หน้า 7 จากทั้งหมด 7

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 07, 2020 8:20 pm
โดย amornkowa
Company Visit Dohome 5 กพ 2563 เวลา 13.30
คุณ สลิลทิพ เรืองสุทธิภาพ กรรมการบริหารมาให้ข้อมูล พร้อมทีมงาน
คุณ ชยานนท์ หอพัตราภรณ์ รองผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน
คุณ มยุรีย์ สีทา ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลกิจการและเลขานุการบริษัท

ผมมาถึงก่อนเวลาประชุม แต่ที่จอดรถมีน้อยมาก ถ้าใครมาcvคราวหน้า
สามารถไปจอดรถที่มหิดลที่อยู่ถัดไปได้ครับ


คุณสลิลทิพมาอัปเดทข้อมูลให้กับทางสมาชิกฟัง

สาขาที่เปิดใหม่
ปัจจุบัน มี 10 ที่ ปีนี้เปิดใหม่ 3 สาขา และ ปีหน้าอีก 3 สาขา
ปีนี้ Dohome Size L มีเปิดที่ จังหวัด สุรินทร์ ช่วง มิย 20
สาขามาบตาพุต จังหวัดระยอง เราเปิด สค 2020
และสาขาพิษณุโลก
ส่วนปีหน้า จะมีเปิดที่ บ่อวิน และ เทพารักษ์

Update สาขาที่พึ่งเปิดในเดือนพฤศจิกายน 2019คือ สาขาเพชรเกษม size L
พื้นที่ลดลงเหลือจาก 20,000 ลงมาเหลือ 13,000- 15,000 ตรม
ส่วนคลังสินค้าก็ลดลงไปครึ่งนึงด้วย
ราคาในการขายก็เหมือน Size Lทุกอย่าง สาเหตุที่ลดdownsizingลงมาได้สวนนึง
เพราะเรามีDC , ต้นทุนของWarehouse พื้นที่ลดเหลือครึ่งนึง
สาขาเพชรเกษม มีการติดตั้งแอร์ด้วย และ designให้เหมาะกับEnduser
3-4ปีที่ผ่านมา เราเห็นTrend end-user ในสาขาสูงขึ้นเรื่อยๆ
SG&A ไม่ได้สูงขึ้น จากการใช้ระบบแอร์ เมื่อเราdownsizing จำนวนพนักงานก็ใช้น้อยลง
และ ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำมัน ค่าดูแล และ ค่าสึกหรอ ก็ลดลง offsetกับค่าแอร์แล้วค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้น
จำนวนพนักงาน ในสาขาเก่า ใช้ 280 คน แต่สาขานี้ใช้จริงแค่ 170 คน ทุกอย่างon target ทั้งหมด
ยอดขายในเดือน พ.ย.-ธ.ค. เฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 1.2 ลบ
GP 18-20% , EBITDA เริ่มเป็นบวกแล้ว
Breakeven Point ของสาขานี้ เท่ากับ 1.7-1.8 ล้านบาท
ตัวเลขค่อนข้าง ok
สาขาติดSolar roof top ในช่วงQ3 20 และค่าใช้จ่ายลดไปโดยเฉลี่ย 30%
เรามีมุมแม่และเด็ก มีcoffee shop ให้ลูกค้า
Compareกับสาขาเก่า size L ยอดขายสูงกว่าสาขาเก่า
ค่อนข้างมั่นใจว่า การที่เราทำDownsizingไม่มีผลกระทบ Bottomแล้วน่าจะดีขึ้น
Break even point ปีนึงประมาณ 620 ลบเท่านั้น
อันนี้เป็นหลักการที่ใช้ในการเปิดสาขาใหม่ๆต่อไป Break even point อยู่ในมุมที่เราพอใจ
เรามั่นใจในการเปิดสาขาใหม่ ถึงแม้อยู่ในช่วง ศก up and down

สาขา size S, Shelf สูง 21 M , 3,000 พาเลต ทำให้พื้นที่คลังสินค้าลดได้ครึ่งนึง

สาขาในอนาคต ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง
สาขาสุรินทร์ เปิดในเดือน มิย 2020 เราใช้เงินจาก IPO มาทำซื้อที่ดิน 280ลบ
ทำเลตรงนี้ค่อนข้างดี อยู่ห่างจาก BigC , Macro ไม่มาก
ทำเลของเขา ติดถนนสองด้าน ห่างไปอีก 600เมตร คือ ไทวัสดุ
ทำเล ป้าย เป็นจุดที่ชัดเจนมาก
ประชากร ที่จังหวัดสุรินทร์ มากกว่า 1 ล้านคน
ด่านช่องจอม อำเภอ กาบเชิงเป็นจุดที่ส่งออกไปทางกัมพูชาค่อนข้างมาก ทำให้
growthในการส่งออกเติบโต ประมาณ75%
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นTop ten กับกลุ่มที่ค้าขายเยอะ
การที่ด่านช่องจอม มีมูลค่าการส่งออกมาก
เรามีfree trade area zones ห่างไป30กม
ซึ่งภาษีขาเข้าจากกัมพูขาจะwaive เป็น 0%
ทำให้ construction material มาที่ตรงนี้เยอะ
ทำเลของเราที่สุรินทร์ไปอำเภอใหญ่ๆที่วัด
สุรินทร์ ป่าสัก และ ศีขรภูมิ ประชากรเยอะและหนาแน่น

สาขามาบตาพุต จังหวัดระยอง Motorway มีสาขาเราด้วย เราจะเปิดเดือน พค

เราเปิด สค 2020 และ Motorway จะเปิดในเดือน กค 2020
การเข้าถึงสาขา ก็ไปมาก็สะดวกมากขึ้น
ระยองมีรายได้ต่อหัวสูงสุดในไทย ทำให้กำลังซื้อค่อนข้างดี ส่งผลต่อยอดขายของสาขา

บางละมุง หรือ แหลมฉบัง ตรงข้ามกับแหลมฉบังเฟสที่3
รถไฟรางคู่ , High speed ก็ผ่าน คู่แข่งก็ไม่มี
สาขาใกล้สุดคือ ไทวัสดุ ห่างเรา 20 กม ก็เป็นข้อดีของเราที่ไม่มีคู่แข่ง

อำเภอ บ่อวิน อยู่ในชลบุรี เปรียบเทียบกับที่อุตสาหกรรมอมตะนคร
Size อุตสาหกรรมค่อนข้างขยาย ทำเลของเรา ขับรถเข้ามา
ขวามือเป็น Eastern seaboard , ส่วนซ้ายมือ จะเป็นอมตะนคร
เป็นprime area ของ retail มีLotus และ Makro
Dohome กับ BigC มีจด
เส้น331 มีนิคมอุตสาหกรรมค่อนข้างเยอะ ขับไปจะเป็นภาคอีสาน หรือ อีกด้านก็เป็นแหลมฉบัง
เส้น 331 ตรงข้ามบ่อวินก็มีการขยายเส้นทางจาก 6เลน เป็น 12เลน มีทางยกระดับ และ รถไฟความเร็วสูง
Mega Home อยู่คนละเส้นทางกับเรา
ส่วนทางEastern seaboard มาที่Dohome สะดวกกว่า
และ อมตะนคร มีคุ๋แข่งมาเปิดในปีที่แล้ว
ส่วนในเขต EEC ที่เราไป เช่น มาบตาพุต บ่อวิน เราไปตั้งสาขาที่นั่น
เราซื้อที่ดินปีกว่าๆ อยู่ในงบ Q2-Q3 แล้ว เยื้องใกล้BigC ถือเป็น prime area

Update สาขาเก่า
สาขาพระราม2 ติดเรื่องทำถนน ขยายจาก 4 เลน เป็น 8 เลน ถนนยังไม่เสร็จทำมาสองปีแล้ว
ยอดขาย ประมาณ 1,100 ลบ แต่พบว่ายอดขายไม่ตก
คาดว่าเมื่อถนนทำเสร็จ น่าจะทำให้ยอดขายดีขึ้น

สาขาบางบัวทอง มีperceptionขนาดใหญ่
มีการทำถนนขยายจาก 4 เลน เป็น 8 เลน เสร็จเมื่อ พย 2019
Trafficเพิ่มขึ้น 10% และ ยอดขายเพิ่ม 10% กว่า
คิดว่ายอดขายน่าจะดีขึ้น เพราะจังหวัดนนทบุรี กำลังเติบโต

สาขาเชียงใหม่ ขยายเลน4ไป8 เลน และเสร็จเมื่อ ตค 2019
ยอดขายโตขึ้น ถือเป็นสัญญาณบวก

สาขาเก่าบางที่ที่เราเปิดแล้ว ก่อนที่มีDC มีหั่นพื้นที่ขาย ไปให้ร้านทอง ร้านกาแฟ ร้านนวด ร้านขายเสื้อผ้า
ร้านทอง ขายดีมาก เพราะผู้รับเหมาก่อสร้าง เมื่อได้เงินมา ก็ไปซื้อทองเก็บ

6สาขาที่เปิดใหม่
ดังนั้นเทรนปีนี้ ยอดขายจะเพิ่มขึ้น สำหรับสาขาที่ถนนสร้างเสร็จ
มีการหั่นพื้นที่ 6 สาขา 12,000 ตรม กั้นพื้นที่ปล่อยเช่า แยกจากคลังสินค้าของเรา
เป็นการเพิ่มรายได้อื่นของDohome

Dohome Togo มี 5 สาขา
แมคโคร จรัลสนิทวงค์ 200-300 ตรม
แมคโคร สาทร 300กว่า ตรม
บิ๊กซี บางพลี ประมาณ 600 ตรม
Pantip งามวงค์วาน 700 ตรม
โลตัส บางนา 700- 800 ตรม
พื้นที่ใหญ่ขึ้น ปรับสินค้าเป็น Householdมากขึ้น ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
เรามี Breakeven point ต่อวัน เท่ากับ 25,000-35,000 บาท
ยอดขายต่อวันค่อนข้างต่ำ กดยอดก่อสร้างให้ต่ำด้วย
ปัจจุบันได้ใช้งบการลงทุน 3,800 บาทต่อตรม เท่านั้นเอง
GP 35-38% และ House Brand สัก 30-40กว่า%

ที่จะเปิดเพิ่มใน Q หน้า ก็มี
สาขาไทยรุ่งทิพย์ พื้นที่ 1,000 ตรม
เขาก่อสร้างให้ ค่าเช่า 200 บาทต่อตรม งบลงทุนต่ำกว่า 3,000ต่อตรม

สาขา ตลาดไทสมบูรณ์ อยู่ที่รังสิตคลองสาม เป็นห้องแถวสี่ห้องติดกัน
ขนาดพื้นที่500ตารางเมตร ถือเป็นทำเลดีมาก คนเข้ามาเยอะ ร้านที่ติดกับเราคือ 7-11 ,ตลาดสด
ประชากรค่อนข้างหนาแน่น
ตลาด Number 1 ใกล้ มหาลัยราม2 เจ้าของตลาดลงทุนให้
การตัดสินใจการลงทุนก็จะง่าย

สาขาที่เปิดแล้ว
Lotus Korat
Pantip งามวงค์วาน
BigC บางพลี
ไม่ว่าจะเป็น BigC ,Lotus
Traffic ดีสุด คือที่พันธ์ทิพย์ รองลงมาคือ แมคโคร BigC Lotus จะพอๆกัน

Q4
GP ดีขึ้นเยอะกว่าQ3 นิดนึง สัดส่วน House Brand ยิ่งดีใหญ่
DC เริ่มเป็นบวกใน พย 2019 แล้ว หลังจากติดลบก่อนหน้านี้

ยอดขายเหล็กเยอะ แต่กำไรดูลดลง แต่ Bottom line ดีขึ้น

ที่ดิน บางละมุง และ บ่อวิน เปลี่ยนจากซื้อที่ดิน เป็นการเช่า
สุรินทร์ และ มาดตราพุต กำลังก่อสร้าง ค่าก่อสร้างสามารถกู้ได้ 90%, Fix อัตราดอกเบี้ย 7ปี
Pattern เพชรเกษม
GP 18-20% product mix
GP ค่อนข้างดีมากในช่วง 2-3 ปีแรก
แต่ค่าเสื่อมจะเริ่มมากขึ้นใน ปีที่4-5

Q/A
Q สาขาที่ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ค่าเสื่อมมองยังไง?
A หลักๆก็ตามมาตราฐานการบัญชี คืออย่างเช่นอาคารก็ตัดค่าเสื่อมประมาณ 30 ปี แต่บางอย่างเช่น
shelf ก็ตัด 10ปี แต่ถ้าดูเป็นตัวเงิน สาขาที่ลงทุน 300 ล้าน ค่าเสื่อมจะราวๆ 1ล้าน/เดือน

Q ราคาเหล็กที่ลดลงมาราวๆ 7% กระทบเราประมาณไหน
A พยายาม Maintain ไม่ให้ราคาลงมากๆ และเราขายเหล็กให้กับลูกค้ารายย่อยมากกว่าที่จะขายเข้าโครงการ ซึ่งข้อดีคือกลุ่มนี้ราคาเหล็กที่ลดลงจะไม่ค่อยกังวลมาก เพราะยอดซื้อต่อบิล เฉลี่ยประมาณ 1x,xxx บาทต่อบิล และเราก็มีพยุงราคาเหล็กให้พอได้ ส่วนลูกค้าที่ซื้อ lot ใหญ่ๆก็พอมี ซึ่งถ้ากดราคาเหล็กเรามากๆ เราก็ไม่เอา ตั้งใจให้ GPM เหล็กประมาณ 10%
Q การขายที่สาขาที่เป็นแนวชายแดน ค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไปกระทบเราไหม?
A ไม่ เพราะเราขายของเป็นเงิน ไทยบาท แล้วถ้าว่ากันจริงๆก็ ทางประเทศเพื่อนบ้านจะให้ Value สินค้าที่มีภาษาไทยมากกว่า เพราะเขาเชื่อในคุณภาพสินค้าไทยมากกว่า

Q ระยะเวลาในการ SET UP DOHOME TO GO
A ประมาณ 30 วัน

Q ปีนี้เราเน้นอะไรเป็นพิเศษ
A ปีนี้จะเน้นสินค้าพวก Softline มากกว่าเดิม ซึ่งset team รอไว้แล้วก็เหนื่อยมากขึ้น เพราะเดิมเราเด่นทาง Hardline ถ้าเราพัฒนาพวก soft ได้ เราจะมีสินค้าที่ครบวงจรมากขึ้น

Q สินค้าที่เป็น House brand เรามี hedge ไว้บ้างไหม?
A จริงๆก็มีทำไว้ แต่ที่ผ่านมาค่าเงินแข็งมาตลอดทางทำให้ขาดทุนตรงนี้แต่ไม่เยอะ

Q ช่วงนี้การส่งของที่มาจากจีนชะงักจากหวัดโคโรน่า กระทบเราไหม
A จริงๆไม่กระทบเพราะเรา stock ไว้เยอะตั้งแต่หลังตรุษจีน เพราะเขาจะหยุดยาว ซึ่งของมาอยู่เราแล้ว และเกิดปัญหาพอดีเราเลยมีของอยู่แล้ว และ supplier ที่เราสั่งมีจากอู่ฮั่นแค่ 1-2 แหล่ง นอกนั้นกระจายทั่วเมืองจีน

Q ตามต่อจากเมื่อกี๊แล้วช่วงนี้มีกระทบ traffic เราไหม
A ไม่นะ เคยไปดูมา 100คน ใส่หน้ากากมาแค่ 1-2 คนก็ งงๆ อยู่เหมือนกันว่า เขามั่นใจว่าเราปลอดภัย หรือยังไงกันแน่

Q SSSG ปีที่แล้วพอบอกได้ไหม
A บอกเป็นเทียบ 9 เดือนแทนละกัน คือ ยังเป็นลบอยู่ แต่ลบน้อยลง

Q การบริหารพื้นที่ของสาขาที่บอกจะมีปล่อยเช่าคิดค่าเช่ายังไง
A ค่าเช่าเฉลี่ย 300-600 บาท/sqm แล้วแต่ขนาดกับทำเล

Q มีแผนในการเปิด DC แห่งที่ 2 ไหม
A ตอนนี้ยังไม่มีเลย ถ้าจะเกี่ยวกับ DC คือ เราจะเก็บค่าบริหารจัดการ DC ในการที่ sup มาส่งของที่ DC

Q: สอบถามเรื่องการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เราเพิ่มทุนมา และนำไปขยายสาขา
จะต้องหาเงินทุนเพิ่มอีกหรือไม่สำหรับสาขาใหม่ที่จะเกิดขึ้น
A: สาขาที่เปิดใหม่ในปีนี้ 3สาขา และ ปีหน้าอีก 3 สาขา D/E น่าจะไม่เกิน 2 เท่า
และมีการคุยกับธนาคาร หลังปรับใช้ IFRS16มีการปรับสัดส่วนให้เพิ่มขึ้น

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 10, 2020 9:34 am
โดย amornkowa
ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาของกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคิน-ภัทร
ได้พุดในงานสัมมนางานนึง เกี่ยวกับHealthy Aging ทำอย่างไรให้ย้อนวัยกลับมาได้

ต้นปีที่แล้ว อาจารย์ได้มีข้อแนะนำว่าทำอย่างไร ให้สูงวัยอย่างสมดุล ทั้งหมด4ข้อ

1.ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4 ชั่วโม
2.นอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง และ หลับลึก 2 ชั่วโมง
3.หลัง6โมงเย็นไม่ให้ทานอาหาร และ ปล่อยให้ท้องว่าง
4.ดื่มไวน์ได้ 1-2 แก้วเท่านั้น โดยเฉพาะไวน์แดง เพราะการวิจัย ไวน์แดงช่วยให้อายุยืน

ซึ่งหลายคนก็ไม่สามารถทำได้ บางคนทำได้เฉพาะข้อสี่อย่างเดียว
มีการเก็บข้อมูลของคนที่สหรัฐในช่วงปี 2001-2005 เรื่องการดูแลสุขภาพ

โดยมี ข้อแนะนำ 5ข้อ โดยมีข้อเพิ่ม คือ รอบเอวต้องน้อยกว่าหรือเท่าครึ่งนึงของความสูง

ส่วนใหญ่ คนสหรัฐจะไม่ผ่านในข้อนี้

อาจารย์ไม่ได้คุยเรื่องเศรษฐกิจ การเงินในคราวนี้ แต่จะมาคุยเรื่อง แก่ตัวอย่างมีคุณภาพ
คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ที่ทำอย่างไรไม่ให้ตัวเองแก่มากขึ้น
วิทยาศาสตร์ไปเร็วมาก มีการทดลองฟื้นฟูต่อมไทมัส (Thymus Gland)
ซึ่งมีหน้าที่หลักในการทำให้เม็ดเลือดขาว (T-cell) เติบโตอย่างสมบูรณ์และผลิต
โฮโมนไทโนซินเพื่อกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell เช่นกัน

ตัว Thymus Gland ช่วยต่อสู้ภัยต่างๆ รวมถึง โคโลน่าไวรัส แต่ปัญหาของT-cell ก็คือ
Thymus Gland จะโตเต็มที่ตอนสิบกว่าขวบ หลังจากอายุครบ 60 ปี จะแปลงเป็นก้อนไขมันแทน
ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

Dr.Gregory Fahy ที่ทำวิจัยเพื่อฟื้นฟูต่อมไทมัส เลยนำผู้สูงอายุ 51-63ปีมาทำการฟื้นฟู
Thymus Gland ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นcamp ที่ทำการฝึกทหารไปสู้กับไวรัสต่างๆ
และเสื่อมหายไปตอนอายุ 50กว่าจนถึง 60 ปี
โดยการฉีดยาเข้าไป ทั้งหมด3อย่าง ให้กับอาสาสมัครทั้ง9คนประกอบไปด้วย Human Growth Hormone
โฮโมนกระตุ้นทั้งเพศชายและหญิง อีกตัวคือยาแก้เบาหวาน
ปรากฏว่าได้ผล คนทั้ง 9 คน นั้น ได้ผลจริงๆ ต่อมไทมัสกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง
และวัดเซลล์แก่ตัวเท่าไหร่ หลังกินยาไปหนึ่งปี ปรากฏว่าอายุเซลล์(Biological age) ย้อนหลังไป 2.5 ปี
และมีการวัดผลหลังจากนั้นอีก 1 ปี เซลล์อายุก็ยังเท่าเดิม ถือเป็นกำไรชีวิต
แสดงว่าการ reverse aging ทำได้แล้ว แต่นี่ยังอยู่กระบวนการทดลอง
แต่ไม่แน่ว่าอีกสักสิบปี ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ตอนนั้นคนคงอายุยืนขึ้น

ดร ศุภวุฒิมีคำแนะนำอันทรงคุณค่า ลองฟังดูครับ

1.อย่าแก่
2.อย่าอ้วน

1.อย่าแก่ : อันนี้ไม่ได้แกล้งเขียน เพราะ ดร.เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) ศาสตราจารย์ที่ Harvard Medical School มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพิ่งเขียนหนังสือซึ่งนำมาจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายนผ่านมา เชื่อว่า “Lifespan : Why we age – and Why we don’t have to” หากไม่คุ้นกับชื่อของ ดร.ซินแคลร์
ผมขอให้นึกถึงข่าวใหญ่เมื่อ 15 ปีก่อนที่มีการประโคมข่าวว่า กินไวน์แดงแล้วจะอายุยืน ดร.ซินแคลร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่า สาร resveratrol ที่อยู่ในเปลือกขององุ่นแดงนั้น หากนำไปให้หนูทดลองกินแล้ว จะเพิ่มจำนวนของ sirtuins หรือยีนส์ที่ควบคุมความแก่ของเซลล์ ทำให้หนูแข็งแรงไม่แก่และอายุยืน (แต่ปริมาณของ resveratrol ที่หนูกินนั้น เทียบเท่ากับการดื่มไวน์แดงประมาณ 400-500 แก้วต่อวัน จึงไม่น่าจะเป็นสูตรสำเร็จสำหรับการทำให้อายุยืน)
ในหนังสือเล่มนี้ ดร.ซินแคลร์กล่าวที่หน้า 89 ว่า
“After 25 years of research on aging and having read thousands of scientific papers, if there is one piece of advice I can offer, one surefire way to stay healthy longer, one thing you can do to maximize your lifespan right now, it”s this : eat less”
หนังสือเล่มนี้มีความยาวกว่า 300 หน้า และบางส่วนมีความสลับซับซ้อนทางวิชาการอย่างมาก ผมเองก็ยังอ่านไม่จบ และบางส่วนก็ยังอ่านไม่เข้าใจ

แต่ข้อสรุปเบื้องต้น คือ
1.ดร.ซินแคลร์ยืนยันความเชื่อ ซึ่งพิสูจน์ได้จากงานวิจัยมากมายว่า Aging is a disease หรือความแก่ก็เป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถหาหนทางรักษาได้ และกำลังมีการทำการวิจัย และมีบริษัทใหม่ตั้งขึ้นมามากมายเพื่อรักษาโรคแก่

2.ได้มีการกล่าวถึง แนวทางหลาย ๆ แนวทางที่เรียกว่า pathway to aging กล่าวคือ เมื่อรู้ว่าเซลล์มนุษย์แก่ตัวอย่างไรแล้ว จะมีวิธีการที่จะเข้าไปแทรกแซงเพื่อควบคุมความแก่ได้ เช่นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เมื่อจำกัดการบริโภคแคโลรี (caloric restriction) อายุจะยืนมากขึ้น และสุขภาพจะดีขึ้น ตัวอย่าง เช่น หากลดการบริโภคแคโลรีลงประมาณ 25% ต่อวัน ก็จะทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนขึ้นอีก 25% เป็นต้น

แต่เป็นสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ เพราะการที่รู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ทรมานจิตใจอย่างมาก ทั้งนี้ ได้มีการให้รางวัลโนเบลในปี 2016 กับ ดร.โยชิโนริ โอซูมิ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบกระบวนการ และยีนส์ที่ควบคุมการกลืนกินตัวเองของเซลล์ (autophagy) เมื่อต้องอดอาหาร ซึ่งการกลืนกินตัวเองของเซลล์นั้นก็คือ การยกเครื่องและซ่อมแซมตัวเองของเซลล์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่แก่ตัว

