาก ในช่วงนั้น
ฝากไว้ว่า หลังจากที่เสียหาย เลยมานั่งดูและศึกษาพบข้อสังเกตว่า
1)มักมีตัวเลขทุกอย่างดีเกินไป net margin ดี เติบโตดี แต่ pe ต่ำมานาน เหมือนราคารอเราซื้อ
2)มักทำธุรกิจประเภทหนึ่ง และไปจดทะเบียนอีกประเทศหนึ่ง
3)มักกระแสเงินสดไม่มีปัญหาแต่ชอบออกหุ้นกู้ และเพิ่มทุนเป็นระยะ
4)มักอยู่ในบางอุตสาหกรรม เช่น เหมือง เคยเจอว่าโกงมา 3-4 เหมืองแล้ว อาจจะตรวจยาก
อย่าเพิ่งมองว่าจะมีแต่เรื่องสวยงาม คนจีนวัฒนธรรมไม่เหมือนคนไทย
ไปหลอกขายของมา ก็จะรู้สึกมาคุยสนุกสนาน โอ้อวดกันได้

หลังจากที่เจ็บครั้งแรก ก็ไม่กล้า เลยลงทุนหุ้นไทยอีกระยะหนึ่ง จนมีเพื่อนมาชวนลงทุนอีกครั้ง
จึงแบ่งเงินกลับไปลงทุน 5-6%
ภาษิตจีนสอนว่า มังกรข้ามน้ำสู้งูท้องถิ่นไม่ได้
เวลาจะข้ามไปทำอะไรที่ไกลๆต้องทดสอบตัวเอง จนแน่ใจว่ามีความสามารถที่จะทำได้ก่อน

มุมมองลงทุนต่างประเทศ?
คุณวิน เราไปต่างประเทศ เรามองโอกาส อยากให้มองเป็น theme ใหญ่ๆ
Theme ที่ชอบคือ technology กับ infrastructure
อย่างประเทศเวียดนามที่คุยกันก็เป็น theme technology เหมือนกัน
Samsung ผลิตมือถือ 300 ล้านโลก ครึ่งหนึ่งอยู่ที่เวียดนาม
สินค้าส่งออกไทยลำดับหนึ่งคือรถยนต์ สินค้าส่งออกของเวียดนามคือมือถือ
ถ้าเราเชื่อว่าเทคโนโลยีจะมาแรงก็ควรลงทุนในสิ่งที่ได้ประโยชน์จากตรงนี้

Theme อสังหาริมทรัพย์มีกองทุน ชื่อ iprop
ลงทุนในไทยและสิงคโปร์ อย่างละครึ่ง เช่น ตึกเก็บ server ในสิงคโปร์ ใช้สำหรับเก็บข้อมูล
รัฐบาลกันพื้นที่ไว้คล้ายๆ silicon valley ผู้เช่าเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น facebook, google, amazon

Global silver age fund ที่จริงเป็น theme สุขภาพความงาม แต่หุ้นที่ชอบใน theme นี้
คือ robot ของ Intuitive surgical inc. มีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดชื่อ ดาวินชี
ช่วยให้หมอผ่าตัด แทนมือหมอ ทำให้ผ่าตัดได้ดีขึ้น
รายได้ 70% มาจากการ maintenance เครื่อง ซื้อเครื่องไปแล้วก็ยังต้องไปดูแลต่อ

Global opportunity fund ตัวอย่าง tencent มีคนใช้ wechat 1 พันล้านคน
แต่รายได้ของเขาส่วนใหญ่มาจาก online gaming ทั้งรายได้โฆษณา หรือซื้อไอเท็ม เป็นหุ้นที่มาแรงมาก
เมืองไทยหุ้นแบบนี้ไม่มีให้เลือก ไม่มีเทคโนโลยี หรือโรบอท แบบนี้ ก็ถือเป็นโอกาส

อ.ไพบูลย์ ปิดท้าย
ข้อมูลวันนี้เป็นข้อมูลการประกอบการตัดสินใจลงทุน
การลงทุนต่างประเทศบางคนอาจจะเหมาะ บางคนอาจจะไม่เหมาะ
เราคนไทยเงินทุนหลักก็อยู่ในไทย การไปต่างประเทศก็กระจายการลงทุน
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีที่สุดก่อนตัดสินใจลงทุน


