สัมมนางานสังสรรค์VI ครั้งที่ 1 ปี 2560

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2639
ผู้ติดตาม: 270

สัมมนางานสังสรรค์VI ครั้งที่ 1 ปี 2560

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สัมมนางานสังสรรค์VI ครั้งที่ 1 ปี 2560
หุ้น Value & Growth ลงทุนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ


โดย คุณกานต์ ณัฐชาติ คำศิริตระกูล อุปนายก สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ( ประเทศไทย )
คุณ ทศ ทศวรรษ ทองสุข กรรมการ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ( ประเทศไทย )
สัมภาษณ์ โดย คุณ บอล


เริ่มจาก พูดถึง หุ้น value ว่าคืออะไร
น้องกานต์ แชร์มุมมองจากประสบการณ์10กว่าปีที่ผ่านมา
แต่เรื่องที่ผ่านมาอาจไม่ถูกตลอดไป
คนที่มาฟัง มีพื้นฐานมาพอสมควร บางคนพึ่งเข้ามาลงทุน เลยสำรวจประสบการณ์ของคนในห้องประชุม
ปรากฏว่า ส่วนใหญ่คนในห้องจะลงทุนมากกว่า 3 ปี ส่วนคนมือใหม่อาจฟังไม่เข้าใจอาจถามนอกรอบได้

ส่วนตัวกานต์ชอบลงทุนหุ้นที่ดูไม่แพง แต่จะมีgrowthไหม ก็ดูอีกที
หรือเป็นหุ้นgrowth ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าก็ได้
น้องกานต์พูดถึง คำว่าหุ้นvalueในตลาดหุ้น หมายถึงวีไอเข้าไปลงทุน เรียกว่าหุ้นวีไอใช่ไหม
จริงๆแล้วไม่ใช่ ต้องแยกให้ได้ว่า ระหว่าง หุ้นวีไอ กับ หุ้น value
หุ้น value ให้มองที่มูลค่าของบริษัทก่อน
สามารถดูมูลค่าจากงบการเงิน มูลค่าของส่วนผู้ถือหุ้น คือ มูลค่าทางบัญชีหรือสินทรัพย์ของบริษัท
สินทรัพย์เช่น ที่ดิน ราคาที่ดินที่เคยบันทึกในราคาทุน ต้องมีการ adjust มูลค่าทางบัญชีให้เป็นราคาตลาด
สินทรัพย์นอกจากทีดิน value ยังมาจาก ฐานลูกค้า แบรนด์ที่แข็งแกร่ง
หลังจากได้ค่าที่เหมาะสม เช่น 1,000 ล้านบาท แต่ราคาตลาดเป็น 800 ล้านบาท แสดงว่า
มี MOS หรือ ส่วนลด 20% ถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
เปรียบเหมือนไปซื้อกระเป๋าตอนช่วงลดราคา จากมูลค่า 10,000 บาท แต่ซื้อในราคา 5,000 บาทได้
ยิ่งซื้อราคาที่ต่ำก็จะมีส่วนปลอดภัยเยอะ
หุ้น value อาจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ตกต่ำยาวนาน หรือ ไม่ดีมากหลายปี เป็นหุ้นน่าเบื่อ
ตัวอย่างเช่นหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคาร เคยซื้อขายที่ PE สูงกว่า 10 หรือ PB สูงกว่า 1 เท่า
ก็สามารถซื้อในราคาต่ำกว่าตอนสูงสุดได้
คำถามต่อมา คือ เราควรซื้อหุ้น value ประเภทไหน
ก่อนอื่น เราต้องประเมินมูลค่าของบริษัทก่อน ซึ่งมีหลายวิธี หลังจากนั้นก็มาดูว่าราคาตลาดเป็นอย่างไร

กลับมาดูที่น้องทศซึ่งทำงานหนักมาตลอด ปกติมองอนาคตค่อนข้างไกลของบริษัทที่สนใจ
น้องทศ บอกว่า ไม่มีใครซื้อหุ้นแบบ value หรือ growth ล้วนๆ
หลังจากคุยกันหลายรอบจะสังเกตว่า บางคนจะลงทุนหุ้นvalueเยอะ อีกคนลงในหุ้นgrowthเยอะ

