สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 - 9/9/60 9.00-17.00 น.
ณ โรงแรม Grand Mercure พระราม 9

ในช่วงต้นเป็นการมอบเงินบริจาคให้มูลนิธิและองค์กรการกุศล
ถือเป็นโอกาสดีที่สมาคมของเหล่านักลงทุนVIเรา ได้ทำประโยชน์ให้สังคม
ขออนุโมทนาบุญร่วมกับทุกท่านด้วยครับ

สำหรับการสัมมนาวันนี้ได้อารมณ์หลากหลายดีครับ
ทั้งการลงทุนหุ้นอเมริกาไปจนถึงภาพข้างหน้าของมวลมนุษยชาติ
การลงทุนในเวียดนาม จนกลับมาถึงโอกาสการเติบโตของประเทศไทย
เนื้อหาบางช่วงผมอาจเข้ามาฟังไม่ทันบ้าง
หรือบางช่วงก็มีความล้ำหน้าไซไฟพอสมควร
หากผมตกหล่น ผิดพลาดไปอย่างไรขออภัยด้วยครับ

ขอบพระคุณวิทยากร อ.นิเวศน์ พี่ชาย พี่อัพ น้องตู้ และพิธีกร พี่บอล
และขอบคุณทีมงานสมาคมนักลงทุนคุณค่าทุกท่านที่มาจัดงานให้เราพบปะและพัฒนาความรู้กันครับ

Disrupt or be disrupted อนาคตของ VI จะเป็นอย่างไร เมื่อเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก
วิทยากรคุณอัพ ลงทุนแมน,คุณตู้ นายมานะ พิธีกร คุณบอล

Q. มองเทคโนโลยีในอนาคตอย่างไร?
คุณตู้ : ออกตัวก่อนว่าเป็นเรื่องอนาคต ถ้าไม่ถูกต้องก็ขออภัยไว้ด้วย
เคยพูดเรื่อง Platform อย่าง Youtube, Netflix หรือ fb live ในทุกวันนี้
น่าจะทำให้ value ของ TV ลดลง ซึ่งเวลานั้นตัวเลขก็ยังไม่พิสูจน์ แต่ทุกวันนี้เห็นชัดแล้ว
เคยพูดเรื่อง EV หรือ AV หลายคนยังไม่เชื่อ หรือยังใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง หลายคนก็ยังไม่เชื่อ แต่วันนี้คนเริ่มรู้จัก เริ่มเชื่อแล้ว
ปีก่อนพูดเรื่อง AI เป็นสิ่งที่น่ากลัว ถ้ามาเต็มรูปแบบจะ disrupt แรงงานคนได้มหาศาล
แต่ก็มีคนโต้แย้งว่า 100 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีไม่เคยทำให้คนตกงาน
ล่าสุดคิดเล่นๆ โพสต์ในเวบบอร์ดว่า กล้องมือถืออาจ disrupt กล้อง DSLR ได้ แต่ก็มีคนมองว่าไม่น่าได้
สรุปคือ เรื่องอนาคตเป็นสิ่งที่จะมีคนโต้แย้งได้ตลอด จะเกิดหรือไม่เกิด ถูกหรือผิดต้องพิจารณาเอาเอง

Q. ความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร จะเกิดขึ้นอย่างไร?
คุณอัพ : internet เปลี่ยนแปลงเร็วมากจนเราไม่รู้ตัว
เพจลงทุนแมน เกิดภายใน 5 เดือน มีคนกดติดตาม 2.6 แสนคน
เป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อน บริษัทอันดับ 1 ในไทย ปตท. Mkt cap. 1ล้านล้าน
แต่ที่จริงบริษัทที่ใหญ่สุดในประเทศไทยอาจจะเป็น Facebook สาขาประเทศไทยหรือเปล่า?
อย่าง work market cap 3 หมื่นล้าน แต่ลองคิดดูว่าเราดู Facebook
หรือ Workpoint มากกว่ากัน อย่างน้อยต้องใหญ่กว่า work เป็นสิบๆเท่า
สิ่งที่เรามองไม่เห็นกำลังกลืนเราอยู่ มันอาจจะมาจากต่างประเทศ
อย่าง facebook เข้ามาในชีวิตเราทุกวัน แต่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนนประเทศไทย

Q. สไตล์การลงทุนของวิทยากรท่าน 2 ท่าน
คุณตู้ : ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ 70:30 เกิน 50% เป็นการลงทุนแบบ Bargain hunting
เป็นนักล่าส่วนต่าง มองผลประกอบการล่วงหน้า 2-3 ไตรมาส หรือเป็นปี แล้วซื้อก่อนที่ผลประกอบการจะกระโดด
สาเหตุที่ไม่ลงทุนใน superstock ในไทยเพราะหา 3 อย่างนี้ได้ยาก
คือ DCA, Growth, ราคาสมเหตุสมผล ในการซื้อ superstock ต้องมีทั้ง 3 อย่างนี้
เคยเขียนบทความว่าปราการที่เปลี่ยนไป เพราะมองว่า DCA เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว
มันประกอบด้วย 5 อย่าง
1) brand ที่แข็งแกร่งมากๆ
2) สิทธิบัตร หรือสัมปทาน อย่างเช่น aot
3) Market share, Economy of scales
4) Network effect อย่าง facebook, android OS, iOS
5) Experience effect เป็นสิ่งที่คนยังไม่ focus มันพัฒนาไปเรื่อยจนจุดหนึ่งคู่แข่งตามไม่ทัน
ซึ่งถ้าเป็นหุ้นในประเทศไทยอาจจะหาได้น้อยที่จะเกิน 3 ข้อ จึงไปศึกษาหุ้นต่างประเทศ
อย่างเช่น facebook experience effect ที่ facebook คือข้อมูลเราที่เก็บสะสมไว้
หลายคนชอบใช้คำว่า big data แต่ที่จริงมันเป็น small data
ถ้าจะเป็น Big data จริงๆ ต้องอย่าง facebook, Youtube, Alibaba, Tencent
ถ้าจำไม่ผิดล่าสุด Facebook รายได้ โต 40 กว่า % กำไรน่าจะโตเป็นเท่า
ขนาด mkt cap 3 แสนกว่าล้านดอลลาร์ยังโตในระดับสูง
มันเป็น super stock จริงๆ ส่วนราคาต้องไปพิจารณาว่าสมเหตุสมผลไหม
เคยมีคนถามทำไมต้องออกไปลงทุนในต่างประเทศตั้งแต่ 2 ปีก่อน
ต้องถามกลับว่าทำไมต้องจำกัดตัวเองว่าเป็นนักลงทุนประเทศไทย โบรกเกอร์ต่างๆก็อำนวยความสะดวกให้แล้ว

คุณอัพ : แนวทางการลงทุนคือเราเข้าใจอะไร อยู่กับอะไร
แล้วก็มองไปรอบตัวว่าทุกคนอยู่กับมือถือ แล้วก็เดาว่าทุกคนก็น่าจะเหมือนๆกัน
ดู facebook ดู line ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในนี้ พอเราเข้าใจอะไรก็ลงทุนในสิ่งนั้น
อย่าง lipstick no.9 ไม่เข้าใจทำไมโตเร็ว
ถ้าหุ้นที่ pe เท่ากัน growth เท่ากัน ก็จะเลือกตัวที่เราเข้าใจ
พอดูในรายละเอียดมีคนจ่ายเงินให้ facebook ในแต่ละวันมาก
บางคนขายเสื้อผ้าจ่ายเงินให้ facebook เดือนเป็นแสน
เห็นหลายคนเริ่มมีธุรกิจใน facebook มันกลายเป็น platform เป็นวงจรธุรกิจ ไม่ใช่แบบ hi5
5 ปีก่อน มีพอร์ตลงทุนในประเทศใหญ่กว่าต่างประเทศ แต่ตอนนี้พอร์ตต่างประเทศมันใหญ่กว่าขึ้นมาเอง
รู้หรือไม่? 5 อันดับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับ Technology ทั้งหมดเลย
และรู้หรือไม่? ตอนนี้ 5 บริษัทนี้ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทยทั้งหมดเลย (GDP ไทย 14 ล้านล้านบาท)
แสดงว่ามันเติบโตเร็วกว่า

อันดับ 5 Amazon mkt cap ราว 15 ล้านล้านบาท
Amazon เริ่มต้นจากร้านขายหนังสือออนไลน์ แล้วก็มาเป็น e-commerce
แล้วก็มี amazon web service
สัดส่วนรายได้ 60% e-commerce ที่เหลือเป็นรายได้อื่นๆ
อเมซอนมีลำโพงอัจฉริยะชื่อ echo สามารถใช้เสียงสั่งลำโพงให้โค้กมาส่งหน้าบ้าน
เป็นการ disrupt การซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต เพราะที่ไทยอาจไม่เป็นไร
แต่ที่อเมริกาการออกไปซื้ออยู่ห่างไกลจากบ้านเขา
amazon web service เป็นตัวที่กำไรดี มีการลงทุน infrastructure
สมัยนี้คนไม่ซื้อ server แต่เช่าแทน อเมซอนได้เปรียบเพราะลงทุนก่อนและคนก็มาใช้