3.ปัจจุบันได้มีการค้นพบสารเคมีที่ทำให้หนูสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนได้บ่อยครั้งจนไม่เป็นข่าวอีกแล้ว และงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องจาก resveratrol ก็พบว่า สารที่ช่วยการทำงานของเซลล์ที่สำคัญมาก คือ NAD+ และยังมีแนวทางสู่การทำให้เซลล์แข็งแรง หนุ่มแน่นอีกหลายแนวทาง ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสุขภาพของร่างกายตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถทำการรักษาโรคได้แบบตัดไฟแต่ต้นลม จนทำให้ ดร.ซินแคลร์ประเมินว่า ในอนาคตมนุษย์จะมีอายุเฉลี่ยอย่างต่ำ 113 ปี
แต่ที่สำคัญ คือ ข้อสรุปว่า “if even a few of the therapies and treatments that are most promising come to fruition, it is not an unreasonable expectation for anyone who is alive and healthy today to reach 100 in good health active an engaged at levels we”d expect of healthy 50-year-olds today”
แปลสรุป คือ แนวทางการรักษาและบำบัดปัจจุบันที่กำลังอยู่ในกระบวนการวิจัยและทดลองอยู่ในขณะนี้นั้น หากเพียงส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จตามคาดก็จะทำให้คนที่ปัจจุบันสุขภาพดี จะสามารถสุขภาพดีและแข็งแรงไปจนอายุ 100 ปี และในวันนั้นก็จะยังมีสุขภาพดีและแข็งแรงเสมือนกับคนอายุ 50 ปีในวันนี้
ข้อสรุปของผม คือ จะต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อรอให้คำทำนายของ ดร.ซินแคลร์เป็นความจริง (และหากไม่เป็นความจริงแล้วการมีชีวิตต่อไปก่อนก็คงจะไม่เสียหายอะไร)

2.อย่าอ้วน : เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ความอ้วนไม่ดีสำหรับร่างกาย แต่ของกินมีอยู่ทั่วไป มองไปที่ไหน เวลาใด ก็มีของกินมากมาย และผู้ขายทุกคนก็จะบอกว่า สินค้าของตัวเอง “ดีต่อสุขภาพ” แล้วเราก็อยากจะเชื่อ (เพราะอยากจะกิน) แต่ความจริง คือ องค์การอนามัยโลกประกาศกว่า 20 ปีที่แล้ว (1997) ว่า “โรคอ้วนเป็นโรคระบาดระดับโลก” แต่จำนวนคนที่น้ำหนักเกินก็ยังเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันคนกว่า 1/3 บนโลกนี้น้ำหนักเกิน (overweight) และอีก 650 ล้านคน เป็นโรคอ้วน (obesity)
เพื่อเตือนใจเราทุกคน

ผมขออ้างสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institute of Health) ที่สรุปว่า ปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับน้ำหนักตัวเกิน (overweight) และโรคอ้วน (obesity) รวมถึง
-โรคเบาหวาน
-ความดันโลหิตสูง
-โรคหัวใจและจังหวะ
-มะเร็งบางชนิด
-หยุดหายใจขณะหลับ
-โรคข้อเข่าเสื่อม
-โรคไขมันพอกตับ
-โรคไต
-โรคปัญหาการตั้งครรภ์

ผมได้เคยเขียนถึงผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อกรกฎาคม 2018 ที่เก็บข้อมูลการดำเนินชีวิตของบุคลากรด้านสาธารณสุขของสหรัฐ (ส่วนใหญ่คือหมอและพยาบาล) กว่า 1 แสนคน เป็นเวลากว่า 20 ปี และพบกฎ 5 ข้อ ที่ทำให้อายุยืนขึ้นไปอีก 12-14 ปี ซึ่งไม่ใช่กฎที่มีความสลับซับซ้อนแต่อย่างใด ที่สำคัญในความเห็นของผม คือ จะต้องไม่สูบบุหรี่ กินน้อย ให้รอบเอวไม่เกิน 0.5 ของส่วนสูง (0.4 สำหรับผู้หญิง) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับให้เพียงพอทุกคืน (7-8 ชั่วโมง)
แต่ข้อมูลที่น่าสนใจที่กล่าวถึงในบทวิจัยดังกล่าว คือ การมีไลฟ์สไตล์ที่ดีตามกฎ 5 ข้อนั้น ปรากฏว่าคนอเมริกันทำกันเกือบจะไม่ได้ กล่าวคือจากการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันที่มีไลฟ์สไตล์ที่ดี (ทำตามกฎ 5 ข้อ) ลดลงใน 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จาก 15% ในช่วงสำรวจปี 1988-1992 เหลือเพียง 8% ในปี 2000-2006 “เพราะการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วน” แปลว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่ 92% มีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับสุขภาพ เพราะการกินอาหารมากเกินจนทำให้น้ำหนักเกิน หรืออ้วนนั่นเอง

สุดท้าย ขอขอบคุณ ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่มาให้ความรู้เรื่องสุขภาพนะครับ
Cr: บทความ ที่ดร ศุภวุฒิ เขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ นำมาประกอบในบทความนี้บางส่วน เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 28, 2020 9:39 am
โดย amornkowa
ดร นิเวศน์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ รู้ไว้ เข้าใจเงินกับ น้องบิว Chittima Tawaret

อาจารย์ได้ให้ความเห็นว่า นาทีนี้มีหุ้นปลอดภัยน่าลงทุน เลือกซื้อได้หลายตัว
แตอย่าคาดหวังผลตอบแทนสูงมากนะ
แต่ก็ยังมีหุ้นจำนวนมากที่ยังแพงอยู่ ต้อง selective buy
ดังนั้น ยังสรุปไมได้ว่าลงทุนช่วงนี้แล้วได้ผลตอบแทนดี
โดยยังมีหุ้นบางตัวที่ยังแพงอยู่ และตลาดหุ้นก็ไม่อยู่ในโซนที่ถูก
โอกาสที่ดัชนีลงต่อ ก็ยังมีอยู่. ตอนนี้ลงมา10กว่า%แล้ว
(ถ้าลงมาอีกเหมือนเมื่อวาน ก็ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตแล้ว)

อาจารย์บอกว่าต้องเผื่อไว้บ้าง เพราะถ้ามีการกระจายของผู้ติดเชื้อกว้างขวางขึ้น
ความเสี่ยงก็ค่อนข้างสูง. ดังนั้นหุ้นที่ลงทุนต้องเป็นหุ้นที่defensiveพอสมควร

หุ้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ต้องdiscountมากกว่านี้อีก
แต่หุ้นที่ไม่ถูกกระทบทางตรง. ก็พอลงทุนได้
ต้องดูว่าไวรัสอยู่อีกนานไหม กระทบต่อเศรษฐกิจเยอะไหม
ตอนนี้กลุ่มท่องเที่ยว การบิน ราคายังไม่น่าสนใจ

ตลาดหุ้นตอนนี้ยังไม่เรียกว่าวิกฤต แต่ก็มีโอกาสถึง
เผลอๆถ้ามีcorrection หนักๆอีกสัก10% ก็ถือว่าวิกฤต (ตลาดหุ้นลงเกิน20%ถือเป็นภาวะวิกฤติ
แต่ถ้าปรับตัวน้อยกว่าทเรียกว่าปรับฐาน)
ลงทุนตอนนี้ต้องเผื่อด้วย เราต้องหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านี้
ไปลงทุนหุ้นdefensive และมีปันผล. บริษัทมีอนาคต
และไม่เกี่ยวข้องกับ Covid-19 และถือหุ้นข้ามปีไป ก็มีโอกาสฟื้น
เราหวังแค่เป็นเจ้าของธุรกิจที่ให้ปันผล5% ก็พอใจแล้ว

ตอนวิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ มั่นใจ100%ว่าตลาดต้องกลับมา
เพราะเป็นเรื่องของสหรัฐ กระทบเราไม่มาก
แต่ตอนนี้ไม่รู้จบเมื่อไหร่ อาจระบาดเกินปี ถือเป็นปัญหาใหญ่
บ้านเรา ศก ชะลอมาหลายปี บริษัทจดทะเบียนไม่มีgrowth
ไม่เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง ที่มีบริษัทส่งออกมาช่วย
คงต้องติดตามดูต่อไป

ขอบคุณ ดร นิเวศน์ สำหรับความคิดเห็นกับตลาดช่วงนี้ครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 30, 2020 10:00 pm
โดย amornkowa
MoneyTalk Special หุ้นไทย จะรุ่งหรือร่วง 21พค 2020 กับ ดร ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
ผู้ดำเนินรายการ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์

ดร นิเวศน์ สอบถาม ว่าวิกฤตCovid-19 เทียบกับ วิกฤตที่ผ่านมา เป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า วิกฤตคราวนี้หนักกว่า ครั้งก่อนๆมาก เช่น
ตอนต้มยำกุ้ง โรงแรมยังมีรายได้ดี เพราะรับรายได้เป็นเงิน$ซึ่งตอนนั้น 50กว่าบาทต่อ$
แต่ตอนนี้ รร ขาดรายได้ เพราะนักท่องเที่ยวหายไปหมด
ไทย ศก โตช้า ปีที่แล้วก็เติบโตแค่ 2%กว่า ก่อนหน้าก็ 4%
ไทยไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ไม่เหมือนกับ US ที่มีกลุ่มเทคโนโลยีใหม่
ไทย ไม่มี บริษัทที่ขนาดรายได้ขนาด Unicorn ( 1,000 ล้าน US )
ดัชนีNasdaq(หุ้นIT) เพิ่มขึ้น 7% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งตลาดหุ้นทั่วโลกยังติดลบอยู่รวมทั้งไทยด้วย

ดร ก้องเกียรติ แนะนำว่าตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนไม่ถึง 0.5%ของโลก และ เติบโตต่ำ
อัตราการเติบโตเริ่มชะลอตัว ไม่มีธุรกิจไอทีที่ทำให้เติบโตต่อ ถ้าเราไปลงในหุ้นไอที
โดยให้แบ่งเงินส่วนนึงลงทุนในบริษัทไอทีในต่างประเทศ
ลงทุนทางตรง หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมก็ได้ การกระจายมากน้อยขึ้นกับแต่ละคน
การลงทุนตรง จะต้องระวังเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ค่าเงิน
แต่ถ้าลงผ่านกองทุนรวม เขาจะดูแลเรื่องค่าเงินให้
คนไทยต้องกระจายความเสี่ยง ธุรกิจไทยก็ลงในต่างประเทศเยอะ
บางบริษัทเป็นอันดับหนึ่งของโลก
การลงทุนส่วนบุคคล ก็มีลงในต่างประเทศ แต่ยังไม่ใช่ก้อนใหญ่
ฐานลูกค้าของบริษัทมีความสนใจ ลงมา10ปีแล้ว
การติดตามข่าวสารตอนนี้ง่ายกว่าเมื่อก่อนเยอะ

ส่วนตลาดหุ้นไทยหลังCovid-19 มองเห็นภาพอย่างไร
ดร ก้องเกียรติตอบว่า ที่ตอนนี้อยู่ที่ 1,3xx จุด ความท้าทายรอบต่อไป
อยู่ที่งบไตรมาสสอง ซึ่งไม่น่าจะดี แย่กว่าไตรมาสหนึ่ง
หลังจากนั้น สถาบันไทย ก็ยังประคองตัว และลงทุนในหุ้นไทย ซื้อและขาย
หุ้นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการดี ยังไปได้ ก็ยังพอพยุงกันอยู่ ส่วนหุ้นที่ผลประกอบการไม่ดี ก็ไม่มีคนลงทุน
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น พลังงาน สื่อสาร ตอนนี้เริ่มตีบตันแล้ว
ธุรกิจก็มีระยะวงจรสั้นลงเยอะ ยกตัวอย่าง ธุรกิจเสริมสวย ความงาม ที่มีLife Cycleสั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ดี
พอขาลง ทุกคนก็เลยหนีหมดเลย
เชื่อว่า ตลาดหุ้นปีนี้คงประคองตัวผ่านไปได้ สิ่งที่กระตุ้นได้มีสองอย่างคือ
1.ธุรกิจขนาดใหญ่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ชาวไร่ ชาวนา ได้อย่างไร
2.ขึ้นกับรัฐบาล นอกจากการอัดฉีด ซึ่งใช้หมดไม่นาน เช่น โครงการต่างๆที่ค้างคา
และมีโครงการอนุมัติไปเยอะ แต่อยากให้เพิ่มสาธาณูโภคมากขึ้น

ณ วันนี้ ยังไว้ใจ ศก ไม่ได้ ยังตามบริษัทยาอยู่ว่า จะได้อนุมัติวัคซีนเมื่อไหร่
ศก โลก ถ้าไม่ดี ไทยก็ไปยาก เพราะรายได้ส่วนใหญ่จากท่องเที่ยว รพ หรือ รถยนต์
ส่วน อุตสาหกรรม มือถือ อิเลคทรอนิคส์ ที่ย้ายฐานจากจีน ไทยก็ไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไหร่
เพราะส่วนใหญ่ก็ย้ายไปอินเดีย และ เวียดนาม
ดังนั้น ดร เป็นห่วงเรื่อง Soft skill มากกว่า
Us ยังมีโรคระบาดอยู่เยอะ คนก็ไม่มาเที่ยวไทย

ดร ไพบูลย์ ถามว่า เรายังต้องระมัดระวังมาก แต่เปรียบเทียบกับ ต้มยำกุ้ง
ลงจาก 1700 มาถึง 200 จะลงมา400-500 จุดไหม

ดร ก้องเกียรติ บอกว่า ธุรกิจในตลาดหุ้นตอนนี้ต่างกับตอนต้มยำกุ้งเยอะ
ธุรกิจยังใช้ได้ และ กระจายไปเยอะ แต่ดัชนียังไม่พ้นจุดสูงสุด เหมือนกับญี่ปุ่น
เราไม่แย่เท่าญี่ปุ่น แต่ขนาดน้องๆ ซึ่งไม่ค่อยดี

ดร ไพบูลย์ถามต่อว่า กลุ่มที่โดนกระทบ ต้องระมัดระวัง และ กลุ่มไหนที่ดี
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า กลุ่มที่จับจ่ายใช้สอย เช่น ค้าปลีก ยังไปได้ ต้องดูเป็นรายตัว
ธุรกิจธนาคารไม่ค่อยดี แต่ธุรกิจเก็บหนี้ ยังดีในขาลง
ธุรกิจ โรงแรม อาจยังน่าสนใจ หลังลงสุดๆ ถ้า รร ไหน ไม่มีท่าทีล้ม แข็งแรงมาก
มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่ช่วยเหลือ อาจรอดได้
บริษัทน้ำมันที่ราคาหุ้นตกลงมาเยอะๆ ก็น่าสนใจ
เมืองนอก โบอิ้งก็น่าสนใจ รวมถึง บริษัทเดินเรือที่ตกหนัก ก็น่าสนใจ
ซึ่งในเมืองไทยไม่เห็นในลักษณะนี้

ตอนต้มยำกุ้ง บริษัทอสังหา ถูกมาก แต่ตอนนี้ หุ้นรอบนี้ตกหนัก แต่เด้งเร็วมาก ไม่ถูกเหมือนตอนต้มยำกุ้ง

ดร นิเวศน์ ถามว่า ธนาคารของไทยราคาตกมาเยอะ เมืองนอกเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ธนาคาร เช่น Citi, JP Morgan ก็ตกเยอะ แต่ถ้าเทียบกับวิกฤตคราวก่อน ยังไม่เยอะ แค่ 30-40%
ไม่ต่างจากไทย แต่ ดร ก้องเกียรติ ขายออกไปแล้ว
สถาบัน ต่างประเทศ เช่น ซาอุ ก็เริ่มซื้อ โบอิ้ง Citi หรือ เรือสำราญ เข้าPort
เวลาหุ้นขึ้นเป็น V shape แต่กำไรของบริษัท จะฟื้นช้าๆ เป็นรูป U shape

ดร นิเวศน์ สอบถามว่า การท่องเที่ยว ที่มีหนี้เยอะ เช่น โรงแรม จะเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ส่วนใหญ่ ก็มีการแก้ไขคือ
1. ถ้าได้ปรับโครงสร้างหนี้ได้ ก็ไม่กระทบ
2.ขายกิจการบางประเภท เพื่อลดหนี้
3 ถ้าโอกาสเปิด ก็ออกหุ้นกู้
4.การเพิ่มทุน
ถ้าทำทุกอย่างแล้ว ไม่พอ ก็ต้องยอม หรือ ขายกิจการให้คนที่มีเงิน
บริษัทอสังหา บางบริษัท ขายทรัพย์สินบางอย่างทิ้ง บางบริษัทขายช้า ก็ขายราคาถูก ก็ต้องยอม

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร ก้องเกียรติ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์ มากๆครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 22, 2020 4:45 pm
โดย amornkowa
Company Visit RJH 21 Sep 2020 13.30

นพ สุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ ประธานกรรมการบริหาร และ กรรมการผู้จัดการ

คุณ Manassa Lertdumrongluck CFO / IR

RJH มี โรงพยาบาล 2 แห่งอยู่ที่จังหวัดอยุธยา
1.โรงพยาบาลราชธานี (RJH) มีจำนวนเตียง 253 เตียง แต่ให้บริการ 235 เตียง
จำนวนคนไข้ประกันสังคมที่รับได้ 161,000 คน ตอนนี้เต็มแล้ว
2. โรงพยาบาลราชธานี โรจนะ (RRH) มีจำนวนเตียง 100 เตียง แต่ให้บริการ 38 เตียง
จำนวนคนไข้ประสังคมที่รับได้ 40,000 คน มีคนมาลงทะเบียน33,898 คน(Q1 2020) ตอนนี้ยังรับเพิ่มได้

คู่แข่ง มี5 รพ
เป็นรพ รัฐ 2 แห่ง คือ รพ พระนครศรีอยุธยา และ รพ เสนา จำนวนเตียง 528/180 เตียง
ซึ่งทั้งสองแห่งรับลูกค้าประกันสังคม
รพ เอกชน 3 แห่ง คือ รพ การุณเวช อยุธยา , รพ ศุภมิตรเสนา และ Peravech Hospital จำนวนเตียง 105/100/53 เตียง มีแค่ รพ การุณเวช รับคนไข้ประกันสังคม

Social Security Sector’s Outlook
ประกันสังคม
Insured Person (มาตรา33,39) ที่อยุธยาQ2 2020 354,841 คน ลดลงจากต้นปี 372,560 คน
RJH มีสัดส่วน 55%
สัดส่วนรายได้ แบ่งเป็น
OPD 28%
IPD 28%
SW 44%
Q2 2020 392.9 ลบ ลดลงจาก 422.8 ล้านบาท รายได้ลดลง12% Q-Q , -7% Y-Y

แบ่งเป็น Social Security Revenue 177 ลบ
Non SW Revenue 216 ลบ
รายได้Non SW
รายได้เติบโตดีมาตลอดมาตั้งแต่เดือนมกราคม จนกระทั่งเดือนมีนาคม ลดลง 15%
เดือน เมษายน ลดลง 30% , พคลดลง 21% และ มิย ลดลง 13%





OPD=Non SW Patients
Q2 2020 รายได้ 131 ลบเติบโต6% มาจากรายได้จากตรวจcovid 32 ลบ
จำนวนที่มาvisit Q2 54,400 คนแต่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น จาก 1,730 บาทในQ1
มาเป็น 1,812 บาทต่อครั้ง

OPD utilization rate – All Sectors
เราเพิ่มจำนวนเตียงฟอกไต 47เตียง เป็น55เตียงและจะเพิ่มอีก 8เตียง
Opd utilization 59.7% ลดลงจากQ1 80.2%

IPD รายได้ไม่มีcovidมาช่วย ทำให้จำนวนรายลดลง
รายได้ต่อหัว เพิ่มขึ้น 37,000 ไปที่ 41,700 บาทต่อหัว

IPD Utilization rate
ผลจากcovid ลดลงจาก 72% เหลือ 50.3%

ประกันสังคม เรามีmarket share 55%
โควต้าแม่(RJH) เต็มแล้ว แต่จำนวนโควตาของลูก(RRH) ยังได้อีก
รายได้ประกันสังคมลดลง มาจากการบันทึกรายได้RWจาก 12,800 เราบันทึกลดลง 10,679 บาทต่อscore ทำให้รายลดลง7% Y-Y , -9% Q-Q

รายได้ต่อหัวลดลงเป็น 912บาทต่อหัว

GP ( Gross Margin )
Q1 มีการadjust จากรับจริงต่ำกว่า ต้องบันทึกเป็นขาดทุน 11 ลบ ลงในค่าใช้จ่ายการบริหาร
ส่วน Q2 ปีนี้ เนื่องจากโรคยาก ทำให้รายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว impact 9ลบในQ2
ถ้าไม่มีextra cost ปีที่แล้ว

Net profit ลดลงจาก 17.2% ไปที่ 16.6% Y-Y


รายได้เมษา ลดลง 30% แต่ช่วง พค เริ่มรายได้เพิ่มขึ้น เลยลดลงแค่ 20%
ตรวจคน 36000คน(RJH)+ 10000 คน (RRH) รวม 46000 คน เรื่อง Covid Test
ตอนแรก เราได้ค่าตรวจอย่างเดียว โดย เอาไม้จิ้มจมูกและส่งไปตรวจ ได้ครั้งละ 1400 บาท
ดูไปมาดีกว่าตรวจโรค

1 กค มีบริษัทใหม่มาลงทุนเครื่องมือ 1.3 ลบ ตอนนี้ตรวจเองได้
ตรวจได้ วันละ 300คน (200+100)
ได้วัน 280,000 บาทไม่รวมโรจนะ 4วันก็คืนทุนแล้ว

ผลประกอบการในQ2ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว ที่เจอกฏหมายแรงงานเพิ่มจากชดเชย300วันเป็น400 วัน และ เรื่องจ่ายเคสยาก 7,100 บาท
DRGปีที่แล้วได้ 12,800 แต้ม ปีนี้ตั้งแค่ 10,679 แต้ม

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 28, 2020 10:26 pm
โดย amornkowa
ซั่มหุ้น วันที่ 28 ตค 2563
Stock Focus หุ้นปลายปี63
1 .หุ้นฟื้นตัวเร็ว
1.1 เครื่องดื่ม ปีนี้หุ้นในกลุ่มนี้ ยอดขายค่อนข้างดี โดยเฉพาะที่มีออกสินค้าใหม่เกี่ยวกับเครื่องดื่มผลมวิตามิน
น้องออฟ ช่วงCovid เวลาเข้า 7-11 ก็มีซื้อมาทานด้วย เพราะอยากให้ร่างกายแข็งแรง
1.2 กลุ่ม อาหาร( ส่งออก )
1.3 กลุ่ม Logistic
เดินเรือ ฟื้นแล้ว ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาย่อแล้วไปต่อ
ค่าระวางเรือสูง เพราะ มีเรือน้อย แต่ส่งออกฟื้น ต้องการเรือสูง

ส่วนกลุ่มยานยนต์
ยอดการผลิตรถยนต์ ลดลงในช่วงcovid และฟื้นแรง
ช่วง กย รถปิกอัฟฟื้นแรงมากจากยอดผลิต 24,339 คัน ในเดือน สค ไปที่ 32,757 คัน
หุ้นยานยนต์ ลองไปหาดู
1.4 กลุ่มค้าปลีก

2.กลุ่มหุ้นฟื้นตัวช้า
2.1 Bank
ธนาคาร ราคาตอนนี้ตกต่ำมาก เท่ากับ ราคาที่low ช่วงcovid งบธนาคารQ3 ออกไปแล้ว
คราวที่แล้ว พูดถึง 5ธนาคาร
Q3 ธนาคารไม่ขาดทุน พอมีกำไรอยู่ กองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ยังดี
Stress test ผลยังไม่ออกมา แต่น่าจะผ่าน
มีโอกาสปันผล
ธนาคารมีการช่วยเหลือลูกค้าในช่วง6เดือนที่ผ่านมา แต่non bank ช่วยลูกค้าแค่3 เดือน
ธนาคารรายย่อย ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ ดีขึ้น
แต่ธนาคารที่มีลูกค้าเป็น SME และ ท่องเที่ยวยังแย่
ธนาคารอันดับหนึ่งที่ดูแลลูกค้ารายใหญ่ ยังดีอยู่ NPL ไม่เยอะ
ค่าใช้จ่าย SG&A ลดลง เพราะมีการประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้กำไรไม่แย่
ตอนนี้คิดว่าธนาคารผ่านไปได้แน่นอน ราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ

ส่วน ท่องเที่ยว หรือ รพ โดนค่อนข้างเยอะ
ท่องเที่ยว โดนเต็มๆ โดนหนักจริงๆ
แต่มองในภาพกว้างหรือยาว ที่โดนกดดันเยอะ แต่ยังไม่ตาย
จะดูว่าเป็นโอกาส หรือ วิกฤต

