MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk@SET 14/5/60

หัวข้อ 1 “หุ้นเด่นครึ่งปีหลัง”
1.คุณอัญรัตน์ พรประกฤต/ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JUBILE
2.ดร.ฤทธี กิจพิพิธ/กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCN
3.คุณธนสิทธิ์ เธียรกาญจนวงศ์/ กรรมการผู้จัดการ BIG
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ


คำถามสำหรับ 3 บริษัท
ธุรกิจทำอะไรบ้าง?
ผลประกอบการที่ผ่านมาและแผนในอนาคต?
ความเสี่ยงที่กังวล? การจ่ายปันผล?

JUBILE
ทำธุรกิจค้าปลีกเพชร เติบโตจากนวัตกรรม
เป็นผู้บุกเบิกการค้าเพชรในห้างสรรพสินค้าเมื่อ 20 กว่าปีก่อน
อยู่ในธุรกิจเพชรมากว่า 90 ปี เป็นร้านค้าทั่วไปในสะพานเหล็กจนขยายมาแบบทุกวันนี้
นวัตกรรมอีกอย่างคือยกระดับซื้อขายเพชรให้เป็นมาตรฐาน เพราะลูกค้าดูเพชรไม่เป็น
ต้องมี Certificate ยืนยันคุณภาพให้คุ้มกับเงินที่จ่ายไป เช่น สีแตกต่างราคาก็ต่างกัน
เป็นบริษัทเพชรแห่งเดียวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวจากกลุ่มบริษัท De Beers
เราจึงมีจำหน่ายสินค้า 2 แบรนด์ คือ Jubillie และ Forever mark
วัตถุดิบซื้อเพชรจากแหล่งที่ดี่ที่สุดคือ Antwerp ประเทศเบลเยียม
การผลิตสั่งจากโรงงานของญี่ปุ่น ทำให้เพชรเราส่องประกายได้มาก ตัวเรือน มีความปราณีต เนียน เรียบ
การออกแบบมีทีมของบริษัทเฉพาะของเราเอง และจ้างผลิตตามแบบ

สัดส่วนการขาย 98% ซื้อเป็นเครื่องประดับ 2% เป็นซื้อเพชรเก็บไว้
แม้แต่เพชรที่น้ำหนักมากกว่า 1 กะรัต เราก็มีขายเป็นเครื่องประดับ
คือให้ลูกค้าเลือกวัตถุดิบเพชร แล้วเลือกตัวเรือนที่ชอบเอง

ราคาเพชร ไม่เกี่ยวกับ commodities อื่นๆ ขึ้นกับ demand supply ของเพชรเอง
ทุกวันนี้ demand ยังมีอยู่ แต่ supply มีจำกัด โรงงานที่เจียรไนน้อยลง
จึงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปอีก เพียงแต่ค่อยๆปรับขึ้นไป ไม่ได้หวือหวา
ตัวอย่างเช่น ธ.ค. => ม.ค. ที่ผ่านมา มีเพชรบางขนาดราคาปรับขึ้นมา 5%
ซึ่งเรามีความสัมพันธ์กับ supplier จึงสามารถติดตามและบริหารราคาได้ใกล้ชิด
และถ้าจำเป็นก็สามารถปรับเปลี่ยนเพชรให้เหมาะสมได้

ผลประกอบการไตรมาส1 ที่ผ่านมา
รายได้ลดลง 3-4% แต่กำไรใกล้เคียงเดิม
สภาพเศรษฐกิจไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคกำลังซื้อลด แต่ชะลอการจับจ่าย
รูปแบบธุรกิจลูกค้าเรากว้าง มีสำหรับผู้เริ่มซื้อเพชร 1 หมื่นบาทต่อชิ้น
ไปจึงถึงผู้มีกำลังซื้อสูง 1 ล้านบาทต่อชิ้น
เรามีปริมาณการขายสูงขึ้น แต่ราคาต่อชิ้นลดลง จึงมีการทำตลาดเจาะเฉพาะกลุ่ม
และอีกส่วนเราทำงานวางแผนร่วมกับ supplier ทำให้บริหารจัดการราคาได้เหมาะสม
SG&A มีการควบคุมอย่างดี ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาก็ลดลงอย่างมีนัยยะ
สาขากรุงเทพและปริมณฑล 46 สาขา จากทั้งหมด 122 สาขา
ในกรุงเทพมีการชะลอตัวมากกว่าต่างจังหวัด
และพฤติกรรมลูกค้าในต่างจังหวัดก็ใกล้เคียงกับกรุงเทพมากขึ้น

การเติบโต มีการนำ IT มาสร้างโครงสร้างให้รองรับการขยายตัว และนำระบบ Automation
มาใช้ในการใช้งานเพื่อลดความผิดพลาดของมนุษย์ และบริหาร Inventory
โดยจะเน้นให้คนไปทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น จากสาขาที่ตรังมาถึงแผนกบัญชีจะ link กันแล้ว
forecast บริหาร inventory ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่เสียโอกาสการขาย
กระบวนการผลิตมาถึงการวางขายที่หน้าสาขาราว 1 เดือน วัตถุดิบมา 2-3 วันล่วงหน้าก่อนประกอบตัวเรือน
ยิ่งเราบริหาร inventory ได้เร็วจะช่วยเพิ่ม top line และบริหารเงินสดได้ดีขึ้น
สิ่งที่ต้องลงทุนเยอะคือ คน กับ เวลา
ปัจจุบันมี 122 สาขา Jubilie แผนขยาย 3-4 สาขา ที่ต่างจังหวัด เช่น โรบินสัน เพชรบุรี, อีสาน
และ Forever mark ขยาย 2-3 สาขา
โอกาสเติบโตยังมีอีกมาก เพราะปัจจุบันเราจัดการอยู่กับฐานลูกค้าแค่แสนกว่าคน
เราไม่มีปัญหาเรื่องสินค้าหาย แต่ก็มีทำประกัน 100% ไว้ทุกสาขา รวมถึง back office
ในตลาดโลกซื้อเพชรเพื่อลงทุนเป็นเรื่องปกติ
เชื่อว่าในอนาคตจะมีการเทรดออนไลน์ของลูกค้า(C2C)