อันดับ 4 Facebook mkt cap ราว 16 ล้านล้านบาท
สัดส่วนรายได้ 97% มาจากโฆษณา
Ads ของ FB สามารถ target ไปที่คนได้ว่า เป็นเพศไหน อายุเท่าไร
และมี AI ที่มี look alike คือลูกค้าที่อาจจะซื้อคล้ายๆกันให้เราด้วย
ซึ่งจะ disrupt ร้านค้าปลีกได้ เพราะคนจะไม่เช่าร้านเป็นค้าปลีก แต่มาเช่าร้านใน facebook แทน
ถ้าเช่าร้านไม่รู้จะขายใคร แต่ facebook มีสถิติชัดเจนดีกว่า
ดังนั้น facebook ไม่ใช่แค่เป็นการ disrupt วงการโฆษณาอย่างเดียว รวมไปถึงค้าปลีกด้วย
อย่างในเมืองนอกยัง disrupt ไปถึงโค้กด้วย เพราะคนเดินห้างน้อยลง
(พฤติกรรมคนไปเดินห้างก็จะหยอดเหรียญกินโค้ก)

อันดับ 3 Microsoft mkt cap ราว 19 ล้านล้านบาท
สัดส่วนรายได้มาจาก OS Window 9% , MS Office 28% , MS Server 22% , Xbox 11%
จะเห็นว่ารายได้จาก OS Window ไม่ได้เยอะอย่างที่เราคิด เป็นบริษัทที่มีรายได้หลากหลาย
ลักษณะการขายโปรแกรมจะไม่ได้เป็นถาวร แต่เป็นรายเดือน ซึ่งส่วนตัวก็ยอมจ่ายเพราะก็ยังต้องใช้ excel

อันดับ 2 Alphabet mkt cap ราว 21 ล้านล้านบาท (เป็นบริษัท Holding ของ google)
สัดส่วนรายได้ 81% โฆษณา google adwords/ google adsense/youtube
เป็นเหมือนห้องสมุด พอมี google การอ่านหนังสือโลกจะเปลี่ยนไป
คิดว่าคนในอนาคตไม่ต้องอ่านหนังสือทุกหน้าอีกต่อไป หนังสือในโลกมีเป็นล้านเล่ม
เราอยากรู้เรื่องอะไร ก็ค้นหาแล้วอ่านเรื่องนั้น
สัดส่วนรายได้ android เกือบ 10%
ถ้าให้จัดอันดับบริษัทสาขาในไทยที่ใหญ่พอกับ facebook ประเทศไทย ก็คือ google ประเทศไทย
ลูกค้าหลักที่จ่ายเงินให้ google คือ บริษัท priceline ที่เป็นเจ้าของ agoda/booking
ยอมจ่ายเงินไม่อั้นถ้ายังทำให้เขาได้รายได้จากการจองโรงแรมจองท่องเที่ยว
สิ่งที่น่าสนใจ คือ priceline ไม่มีโรงแรมของตัวเอง
มีแต่ platform กลับสามารถทำรายได้มากกว่า 4 โรงแรมใหญ่รวมกัน
โลกยุคใหม่ก็เป็นแบบนี้ตัวเองไม่มีอะไร
อย่างบริษัทที่กล่าวถึงข้างต้น Amazon, facebook, Microsoft, google เหมือนกัน

อันดับ 1 Apple 27 ล้านล้านบาท [ เข้ามาไม่ทันช่วงต้นหลังเบรคครับ ><]
Iphone ขายทั่วโลกไม่ต้องสร้างโรงงาน จึงเติบโตได้เร็ว
Resource ในอนาคตก็อาจจะไม่ใช่น้ำมัน
ปีหน้าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็จะไม่ใช่ Apple
แต่เป็น Saudi Aramco ซึ่งมูลค่า 60 กว่าล้านล้านบาท
ซึ่งเขาก็รู้ว่า resource จะไม่ใช่น้ำมัน แต่จะเปลี่ยนไปทางเทคโนโลยี/พลังงงานสะอาดเยอะขึ้น
เป็นเหตุผลที่บ้านเราได้เล่นพลังงานทางเลือก ทำไมหุ้น EA ถึงขึ้นได้เยอะ
ทำไมถึงไปลงทุนลิเธียม ทำไมอิลอนมัสก์ถึงไปลงทุนแนวทางนั้น เพราะโลกไปในทางนั้น
Resource ของโลกอาจไม่ใช้น้ำมันแต่อาจเป็นลิเธียมหรือเปล่า?

คุณตู้ : คิดว่า resource สำคัญสุดคือ ข้อมูล คนที่มี data คือผู้ชนะ
ถ้ามองในมุมพลังงานลิเธียม เป็นวัตถุดิบในมือถือหรือรถยนต์ไฟฟ้าก็น่าจะเป็นผู้ชนะ

คุณอัพ : ขอเสริมเรื่องข้อมูล เราจะเห็นว่าหุ้น Nvidia ขึ้นมากเป็นสิบเด้ง
เพราะการประมวลผลข้อมูลต้องอาศัยชิพประมวลผล GPU ซึ่ง Nvidia เป็นผู้นำตลาด
หรือ memory chip ต้องการการเก็บข้อมูล ซึ่ง Samsung ก็เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดที่ผลิต
Resource ของโลกจะ shift มาด้านนี้

ทำไมหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวกับผลิต chip ถึงขึ้นได้มาก?
คุณตู้ เกริ่นในเรื่อง AI theme ก่อน AI คือสมองจำลอง
อย่าง Alpha Go 2 ปีก่อนสามารถเอาชนะนักเล่นโกะมือ 4 ของโลกได้
ผ่านมาใช้เวลา 1 ปีพัฒนาตัวเอง เอาชนะมือ 1 ของโลกได้
สิ่งที่มหัศจรรย์คือ Alpha Go ใช้พลังงานในการประมวลผลน้อยลง 10 เท่าในการแข่งขันกับมือ 1
แสดงว่าถ้ามันเก่งขึ้น 2 เท่า แต่ที่จริงมันเก่งขึ้น 20 เท่า
ถ้ามองว่า Alpha Go ไกลตัว ที่ใกล้ตัวคือ news feed ที่เราเห็นทุกวันประมวลผลโดย AI
AI theme ต้องใช้ 5 ปัจจัยสำคัญ คือ
1) Data ยิ่งมีมาก ยิ่ง feed ข้อมูลได้มาก ยิ่งมีข้อมูลมากยิ่งฉลาด
2) Chip การประมวลผล data ต้องใช้ chip หรือ GPU หรือ sVGA
3) เวลา เริ่มก่อนได้เปรียบ เด็กทารกบริโภคข้อมูลเยอะมาก แต่อยู่ในหัว
ไม่สามารถใช้ออกมาได้ อย่าง Alpha Go ก่อนจะไปแข่งใช้เวลาในการเรียนรู้ก่อนเหมือนสมองเด็ก
ซึ่งจะใช้เวลานาน แต่ตอนไปแข่งหรือตอนเอาไปใช้งาน
เราบริโภคข้อมูลน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น
4) วิศวกร
5) Infrastructure platform

คุณอัพ เสริมว่า วิวัฒนาการ AI มันคล้ายๆสมองมนุษย์
โลกมีมาแล้ว 4.5 พันล้านปี เผ่าพันธ์มนุษย์มีมาแล้ว 1 แสนปี เทคโลยีพัฒนาเมื่อ 200 ปีที่แล้ว
ถ้ามองแบบเดียวกัน AI จะเลียนแบบมนุษย์และก้าวกระโดดเร็วกว่ามนุษย์
กฏของ Moore การประมวลผลจะก้าวกระโดดทุก 14 เดือน จนถ้ามองไป 28 ปีข้างหน้า
หรือจุดที่สมองของ computer ทั้งหมดรวมกันจะเร็วกว่ามนุษย์ เรียกว่า 16 ล้านเท่าของตอนนี้
เหมือนเราเป็นมดของมัน คือที่ไม่รู้มดคือใคร เราก็ไม่รู้ว่ามันคิดอะไรอยู่

คุณตู้ มีคนเคยบอกว่าสังคมสมัยนี้เลวร้าย ซึ่งถ้าใครพูดแบบนี้ไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์
โฮโมเซเปียนเกิดขึ้นมา 1 แสนปี อายุมนุษย์สมัยก่อน เฉลี่ย 40 ปี
Computer ที่เร็วสุดในโลก 100 ปีก่อน ช้ากว่า iphone เป็นสิบเท่า
เมื่อปี 1700-1800 อายุเฉลี่ยก็ยังอยู่ในระดับนี้ แต่พอการแพทย์เจริญอายุเฉลี่ยก็กระโดดขึ้นมา
ถ้ามองย้อนกลับไปคนสมัยก่อนคงคิดว่าจะอยู่ได้อย่างไรเป็น 100 ปี

คุณอัพ ถ้าเคยอ่านประวัติศาสตร์เจ้ากรุงเสียชีวิตตอนอายุ 38 ปี
ยุคปัจจุบันสบายกว่าราชาเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ตื่นมานอนสบายกว่าเจงกิสข่าน
ซึ่ง 100 ปีข้างหน้าก็จะสบายกว่าเรา คนพิการไม่มีแขนมีมือกลที่จับคลื่นของเราและขยับได้แล้ว
ร่างกายมนุษย์เป็นแค่กาย สิ่งที่เป็นทั้งหมดของเราอยู่ที่สมอง ที่เหลือเป็นภายนอกหมดเลย
ประเด็นคือสมองจะเก็บได้อย่างไร? อย่างรูปถ่ายทุกวันนี้ถ่ายเท่าไรก็ได้จะลบหรือเก็บก็ได้
ถ้าเราแปลงสมองคนลงดิจิตอลเหมือนรูปถ่าย แล้วมีร่างใหม่ที่ดาวน์โหลดจากสมองเรา
หรืออีกอย่างคือ โคลนนิ่ง เราจะเห็นลูกแฝดบ่อยมาก
เชื่อว่าต่อไปอาจจะเห็นว่ามีการโคลนนิ่งแล้วเอาความคิดเรามาใส่
แรกๆจะช้า แต่ต่อไปจะเร็วเหมือนเพจเจอร์เปลี่ยนมาเป็นไอโฟน