ถ้าโดน Disruption ในเรื่องราคาที่ถูกกว่า และ ยิงตรงไปที่ผู้บริโภคไปเลย ก็ไม่ดี
แต่ท่องเที่ยว ให้คิดว่าจะตายหรือเปล่า วัคซีนจะมาช่วงไหน มาช้าหรือเร็ว
ไม่ว่าอย่างไร วัคซีนก็จะมา สมมติมาช้าสุด5ปี
ท่องเที่ยวจะกลับมาไหม ผมคิดว่า โรงแรม ถ้าโดนหนักและผ่านไปได้
จะเหมือนช่วงน้ำท่วม แล้วไปซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ ปิดสนามบิน ไปซื้อหุ้นสนามบิน
ถ้าฟื้น ก็จะกลับมาแรง ถือเป็นหุ้นturnarround รอการฟื้นตัว

ตอนนี้ผมคิดว่า ธนาคาร อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าไม่ล้มแน่นอน
ตัวโรงพยาบาล ลงมารอบนี้ บางรพ PE 10ปลายๆ หรือ 20 เท่า
จุดนี้น่าสนใจ ลองไปดูว่า ชอบตัวไหน

3.หุ้นที่ได้ประโยชน์
3.1 ธุรกิจบริหารหนี้ ทั้งกลุ่มน่าสนใจ
3.2 ถุงมือยาง
3.3 อิเลคทรอนิคส์
หุ้นในกลุ่มนี้ตัวแรกที่งบออกมา ยอดขายโต40% Y-Y 17,000 ลบ
ซึ่งปีที่แล้วฐานไม่ต่ำเลย 12,000ลบ ใกล้เคียงกับ Q2 ซึ่งโตเกือบ100%
เหตุผลจากการโต cloud storage และ data center อันใหม่คือ รถยนต์ไฟฟ้า กำไรโตสามเท่า
รอบที่แล้ว ก็เกิดแบบนี้ แล้ว หุ้นที่เหลือก็ขึ้นตามมา

3.4 หุ้นกลุ่มไอที ส่วนใหญ่ขึ้นมาแล้ว ได้ประโยชน์และคนเริ่มเห็น ทำให้ความน่าสนใจลดลง

4. หุ้นเติบโตที่รอปรับฐาน
หุ้นกลุ่มเติบโตที่ตลาดให้ราคาไปแล้ว อนาคตอีก5ปียังดีอยู่ ก็น่าสนใจ

5. ตลาดที่มองข้ามไป
แต่ผมยังหาไม่เจอมาเดือนสองเดือนแล้ว
สี่ปีที่ผ่านมา หาหุ้นเติบโตได้ แต่ตอนนี้ที่เห็นก็ขึ้นมาหมดแล้ว
อาจต้องหยิบหุ้น Laggard หรือ หุ้นวัฐจักร มาลองติดตามดู

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 07, 2020 6:43 pm
โดย amornkowa
Efin Seminar
Better Trade. Symposium

ช่วง ลงทุนต่างประเทศกับลงทุนศาสตร์ในหัวข้อ
หุ้นนอก ทางรอด ทางเลือก

ผมได้ฟังและสรุปจากความเข้าใจ
ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ

เบส ได้ย้ายจากลงทุนในไทยไปต่างประเทศในช่วงปี2018
โดยไปลงในตลาดหุ้นสหรัฐและฟิลิปปินส์

ปัจจัยที่น่าสนใจสำหรับการวิเคราะห์ว่าประเทศน่าลงทุนมาจาก2ปัจจัย
1.GDP per capita หรือรายได้ประชากรต่อหัว
2.GDP GROWTH

สถานการณ์แรก
ถ้า Gdp per capita สูง Growth ต่ำ เช่น US,EU,Japan
หุ้นที่น่าลงทุนเป็นแบบ Global stock ซึ่งบริษัทผลิตและไปขายทั่วโลก
เช่น Apple เป็นต้น หรือลงทุนIndex stockก็ได้

สถานการณ์ที่สอง
ถ้า Gdp per capita ต่ำ แต่Gdp growth สูง เช่น ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม
ก็หาหุ้นที่growthหรือvalueลงทุนได้

สถานการณ์ที่สาม
ถ้าGdp per capita ต่ำ Growth ต่ำด้วย
เช่น ไทย ก็สามารถหาหุ้นที่Growth ลงทุนได้

อย่างไรก็ตาม การที่จะไปลงทุนในต่างประเทศนั้น
แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
เช่น ไทย ค้าปลีกจะโต แต่US แต่ละพื้นที่ห่างกัน และขายสินค้าเฉพาะอย่าง
E-commerce จะเติบโต เพราะเลือกshopที่เดียวได้เลย

ดังนั้นควรศึกษาก่อนลงทุน

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 01, 2020 8:08 pm
โดย amornkowa
สัมมนา AIA WEALTH FORUM 2020
อีกขั้นของความมั่นใจ สู่เสถียรภาพแห่งการลงทุน

คุณ กฤษณ์ จันทโนทด CEO ภาคประเทศไทย กล่าวเปิดงานสัมมนา

หลังจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงสัมมนา

วิทยากร รศ ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา นักลงทุนVI และ กูรูด้านการลงทุน
คุณสุขวัฒน์ ประเสริญยิ่ง หรือ คุณเอ๋ OSK105 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ เอไอเอ (ประเทศไทย)
ดำเนินรายการโดย คุณ ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ เอไอเอ เพรสทีจ แอมบาสเดอร์

คุณเอ๋ เกริ่นขึ้นมาก่อนว่า ตลาดหุ้นสหรัฐ ทำnew high แต่คนติดCovid-19 ก็new high เหมือนกัน
กว่าวัคซีนจะมาเมืองไทย เข็มแรกน่าจะมาช่วง 2H 2021 ซึ่งน่าจะทำให้คนมาเที่ยวไทยมากขึ้น
แต่ถ้ามาเร็วหน่อย คือ มีค 64 เลย ตลาดหุ้นอาจตอบรับเด้งขึ้นทันที
แต่ถ้า Fund Flowยังไหลเข้าต่อเนื่องทั้งภูมิภาค ตลาดหุ้นยังขึ้นต่อ ถึงแม้ผลประกอบการยังไม่ดี
ดังนั้น เราสามารถดูจากปัจจัยสองอย่างคือ
1. Fund Flow ของต่างชาติ
2. Gap ระหว่าง Fundamental , Market

คุณเอ๋พูด Unit link (ซึ่งเป็นสินค้า ประกันควบการลงทุน ที่เอไอเอ ออกมาเป็นเจ้าแรกกว่า 10ปีแล้ว)
โดย Unit link ที่เป็น Regular premium (ซึ่งเป็น Unit link ที่ซื้อลงทุนทุกปี) ดีตรงที่ค่อยๆ
ซื้อไปเรื่อยๆ ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำมากๆ ต้นทุนในการเสียโอกาส ทำให้เข้าไปซื้อ Risk Asset
เช่น หุ้น หรือ หุ้นกู้
ช่วง มีค ถึง พค 2563 AIA ได้ซื้อหุ้นกู้ Offshore ได้ credit spread 500 basic point
ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนที่เยอะมาก
ส่วนการเลือกหุ้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกโดยใช้พื้นฐาน เช่น เลือกหุ้นที่มี Dividend Yieldดี

ดร ไพบูลย์ บอกว่า เห็นหัวข้อแล้ว ยังสงสัยว่า จะมีคนมาฟังไหม
แต่ถ้าเปลี่ยนหัวข้อ เป็น ลงทุนอย่างไรให้รวย หรือ รวยทางลัด จะน่าสนใจกว่า
ดร แนะนำว่า วิธีการลงทุน นั้น แนะนำวิธีการลงทุนแบบ DCA ดีที่สุด
ดร บอกว่า หลังจาก โจ ไบเดน ได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดี สหรัฐ
แล้ว หุ้นขนาดใหญ่ก็ไหลตามตลาดขึ้นสูงไปอีก
แต่port ดร ไม่ได้ขึ้นตามตลาด เพราะไม่ได้ถือหุ้นใหญ่ไว้
ตอนนี้หุ้นที่ไม่ขึ้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดเล็ก
ส่วนหุ้นที่ขึ้น เป็นหุ้นขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง
ตอนนี้portใกล้เคียงกับช่วงที่ก่อนเจอ Covid-19
สัดส่วนในการถือหุ้น ใกล้เคียงกันตลอด
ดร ไพบูลย์ ชอบพูดการวางแผนทางการเงิน
ดร ไม่ชอบเรียกว่าเล่นหุ้น แต่จะเรียกว่า การลงทุนในหุ้น
วิกฤตทุกครั้ง ไม่เคยเอาเงินออก แต่อาจจะมีการลดสัดส่วนเงินสด
และไปเพิ่มในส่วนหุ้น เงินสดต้องไม่น้อยกว่า5%ของport

คุณเอ๋ พูดถึงการเปิดตัว บลจ ในเดือน สค 63 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดูแลลูกค้า
เราเป็นส่วนนึงของ AIA ประกันชีวิต ที่ดูแลเงินจากลูกค้า 900,000 ลบ
เราเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของไทย อันดับ3ของประเทศไทย
เรามีสาขาของเอไอเอใน 18 ประเทศ ทั่วทั้งเอเชียให้คำปรึกษากับลูกค้า
เรามีเงินลงทุนกว่า 900,000 ลบ และมี partner จากต่างประเทศ
เช่น BlackRock , Billies Giftford ในการลงทุนในต่างประเทศ
เรามีเทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการสั่งคำสั่งซื้อ ขาย มา3-4 ปีแล้ว
เรามี ดร แอนดรู ทำ due diligentกับ บลจ ต่างๆทั่วโลก เพื่อเช็คว่า
ที่บลจ พูดไว้ กับ ที่ทำจริง ตรงกันหรือไม่ และดูเสถียรภาพของทีมงาน คนเก่งๆจะไม่หนีไป

เป้าหมายเราคือการบริการลูกค้า
Unit Link ถือระยะยาว นับเป็น long term investment แบบหนึ่ง
ซึ่งมีการถัวเฉลี่ยเป็นรายปี สำหรับ Regular premium
ในต่างประเทศ สามารถจัดพอร์ตให้ลูกค้าได้
สำหรับในประเทศไทย กลต อนุญาตให้ตั้งเป็น บลจ และมีทรัสตีคอยverify ว่าคิดคำนวณNAVถูกต้องหรือไม่
ตั้งแต่ปี2535 (ที่เริ่มจัดตั้งบลจ อย่างเป็นทางการ)
ลูกค้ามั่นใจในกระบวนการที่ต้องผ่านการอนุมัติจาก2หน่วยงานรัฐคือ คปภ และ กลต
และ Fund manager ที่นี่จะทำงานกันเป็นทีม

ดร ไพบูลย์ พูดถึงเกณฑ์พิจารณา ว่า บลจ เอไอเอ ดีหรือไม่
มีมืออาชีพดูแล อันนี้ผ่าน มีคุณเอ้ สุขวัฒน์ มาดูแล ซึ่งมีประสบการณ์บริหารกองทุนมายาวนาน

ส่วนเกณฑ์ในการพิจารณาว่า บลจ ไหนดี ดูจาก
1.บลจ ไม่ใหญ่เกินไป ไม่เช่นนั้น การเคลื่อนไหวยากในส่วนตราสารทุน
2.บลจ ต้องไม่เล็กเกินไป เพราะอำนาจต่อรองน้อย บลจ เอไอเอ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ3 รองจากของรัฐ
3.มีสินค้าหรือproductที่ออกมาตรงกับที่อยากได้ เช่น กองที่ดู ลงในหุ้นที่ตัวเองชอบ
หรือ ลงตราสารหนี้ที่คิดว่าปลอดภัย ไม่มีตราสารหนี้เอกชนที่มีความเสี่ยง

ดร ไพบูลย์ ได้วิเคราะห์ บลจ เอไอเอ ว่ามีข้อดีอย่างไร
1.มีเครือข่ายในต่างประเทศ หรือ มี partner ที่ดี ดร ไพบูลย์ ลงทุนต่างประเทศกับ Wellington เยอะสุด
ซึ่ง เป็นหนึ่งในpartner ของ บลจ เอไอเอ และ ถูกออกแบบกองทุนให้เหมาะกับ Unit Link
2.บลจ เอไอเอ ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดตั้งกองทุนสำหรับคนถือ Unit Link ซึ่งตรงกับความต้องการลงทุน
3.AIA Unitlink ทำให้คนมีวินัยในการลงทุน ซึ่งต้องลงทุนทุกปี ( Regular Premium )
4.บลจ เอไอเอ มีจำนวนกรมธรรม์ มากพอที่จะจัดตั้งกองทุน
5.มีเจ้าหน้าที่ หรือ ตัวแทน ในการดูแล สื่อสารกับผู้ถือกรมธรรม์ Unitlink
ส่วนข้อที่ ดร ไพบูลย์คิดว่าไม่ดี หรือ สงสัย มีดังนี้
1.ไม่รู้ค่า Fee แพงไหม เทียบกับ บลจ อื่น
คุณเอ้ ตอบว่า ค่า Fee เราถูกกว่าที่อื่น ถ้าเป็นกองในประเทศ จะถูกกว่า 0.5%
แต่ถ้าเป็นกองต่างประเทศ จะถูกกว่า 0.75%
2.ถ้าบลจ เอไอเอ ทำได้ดี บลจ อื่นจะทำตาม
3. ทำสำหรับตัวเอง ไม่ได้ทำเพื่อส่วนรวม
ดังนั้น ดร แนะนำว่า ถ้าเจอกองทุนดีๆ ต้องอยู่กับบลจ นั้นๆให้นานๆครับ

การลงทุน มีสองแบบ คือ เก็งกำไร และ ลงทุนนานๆ เช่น ลงทุนกับบ้าน หรือ ลงทุนกับ AIA
รูปแบบการลงทุนมีสองแบบ
1.บริหารหุ้น หรือ ซื้อหุ้นเอง
2.จ้างคนอื่นบริหาร
2.1 จ้างคนมาบริหาร ท้ายสุดเห็นไม่ตรงกัน ทะเลาะกัน
2.2 บริหารด้วยมืออาชีพ เช่น บลจ , Private Fund

ดร ไพบูลย์ สอนที่ นิด้า มา 37 ปี สอนวิชาการลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่เลวร้ายสุด
เพราะสอนให้คนโลภ
ดร จะแนะนำคนที่รู้จักที่ไม่มีความรู้ด้านการเงิน ให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมจะเหมาะสมกว่า
ซึ่ง กฏเกณฑ์ในการควบคุม บลจ เข้มงวดที่สุด

ดร จะบริหารการลงทุนเอง แต่พอจะไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะGDP เติบโตดีกว่า เช่นที่เวียดนาม
ก็จะเลือกบลจ ที่ไว้ใจ คือ Wellington

ดร สุวรรณ วลัยเสถียร เคยพูดในรายการ Money Talk ว่ามี3อย่างที่ห้ามทำ
1.เล่นพนัน
2.ยาเสพติด
3.การค้ำประกัน
ดร ไพบูลย์ เติมข้อ 4 ว่า อย่าลงทุนหุ้นด้วยตนเอง

คุณเอ๋เคยบริหาร Private Fund 35 ราย รายที่ขนาดใหญ่สุด ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท
จนตอนนี้เหลือบริหารที่ บลจ เอไอเอ ที่เดียว
กองที่เปิดใหม่ไปลงต่างประเทศ 3 กอง รวมกับกองเก่า คิดเป็น 8 กอง
และจะเปิดอีก 3 กอง แต่จะไม่มีลงทุนในสินทรัพย์เฉพาะบางSector เช่น ทองคำ น้ำมัน
จะเลือกเปิดกองที่สามารถอยู่ได้ตลอดไป
ดร ไพบูลย์ แนะนำ ให้ลงทุนกองทุนน้อยกอง เช่น ลงกับ บลจ เอไอเอ

Q: การวางแผนทางการเงิน Unitlink ถือเป็นทีมฟุตบอล ซึ่งได้กระจายความเสี่ยงไปแล้ว
ดีกว่าในอดีตเมื่อวานนี้อย่างไร ดีกว่าการเอาเงินไปซื้อ พันธบัตร หุ้น หรือกองทุนรวมอย่างไร
A: ดร ไพบูลย์ เน้นเรื่องความสบายใจ เป็นสิ่งสำคัญ
การเจ็บป่วย สามารถใช้ประกันชีวิตมาลดค่ารักษาพยาบาลได้

ช่วงสุดท้ายของรายการ
คุณเอ๋บอกว่าเราไม่ใช่คนหน้าใหม่ บริหารเงินลงทุนของ เอไอเอมา 10 ปี
สินทรัพย์กว่า 900,000 ล้านบาท
และได้เสริมทีมงานมาเป็น 14 คน
มีทีม Risk Management และเสริม Fund Manager อีก3คน
รวมถึง ทีมงานจาก 18ประเทศทั่วโลก ใช้อัลกอริทึม เทรดมา 3-4 ปีแล้ว แต่มี Centralization ที่สิงคโปร์

ส่วน ดร ไพบูลย์ บอกว่า ชอบโครงสร้าง ของ เอไอเอ
ฝ่ายบริหารพยายามพัฒนาproduct ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ขึ้นกับฝ่ายอื่นๆ

ดร ไพบูลย์ ได้ยกเรื่องที่พระพุทธเจ้า ซึ่งเคยกล่าวว่า ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้แก่
1.แก่ วันนึงเราต้องแก่กันทุกคน เจ็บไข้ ก็เป็นธรรมดา
2.พลัดพรากจากของที่รัก ,
3.หลีกเลี่ยงความตายไม่ได้
ก่อนนอนคืนนี้ สมมติว่าเราตาย อะไรบ้างที่เรายังไม่ได้ทำเลย
ให้ไปทำสิ่งนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่คาใจ

สุดท้าย ขอขอบคุณ เจ้าภาพ บลจ เอไอเอ คุณ เอ้ คุณ ณัฐธีร์ แล ดร ไพบูลย์ มากๆครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 04, 2020 11:32 pm
โดย amornkowa
" สรุปแก่นการลงทุนแนวพื้นฐานของพี่โจ ลูกอิสาน "

แนวทางของพื้นฐาน <VI> คือ เราไปซื้อของต่ำกว่ามูลค่าแล้วมาขายในราคาเต็มมูลค่า ส่วนต่างคือกำไร ยิ่งซื้อได้ในราคาต่ำเท่าไรก็ได้กำไรมากเท่านั้น VI ตัวจริงจึงไม่สนใจเรื่องราคาหุ้น แต่ให้ความสำคัญกับ “พื้นฐานธุรกิจ” และ “มูลค่าของบริษัท” ที่จะซื้อมากกว่า ซึ่งการลงทุนนี้สมเหตุสมผล

.

โดยพี่โจยังได้แบ่งหัวใจหรือแก่นของVI สั้นๆแต่ครอบคลุมไว้ 4ประการ

.

1. ต้องคิดว่าหุ้นเป็นธุรกิจ ถ้าบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีกำไรดี ราคาหุ้นก็จะดีตามไปเอง เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนสามารถทำนายกำไรของบริษัทได้ ก็ย่อมคาดการณ์ราคาหุ้นได้ <ราคาหุ้นจะแปรผันตามกำไรที่เติบโตของบริษัท>

2. หามูลค่าที่จริงของกิจการให้ได้ โดยต้องเตือนตัวเองเสมอว่า ราคาหุ้นบนกระดานไม่ได้บอกมูลค่าที่หุ้นนั้นๆว่าถูกหรือแพง <หุ้น2บาทไม่ได้แปลว่าถูกและหุ้น50บาทไม่ได้แพงกว่าหุ้น2บาท>

3. ซื้อในราคาที่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย หรือ Margin of Safety
อย่างน้อย 30% <หากเจอหุ้น9บาท แต่คิดว่าหุ้นจะไป10บาทมีUpside12% แต่ถ้าผิดพลาดกลับมีDownside50% แบบนี้ก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน>

4. เราต้องแยกตัวออกจาก “อารมณ์ของตลาด” ให้ได้แล้วเอาชนะตลาดด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ซึ่งในโอกาสเช่นนี้ บ่อยครั้งเป็นโอกาสให้ซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตก <หากเราเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ตลาดที่พอตลาดดีเราก็ซื้อ พอตลาดตกแรงกลัวก็ขายก็ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จ>

.

สำหรับหลักเกณฑ์ในการขายหุ้น คือ

.

1. เราเจอหุ้นที่ดีกว่า ในขณะที่หุ้นในมือมีUpsideน้อยกว่า ก็พิจารณาขายเพื่อเข้าลงทุนหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่า

2. หุ้นที่ถืออยู่หรือกิจการนั้นมีพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงอย่างถาวร ซึ่งแม้จะขาดทุนเราก็ต้องยอม การหาเรือใหม่ง่ายกว่าการอุดรอยเรือที่รั่วเสมอ

3. หุ้นขึ้นจนถึงราคาสมเหตุสมผล หรือมูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณไว้ ซึ่งบ่อยครั้งหุ้นก็วิ่งต่อจากที่ขาย ก็คิดให้คิดว่าแบ่งให้คนอื่นกำไรบ้างก็จะได้สบายใจ

.

เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด…
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย…
พอมองเห็นลางลาง อยู่ทางปลาย…
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ…

.

สุดท้ายพี่โจอยากให้อดทนลงทุนให้สมการการทบต้นทำงาน อย่าพึ่งดึงกำไรออกมาใช้ "ผมได้นั่งอยู่ใต้ร่มไม้ในวันนี้ เพราะผมได้ปลูกต้นไม้ไว้เมื่อ10ปีที่แล้ว "

.