ความเสี่ยงในอดีตที่เคยเกิด คิดว่าน่าจะจัดการได้
เช่น อัตราแลกเปลี่ยนมีการบริหาร เช่น บาทอ่อนทำ forward contract บาทแข็งก็ดูช่วง fix ค่าเงิน
สิ่งสำคัญคือ อารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอย ต้องหาอะไรใหม่ๆ ให้ผู้บริโภค เทรนด์เปลี่ยนแปลงเร็ว
ต้อง update และสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะกับเขา
และอีกอย่างที่ focus คือ ให้ความรู้ตลาด เรื่องคุณภาพของเพชร
พบว่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจคุณภาพเพชรอย่างถูกต้อง เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

Payout ratio ไม่น้อยกว่า 60% กำไรสุทธิ จ่ายปันผลสองครั้ง


SCN
บริษัทเริ่มธุรกิจจากเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง สถานีน้ำมัน/โรงกลั่น
เป็นบริษัทด้านวิศวกรรม มีการผลิตอุปกรณ์ต่างๆของตัวเอง จนทุกวันนี้มีแทบครบวงจร
จนกระทั่งปี 2006-2007 จึงเป็นผู้สร้างและผู้ผลิตอุปกรณ์ ปั๊ม NGV
เช่น compressor, ตู้จ่าย, วาล์วที่ดัก/กรองท่อแก๊ส
จุดได้เปรียบคือเราเป็นเจ้าเดียวที่ผลิตใน SEA ประเทศอื่นที่ผลิตใกล้เราคือเกาหลี
ช่วงหลังเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของ mother station / โรงบรรจุแก๊ส/ส่งแก๊ส มากขึ้น
นอกจากการให้บริการต่อมาเราก็เริ่มขายแก๊สเอง โดยเป็นผู้อัดและส่งแก๊สนอกแนวท่อ( i cng)
เราได้รับสัญญาการก่อสร้างสถานี NGV เพิ่มอีก 5 แห่ง ซึ่งการสร้างใหม่ค่อนข้างจำกัด
ตอนนี้มีให้บริการ 7 สถานี รวมกับที่สร้างใหม่อีก 5 เป็น 12 เป้าหมายคือ 20 สถานี
นอกจากนี้มองว่าจะเจรจากับสถานีที่อยู่ในแนวท่อในการนำมาขาย

สัมปทานแก๊สจะหมดไหม? ที่จริงยังมีเหลืออีกเยอะ แต่อยู่ระหว่างคุยกับ NGO/ประเทศเพื่อนบ้าน
แต่ถ้าหมดจริงก็สามารถนำเข้าได้ ปัจจุบัน ปตท.นำเข้ามาแล้วในรูปแบบ LNG
ซึ่งแก๊สในท่อต้องมีตลอดเวลาอยู่แล้ว เราไม่ต้องกังวลเรื่องนี้

อุปกรณ์ของเราเป็นนวัตกรรมสิทธิบัตร เช่น ลดแรงดัน,ถังเก็บแก๊สน้ำหนักเบาใช้คาร์บอนไฟเบอร์แทนเหล็ก
น้ำหนักน้อยลง 4 เท่า ทำให้ประหยัดเที่ยวในการขนส่ง ซึ่งทำให้ต้นทุนต่างๆลดลงไป 2-3 เท่า
รวมถึงมีความทนทานก็แตกสูงขึ้นด้วย อยู่ระหว่างรอมาตรฐาน ISO

การเติบโตในไทย มองว่าไปได้อีกพอสมควร แต่เราก็มีการไปเปิดตลาดที่เวียดนาม ไปร่วมกับบ.โซจิตซึ
โดยขายของให้เพื่อนำอุปกรณ์ของเราเข้าไปตีตลาดที่อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรราว 300 ล้านคน
สถานีน้ำมัน 5 พันสถานี ซึ่งรัฐบาลประกาศให้มีหัวจ่าย NGV ด้วย เป็นโอกาสเติบโตอีกมาก
การลงทุนของเราน่าจะเห็นผลในต้นปีหน้าเป็นต้นไป

ผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ออกมา ไม่ได้ surprise
เพราะเราบอกอยู่แล้วว่ามุ่งเน้นจะเปลี่ยนธุรกิจ EPC(รับเหมาก่อสร้าง)
มาเป็นสร้างของเราเองแล้วค่อยรับรู้รายได้
ตอนปี 15 เรากำไรปีละ 50 ล้าน ปี 16 70-80 ล้าน ปี 17 เกือบ 50 ล้าน
ดูเหมือนกลับไปเท่ากับปี 15 แต่ที่ต่างไปคือ เราไม่มีงาน EPC สิ่งที่ทำเป็น recurring income
ภาพข้างหน้ามีที่จะสร้างสถานีใหม่ และขายอุปกรณ์กับโซจิตซึ รวมถึงการทำ solar farm ซึ่งจะรับรู้รายได้เต็มที่ในไตรมาส 2
ปี 15 => 16 สาขา NGV เพิ่ม 3 แห่ง แต่ปี 16=> 17 เราจะปิดปีที่ 12 สถานี
สำหรับงาน EPC ยังมีการทำอยู่ ผลจากการลอยตัวราคา NGV จะทำให้มีงานมากขึ้น
เมื่อก่อน service contract ให้กับ ปตท. โดย ปตท.ขายตรงให้กับลูกค้า
ซึ่งรัฐบาลตรึงราคา แม้จะขาดทุนในการขาย ก็ยังต้องจ่ายค่า service ให้กับผู้ขาย
ตอนนี้ ราคา NGV ลดลง เนื่องจากน้ำมันราคาลดลง แต่ LPG ราคาขึ้นตามราคา Saudi
ซึ่ง LPG แพงกว่า ขายครัวเรือน 25-26 บาท/kg
แต่ที่ขายกับรถเป็นลิตร LPG หน้าปั๊ม 14 บาท/ลิตร 1kg = 1.8 ลิตร
Target ลูกค้าที่ใช้ NGV คือ taxi, รถขนส่ง, รถตู้สาธารณะ,รถบริษัท