มีกฏหนึ่ง เรียกว่า The Six Ds มี 6 Step
Digitized เป็นการแปลงของในโลกจริงให้อยู่ในโลกเสมือน เช่น แปลงภาพเป็นไฟล์.jpg
โดยจะมา Disrupt ของที่มีอยู่เดิมหายไป เช่น กล้องดิจิตอลถ่ายรูปแทนฟิล์ม
Deceptive ก่อนที่ของจะหายไป จะมีการหลอกตัวเองก่อน ว่าเป็นไปไม่ได้
รถไฟฟ้าไม่มาแทนรถน้ำมัน อย่างนิตยสารตอนนี้โดย facebook กินหมดแล้ว
Demonetized เงินจะหายไป ทุกอย่างจะฟรี เมื่อก่อนต้องสมัครดูเคเบิลทีวี ตอนนี้ดู youtubeฟรี
เมื่อก่อนนิตยสารต้องจ่ายเงินซื้อ ตอนนี้ดูฟรีใน facebook
Dematerialized ของต่างๆจะหายไป กล้องถ่ายรูป DSLR เครื่องคิดเลข แผนที่ จะเหลือแค่ใน มือถือ
ของจะหายไปแล้วตัวเราก็เหมือนกัน เราอยู่ในโลกเสมือน ต่อไปตัวเราก็อาจจะหายไปได้
Democratized จะไม่มีคนคุมอำนาจตรงกลางแล้ว อย่าง uber, facebook เป็นตัวอย่างที่รัฐบาลคุมไม่ได้
หรืออย่าง bitcoin เมื่อวานจีน banned bitcoin เพราะคุมไม่ได้
ที่เวนเนซูเอลามีเงินเฟ้อ คนก็ขุด bitcoin
มีการสู้กันระหว่างโลกเสรีนิยม กับคนที่บอกว่าสัมคมต้องมีกฏกติกาควบคุม
Ethereum เป็น base ในการออก ICO(เหรียญสกุลเงินใหม่)
Omise เป็นบริษัทไทยร่วมกับบ. ญี่ปุ่น สร้าง ICO เจ้าของอายุ 23 ปี ฃ
จากไม่มีอะไร ก็ขึ้นมามี mkt cap 3 หมื่นล้าน โลกยุคนี้เร็วกว่าที่เราคิด
เป็นครั้งแรกที่ ICO เกิดที่ฝั่งตะวันออก เพราะทางฝั่งตะวันตกยังใช้ credit card อยู่
พวก e-wallet อะไรต่างๆก็ไปเร็วกว่า เป็นสิ่งที่น่าติดตาม ว่าเป็น democratize ของจริง

บริษัทหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้?
คุณตู้ : มีสิ่งที่คนจะสงสัยคือ บางอย่างจะเกิดหรือเปล่า? ความเร็วในการเกิด?
มีกฏข้อหนึ่งชื่อ law of accelerating returns
การพัฒนาของเทคโนโลยีเร็วกว่าที่เราจินตนาการได้เสมอ เพราะ
1) availability bias เราเคยเห็นเป็นแบบนี้ มันจะเป็นแบบนี้
เป็นสัจธรรมของชีวิต เราลากเส้นต่อจากอดีต
2) เราลากเส้นเป็นเส้นตรง อย่างรถยนต์ที่ผ่านมาก็พัฒนาไปทีละนิด
EV อีกนาน AV อีกนาน แต่ดูอย่างมือถือ
จากนกพิราบ จดหมาย เพจเจอร์ โนเกีย จนมาถึงโทรศัพท์ตอนนี้ทำได้ทุกอย่าง
อย่างรถ EV ให้ขับรถได้เร็วขึ้นไม่ต้องเปลี่ยน hardware แต่ update software
ปรากฏการณ์ลำไยไหทองคำ ลองจินตนาการว่ากว่านักร้องลูกทุ่งจะดังในเมืองกรุงต้องทำอะไรบ้าง?
อย่างแรกย้ายมาเช่าอยู่ในกรุงเทพ ร้องเพลงในคลับกลางคืน
ถ้าเพราะก็เริ่มมีคนชอบ มีแมงมอง แล้วก็ไป audition
และออกเทป ไปสู่ร้านขายเทป กว่าจะเกิดการซื้อขายไปเปิดเพลงกว่าคนจะดังขึ้นมา
พอเทียบลำไยไหทองคำ ใช้ตัวเขา มือถือ อินเตอร์เน็ต อะไรหายไปบ้าง?
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและ AI ตัวกลางจะหายไป
เราบริโภคอะไร? Product, service, content สิ่งที่เคลื่อนง่ายสุดคือ content เพราะไม่ต้องใช้ material
การส่งเพลง ส่งวีดีโอคือข้อมูลส่งตรงไปผู้บริโภคได้ สิ่งที่จะตามมาคือ product หรือ service
อย่าง amazon ที่ซื้อสินค้าจาก supplier และยิงตรงให้ลูกค้าได้เลย
มีโดรน,มี self driving car ก็ไม่ต้องใช้ dhl ได้ในอนาคต
ตัวกลาง อย่าง มนุษย์ มี AI อย่างวิทยากรบรรยายให้ความรู้ให้ข้อมูล
ซึ่ง AI จะฉลาดเรื่องข้อมูล เรื่องการทำซ้ำ มากกว่าเรา
ความแตกต่างคือมันรวมเรื่องต่างๆเข้าหากันไม่ได้ มันเก่งเป็นเรื่องๆ
ทุกวันนี้ AI ประมวลผลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ดีกว่ามนุษย์
เรื่องเข้าใจภาษาทำได้ดีกว่ามนุษย์แล้ว การแปลภาษาวันนี้ทำได้ระดับหนึ่ง แต่มันจะโตขึ้นและแทนที่บางอาชีพได้

คุณอัพ : สุดท้ายก็ต้องโดน disrupt ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวทันหรือเปล่า
อย่าง เมอรี่คิงส์ ที่เมื่อก่อนสู้กับเซ็นทรัลมาด้วยกัน แต่ตัวหนึ่งตายตัวหนึ่งอยู่
อย่าง 7-11 ถ้ามีจุดรับของที่ดีก็อยู่ได้ ข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการใหม่ที่ไม่มี platform เดิมจะเริ่มได้เร็ว
ตัวอย่างที่เห็นได้สำคัญ product กับ content ใครมีดีจะกลายเป็น superstar ได้เร็วมาก
ร้านอาหารไหนดี มี line man มารอที่หน้าร้าน จะมีค่าเสียเวลากับค่าขับรถ
เรายอมจ่ายร้อยนึงเพื่อเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้
ไม่แปลกใจที่เจ๊คิวปูม้านิ่งรายได้ 6 ร้อยล้าน หรือจะเป็นดารา คน ต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างเร็ว
บริษัทอย่าง work ที่มี fb ทำให้ social บอกต่อ ว่าของมีดีจริง
ช่อง 3 ที่ลดลงเพราะเมื่อก่อนอาศัยผูกขาดกับ channel
ที่จริงแล้วมูลค่าประมูลช่องกับ กสทช. ควรมีมูลค่าเป็น 0
เด็กสมัยนี้แปลกกว่าอีก ดู แคสเกม
ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับตัวเรา ต้องดูคนรุ่นใหม่ว่าไปทางไหนกัน
บริษัทไทย ใครที่มีของดีจะได้ประโยชน์
เช่น มาม่า เจ้าของ product จะขายได้ แต่ตัดตัวกลางออกไป