#นักลงทุนหมายเลข6

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 04, 2020 11:38 pm
โดย amornkowa
สวัสดีทุกท่านครับ ตอนนี้ผมสรุป Oppday ของรอบไตรมาส 2/20 เรียบร้อยแล้ว เลยจัดรวม Pack สรุป Oppday ฉบับ Pocket 40 ตอน 40 บริษัท เผื่อใครอยากกลับไปอ่านทบทวน หรือท่านไหนที่เราเพิ่งรู้จักกันไม่นาน ลองกลับไปอ่านได้นะครับ สามารถกดอ่านบริษัทที่ท่านสนใจได้ตาม LInk เลยครับ
.
รอบงบการเงินประจำปี 2019
ตอนที่ 1 MINT https://bit.ly/2Y0Ujpr
ตอนที่ 2 CENTEL https://bit.ly/2Xxoy8H
ตอนที่ 3 SEAFCO https://bit.ly/3cwdP2x
ตอนที่ 4 AU https://bit.ly/3mIN6oV
ตอนที่ 5 CRC https://bit.ly/2TITDU5
ตอนที่ 6 BCH https://bit.ly/2zQYkoI
ตอนที่ 7 GLOBAL https://bit.ly/2BxvBWk
ตอนที่ 8 JAS https://bit.ly/2Xu0mE1
ตอนที่ 9 COM7 https://bit.ly/3dxPaM5
ตอนที่ 10 BGRIM https://bit.ly/3gLGDHw
ตอนที่ 11 TM https://bit.ly/2Mvov6O
ตอนที่ 12 HMPRO https://bit.ly/2MuRGH6
ตอนที่ 13 SAPPE https://bit.ly/2XWU2UA
.
รอบงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2020
ตอนที่ 14 ADVANC https://bit.ly/2U9mv8E
ตอนที่ 15 OSP https://bit.ly/306wEqv
ตอนที่ 16 SABINA https://bit.ly/2MpmPMi
ตอนที่ 17 CPALL https://bit.ly/3gUzAw7
ตอนที่ 18 PSH https://bit.ly/2AzHMBA
ตอนที่ 19 RBF https://bit.ly/2Mug9N2
ตอนที่ 20 BAFS https://bit.ly/2z6Bvgi
ตอนที่ 21 TQM https://bit.ly/2ZXTss2
ตอนที่ 22 ORI https://bit.ly/2HRqZh1
ตอนที่ 23 PTG https://bit.ly/30Hluak
ตอนที่ 24 EA https://bit.ly/3g0EhUl
ตอนที่ 25 WHAUP https://bit.ly/3jGv6La
ตอนที่ 26 NWR https://bit.ly/300ADV9
ตอนที่ 27 RS https://bit.ly/3jF1uxz
ตอนที่ 28 ILM https://bit.ly/2P2yku9
.
รอบงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2020
ตอนที่ 29 DELTA https://bit.ly/35QkMdm
ตอนที่ 30 ZEN https://bit.ly/3jPOa8u
ตอนที่ 31 PTTEP https://bit.ly/2HJhwsr
ตอนที่ 32 DOHOME https://bit.ly/32j741V
ตอนที่ 33 XO https://bit.ly/3encEFe
ตอนที่ 34 TEAMG https://bit.ly/3mF9nUz
ตอนที่ 35 STGT https://bit.ly/3jPOnZk
ตอนที่ 36 APP https://bit.ly/380BNV2
ตอนที่ 37 KTC https://bit.ly/386jGx3
ตอนที่ 38 TNP https://bit.ly/35QSxvb
ตอนที่ 39 TTW https://bit.ly/383MJ46
ตอนที่ 40 HTC https://bit.ly/3mK1OvE
.
ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่เริ่มเขียนสรุป Oppday ก็ได้รับการตอบรับที่ดีตลอดมา ต้องขอบคุณทุกท่านจริงๆที่ติดตามอ่านมาตลอดนะครับ ดีใจที่หลายๆคนชอบ ถ้ายังได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่องผมก็คงจะเขียนไปเรื่อยๆครับ เอาให้ครบ 100 ตอนไปเลย! 555+
.
ตอนนี้งบไตรมาส 3 เริ่มทยอยออกมาแล้ว เดือนนี้บริษัทต่างๆก็จะกลับมา Oppday อีกครั้งครับ เดี๋ยวผมจะกลับมาสรุปให้อ่านเหมือนเดิมน้า หรือถ้าเพื่อนๆสนใจอยากให้สรุปบริษัทไหน สามารถ comment มาบอกกันได้เลย ฝากติดตามนะครับ : )
.
และอย่างที่บอกทุกๆท้าย Content ว่าการเขียน Oppday เป็นการสรุปข้อมูลให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมธุรกิจตามที่บริษัทนำเสนอเท่านั้น + มุมมองส่วนตัวของผมเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องศึกษาเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเองครับ
Pocket investor

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 09, 2020 3:53 pm
โดย amornkowa
ต่างชาติลุยหุ้นไทยเพิ่มขึ้น รายย่อยควรทำอย่างไร

จะเห็นได้ว่าต่างชาติลุยหุ้นไทยซื้อเพิ่ม40,000กว่าล้านบาท
และคนที่ขายคือรายย่อย

ดัชนีวันนี้แตะ1,500จุดแล้วย่อลง

ในฐานะนักลงทุนควรทำอย่างไร
สังเกตอย่างนึงไหมว่าอะไรวิ่งตามการซื้อของต่างชาติ
ค่าเงินบาทรับ

เงินบาทตอนนี้แข็งมาก เพราะเวลาต่างชาติซื้อต้องแลก$เป็นเงินบาท
ทำให้มีความต้องการเงินบาทเพิ่มขั้น
ตามหลักDemand ,Supply
ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจนต่ำกว่า30บาทต่อ$

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าต่างชาติจะออก
ก็มาดูค่าเงินว่าจะอ่อนลงเมื่อไหร่ก็เตรียมตัว
เพราต่างชาติได้กำไรจากค่าเงินสัก10%รวมถึงกำไรจากตลาดหุ้นสัก10%
กองต่างประเทศที่มาลงทุนแบบฉาบฉวยก็คงขายออกแล้วครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 05, 2021 11:36 pm
โดย amornkowa
โจ ลูกอีสาน เขย่าพอร์ตลุยหุ้นใหญ่ จากรายการ Money Chat Thailand
Cr:Stock in trend
-----

พี่โจไม่รู้สึกหวั่นไหวที่ตอนนี้ตลาดกำลัง panic เรื่องโควิดโควิด ซึ่งที่จริงแล้วการลงทุนระยะยาวจะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่า โดยที่เราไม่ต้องสนใจความผันผวนระยะสั้น ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่มักชอบซื้อตอนแพงแล้วไปขายตอนที่ panic แบบนี้ไม่น่าจะประสบความสำเร็จได้

ส่วนปี 2564 เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นมาก พี่โจให้ความเห็นว่าน่าจะกลับไปสู่ก่อนเกิดโควิดได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นไปได้ต่อหรือเปล่า ต้องทำการบ้านหนักมากขึ้นเพื่อเฟ้นหาหุ้นที่ดี วัดกันที่มุมมองที่เฉียบแหลมในการซื้อหุ้น

ส่วนช่วงนี้ หุ้นมันเด้งกลับขึ้นมา 70-80% แล้ว มี upside เหลืออีกนิดหน่อย ซึ่งพี่โจคิดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาปกติน่าจะปี 2565 พี่โจแนะนำว่าเวลาที่ซื้อหุ้นดีที่สุด คือ ตอนที่ทุกคนไม่กล้ามาก เหมือนฝุ่นตลบอยู่มองอะไรไม่ชัด เพราะว่าถ้ารอทุกอย่างชัดเจน เราจะซื้อไม่ทัน

ตอนนี้นักลงทุนสถาบันเข้ามาเป็นตัว lead ในตลาดอีกครั้ง ซึ่งหุ้นที่พวกเขาเลือกจะเป็นหุ้นขนาดกลาง-ใหญ่ มีสภาพคล่องสูงและเป็นหุ้นเติบโตด้วย การที่พี่โจมีมูลค่าพอร์ตเริ่มสูงมากจนไม่สามารถจะซื้อหุ้นเล็กได้ ทำให้พี่โจต้องโยกเงินจากหุ้นเล็กหลายๆตัวมาลงทุนในหุ้นกลาง-ใหญ่มากขึ้น ถือนานหน่อยและรอดูการเติบโตของบริษัท

พี่โจคาดหวังการเติบโตของกำไรในหุ้นกลาง-ใหญ่อยู่ที่ 15-20% แต่ขอให้ทำกำไรแบบนี้อย่างยั่งยืนด้วยจะดีกว่า

พี่โจแยกว่าถ้าหุ้นที่มี Market cap มากกว่าแสนล้านบาทเป็นหุ้นใหญ่ ส่วนหุ้นที่มี Market cap มากกว่า 1-2 หมื่นหุ้นจะถือเป็นหุ้นกลาง

-----

พี่โจมีความเห็นเรื่องหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวว่าน่าจะเป็นวิกฤติชั่วคราว แต่ก็ต้องดูว่าแม้ว่าธุรกิจจะรอดแต่ไม่รู้ว่าจะโตอีกหรือเปล่า หรือบางธุรกิจอาจจะตายไปเลยก็ได้เพราะทนวิกฤติครั้งนี้ไม่ไหว พี่โจจึงหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มนี้ไปก่อน

พี่โจไม่ได้แยกชัดเจนว่าหุ้นไหนเป็น value stock หรือ growth stock แต่พี่โจมองว่าถ้าหุ้นตัวไหนมีราคาต่ำกว่ามูลค่าจะถือว่าเป็นหุ้น vi ทั้งหมดแล้วค่อยมาดูว่ามี growth หรือไม่ พี่โจบอกว่าหุ้นที่ growth ถือว่าเป็น value แบบหนึ่ง

พี่โจยังชื่นชอบหุ้นกลุ่มปล่อยสินเชื่ออยู่ บางตัวซื้อขายที่ P/BV ต่ำๆอยู่ ปันผลสูง

พี่โจให้ข้อสังเกตว่าช่วงที่เราจะเข้าไปเก็บหุ้น อาจจะเป็นตอนที่กองทุนขายออกมาจากเหตุการณ์ต่างๆที่ตกใจ จะทำให้เรามีโอกาสและต้นทุนที่ดีกว่ากองทุนได้นั่นเอง

พี่โจใช้ TFEX ในการทำ hedging มากกว่าการเก็งกำไร

-----

พี่โจทำสรุปผลตอบแทนปีนี้ชนะตลาด เนื่องจากพี่โจใช้วิกฤติโควิดเป็นโอกาสในการทำผลตอบแทนรอบนี้

การคิดและวางแผนตอนวิกฤติ เราจะไม่มีสมาธิเพราะตอนนั้นจะมีแต่อารมณ์เต็มไปหมด เราควรวางแผนและเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ

-----

พี่โจพูดถึงการซื้อหุ้นปันผลเหมือนการซื้อแม่ไก่แล้วรอออกไข่นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัญหาของคนยุคนี้ คือ คนที่จะมาใช้กลยุทธิ์นี้ยังไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้งมากพอ ดังนั้นพวกเขาอาจจะมาซื้อหุ้นปันผลสูงในบางปี แต่กำไรที่บริษัททำได้นั้นเริ่มแย่ลงเรื่อยๆจน capital gain ก็ลดลงด้วย อันนี้อันตรายมาก ซึ่งเราต้องประเมินให้ได้ว่าปันผลนี้จะได้สม่ำเสมอหรือไม่ กำไรที่บริษัททำได้จะยังดีสม่ำเสมอหรือเปล่า

พี่โจเน้นที่ capital gain มากกว่าปันผล เพราะว่าพี่โจอยากได้หุ้นที่มีการเติบโตอยู่เพื่อสร้างพอร์ต ซึ่งถ้าพอร์ตโตมากขึ้นเรื่อยๆ เงินปันผลที่ได้เล็กๆน้อยๆตอนแรก จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในเวลาต่อมา

Good dividend อยู่ใน good stock ได้ แต่สุดท้ายเมื่อปันผลสูงขึ้นถึงจุดหนึ่ง ราคาจะขึ้นตามเพื่อไม่ให้ปันผลมันสูงขึ้นมากกว่านี้

-----

การจะเป็นนักลงทุน เราต้องรู้จักชนะและรู้จักแพ้ให้เป็น ถ้าเรารู้ว่าผิดทางหรือผิดพลาด ก็ให้ยอมรับและตัดขาดทุนออกไป

ความผันผวน คือ เพื่อนของเรา เป็นสิ่งที่พี่โจอยากบอกไว้กับนักลงทุน VI เพราะฉะนั้นเราควรมี Mindset ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการลงทุน

พี่โจใช้เวลา 7 ปีในการทำเงิน 8 แสนเป็น 10 ล้าน

เป้าหมายถัดไปของพี่โจในเรื่องการลงทุน คือ พัฒนาฝีมือการลงทุนต่อเนื่อง อยู่ในสนามที่ตัวเองถนัดและแบ่งปันเงินไปยังสังคมมากขึ้น เช่น จัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งหรือกองทุนเพื่อช่วยเหลือสังคมให้กับคนที่ไร้โอกาส

โชคดีอาจจะเกิดเป็นครั้งคราว แต่ฝีมือและทัศนคติที่ดีจะทำให้เราชนะตลาดได้ยั่งยืน วิธีการและวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าอาจจะได้ผลที่ถูก แต่นั่นเป็นแค่โชคช่วยเท่านั้นเอง

-----

ขอบคุณคลิปการสัมภาษณ์จากรายการ Money Chat Thailand ครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 11, 2021 12:19 pm
โดย amornkowa
กลยุทธ์วีไอ ตอนที่3 ในปี64
นพ พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี
ดำเนินรายการ โดย อาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
และ อาจารย์ นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

อ นิเวศน์ ถามว่า ปีที่แล้ว เป็นอย่างไร
พี่หมอ เติบโตสองหลัก

ส่วน อ นิเวศน์ บอกว่า เจ็บในปีที่แล้ว หมายถึงเจ็บใจ
ปีนี้ ถามพี่หมอว่าปรับเปลี่ยนอย่างไรในปีนี้

พี่หมอ บอกว่า ผลจากแค่หนึ่งปี ไม่ได้บอกอะไร ไม่มีความหมาย
ต้องดูยาวๆไป ถึงแม้ดีมาหลายปีก็ตาม
ระยะยาว กลยุทธ์ส่วนนึง
มักจะมองไปข้างหน้าสามถึงสี่ปี
ถ้าบริษัทสามารถเติบโตได้ ก็ถือต่อ
หรือ ถ้าเจอบริษัทใหม่ที่ยังโตได้สามปี ก็ซื้อได้
บางบริษัทดูมีปัญหา ก็จะเปลี่ยนโดยขายไปซื้อตัวใหม่
โดย ถ้าบริษัทนั้นกลับมาเมื่อไหร่ ก็จะไปซื้อกลับมา

ปีที่แล้ว ถือหุ้นประมาณ 5-6 ตัว
ไม่ถือเพิ่มเพราะ ถึงแม้มีหลายตัว(10-15)อยู่ในwatch list
แต่ยังไม่น่าสนใจจะซื้อ อาจมาจากราคายังไม่ได้

อ ไพบูลย์ ถามว่า จะถือหุ้นเต็มพอร์ตใช่ไหม
พี่หมอ บอกว่า ปกติก็ถือเต็มพอร์ต รวมถึงณ ขณะนี้
บางครั้งก็อาจมีถือเงินสดบ้าง เพราะมีขายหุ้นบางตัวไป
และรอว่า ราคาได้เมื่อไหร่ก็จะซื้อกลับมา

อ นิเวศน์ ถามว่า มีไปถือหุ้นต่างประเทศหรือเปล่า
พี่หมอ ตอบว่า ไปซื้อกองทุนในเวียดนาม
ซึ่งไม่ใช่สไตด์การลงทุนของพี่หมอ
เพราะว่า มีอุปสรรคในการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ถือเยอะ
เลยซื้อผ่านกองทุนรวม เป็นการเรียนรู้มาระยะนึง
เริ่มจะเข้าใจ Frontier market ex Vietnam
ถ้าวันนึง ตลาดหุ้นไทย ไม่ดีเท่า ก็จะย้ายไปเวียดนามมากขึ้น
ส่วนหุ้นเทคในต่างประเทศ ราคานี้แพงไป เคยซื้อและขายไปแล้ว

อ นิเวศน์ ถามว่าปีน้ีหุ้นไหนน่าจับตามอง
พี่หมอ บอกว่า มีดูอยู่10-15 ตัว ที่เพิ่มmarket share ในขนาดที่ไม่โตมาก
หมายถึงมีroomที่สามารถเพิ่มmarket share
ถ้าดีกว่าตัวเดิม ก็จะเปลี่ยนไปลงตัวใหม่ในwatch list
กลุ่มน่าสนใจ คือ กลุ่มอาหาร ค้าปลีก ธุรกิจตัวแทน
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เริ่มกินmarket shareบริษัทอื่น
และต้องมีroomที่จะสร้างmarket shareได้อีก เช่น มีแค่10-15%
สามารถโตไปที่ 30-40% ได้ เป็นบริษัทที่น่าสนใจแล้ว
แต่ถ้าบริษัทไหนที่มี market share 70% แล้วก็โตตามตลาดจะไม่สนใจ
ดังนั้น ไม่ขึ้นกับว่า บริษัทเล็กหรือบริษัทขนาดใหญ่

อ ไพบูลย์ ถามว่า เน้นหุ้นวีไอ หรือ หุ้นเติบโต
พี่หมอ บอกว่า เปรียบเทียบหลายอย่าง
หุ้นวีไอ ต้อง Deep value. มาก เช่น มีมูลค่าตำ่กว่า50% ลงทุน3ปีน่าสนใจ
ส่วนหุ้นเติบโต จะซื้อตอนที่มีปัญหา จะดูน่าสนใจที่สุด ถ้าราคาแพงก็รอ
เรื่องสภาพคล่อง ก็ดู ถ้าmarket cap ต่ำกว่า 10,000 ลบ ไม่น่าศึกษา
ดังนั้นหุ้นที่พี่หมอสนใจ จะมี market cap มากกว่า 10,000.ลบ
หรือ บริษัทที่มี market cap 4,000 ลบแต่จะโตมากกว่า 10,000 ลบ ก็ได้
หุ้นที่มี PB ต่ำ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษามาก่อน ก็จะไม่กล้าซื้อ
เพราะเราประเมินมูลค่าไม่ถูก ความสามารถเราไม่พอ ต้องยอมผ่าน
ไปดูหุ้นที่เราศึกษาดีกว่า

อ นิเวศน์ ถามถึงวิธีในการศึกษา
พี่หมอ บอกว่า บางธุรกิจที่ไม่ยาก ก็ดูผ่านopp day
แต่บางธุรกิจที่ยาก ก็หาโอกาสไปพบและพูดคุยกับผู้บริหาร

อ นิเวศน์ ถามหุ้นในwatch list เป็นหุ้นเดิมใช่ไหม
พี่หมอบอกว่า ก็มีตัวใหม่ เพราะบางบริษัทที่มาIPOใหม่
หรือบริษัทเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งพี่หมอ ทำเท่าที่ทำได้ เพราะทำคนเดียว ไม่สามารถสกรีนได้มากกว่า 15ตัว

อ ไพบูลย์ บอกว่า กลยุทธ์ ของพี่หมอ ถ้ารู้จักจริงๆ จะถือในสัดส่วนที่มาก
พี่หมอ บอกว่า จริงๆไม่ได้ตั้งใจถือเยอะ แต่ราคาลงมากเกินไป
เราก็ซื้อไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ไม่ซื้อแล้ว
บางตัวมีให้ซื้อทุกปี จนถือเป็นสัดส่วนที่เยอะ
เรื่องการบริหารบริษัทที่ถือ ไม่เคยคิดไปบริหาร
ถ้าผู้บริหาร ทำได้แย่กว่าเรา ก็จะไม่เข้าไปถือหุ้นนั้น

อ ไพบูลย์ บอกว่า พี่หมอ รู้เรื่องรพ ดี แต่ทำไมไม่ถือหุ้น รพ
พี่หมอ ตอบว่า เคยซื้อ แต่ ธุรกิจโตช้า ลงทุนเยอะ รอนานกว่าจะเก็บเกี่ยว
ธุรกิจโตได้ต้องใช้เงินลงทุน ไม่ใช่Growth stockที่น่าสนใจ
นอกจากช่วงนึง ที่รพ ขนาดใหญ่ไปซื้อรพ ขนาดเล็กและโต
หรือช่วงที่ต่างชาติเข้ามารักษาในไทย
ช่วงปกติ รพ กำไรไม่เติบโตเร็วมากนัก
ส่วนเรื่องMega trend เรื่อง Aging Society
เห็นด้วย แต่ควรลงทุนในช่วงที่คู่แข่งเข้ามาได้ยาก
แต่ช่วงนี้ถือเป็น Red ocian ไม่น่าสนใจ

อ นิเวศน์ ถามว่าอุตสาหกรรมไหนน่าสนใจ
พี่หมอ บอกว่า Digital technologyน่าจะมา
แต่ในไทยไม่มี แต่เราสามารถศึกษาบริษัทที่อยู่ในsupply chain
หรือบริษัทที่มีrelate กับบริษัทเหล่านี้
บางsecmentที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์เหล่านี้
มีหลายธุรกิจที่มีขนาดเกิน 10,000 ลบ

อ ไพบูลย์ ถามว่า ปีนี้มองว่านักลงทุนวีไอจะได้ผลตอบแทนดีหรือไม่
พี่หมอ มองว่า ตลาดหุ้นปี64น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว
อัตราดอกเบี้ยต่ำ มีโอกาสเติบโตได้อีก ภาพรวมน่าจะดีกว่าปีที่แล้ว
หุ้นวีไอ ต้องดูเหมือนกัน หุ้นวีไอบางตัว เช่น ท่องเที่ยว ขึ้นมาเร็วเกิน
ปีหน้าจะไปต่อได้อย่างไร
หุ้นสถาบันการเงินก็ขึ้นเร็ว ถ้าหนี้เสียคุมได้ ก็ไปต่อได้
ต้องประเมินว่าหุ้นแต่ละตัวจะขึ้นต่อได้จากผลประกอบการในอีก3ปีหรือเปล่า

ส่วนหุ้นปันผล ไม่ค่อยประทับใจ ได้แต่ปันผล หุ้นไม่ค่อยไปไหน
ธุรกิจที่ปันผลดี โอกาสเติบโตไม่ค่อยมีมาก
ถ้าเราเจอโอกาสดีกว่านี้ หุ้นปันผลถือว่าเป็นทางเลือกที่สอง

ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ สามปีนี้ ยังมองบริษัทไทยยังไปต่อได้
แต่เลยสามปี ก็ไม่แน่ใจว่าไปต่อได้ ดังนั้นอีกสามปีข้างหน้า
อาจเป็นเรื่องจำเป็นต้องออกต่างประเทศอย่างจริงจัง
เช่นบางบริษัทที่กินmarket shareเกือบหมดแล้วจะโตต่อได้อย่างไร
การลงทุนในเวียดนาม ซึ่งคล้ายไทย เลยสนใจลงทุนในเวียดนาม
ซึ่งถือว่าเรารู้จริง เทียบกับหุ้นเทคโน ซึ่งราคาแพงไปเเล้ว
ส่วนจีน ก็กลัวเรื่องรัฐบาลเข้าไปแทรกแซง ถ้าจะลงก็เลือกเวียดนามดีกว่า
เพราะมีโอกาสโตได้มากกว่าไทย

อ ไพบูลย์ ถามว่า นักลงทุนวีไอ เริ่มลงทุนสิบกว่าปี
และพอร์ตใหญ่ ตอนนี้เริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปหาอะไรที่passiveและมั่นคงมากขึ้น
พี่หมอตอบว่า ยังลงทุนเหมือนเดิม ยังพอเห็นธุรกิจเติบโตอยู่
ในอีกสามปี พี่หมอ ยังสนุกกับการลงทุนอยู่
อ ไพบูลย์ บอกว่า พี่หมอ ติดtop5ที่ไม่ได้เป็นนักธุรกิจที่เป็นเจ้าของบริษัท
พี่หมอ บอกว่าเป็นความสุขในการหาบริษัทที่เติบโตและลงทุนไปกับบริษัท
ถือว่าเป็นความสนุก ที่เราเห็นแต่คนอื่นไม่เห็น

สุดท้ายขอขอบคุณ อ ไพบูลย์ อ นิเวศน์ และ พี่หมอพงศ์ศักดิ์ มากๆครับที่มาให้ข้อมูล

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 13, 2021 8:27 pm
โดย amornkowa
กลยุทธ์วีไอปี64 ตอนที่4
คุณพีรนาถ โชควัฒนา

พิธีกรดำเนินรายการ
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร นิเวศน์. เหมวชิรวรากร

อ นิเวศน์ถามว่า อยากให้เล่าภาพในปี63 หลังจากนั้นค่อยเข้าประเด็น
พี่พี บอกว่า เป็นFailureอย่างหนักในช่วงต้นปี63
แต่อยากเล่าย้อนหลังไปในช่วงปลายปี62
ช่วงเดือนพย 62 มีปัญหาคอนโดที่จะต้องโอนปี63เยอะที่สุดในชีวิต
คือประมาณ 13-14 ห้อง แล้วบางโครงการดึงเข้าโอนในเดือน ธค 62
ผมกู้มามากแล้ว ที่โอนใหม่ต้องจ่ายเงินสดหมด
ต้องเสียเงินสดค่อนข้างเยอะ ต้องเอาจากไหนมาโอน
พอช่วงCovidมา ถือเป็นBlack swan เพราะหุ้นที่ถือเยอะสุด
ราคาลงมา ที่ 1.08 บาท อีกตัวราคาลงจาก12 เหลือ 4บาท
ผมใช้marginอยู่แล้ว ก็มีปัญหาหนักมาก
ทำให้คิดถึงอาจารย์เลยว่า ปลายปีที่แล้ว คงไม่ได้ออกรายการแน่
จบชื่อเสียงไปเลย
ส่วน อาจารย์ไพบูลย์ บอกว่าตัวเองอาจต้องปิดรายการMoneytalk
และพอร์ตก็ลดลงไป50%

พี่พีพูดต่อ Ananตอนเข้าตลาดด้วยเกณฑ์ market cap ยังไม่มีกำไรเลย
ตอนเข้าไปช่วงต่ำสุดคือ 1.75 บาท ไม่ได้นึกว่าบริษัทราคาจะลงไปลึกขนาดนั้น
ไม่ได้นึกถึงว่าจะถูกcall หรือ Force sell
ในวันที่หุ้นลงมาเรื่อยๆ ยินดีขายคอนโด และ หุ้นที่ขาดทุน
หุ้นที่ต้องขาย40-50ล้านหุ้น แต่มีBidแค่แสนหุ้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะขายออก
ถ้าขายลงไป ก็ทำร้ายตนเอง เพราะราคาจะลงไปด้วย
เงินสดก็ไม่มีเพราะโอนคอนโดไป 3ห้อง ถ้ารู้ว่ามีปัญหาแบบนี้ก็ทิ้งดาว์นคอนโดไปแล้ว
ดังนั้นเราไม่ได้เตรียมเงินสดไว้ แต่มีหุ้นที่อยู่ในบัญชีเงินสด
เราเตรียมขายเพื่อจะไปโอนคอนโดที่ต้องโอนช่วงนั้น
สิ่งที่ต้องทำ คือ หุ้นที่ถือเป็นตัวเล็ก ไม่สามารถเอาไปค้ำประกัน
ส่วนตัวที่รับ เพื่อโอนไปค้ำประกัน ก็โอนไปแล้ว แต่ก็ยังไม่พอตลอด