หุ้นที่ผมชอบ สไตล์หุ้น growth มีลักษณะคือ

1. มีการเพิ่มทีมขาย ขยายสาขาเพิ่ม เห็นการเติบโตของบริษัทไปเรื่อยๆ หรือ
เปิดร้านกาแฟสาขาเดียว รายได้เท่าเดิม ถือว่าไม่ใช่หุ้นgrowth

2. ขายสินค้าเพิ่มขึ้นก็ได้

ยกตัวอย่าง บริษัท ขายน้ำมันที่มีสาขาอันดับ2 ขยายปั๊มน้ำมัน มีแผนการสร้างปั๊มน้ำมัน
ตอนปีแรก กำไรยังไม่มา แต่ ขายเพิ่ม สาขาเพิ่ม แต่มีตัวที่บดบังอยู่ ทำให้กำไรยังไม่มา
หรือ เถ้าแก่ไม่ใหญ่ หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศ เริ่มขยายไปในต่างประเทศ
หรือ บริษัทปล่อยสินเชื่อแต่ชื่อเหมือนบริษัทประกัน
บริษัทปล่อยสินเชื่อรถ มีแผนขยายโต2 เท่า ถือเป็นหุ้น growth
ผู้บริหารมีแผนในการเติบโตแล้ว แต่เราต้องตามผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามที่วางแผนหรือไม่
ผมค่อนข้างระวังคำพูดของผู้บริหารด้วย ผมจะดูบริษัทที่สามารถพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จได้ และ
สามารถขยายสาขาตามที่พูดไว้
ข้อดีของหุ้นgrowth คือ มีโอกาสโต แต่ข้อเสีย ราคาเพิ่มไปหุ้นเรียบร้อยแล้ว
แตกต่างจากหุ้น value ที่ไม่ค่อยมีคนลงทุน เงียบเหงา
น้องกานต์ เสริมเรื่อง growth มี operation ที่เติบโต เพิ่มคนงาน ขยาย line การผลิต
ผู้บริหารตั้งใจโต แต่ต้องรอผลการดำเนินงานก่อน ดูจากกระแสเงินสดได้
ความถูกแพงในการลงทุนเป็นอีกเรื่อง เราสามารถซื้อก่อนบริษัทมาออก opp day หรือ ออกข่าว
แต่ถ้าซื้อทีหลัง ราคาจะบวกความคาดหวังไปแล้ว PE ก็สูงไปแล้ว (หลังวีไอจัดเต็มไปแล้ว)
อีกลักษณะคือ ความคาดหวังมีโอกาสเติบโตในต่างประเทศอีกมากมาย เราต้องดูว่ามันจะเป็นไปได้ไหม
ถ้ารู้สึกว่ามันโตอีกสิบเท่า คือความรู้สึกในการซื้อหุ้น growth
ต่างกันกับ Value stock นักลงทุนฟังผู้บริหารแล้วไม่เร้าใจ ไม่อยากลงทุน คือเหตุผลทำให้ราคาหุ้นถูก
หุ้นที่โตสม่ำเสมอ มีส่วนผสมของgrowth ราคาไม่ถูกมาก เป็นส่วนผสมของหุ้นที่เหมาะสม
ส่วนตัวที่ทำหน้าที่เร่งได้แก่ กำไร ถ้าเห็นกำไรเปลี่ยนแปลง ต้องมาวิเคราะห์ว่าโตชั่วคราวหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินค้าหรือบริการ โดยตลาดมองว่าโตปกติทำให้ราคายังไม่สูง แต่ถ้าตลาดเริ่มเปลี่ยนมุมมอง ทำให้คนเพิ่มความคาดหวัง
ราคาก็เพิ่มขึ้น โดยผลประกอบการยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ก็ได้กำไรเพิ่มขึ้นเท่าตัวแล้ว
แต่หุ้นgrowthที่ต้องระวัง ว่าไปขยายไปต่างประเทศ มี story มากมาย คนคาดหวังเยอะ ทำให้มีโอกาสราคาตกลงมา
มากกว่า 50% ทั้งที่กำไรยังไม่เปลี่ยนแปลง หรือ หุ้นที่โตมา 40% ตลอด แต่เริ่มโตลดลง ราคาจะลงมาเพราะคนไม่ให้ราคาเท่าเดิม

