STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 3

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เปิดดูคำศัพท์แล้วแปลว่า

Stag- มาจาก stagnant แปลว่ามีสภาพเงินฝืดเกิดขึ้น ธุรกิจไม่มีเงินลงทุน คนไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย

-Flation มาจาก inflation หรือเงินเฟ้อ

สองคำนี้แปลว่าสภาวะที่เงินฝืดในขณะที่เกิดเงินเฟ้อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

งงแฮะ พี่ๆ ท่านไหนเคยเห็นสภาพเช่นนี้กับเศรษฐกิจไทยบ้างมั้ยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
Kao
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1257
ผู้ติดตาม: 23

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คุ้นๆว่าเคยอ่านเจอใน One Up on Wall Street ของ Peter Lynch น่ะครับ
แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันครับ :oops:
TOMOKI
Verified User
โพสต์: 285
ผู้ติดตาม: 0

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นยากครับ

แต่ถ้าเกิดแล้วไม่ดีแน่ๆ

ภาวนาอย่าให้เกิดเลยครับ

stagnation+inflation=stagflation

เพราะจะมีปัจจัยอย่างหนึ่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

และมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ซึ่งตอนนี้ก็คือน้ำมัน

และปัจจัยตัวนี้ ต้องมีผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้น

และทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้น ทั้งๆที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง

แต่ผมว่าประเทศไทยยังไม่น่าจะถึงขั้นนั้นนะครับ

เพราะอัตราการเจริญเติบโต6% เทียบกับเงินเฟ้อ 3%

ก็น่าจะพอรับได้นะครับ

ยกเว้นว่าน้ำมันจะไปสัก70-80เหรียญนะครับ
Wvix Stagflation
ผู้ติดตาม: 0

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่รู้พี่ thebing ได้อ่านรึยัง
ภาวะเงินตึงราคาเฟ้อ (Stagflation) : ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ ?
โดยคุณจงรัก ระรวยทรง
หนังสือพิมพ์ทันหุ้น

ในระยะนี้ จะเห็นข่าวทางเศรษฐกิจ ความเห็นและบทวิจารณ์ที่มีการพูดถึงเรื่องของภาวะเงินตึงราคาเฟ้อ (stagflation) กันมากขึ้น จนบางทีก็เลยเถิดไปถึงขั้นระบุว่า เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะ stagflation แล้ว