ใครมีของดีจะยิ่งดีขึ้น ใครมีของไม่ดีจะยิ่งขายไม่ได้ เพราะคนมีทางเลือก
ดังนั้นความเหลื่อมล้ำจะมีมากขึ้น อย่าง work รายได้/กำไรโตดี เพรา content ดี
แต่อย่างบางช่องจะอยู่อย่างไร บางช่องเทียบแล้ววูดดี้อาจจะมีมูลค่ามากกว่า
ถ้าเรามี universe ของเราในประเทศ ให้หาบริษัทที่มีของดีจริงๆ
แต่ถูกผูกขาดด้วย platform หรือคนกลาง แล้วตัดตรงนั้นออก แล้วมันจะดีขึ้น
อะไรที่เป็นตัวกลาง หรือไม่จำเป็นสำหรับโลกแล้ว อยากให้หลีกเลี่ยง
ที่ดีสุดคืออยากให้ universe เราใหญ่ขึ้น อย่ามองแค่ 700 ตัวในตลาดหุ้นไทย
เราก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น ยกตัวอย่างเมื่อ 4-5 ปีก่อน เห็นคนเล่น facebook ทุกวัน
FWD PE 20-30 เท่า เท่ากับ cpall แต่เห็นอนาคตว่าจะใหญ่ขึ้น ทำไมเราไม่เลือก facebook บ้าง
หรือ google หรือเสื้อผ้า Uniqlo, Zara, Adidas, Starbuck สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
ประเทศเราเป็นประเทศเปิด บางทีมากกว่าต่างประเทศ
กรุงเทพมีคนเล่น facebook มากสุดในโลก 25 ล้าน user อาจจะคนหนึ่งมีหลาย user
เวลาจะ test อะไรก็มาลองที่ประเทศไทยก่อน
เดิมคนต้องไปโอน atm ตอนนี้จ่ายเงินใน facebook ได้เลย กดใน messenger disrupt แบงค์
ซึ่งแบงค์โดนทั้ง promptpay, qr code ค่าธรรมเนียมจะหายไปเยอะ
ทุกอย่างจะ demonetize หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะหายไป
ยกตัวอย่าง 10 ปีที่แล้วต้องเสียค่า sms 2 บาท ก็ต้องคิดก่อนจะส่งหรือไม่ส่งดี
ทุกวันนี้ Line มา disrupt ส่งได้ไม่จำกัด
เปรียบเทียบเหมือนกันการโอนเงิน ถ้าทำได้ ฟรี ทุกคนจะเทไปทางนั้น
มันเป็น painpoint ของทุกคน ใครแก้ปัญหานี้ได้ ครองการจ่ายเงินของประเทศไทย
Portionค่าธรรมเนียมจะน้อยลงแต่ไปหารายได้ทางอื่นแทน เช่นโฆษณา หรือขาย app
อย่าง tencent ให้โอนเงินฟรี แต่ไปขายเกม ขาย app แทน
หรืออย่างเกม ROV เจ้าของคือ Garena ซึ่งเขาเป็นเจ้าของ airpay ไว้เติมเงินเล่นเกม
ซึ่งใครเล่นเกมอาจไม่รู้จัก แต่ตลาดใหญ่มาก
Deep pocket จะมา disrupt บุญเติมหรือเปล่า
หลักการเดียวกับบุญเติม เล่นสเกลเล็กๆ แต่ค่าธรรมเนียมเยอะ
อย่างได้เงิน 100 แต่จ่ายเงิน 10 บาท พอเอาเล็กๆมารวมกันก็ใหญ่มาก
บางทีเราก็จำกัดตัวเองขึ้นกับ ผบห.หรือเปล่า เรามีตัวเลือกเยอะกว่านั้น

คุณตู้ : ทุกคนน่าจะมีคำถาม 3 คำถาม
AI จะมาแทน VI ไหม? AI จะกระทบกับธุรกิจอะไรบ้างในไทย? เราจะลงทุนในอะไรดี?
ซึ่งที่ได้คุยกันไปวันนี้จะตอบสองเรื่องแรกหลักๆ คือ
AI จะมาแทน VI ไหม?? >> ก็ too soon too tell และไม่มีประโยชน์ที่จะคิด ยังไงเราก็ลงทุน
AI จะกระทบกับธุรกิจอะไรบ้างในไทย?? >> คุณอัพพูดไปแล้ว มี แบงค์,มีเดีย,ค้าปลีก
มีอีกสิ่งที่ยังไม่ได้แตะคือโรงพยาบาลในอีก 10-20 ปี ภาพจะค่อยเปลี่ยนไปแบ่งเป็น 2 เฟสใหญ่
เฟสแรกคือโลก leverage ความสามารถ ถ้าทำอร่อย เทคโนโลยีจะช่วย leverage ความสามารถเรา
ช่วยส่งของ หรือ faceebook, google ก็ไปอยู่ทั่วโลก คิดแบบเดียวกับแพทย์
ถ้าปัจจุบันหมอ 1 คนรักษาได้ 10 คน แต่อนาคต หมอ 1 คนอาจรักษาได้ 100 คน
ในอดีตทักษะหมอเหมือนหัวหน้าพนักงาน แต่สุดท้ายคนนั้น value จะลด
แต่คนเก่งกว่าคือคนคุมเครื่องจักรสั่งให้ผลิตน้ำ
หมอที่ใช้เครื่องมือเก่งจะรักษาคนไข้ได้มากขึ้น สุดท้ายหมอที่ไม่เก่ง value จะลด
เฟสสอง คือ การรักษาโรคเดิมรักษาเมื่อเกิดโร แต่ต่อไปจะเป็นการป้องกันก่อนเกิดโรค
เช่น self driving car ที่เปลี่ยนสิ่งที่ error ได้คือมนุษย์ 90% ของอุบัติเหตุเกิดจากมนุษย์
ซึ่งก็จะไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเทคโนโลยี CRISPR–Cas9
ทำให้การตัดต่อพันธุกรรมถูกลงมาก และเวลาสั้นลง จากเป็น ปี เหลือ 80 วัน
สามารถใช้เด็กปริญญาตรีและห้อง lab ดีๆ ก็สามารถตัดต่อพันธุกรรมได้
เช่น ยีนที่ทำให้เกิดมะเร็งมีไม่กี่ตัว สามารถเลือกได้ว่าจะตัดต่อยีนตัวไหนให้ไม่เป็นมะเร็ง
ทุกวันนี้ถูกเอาไปทดลองกับหนู ทำให้หนูสีขาวเป็นสีดำได้ หรือยุง
เป็นพาหะไข้มาราเลียที่ทำให้คนเสียชีวิตมากสุดในโลก ตัดต่อให้ยุงไม่เป็นพาหะ
และเปลี่ยนตาให้กลายเป็นสีแดงเพื่อแยกแยะ แล้วเอายุงปกติกับยุงตาสีแดงที่ตัดต่อพันธุกรรมไปรวมกัน
แล้วให้มันแพร่พันธ์ ผลออกมาสามารถทำให้ยุงทั้งหมดกลายเป็นตาสีแดง และไม่เป็นพาหะได้
ความจำเป็นโรงพยาบาลลดลง สามารถเอาความสามารถหมอไปรักษาคนโดยไม่ต้องผ่านโรงพยาบาล

จะลงทุนอะไรดี?
คุณตู้ :
1.ลงทุนในตัวผู้สร้าง AI เช่น google, amazon, facebook, apple
2.ลงทุนในเจ้าของ data ก็คล้ายๆกลุ่มแรก พอชนะด้วย data ก็สามารถป้องกันคนอื่นได้ อาจรวมถึง Alibaba หรือ tencent ในจีน
3. ผู้ผลิต hardware ที่ใช้สร้าง ai และไม่มีใครเลียนแบบได้ เช่น nvidia, intel, mobile eyes
4. เจ้าของ product/service ที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เจ๊คิวปูม้า, ร้านอาหารดังๆ, Disney, marvel, DC
5. เจ้าของ product/service ที่ไม่เสียประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม,หลุยวิกส์ตอง ,สโมสรฟุตบอล

หุ้นต่างประเทศไกลตัวมาก หาข้อมูลอย่างไร มีกระบวนการอย่างไร ดูตรงไหน?
คุณอัพ : เอาสิ่งรอบตัว แล้วหา google หาได้ทุกอย่าง เช่น amazon investor relation ทำเหมือนดูหุ้นไทย ไม่ได้ยาก
การเลือกหุ้นเดายากว่าอันไหนจะชนะหรือแพ้ อย่าง snapchat โดย facebook รุมล้อมหมด
ผู้ใช้ story มากกว่า snapchat แล้ว ถ้าให้ปลอดภัยและไม่ต้อง bet 5 บริษัทแรกที่ว่าก็ครองโลกไปแล้ว
Facebook มีบางช่วงที่เดาง่าย ราคาถูก อย่าง google ก็ซื้อไป pe 20 พวกไหนที่ไม่เข้าใจหรือเดาไม่ออกก็ข้ามไป
อะไรที่ valuation ไม่ได้ก็ข้ามไป อย่าง line ทุกคนใช้
แต่พอดูงบการเงิน กำไรยังไม่โผล่มันต้อง bet ว่าจะ breakeven เมื่อไร ถ้าใครมั่นใจก็อาจจะ bet กับ line ได้
อีกประเด็น เราไม่จำเป็นต้องลงทุนผู้ชนะอย่างเดียวก็ได้ ลงทุนในหุ้น panic ที่ทุกคนมองว่าแย่
เช่น GM ปีก่อนผลิตรถ 10 ล้านคัน Tesla ผลิต 8 หมื่นคัน แต่ GM market cap เล็กกว่า tesla pe 5 เท่า
ถ้าคนมั่นใจว่าแบรนด์ยังอยู่ได้ มันยังอยู่ก็เป็นโอกาส หรือ BMW pe 7 เท่า