ปริมาณการขายต่อสาขาเพิ่ม 2-3% เพราะมันเต็ม capacity
งบที่ออกมา มีตั้งสำรองราว 10 ล้าน พวกอุปกรณ์ NGV ซึ่งยังใช้งานได้

กองทุน NGV คิดว่าไม่ได้ส่งผลกระทบ แม้ราคาจะขึ้นจากการจ่ายเงินสนับสนุน แต่จะช่วยให้มั่นคงในระยะยาว

การเติบโตของบริษัทจะมาจาก จำนวนสถานีเพิ่มขึ้น , ธุรกิจ icng ตั้งเป้าหมายยอดขาย 5 ร้อยล้านบาท(เพิ่ม 2 เท่ากว่า)
ซึ่งจะมีลูกค้าใหม่ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ไตรมาสหน้า ประกอบกับคาดว่าราคาน้ำมันขยับขึ้น
Profit margin ของปั๊มสูงกว่า icng อย่างมีนัยยะ
ผลประกอบการคิดว่าน่าจะผ่านจุดต่ำที่ป็นช่วงก่อสร้างช่วงการลงทุน
ประเทศอินโดนีเซียก็เป็นจุดที่สามารถเติบโตได้มาก มีสาขาเพิ่มได้มาก และใน 1 สาขาก็ใช้อุปกรณ์
มากว่า โดยจะเริ่มต้นแถบจากาตาร์ก่อน

ความเสี่ยงสำคัญของเราคือ operation risk
ขนส่งแก๊สต้องไม่รั่วไม่ระเบิด ซึ่งการจัดการอันดับแรกคือทำประกัน
ซึ่งความเสี่ยงด้านวิศวกรรมเราก็ต้องมุ่งเน้นมาก
ราคาน้ำมันลงก็เป็นความเสี่ยงหลัก แต่โชคดีที่มันลงมาแล้ว
จึงคิดว่าความเสี่ยงที่จะลงคงไม่มาก นักวิเคราะห์ก็มองกันว่าน่าจะขึ้น
ในระยะยาวการเติบโตราคาน้ำมันน่าจะชนะดอกเบี้ย เป็น positive arbitrage
ไม่เหมือนตอนที่น้ำมันยืนระดับสูง 120 $ มันทำให้ไม่เกิด positive carry
ความเสี่ยงอื่น เช่น ทางการเมือง คิดว่าประเทศไทยก็คงไม่เสี่ยงแล้ว

นโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ

BIG
ทำธุรกิจจำหน่ายกล้อง มีการเติบโตได้ดีเนื่องจากพฤติกรรมคนเปลี่ยน
สมัยนี้คนมีมือถือถ่ายภาพได้ มักจะพูดบ่อยๆว่า ขอแค่ 2-3% ของคนใช้ Smartphone
มาซื้อกล้องดิจิตอล จะทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นมาก
คนมักนึกถึง BIG Camera เป็นร้านขายกล้อง แต่เราเรียกตัวเองว่าเป็น Solution การถ่ายภาพ
คนส่วนใหญ่จะไม่ปรินท์รูปแล้ว แต่เทรนด์นี้จะกลับมา
อย่างกล้องโพราลอยด์ฟิล์มแพงกว่าสมัยก่อนมาก
แต่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีอัตราบริโภคสูงขึ้นมาก เพราะสามารถจับต้องได้
และไปเห็นในต่างประเทศก็มีร้านปรินติ้งโดยเฉพาะ
ปัจจุบันเปิด 3 สาขา มี demand มาเรื่อยๆ
เป็น chain กล้อง chain อุปกรณ์ที่ถ่ายภาพที่ใหญ่สุดใน SEA
Smartphone 50 ล้านเครื่อง ถ้า 2-3% ก็คิดเป็น ล้านเครื่อง
ซึ่งราคาเฉลี่ยกล้องปัจจุบันสูงขึ้น ตกประมาณ 2 หมื่นบาท
พวกตลาดกล้อง compact จะค่อยลดลงเรื่อยๆ
ปัจจุบันกล้อง mirrorless ปีก่อนน่าจะขายราว 2 แสนเครื่อง จึงมองว่ายังมีโอกาสขยับไปได้อีก

ผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
ถ้าเทียบปีก่อนจะลดลงมีกำไรพิเศษส่วนหนึ่งที่ลดภาษีได้ และกำไรจากบัญชี
ถ้าเทียบเฉพาะผลประกอบเดิม 192 MB => 239 MB เติบโต 20 %
ลูกค้าเราเป็นกลุ่มไลฟ์สไตล์ เช่น ท่องเที่ยว จึงมีผลประกบช้ากว่ากลุ่มอื่น
รวมถึงกลุ่มที่เป็นวัยรุ่นไม่ได้จ่ายเงินเอง ตลาดจึงไปได้อยู่
Same store sale ยังเพิ่มขึ้น และตลาดกล้องยังน่าจะเติบโตอยู่
เปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น โรบินสัน เพชรบุรี
ปัจจุบันมี 222 สาขา คาดว่าจะเปิดเพิ่มมา 230 สาขา(+/-)
ปีนี้เน้นเรื่องการวางตัวเป็น solution ถ่ายภาพ
ปีก่อนเปิด printing 3 สาขา คาดว่าจะเปิด 5 สาขา
เพื่อให้ลูกค้าได้เรียนรู้ มาสัมผัส มาลอง printing แบบใหม่ๆ
ต่อไปจะใส่ printing เข้าไปในสาขาของ big camera จะเป็น corner ที่มี printing
ลูกค้าจะสัมผัสได้ว่าเป็น life style ซึ่ง Profit margin จะสูงกว่าขายกล้องมาก
เชื่อว่าปีหน้าผลกำไรจาก printing จะเห็นผลมีนัยยะมากขึ้น
ผลตอบรับที่เปิดสาขา ก.ค.59 ที่เซนทรัลเวิร์ล เปิดแค่เดือนแรกก็ breakeven ได้
Season ในการขาย ดีที่สุดไตรมาส 4 เพราะมีเรื่องการท่องเที่ยว ส่วนไตรมาส 1 จะเริ่มลดลง
ไตรมาส 2 จะลดลงมาอีกต่ำสุดของปี และดีขึ้นในไตรมาส 3

ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ซึ่งเราได้รับผลกระทบช้า และมีการกระตุ้นตลาด
ความเสี่ยงจะมีด้านเทคโนโลยี ทุกคนจะพูดว่ากล้องโดน smartphone กิน
ซึ่งเราก็ทำตลาดเฉพาะกลุ่ม และมือถือเป็นตัวเอื้อตลาดกล้องดิจิตอล
อย่างที่หัวเหว่ยทำตลาดกล้องไลก้า ทำให้กล้องไลก้ามีความต้องการสูงขึ้นมาก
เรามองว่าจะทำให้ตลาดไฮเอนด์กล้องดิจิตอลจะสูงขึ้น รวมถึงกล้อง mirrorless ที่คุณภาพสูงมาก
จุดแข็งคือเราผ่านมาได้ทุกวิกฤติที่เปลี่ยนจากขายส่งมาเป็นขายปลีก, การเปลี่ยนเป็นกล้องดิจิตอล,
การบูมของสมาร์ทโฟน
อีกความเสี่ยงก็มีคู่แข่งใหม่มากขึ้น มองว่าการแข่งขันเป็นเรื่องปกติ ไม่น่ากระทบ
จากเดิมที่เรากินตลาด 20% จนมาเกินครึ่ง
ตลาดออนไลน์ เติบโตกลุ่มที่ใช้จ่ายไม่เยอะต่อบิล
คิดว่าตลาดกล้องดิจิตอลยังไม่ถึง timing ที่ต้องขายออนไลน์ ยังต้องการจับต้อง ให้พนักงานขายให้ข้อมูลลูกค้า
ถ้าตลาดจะเกิดได้เมื่อมีการทำ Pricing ที่ล่อตาล่อใจลูกค้า ซึ่งเราเป็นผู้ขายรายใหญ่ของ supplier
จึงต้องดูแลราคาอะไรอยู่ และ profit margin เราดีกว่าผู้เล่นย่อยๆ จึงไม่สามารถตัดราคาได้เยอะ
อย่างไรก็ตามเรามี monitor ตลาดออนไลน์อย่างใกล้ชิด ถ้าจะขายออนไลน์เราเป็นผู้เล่นที่เหมาะสมที่สุด

อัตราจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 50% ปีที่แล้วปันผล 58% และวางแผนที่จะปันผล 2 ครั้ง/ปี


หัวข้อ 2 “ชุมนุมเซียนแนะวิธีเลือกหุ้นและลงทุน”
1. นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี / นักลงทุนเน้นคุณค่า
2. คุณประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ / บลจ.ทาลีส
3. คุณทิวา ชินธาดาพงศ์ / นักลงทุนเน้นคุณค่า
4. คุณทศวรรษ ทองสุข / นักลงทุนเน้นคุณค่า
5. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนแบบวีไอ

ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ


ประวัติการลงทุน?

หมอพงษ์ศักดิ์
เรียนจบหมอจากจุฬาราว 30 ปีก่อน เริ่มลงทุนหุ้น 13 ปีก่อน
ช่วงนั้นเปิดคลีนิคส่วนตัว และนำเงินเก็บมาลงทุน
เคยทำคลีนิคหูคอจมูกและเปลี่ยนมาทำด้านความงามชื่อ พงษ์ศักดิ์คลีนิค
จุดเปลี่ยนที่มาลงทุนหุ้นคือ ฝากธนาคารผลตอบแทนไม่ดี
การเลือกหุ้นดูเอง จากการอ่านหนังสือ ไม่ประสบความสำเร็จ แต่เป็นสัดส่วนเงินไม่เยอะ
ช่วงปี 51 ที่มี hamburger crisis มีโอกาสซื้อหุ้นไม่แพง และลงทุนต่อเนื่องจนปัจจุบัน
ถึงจุดหนึ่งจึงเลิกทำคลีนิค โดยมีคนมาทำต่อ และมีหุ้นเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง

คุณประภาส
ไม่กล้ารับว่าเป็นเซียน แต่ที่แน่ๆก่อนเป็นเซียนเป็นศพมาก่อน
ลงทุนครั้งแรก คือ 15 ตุลาคม 1987 เวลาประมาณ 11 โมง
ก่อนเกิด Black Monday 1 วัน ซึ่งมีเขียววันแรกหลังจากนั้นหุ้นตกฟลอร์ทุกวัน
ช่วงนั้นเรียนหนังสือปี 4 ก็ถือได้ว่าลงทุนมาแล้ว 30 ปี
จุดที่ลงทุนตอนนั้นเพราะความโลภ เห็นหุ้นขึ้นมาทุกวัน รู้สึกว่าง่าย
หุ้นที่ซื้อวันนั้นคือ นวธนกิจ ราคา 428 บาท , ชลประทานซีเมนต์ 569 บาท
และภายในเวลา 2 เดือนครึ่ง ลงฟลอร์มาเรื่อย หายไป 75%
หลังจากเหตุการณ์ จึงตั้งมั่นว่าเราต้องประสบความสำเร็จในการลงทุนให้ได้
ไปเป็นมาร์เก็ตติ้ง และเรียนปริญญาโท แล้วได้อ่านหนังสือในร้าน barnes&noble
ซึ่ง 2 เล่มดีๆที่ได้อ่านคือ the intelligence investor และ security analysis
ได้นำความรู้มาประกอบอาชีพนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน

คุณทิวา
เรียนหนังสือไม่ได้เยอะ จบม. 3 ทำงานหนักมาตลอด อยากรวยมาตลอด
ไม่ได้รู้ว่าเล่นหุ้นเป็นอย่างไร จนกระทั่งทำร้านเกมและปิดกิจการมีเงินสด 10 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 9 ปี
ตอนนั้นก็กลับมาอยู่บ้าน ภรรยาก็ทำหมูยอ แหนมเนือง ซึ่งไปช่วยจ่ายตลาดตอนเช้า
จนมาเจออ.นิเวศน์ บรรยายเรื่องหุ้นที่เอสพลานาด มีคนฟัง 6 คน ตลาดหุ้นยังไม่บูม
ซึ่งค้นพบว่าอันนี้เป็นสิ่งที่เหมาะกับเรา ก็ลงทุนตามแนวทาง อ.นิเวศน์
หลังจากนั้นก็เปิดพอร์ตที่ตลาดหลักทรัพย์เก่า แต่เปิดไม่ได้ ต้องไปเปิดโบรกเกอร์
จึงไปโพสต์ลงในพันทิพย์ว่าอยากเปิดพอร์ตให้ช่วยมาเปิดหน่อย ได้เปิดช่วง ก.พ.
ซึ่งช่วงแรกก็ไม่สำเร็จ เจอวิกฤติ sub prime โชคดีที่ไม่ได้ใส่เงินทั้งหมด
จึงทำให้เกิดที่เหลือมาลงทุนที่จุดราคาต่ำ

คุณทศวรรษ
เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากม.เกษตรฯ แล้วทำงานที่รอยเตอร์
เป็นคนสนใจแต่คอมพิวเตอร์ ไม่ได้สนใจลงทุน
จนกระทั่งมาเจอหนังสือพ่อรวยสอนลูก ซึ่งเปิดโลกทัศน์ให้เรา
ตอนนั้นยังมองภาพนักลงทุนไม่ออก มองแต่ภาพเจ้าของกิจการ
ตอนนั้นเก็บเงินเยอะมาก เก็บเงินเยอะมาก 80%
บอกกับแฟนไว้เลยว่าจะไม่ซื้อบ้านซื้อรถ ถ้าจำเป็นจะเช่า
จุดเปลี่ยนอีกอย่างคือเรียน MBA
ตอนนั้นก็ลงเงินเก็บไปเยอะ ทำกิจการหลายอย่าง
ผ่านไป 3 ปีเจ๊งหมดเกลี้ยง เสียเงินไป 3 ล้านบาท
ธุรกิจหนึ่งเป็นร้านไอศครีม ลงเงินกับเพื่อน 5 แสนบาท ผ่านไป 3 ปี ขายสินทรัพย์เหลือ 5 หมื่น
ซื้อคอนโดห้องเช่า มีคนมาอยู่ แต่สุดท้ายก็ขาดทุน อีกอย่างคือทำเวบไซต์ก็เจ๊งเหมือนกัน
สิ่งที่เรียนรู้จากธุรกิจ
ข้อเสีย 1. ถอยไม่ได้ 2. ใช้เงินต้นเยอะ ใช้เงินน้อยไม่ได้
3. กว่าจะได้เงิน return คืน นานมาก 4. ต้องทำเอง
หลังจากนั้นมาเห็นเพื่อนโพสต์ว่าได้เงินจากตลาดหุ้น ก็พบว่ามันคล้ายกับธุรกิจ
ซึ่งมันตอบปัญหา 4 อย่างนี้ได้ จึงไปกวาดเงินทุกอย่างมาลงทุนหุ้น ช่วงหลัง sub prime 2 ปี
เมื่อก่อนเวลาสอนคนอื่น พยายามพูดความผิดพลาดไม่ให้ผิดพลาดเหมือนเรา
แต่พอผ่านมาเยอะ ก็มองกลับกันคือ สอนให้รู้ว่าความผิดพลาดเป็นกระบวนการในความสำเร็จ

ดร.นิเวศน์
การลงทุนครั้งแรกจำไม่ได้ เป็นการไปทำอะไรที่ไม่ได้ประทับใจ
สิ่งที่จำได้คือ ตอนที่ลงทุนเพื่อเอาตัวรอดในชีวิต
ช่วงสมัยลงทุนหุ้นหลังจบปริญญาเอกกลับมา ก็ลงทุนนิดๆหน่อยๆ
ตอนปี 40 มีโอกาสตกงาน จึงต้องลงทุนเพื่อชีวิต
ตอนปี 41 ลงทุนเต็มๆ ช่วงนั้นคนหยุดเล่นหุ้นหมด ไม่มีเพื่อนลงทุนกันหมด vol. วันละ 3 พันล้านบาท
ซื้อเพื่อหวังปันผล เอาเงินมากินมาใช้ เป็นเงินก้อนสุดท้าย
ไม่ได้หวังว่าจะรวยจากการลงทุน ซึ่งกว่าหุ้นจะบูม คนสนใจลงทุนอีกหลายปี
จนกระทั่งเห็นหลายคนรวยจากตลาดหุ้นมาทีหลัง
ตอนนั้นได้ผลตอบแทนต่อปีเกือบ 10% ซึ่งถือว่าสูงมาก