น้องทศ มีเคส เรื่องความคาดหวัง

ซื้อหุ้นผลิตแอร์พกพา ยี่ห้อเย็น ราคาเพิ่มจาก 2 บาท ไป 8 บาท ผมซื้อตอนจะลงไป 1 บาท เขาจ้างจีนผลิต
คนรู้จักในชื่อ สุดยอดเย็น เขามีแผนจะไปเปิดขายใน Lotus, BigC เลยจัดไปเต็มที่ ปรากฏว่างบขาดทุนในไตรมาสต่อมาเริ่มไม่มั่นใจว่าจะดีต่อ แต่เรายังมั่นใจ แต่คนอื่นยังไม่มั่นใจเลยขายทำให้ราคาลดจาก 2 บาท ลดมาที่ 1 บาท ขาดทุน 50% ใน 2-3 เดือนเลยขายไปเข้าอีกตัว หลังจากนั้น 3 เดือนปรากฏว่าราคาวิ่งไปที่ 8 บาท
หุ้นมีความคาดหวัง เราเข้าไปในช่วงที่ผิดหวังต้องระวังไว้
คุณบอลเสริม เรื่องจิตวิทยาการลงทุน ย้อนกลับมาคิดว่าน่าลงทุนหรือไม่
น้องทศพูดต่อว่า หุ้นเถ้าแก่ไม่ใหญ่ PE สูง ได้ข่าวรัฐบาลยกเลิกทัวร์ศูนย์เหรียญ ข่าวกระทบต่อราคาตลาด
ดังนั้นคนที่เวลาตามข่าวน้อย ทำงานประชุมทุกวัน บางทีเลือกหุ้นที่ไม่คาดหวังสูงมากน่าจะดีกว่า

คำถาม เรามองเป็น Time frame ไกลแค่ไหน
น้องทศตอบว่า ผมจะดูว่า เวลาประเมินขึ้นกับประเภทหุ้น
หุ้นที่เดาทิศทางไม่ได้ เดาจากข้อมูลปัจจุบัน ก็ให้ราคาเท่ากับการเติบโตในปัจจุบัน
แต่ถ้าหุ้นโรงไฟฟ้าโซลาร์ ปกติจะมีแผนการติดตั้ง ช่วงที่ยังไม่มีแผน เดาว่ามันไม่โต
แต่บางหุ้นที่มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจน เช่น ภายใน3 ปี มีปั๊มเพิ่มเท่าไหร่ อันนี้ทำให้เดาได้

สรุปลักษณะของหุ้น growth

1. ผู้บริหารต้องสู้ก่อน การไปฟังผู้บริหารพูดบ่อยๆ ฟังดูรู้ว่าผู้บริหารจะพูดอะไร
ผู้บริหารหนุ่ม มีไฟ ไปได้ไกล เช่น คุณสต๊อบ

2. ถ้าเราทำธุรกิจเอง เราพร้อมจะขยายสาขาอย่างโตเนื่องหรือเปล่า
เช่น บริษัทอสังหาทีชื่อเหมือนพระเอก อันดาและฟ้าใส

ผู้บริหารบอกว่าจะโตต่อไปเรื่อยๆซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ทีมงานต้องพร้อมจริงๆ
หุ้น growth ต้องมีแผนในการเติบโตในระยะยาว เราก็ติดตามว่าเขาทำได้ตามแผนหรือไม่