คุณตู้ : หุ้นต่างประเทศที่คุยในเวทีวันนี้อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน อะไรที่คุ้นเคย มองเห็นอนาคต 3-5 ปีได้
ก็อาจทำความคาดหวังต่ำลง หรือหาหุ้นที่คิดว่าได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จากพวกนี้
หุ้นต่างประเทศ ข้อมูลหาง่ายกว่าประเทศไทย โดยรวมเป็น fair game มากกว่า ราคาหุ้นเป็นตามงบมากกว่า
ข้อมูลมีมหาศาล สามารถทดลองเองได้ ค้นหาวิธีซื้อโฆษณา หรือลองซื้อเอง ทำความเข้าใจการเกิดการได้รายได้
Seeking Alpha website มีข้อมูลเยอะ มีเสียงเหมือน opp day มีแปลงเสียงเป็นตัวหนังสือ
มีคนมาช่วยวิเคราะห์เหมือน thaivi
การ valuation หลีกเลี่ยงหุ้นที่ไม่สามารถเข้าใจได้
การตามหุ้นใหญ่ขนาดนี้ไม่ต้องดูงบละเอียดทุกบรรทัด
อย่าง amazon อาจจะดู pe ไม่ได้ เพราะลงทุนเยอะมาก
แต่มีหุ้นที่ถูกกว่าและชอบมากกว่า เช่น google facebook forward pe น่าจะราว 30 ซึ่งยังถูกกว่าหุ้นไทย
หรืออย่าง บริษัท nvidia forward pe 30 กว่าเท่าเทียบกับ beauty ก็คล้ายกันอยู่ที่เราชอบแบบไหน
อย่างเทสล่าเคยมีเพราะตามพัฒนาการเขา แต่รู้สึกว่า valuation ไม่ได้ และการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นมาก
GM, BMW ก็ทำได้ เหตุการณ์ที่เคยเกิดกับโกดักหรือโนเกีย น่าจะเกิดขึ้นยากแล้ว เพราะทุกคนเคยเห็น disruption
ต้องทำทุกวิถีทางให้รอด tesla จะชนะแบบไหนก็ยังดูไม่ออก

คุณอัพ เสริมเรื่อง EV เชื่อว่าตามกันทัน อย่าง รถยนต์เยอรมันมีคนเชื่อถือ
และประกาศในปี 2030 model change 8 ปี อีก 2 model change ก็จะไม่มีรถยนต์น้ำมันแล้ว
คิดว่าจะไม่ได้มีใครชนะขาดลอย จะแข่งกันหลายๆแบรนด์แบบกระเป๋า

จะนำเนื้อหาไปใช้กับการลงทุนได้อย่างไร?
คุณอัพ : หลับตาแล้วสังเกตรอบตัวเรา ว่ามีอะไรอยู่บ้าง อย่าตั้งหุ้นที่ตลาดหุ้น ต้องอ่าน 56-1
เริ่มใหม่ สิ่งที่อยู่รอบตัว คนจะใช้อะไรจะใช้ ง่ายๆแบบเด็ก ป. 4 ก็รู้ แล้วก็ google ค้นหา
คุณตู้ : 2-3 ปีนี้ทำสิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้ดีขึ้น บริโภคข้อมูลน้อยลง ได้ผลมากขึ้น คือการปฏิบัติธรรม
ทำให้มีสติมากขึ้น ทุกข์น้อยลง อยู่ในระหว่างเรียนรู้ เริ่มจากอะไรง่ายๆ ระหว่างแปรงฟันก็ให้รู้ตัวตลอดว่าแปรงฟัน
หรือสวดมนต์ก่อนนอน 5-10 นาที หรือนั่งหลับตาแล้วอยู่กับลมหายใจ อย่าฝืนทำเยอะๆ เอาให้ตรงจริตเรา


รุมหลังงานกับ ท่านอาจารย์นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
พูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ AI ถ้าอ่านคนดังๆ เช่น ปูติน บอกว่า AI จะเป็นภัยกับ มนุษยชาติ
หรือ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง บอกว่ามีโอกาสที่โลกจะล่มสลายใน 100 ปี
ต่อไปมีความเป็นไปได้ที่จะจำลองสมองมนุษย์ด้วยคอมพิวเตอร์
เวลาผ่านไปสมองมนุษย์พัฒนาการไม่ได้เปลี่ยน แต่คอมพิวเตอร์ไปไกล
เทคโนโลยี, automation เป็น thread ที่นักลงทุนทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้
Moore’s law มีคนบอกว่าใกล้จะเต็ม มันช้าลงไปถึงจุดหนึ่งอาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น ข้อจำกัดด้านซิลิคอน
ซึ่งไปต่อไม่ไหว เราก็อาจจะรอด
ในการลงทุนต้องดูว่า ถ้า market cap ใหญ่เกินไป โตปีละ 15% ทุก 5 ปีต้องขึ้นเท่าตัว
Google, Facebook ตอนนี้ market cap เท่าไร แล้วมันจะโตได้เท่านั้นไหม
ถ้าเป็นแบบนั้นมันจะโตคับโลก ไม่เหลืออย่างอื่นที่คนต้องทำแล้วหรือเปล่า? มันเป็นไปไม่ได้
Market cap เป็นตัวแทนกิจกรรมที่มนุษย์ทำ
มันเคยขึ้น 10 เท่าภายใน 4-5 ปี วันที่เข้าไปซื้ออาจจะไม่มีแล้ว ณ ตอนนั้นมันอาจจะเล็กอยู่
ส่วนตัวเป็นนักลงทุนที่ยึด model competitive ทุกคนต้องแข่งขันกัน บางอย่างเราก็รู้ดีมาก
แต่มีคนรู้ดีกว่าเราเยอะ อยากทำอะไรที่เราก็ไม่ได้รู้ดีมาก แต่คนที่แข่งกับเราสู้เราไม่ได้
ตลาดหุ้นในอเมริกาเป็น efficient market คนที่รู้ดีๆมีเยอะมาก และพวกนี้จะเทรดหุ้นตามรู้เขา
ทำให้เขาชนะและได้เปรียบ ในบางช่วงก็จะดีเป็นพิเศษ บางช่วงแย่ สุดท้ายระยะยาวก็ไม่ได้มีใครเก่งกว่าใครมาก
สมัยเรียบจบกลับมาใหม่เล่นหุ้นไม่เป็น เพราะเรียนวิชาพวกนี้มากเขาบอกไม่ต้องไปศึกษาอะไรมาก
ตลาด efficient ไม่ต้องไปสู้อะไร แต่มาพบว่าในตลาดไทยยังไม่ efficient มาก เราชนะได้
และมีอีกจุดหนึ่งที่ไม่มีใครเก่งกว่าเราเพราะเราถือยาว
บางคนบอก ถือยาวไม่ใช่ความเก่ง แต่ถือยาวแล้วชนะก็ไม่ต้องสน และเป็นเกมที่เราได้เปรียบเพราะคิดยาวๆ
ถ้าคุณรู้ว่ามันดี ก็ต้องหาผู้ชนะให้ได้ เรารู้ดีกว่าหรือเหนือกว่า อย่างตลาดหุ้นเวียดนามส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องนี้
เราถือยาวยังไม่วัดผล แต่เราถือยาวก็ปล่อยมันไป

หนังสือ The rise of the robot เป็นหนังสือได้รางวัล ลองกดดู google
เป็นหนังสือเขียนปี 2015 มองภาพใหญ่ ภาพยาว เขาจะมองแง่ลบหน่อยว่าคนจะตกงาน
ตั้งแต่สมัยเครื่องจักรไอน้ำ คนจะบอกว่าทำให้คนตกงานเพราะแทนคนเยอะมาก
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนไม่ได้ตกงาน แต่ไปทำงานอย่างอื่น
แต่รอบนี้เขามองว่าจะไม่ใช่ เทคโนโลยีจะแทนมนุษย์ แล้ววันหนึ่งหุ่นยนต์จะมาแทน
ทั้ง Sapien, Homodius ก็มองเหมือนกันว่า มนุษย์จะไม่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
วันหนึ่งถ้าไม่มีใครคุมมัน มันก็จะคุมเราแทน
ที่บอกว่าหุ่นยนต์ไม่มีชีวิตจิตใจก็อาจจะไม่จริง
มีการทดลองให้หุ่นยนต์เขียนเพลง เทียบกับนักแต่งเพลง แล้วเอามาประเมิน
ปรากฏว่าหุ่นยนต์เป็นผู้ชนะ
AI ที่พวกเราพูดถึงวันนี้คือ Specialized AI เช่น เทรดหุ้น, ขับรถ
แต่ General AI เป็นสิ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำได้หลายอย่าง เหมือนๆคน
เพิ่งไปประเทศอังกฤษมา เจอหุ่นยนต์สาว เอาไว้ต้อนรับ คอยทักทาย ตอบคำถาม ดูใช้ได้
ซึ่งของแบบนี้ไม่ยาก สามารถทำได้อยู่แล้ว

ประเทศไทยจากวันนี้ไปข้างหน้า 2-3 ปีเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร?
เศรษฐกิจดูดีขึ้น แต่ภาพไม่ได้เปลี่ยน
เราเคยเป็นอันดับต้นของอาเซียนมาหลายสิบปี แต่ตอนนี้อยู่ท้ายๆ
เพราะเราแก่ตัวลง และระบบต่างๆไม่เอื้ออำนวยให้แข่งขันในตลาดโลก
ตัวสำคัญคือเพราะเราแก่ตัวลงมากสุดในอาเซียนแล้ว เลยไปไม่ไหว
เศรษฐกิจจะโตแรงงานต้องเพิ่ม
การลงทุนต่างประเทศก็ไม่ได้ง่าย เพราะเราเสียเปรียบ มีเรื่องค่าเงิน
ถ้ายังไม่มีเงินมาก ก็ยังไม่ต้องไปได้ ถ้ามีเงินมากก็ควรไปได้ผลตอบแทน 10% กว่าปีก็น่าจะพอใจ
ต้องมองตัวเองเป็นประชากรโลก เด็กรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ ภาษาต้องได้ ใจต้องเปิดกว้างการไปลงทุน
หรือทำงานต่างประเทศเป็นอะไรที่ธรรมดาขึ้นเรื่อยๆ