วิธีเลือกหุ้น?
หมอพงษ์ศักดิ์
จะมองว่าถ้าจะสร้างบริษัทแบบนี้ หรือแข่งกับบริษัทนี้ทำได้ง่ายหรือยาก
ซึ่งถ้ามีความยากอาจมาจากความพิเศษ หรือลอกเลียนแบบได้ยาก เช่น แบรนด์ ขนาด สัมปทาน
ซึ่งความยากจะทำให้มีความยั่งยืน ถือยาวๆได้ และสบายใจ
บางธุรกิจจะทำให้ใหญ่ได้แบบนี้ต้องใช้เวลา ทรัพยากรมาก หรือไม่ได้รับอนุญาตให้เวลาทำ
หุ้นเหล่านี้จะอยู่ใน scope ที่ติดตามอยู่ตลอด
แต่ก็ต้องดูด้วย หุ้นสัมปทานบางอย่างก็ไม่ได้ป้องกันคู่แข่งได้
หรือธุรกิจกึ่งสัมปทานบางอย่างรัฐบาลก็ไม่ได้อยากให้แข่งขัน
หุ้นโรงพยาบาลก็เคยลงทุนอยู่ช่วงหนึ่ง ถ้าวิเคราะห์ดูก็มีความเข้มแข็ง เพียงแต่จังหวะราคายังไม่เหมาะสม
หุ้นทุกตัวจะมีความผิดพลาด และตลาดให้ราคาผิดไป
ถ้าเรามองได้ไกลกว่าคนอื่น และเห็นว่ามันจะกลับมาปกติ ก็จะเข้าไปซื้อมัน

คุณประภาส
ตอนอายุ 20 กว่าช่วงเป็นนักวิเคราะห์ก็มีลงทุนด้วยตัวเอง ลงทุนไม่เกิน 5 บริษัท โดยลงทุน 90% ใน 2 บริษัทแรก
ซึ่งพอทำงานเป็นวิชาชีพก็เลิกเล่นหุ้นเอง และเอาเงินตัวเองใส่เข้ามาในกองทุนจะได้มี focus ชัดเจน ไม่ต้องขัดแย้งผลประโยชน์
สิ่งที่ต่างคือ เวลาบริหารพอร์ตตัวเองรับความเสี่ยงได้สูง แต่ถ้าบริหารเงินให้คนอื่น การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจ
ตอนผลตอบแทนดี ทุกคน happy หมด แต่ผลตอบแทนไม่ดี คนจะเจาะถาม ต้องอธิบาย
บริหารกองทุนไม่เหมือนส่วนบุคคล ต้องดูสภาพคล่องก่อน ซึ่งเป็นข้อจำกัดทำให้ความยืดหยุ่นไม่เหมือนกัน
แต่หลักการเลือกหุ้น คิดว่าไม่ได้แตกต่างมากกันเท่าไร
ในการลงทุนแล้วสบายใจ จะชอบบริษัทที่เห็นอนาคตชัดเจน สิ่งที่พยายามทำคือ ทำความเข้าใจธุรกิจนั้น
ศึกษาอย่างละเอียดในการทำธุรกิจ ผู้บริหาร เป็นปัจจัยสำคัญ
ส่วนการมองอุตสาหกรรม ในแต่ละยุคจะการเติบโตสูงไม่ซ้ำกัน ถ้าย้อนไปสมัยก่อนเงินทุนหลักทรัพย์
บริษัทไหนเพิ่มทุนหุ้นขึ้น หรือ 10 ปีก่อนก็เป็นค้าปลีก โรงพยาบาล ซึ่งอีกสิบยี่สิบปีข้างหน้าก็จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ
ถ้าย้อนไปดูประวัติบัฟเฟต์ผลตอบแทนจะดีมาก อยู่ในช่วงแรกๆ และอยู่อุตสาหกรรมแบบหนึ่ง ซึ่งวันนี้ก็จะเป็นอีกแบบ
สรุปหลักที่ใช้ลงทุนคือ พยายามลงทุนในธุรกิจที่เราเห็นได้ชัดเจน และไกลๆ ซึ่งบางธุรกิจก็อาจจะแพงแล้ว
ต้องรอจนมี margin of safety ระดับหนึ่ง แล้วเข้าลงทุน

คุณทิวา
ช่วงแรก ดู ROE สูงๆ PE ต่ำๆ ไม่สนใจ outlook ภาพธุรกิจ
ตอนนี้ก็ศึกษาธุรกิจด้วย โดยดู 3 ปัจจัย
1) คุณภาพ บริษัทแข็งแกร่งหรือเปล่า อย่างที่หมอพงษ์ศักดิ์บอกว่าทำยาก คู่แข่งน้อย มีความสามารถเฉพาะตัวที่คนอื่นทำไม่ได้
2) การเติบโต ได้แค่ไหน อยู่ในอุตสาหกรรมไหน
3) ความถูก แพง
ส่วนตัวจะเอาปัจจัยด้าน คุณภาพ กับ ความถูกแพงก่อน แล้วความเติบโตไว้ทีหลัง
หลังจากนั้นจะชอบคาดการณ์งบ 2 ปี หรือติดตามตัวเลขอะไรบางอย่างที่จะคาดการณ์งบรายไตรมาสได้
นักลงทุนส่วนใหญ่พอหุ้นตกแล้วไม่มี scope หุ้นที่น่าสนใจเอาไว้ ก็เสียโอกาส