กลับมาที่น้องกานต์ มองว่าtime frame สัก 3 -5 ปี
หุ้นgrowth ต้องมีผู้บริหารที่มีความทะเยอทะยาน เรามองว่าจะเชื่อเขาดีไหม
เราต้องดูสินค้าที่เขามี ดีกว่าคู่แข่ง หรือ ตอบสนองต่อลูกค้าดีกว่าคู่แข่งหรือเปล่า
วอร์เรน บอกว่า บริษัทมี คูเมือง ป้อมปราการที่ขยายทุกปีหรือเปล่า ถ้าใช่ จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี
บางบริษัท โต50% แต่โตปีเดียว ไม่สามารถคิดราคาโดยใช้ PEG ปกติต้องมีการเติบโตอย่างน้อย 5 ปี
เราต้องวิเคราะห์กิจการว่าทำได้อย่างต่อเนื่องหรือเปล่า
ตัวอย่าง เช่น หุ้นอสังหาที่พึ่งเป็นHolding company มีขยายอย่างต่อเนื่องเป็น 10 ปี
ฟิลิป ฟิชเชอร์ เป็น ปรมาจารย์ของหุ้น growth ต้องทำ scuttlebutt เราต้องรู้ให้เยอะกว่าตลาดรู้ด้วย
เรามองยาว มองเรื่อง quality ให้ออก
แต่ถ้าเป็นหุ้น value ส่วนใหญ่ความกลัวครอบงำตลาดเช่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ กลัวฟองสบู่จะแตก
ส่วนบริษัทอสังหา ที่ชื่อเหมือนพระเอกลูกครึ่ง เรื่องอันดากับฟ้าใส
เคยลงทุนตอนที่ยังไม่เป็นหุ้นgrowth งบขาดทุน 3 ไตรมาส หุ้นราคาลงไป 50%
แต่ผู้บริหารซื้อต่อเนื่อง ราคาเหลือ 2 บาท market cap 6,000 ล้านบาท ตอนนั้นขาย presales
ไม่มีรายได้ ขาดทุนอยู่แล้ว แต่เรามาฟัง opp day คนมาฟัง 5 คน เขาบอกว่าเริ่มขายได้
และมีstory โตต่อเนื่อง ไม่มีใครถามคำถาม ไม่มีคนคาดหวังเลย แต่ดูแบรนด์ ไอดีโอ เริ่มมาแข่งกับเจ้าตลาด
หลังจากเริ่มมีกำไร นักวิเคราะห์เริ่มเข้ามาสนใจ ตอนซื้อ PE 6 เท่า แต่ ตลาด 10 เท่า ตอนนี้ขายไปแล้ว

คุณบอล มองว่าลงทุนแบบไหนก็ต้องทำการบ้านเยอะ
ราคาของหุ้นบางตัว ถูกเรื้อรัง ต้องดูว่า เขาขยายต่อเนื่องหรือเปล่า
บางทีดูที่เศรษฐกิจ ก่อนลงทุนหุ้น growth
ตอนนี้ดอกเบี้ยต่ำ เวลาคำนวณ ทำให้ถูกdiscount ได้ราคาหุ้นที่สูงขึ้นด้วย
ช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของหุ้นคาดหวังได้ยาก
ดังนั้น หุ้นที่มีขยายสาขาตลอด เช่น ปั๊มน้ำมัน ยังไปได้
แต่หลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว สถานการณ์เริ่มเปลี่ยน หุ้นที่ขึ้นมาจากความคาดหวัง จะแพงต่อไปได้ไหม
ในทางกลับกัน บริษัทที่ถูกมองข้าม จะเริ่มมีคนพิจารณาซื้อแล้ว
บางช่วงเวลา หุ้น value ดีกว่า growth และ บางช่วง หุ้นgrowth ดีกว่า