จริงๆ แล้ว stagflation คืออะไร ? stagflation มาจากคำว่า stagnation + inflation ซึ่งเป็นคำอธิบายถึงภาวะเศรษฐกิจที่เกิด stagnation พร้อมๆ กับ inflation โดยที่ stagnation คือ ภาวะที่เศรษฐกิจชะงักงันไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริโภค หรือการลงทุน ล้วนแล้วแต่อยู่ในช่วงซบเซา มีการว่างงานในอัตราสูง ซึ่งส่งผลให้การเจริญเติบโตของประเทศหยุดชะงักไม่ขยายตัว ส่วน inflation ก็คือ ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งวัดจากการที่ดัชนีราคาสินค้าของประเทศมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาวะ stagflation ก็คือ ภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศชะงักงัน แต่กลับมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งในที่นี้จะขอใช้คำว่า เงินตึงราคาเฟ้อ ไปก่อนแม้ว่าจะไม่ตรงตัวเสียทีเดียว
ในทฤษฎีเศรษฐกิจสมัยใหม่ยุคแรกๆ นั้น จะไม่มีการพูดถึงภาวะ stagflation เพราะภาวการณ์ทั้งสองอย่างนั้นเป็นสิ่งตรงข้ามซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเกิดชะงักงัน อุปสงค์ (demand) ทั้งทางด้านการบริโภคและการลงทุนไม่เพิ่มขึ้น ผู้คนไม่จับจ่ายใช้สอย ผู้ผลิตไม่ขยายการผลิตและการลงทุน ภาวะเงินเฟ้อก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในทางตรงข้าม หากเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ นั่นย่อมหมายความว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว ผู้ผลิตมีการขยายการผลิตและต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคก็มีอำนาจซื้อที่จะต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้อุปสงค์โดยรวมเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดมีการรวมกลุ่มในลักษณะ Cartel ของประเทศผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันที่เรียกกันว่า OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) และต่อมาได้มีการรวมหัวลดกำลังการผลิตน้ำมันลงเพื่อผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น จนเกิดภาวะวิกฤติน้ำมัน (Oil Crisis) ขึ้นทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ. 1970-1980 ประเทศส่วนใหญ่ก็ได้รู้จักกับภาวะ stagflation ซึ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะงักงันไม่เจริญเติบโต แต่ราคาสินค้ากลับเพิ่มสูงขึ้นจนก่อให้เกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อขึ้นพร้อมๆ กัน
ถ้ายังจำกันได้ ประเทศไทยในยุคนั้นก็หลีกเลี่ยงหนีชะตากรรมของผลกระทบจาก Oil Shock ไปไม่พ้น ในฐานะประเทศที่ต้องพึ่งพิงแหล่งพลังงานจากภายนอกด้วยการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ประเทศไทยต้องเผชิญกับมรสุมทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แม้ว่ารัฐบาลในขณะนั้นจะได้ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานในหลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น การให้สถานีโทรทัศน์แพร่ภาพภายในเวลาที่สั้นลงกว่าเดิม การให้ปั๊มน้ำมันปิดบริการเร็วขึ้น หรือการปิดไฟข้างถนนสลับกัน เป็นต้น แต่ท้ายที่สุดเศรษฐกิจไทยก็ต้องเข้าสู่ภาวะ stagflation อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์น้ำมันที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ทางการจึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสามารถรับมือกับแรงกดดันจากภายนอกได้ ในช่วงนั้น เราจึงได้เห็นมาตรการและโครงการหลายอย่างที่มุ่งไปยังการแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้างทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยโครงการส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากธนาคารโลก แต่เป็นไปในลักษณะ Program Loan มิใช่ Project Loan อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ภายใต้ชื่อว่า เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้าง (Structural Adjustment Loan) หรือที่เรียกกันว่า SAL ซึ่งต้องใช้เวลานานในการดำเนินงาน จนต้องมี SAL II ตามมาและปัญหาทางเศรษฐกิจสามารถคลี่คลายไปได้
จะเห็นได้ว่าภาวะ stagflation เป็นภาวะเศรษฐกิจซึ่งยากลำบาก และต้องใช้ทรัพยากรและเวลานานในการแก้ไขปัญหา เพราะจำเป็นต้องใช้มาตรการที่ลึกลงไปถึงระดับโครงสร้างและเป็นมาตรการระยะปานกลางและระยะยาว นอกจากนั้น ปัญหา stagnation และปัญหา inflation ก็เป็นปัญหาซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่ ตรงกันข้าม ซึ่งถ้าทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหนึ่งได้ ก็อาจจะทำให้ปัญหาอื่นเลวลง ดังนั้น จึงต้องใช้ศิลปะในการ แลกเปลี่ยน (trade-off) เครื่องมือทางนโยบายที่มีอยู่เป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดผลโดยรวมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และที่ร้ายไปกว่านั้น ก็คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (small, open economy) ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัจจัยภายนอกประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องในเรื่องเสถียรภาพภายนอก (external stability) ทั้งในเรื่องของดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยน จึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นที่จะต้องพิจารณาประกอบกันไปด้วย
ดังนั้น ในช่วง Oil Shock ทั้ง 2 ครั้งในอดีตที่ผ่านมาเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เราจึงได้เห็นทั้งปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลทางการคลัง และปัญหาการว่างงาน ซึ่งต้องใช้เวลานานปีกว่าจะฝ่ามรสุมปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาได้
การที่มีผู้กังวลในเรื่องของการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะ stagflation ว่าไปแล้ว ก็เป็นสิ่งดีที่จะช่วยให้เกิดการ ตระหนัก เพื่อที่จะได้ เตรียมพร้อม สำหรับการรับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะสรุปว่าในขณะนี้ เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะ stagflation ก็เป็นการกล่าวที่คลาดเคลื่อนเกินความจริง เพราะภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันต่างกับเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และในขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็มิได้ตกอยู่ในภาวะ stagflation แต่อย่างใด ระบบเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวในอัตรา 6-7% มิได้หยุดชะงักงัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับต่ำเพียงประมาณ 2-3% เท่านั้น
ถ้าถามต่อไปว่า แล้วเศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ stagflation หรือไม่ ? คำตอบก็คือ เป็นไปได้ หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงเกินกว่า 50 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรล และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ไม่มีการดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาพลังงานอย่างถูกต้อง
ภายใต้สภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งเรายังไม่มีแรงกดดันจากปัญหาภาวะเงินเฟ้อและปัญหาเสถียรภาพภายนอกมากนัก การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์พลังงานยังนับว่าอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ง่ายกว่าภาวะแวดล้อมในอดีตเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เศรษฐกิจไทยต้องเข้าสู่ภาวะ stagflation เพียงแต่ว่ามาตรการที่นำออกมาใช้จะต้องมิใช่มาตรการที่เน้นในเรื่องการกลบเกลื่อนปัญหาในระยะสั้น หากแต่ควรจะเป็นมาตรการในระยะปานกลางและระยะยาวที่มุ่งแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้างเป็นสำคัญ เพราะโดยเปรียบเทียบแล้ว ภาวะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในสถานะที่ดีกว่าช่วง Oil Shock ในอดีต และดีกว่าประเทศในภูมิภาคนี้อีกหลายประเทศ
toon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 216
ผู้ติดตาม: 0