ข้อดีประเทศไทย?
ในระยะสั้น การลงทุนน่าจะทำให้เกิดการจ้างงานพอประคอง แต่ไม่ได้เติบโตมาก
เมื่อโครงการจบก็จะเหนื่อยไม่รู้จะสร้างอะไรต่อ
การสร้างทางรถไฟ สร้างอะไรขึ้นมาถ้าไม่มีคนอยากเดินทางก็ไม่มีประโยชน์
อนาคตเมืองไทยคิดว่าอยู่กับการท่องเที่ยว เพราะอยู่ใน gene มนุษย์
เราใช้ประโยชน์อยู่ใกล้จีน ใกล้อินเดีย ซึ่งสามารถรองรับเศรษฐกิจระดับ high middle income
กลุ่มเหล่านี้รายได้จะดีระดับหนึ่ง พวกกลุ่มผลิตก็จะทรงๆหรือลดลงหน่อย
ภาพที่คิดประมาณนี้ แต่ไปแข่งขันกับโลกยาว คนไทยไม่ได้ hitech
หรือไปผลิตเทคโนโลยีแข่งขันในระดับโลกแบบ Samsung ได้


Qh –มองว่าไทยก้าวคนสู่ slow growth เริ่มไม่เอาหุ้น growth ให้โตเยอะๆยาก
จึงเล่นหุ้นที่เรียกว่า stable ไม่ decline อย่างน้อย maintain ระดับกำไร/ปันผลได้
growth 4-5% ถ้าได้ 7-8% happy มาก
ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯก็จะถดถอยได้ ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะเหลือแต่พวกผู้พัฒนารายใหญ่ๆน่าจะรักษาตัวเองอยู่ได้
แต่สิ่งที่มองว่า stable คือ hmpro โตปีละ 6-7% มีความต้องการ แม้จำนวนคนหรือซื้อบ้านใหม่ลดลง
ยังมีคนซื้อปรับปรุงบ้าน และมี story ไปขยายมาเลเซีย และโอกาสไปที่อื่นใน asean
เนื่องจากเขามี knowhow ตัวเองไม่ต้อง world class อะไรมาก มีโอกาสที่จะขยายไปได้เรื่อยๆ
Lhbank ยังพอไปได้ โตได้นิดๆหน่อยๆ สามารถ maintain รายได้ กำไรพอสมควร
เศรษฐกิจไทยเป็นแบบคนแก่ มี NPL บ้า แต่ไม่เกิดวิกฤติ
โดยรวมมี stable business อยู่ครึ่งหนึ่ง ถ้าเอากลุ่มเหล่านี้รวมกันใหญ่กว่า qh 30% เหมือนได้ discount
ถ้าไม่ทำอะไรก็มีกำไร 1 พันกว่าล้าน pe 16-17 เท่า ส่วนธุรกิจขายบ้านเป็นตัวเสริมที่กำไร 1 พันกว่าล้าน
ก็รวมแล้วปีหนึ่งกำไร 3 พันล้าน ปันผลก็เยอะเทียบกับตัวอื่นๆ
เรามักเชื่อผู้บริหาร ต้องดูของจริง ตามนานๆ บางช่วงก็ถูกบางช่วงก็ผิด พอไม่โตจริงออกมาก็เละ
ตอนนี้ก็เลยซื้อหุ้นแนวนี้ แต่จะหวังกำไรเยอะๆคงไม่ง่าย เพราะคนมองว่าธุกริจไม่โต และอาจลดลงได้

การลงทุนต้องระวัง ราคาหุ้นขึ้นไปเพราะคนมองแง่บวกเยอะ คนก็จะเชื่อสิ่งที่ดีๆว่ามันจะดีขึ้น
ส่วนมองแง่ร้ายก็จะ bias อีกด้าน
ประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นคนมองแง่ร้ายจะผลตอบแทนดีกว่า

TCAP – กลุ่มธนาคารคล้ายกับทุกบริษัท แบงค์ใหญ่เหมือนกัน มีสินเชื่อ มีประกัน อะไรคล้ายๆกัน
แต่สัดส่วนลูกค้าอาจจะต่างกัน ปล่อยกู้บุคคลธรรมดา,ปล่อยกู้ลิสซิ่ง สังคมถ้ายังไม่เจริญจะมีเงินกู้บริษัทใหญ่ๆ
แต่พอเจริญขึ้นจะมีบริษัทเล็กๆมาขึ้น บริษัทใหญ่ๆก็ไปออกหุ้นกู้เอง cpall มีเงินกู้แสนกว่าล้านบาทก็ออกเป็นหุ้นกู้หมด
ขณะเดียวกัน retail ก็ดีขึ้น ธุรกรรมก็มากขึ้น ที่อเมริกาลูกค้าหลักๆเป็นรายย่อย จึงเป็นเหตุให้แบงคเล็กๆของเราดีขึ้น
ระยะหลังมีบริษัทลีซซิ่งมากขึ้น ก็จะทำให้แบงค์ใหญ่ระดับ TCAP คนยังกู้เพิ่ม
ค่อนข้างนิ่งลูกค้าอาจเรียกว่ามี exit cost ไม่ได้ดึงลูกค้าแบบมือถือได้ง่ายๆ คนไม่ได้อยากย้าย
แบงค์ก็โตตามเศรษฐกิจ มองว่าราคาค่อนข้าง ok ปันผลก็ดี
ปัญหาเรื่องหนี้สินกับ NPL ก็ยังห่วงบ้าง แต่มีประสบการณ์จากวิกฤติและแบงค์ใหญ่ต่างๆก็มีสำรองดีมาก
ต่อให้มีหนี้เสียเพิ่มก็ยังอยู่ได้
ที่น่ากลัวคือบริษัทลีสซิ่ง ที่ pe สูงๆแต่ลูกค้าไม่มีเงินเดือน คนให้ value จาก growth มหาศาล แต่ npl ต่ำมาก
คิดว่า แบงค์ใหญ่กับแบงค์เล็กดี OK stable ปันผลไม่ลด
แต่แบงค์กลางๆราคาหุ้นไม่ถูก และไม่มี positioning ของตัวเองที่เด่น
เรื่องผลกระทบจาก technology ในไทยยังต้องใช้เวลา
มีราชการ/หน่วยงานรัฐควบคุม คนทั่วไปยังแทรกแซงไม่ได้
รวมถึงคนไทยก็ยังไม่ไว้ใจระบบอื่นอยู่ ถ้าเลือกได้ก็จะเลือกแบงค์
ระยะหลังแบงค์เริ่มลดสาขา และพัฒนา fin tech มาเหมือนกัน
คิดว่าอย่างน้อยใน 5 ปี ยังไม่กระทบ

ธุรกิจบัตรเครดิต – ประเด็นจากลดวงเงินจากมาตรการแบงคชาติ ส่วนใหญ่บัตรเครดิตอยู่กับแบงค์
พวกที่เป็นบัตรเครดิตอย่างเดียวมีไม่มาก ผลกระทบอาจทำให้ลูกค้าใหม่ๆเข้ามาน้อยลง
แต่ของเดิมยังมีอยู่ ถ้าคนเล่น growth ก็คงไม่ชอบ แต่ไม่น่าจะกระทบกับกำไรทันทีอะไรมากนัก
ในด้านหนึ่งเป็นการช่วยที่ไม่ต้องแข่งไปเอาลูกค้าที่เสี่ยงสูงๆ

ธุรกิจพลังงาน - Bcp ธุรกิจที่มีกำไรไม่ลดลง จ่ายปันผล 4-5% ไม่ถูกทำลายด้วยเทคโนโลยี ถ้ามี growth ได้หน่อยก็ happy
ที่จริงบางจากไม่ได้ผลิตน้ำมัน แค่เอามากลั่น ซึ่งในระยะยาวไม่ได้มีผลกระทบ
แต่ธุรกิจการกลั่นเป็น commodity ที่ไม่เลว ไม่ค่อยมีโรงกลั่นเปิดเพิ่ม ค่าการกลั่นก็ดีมาหลายปีแล้ว
ชื่อเสียง,ภาพลักษณ์ของปั๊มน้ำมันก็ใช้ได้
พลังงานทดแทนก็มี bpcg ทำพลังงานแสงอาทิตย์ก็เป็นกลุ่มแรกๆที่ได้ adder โครงการจึงมีกำไรดี
พวก bio diesel เป็นส่วนเสริม
ทุกธุรกิจไปได้ ไม่ได้กำไรหวือหวา

การลงทุนเวียดนาม ความเสี่ยง และข้อดีต้องมองอะไร?
เวียดนามคือหุ้นไทยเมื่อ 20 ปีก่อน ทุกอย่างแทบจะเหมือนไทย มีขาดดุลการค้า นำเข้าเครื่องจักรสูง
มีการลงทุนจากต่างประเทศสูง เกาหลี ญี่ปุ่น ค่าเงินก็พยายามอิงอเมริกา
ประชากรแรงงานกำลังวัยหนุ่มสาว คุณภาพดี รัฐบาลหนุน ถ้าลงทุนไปเรื่อยๆ มันจะผลิตเพิ่มขึ้น
และเศรษฐกิจจะเติบโตไปเรื่อยๆ ซึ่งเวียดนาม competitive ที่สุดในธุรกิจของถูก พวก low-end
ตอนนี้คนเวียดนาม 10 คน มีรถ 1 คัน รถยนต์ขายเพิ่มปีละ 30% ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการกู้เงิน
ต่อไปถ้าเริ่มมีสถาบันการเงินปล่อยกู้ จะเหมือนบ้านเราสมัยก่อน
ตลาดหุ้นเวียดนามโตปีนี้เพราะมีคนเข้าไปซื้อมาก หุ้นตัวใหญ่ๆโดนกวาด
แต่หุ้นเล็กๆไม่มีคนซื้อ ต่างชาติไม่เล่นมีปัญหา
คนเวียดนามที่มีเงินจะลงทุนทำธุรกิจ กู้เงินทำธุรกิจดีกว่า
เวียดนามส่งออกน่าจะเป็น 100% ของ GDP กำลังโตมาก เพราะองค์ประกอบลงตัว

