MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผวน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผวน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Money talk@SET 12Mar2016

ช่วงที่ 1 สัมมนา หัวข้อ "หุ้นเด่นน่าจับตา"
1) คุณอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ กรรมการผู้จัดการ บมจ. น้ำตาลบุรีรัมย์
2) คุณธวัช มีประเสริฐสกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไดอิ กรุ๊ป
3) คุณธิดา แก้วบุตตา กรรมการบริหาร บมจ. ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979
4) ดร. ฤทธี กิจพิพิธ กรรมการบริหาร บมจ. สแกน อินเตอร์
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ ดำเนินรายการ

เกริ่นนำ
หมอเค แม้จะเคยเชิญบริษัทมาในปีก่อนแล้ว บริษัทที่เชิญมามีนวัตกรรม น่าสนใจ
ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
อ.ไพบูลย์ เสริมแม้เคยฟังแล้วบางครั้งก็จำไม่ได้ หรือคนใหม่ก็ยังไม่ได้ดู
หมอเค มี motto ให้แต่ละบริษัท
- BRR หวานเป็นลม ขมเป็นยา หวานแบบ BRR ได้คุณค่าทางอาหาร และพลังงานทางเลือก
- อยากกินบะหมี่ สำเร็จรูป ต้องมาม่า อยากได้บ้านกินซ่าสำเร็จรูปต้อง DAII
- มีบ้านมีรถเงินสดทันใจ อยากได้หุ้นที่โตไวไว ต้อง ศรีสวัสดิ์พาวเวอร์
- ราคาแก๊สจะขึ้นจะลง SCN ได้ทั้งขึ้นได้ทั้งร่อง (เพราะมีท่อ"ล่อง"หนอยู่)

การประกอบธุรกิจ
BRR
เป็น holding company มีบริษัท
ธุรกิจหลัก เป็นโรงงานน้ำตาล มี by product ใช้ทำธุรกิจอื่น
ธุรกิจที่ 2 โรงไฟฟ้าชีวมวล ใช้ ชานอ้อน เป็นวัตถุดิบ ปัจจุบันมี 2 โรงงาน ผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้า
กำลังสร้างโรงงานที่ 3 โรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่เหลือ
ธุรกิจ 3 คือปุ๋ย มาจาก by product
ธุรกิจ 4 กำลังศึกษา โดยเอา by product ที่เหลือไปใช้ประโยชน์
ปกติโมลาส ขายโรงเหล้า โรงเอทานอล โรงผงชูรส เดิมมีความตั้งใจจะเอาไปทำเอทานอล
แต่สถานการณ์ปัจจุบันน่าจะทบทวนไปทำธุรกิจอื่นที่ใช้โมลาสไปทำได้
ถ้าไม่เลือกพลังงานก็อาจจะเป็นอาหาร เช่น ยีสต์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด
ซึ่งจะใช้ยีสต์แตกต่างแต่ละประเภทอาหาร
หัวใจสำคัญธุรกิจน้ำตาล เน้นที่วัตถุดิบ โรงงานปี 59 เรามีกำลังผลิตผลิตอ้อย 23,000 -24,000 ตันต่ออ้อย
พื้นที่ปลูกรอบโรงงาน 200,000 ไร่ กำลังขยายพื้นที่เพิ่ม
พื้นที่ปลูกอ้อยเป็นเกษตรกรมีคู่สัญญาอยู่ 15,000 ครอบครัว ที่เราดูแล
เราต้องไปช่วยให้ความรู้ ทั้งด้านการทำเกษตร และการเงิน
เมื่อก่อนเราก็เคยเดินผลิต อุตสาหกรรมมักจะตัดตอนที่รั้วโรงงาน
แต่เรามาคิดแล้วว่ามันแยกกันไม่ได้ ภาควัตถุดิบกับโรงงานต้องเป็นอันเดียวกัน
เพราะต้นทุนทั้งหมดที่จะส่งไปถึงลูกค้า
สุดท้ายเราต้องไปแข่งขันกับตลาด แข่งขันกับต่างประเทศ
เกษตรทุกอย่างก็น่าจะเป็นโครงสร้างเดียวกันแบบนี้
เราให้ความสำคัญมาเป็น 10 ปีแล้ว ทั้งระบบข้อมูล การพัฒนาให้ความรู้ชาวไร่
ต้องทำให้เขาเข้มแข็ง
คนมาดูงานที่บริษัทมีจากทั่วประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน
สิ่งที่คนมาดูคือ ชาวไร่ที่อยู่รอบๆเราเข้มแข็ง วัตถุดิบที่เอาเข้ามามีคุณภาพสูงกว่าปกติ มี yield ที่โดดเด่น
อ้อย 1 ตัน ผลิตได้น้ำตาลสูงกว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ 10 กว่า kg ทำให้ต้นทุนเราต่ำ
เพราะราคาอ้อยทั่วประเทศควบคุมเท่ากัน
วัตถุดิบของธุรกิจ อาหาร ความสด ความสะอาด ให้คุณค่าสูงกว่า
อ้อยพิเศษกว่า น้ำตาลจะอยู่ในอ้อย Concept ของเรา น้ำตาล สร้างในไร่
เราเลือกอ้อยที่มีน้ำตาลสูงสุดเข้ามา สำคัญที่สร้างความสัมพันธ์เป็น 1 เดียวกับชาวไร่
ไม่ต้องต่างคนต่างตัดเอารถมารอ กว่าจะเข้าโรงงานเสียเวลารอ
ชาวไร่จะรู้คิวที่ต้องเอาอ้อยเข้าโรงงาน สามารถดูข้อมูลรายได้จาก tablet ได้
มีโรงเรียนเกษตรกร ร่วมกับมหาวิทยาลัยสาธิตรามคำแหง