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมพอจะรู้เกี่ยวกับภาวะ staginfltion บ้าง นะครับ ซึ่งก็คือเป็นภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นแต่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจหรือGDP กลับมีอัตราลดลง ตามปกติแล้วเราจะพบว่าในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำ มักจะมีคนพูดถึงการเกิดภาวะเงินฝืดกันมาก แต่ในทางตรงกันข้างเมื่อเริ่มฟื้นตัวหรือกำลังเติบโตก็จะมีคนในวงการการเงินเริ่มออกมาบอกว่าให้ระวังเกิดภาวะเงินเฟ้อ แต่สำหรับ staginflation แล้วก็มีลักษณะที่แตกต่างออกไปคืออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่GDP กลับลดลง ซึ่งเกิดจากการที่ต้นทุนการผลิต( ในภาษาทางเศรษฐศาสตร์ก็คือการที่เส้น supply ในแบบจำลอง aggregate expenditure shift สูงขึ้น) ในที่นี้ก็คือการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างมาก โดยภาวะ stagflation เคยเกิดกับสหรัฐมาแล้วในช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากๆ ในอดีต ซึ่งครั้งนั้นสหรัฐต้องใช้เวลาหลายๆปี มากกว่าจะแก้ใขปัญหาดังกล่าวได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 46

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เห็นว่าเคยเกิดขึ้นในเมืองไทยช่วง 2540 - 2541
ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี ได้เสนอว่าให้นำประเด็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสำคัญทั้ง 4 ประการนี้ หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อสร้างเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้การศึกษาเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งจะเป็นการสร้างกระแสทางสังคม และทำให้การปฏิรูปการศึกษา และแก้ปัญหาต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น


ปัจจุบันประชาชนไทยมีความวิตกกังวลกับปัญหาการศึกษาของลูกหลานอยู่มาก เพียงแต่ประชาชนยังชอบฝากความหวังไว้กับรัฐบาล ฝากความหวังไว้กับครูอาจารย์ นักวิชาการต่าง ๆ มากเกินไป ประชาชนยังไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้พวกเขาวิตกกังวลนั้น แท้จริงเกิดมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลและครูอาจารย์ นักวิชาการในปัจจุบันนั้นเอง ประชาชนยังไม่ได้ตื่นตัวว่าขณะนี้การศึกษามีปัญหาถึงขั้นวิกฤติชนิดที่ประชาชนจะต้องรวมพลังกันเรียกร้องทั่วประเทศจนเป็นเจตนารมณ์ทางการเมือง ที่จะผลักดันให้นักการเมืองและผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายต้องลงมือดำเนินการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง โดยประชาชนจะต้องเข้าไปร่วมลงมือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปทางการศึกษาด้วย

การศึกษากับวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

ปีพ.ศ. 2540 เป็นปีแห่งวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับประเทศไทยในรอบสองร้อยกว่าปีภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย สภาพของปัญหาวิกฤติคือ การที่ค่าเงินบาทมีค่าลดลงเทียบกับเงินดอลลาร์มากกว่าร้อยละ 50 ประเทศไทยต้องเซ็นสัญญากู้เงินที่มีเงื่อนไขผูกมัดหนาแน่นจากกองเงินทุนระหว่างประเทศ (IMF) ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัดงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐ, ขึ้นราคาค่าสาธารณูปโภค, ต้องใช้นโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้อยู่ในระดับสูง และเข้มงวดการให้สินเชื่อ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะรัดเข็มขัดประชาชนในประเทศเพื่อระดมหาเงินไปใช้เจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ธุรกิจภาคเอกชนเป็นผู้กู้มามากเกินไป และใช้ในการลงทุนในทางเก็งกำไร และอุตสาหกรรมหลักที่ไม่ประสบความสำเร็จ

สภาพปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นผลให้เกิดภาวะสินค้าราคาแพงควบคู่ไปกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา(Stagflation) ธุรกิจล้มละลาย ขาดทุนปิดกิจการหรือลดขนาดการผลิต ปลดพนักงาน ลดเงินเดือน และสวัสดิการ ขณะที่สินค้าทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนทั้งประเทศถูกทำให้จนลงอย่างกระทันหันโดยทั่วหน้ากัน
ส่วนในอนาคตจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ อันนี้ไม่ทราบครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 46

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มีคนบอกว่ายังไม่เกิดในช่วงนี้
สศช.ยืนยันเศรษฐกิจอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยเมื่อ 27 ส.ค. 47 ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ของ ธปท.ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจยังไม่ได้อยู่ในภาวะเงินหด (Stagflation) หรือภาวะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นแต่เศรษฐกิจถดถอย เพราะขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่ ตลอดจนภาวะการว่างงานลดน้อยลงมาก เป็นเศรษฐกิจขาขึ้น
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 27

STAGFLATION ท่านใดเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้บ้างครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อเมริกาเคยเจอ stagflation ครั้งหนึ่ง ปี 1971 - 1972 หรือไงนี่ล่ะครับ
ตอนนั้นเป็นศัพท์ฮิตที่โน่นเลย

Stagflation ในเมืองไทยคงจะไม่เกิดในปีนี้ครับ

แต่ถ้าระดับราคาน้ำมันอยู่เกิน $45-50 ไปอีกสองปี
เกิดแน่ครับ
ล็อคหัวข้อ