มีเวบไซต์เวียดนามหลายเวบ สิ่งที่เราขาดคือ สนามที่เราอาจไม่รู้ และ practice ในการทำธุรกิจยังแตกต่าง
เราเข้าใจแบบทุนนิยม เช่น ลงทุนโรงไฟฟ้า แต่ของเขามีปัญหาว่ากำไรถูกตัดตอน
ถ้าจะกำไรดีรัฐบาลจะเอาคืน ถ้ากำไรแย่รัฐบาลจะชดเชย บ้านเราใคร success รวย ไม่ success แย่
แต่ของเขามันจะเป็นรูปแบบว่าไม่มีดีไม่มีใครแย่
แรงจูงใจผู้บริหารที่จะเอาชนะคู่แข่งก็ไม่มี
เวียดนามต้องมีวันหนึ่งที่บูมเหมือนไทย ทุกอย่างดูใกล้เคียงกัน ถ้าไปอินโดนีเซียอะไรจะเห็นความแตกต่าง

Q&A ช่วงท้ายกับ พี่ชาย
Q. มองตลาดหุ้นไทยอย่างไร?
A. ถ้ามองพื้นฐานตลาดหุ้นไทย เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมาก อยู่ระดับต่ำ 0.2%
ถ้าฝากประจำกับ bank 1.5% ปันผลเฉลี่ย 2.8% ถ้าตอน set 1560 ปันผลเฉลี่ย 3%
ดอกเบี้ยแท้จริงประเทศไทยเป็นบวก เงินเฟ้อระดับต่ำ ดอกเบี้ยระดับต่ำ
และปันผลในตลาดหลักทรัพย์ยังมากกว่าฝากแบงค์เกือบเท่าตัว เป็นแรงจูงใจให้ลงทุนตลาดหุ้นไทย
มองปีหน้า eps โต 10% แสดงว่าปันผลเพิ่ม 10% ดังนั้นปันผลเป็น 3.3%
ดังนั้น Gap ดอกเบี้ย กัน ปันผลเฉลี่ย ยิ่งเพิ่มขึ้น
ที่ตลาดหุ้นขึ้นมาก็มีเหตุผล บางคนบอกว่าปีนี้หุ้นไทยสู้หลายประเทศไม่ได้ แต่ปีที่แล้วเราขึ้น 22% ระดับต้นๆของโลก
ค่าเงินบาทที่แข็งตอนนี้มีเหตุผล เพราะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจากถังแตกขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆของโลก
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยมีมูลค่าราว 190,000 ล้านเหรียญดอลลาร์
เป็นรองแค่ประเทศเยอรมันนี รัฐบาลไทยมั่งคั่งมาก
นอกจากนี้ ดุลบัญชี ดุลการค้าของไทยเป็นบวก
ตัวเลขเดือน ก.ค. ติดลบเพราะการส่งออกนำเข้าทองคำ
ถ้าตัดรายการนี้ แล้วพิจารณาเฉพาะสินค้าทุนจะเป็นบวก และเป็นบวกติดต่อกันหลายเดือนแล้ว
ดุลบัญชีเดินสะพัด คือรวมดุลบริการ,โอนเงิน,ทำงานต่างประเทศ เป็นบวกมหาศาล
ประเทศที่มี ดุลบัญชีเดินสะพัดสูงๆและเงินทุนสำรองสูงๆ
ค่าเงินจะมีเสถียรภาพมาก เพราะเรามีสองสูงนี้ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นแบบนี้
ปัญหาประเทศไทยคือไม่โต มี investment ต่ำมา กินบุญเก่าตลอด
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ investment cycle รอบใหม่ capex cycle รอบใหม่
ลองพิจารณาดูว่าใครจะได้ประโยชน์บ้าง

เทียบในอดีตเศรษฐกิจไม่ได้ร้อนแรงเหมือนตอนต้มยำกุ้ง
ภาพตลาดหุ้นวันนี้ต่างกันมาก สมัยนั้น pe ตลาด 30 เท่าเล่นแต่หุ้นแบงค์ หุ้นส่งออกบางตัว
ตอนนี้ pe 15 เท่า ไม่ได้แพงกว่าหุ้นตลาดโลกมาก

ปัจจัยเศรษฐกิจไทยข้างหน้าเป็นอย่างไรบ้าง?
A.การฟื้นตัวไม่ได้เกิดจาก consumption หนี้ภาคครัวเรือน 79% เบ่งไปเยอะแล้ว
การฟื้นตัวต้องเกิดจาก investment ใช้เวลายาวนานกว่าฟื้นจาก consumption
อดีตถ้าต้องการให้บูมด้วย consumption บ้านหลังแรก,รถคันแรก จะเร็วแล้วไม่นานจะวูบ
เป็นสิ่งที่ไม่ได้ productive ในระยะยาว
การฟื้นจากการลงทุนโรงงานตัดค่าเสื่อม 20-30 ปี ของพวกนี้มีประโยชน์ในระยะข้างหน้า
เช่น ท่าเรือแหลมฉบังอยู่ในแผนแม่บทพลเอกเปรม ก็ยังมีการใช้อยู่ และมีการขยายต่ออีก
ที่ไม่เร็วเพราะกว่าจะไปถึง consumption คง 6 เดือนหลัง kick off mega project เต็มที่
ภาคจะเห็นชัดราว มี.ค. หรือ มิ.ย.ปีหน้า ซึ่งตลาดหุ้นก็มักจะเป็นตัวแทนภาพข้างหน้าอย่างน้อย 6 เดือน
อย่าง Credit Suisse ก็มีปรับประมาณการณ์แบงค์ไทยช่วงหลังพิธีพระราชทานเพลิงศพ

เทคโนโลยีจะเข้ามากระทบอย่างไร?
มีมุมมองบวกกับในประเทศ แต่ไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรมได้ประโยชน์
มีผู้บริหารพูดว่าไม่ชอบเศรษฐกิจดี เพราะคู่แข่งเกิดขึ้นมาเยอะ
แต่เศรษฐกิจไม่ดี คู่แข่งจะหายจากตลาดไปเรื่อย
ดังนั้นต้องวิเคราะห์เป็นรายตัวไปด้วย
ถ้าดูปี 1890 ช่วงที่ ดอกเบี้ย US ต่ำมาก ซึ่งเป็นช่วงที่เอดิสัน,เกรแฮมเบล คิด innovation ได้ช่วงนั้น
คิดว่าเพราะดอกเบี้ยต่ำ จึงทำให้นายทุน คนที่มีสภาพคล่อง กล้าลงทุน
เป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากว่าอะไรจะโดน disrupt ควร update ข้อมูล แต่ไม่กลัวเกินไปที่จะไม่กล้าลงทุน
ถ้าให้ชัวร์ๆ อุตสาหกรรมอาหาร อุปโภคบริโภค คนยังต้องกินต้องใช้

EV จะ disrupt ปั๊มน้ำมันไหม?
ไม่มีเหตุผลที่เราต้องไป charge EV ตามปั๊มน้ำมัน
ถ้ารถไฟฟ้ายาวนาน เราก็ charge ไฟฟ้าที่บ้าน ซึ่งมีแนวโน้มที่แบตเตอรี่จะยาวนานขึ้น

หุ้นอย่าง cbg, tkn มีโอกาสที่ไทยจะเป็น global brand ได้ไหม?
คิดว่าชื่อเสียงอาหารไทยดี ดูใน supermarket ต่างประเทศจะเห็นแบรนด์ไทย
น้ำมะพร้าวบริษัทเทพผดุงพร รับผลิตให้หลายเจ้ามาก ซอสปรุงรส ของขบเคี้ยวก็มีมาก
อาหารคิดว่าโดน disrupt ได้ยาก และแนวโน้มประชากรโลกโตได้ถึง 2050 เติบโตได้จากแอฟริกา เอเชีย
อายุเฉลี่ยชาวนาเกิน 60 ปี คนที่ทำเกษตรกรรมในโลกมีแต่จะลดลง
ผลผลิตจะตามทันประชากรในโลกหรือเปล่าไม่แน่ใจ
คิดว่ามีศักยภาพเป็น global brand ได้
เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง player เป็นระดับภูมิภาค กับประเทศ มากกว่าโลก
อันดับ 1 คือ red bull 2 monster อันดับ 3 ยังไม่มีใครกล่าวถึง
ซึ่งยังเป็นระดับ regional มากกว่า ซึ่งเราก็มีศักยภาพ
ธุรกิจ consumer ยากที่จะขึ้นมาได้ง่าย ถ้าคู่แข่งออกโฆษณา ต้องรีบออกมาสู้
เพราะมันกระทบยอดขายเร็วมาก
อย่างตอนคาราบาวออกกาแฟกระป๋อง เบอร์ดี้ก็ต้องมาสู้ทันที
ดังนั้นชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ถ้ามองบริษัทกำลังทำนา อยู่ในช่วงไหน?
ตอน advanc 200 กว่าบาทคนก็ซื้อกันเยอะ คนก็คิดว่าปันผลระดับสูง และจะอยู่ต่อไป
ซึ่งคลื่นใหม่ต้องจ่ายแพงขึ้นอีก เป็นนาผืนสุดท้ายที่เก็บเกี่ยวได้ แล้วก็ต้องไปซื้อข้าวเปลือกมาปลูกใหม่
ก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้เหมือนกัน
ต้องดูว่าลงทุนช่วงไหนเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย
สำหรับเถ้าแก่น้อยผลประกอบการที่ออกมา 2 ไตรมาส ก็สะท้อนความเป็นจริงขึ้น
ต้อง stock สาหร่ายเพิ่ม มี order เพิ่ม คิดว่า ธุรกิจเถ้าแก่น้อยก็ยังเหมือนเดิม
ไปที่ฮาวายก็เจอเถ้าแก่น้อยขายใน Walmart แต่ทุกธุรกิจยังไงก็ต้องมีเบอร์ 2
ในอุตสาหกรรม technology อาจจะมี แต่ consumer ยากมาก