คอนโดคิดว่าจะขายได้ไหม ผมลดราคาก่อนเจ้าของคอนโดเสียอีก
คุณบอย ท่าพระจันทร์ โอนขายพระเครื่องง่ายกว่าผมอีก
เลยเข้าใจคนที่คิดฆ่าตัวตาย
ผมเลยมาเล่าในส่วนที่พลาดขนาดหนัก ให้คนในรายการฟัง
ผมไม่มีโอกาสที่ซื้อ แต่คิดว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
นอนไม่หลับมาหลายสัปดาห์
แหล่งแรกสุด คือ ยืมเงินจากครอบครัว แต่ไม่ใช่ทุกคนจะให้ยืม
เลยต้องหาคนที่มาซื้อbiglot ให้ได้ สุขภาพแย่ ต้องalertตลอดเวลา
คุณแม่ส่งคำเทศนามาให้พี่พีฟัง ช่วงนี้เลยได้ฟังคำเทศนา
ในที่สุด คือแก้ปัญหา ใช้สมองแก้ไม่ได้ เลยใช้วิธี
คุกเข่าสวดมนต์ ในที่สุด เราไม่คิดว่าบางคนที่เราไม่คิดรบกวน
ก็มาอาสาแก้ปัญหาให้
เขามาช่วยซื้อหุ้นไป และก็มีคนlineมาถามให้ หุ้นกู้Anan
ปลอดภัยไหม ผมก็ไปช่วยรับประกันให้ ทำให้เราดีขึ้นในเรื่องหุ้น
ทำให้ผมสามารถผ่านสิ่งเหล่านี้มาได้

ทำให้มีเวลาไปอ่าน Why we sleep ที่Bill Gatesแนะนำ
เเละเลื่อนเวลานอนจากตีหนึ่งมานอนสี่ทุ่มแทน
แต่ปัญหาก็ยังไม่หมด ผมก็อธิษฐานทุกวัน และนอนหลับได้เร็วขึ้น
สุขภาพก็ดีขึ้น
ช่วงเดือน มีนาคม และ เมษายน หนักสุด และช่วงเดือนพฤษภาคมก็เบาลงเเล้ว

ปัญหาหุ้นก็เบาลง หลังหุ้นreboundขึ้น ที่มีmarginก็พอซื้อหุ้นได้แล้ว
แต่ปัญหาคอนโดยังไม่จบ จริงๆก็ปล่อยยึดไปก็ได้
แต่ก็ไม่อยากให้ยึดคอนโดไป
อยู่ดีๆก็มีคนมาติดต่อขอซื้อคอนโด แน่นอนครับว่าราคาขายก็ขาย
ขาดทุน30-40% ผมขายก่อน developerอยู่แล้ว
โดยขายคอนโดที่ไม่ชอบ และ โอนคอนโดที่ชอบเก็บไว้โดย
ขายคอนโดที่มีอยู่ไป กำไรบางคอนโดก็ลดลงเยอะมากเทียบกับคนอื่นขายก่อนหน้า
ไม่น่าเชื่อว่าสุดท้ายสิ่งต่างๆที่เจอมา ก็ผ่านไปให้ (ลุ้นแทนพี่พีซะเหนื่อยเลย
ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเจอขนาดนี้ พี่พีไม่เคยเล่าสิ่งเหล่านี้มาเลย)

เหตุการณ์ช่วงเมษายน ที่รอดมาได้ หลังจากรู้จักกับพระเจ้าและอธิษฐานทุกวัน
ตอนที่เคยเป็นกรรมการมา2ปีของบริษัทSinger คนที่ส่งผมไปเป็นกรรมการ
ต้องการเอาผมออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งผมมีความรู้สึกเสียใจมาก
ว่าเราไม่เคยทำอะไรผิดเลย ผมทำเต็มที่ในฐานะกรรมการ
อันนี้อาจเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ไม่เคยใช้marginกับหุ้นSinger
เพราะขี้เกียจมารายงานตลาดหลักทรัพย์ ตอนขายอาจโดนว่า
ผมมานั่งคิดดูว่า เขาไม่ไว้ใจในการมาเป็นกรรมการsinger
แต่คิดว่าsingerเป็นบริษัทที่ดี เลยซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นเยอะเลย
ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ว่า ถ้ายังเป็นกรรมการอยู่ก็คงไม่ได้ซื้อหุ้นนี้เยอะขนาดนี้
โดยใช้marginส่วนนึง และ เงินจากการขายหุ้นAnanส่วนนึง
ตอนนั้น คนที่เลือกซื้อหุ้นระหว่างAnanกับ Jmart เขาเลือกAnan
ผมก็ดีใจว่าทุกคนที่ช่วยซื้อหุ้นbig lotจากผม ทุกคนกำไรหมด แต่ผมขาดทุนคนเดียว
แต่กลายเป็นว่าถ้าตอนนั้น ไม่เคยคิดจะขายหุ้นAnan
แต่พอดีต้องหาเงินสดเลยต้องขายAnanไป
และหลังจากน้ันก็เลือกซื้อหุ้นอีกหลายตัวที่out performมากๆ

พี่พีพูดต่อว่า
กลายเป็นว่า failureของปีที่แล้ว กลายเป็นSuccessful Failure

เจ้าของAmazonเคยพูดไว้ว่า ไม่ต้องกลัวFailure เพราะในที่สุด
เราก็ได้เรียนรู้จากFailure
เมื่อก่อนมีความเกรงใจตอนขายหุ้น หรือ คอนโดออก
แต่ตอนนี้เคยขายหุ้นหรือคอนโด ตอนที่ขาดทุน
เราก็ขายหุ้นหรือคอนโดตอนที่กำไรได้
คุณอดิศักดิ์ จากJmart ก็มาบอกว่า เห็นคุณลงทุน และหุ้นขึ้นลงหลายรอบ
คราวหน้าก็ขายหุ้นไปบ้างก็ได้ ตอนหุ้นขึ้น
ไม่ใช่ถือตลอด ตอนหุ้นขึ้น ลง
ทำให้เราเปลี่ยนไป ขายขาดทุนได้ เปลี่ยนทัศนคติใหม่
ผมได้ตายไปและเกิดใหม่
ทุกสิ่งที่เรามีอยู่ เป็นของพระเจ้า และผมเป็นผู้บริหารแทน
บริษัทหลานปู่ที่บริหารให้ครอบครัว ไม่ค่อยขาดทุน มีการขายตอนกำไร
ตอนนี้พอร์ตตัวเอง จะไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวแล้ว

มุมมองปีนี้จะเปลี่ยนไป ถ้าหุ้นขึ้นไปก็จะขายเพราะผมบริหารไม่ใช่เจ้าของ
ทำให้การตัดสินใจลงทุนดีขึ้น
เมื่อก่อนหุ้นขึ้น ก็เกรงใจเจ้าของ เลยไม่ขาย
ตอนนี้พอร์ตยังลดลงเมื่อเทียบกับพอร์ตปลายปี62
เดือนธค เริ่มคืนหนี้เงินกู้ แต่ยังไม่ได้คืนmargin
ตอนนี้ถ้ามีคนสนใจคอนโดที่ผมไม่ชอบ สามารถขายขาดทุนได้
เพราะมีผ่อนคอนโดสิบกว่าหลัง และยังต้องรอโอนอีก

อาจารย์นิเวศน์ บอกว่า จริงๆแล้ว คุณพีรนารถ รู้จักคนเยอะในวงการการลงทุน
ถ้าบอกว่ามีสินทรัพย์ที่จะขาย ก็มีหลายคนสามารถมาช่วยได้
เพราะกลุ่มวีไอที่รู้จักกันมา ไม่ใช่กลุ่มรู้จักฉาบฉวย สามารถช่วยเหลือกันได้
หุ้นที่เสนอขายเป็นBig lot ก็น่าสนใจซื้อในราคาที่สมเหตุผลตอนนั้น
แต่ที่ผ่านมา คุณพีรนารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
พี่พี บอกว่า หลังจากเหตุการณ์นั้นเเล้ว มีหลายคนพูดเหมือน
อาจารย์นิเวศน์ว่า ไม่รู้ว่าจะเจอหนักขนาดนี้ ไม่งั้นก็สามารถช่วยเหลือกันได้

อาจารย์ไพบูลย์ บอกว่า พี่พีถือเป็นน้อยคนที่มาเผยบทเรียนที่พลาดมา
และมาเล่าหลายครั้งแล้ว
ซึ่งถือเป็นบทเรียนให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่จะได้เรียนรู้และระวังไว้


อาจารย์นิเวศน์ บอกว่า ถือเป็นอุทาหรณ์
นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่เคยเจอแบบนี้ ได้ยินแต่success story

ถามเรื่องกลยุทธ์การลงทุนในปี64จะทำอย่างไร
พี่พีตอบว่า ลงทุนแบบวีไอ ลงทุนในบริษัทที่รู้จัก
ส่วนcommodityก็ไม่คุ้นเคยและไม่อยากศึกษา
ปีนี้น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว
ดูบริษัทที่ช่วงq2 63 ไม่ขาดทุน ช่วงที่แย่สุด ยังมีกระแสเงินสดอยู่
ดังนั้นบริษัทเหล่านี้ ก็สามารถอยู่รอดได้ในปีนี้
บริษัทที่มีPE20-30เท่า ส่วนกลับของpeคือ กำไรคิดเป็น 3.3%สำหรับPE 30เท่า
ถ้าปันผลครึ่งนึง คิดเป็นปันผล 1.7%ก็ไม่เลว
แต่จริงๆพี่พีคงไม่ซื้อหุ้นตอนPE 30 เพราะมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยmargin6%ด้วย
พี่พีซื้อหุ้นที่PE20เท่าก็พอไหว อาจขาดทุนดอกเบี้ยบ้างนิดหน่อย
ดังนั้นปีนี้ยินดีถือหุ้นที่ซื้อตอนPE 20 ถือยาวจนถึง PE 30ได้

หุ้นกลุ่มอสังหา ปีที่แล้วดูดีหลายตัว แต่ตลาดไม่ให้peสูงเลย
อาจมีปัญหาในส่วนของคอนโด แต่ถ้าเป็นส่วนแนวราบ
และราคาต่ำกว่าBook valueเยอะ PEไม่สูงมาก ก็น่าสนใจ
พี่พี ก็ยังมีหุ้นอสังหาอยู่ไม่ได้ขาย เลยต้องbalance port
อาจมีswitchในกลุ่อสังหาด้วยกัน
แต่สินทรัพย์อื่น ไม่ยุ่ง เช่น บิตคอย ทอง
ส่วนหุ้นต่างประเทศ พยายามปิดหูไม่ฟัง ถ้าไปลงทุนก็เป็นฐานคนอื่นแน่
ไม่ใช่เวลานี้ที่จะไปต่างประเทศ
ผมบริหารเงินให้คนอื่นและบริหารให้พระเจ้า กำไร30%คนถือก็appriciateแล้ว

อาจารย์ไพบูลย์ ถามถึงในเเง่มุมมองความเสี่ยง
ปรับให้เข้ากับความเสี่ยงที่ไม่Take risk อย่างไร
พี่พีตอบว่า ก็พยายามขายคอนโดออกไป และก่อนจะซื้อคอนโด
จะตอบถามพระเจ้าก่อนซื้อ

อาจารย์นิเวศน์ ถามว่าจะมีวันที่ลดขนาดพอร์ตลงโดยไม่ใช้marginหรือเปล่า
พี่พีตอบว่า มีโอกาสที่จะลดพอร์ตลง ไม่ใช้marginครับ
แต่ต้องใช้marginช่วงนี้ไปก่อน ไม่งั้นก็ไม่สามารถคืนหนี้ได้
หุ้นธนาคารดูก็ถูก แต่ไม่ได้ศึกษา
หุ้นjmartที่ซื้อ ตอนแรกขายมือถือ ตอนนี้เปลี่ยนไปปล่อยกู้แล้ว
เขามีexprosureค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

อาจารย์ไพบูลย์เสริมว่า คุณพีรนารถบอกว่าไม่เชี่ยวชาญหุ้นกลุ่มอื่นๆ
แต่ตอนเรียนวิศวะจุฬา ได้เกียรติ์นิยมเหรียญทองอันดับหนึ่งนะครับ
Background คือ ถ้าจะศึกษาอะไรจริงๆก็สามารถทำได้
และที่บอกว่าไม่รู้จริงๆ ก็รู้มากกว่าคนอื่นได้
จริงๆคุณพีรนารถ จะลงทุนแต่สิ่งที่ตัวเองถนัด ถือเป็นแบบอย่างของคนรุ่นใหม่ได้

อาจารย์ไพบูลย์ สรุปก่อนจบสัมมนาว่า
สุดท้ายเงินไม่ใช่สิ่งสุดท้ายของชีวิต ไม่ต้องมีเงินหลักหลายสิบล้าน
แต่ใช้สิ่งชีวิตอย่างมีความสุข

ขอขอบคุณ พี่พีรนาถที่มาเปิดใจถึงบทเรียนอันมีค่ากับผู้ฟังรายการนะครับ
ขอขอบคุณ อาจารย์ไพบูลย์ และ อาจารย์นิเวศน์ที่เชิญพี่พีมาออกรายการและสัมภาษณ์ประสบการณ์ในช่วงCovidด้วยครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 16, 2021 7:04 am
โดย amornkowa
กลยุทธ์วีไอปี64 ตอนที่5 ในปีแห่งการฟื้นตัว
ข้อคิด:การลงทุนในต่างประเทศ?
และเส้นทางลงทุนกับเส้นทางธรรม
โดย อาจารย์ชาย มโนภาส

พิธีกรดำเนินรายการ
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
ดร นิเวศน์. เหมวชิรวรากร

อาจารย์นิเวศน์เริ่มคำถามแรก กับอดีตนายกThaivi
ว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ไหม
เพราะเจอหุ้นที่อยู่ๆก็ขึ้นและลงทีละ20-30%
Volumnซื้อขายของSETสูง 100,000กว่าล้านบาท

อาจารย์ชายตอบว่า สำหรับผม หลักการลงทุนในการลงทุนแบบวีไอก็เหมือนเดิม
ถึงแม้สภาพแวดล้อมในการลงทุนจะเปลี่ยนแปลงไป
ผมอ่านresearchของตปท ตอนนี้ในโลกสภาวะที่คล้ายกัน
เงินล้นโลก ปริมาณเงินM1,M2 สภาพคล่องสูงล้นโลก
การเก็งกำไรก็สูง สินทรัพย์แบบบิตคอยก็ผันผวนสูง
ดอกเบี้ยต่ำ คนเลยเอาเงินไปลงทุนแบบเสี่ยงดีกว่า
ไม่แน่ใจที่ขึ้นจาก ปัจจัยพื้นฐาน หรือ การเก็งกำไร

หลักการของผมคล้ายเดิม ที่เปลี่ยนแปลงคือ
สนใจในบริษัทเทคโนโลยีมากขึ้น จากการอ่านresearch
ทุกอย่างจะต่อเชื่อมกันด้วยinternet
4Gที่เกิดขึ้นทำให้การเชื่อมโยงผ่านinternet
ข้อมูลข่าวสาร ทั้งข้อมูลวิเคราะห์ ด้านสาระ และบันเทิง
ข้อมูลได้รับการเชื่อมผ่าน4G
พอ5Gเกิดขึ้น ผมเชื่อว่า
การเชื่อมโยงinternet of thing (IOT)มากขึ้น ซึ่งเร็วขึ้นกว่าเดิม 100 เท่า
เปรียบเหมือนกับ ถนนเปลี่ยนจาก 1 เลน เป็น 100เลน
การเชื่อมโยงของอุปกรณ์ง่ายขึ้น
เช่น Telemedical, Smart Manufacturing , Autonomous จะสนใจมากเป็นพิเศษ
ที่เปลี่ยนไปในการดู Ratio เช่น PB จะมีผลค่อนข้างมาก ซึ่งสินทรัพย์เมื่อก่อนเรามาจาก
Manufacturing base สินทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นสินทรัพย์จับต้องได้(Tangible )
ต่อไปเชื่อว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็น สินทรัพย์แบบจับต้องไม่ได้ (Intangible)
เช่นบริษัท Software company
ต้องดูทรัพย์สินมากกว่าเดิม มีpatientอะไรบ้าง Softwareอะไรบ้างที่ก่อให้เกิด
กระแสเงินสด
อะไรที่ไม่เข้าใจ ก็จะไม่ลงทุนเหมือนเดิม

อาจารย์ไพบูลย์ถามอาจารย์นิเวศน์ ว่าหุ้นที่ผันผวน ได้กำไรในเวลาเพียง1-2 วัน
อาจารย์นิเวศน์ตอบว่า ไม่ทำอยู่แล้ว ไม่สามารถปรับตัวไปลงทุนแบบนี้ได้
คนรุ่นใหม่คิดกำไรกันเป็นรายวันเช่น ต้องได้วันละแสนบาท
เขาจะทนไหวเหรอ ที่ถือหุ้นและไม่ไปไหนเลย แต่หุ้นอยู่บนกระดาน
ที่ขึ้นทุกวัน เลยย้ายไปหุ้นที่ผันผวน ตอนนี้หุ้นที่ถูกconnerกำไรวันละ
25% แต่เขาบอกว่ามีวิธีในการลงทุน
มีผู้นำในการจับตาหุ้นแต่ละตัว อาจารย์ไม่อยากไปยุ่งถึงแม้จะเจ็บใจก็ตาม
หุ้นที่ถือจะนิ่งไปอีกกี่ปี

อาจารย์ไพบูลย์บอกว่า ประวัติศาสตร์สอนเราว่า
ปีนี้จะมีนักลงทุนรวยหุ้นด้วยการลงทุนแบบนี้100คน
แต่พอผ่านไปปีนึงจะเหลือแค่5คน อีก90กว่าคนก็ตายจะตลาดไป
เป็นแบบนี้มาตลอด ใครจะเป็น5คนที่รอดซึ่งจะรวยมากๆ
และจะไปสร้างความรู้สึกว่าลงทุนแบบนี้จะได้กำไรมากๆ

กลับมาถามอาจารย์ชายว่า ที่พูดมาทั้งหมดในไทยมีไหม
อาจารย์ชายตอบว่า เมืองไทยหายาก เพราะเรายังเป็นmanufacturing base
และขึ้นกับการท่องเที่ยวด้วย(17%ของGDPในปี62)
ถ้าเป็นเทคโนโลยีสูง , Software company , Software as a service
หายาก ถ้ามีก็จะเป็นบริษัทเล็กๆ 2-3 บริษัทในตลาดต่างประเทศ
แต่หาได้เยอะในตลาดต่างประเทศ
ถ้าเป็นนักลงทุนในตลาดมา5ปี ควรศึกษาสัก1-2ปี
เพื่อศึกษาความรู้และกฏเกณฑ์ต่างๆ
แต่ถ้าใครที่คิดว่าเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ไปลงทุนตปทก็จะได้ความรู้กว้างขวาง
นำไปใช้กับตลาดหุ้นไทยได้ แต่ต้องระวังเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย
เพราะภาพแมคโครเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน
เช่นในละตินอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน10%กว่า
ถ้ากำไรหุ้นแล้วมาขาดทุนค่าเงิน อยู่ตลาดหุ้นไทยจะดีกว่า

อาจารย์ไพบูลย์ถามว่า มีบลจเปิดกองทุนใหม่ๆเยอะ โดยเฉพาะ
ไตรมาสสี่ปีที่แล้ว นักลงทุนไทยซื้อกองทุนหุ้นแบบนี้ดีไหม
อาจารย์ชายตอบว่า เป็นทางเลือกที่ดี กองทุนมีหลากหลายต้องจัดสรรให้ดี
หลายกองคิดค่าธรรมเนียมค่อนข้างแพง ซื้อตรงจะดีกว่า
ถ้าเราเชื่อใจ ผจก กองทุน และถืออย่างเข้าใจ
แต่ไม่เห็นด้วยที่ซื้อกองทุนตามแห่
อยู่ดีๆNAVกองทุนลดลงอย่างมาก
ดังนั้นควรศึกษากองทุนให้ดีก่อนลงทุน เหมือนกับการซื้อหุ้น
ที่เราต้องศึกษาก่อนการลงทุน ให้รู้ว่ากิจการทำอะไรอยู่ในอุตสาหกรรมอะไร

เราต้องรู้ว่า กองทุนนี้ปันผลหรือเปล่า มีการhedgeอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่
ลงทุนfeeder fundกองเดียวหรือเปล่า

ปี63ลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน20%ของport
ปีนี้ก็คงสัดส่วนเท่าเดิม เพราะยังลงทุนหุ้นไทยได้ดี
ต้องรักษาสุขภาพ เพราะการลงทุนต่างประเทศ ต้องนอนดึกเพื่อดูหุ้น
บริษัทที่ขึ้นราคาสูงๆได้ในต่างประเทศ ทุกๆปีต่อเนื่องยาวนาน
มีค่อนข้างมาก แต่หายากในตลาดหุ้นไทย แต่ก็ยังมีบริษัทที่น่าสนใจเหลืออยู่บ้าง
ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Domestic play ทางด้านบริการ
แต่ถ้าพวกการผลิต ไม่ค่อยมีหุ้นในเมืองไทยมากนัก
มีบ้างซึ่งไม่ได้ลงcapexไม่มาก แต่สามารถขยายงานต่อไปเรื่อยๆ

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนามมีpotential
อาจารย์ชายมองว่าศักยภาพในการลงทุน ไม่สามารถลงทุนได้3-4ประเทศ
ผมเลยลงทุนในต่างประเทศแค่ที่เดียว ไม่ต้องไปศึกษา accounting policy
หลายประเทศ ซึ่งมีกฏเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน
การลงทุนในไทยได้ผลตอบแทนชนะเงินฝากมาหลายปี
มีecosystem ที่ทำให้การลงทุนได้ผลตอบแทนดี เช่น
มีเเหล่งข้อมูลที่ดีมากจาก Webboard Thaivi, Settrade.com,set.or.th
นอกจากนี้ มีรายการหลายรายการที่ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น Moneytalk
เลยเลือกอเมริกา ซึ่งมีecosystemพอๆกับที่หาได้ในเมืองไทย
มีwebboard รายการที่ให้ข่าวสารเยอะมาก
ปัญหาคือดูไม่ทัน ก็เลยเลือกลงทุนในอเมริกา
ส่วนที่เวียดนาม ก็สนใจ ถ้าดูจาก GDP, รายได้ประชากรต่อหัว มีโอกาสเติบโตอีกมาก
แต่ได้ยินว่า นักลงทุนบางท่านไปเรียนภาษาเวียดนาม ผมไม่สามารถทำแบบนั้นได้

อาจารย์นิเวศน์ ไปลงทุนที่เวียดนามแบบETFในช่วงหลัง
ส่วนอาจารย์ก็ลงทุน5 ตัวในตลาดหุ้นอเมริกา
โดยเน้นหุ้นเทคโนโลยีเป็นหลัก
ส่วนหุ้นที่ถือ market cap อย่างน้อยสุด 20,000ล้าน$
หุ้นในBig tech สามารถทำได้หลายธุรกิจและเปลี่ยนไปทำธุรกิจได้ง่ายมาก
ก็เลยมีถือหุ้นลักษณะไว้เหมือนกัน
หุ้นฮุนได ขึ้นมา20%กว่าหลังมีข่าวว่าจะพัฒนารถกับบริษัทApple

อาจารย์ไพบูลย์ บอกว่า อาจารย์ชายดำเนินชีวิตในสายธรรมด้วย
เป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์ภาวนาวิสุทธิญาณเถร(แบน ธนากโร) วัดดอยธรรมเจดีย์
ปฎิบัติธรรมตลอด อายุเพียง49ปี ถึงเวลาปรับชีวิตไปทางใดทางหนึ่งมากขึ้นไหม

อาจารย์ชายตอบว่า ทุกวันนี้ที่ปฏิบัตอยู่ คู่ขนานกันไป ทั้งสายธรรมและการลงทุน
ตอนเช้าตื่นมาปฏิบัติ เดินจงกรม หนึ่ง ชม และนั่งสมาธิ หนึ่งชม
สามารถเดินในคอนโดได้เลย ถ้าจดจ่อกับการมีสติ ก็จะไปเดินในสวนสาธารณะก็ได้
อาจารย์ไพบูลย์บอก เดินจงกรม โดยอยู่กับที่ก็ได้
ส่วนการออกกำลังกาย โดยตีแบตสัปดาห์ละสองครั้ง