DAII
บริษัทเน้นสร้างนวัตกรรม เป้าหมายเมื่อ 15 ปีก่อน เรามองวัสดุก่อสร้าง เป็นรายแรกผลิตรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป
ต่อสู้มาจนสินค้ายอมรับ เป็นชิ้นเหมือน jigsaw ไม่ต้องก่ออิฐฉาบปูน
จากเดิมใช้เวลา 1 เดือน สร้างรั้วจะเหลือ 3-4 วัน แข็งแรงกว่า
ทำบ้านสำเร็จรูปจากโรงงาน เราทำโมเดล เหมือนรถยนต์ เวลาลูกค้าอยากได้บ้านก็เลือกโมเดล
แล้วผลิตจากโรงงาน 80-90% แล้วไปประกอบที่หน้างาน ใช้เวลา 3-4 เดือน
เริ่มตั้งโรงงานต้นปี 57 ใช้เงินทุนเยอะมาก จึงต้องระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
เราไม่ได้เป็น real estate กลุ่มเป้าหมายเรา คือ ลูกค้าที่ใช้ contractor ใช้เวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง
ทำบ้านสำเร็จรูปจากคอนกรีตในราคาที่สู้กับผู้รับเหมาได้
มูลค่าตลาดสร้างบ้าน 1.5 แสนล้านบาทต่อปี
เป็นแบบมีที่ดินแล้วมาสร้างบ้าน 5.6 หมื่นล้านบาท โดย 90% อยู่ในมือ contractor ทั่วไป
ลูกค้าเราปกติต้องมีที่ดิน หรือมีบ้านเก่าอยู่แล้วอยากรื้อสร้างใหม่ ติดต่อเราผ่านเวบไซต์ได้
ส่วนใหญ่จะสั่งซื้อออนไลน์ เนื่องจากอยู่ในระยะไกล แล้วเรายังไม่มีโชว์รูม
(ตอนนี้มี 3 กำลังจะเพิ่มเป็น 6 ในกรุงเทพ) หลายๆคนจากต่างจังหวัด มาดูตัวอย่างบ้านจริงในกรุงเทพ
ปัจจุบัน ราคาเริ่มต้น 2.5 ล้านบาท สำหรับ 200 ตรม. ไปถึง 500 กว่าตรม. ราคา 8 ล้านบาท แพงสุด 10 ล้านบาท
เทียบราคา ถ้าเป็นบ้านสำเร็จรูปรายใหญ่ในไทยจะแพงกว่า ตรม.ละ 2.5-3 หมื่นบาท
ถ้า A49 ตรม. 3 หมื่นกว่าบาท ของเรา ตรม.ละ 13,000 กว่า
โดยรุ่นใหม่ที่ออกในปีนี้ ตรม.ละ หมื่นต้นๆ ทำให้ชาวบ้านที่มีเงิน 1 ล้านบาทสร้างบ้าน 2 ชั้นได้
ใช้ที่ดิน 40 ตร.วา เนื้อที่ใช้สอย 100 ตรม.
เมื่อสร้างเสร็จแล้วสามารถเข้าอยู่ได้ รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ ถ้าตัองการก็คลิกเลือกในเวบไซต์ได้เลย
ระยะเวลา ถ้าไม่รวม ขออนุญาต สำรวจทีดิน พอตอกเข็มแล้วนับเวลา 4 เดือน
บ้านรุ่นใหม่ 3 เดือน เป้าหมาย เราจะให้เหลือ 2 เดือน
กำลังการผลิต 1,000 ล้าน ใช้ 20% ในปีก่อน จากยอด backlog ปีก่อน ซึ่งสร้าง 50-60 หลัง
บ้านเราสามารถต้านแผ่นดินไหวได้ด้วย