คุณบอล ถามว่ามีการวิเคราะห์หุ้นเติบโตอย่างไร
น้องทศ ตอบว่า เชิงทฤษฏี ดูว่าบริษัทมีคูเมืองไหม ถ้ามี คู่แข่งสู้เขายาก
ให้ระวังผู้บริหารที่บอกว่าจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ เช่นไปปล่อยกู้ ทำ nano finance ก่อนนี้ขายเครื่องกรองน้ำ
ทำให้ฉุกคิดว่า เครื่องกรองน้ำอาจไม่ดีอย่างที่คิด
หรือในอดีต กลับไปดูว่าผู้บริหารทำได้อย่างที่พูดคราวก่อนหรือไม่ เช่น บอกผู้ถือหุ้นว่าทำได้มากกว่าเป้า
โดยไปปรับเป้าลดลง เราต้องค่อยๆตรวจไปเรื่อยๆ
ผู้บริหารบางคนชอบพูด base case, best case บางคนชอบพูด worst case ต้องหมั่นสังเกตให้ดี
ผมชอบหุ้นที่รายได้โตอัตโนมัติ ไม่ต้องทำอะไรเลย เช่น หุ้นชื่อมะลิ ทำinternet
หุ้นทำเครื่องเติมเงินมือถือ เอาตัวเลขรายเดือนมาโชว์อย่างต่อเนื่องย้อนหลัง 4-5 ปี
อีกบริษัท คือ หุ้นขายน้ำมันทีมีสาขาอันดับ2 โชว์ยอดขายรายเดือน ซึ่งบ่งบอกความสามารถในการทำการค้า
นอกจากนั้นยังชอบ หุ้นที่รายจ่ายคงที่ ซึ่งหายากมาก
แปลว่า กำไรจะก้าวกระโดดไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดค่อนข้างต่ำ
บริษัทที่ขยายเยอะและใช้เงินเยอะ ถ้าพลาดขึ้นมา ทำให้ถอยไม่ทัน
เช่น ค้าปลีกเมื่อก่อน ยิ่งสาขาเยอะยิ่งแย่ ต้องปรับตัวให้ทัน

น้องทศพูดต่อว่า ผมชอบหุ้นค่อนข้างถูก แต่มีโอกาสโต คนไม่ค่อยคาดหวัง เราต้องรู้ข้อมูลก่อนคนอื่น
เคยปลอมตัวไปคุยกับ supplier ซึ่งเป็นบุคคลที่3 หรือ สอบถามคู่แข่ง เพื่อสอบถามข้อมูล เราไม่เชื่อข้อมูลที่ผู้บริหารให้
เช่นหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ก็ไปสอบถามข้อมูลตลาดอสังหาจากบริษัทและคู่แข่ง ว่า ตลาดอสังหาช่าวนี้เป็นอย่างไร
การลงทุนหุ้นgrowth มีความเสี่ยงมาก ต้องตรวจสอบให้ดี ฟังแค่ opp day ไม่แนะนำให้เคาะซื้อเลย
ต้องไปดูสถานที่จริง สำรวจแบบ scuttlebutt โดยไปเยี่ยมสาขา เช่น หุ้นสาวสวยซึ่งขายเครื่องสำอาง ที่มีร้านอยู่ในห้าง
สอบถามเรื่องเครื่องสำอางจากพนักงานจริง เพื่อป้องกันว่าข่าวสารที่ได้จากผู้บริหารถูกต้องหรือไม่

คุณบอลถามน้องกานต์ เรื่องการประเมินมูลค่า ว่าการมองหุ้น value , growth มองต่างกันหรือไม่

น้องกานต์เล่าเรื่องcase study ให้ฟัง

บริษัทอสังหา ที่ชื่อเหมือนพระเอกลูกครึ่ง เรื่องอันดากับฟ้าใส
ผมดู market cap 6000 ล้านบาท กำไรที่ทำได้ 900 ล้าน PE 6-7 เท่า PB 1.1 เท่า
ซี่งไม่สูงเกินไป โครงสร้างของบริษัทที่ทำคอนโดเป็นหลัก คือ บริษัทสวนลุม ยังดีอยู่ แต่PB 3 เท่า
ผู้บริหารมีความตั้งใจเหมือน บริษัทสวนลุม แต่ขายแบบบริษัท ซิรี สร้างให้เร็ว โครงสร้างการเงินใกล้เคียง
ช่วงแรกลงทุนมี fix cost แต่ระยะต่อมา รายได้เพิ่ม SG&A ไม่โตตาม ตอนนั้นยังไม่แสดงภาพออกมา
เราซื้อหุ้นที่ราคา 2 บาท บริษัทร่วมลงทุนกับเจ้าของ คุณชานนท์ หลังปรับโครงสร้าง ROE มีโอกาสเพิ่มขึ้น
เป็นปัจจัยโดยรวม แต่ไม่ได้คาดหวังโตเท่ากับ บริษัทสวนลุม คิดแล้ว มี MOS 20%
Book value มีโอกาสโตขึ้น ตอนนั้น รอประกาศงบQ4 ค่อยซื้อ
เพราะคนยังไม่ค่อยเข้าใจธรรมชาติ ของ อสังหา ถ้ามีโครงการโอนต่อเนื่อง แสดงว่ายังเติบโต
ตอนนี้ market cap 14,000-15,000 ล้านบาท