สำหรับการให้คำแนะนำกับนักลงทุนรุ่นใหม่ที่เป็นวีไอ
นักลงทุนรุ่นใหม่ไม่ควรลงทุนอะไรที่ไม่เข้าใจ โดยไม่เข้ากลไกของบริษัท
อาจารย์ชายจะไม่สนใจว่าจะชนะหรือแพ้ตลาด
เปรียบเหมือน ชอบเล่นบาส แล้วมีคนมาชวนเล่นบอล โดยมีรางวัล
ซึ่งถ้าเราย้ายไปเล่นบอล ก็อาจแพ้ได้เพราะเราไม่ชำนาญกับกีฬาใหม่
ดังนั้นผมอยู่กับที่ลงทุนแบบเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างไร เข้าใจผู้บริหารของบริษัทนั้น

ในโลกของการลงทุนที่สภาพคล่องสูง จะมีเหนือการคาดหมาย
คนที่ไปซื้อ negative bond yield มูลค่าของบอนด์ 15ล้านล้าน $
เท่ากับmarket cap ของตลาดแนสแดกตอนนี้
เกิดจากการเก็งกำไร และ regulationของบริษัทประกันว่าต้องซื้อ
ถึงแม้ดอกเบี้ยติดลบก็ตาม
ซึ่งมูลค่าขนาดนี้อาจทำให้เกิด super bubble
ถ้าโรคระบาดหายไป เงินเฟ้อจะกลับมาเร็วมาก เพราะดอกเบี้ยของบอนด์กินดอกเบี้ยต่ำมาก
อาจารย์ไพบูลย์เสริมว่า เงินเฟ้อเพิ่ม จะทำให้เกิดการซื้อทรัพย์สินมาก และจะเกิดฟองสบู่

อาจารย์ชายไม่ห่วงว่าพอร์ตจะunderperformถ้าไม่ได้ลงทุนสินทรัพย์ที่ขึ้นมาเยอะ
แต่อาจมีเล่นบ้างเล็กน้อยเพื่อหาประสบการณ์ เช่น
เทสล่า ตอนแรกก็ไม่สนใจ พอศึกษามากขึ้น ก็เห็นเหตุผลที่ทำไมราคาขึ้น
แต่ไม่เอาเงินส่วนใหญ่มาลงทุน

ส่วนอาจารย์นิเวศน์ ไม่ลงทุนแบบนี้เลย ไม่รู้จะทำไปทำไม อายุขนาดนี้
Enjoyกับชีวิตดีกว่า
อย่างตลาดเวียดนาม ควรศึกษามากกว่านี้ แต่ก็ไปลงทุนผ่านETFดีกว่า

อาจารย์ชายบอกว่า เมืองไทยยังมีสิ่งนึงที่undervalue
ทางภูมิศาสตร์ เราเหมาะเป็นศูนย์การlogistic โดยต่อรถไฟรางเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน
รวมทั้งถนน ทำให้เพิ่มมูลค่ากับที่ดิน
ที่ดินเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านถูกมาก และเป็นfreeholdด้วย
Wealthของประเทศไทยมีโอกาสขยับขึ้นอีก จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดิน
และสำหรับคำถามเรื่องสัดส่วนในการลงทุนต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นไหมในอนาคต
อาจารย์ชายตอบว่า มีแนวโน้มจะขยายพอร์ตลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จะหลีกเลี่ยงบริษัทที่ไม่สามารถต่อเชื่อมกับinternet , IOTได้
บริษัทคาร์เทอพิลาร์ ผลิตรถขุดดิน ตอนนี้เป็นAutonomousแล้ว
ถ้าเราเข้าไปที่เหมือง จะไม่เห็นคนในเหมือง รถทำงานเองหมด
บริษัทที่เป็น old economy แต่ก็เอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ก็ดูน่าสนใจ
แต่valuationอาจไม่เท่าบริษัทเทคโนโลยี
มีmarket share ใหญ่กว่าอันดับสองและสามรวมกัน

สำหรับหุ้นเทคโนโลยี น่าลงทุนแต่ต้องดูว่าราคาแพงไปหรือไม่
บัฟเฟตต์ ตอนที่ซื้อapple ก็ซื้อในราคาที่ดีมาก ซึ่งห้าปีที่ผ่านมา
ชนะamazon , google (สรุปคือเลือกหุ้นที่ดีในราคาที่เหมาะสม)

สุดท้ายขอขอบคุณ อาจารย์ชาย ที่มาให้ความรู้
และขอบคุณอาจารย์ไพบูลย์ และ อาจารย์นิเวศน์ สำหรับคำถามดีๆครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 20, 2021 10:09 pm
โดย amornkowa
ซั่มหุ้น ปี64 20 มค 2021
ปัญหาโลกแตกในตลาดหุ้น ซื้อเมื่อไหร่&ขายเมื่อไหร่

หลังช่วงcovid จะเห็นหุ้นขึ้นเยอะมาก และมีปัญหาว่าจะขายตอนไหนดี
น้องออฟมาแชร์มุมมองเรื่องนี้
หัวข้อ
1.ซื้อหุ้นอะไรดี
2.ซื้อเมื่อไหร่
3.ขายเมื่อไหร่

1.ซื้อหุ้นอะไรดี : หุ้นที่มีปัจจัย
1.1แนววีไอ&หุ้นgrowth จับที่core business แล้วไปดูเรื่องอื่น ถ้าดีจริง แต่ราคายังไม่ขึ้น ไม่กลัวที่จะซื้อเลย
-ดูเรื่องกิจการที่ดี
-มีการเติบโต เน้นหุ้นเติบโต
-ราคาสมเหตุ&ผล ไม่ได้เน้นราคาถูก
บางครั้งนักวิเคราะห์ไปเจาะประเด็นและมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปรู้ ทำให้ราคาวิ่งเลย
1.2แนวเก็งกำไรด้วยพื้นฐาน เช่นเก็งงบที่จะออกดี หรือ เก็งstory แต่ไม่สามารถทำต่อได้บ่อยๆ
-เก็งงบ
-เก็งstory
-เก็งการประมูลงาน
การลงทุนดูพื้นฐานเหมือนกันกับเก็งกำไรด้วยพื้นฐาน

1.3แนวเก็งกำไร กราฟเทคนิคมีหลายสาย เล่นสั้น เล่นยาว
เก็งด้วยกราฟ ไม่สนใจซื้อถูก แต่ซื้อแล้วขึ้นหรือเปล่า ต้องซื้อในแนวโน้มขาขึ้น
-เก็งแรงซื้อ
-เก็งแนวโน้มขาขึ้น
ทุกแนว มีแนวทางของตัวเอง แต่บางครั้งอาจเป็นหุ้นตัวเดียวกันได้

เวลาเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับนักลงทุน
สายลงทุน เมื่อซื้อหุ้นที่ดี เวลาเป็นเพื่อนที่ดีของนักลงทุน
บางทีซื้อแพง เวลาก็มาช่วยทำให้เกิดกำไรในที่สุด

2. ซื้อเมื่อไหร่
2.1แนววีไอ&growth
-ดูที่ความคุ้มค่า
-upside ในเวลาหนึ่งปี หุ้นควรจะขึ้นเท่าไหร่ ถ้าส่วนต่างกว้างเช่น 30%ก็ถือเป็นโอกาสซื้อ
-ถ้าหุ้นไม่ขึ้น เราจะได้อะไร สำคัญมาก หลายครั้ง ซื้อแล้วหุ้นไม่ขึ้น
Upside จากหุ้นแพงแล้วมีโอกาสแพงได้อีก เราไปจับในจังหวะที่แพงเกินไป
สิ่งที่ได้ คือหุ้นที่แพง ถ้าเราคิดผิด ผลก็ไม่เกิด คือ ราคาไม่ขึ้น
ที่เราได้ 1. Dividend 4-5%
2.ได้ราคามาถูกเช่น PE 15 เท่า ปีหน้า PE จะลดลง เพราะหุ้นมีการเติบโต

หุ้นดี แต่อนาคตไม่ดี ก็ลงได้ ถ้าหุ้นที่ดี แต่ช่วงวิกฤตเช่น Covid ถูกdriveด้วยความกลัว
ก็มีโอกาสลงเยอะกว่าปกติ แต่ขึ้นกลับไปเป็น2เท่า
ถ้ามนุษย์ยังมีความกลัว ก็จะเกิดแบบนี้อีก คนที่รู้ก็จะใช้โอกาสนี้ซื้อหุ้นถูก
ถ้าเราเข้าใจภาพนี้ การpanicก็จะรู้ว่าควรทำอย่างไร

2.2 การเก็งกำไรพื้นฐาน
-เก็งงบ เช่น stockบวม แสดงว่ายอดขายจะโตในไตรมาสหน้า รวมถึงได้ต้นทุนดี ก็จะได้กำไรเยอะ
-storyมา
-ตัวปลดล๊อคมูลค่าหุ้น
-Upside

2.3 เก็งกำไร กราฟเทคนิค
-มีdemandเข้ามา
-ผ่านแนวต้านสำคัญ
-ทำnew high
-ย่อตัวในขาขึ้น

Fact ของการซื้อหุ้น
-เราไม่สามารถซื้อได้ที่ราคาต่ำสุด ไม่ต้องซีเรียส
-ซื้อเมื่อควรซื้อ เราจะรู้ด้วยตัวเองว่าตอนไหนน่าซื้อ บางครั้งถ้าหุ้นขึ้นไปก่อนเช่นเขียวสองวันติด ก็จะไม่ซื้อแล้ว
-ไม่ซื้อเพราะอยากซื้อ หรือ คิดว่าราคาจะขึ้น
พยายามไม่ใช้อารมณ์ในทุกขณะของการลงทุน

การประเมิน Upside (ผลตอบแทนของการลงทุน)

1.ประเมินแบบ Conservative ประเมินหุ้นที่เราประเมินได้ ถ้าไม่เข้าใจต้องหาวิธีอื่น
-ประเมิน รายได้-กำไร แบบโอกาสพลาดน้อย

2.คิดเผื่อคนซื้อ
-ทำไมจะมีคนมาซื้อต่อจากเรา
-ความเป็นไปได้ มีราคาที่คนยอมจ่าย

3.ขายเมื่อไหร่
3.1 แนววีไอ
-พื้นฐานเปลี่ยน
-Upside เหลือน้อย ไม่รอให้ถึงเป้า อาจไปก่อน เพื่อเข้าตัวใหม่
-ถึงแม้upsideเหลือน้อย แต่ไม่ขาย แล้วมองภาพใหญ่ มีโอกาสโตได้อีก หรืออยู่ในMega trend เช่นหุ้นค้าปลีก

3.2 เก็งกำไรพื้นฐาน
-เราคิดผิด
-Upside เหลือน้อย

3.3 เก็งกำไร กราฟเทคนิค
-หลุดแนวรับ
-ถึงจุดตัดขาดทุน

Factของการขาย
-เราไม่สามารถขายได้ราคาสูงสุด เป็นปกติ
-อย่าเป็นคนที่ตกใจง่ายในตลาดหุ้น
-จุดที่น่าขายที่สุดในตลาด คือจุดที่ไม่ควรขาย ส่วนใหญ่ที่ขายเพราะคนอื่นขาย เราก็ขายตาม
-ซื้อเพราะสิ่งใด ขายเมื่อสิ่งนั้นหมดไป

สุดท้ายขอขอบคุณน้องออฟที่มาให้ความรู้นะครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 21, 2021 11:58 am
โดย amornkowa
กลยุทธ์วีไอปี64 ตอนที่7 ทิวา ชินธาดาพงศ์
ดร ไพบูลย์และ ดร นิเวศน์ ดำเนินรายการ

กลยุทธ์วีไอในปี63 ของคุณมี่ หลังcrisis ทำให้หุ้นลงไป ถึง969 จุด
ทำให้การลงทุนง่ายขึ้น หุ้นตัวไหนที่เราศึกษา จะเห็นupsideแต่ละตัวได้ชัด ทำให้ลงทุนง่าย
พอถึงปี64 การvaluationตลาด EPSตลาดปีที่แล้วปิดปีที่53บาทต่อหุ้น
ปีนี้จะได้ประมาณสูงสุด 78บาท แต่พอเจอCovidตั้งแต่ต้นปี64
ทุกคนปรับEPSตลาดเหลือ62-66 บาท จริงๆแล้ว
มองด้วยPBไม่แพงแต่มีปัญหาในการมอง ปีที่แล้วเป็นปีแห่งการเล่นหุ้น
ปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกหุ้น

ปี63 มีเหตุการณ์พิเศษ 2-3 เรื่อง
1.คนว่างงานกันเยอะ ปกติตลาดหลักทรัพย์มีคนเปิดบัญชีใหม่300,000-350,000คน
แต่ปีที่แล้วมีการเปิดบัญชีใหม่ 660,000 คน
2. ตลาดหลักทรัพย์เก็บข้อมูลปกติคนเทรดจริงแค่300,000คน
ปีที่แล้วมีคนเทรดจริง500,000คน มีน้องใหม่เข้ามา ซึ่งหลายสื่อเชียร์หุ้น
ทำให้เกิดการเก็งกำไร
ตลาดหุ้นที่ดัชนี 1,500—1,600 จุดด้วยEPSตลาดแบบนี้ คิดว่าเต็มมูลค่าไปแล้ว
อจ ไพบูลย์เสริมว่า ภัทรมองนักท่องเที่ยวปีนี้เข้ามาเพียง 2ล้านคนเอง
คุณมี่บอกว่าปีนี้การลงทุนหุ้นถือว่ายาก ต้องเลือกหุ้นที่ดี และดูกำไร(EPS)
ตลาดกลับมาอยู่ในหมวดที่มีเหตุผล
ปีที่แล้ว หุ้น100ตัว มีหุ้นunder valueให้เลือกถึง 60-70ตัว
แต่ปีนี้จะมีหุ้นunder valueให้ดูแค่20ตัว ต้องดูให้ดี
อจ นิเวศน์ บอกว่าปีนี้เปิดปีนี้ด้วยความสุดยอด ขึ้น6-7%
คุณมี่บอกว่าด้วยEPSขนาดนี้ หุ้นใหญ่จะไปไกลกว่านี้ก็ลำบาก
แต่หุ้นตัวเล็ก มีกำไรnew high
การแข่งขันทางธุรกิจยากขึ้น มีคู่แข่งจากจีนเข้ามา การวิเคราะห์หุ้นก็เหมือนกัน
ปีนี้ ต้องระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น

อจ นิเวศน์บอกว่า มีหุ้นที่ไม่ขึ้นอีกเยอะ นักลงทุนรุ่นใหม่อดทนน้อย
แค่ไม่ขึ้น3วัน ก็ไม่ถือแล้ว
สถานการณ์แบบนี้ คุณมี่มองว่าเปลี่ยน
แต่ตลาดหุ้นมีการหลอกล่อ บางทีอาจเจอ3-4ปีที่หุ้นไม่ขึ้น

คุณมี่ เคยฟังเทปmoneytalkที่ โจเอล กรีนแบตพูดถึง Magic formula แล้วชอบมาก
เพราะบางครั้งการลงทุนในแนววีไอ อาจได้ผลตอบแทนไม่ดี แค่ 5-6%ในบางช่วง
ดัชนีDJ ปี2000-2010 ไม่ค่อยไปไหน เพราะเจอวิกฤตหลายรอบ เช่น Crisis ดอดคอม , แฮมเบอร์เกอร์
แต่มีกองทุนที่ทำเฉลี่ยทบต้นได้ปีละ 18% แต่นักลงทุนในกองนี้ -11% เพราะนักลงทุนซื้อขายตลอดเวลา
อจ นิเวศน์พูดถึง ตลาดหุ้นเวียดนามที่ไม่ไปไหนหลายปี ปีนี้ขึ้นดีมาก

แต่คุณมี่ก็เชื่อในการลงทุนวีไอ และมั่นใจในตัว อจ นิเวศน์ ที่เปรียบวีไอคล้ายๆเต่า
การลงทุนแบบเต่า ลักษณะของเต่า คือ กินอะไรที่อยู่นิ่ง (หมายถึงเคลื่อนไหวช้า แต่มั่นคง)
แต่การกินของปลา ชอบกินเหยื่อที่กระดุกกระดิก และ ปลาความจำสั้น
ส่วนเต่าความจำแม่น จำฐานที่เกิดได้ วางไข่ที่หาดที่เต่าเกิด
ตอนนี้อาจเป็นช่วงที่ปลาทองกำลังเล่นหุ้นอยู่ ส่วนเต่าก็เหงาหงอยเศร้าซึม

อจ ไพบูลย์ถามคุณมี่ ถึงตลาดหุ้นเวียดนาม และ หุ้นต่างประเทศที่มีPEสูง มองว่าอย่างไร
คุณมีตอบว่า ต้องดูในแต่ละตลาด เช่น ตลาดอเมริกา เคยเข้าไปศึกษา (น้องที่เข้าไปลงทุนได้กำไรดีมาก)
พบว่ามีหุ้นกลุ่มเดียวที่ขึ้น เลยต้องศึกษาให้ดีก่อนลงทุน
การลงทุนในอเมริกา ก็คล้ายกับลงทุนในไทย คนฉลาดชนะ คนโง่แพ้
แต่ปี2008-2014 นั้น ถึงแม้คนโง่มาลงทุนในตลาดหุ้น ก็ชนะ
ไม่ต้องรู้เรื่องหุ้นเยอะ แต่ภาพรวมของธุรกิจดี GDPโต
ดังนั้นแบ่งแยกตลาดหุ้นต่างประเทศเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรก ตลาดหุ้นที่คนเก่งเท่านั้นถึงจะทำกำไรได้ ผมไม่สนใจ ลงทุนหุ้นไทยดีกว่า
กลุ่มที่สองที่สนใจ มีตลาดหุ้นต่างประเทศสองตลาดที่น่าสนใจ
เมืองจีนและเวียดนาม มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างGDP
ที่เห็นได้ชัดคือ Covid กระทบรุนแรง แต่GDPของจีนและเวียดนามเป็นบวก
PE ก็ไม่ได้แพงมาก จีน A share PE 15 เท่า , H share 8 เท่า เปรียบกับ
PE ตลาดหุ้นอเมริกา 28 เท่า
ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม PE 20 เท่า ก็ยังมองว่าOkเมื่อเทียบกับการเติบโต
เราไปสองประเทศนี้ที่กำลังเติบโตสูง 6-7% ถึงแม้เราไม่เก่งสุด แต่เราก็โตไปกับเขาได้
อินโดนีเซียก็น่าสนใจ GDPก็โตมาก

ตอนนี้คุณมี่ ไปจีนประเทศเดียว ในสัดส่วน30%ของPort
ก่อนหน้านี้ลงทุนหุ้นเล็ก แต่ต่อมาเริ่มเปลี่ยนไปลงทุนหุ้นที่ทุกๆคนรู้จัก
(มาจากการฟังคุณตันเลือกตำแหน่งของที่ดินที่ซื้อ ต้องเป็นที่รู้จัก)
เช่น Xiaomi , กล้อง Hi-vision
เพื่อกันแรงการโกง ถึงแม้PEสูงก็ตาม Xiaomi ซื้อตั้งแต่ 10เหรียญ ตั้งแต่ April 2020

อจ ไพบูลย์ บอกว่า คนทั่วไปเลือกหุ้นรายตัวยาก แนะนำลงทุนผ่านกองทุนรวมไหม
คุณมี่ตอบว่า สามารถลงทุนผ่านกองทุน หรือ ETFได้ ยิ่งถ้าเป็นการลงทุนETFในจีน
จะมีแยกETFที่ลงทุนในแต่ละแบบ เช่น กลุ่มTechnology ซื้อ K wave เลย
ส่วน consumer ให้ซื้อ หนงฝู ขายน้ำแร่ หรือ เหมาไถ ที่ขายเหล้า
ไม่แนะนำให้ดัชนีรวม เพราะหุ้นธนาคารไม่ไปไหนเลย
เดี๋ยวนี้ กองทุนไทย เริ่มมีให้แยกซื้อแต่ละกลุ่ม หรือ หุ้นตามTrendได้แล้ว
(Fund of Fund) แต่มีข้อเสียคือ เสียค่าธรรมเนียมทั้งสองฝั่งคือค่าบริหารทั้งฝั่งไทยและจีน
อจ ไพบูลย์ เสริมว่ายังค่าธรรมเนียม Front end ตอนซื้อกองทุนด้วย
คุณมี่ พูดถึงการลงทุนในETFว่า จะไม่พยายามเก็งกำไร เข้าออก แต่จะลงทุนแบบวีไอ
และตั้งใจว่าจะถือยาว ไม่ขาย แต่การลงทุนในหุ้นไทย จะถือแค่1-2ปี
เช่น Xiaomi มองเรื่องIOT เป็น Theme ระยะยาว
ส่วนที่ลงทุนใน Hivision จะมองTheme Smart city ซึ่งจะใช้กล้องเยอะมาก
เดี๋ยวนี้นอกจากการดูเรื่องการจราจรแล้ว ยังเอามาจัดการเรื่องเวลาในการเปิด ปิดไฟจราจรด้วย
ถือเป็น Mega trend ของต่างประเทศจริงๆ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 08, 2021 12:14 pm
โดย amornkowa
บทความที่คุณโจ ลูกอีสานเขียนเมื่อปี2007

https://board.thaivi.org/viewtopic.php? ... ead#unread

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 05, 2021 9:44 am
โดย amornkowa
จากหอเอนถึงวีไอ / คนขายของ

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆนักลงทุนคงรู้จัก กาลิเลโอ บ้างไม่มากก็น้อย กาลิเลโอเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้เปิดโลกการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ เขาได้พิสูจน์ว่าความเชื่อหลายๆอย่างที่เคยมีมานั้น ไม่เป็นความจริง ด้วยการพิสูจน์ให้เห็น (Proof) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล การที่กาลิเลโอพัฒนากล้องส่องทางไกลซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขนาดดูดวงดาวได้เห็นชัดเจน ทำให้เกิดการปฏิวัติการศึกษาดาราศาสตร์กันขนานใหญ่ กาลิเลโอเป็นผู้ที่สามารถพิสูจน์ทฤษฎีของ Nicolaus Copernicus ที่ว่าระบบสุริยะจักรวาลนั้น มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่โลกเป็นศูนย์กลาง ได้เป็นผลสำเร็จ

มีบางคนกล่าวว่า แนวคิดของ Copernicus นั้นตอนถูกเผยแพร่ ทางฝ่ายศาสนจักรยังไม่เห็นว่ามีพิษภัยอะไร แต่พอกาลิเลโอสามารถพิสูจน์ได้ ทำให้ผู้คนบางส่วนเริ่มสงสัยในคำสอนบางอย่างของศาสนจักรในตอนนั้น เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งทำให้กาลิเลโอ ถูกสั่งจำกัดให้อยู่แต่ในบ้านพักเท่านั้นในช่วงปลายของชีวิต ผลงานการศึกษาของเขาไม่สามารถถูกตีพิมพ์ในอิตาลีได้ ต้องมีการลักลอบนำออกไปพิมพ์ที่เนเธอร์แลนด์ กาลิเลโอเสียชิวิตในปี 1642 ต่อจากนั้นมาอีกถึง 350 ปี พระสันตะปาปา John Paul II ได้กล่าวยอมรับว่า ศาสนจักรได้ผิดพลาดไปที่ได้กล่าวโทษกาลิเลโอเรื่องโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ (source: wikipedia)

เรื่องประวัติของกาลิเลโอนี้ ให้แง่คิดใดกับนักลงทุนบ้าง? เนื่องจากทุกวันนี้ เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเร็วมาก การลงทุนในหุ้น มีเรื่องของเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องมาก ยิ่งถ้าเป็นพวกเหรียญคริปโตด้วยแล้ว เท่าที่ผมมีความรู้อันน้อยนิด แต่ได้ฟังจากผู้ที่ศึกษามาพอสมควร ทำให้ทราบว่า คนที่จะลงทุนควรมีความรู้เรื่อง IT ประกอบด้วย ไม่อย่างนั้นเหรียญที่มีอยู่อาจจะหายวับไปได้ ดังนั้น ผมจึงไม่แปลกใจ ที่พี่ๆน้องๆนักลงทุนหลายท่าน ทุ่มเทในการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีกันอย่างจริงจัง โดยส่วนตัวผมคิดว่า คำถามสำคัญในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบหลักนั้น นอกจาก “What” คือ เทคโนโลยีไหนน่าจะเป็นที่ยอมรับ คำถามอีกอันก็คือ “When” คือเมื่อไหร่ ผู้คนส่วนใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชนจะยอมรับให้มีการใช้ได้ในวงกว้าง?