ฝากข้อคิดเตือนสติ
อย่าสนใจตลาดให้มาก และไม่สำคัญว่าตลาดจะขึ้นไปเท่าไร
สิ่งสำคัญเรารู้อะไรบ้าง ถ้าเราไม่รู้ก็ปล่อยให้ขึ้นไป
อย่าให้ความโลภครอบงำ
บางท่าน opp day ไม่ได้ฟังมาก หนังสือลงทุนก็อาจนิดหน่อย
เทียบกับเพื่อนบางคนไม่ดูละคร ดูแต่ opp day
ถ้าเราใส่ความพยายามน้อย หวังจะรวยมีไหม
อ่านเจองานวิจัย เทรดเดอร์ 2 ปีจะหายไป 80%
คนที่ประสบความสำเร็จมี แต่อัตราประสบความสำเร็จยากกว่าการเป็น VI มาก
เท่าที่เคยคุยกับเพื่อนที่เป็นเทรดเดอร์ที่เก่งมาก มีวินัยมาก คนส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาวินัย โดยเฉพาะ cut loss ทำใจไม่ลง
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะขายตัวที่ดีเร็วกว่าที่ควร และเก็บขยะไว้ในพอร์ต
คนที่หวังจะรวยในตลาดหุ้นง่ายๆเร็วๆมีเยอะมาก
ตลาดหุ้นให้ระวังไว้ เมื่อ slope มากกว่า 45 องศา ยิ่งชันไปถึง 60 องศายิ่งต้องระวัง
พี่เวบ บอกอย่ามีฟองสบู่เป็นของตัวเอง ถ้าเขาขึ้นกันหมดแล้วเราไม่ขึ้น เราต้องมาพิจารณาว่าเราผิดตรงไหน หรืออาจจะไม่ผิดก็ได้
เคยลงทุนหุ้นสภาพคล่องไม่สูง โดยนวดขึ้นๆลงๆไม่ไปไหน
เพื่อนเทรดเดอร์เคยซื้อหุ้นตัวหนึ่งสัญญาณดีมาก ไม่ไปไหน พอขายหมดเท่านั้นหุ้นก็ขึ้นไปเลย
สิ่งที่ยากสุดคือศรัทธา คนจะสำเร็จวัดกันที่ตรงนี้
คุณมั่นใจในสิ่งที่คุณคิดแค่ไหน ในขณะคนไม่เชื่ออย่างที่คิด หรือตลาดไม่รับรู้

เคยอ่านเรื่องจริงของโบรกเกอร์ที่อเมริกา
โบรกเกอร์คนนี้ขับรถเก่าๆแต่งตัวธรรมดา ซึ่งอาชีพนี้ต้องแต่งตัวดี ภูมิฐาน
เขาแนะนำให้ลูกค้าซื้อหุ้นโทรศัพท์ แล้วก็สะสมหุ้นนี้มาตลอด ไปเจอเพื่อนคนไหนก็เยอะเย้ยว่ายังถืออยู่หรอ
เขารอเป็นปีกว่าตลาดจะเห็นสิ่งที่เขาเห็น
และเมื่อตลาดเห็นสิ่งที่เขาเหมือนสุมาอี้
ข้าพเจ้าลับกระบี่เป็นสิบๆปี แต่ขอฟันเพียงครั้งเดียว
คือรบกับราชวงศ์โจ แล้วขึ้นเป็นจักรพรรดิแผ่นจีน
ศรัทธาเป็นสิ่งที่ยาก นักลงทุนใหม่ๆฟังเซียนบอกหุ้นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ถอดใจขาย
ความเป็นจริง เซียนก็ผิดตั้งเยอะ ผมก็ผิด บัฟเฟตต์ก็ผิด
ถ้าเราศึกษามาดีแล้ว ศรัทธาในสิ่งที่คิดแค่ไหน
แต่ศรัทธา กับทิฐิ ใกล้เคียงกับมาก หรือศรัทธา กับอวิชชา ใกล้เคียงกัน เส้นแบ่งบางๆ เป็นเรื่องที่ยาก
ขอฝากไว้สำหรับนักลงทุนรายย่อย
“มีแต่ความรู้ที่เข้มข้น กับการรู้จักอดทนและรอคอยเท่านั้น ที่จะทำให้ความฝันอิสรภาพทางการเงินนั้นเป็นจริง”

คุณบอลสรุปปิดท้าย
ช่วงเช้าคุยกันเรื่องวิสัยทัศน์ อ.นิเวศน์ให้อดทน พี่ชายให้ศรัทธา
ถ้าเอา 3 อย่างนี้กลับไปบ้านและประยุกต์ใช้กับการลงทุนน่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้แน่นอน
Go against and stay alive.
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 2

โพสต์

:bow: :bow:
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2614
ผู้ติดตาม: 258

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 16

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ

ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นจากเรื่องรุมหลังงานกับดร.นิดนึงครับ ที่ว่าตลาดเมืองนอกอย่างเมกาEfficient พูดเปนนัยๆว่าเราควรจะไปหาตลาดที่ยังไม่Efficientลงทุนเพื่อให้ได้เปรียบ (ไปแข่งกับคนที่โง่กว่าเรา) อย่างพวก frontier market ตรงนี้ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่เพราะ

1.ตลาดเมืองนอกผมก้อเห็นนลท.เก่งๆหลายๆท่านไปแล้วก้อประสบความสำเร็จดี เผลอๆมีกำไร มีความสุขความสงบมากกว่าลงทุนหุ้นไทยหรืออย่างเวียดนามเยอะ ที่ว่่าสู้ไม่ได้ ในแง่ความไวของข้อมูลอาจจะใช่บ้างแต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำกำไรไม่ได้
2.PlayerในDeveloped marketเก่งจริงๆ(ส่วนตัวเคยโดนมาแล้วกับหุ้นรองเท้ายี่ห้อนึง นวค.ที่นั่นมันมองยาวและขาดจริงๆ) แต่การที่เราพยายามสู้กับคนเก่งมันก้อทำให้เราพัฒนาตัวเองไปในตัวด้วย ไม่ใช่ไปหาตลาดที่คิดว่าเราได้เปรียบหรือเก่งกว่า(ซึ่งตรงนี้ไม่รู้ว่าจริงๆนลท.คิดไปเองมั้ยว่าเราได้เปรียบหรือเก่งกว่าplayerในบางประเทศที่ว่า)

ส่วนเรื่องMarket capของหุ้นใหญ่ๆอย่าง FB GOOGLE APPLE etc.ที่บอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะโตเป็นเท่าตัวจาก Market capปัจจุบัน ตรงนี้ค่อยมาดูกัน ส่วนตัวผมใช้วิธีดูMarket cap แต่ส่วนตัวผมชอบมองว่าบ.ที่ว่ายังพอมีValueอะไรให้บ.captureบ้าง ยังไม่ตลาดอะไรให้บ.พวกนี้เข้าไปหรือสร้างขึ้นมาได้บ้าง Total addressable marketของตลาดนั้นใหญ่แค่ไหน และอื่นๆอีกเยอะที่ต้องดู ไม่ใช่แค่มองMarket capใหญ่มากๆแล้ว จะไปต่อไม่ไหว
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
kannicha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 166
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณค่ะ
กำไรหุ้นได้จาก "การลงทุน" แต่ "ความสุขที่ได้ลงทุน" คือกำไรชีวิต
the pupil
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 19

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
Be strong but not arrogant, Be courageous but not reckless, Be optimistic but remain realistic, Be patient and disciplined
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
กิมหงวน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 125
ผู้ติดตาม: 8

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
gafark
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบตุณครับ
rakuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณสำหรับสรุปที่นำมาแบ่งปันนะครับ ได้ข้อคิดเยอะเลยครับ
randomwalk
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 728
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ
Investopia
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 281
ผู้ติดตาม: 6

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับการสรุป เห็นภาพเหมือนไปเองเลย
a_tar_7
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 48
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปสัมมนางานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2 9/9/60

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ :D :D :D :D :D
โพสต์โพสต์