คุณทศวรรษ
เคยลงทุนตามกราฟบ้าง แต่ส่วนตัวเชื่อพื้นฐาน จึงโฟกัสลงทุนพื้นฐาน
ความถนัดอีกอย่างคือการฟัง จึงชอบไปฟังผู้บริหาร
พอเจอเยอะเห็นภาพเยอะก็จะรู้ว่าถ้าเราไปอยู่ตรงนั้นจะพูดอะไร สิ่งที่มักจะถามคือ
1) Fact ที่เกิดแล้ว ส่วนการคาดการณ์ก็จะถามค่อนข้างน้อย
2) วิสัยทัศน์ อยากรู้ว่าเขามองไปได้ไกลแค่ไหน กลยุทธ์ที่ใช้ก็จะต่างกัน สิ่งที่ให้ผลระยะสั้นดี
ระยะยาวแย่ กับ ระยะสั้นแย่ กับระยะยาวดี
ส่วนตัวจะซื้อหุ้นยากมาก จะเอาตัวเองจินตนาการเป็นเจ้าของว่ามันจะดีหรือแย่
คำว่าดี ไม่ได้แปลว่ากำไรโตดี แต่บริษัทกำลังได้เปรียบสูงขึ้น สร้างให้ตัวเองได้เปรียบมากขึ้น
เช่น ขยายสาขามากขึ้น ถ้าได้เปรียบมากขึ้นก็ไม่ต้องลุ้นว่าจะมีข่าวร้าย
เอาเวลาไปมองข้างหน้าว่าจะขยายธุรกิจอย่างไร มีแต่ความ surprise ด้านบวก
มีอีกแบบคือธุรกิจที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว แต่ไม่น่าจะได้เปรียบมากขึ้นไปอีก
จะไม่ค่อยชอบ เพราะ ณ วันหนึ่งได้เปรียบน้อยลงก็จะแย่ลง

ดร.นิเวศน์
เป็นนักลงทุนที่ทำงานน้อย คือไม่เคยไป opp day ไม่เคยอ่านบทวิเคราะห์
ไม่ไปพบผู้บริหาร และไม่ศึกษา นั่งทำ model
สมัยก่อนก็มีบ้าง นานๆไปที คือไปแล้วผู้บริหารก็อาจหลอกเรา
บทวิเคราะห์ก็จะเป็นความคิดอีกแบบ อ่านแล้วไขว้เขว
สไตล์คือ มองภาพใหญ่ โดยมีโลกในหัวเป็น Competitive
มนุษย์เกิดมาต้องแข่งขัน บริษัทก็ต้องแข่งขัน ดาราเกิดมาก็ต้องแข่งขันกัน
เช่น ญาญ่า ณเดชน์ จะแข่งขันอยู่ได้นาน พิสูจน์มาหลายปีแล้ว
ถ้าปัจจัยในการแข่งขันดี ก็ไม่ต้องดูตัวเลขมาก เหมือนดาราดูด้วยตาก็เห็น
ส่วนตัวจึงเลือกดูไม่กี่บริษัท ต้องมี competitive factor แน่น ระยะยาวไปได้
แล้วจ้องเอาไว้ ดูราคาหุ้น ถ้าเหมาะสมก็ซื้อได้ โดยไม่ต้องสนสถานการณ์
ถ้าไม่มั่นใจว่าถือได้ 3-5 ปีไป ก็จะไม่เอา
หัวใจคือรักษาเงินต้นเสมอ ไม่ได้เน้นโตเร็ว


ซื้อเมื่อไร ขายเมื่อไร?
หมอพงษ์ศักดิ์
จะมองก่อนว่าบริษัทดีหรือไม่ดี
ถ้าดี ขนาดธุรกิจจะใหญ่กว่านี้ไหม? ถ้าใหญ่กว่านี้ก็สนใจ ซึ่งถ้าโตไปอีกหลายๆปี ลงทุนตอนนี้คุ้มก็ซื้อ
ถ้าบริษัทที่ดีมาก เป็น super stock แต่ราคาตกลง แล้วไม่ได้ทำให้พื้นฐานเปลี่ยน ก็เป็นจังหวะที่ดี
พยายามหามุมมองที่ตลาดยังไม่เห็น ก็น่าจะเป็นจุดลงทุนได้ หรือมองได้ไกลกว่าตลาด ก็เป็นจุดซื้อ
จุดขาย
ข้อแรก ที่เจอบ่อยอันแรกคือวิเคราะห์ผิด อาจจะมองว่าเขาเข้มแข็ง
แต่ที่จริงไม่ได้อย่างที่คิด หรือผู้บริหารไม่ได้ไว้วางใจ
ข้อสอง เมื่ออยากซื้อหุ้นตัวอื่น ที่น่าจะราคาหรือคุณภาพน่าสนใจกว่าก็ขายหุ้นตัวเดิม
ข้อสาม คือถ้าราคาแพงเกินไป ซึ่งไม่ค่อยเจอข้อนี้

คุณประภาส
มี 2 สไตล์ สไตล์หนึ่งคือ ซื้อแล้วถือยาว จะไม่ค่อยถือเงินสด ยกเว้นถ้าหุ้นแพงมากๆ
กับอีกสไตล์คือ ดูภาวะตลาด ถ้าไม่ดีก็ถือเงินสด
ถ้าเป็น Private fund จะลงทุนเป็นครั้งๆ ในแง่ timing เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
การเลือกหุ้นจะเหมือนกันหลายท่าน ถ้าแพงไปก็รอก่อน
มีการทำงานเป็นทีม ลงทุน 15-25 บริษัท โดยมีเรดาร์อีก 50 บริษัท
โดยดูหุ้นที่ถืออยู่เทียบกับตัวอื่นเป็นอย่างไร

คุณทิวา
ซื้อจากการศึกษาโอกาสที่ผู้บริหารบอกเป็นไปได้แค่ไหน ดูความถูกดูกรอบเวลา
หลายๆครั้งไปฟังผู้บริหารโอกาสดูดีเกินจริงมักจะไม่จริง
ส่วนการขายยากกว่าซื้อ
ถ้าไปถึงจุดที่คิดก็ขายก่อน แล้วรอลงทุนหุ้นตัวอื่น
การขายจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าซื้อให้ยากจะขายง่าย แต่ซื้อง่ายตอนขายจะยากลำบาก