อย่างการพิสูจน์ของกาลิเลโอ เรื่องโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล กว่าเรื่องนี้จะเป็นที่ยอมรับ ศาสนจักรเปลี่ยนใจผ่อนผัน ยอมให้กลับมาตีพิมพ์ผลงานการศึกษาของกาลิเลโอได้อีกครั้ง ก็เป็นเวลาถึง 76 ปีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว แล้วถ้าเรื่องนี้เปลี่ยนเป็น เทคโนโลยีของบริษัทที่เราสนใจลงทุนอยู่ละจะเป็นอย่างไร? ถ้ามีหน่วยงานใดเห็นว่า เทคโนโลยีนี้เป็นอันตรายแล้วออกกฎมาควบคุมละเราจะทำอย่างไร? ในฐานะที่เราเป็นนักลงทุน การศึกษาความเสี่ยงให้รอบด้านเป็นงานที่เราไม่อาจจะมองข้ามไปได้ มีกรณีศึกษาหลายๆกรณีที่แสดงให้เห็นว่า ในโลกของการลงทุนนั้น ก็ไม่ต่างกันกับโลกของวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ถูกทุกอย่าง แต่ผิดเวลา ผิดยุค ผิดสมัย การลงทุนนั้นก็สามารถนำอันตรายมาให้ได้เสมอ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 05, 2021 9:04 pm
โดย amornkowa
#อวสานของโควิด & #อนาคตของประเทศไทย

โลกในมุมมองของ Value Investor 5 มิถุนายน 64

#ดรนิเวศน์ #เหมวชิรวรากร

ในวันเสาร์ที่ 5มิถุนายน 2564

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ประเทศไทยก็จะเริ่มมีการ “ระดมฉีด”วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนทั้งประเทศและจะทำต่อเนื่องจนคนทั้งประเทศมี “ภูมิคุ้มกันหมู่” ที่จะป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรน่าที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงจนกลายเป็น “วิกฤติ” ตั้งแต่ต้นปี 2563 ตามแผนการที่กำหนด คาดว่าภายในสิ้นปีนี้หรืออย่างช้าก็น่าจะภายในกลางปีหน้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเดินทางจะกลับมาเป็นปกติ และ GDP หรือ ผลผลิตมวลรวมของประเทศก็น่าจะกลับมามีขนาดเท่าเดิมก่อนเกิดโควิดภายใน 1 ปีหลังจากนั้น หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทย “หายไป” หรือหยุดนิ่งไปประมาณ 3 ปี โดยที่การฟื้นตัวหลัก ๆ จะเกิดขึ้นในปี 2565 โดยในวันสิ้นปี 2565 หรือกลางปี 2566 สภาพหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยน่าจะใกล้เคียงกับวันสิ้นปี 2562 นั่นคือ

เราจะมีภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกสินค้า “ยุคเก่า” เช่นรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในและอุตสาหกรรมที่เป็น “เทคโนโลยีเก่า” ที่เน้นแรงงานเหมือนเดิม มีภาคเกษตรกรรมที่อิงอยู่กับการใช้ที่ดิน เครื่องจักร และแรงงานของคนสูงอายุ ที่อิงอยู่กับเทคโนโลยีดั้งเดิม และเราก็จะยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว “ยอดนิยม” ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกโดยเฉพาะจากจีนจำนวนประมาณ 40 ล้านคนซึ่งจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้งหลังจากที่ต้องอยู่แต่ในประเทศของตนเองมานานอย่างน้อย 2-3 ปี การเกิดขึ้นของโควิด-19 ที่ผู้เชี่ยวชาญต่างก็บอกว่าโลกจะ “ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป” นั้น อาจจะไม่ใช่สำหรับประเทศไทยในวันสิ้นปี 2565 สามปีที่ผ่านไปนับจากวันเกิดการระบาดของโควิด-19 นั้น อาจจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลยในประเทศไทยยกเว้นพฤติกรรมบางอย่างเช่น การซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นและการทำงานบางอย่างผ่านทางเครื่องมือสื่อสารที่จะอยู่กับเราต่อไปหลังจากโควิด-19

อนาคตของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2566 จะไปทางไหน? นี่เป็นคำถามสำคัญที่เราจะต้องตอบ เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรที่แตกต่างออกไปจากสิ่งที่เราเป็นอยู่ในวันนี้ ผมคิดว่าอนาคตของประเทศจะ “มืดมน” เพราะสิ่งที่เราทำอยู่นั้น กำลัง “ล้าสมัย” อย่างรวดเร็ว เอาแค่รถยนต์ใช้น้ำมันที่ทั่วโลกต่างก็จะเลิกใช้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านั้นก็อาจจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมของเรา “เซ” ไปได้แล้ว ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรม “ไฮเท็ค” อย่างเครื่องมือสื่อสารหรืออิเล็คโทรนิคที่เราถูก “ผ่าน” ไปยังประเทศที่เป็นแหล่งลงทุนใหม่ ๆ อย่างเวียตนามเพราะความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ดูเหมือนจะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ

สินค้าด้านการเกษตรซึ่งเคยเป็น “กระดูกสันหลัง” ของไทยตั้งแต่ช่วงสมัยที่ผมยังเป็นเด็กเองนั้น สิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบันก็ดูไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักยกเว้นการใช้เครื่องทุ่นแรงที่มีการใช้เกือบเต็มเท่าที่ทำได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องสำคัญก็คือรูปแบบและแนวคิดในการทำงานดูเหมือนจะไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก คนไทยก็ยังปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ด้วยที่ดินส่วนตัวหรือพื้นที่เช่าขนาดเล็กซึ่งก็มักจะไม่มี “Economies of Scale” หรือการประหยัดเนื่องจากขนาดซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ เกษตรกรขาดความรู้สมัยใหม่ทั้งทางด้านของตัวสินค้าและความรู้ในด้านของการผลิตยุคใหม่ที่เน้นในด้านของเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้าน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่จะสามารถดูแลและควบคุมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงวันนี้เราก็ยังเน้นการปลูกพืชที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำเช่นข้าวธรรมดาแทนที่จะเป็นแบบออร์แกนนิค หรือเลี้ยงกุ้งในแบบเดิมที่นับวันจะแข่งขันไม่ค่อยได้กับประเทศที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่ ๆ

ในด้านของการท่องเที่ยวที่เป็นภาคเศรษฐกิจหลักที่ค่อนข้างใหม่ของไทยนั้น ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นเราได้อานิสงค์มหาศาลจากประเทศจีนที่คนร่ำรวยขึ้นมากจนมีความสามารถและได้รับอนุญาตจากรัฐให้ออกมาเที่ยวต่างประเทศได้เต็มที่ นั่นประกอบกับการที่ประเทศไทยมีองค์ประกอบในการแข่งขันค่อนข้างดีมากทำให้การท่องเที่ยวก้าวขึ้นมาเป็น “กระดูกสันหลังอันใหม่” ทางเศรษฐกิจของไทยอย่างรวดเร็ว และเมื่อโควิด-19 ผ่านไป ผมคิดว่าการท่องเที่ยวจากต่างชาติจะกลับมาอย่างรวดเร็ว และเราจะต้องทำทุกอย่างให้มั่นใจว่าจะสามารถรับ “คลื่น” ของการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นทันทีที่โลกและประเทศไทยพร้อมที่จะเดินทาง อย่างไรก็ตาม หลังจากการพุ่งขึ้นของการท่องเที่ยวที่จะมาอย่างรุนแรงแล้ว ประเทศไทยก็จะต้องคิดถึงความ “ยั่งยืน” ของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากต่างประเทศเพื่อที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไปอีก อาจจะเป็นสิบ ๆ ปี เพราะนี่คือภาคเศรษฐกิจที่ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน

การที่จะเปลี่ยนแปลงภาคเศรษฐกิจของประเทศเพื่อที่จะทำให้ไทยมีการเติบโตของ GDP ต่อไปในอนาคตจนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้นั้น ผมคิดว่าเราไม่สามารถ “ทำแบบเดิม” ได้อีกต่อไปในสถานการณ์โลกปัจจุบัน พูดง่าย ๆ เราไม่สามารถพัฒนาไปได้มากกว่านี้ด้วยเทคโนโลยีและความคิดแบบเก่าแบบเดิมได้ และเราก็ไม่สามารถทำเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มกำลังคนเนื่องจากแรงงานของเราไม่เพิ่มแล้วและแถมแก่ตัวลง วิธีที่เราจะทำได้ก็คือการคิดและทำใหม่ ในอดีตนั้น ผมไม่เคยเชื่อว่ารัฐหรือรัฐบาลสามารถผลักดันหรือสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ การพัฒนาตลอดมาตั้งแต่ที่ผมเป็นเด็กนั้นส่วนใหญ่เกิดจากภาคเอกชน ข้อดีของรัฐบาลในขณะนั้นก็คือ ไม่ขวางการพัฒนาและเข้ามาสนับสนุนเอกชนซึ่งรวมถึงต่างชาติให้ทำธุรกิจตามความต้องการของ “ตลาด” รัฐอาจจะบอกว่าเรามี “แผนพัฒนาเศรษฐกิจ” มาตลอดเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่ผมคิดว่าแต่ละแผนก็แค่ต่อเส้นกราฟออกไปจากของเดิม ไม่ได้มียุทธศาสตร์อะไรที่เป็นของใหม่จริง ๆ
แต่สำหรับครั้งนี้- หลังวิกฤติโควิด-19 ผมคิดว่าถ้าจะให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้ เราจะต้องมาคิดกันอย่างจริงจังถึงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยว่าจะไปทางไหน อย่าบอกว่าจะไปทุกทางเพราะนั่นเหมาะเฉพาะสำหรับประเทศที่ยังจนอยู่ ทุกอย่างยังเล็ก หลายภาคส่วนเพิ่งจะเริ่มต้นพัฒนาหรือเริ่มโต และนั่นก็คงคล้าย ๆ กับสถานการณ์ที่เวียตนามที่คนมักถามว่าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มไหนดี ซึ่งผมก็มักจะบอกไปทุกครั้งว่าทุกเซคเตอร์ก็ยังโตหมด ไม่มีกลุ่มไหนที่อิ่มตัว แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว เซคเตอร์ใหญ่ ๆ ทั้งหมดดูเหมือนว่าจะอิ่มตัวแล้วในรูปแบบ “เศรษฐกิจเก่า” การที่จะสร้างการเติบโตต่อไปได้ เราจะต้องรุกเข้าไปในบางจุด ไม่ใช่ทุกจุด เพราะถ้าเราทำทุกจุดเท่า ๆ กัน ทรัพยากรจะไม่พอ เราต้องเลือก และเมื่อเลือกแล้ว ก็ต้องทุ่มความคิดและทรัพยากรเข้าไป การที่จะเดินหน้ารอบนี้ไม่ง่ายและผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีนักคิด มีผู้นำ มีการจัดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยคนที่เข้ามาร่วมต้องมาจากทุกภาคส่วน และแน่นอนต้องมีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง ต้องมีพรรคและนักการเมืองที่จะทำ
ตัวอย่างของสิงคโปร์เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากในแง่ที่ว่าเขาสามารถเปลี่ยนจาก “เศรษฐกิจเมืองท่า” ซึ่งจะเติบโตได้จำกัด กลายเป็น “Financial Hub” หรือศูนย์กลางทางการเงินโลก เปลี่ยนเป็นเมือง “ไฮเท็ค” ซึ่งจะเป็นแหล่ง Startup ที่สำคัญสำหรับคนย่านนี้ และสิ่งที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวก็คือ คุณภาพของคนหรือการศึกษาที่จะมารองรับ และนั่นก็ทำให้สิงคโปร์สร้างมหาวิทยาลัยชันนำของประเทศให้กลายเป็นมหาวิทยาลัย “ระดับโลก” ได้สำเร็จภายในเวลาไม่กี่สิบปี สำหรับรัฐบาลสิงคโปร์แล้ว แม้แต่การพูดภาษาอังกฤษให้ได้สำเนียงที่ดีก็ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสร้างประเทศให้เป็น Hub หรือศูนย์กลางของหลาย ๆ สิ่งที่สำคัญของโลก

ถึงนาทีนี้ ผมเองก็ไม่ได้หวังว่าประเทศไทยจะสามารถทำอย่างที่กล่าวได้ยกเว้นว่าจะมี “ปาฏิหาริย์” ดูเหมือนว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะทางการเมือง เอาแค่เรื่องของงบประมาณที่ใช้ในแต่ละปีนั้นก็ไม่ตอบโจทย์อะไรเลย ดูเหมือนว่างบประมาณที่ได้ของแต่ละหน่วยงานจะขึ้นอยู่กับอำนาจของเจ้ากระทรวงหรือพรรคการเมืองเป็นหลักและก็ทำแบบ “เทียบกับงบปีที่แล้ว” มากกว่าที่จะดูว่างบนั้นจะสนับสนุนนโยบายหรือยุทธศาสตร์อะไรที่จะนำพาประเทศให้ก้าวหน้าไปในอนาคต ดังนั้น ผมเองต้องตั้งสมมุติฐานว่าอนาคตของประเทศไทยนั้น จนถึงสิ้นปี 2565 หรือกลางปี 2566 เราคงกลับมาที่เก่าได้ แต่หลังจากนั้นแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน เวลาลงทุนผมก็จะคิดว่าตลาดหุ้นคงจะถึงจุดสูงสุดในวันใดวันหนึ่งก่อนหน้านั้น คือดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาจจะไปถึง 1,800 หรือ 2,000 จุด แต่นั่นก็อาจจะเป็น “ก๊อกสุดท้าย” ถ้าไทยไม่สามารถปรับตัวเพื่อต่อสู้ใน “โลกยุคใหม่” ได้

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 12, 2021 11:42 am
โดย amornkowa
หุ้นเวียดนามปรับฐาน ถึงเวลาเข้าซื้อแล้ว?
By Rangsan Pangsoon
Chatree M Head of Equities บลจ พรินซิเพิล

การปรับฐานของตลาดหุ้นเวียดนาม เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น
เพื่อจะได้มีเงินใหม่เข้ามาลงทุน เหตุผลที่ปรับฐานในต้นสัปดาห์ไม่น่าจะมา
จากCovid-19เพียงอย่างเดียว ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าก็เงียบเหงาไปบ้าง
แต่ภาคการผลิตก็ยังดำเนินต่อไป
ระบบการเทรดหุ้น ช่วงมกราคมที่ผ่านมา volumnการซื้อขายเข้ามามาก ทำให้
ระบบการซื้อขายหุ้นรวน ทำให้ราคาปรับตัวลงมา10%
แต่ก็กลับขึ้นไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นมีการupgradeระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา มีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาเปิดบัญชีใหม่ 100,000 ราย
ถือเป็นเรื่องใหม่ของตลาดหุ้นเวียดนาม ที่มีรายย่อยเข้ามาลงทุนเยอะ อาจมาจากดอกเบี้ยต่ำมาก
รวมถึงราคาที่ดินที่ร้อนแรง เลยเป็นแรงผลักดันให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามเยอะ
HOSE handleการเทรดไม่ไหว ทำให้ Price Board เจ๊งในช่วงที่ระบบรวน ทำให้Keyคำสั่งซื้อแล้ว
ไม่รู้ว่าจะได้ราคาอะไร ระบบต้องการแก้ไข ก็เลยlockไม่ให้แก้ไขราคาหลังจากส่งคำสั่งซื้อเข้าระบบไป
ยิ่งทำให้วุ่นขึ้นไปอีก หลายคนไม่อยากเทรด และขายออกไป ทำให้ตลาดเกิดการปรับฐาน
จากนักลงทุนupset ไม่มั่นใจในระบบซื้อขาย ไม่รู้ว่าจะขายได้ที่ราคาไหน ทำให้ดัชนีลงจากPeak 4-5%
ส่วนตัวอยากให้ปรับฐาน 8% (1,300จุด) ปรากฏว่า ศุกร์ที่11 มิย ดัชนีดีดกลับ
สัปดาห์หน้า ก็ยังมีโอกาสที่ดัชนีลงไปทดสอบที่ 1,300 จุด แต่ก็ต้องขึ้นกับ การซื้อขายของรายย่อย
ด้วย เพราะต่างชาติขายมาตลอดทาง
ดังนั้น กลยุทธ์ในการซื้อหุ้น สำหรับคนที่อยากซื้อ คือ แบ่งเป็น3ไม้ เข้าไม้แรกก่อน แล้วค่อยสังเกต
สถานการณ์อีกที

ส่วนที่เกาหลีซึ่งจะมาทำระบบ ก็ยังไม่คืบหน้า ตอนนี้เลยจ้างบริษัทในประเทศแก้ไขให้เสร็จภายใน มิย
ส่วนตัว รับได้กับตลาดที่เจอdisconnect แต่รับไม่ได้กับ Price Boardเจ๊ง

เวียดนามมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ เพียง 2-3% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งส่งผลต่อ
การเปิดประเทศ ได้ล่าช้ากว่าเพื่อนบ้าน
เวียดนาม concern budget เพราะได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเยอะ และ เจอปัญหา
สายส่งไฟฟ้า bottom neck บ่อยๆ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีเงินมาซื้อวัคซีน
ตอนนี้พยายามหาเงิน 1,000 ล้าน$ มาซื้อวัคซีน ทางภาคเอกชนจากต่างประเทศ
ก็มาช่วยเหลือ 200 ล้าน$ เช่น ซัมซุงจากเกาหลี ,Foxcon จากจีน รวมถึง CP จากไทย และ ญี่ปุ่น
ดังนั้น lotแรก 600ล้าน$ น่าจะได้มาเพื่อซื้อวัคซีน ซึ่งอาจได้ถึง 170ล้านโดส คิดเป็น
60-70%ของประชากรทั้งหมด
ปัญหาคือ จะได้ฉีดวัคซีนตอนไหน อาจจะเป็น key risk
กค น่าจะมีการฉีดวัคซีนอย่างจริงจัง และปลายปี หรือ ต้นปีหน้า ก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น

Q&A
1.อยากรู้ว่า ตั้งแต่ตลาดหุ้นเวียดนามก่อตั้งมา เกิดเหตุPrice Boardเจ๊งมากไหม
ตอบ พึ่งเจอ Price Boardเจ๊งเป็นครั้งแรก แต่ที่เจอบ่อยคือ disconnect
ตั้งแต่มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องใหม่กับตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งไม่คิดว่าตลาดจะบูม
ขนาดนี้
ทางแก้ คือ สำหรับนักลงทุน พยายามส่งorderภายในครึ่งเช้า เพื่อป้องกันไม่ให้เจอปัญหา

2.PE ตอนนี้แพง หรือไปต่อได้อีก
ตอบ PE ตอนนี้ 13 เท่า ถ้าเริ่มรู้สึกว่าตึงๆ เมื่อPE ขยับไปที่ 18 เท่า
แต่gap ระหว่าง PE 13 ไป 18 เท่า กว้างมาก

3. ผู้ฟังท่านนึง พูดว่า ได้ลงทุนหุ้นเวียดนามมา 3-4 ปี สิ่งที่เจอต่างกับSET
PE ใช้valuationไม่ได้ แต่ขึ้นกับ demand&supply
ตอนนี้demandมาจากคนเวียดนามแห่มาลงทุนเยอะ รวมถึงคนไทยด้วย
ถามว่าควรยึดพื้นฐานจริงๆหรือเปล่า
ถึงแม้ถูก แต่ราคาก่อนหน้าไม่ไปไหนเลย ถ้าตลาดหุ้นจะถูกขายถล่มมาไหม
ตอนนี้กำลังหาจุดขายอยู่

ตอบ PE debateกันไม่จบ เป็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และ ด้านศิลป
PE ตัวเลขดูจะถูก แต่ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับ ตลาดหุ้นของไทยและสิงคโปร์
มีปัจจัยกดดันPEอยู่ เช่น หุ้นแบงค์ ซึ่งเป็นหุ้นหลักซึ่งติดFL ทำให้ฝรั่งไม่สามารถเข้าไปซื้อ
ทำให้ราคาหุ้นถูกกด แต่ ETFเกิดใหม่ เช่น Diamond ทำให้ข้อจำกัดหายไป
ทำให้หุ้นแบงค์เกิด unlock value ได้
เรื่องความถูกของPE ในช่วงปี 2018-2019 สะท้อนถึงเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนตอนนี้
รวมถึงค่าเงินยังไม่นิ่ง และตอนนี้ต่างชาติเช่น Foxcon เริ่มเข้ามาลงทุน
PE ยังจับต้องได้ แต่คำว่าถูก ไม่สามารถนำมาเทียบกับSETได้
ต้องมีการdiscount ลง ทำให้ ถ้าเจอ PE 17-18 เท่าก็ถือว่าสูงแล้ว
ทางตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ต้องแก้ไขเรื่อง FL เพื่อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้

4. ผู้ฟังอ้างว่า คราวที่แล้ว บอกว่า กลุ่มBank , Construction Material อย่างละ40%
ถามว่ามีอุตสาหกรรมไหนที่ปรับตัวขึ้นได้อีก จะมีการปรับพอร์ตในกองทุนหรือไม่
ตอบว่า Bankเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Property เป็นอันดับสอง มองว่ายังlaggardในช่วง6เดือนแรก
เพราะ Flow ของ developer จะมาเน้นในช่วงครึ่งปีหลัง
กลุ่มBankยังดี แต่ที่โดดเด่นคือ property ในช่วงครึ่งปีหลัง
Propertyทางภาคใต้มีการทุจริต ทำให้มีการชะลอwork permit
เราต้องจับตาดูก่อน และ รอดูสัญญาณจากรัฐบาล
ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามไปต่อได้

สุดท้ายขอขอบคุณ คุณ Rangsan และ คุณ Chatree มากๆนะครับ

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2021 9:14 am
โดย amornkowa
ทางเลือกการลงทุนใหม่ของ อาจารย์ โจ ลูกอีสาน

ตลาดหุ้นไทยในช่วง1เดือนที่ผ่านมา ขึ้นมาจาก 1,572 เมื่อ 12 พค จนถึงวันที่ 11 มิย 2564 ขึ้นมา 64.71 จุด
หรือ ขึ้น 4.12% แต่ พบว่า หุ้นขนาดใหญ่ขึ้นน้อยมาก ยกเว้นมีหุ้นขนาดใหญ่ตัวนึงที่ดันตลาดไว้
ส่วนใหญ่ที่ขึ้นเยอะ จะเป็นหุ้นขนาดเล็กที่ขึ้นมาแรง
ดัชนีตลาดMAI ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นขนาดเล็ก ขึ้นมากว่า 50% ถ้านับจากต้นปี ซึ่งการหาหุ้นที่จะลงทุนจะยากขึ้น

เมื่อกลางเดือน พค ได้พูดคุยกับ อาจารย์ ยังไม่มีการลงทุนในหุ้นกลุ่มใหม่เลย แต่หลังจากให้สัมภาษณ์กับ
รายการทันหุ้น พบว่า อาจารย์มีแนวทางการลงทุนใหม่แล้ว เรามาติดตามกันครับ

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ช่วงก่อนหน้า หาหุ้นที่จะลงทุนในไทยยากขึ้นกว่าเดิม ตอนนี้ลงทุนหุ้นไทยอยู่ 30ตัว
ในช่วง1เดือนที่ผ่านมา ได้อ่านบทความจากน้องสมาชิกของ Thaivi ได้โพสลงว่า หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ฮ่องกง หรือ H-share บางตัวที่จดใน A-share (ในจีนแผ่นดินใหญ่) แต่ราคาที่A-share มีpremiumมากกว่าที่ H-share
100% ทำให้เป็นจุดสนใจเริ่มลงทุนหุ้นรายตัว

แหล่งข้อมูลในการค้นหาหุ้น
1.Website AA Stock
2.Website ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
3.บทวิเคราะห์ฟรี จาก Broker ที่ฮ่องกง

ผู้ฟังบางท่านแย้งว่า ลงทุนกองทุนหุ้นจีน H-share ยังขาดทุนอยู่
อาจารย์บอกว่า ส่วนใหญ่กองทุนรวมจะออกกองตอนที่
Performanceดี เช่น ขึ้นไป 40-50% ทำให้ราคาที่ซื้อกองทุนไม่ถูก
และอีกเหตุผลคือ อาจารย์เคยลงทุนในETF หุ้นจีน ปรากฏว่า ETF ก็ขึ้นน้อยกว่า การขึ้นของหุ้นรายตัวมาก