อีกเคสบริษัท เป็น Distributor ขายอุปกรณ์ไอที เป็นบริษัทลูกของบริษัทที่ทำ สิ่งพิมพ์ และ Soft packaging
เคยได้รับความนิยมมาก่อน แต่ PC, NB ได้รับความนิยมน้อยลง
บริษัทเพิ่มสินค้า mobile มากขึ้น รวมถึงสินค้าที่มี high margin มากขึ้น และ มีลูกค้าองค์กร
เข้ามาด้วย ถ้ามองจากงบการเงินยังไม่ค่อยเห็นการเติบโต
จุดเปลี่ยนอีกอัน คือ เปลี่ยนแปลงผู้บริหารจากรุ่นพ่อเป็นรุ่นลูก
วันที่สนใจคืองบออก Q3 มีการปรับเปลี่ยนสินค้า ซื้อตอน 3 บาทนิดๆ ราคายังถูกอยู่ ROE อาจขึ้นถึง 20%
ตอนนี้บริษัทก็ซื้อบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้ PE โตเป็น 20 เท่า
แต่ผมก็ขายระหว่างทาง ไม่ได้ขายราคาสูงสุดเพราะไม่คิดว่าจะโตสูงขนาดนั้น

คุณบอลถามน้องทศว่าตอนซื้อ หาค่าPEได้หรือไม่ (หมายถึงมีกำไรหรือเปล่า)

น้องทศ พูดว่า ตอนซื้อยังมี PE อยู่ แต่ PE เป็น 2 หลัก
วิธีการดูว่าราคาที่ซื้อไม่แพงเกินไป
น้องทศ บอกว่าเวลาซื้อหุ้น PEอยู่ระหว่าง 10 ปลายๆ – 20 ต้นๆ การที่ยันราคาได้ แสดงว่าเหมาะสม
บางทีซื้อในราคาสูงขึ้นได้ ถ้าราคาหุ้นนักวิเคราะห์ใช้วิธี PEG เพื่อชวนให้ซื้อต้องระวัง เพราะ
วิธีนี้ทำให้ราคาหุ้นถูก เพราะในระยะสั้นๆมันใช้ได้
ผมใช้วิธีข้ามขั้นไป เช่น ถามว่าขยายปั้มไป 2,000 ปั้มแล้ว
ถามว่า ขายได้กี่ลิตร มีกำไรเท่าไหร่
น้องทศกล่าวต่อว่า คนเริ่มรู้จัก อาจปรับให้โตอีกหน่อย หาราคาขายและกำไร
อาจให้ราคาที่ PE 10 เท่า ดูว่าราคาต่างกับเป้าหมายไหม
ไปดูอนาคต ดูจากตัวเลขที่ผู้บริหารพูดแต่ปรับลงมาหน่อย และ คำนวณราคาว่าเหมาะสมหรือไม่
ตัวเลขจะออกมาเป็นช่วงๆ ทำราคามาบน caseต่างๆ ได้แก่ Best case, Base case, Worst case
เช่น บริษัทไปทำธุรกิจที่จีนสำเร็จมากๆ หรือ สำเร็จกลางๆ
และ ดูราคาว่าเหมาะสมในแต่ละเหตุการณ์หรือไม่

ความคาดหวังของนักลงทุนกับการเข้าซื้อ
สมมติ ความคาดการณ์ 1-5 กานต์จะซื้อช่วง 1-2 ส่วนทศ จะซื้อในช่วง 2-3
ถ้านักลงทุนมีความคาดหวัง 4-5 เป็นจังหวะขายมากกว่า
เราเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า ตลาดมีนักลงทุนหลายแนว
ไม่ควรปรับความคิดในการลงทุนตามตลาด
ซึ่งถ้าปรับตาม เราจะมีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้น
หุ้นแนว value คุณเบนจามิน เขียนหนังสือ the intelligent investor ตอนปี 1930
หลังวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหญ่ของUS ซื้อหุ้นที่มี PB ต่ำ
วิธีคัดหุ้น โดยคำนวณสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ลบด้วย หนี้สิน และ
ซื้อต่ำกว่านั้น 2-3 เท่า ซึ่งเป็นการหาหุ้นหลังวิกฤต ซื้อครั้งละ 50-60 ตัว
เป็นหุ้นก้นบุหรี่ Qualityไม่ค่อยดี เป็น การลงทุน value แบบ classic
ส่วนการลงทุนของไทย ก็เป็นหุ้นในช่วงต้มยำกุ้ง ตอนนี้ไม่มีแล้ว
การลงทุนในยุคต่อมาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ดูเรื่องคูเมือง ป้อมปราการ มีการเติบโตอย่างสมเหตุสมผล