Moneytalk@SET ครั้งถัดไป อาทิตย์ 8 ตุลาคม
เปิดจองทาง Facebook วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 7 โมงเช้า
หัวข้อ 1 หุ้นเด่น ไตรมาส 4 ปี 60
ผู้บริหารจาก 3 บริษัท bgrim, tkn, amatav
อ.เสน่ห์,หมอเค ดำเนินรายการ
หัวข้อ 2 ขยายวงขยายแนวคิดพิชิตหุ้น สู่โลกใหม่ของการลงทุน
คุณอลงกฏ มโนรุ่งเรืองรัตน์ เจ้าของเพจ buffettcode, เภสัชกร กิตติศักดิ์ โภคา เจ้าของเพจ ลงทุนศาสตร์,
คุณเจษฎา สุขทิศ เจ้าของเพจ finnomena, ดร.นิเวศน์
อ.เสน่ห์ อ.ไพบูลย์ดำเนินรายการ

ที่เหลืออีก 2 ครั้งคือ พ.ย. และ ธ.ค.
ปลายปีเดือน ธ.ค. เป็นงานใหญ่ เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและหุ้นไทย คุณมนตรี, ดร.ก้องเกียรติ, คุณ ทอม ไพบูลย์
โดยตั้งแต่ปี 61 เดือน ม.ค. จะย้ายไปจัดชั้น 3 ห้องศุกรีย์ แก้วเจริญ จุได้ 200 คน
จะเคร่งครัดกับการจองและ walk-in มากขึ้น หลังเริ่มรายการจะปิดห้องประชุม แต่สามารถดูทางบ้านได้

ข้อมูลที่แชร์เรียบเรียงเท่าที่พอจะรู้เรื่องนะครับ ผิดพลาดอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตาม VDO ฉบับเต็มย้อนหลังได้ที่ youtube และช่อง TV ครับ
ขอขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ ที่จัดรายการให้ความรู้ที่ถูกต้องที่ดีกับนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ขอบคุณครับแขกรับเชิญทุกท่าน คุณวิน,คุณอุ๋ม, คุณ Minh+คุณเกษม มาถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์จากเวียดนาม
ขอบคุณคุณดร.สมจินต์ คุณพีรนาถ คุณทิวาและคุณวิน(มา2ช่วง) ที่แชร์มุมมองในการลงทุนต่างประเทศ
รวมถึงขอบคุณสปอนเซอร์และผู้ช่วยจัดงาน money talk ทุกท่านด้วยครับ
Go against and stay alive.
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 37

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณน้องบิ๊กมากค่ะ ^^

พี่ทำภาพยังไม่เสร็จเลย
น้องบิ๊กส่งเนื้อหามาให้แล้ว...เร็วทันใจเสมอ :D
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณน้องบิ๊กครับ รวดเร็วเช่นเคย
PJWONG
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณผู้สรุปมากๆค่ะ ติดตามอ่านมาทุกครั้ง
กลับมาอ่านซ้ำ ก็หลายตอน
ท้ายนี้ขอขอบคุณวิทยากร ทีมงาน ทุกๆ ท่านนะคะ
korawilai
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 2

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณค่ะ สำหรับสรุปทั้งหมด อยากถามนิดนึงค่ะ ไม่ทราบใครพอจะช่วยได้บ้าง ในที่สัมมนามีการพูดถึง premium ที่นักลงทุนต้องจ่ายเวยาเราซื้อหุ้น VN เห็นว่าอยู่ระหว่าง 7-30% ไม่ทราบเราจะดูที่ไหนคะว่าตอนนี้ premium ของหุ้นที่เรามองๆอยู่มันอยู่ที่เท่าไหร่
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ปกติจะมีคนมาเสนอขายให้สำหรับหุ้นที่ติดFOLครับ
จึงจะรู้ว่าเขาขายที่ราคาpremiunเท่าไหร่ครับ
จอมยุทธอินทรี
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 524
ผู้ติดตาม: 226

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ได้มีการพูดถึงไหมครับว่า
กองทุนของ CIMB Principal ที่ลงทุนเวียดนาม เปิดขายเมื่อไร ติดต่อยังไง อะไรแบบนี้ครับ
fallenfault
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 4

Re: MoneyTalk@SET16/9/60-ลงทุนเวียดนาม&ลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

จอมยุทธอินทรี เขียน:ได้มีการพูดถึงไหมครับว่า
กองทุนของ CIMB Principal ที่ลงทุนเวียดนาม เปิดขายเมื่อไร ติดต่อยังไง อะไรแบบนี้ครับ
เห็นคุณวินบอกว่า ปลายเดือนนี้นะครับ
ซื้อขายไม่ได้ทุกวัน และเงินลงทุนขั้นต่ำน่าจะหลักหมื่น

ปล.รอข้อมูลOfficial เหมือนกันครับ
โพสต์โพสต์