สอดคล้องกับ อาจารย์ หลิน นายกสมาคมThaivi เคยบอกว่าลงทุนETF ในตลาดกำลังพัฒนา อาจสู้หุ้นรายตัวไม่ได้

เคยสอบถามอาจารย์โจว่า ถ้าลงทุนETFที่ไหนจึงจะได้ผลตอบแทนดี อาจารย์บอกว่า ตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น US

หุ้นรายตัว ที่อาจารย์สนใจลงทุนในH-share มีจุดเด่นคือ

1. ราคาถูกกว่าหุ้นไทย เช่นหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า พลังงานทดแทน PE 10 เท่าเอง

2. ปันผลดีกว่าหุ้นไทย ซึ่งตอนนี้อัตราปันผล 5.5% เทียบกับไทย เกือบ 3%

3. มีหุ้นใน new technologyให้เลือกลงทุน เช่น หุ้นinternet

หุ้นกลุ่ม EV อาจารย์ยังไม่สนใจลงทุน เพราะตอนนี้ยังหาผู้ชนะที่แท้จริงไม่ได้
คุณวอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า ตอนรถยนต์จะเกิดขึ้นทดแทนรถม้า
เมื่อ100ปีก่อน มีบริษัทเข้ามาลงทุน 2,000 บริษัท แต่เหลือรอดมาถึงตอนนี้2 บริษัทคือ Ford,GM

ดังนั้นการลงทุนช่วงนี้ มีความเสี่ยงสูงเกินไป ไม่น่าสนใจ
เอาไว้รอรู้ว่า มีผู้ชนะ ค่อยเข้าไปลงทุน แต่อาจได้ผลตอบแทนไม่สูง
ซึ่งต้องลงก่อนที่จะรู้ว่าใครชนะ จึงจะได้ผลตอบแทนสูง

แต่ถ้าสนใจลงทุน ควรลงทุนในบริษัทในจีน ซึ่งมี 4-5 บริษัท และได้สิทธิประโยชน์ภาษีมาขายในไทย เสียภาษีน้อยมาก จะน่าลงทุนกว่า บริษัทในไทย ที่ลงEV แค่บางส่วน

กลยุทธ์ในการลงทุนและพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน

ให้กระจายความเสียงในการลงทุน ตัวอาจารย์เองได้กระจายไปลงในหลายประเทศ
และหลายอุตสาหกรรมเกือบ 80บริษัท แบ่งเป็น

1.หุ้นไทย ประมาณ 30 ตัว ตอนนี้นอกจากหุ้นเล็กแล้ว ยังมีหุ้นขนาดกลางและใหญ่ที่สถาบันลงทุนด้วย

2.หุ้นUS 2 บริษัท ที่อยู่ในกลุ่ม FAANG (FB,Amazon,Apple,Netflix,Geogle) น่าจะเดาไม่ยากเพราะมีใช้บริการในไทยด้วย อาจารย์เลือกจากที่ใช้บริการบ่อยๆ

3.หุ้นเวียดนาม ประมาณ 15 ตัว

4.หุ้นในตลาดหุ้นฮ่องกง 20 ตัว

สำหรับหุ้นที่ได้ประโยชน์ในTheme เปิดเมืองนั้น พบว่า

อาจารย์บอกว่า ตอนนี้Covidเริ่มคลี่คลายหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนไปแล้ว (ตอนนี้มากกว่า 5 ล้านโดส)
ตอนนี้ตลาดหุ้นไม่ค่อยสนใจเรื่องCovidแล้ว ดังนั้นจะมาเล่นหุ้นในTheme เปิดเมืองจะช้าไป

Q&A

1. หุ้นสนามบิน และ โรงแรมบางบริษัทตอนนี้ market cap มากกว่าตอนก่อนcovidแล้ว

2. กลุ่มก่อสร้าง จะมีรอบวัฐจักรของกลุ่มนี้ ไม่ค่อยเกี่ยวกับCovid ปีนี้มีโครงการภาครัฐมา
อาจเป็นรอบใหม่ของcycleก็ได้

3. กลุ่มธนาคาร ยังไม่ดี เพราะ เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ถ้าสนใจลงทุน ก็เลือกธนาคารที่ไม่มีพอร์ต
ในโรงแรง ท่องเที่ยว และ SMEมากนัก เน้นในสินเชื่อที่มีหลักประกันจะปลอดภัยกว่า

ข้อแนะนำสำหรับนักลงทุน

1. เน้นลงทุนหุ้นที่มีการเติบโตในระยะยาว

2. สำหรับคนที่เงินลงทุนน้อย ให้กระจายการลงทุนไปในหุ้นหลายตัว และ ห้ามซื้อหุ้นที่ไม่เติบโต

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 19, 2021 6:00 pm
โดย amornkowa
อดีต VS อนาคตที่คนรุ่นใหม่อาจ ไม่ต้องมีหุ้นไทย ในมุมมองของ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

พูดคุย เจาะลึก โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี

สรุปจากความเข้าใจของ แอดมิน เพจ Seminar Knowledge

ตลาดหลักทรัพย์ไทย เปิดทำการวันแรก 30 เมษายน 2518
อายุตลาดหลักทรัพย์ไทย ครบ 46 ปีแล้ว

ตลาดหลักทรัพย์ไทยช่วงที่1 พศ. 2518-2538
ถือว่าเป็นยุคเก็งกำไรอย่างแท้จริง ช่วงนี้ คนทำงานยังไม่เข้ามาลงทุน
มีแต่เศรษฐีมีเงิน ก็เข้ามาเก็งกำไร
เหมือนปลาใหญ่ไล่กินเหยื่อ พอเหยื่อหมด ก็มาไล่กินปลาเล็ก
(ประกอบกับไทย เริ่มมีEastern Seaboard ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน
มีเงินทุนไหลจากต่างประเทศ จาก BIBF การกู้เงินจากต่างประเทศก็ง่าย
ดอกเบี้ยถูกกว่าไทยเยอะ
ทำให้หุ้นไทย หลังจากเกิดพฤษภา ทมิฬ เพิ่มอย่างรวดเร็ว
ประกอบ กองทุนรวม เริ่มขยับขยาย จาก เมื่อก่อนมีแค่ บลจ เอ็มเอฟซี เพียงแห่งเดียว
ก็เริ่มอนุญาตให้เปิดบลจ เพิ่มขึ้น ทำให้ระดมเงินทุนจากประชาชนเข้ามาลงทุนหุ้นได้
จำได้ว่า ตอน ipo ถ้าไม่ได้จอง หรือไม่มีเงินฝากอยู่เยอะ ก็จองไม่ได้ )

ตอนนั้นบรรยากาศคึกคักมาก คนมีเงินที่ชอบเสี่ยงดวง ก็เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
โดย จะเข้าไปนั่งในห้องค้าหลักทรัพย์ ซึ่งตอนนั้น ถือเป็นสังคมการลงทุนอีกแบบนึง
(มีการหาข้อมูลจากห้องค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวลือบ้างจริงบ้าง นำข้อมูลมาเก็งกำไร
แต่เดี๋ยวนี้ เนื่องจากสามารถซื้อขาย ผ่านมือถือได้ ห้องค้าต่างๆก็ยุบหายไป)
หลังจากดัชนีพุ่งทำ new highในวันที่ 4มค 2537 ที่ 1789 จุด
ก็ปรับตัวลดลงมาตลอด สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนรายย่อยมากมาย
จนกระทั่ง นักลงทุนกลุ่มนี้ที่ขาดทุนหนัก และ หายจากตลาดหุ้นไป

ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่2 พศ. 2540
ซึ่งเปลี่ยนจาก การเก็งกำไร มาเป็นยุควีไอ ช่วงแรกๆ
(ดร นิเวศน์ เริ่มก่อนลงทุนก่อนนั้น ตอนดัชนีประมาณ 800 จุด แต่เลือกลงทุนหุ้นที่
มีปันผล 10% ดังนั้นตอนดัชนีตกต่ำสุด 204 จุด ปรากฏว่า หุ้นที่ถือไม่ขาดทุนแถมได้ปันผลด้วย
ตอนนั้น พอร์ตเริ่มต้น 10 ล้านบาท ปันผล 1ล้านบาท ก็สามารถอยู่ได้แล้ว
ถือว่า อาจารย์มีอิสรภาพทางการเงินแล้วตั้งแต่ช่วงนั้น อาจารย์ก็ออกหนังสือ ตีแตก ซึ่งถือเป็นหนังสือที่
คนลงทุนแนววีไอ จะอ่านเป็นเล่มแรก จะพูดถึงกลยุทธ์การลงทุนหุ้นที่ผ่านมาของอาจารย์)
หลักการ คือ หาหุ้นที่ราคาถูก ปันผลดี ซึ่งตอนนั้น หุ้นดีๆ ปันผลสูง PE แค่5 เท่าเอง และ ถือหุ้นยาวๆไป
อาจารย์ถือหุ้นบางตัวถึง 20 ปี
ช่วงนั้นก็มีก่อตั้ง สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ขึ้นมา
นักลงทุนวีไอที่ลงทุนช่วงแรก ก็มี พี่ พีรนารถ และ ไก่ ธันวา อดีต CEO IBM และ อดีตนายกสมาคมThaiviคนแรก
ที่ลงทุนในแนววีไอ จนถึงตอนนี้
(ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ทางการอยากส่งเสริมตลาดหุ้นไทย เลยมีการริเริ่ม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองประหยัดภาษี RMF,LTF ทำให้มีเงินสถาบันเข้ามาลงทุนในหุ้นเยอะขึ้น)
นักลงทุนที่เข้ามาลงทุน มีการศึกษาดีขึ้น จนถึง เคยเป็นที่1ในการสอบข้าวของประเทศไทย
มีทั้ง วิศวกร หมอ เข้ามาลงทุนแทน ส่วนนักลงทุนที่ลงทุนก่อนหน้านั้นช่วงต้มยำกุ้ง ขาดทุน
ก็สาปแช่ง และ ห้ามลูกหลานเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย

ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่ 3 เปลี่ยนจาก หุ้นvalue มาเป็น value growth

หลังจากเกิด วิกฤต Subprime ทำให้ดัชนีหุ้นไทยตกจาก 900 จุด มาที่ 380 จุด
แนวทางการลงทุนของนักลงทุนวีไอรุ่นใหม่ตอนนั้น เปลี่ยนจาก การลงทุนแบบ value
มาเป็น Value growth ถือเป็น วีไอยุคที่สอง เพราะว่า หุ้นราคาถูกๆแบบช่วงที่2 หายาก
และระยะเวลาในการถือหุ้น ก็สั้นลง ไม่ได้ถือยาวเหมือน ยุควีไอตอนแรก
ดัชนีก็ปรับจาก 380 จุดมาที่ 1,650 จุด ในปี พศ 2556
สร้างวีไอมากมายในช่วงนั้น ถือเป็นยุคทองของวีไออีกยุคนึง

ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่4 ปี พศ 2559
เปลี่ยนจาก Value growth เป็น growth อย่างเดียว

ช่วงนี้ อาจารย์บอกว่า การลงทุนแนววีไอ ช่วงนี้ไม่ค่อยworkแล้ว (อาจมาจาก หุ้นมีราคาแพงมาก
หาหุ้นแนววีไอยากขึ้น ) คนก็เลยไปหาหุ้นgrowth ลงทุน
ซึ่งอาจารย์เคยเตือนว่า หุ้นgrowth จริงๆอาจไม่growthจริง เช่นหุ้นที่ขยายตลาดไปต่างประเทศ
อาจไม่โตจริง ซึ่งหลังจากนั้นปีเดียว คนก็เริ่มเห็นจริง ทำให้ราคาหุ้นกลุ่มนางฟ้าตกสวรรค์กันหมด

ตอนนี้อาจารย์ เริ่มมีย้ายเงินลงทุนส่วนนึงไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียด
ได้จากบทความที่สรุปก่อนหน้านี้
ดังนั้น พอร์ต อาจารย์ แบ่งเป็น ไทย 80% และ เวีดยนาม 20%
อาจารย์บอกว่า ต่อไป เราอาศัยอยู่ประเทศนึง แต่ไปลงทุนในอีกประเทศนึงได้

ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังไม่ได้ถึง ยุคที่5คือ ยุคลงทุนใน passive fund ซึ่งเหมาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

สำหรับคนที่พึ่งเริ่มเข้ามาลงทุน ก็สามารถลงทุนใน ETF ได้โดย น้องเฟิร์น สรุปจากที่อาจารย์เคยพูดดังนี้
แบ่งเป็น4 ส่วน โดยลงใน เวียดนาม , จีน , US , อินเดีย
อาจารย์บอกว่า อินเดีย น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ลงทุน

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 24, 2022 11:03 am
โดย amornkowa
Black Swan EP6. อนุรักษ์ บุญแสวง หรือ โจ ลูกอีสาน
สรุปโดย Seminar Knowledge Page

อาจารย์โจ บอกว่า วิธีการจะเลื่อนจากชนชั้นกลางไปสู่ชนชั้นบน การลงทุนในหุ้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
ซึ่งประกอบไปปัจจัยสองสิ่งคือ
1.เงินต้น
2.ไอเดีย และ ความคิดในการลงทุน

มาพูดถึงปัจจัยแรกคือเงินต้นก่อน
วิธีที่เก็บเงินต้นก็มีหลายวิธี เช่น หารายได้เพิ่ม ทำงานพิเศษ และ การลดรายจ่าย
เงินที่เก็บก้อนแรกเพื่อนำมาลงทุน คือ 30,000บาท ตอนนั้นทำงานที่กรุงเทพ
เนื่องจากวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับงานที่ทำ เงินเดือนที่ได้เลยไม่สูง
ดังนั้นการประหยัดรายจ่ายน่าจะตอบโจทย์ในการเก็บเงินมากกว่า
รายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็งดไปก่อน เช่น ยังไม่ซื้อมือถือ ซึ่งตอนนั้นอยากได้คือ Nokia3310
เพื่อเอาเงินมาใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น เช่น หาความรู้ด้านลงทุน ซื้อของที่จำเป็นเช่น เตารีด
ส่วนห้องเช่าก็พยายามราคาที่ถูก เพื่อจะได้มีเงินเหลือไปลงทุน

ส่วนการหารายได้ ตอนช่วงที่อาจารย์ตามภรรยาไปUS ก็ไม่เกี่ยงงานล้างชาม ก็อดทนทำไปปีครึ่ง
ได้เงิน 400,000 บาท รวมกับเงินของภรรยาอีก400,000บาท ไปฝากให้น้องสาวลงทุนหุ้นไทย
เพื่อจะได้ขยับจากชนชั้นล่างมาชนชั้นบนด้วยการลงทุนในหุ้น

ปัจจัยที่สอง ไอเดีย และ ความคิดในการลงทุน
อาจารย์โจเริ่มอ่านหนังสือการลงทุน ตอนพักกับญาติที่กรุงเทพตอนสมัยเรียน ม ปลาย อ่านหมดทุกเล่ม
ช่วงที่เรียน ป ตรี ที่ มอ ก็ไปอ่านหนังสือการลงทุนที่ห้องสมุด และ เข้าเรียน ป ตรี บริหารธุรกิจ ที่ ม รามคำแหง

การเลือกอาจารย์ที่ถูกต้องก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำ
ตอนอยู่US ก็ได้อ่านบทความของ คุณปีเตอร์ เดนนีส ที่เขียนบทความลงในหนังสือกรุงเทพธุรกิจ
ซึ่งตอนนั้นเขียนเชียร์ซื้อหุ้นเพราะให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรที่ให้ดอกเบี้ย6%
คุณปีเตอร์ถือเป็นอาจารย์คนแรก ต่อมาก็ศึกษาความรู้จาก ดร นิเวศน์ หลังกลับมาเมืองไทย

การรับมือกับวิกฤตต่างๆ

อาจารย์บอกว่า ชีวิตการลงทุนต้องเจอกับวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ ทำใจไว้ว่าต้องเจอวิกฤต และเสียหายได้
แต่อย่าหมดตัว

วิกฤตต้มยำกุ้ง ซื้อหุ้นตอนดัชนี600จุด แต่ดัชนียังลงต่อมาที่ 204 จุด เลยเข้าใจวิกฤตดี

มีข้อที่ต้องหลีกเลี่ยงในการลงทุน คือ กู้เงินมาลงทุน เพราะตอนวิกฤต โบรคจะบังคับเราขายในราคาต่ำสุด

วิกฤตSubprime
ช่วงก่อนหน้าเคยทำกำไรสูงสุด 270% แต่เมื่อคุยกับเพื่อนพบว่ากำไร 500% เรารู้สึกว่าตัวเองเล็กไปเลย
สอบถามเพื่อนพบว่าเพื่อนใช้เงินกู้ด้วย ดังนั้นก็ลองใช้เงินกู้10%ของport ปรากฏว่า ช่วงSubprime
Portลดจากจุดสูงสุดมา60% พอดัชนีเด้งมาหน่อยก็รีบขายไปคืนเงินกู้ ปรากฏว่าหุ้นขึ้นต่อ
ทำให้ผลตอบแทนปีนั้นไม่ดี ผิดกับ ดร นิเวศน์ ที่ใช้เงินกู้ตอนดัชนีต่ำสุด เพื่อซื้อหุ้น (THAI)
เราใช้กลยุทธ์ไม่ถูกต้อง ถือเป็นการเรียนรู้และนำมาใช้ตอนวิกฤตครั้งถัดมา

วิกฤตCovid-19
เคยเจอวิกฤตไข้หวัดนกมาก่อน พบว่าหุ้นจะลง ดังนั้นช่วงที่Covidระบาดที่อู่ฮั่น ก็เริ่มขายshortดัชนีหุ้นไทย
และมีการใช้เงินกู้ไม่เกิน15%ของport ตอนดัชนีต่ำสุด
ต้นปี กำไร60% พอปลายปียังบวก3% ซึ่งชนะSET INDEX

สรุปคือ เราต้องวางแผนรับมือวิกฤตล่วงหน้า เพราะถ้ามาตัดสินใจตอนวิกฤตจะคิดไม่ออก
จากบทเรียนที่ผ่านมา
วิกฤตต้มยำกุ้ง ดัชนีลงไป80%
วิกฤตSubprime ดัชนีลงไป50%
วิกฤตCovid-19 ดัชนีลงไป40%
ดังนั้นถ้าหุ้นลงไป30-40% ก็จะเริ่มทยอยซื้อหุ้น เพราะเราไม่รู้ว่าดัชนีจะลงไปต่ำสุดที่ไหน
ถ้าดัชนีลงอีก ก็สามารถซื้อเพิ่มได้ แต่ถ้าดัชนีเพิ่มขึ้น เราก็ซื้อมาได้บางส่วน

กลยุทธ์การลงทุนในหุ้น

1.ช่วงเวลาที่ควรระมัดระวังในการลงทุนหุ้น คือ ช่วงที่หุ้นมีผลประกอบการดีสุด
ถ้าเราไปซื้อตอนนั้น ก็ติดดอย เช่น ตอนเข้าซื้อหุ้นตัวแรกจากโบรกแนะนำคือ หุ้นหลักทรัพย์
ซึ่งตอนนั้นVolume tradeสูงมาก ปรากฏว่า ขาดทุน60% ตอนนั้นยังดูงบการเงินไม่เป็น

2.จุดที่กลัวที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด ดังนั้น ศัตรูที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเรานั้นเอง
ปกติคนจะมีจิตใจที่อ่อนแอ ดังนั้นเราต้องฝืนสัญชาติญาณ
เช่น ตอนกลัวมากๆ ให้ซื้อหุ้น พยายามคิดตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่

3.ไม่เชื่อคนง่ายๆ ต้องยึดหลักการลงทุนแบบวีไอ

4.ลงทุนไม่ประมาท และ ปิดความเสี่ยงในการลงทุนให้มากที่สุด

5.ประกันความเสี่ยงในช่วงที่คาดว่าตลาดขาลง โดยขายshort index 5-10%ของport

6.กระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ

7.ถ้าเลือกหุ้นอย่างดีตามหลักการวีไอแล้ว ก็ให้อดทนถือรอ
ช่วงต้มยำกุ้ง ถือหุ้นสองตัวมาหนึ่งปีไม่ไปไหน เกือบถอดใจ แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้น1-2 สัปดาห์
หุ้นตัวนึงขึ้นไป 150%ก็เลยขายออกไป ปรากฏว่า ขึ้นไป 20เท่า

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการลงทุน
1. การใช้margin
2. ALL IN ลงทุนหุ้นตัวเดียว หรือ ลงหุ้นกระจุกตัว
3.บางคนลงทั้งสองอย่าง

กับดักวีไอ
1.ซื้อหุ้นวัฐจักรในช่วงที่ดีที่สุด เช่น ตอนลงทุนใหม่ ไม่รู้ว่าหุ้นเหล็กเป็นหุ้นวัฐจักร เลยเข้าไปลงทุน
ตอนกำไรดีมากๆ ปรากฏว่าไตรมาสต่อมาขาดทุน สุดท้ายขายขาดทุนไป50%
2. หุ้นที่มีตัวแปรหลายตัว เช่นหุ้นน้ำตาล ซึ่งมีตัวแปรเป็น10ตัวที่มากระทบกำไร
เช่น ราคาน้ำมัน ถ้าปรับตัวขึ้น ก็ส่งผลต่อราคาเอธานอล ,ค่าเงินอ่อนหรือแข็ง เป็นต้น
3.บริษัทที่พึ่งพาปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดมากเกินไป
เช่น พึ่งพาผู้บริหารคนเดียว หรือ มีโรงงานแค่โรงเดียว

ผู้บริหารก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องดู
ผู้บริหารในฝัน มีลักษณะดังนี้
1.ตั้งใจทำธุรกิจจริงๆ
2.มีผลประโยชน์สอดคล้องกับนักลงทุน
3.ถือหุ้นในสัดส่วนค่อนข้างเยอะ
4.ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์
5.ไม่มีพฤติกรรมโกหก หรือ ไซฟ่อนเงินบริษัท
ถ้าผู้บริหารไม่ดี ก็ไม่ต้องไปยุ่งเลย


คำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่พึ่งเข้ามาลงทุน

1.ตลาดหุ้นขับเคลื่อนด้วยความโลภ หรือ ความกลัว อดีตเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนี้
ซื้อหุ้นตอนดัชนีต่ำได้ ไม่ใช่ความโชคดี แต่เรามีความกล้าเข้าไปซื้อตอนดัชนีต่ำ เช่น 400จุด
และทำผลตอบแทนสูงกว่าตลาดหุ้น ซึ่งเกิดจากแนวทางการเลือกหุ้นแนววีไอซึ่งมีคนทำได้จริงๆ
ดูจากผลงานที่เป็นประจักษ์ทั่วโลก เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์

2.ก้าวแรเป็นก้าวที่สำคัญที่สุด อย่าเลือกผิดเส้นทาง

3. Winston Churchill นายกรัฐมนตรีอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กล่าวไว้ว่า
ต้องยอมแพ้ในบางสมรภูมิ เพื่อชนะในสงคราม เปรียบกับการลงทุนก็เหมือนกัน
บางคนไม่ยอมล้ม ถัวตัวที่ขาดทุนตลอดทาง สุดท้ายก็หมดตัว

4.ผิดแล้วต้องไม่ตาย เพื่อจะมาลงทุนต่อได้

5.Charlie Munger พูดว่า ถ้าเรารู้ว่าจะไปตายที่ไหน ก็หลีกเลี่ยงไม่ไปที่นั่น
วิธีการลงทุนอะไรที่โอกาสทำให้เราตาย หรือ ขาดทุน ก็อย่าไปใช้
มีความแน่วแน่ ,มีEQ มีความมั่นคงในอารมณ์


ตอนนี้ความฝันใหม่ คือ อยากให้ประเทศไทยมีกองทุนความมั่งคั่งของประเทศ เหมือนกับ
สิงค์โปร์ , UAE , นอร์เวย์ ซึ่งเก็บรายได้จากการขายสินค้าไปลงทุน
ตัวอย่างของนอร์เวย์ เงินทุนตอนนี้ 66ล้านล้าน มาจากเงินต้นเพียง10%
อยากให้ไทยทำได้ เพราะเราจะได้เอากำไรไปช่วยเหลือคนในประเทศที่เดือดร้อนได้

สุดท้ายขอขอบคุณ ThaiVI , ลงทุนแมน อาจารย์โจ และ พิธีกร น้องทีน่า กับน้องไม้ฟืนด้วยครับ