โอกาสในการลงทุนหุ้นพวกนี้ ดูจากเหตุการณ์ต่อไปนี้

1. บริษัทที่แย่มาสักพักนึง แย่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่บริษัทที่ซื้อบริษัทเหล็กในอังกฤษ
ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมแย่ และ บริษัทแย่ด้วย

2. เกิดเหตุการณ์ไม่ดีชั่วคราว จังหวะที่ตลาดpanic คุณต้องมีสภาพคล่องเพียงพอ
เช่น เงินสด หรือ หุ้นที่มีสภาพคล่องเยอะ ในการซื้อช่วงนั้น เวลาpanic
อาจกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว คนที่ใช้แนวทางนี้คือ คุณวอร์เรน บัฟเฟต

จุดขายหุ้น

สำหรับหุ้น growth ความคาดหวังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัวของน้องทศมีแนวคิดว่า

1. เมื่อราคาถึงจุดนึง ราคานี้ไม่ใช่แล้ว มันเป็นจุดสูงสุดแล้ว ก็ปล่อยหุ้นไป

2. แต่ถ้าราคายังขึ้นได้อีก ทำให้เรากล้าถือ แก้ไขโดยขยันมากขึ้น
หาหุ้นที่กำลังเริ่มต้นโตตัวต่อไป

ส่วนน้องกานต์ ให้ความเห็นเรื่องจุดขายหุ้น
ถ้าหุ้นเกินความฝันไปแล้ว เราต้องยอม หรือ อย่าโลภเกินความรู้ ถ้าโลภเกิน
จะเกิดความเสียหาย
ใช้วิธีเปรียบเทียบเอา ทยอยขาย ลดสัดส่วนตามความสบายใจ

มีเรื่องฝากเพื่อนนักลงทุน

สิ่งที่ปรับใช้ แต่ละคนมีจุดพิจารณาไม่เหมือนกัน

1. จุดในการรับความผันผวนไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นหุ้น growth ต้องรับความผันผวนมาก
ถ้าจิตใจไม่แข็งแรง หุ้น value น่าจะเหมาะกว่า

2. เป้าหมายในการลงทุน ถ้าอายุไม่เยอะ มีโอกาสได้รับผลตอบแทนเยอะ
แต่ถ้าใกล้เกษียณ ไม่มีเวลาในการติดตามข่าวสาร ก็เป็นหุ้น value จะเหมาะสมกว่า
ถ้ามีเวลาในการลงทุนไม่ถึง 10 ปี ลงทุนหุ้น value ซึ่งได้ 15% ต่อปี
แต่ถ้าหุ้น growth (high risk high reward)
หรือ จัดเป็นพอร์ต เช่น แกนหุ้นเป็น growth 50% ที่เหลือเป็นหุ้นvalue และ Assetอื่นๆ

ส่วนคุณทศ จะหาหุ้นก่อนที่จะ growth ซึ่งหุ้นเริ่มเติบโตแล้วจะปลอดภัยมากกว่า
มีคนมาปรึกษาเกี่ยวกับหุ้น PE 100 เท่า เลยแนะนำว่า ถ้าไม่มีเวลา
ก็ไม่เหมาะสมในการถือหุ้นเหล่านี้
เลือกหุ้นที่มีความคาดหวังน้อย จะปลอดภัยกว่า

Value Low risk low return
Growth High risk high return
แต่คนที่ประสบความสำเร็จ Low risk High return

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
โพสต์โพสต์