คุณทศวรรษ
ปีหนึ่งจะซื้อขายไม่เยอะ จุดซื้อจะประเมิน upside ก่อน และ downside
ที่สำคัญอีกอย่างคือ ตัวเร่งที่จะทำให้คนเปลี่ยนใจมาคิดเหมือนกันจะปรากฏจากอะไร
เช่น งบการเงิน ข่าว
เวลาขายจะคล้ายๆที่หมอพงษ์ศักดิ์ ส่วนใหญ่จะขายเพราะคิดผิด
หลายๆครั้งที่ซื้อหุ้นแล้วถือยาวๆ เป็นบริษัทที่เราสนใจคิดตัวเลขจนนอนไม่หลับ


หัวใจการเป็น VI

ดร.นิเวศน์
คิดแบบ independent
patience อดทนรอได้
กระดิกเท้าเอา อย่ากระดิกนิ้ว

หมอพงษ์ศักดิ์
1))จิตใจสำคัญที่สุด ต้องมีความมั่นคง
ถ้าคิดมาละเอียดแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดต้องเชื่อมั่นในตัวเอง
2)ต้องรักการเรียนรู้ การลงทุนต้องเรียนรู้ตลอดเวลา
3) รู้จักขอบเขตความรู้ชองเรา หรือคิดว่าตัวเองรู้ แต่รู้ไม่พอ
สิ่งที่ต้องระวังคือความเสี่ยงธุรกิจที่มีผลกระทบรุนแรง
ต้องเข้าใจธุรกิจและวิเคราะห์อันตรายให้ออก ถ้ามันมีโอกาสเกิดแล้วเราเห็นก่อนไหม

คุณประภาส
VI ส่วนใหญ่จะลงทุนได้ยาว ซึ่งต้องเจอความผันผวนเสมอ
ผลกระทบที่มีในแต่ละรอบก็แตกต่างกันไป
หัวใจสำคัญคือ peace of mind ความสงบสุขในการลงทุน
ต้องเข้าใจว่าโลกการลงทุนมีความผันผวน ต้องเตรียมใจว่าถ้าลงไป 50% ยังอยุ่ได้
ยังถือได้เพราะมีความรู้ เข้าใจ ในสิ่งที่ลงทุน
จากการบริหารเงินจากหมื่นล้านเป็นแสนล้าน ยิ่งเงินงอกขึ้นไปเรื่อยๆจะยิ่งยาก

คุณทิวา
ยกคำพูด โดนัล ทรัมป์ เคยพูดว่า นักลงทุนที่ดี
ควรเป็นนักเรียนที่ดี อ่านเยอะ คิดเยอะ
เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ จึงมีจิตใจที่มั่นคงได้
การเรียนรู้บางทีไม่เกิดการอ่าน แต่มาจากการสังเกตก็ได้
อย่างไปเที่ยวไต้หวัน เห็นน้องที่ไปด้วยกัน แห่เข้าซื้อรองเท้า Adidas
เขามีรองเท้ากัน 70-80 คู่
ถ้าน้องคนนี้ดูหุ้น Adidas ไปด้วยจะได้กำไร 2 เด้งแล้ว

คุณทศวรรษ
โดยหลักการคงคล้ายๆกัน
ชอบคำพูด ปีเตอร์ ลินซ์ invest in what you know
มองหุ้นเป็นธุรกิจและลงทุนอะไรก็เข้าใจให้ลึกซึ้ง
เปรียบเทียบความรู้คอมพิวเตอร์ เวลาผ่านไปไม่นานใช้ไม่ได้
แต่ความรู้การลงทุนสามารถเก็บสะสมได้
ช่วงแรกต้องศึกษาให้มากๆ

ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค แขกรับเชิญทุกท่าน ทีมงาน moneytalkและผู้สนับสนุน
ที่ทำให้เราได้รับฟังประสบการณ์ลงทุนและ update ข้อมูลหุ้นที่น่าสนใจ
วันนี้ติดภารกิจช่วงเช้านั่งฟัง FB Live จากที่บ้านได้บรรยากาศอีกแบบครับ
หากผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยนะครับ สามารถดูรายละเอียดย้อนหลังได้ใน VDO ครับ


Moneytalk@SETครั้งต่อไป อาทิตย์ 18 มิ.ย.60 เปิดจอง 10 มิ.ย.60
หัวข้อ 1 เศรษฐกิจและผลกระทบหุ้นครึ่งหลังปี 60
แขกรับเชิญ1ท่าน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผู้ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ และ อ.นิเวศน์
หัวข้อ 2 แนวโน้มหุ้นครึ่งปีหลังและคัดหุ้นเด่น
แขกรับเชิญ มนตรี ศรไพศาล, คุณไพบูลย์ นรินทร์ทลางกูล,
คุณปริญญ์ พาณิชย์ภัค, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผู้ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2636
ผู้ติดตาม: 269

Re: MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

วันนี้บิ๊กเร็วมากครับ ขอบคุณครับ
tawatkub
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณสำหรับสรุปเนื้อหาที่มีประโยชน์เช่นเคยครับ
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 38

Re: MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

พี่ยังขับรถไม่ถึงบ้านเลย
น้องบิ๊กส่ง link มาให้ทาง line แล้ว

เมื่อสักครู่โทรปรึกษางานอาจารย์ ดร.ไพบูลย์
อาจารย์ ท่านก็ชมว่าน้องบิ๊กสรุปเสร็จเร็วมากๆ

ขอบคุณมากเลยจ้า :D
Singthong99
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
Au Gratin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 2

Re: MoneyTalk@SET14/5/60-หุ้นเด่นครึ่งหลัง&ชุมนุมเซียน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ
The best way to predict your future is to create it.
โพสต์โพสต์