SAWAD
บริษัทไม่มีนวัตกรรมอะไร เกี่ยวกับเงิน ให้สินเชื่อแบบมีหลักประกัน
อะไรก็เป็นสินเชื่อได้ บ้านก็ได้ ถ้าต้องการใช้เงินด่วน ก็แวะมาสาขา
สิ้นปี 58 มี 1620 สาชา หลังเข้าตลาดก็มี สินค้าใหม่ คือ รับจ้างติดตามหนี้
ใช้ประโยชน์จาก network ของเรา ลูกค้าคือ สถาบันทางการเงิน ให้ช่วยตรวจสอบทรัพย์สิน
และมีสินค้าใหม่อีกอย่างคือ ซื้อหนี้เสียมาบริหาร concept เหมือนช่วง subprime
มีทรัพย์สินจำนวนหนึ่งที่สถาบันการเงินไม่ต้องการ ซึ่งเราก็ซื้อมาแบบมีส่วนลด
ปีก่อนซื้อมา 1200 ล้านบาท เป็นทรัพย์สินที่มีหลักประกัน
การบันทึกบัญชีจะแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ใช้ทีมงานที่ติดตามหนี้เป็นชุดเดียวกัน

รายได้ทั้งหมดหลักๆมาจากการปล่อยสินเชื่อมีหลักประกัน
การซื้อหนี้เสียมาบริหาร 2 ครั้ง เดือน 1 กับ 12 ปี 58 น่าจะใช้เวลาซักพักกว่าจะมี return
สิ่งที่ sawad ขายคือเงิน ต่อให้มี inventory ค่าคงค้างก็ไม่เยอะมาก
จึงทำให้ต่างกับธนาคาร เราไม่มีรับเงินฝาก เงินทุนเรามาจากการกู้ยืม จากธนาคาร ออกหุ้นกู้ ตั๋วเงิน
ธนาคารพาณิชย์บางแห่งก็สนใจมาทำธุรกิจนี้เช่นกัน
การให้ยืมเงินโดยเฉลี่ย ให้เงิน มอเตอร์ไซค์คันละ 7000 รถยนต์คันละ 1-3 แสนบาท ส่วนใหญ่เป็นรถกระบะ
คู่แข่งค่อนข้างเยอะ ถ้าเทียบร้านสะดวกซื้อคู่แข่ง 1 ร้าน leasing 7 ร้าน อาหารญี่ปุ่น 10 ร้าน
เรามองว่าความต้องการในตลาดยังมีเยอะ และการแข่งขันด้านราคายังไม่มาก

เรื่องปัญหาแล้ง บริษัทมองว่าไม่ได้กระทบ มีกระจายไปทั่วประเทศ
ความต้องการสินค้าเราใครๆก็ใช้กัน ยังคึกครื้นเหมือนเดิม
หนี้เสีย ไม่ได้ขึ้นกับภัยแล้ง เป็นสิ่งคู่กันกับธุรกิจ เราดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด
มีโทรถามไถ่ สาขาเราอยู่ในชุมชน รู้จักลูกค้าอย่างดี
เป้าหมายสิ้นปี 59 เป็น 2000 สาขา
ลูกค้าโดยส่วนใหญ่เป็นกิจการเล็กๆในชุมชน อาจเกิดจากขาดสภาพคล่อง
ปีก่อนธนาคาค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ในปีนี้ก็ยังมีความต้องการสูงขึ้น
ใช้เวลาพิจารณาให้กู้ไม่นาน ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ 20-30 นาที รถยนต์ 30-120 นาที
บ้านอาจจะมากกว่า 2 ชม. นิดหน่อย

SCN
ธุรกิจเราทำแก๊ส โดยแก๊สมีหลายประเภท ที่ของเราทำแก๊สธรรมชาติอย่างเดียว
ใช้สำหรับ รถยนต์ อุตสาหกรรม, i-cng, ผลิตแก๊ส NG ให้ ปตท., ขนส่งแก๊สด้วย
ของเราเกิดขึ้นนจากนวัตกรรมเหมือนกัน
ผลิตอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในสถานี NGV แต่เพียงผู้เดียวใน SEA
NGV ไม่ง่ายเหมือน LPG เพราะต้องใช้แรงอัดสูงและน้ำหนักเบากว่า
ตอนนี้ราคา LPG แพงแล้ว ถ้าอยากประหยัดต้องเติม NGV
สิ่งที่ผลิต เครื่องอัดแก๊ส, ตู้จ่าย, host ท่อส่งแก๊ส
ทำให้เรามีศักยภาพเป็น first mover ในธุรกิจนี้
เราสร้างสถานี NGV มากสุดในไทย คิดเป็น 60% ของสถานีทั่วประเทศ
และอุปกรณ์เราผลิตเอง เมื่อต้องซ่อมบำรุง เราก็จะเป็นผู้ขายอุปกรณ์หรือดำเนินการซ่อมบำรุง
ในปี 2009 เริ่มมีสถานีแม่ เหมือนเป็นโรงบรรจุแก๊สของเอกชนใหญ่ที่สุด กำลังผลิต 640 ตันต่อวัน
หรือ 6.4 แสน kg ตันต่อวัน ผลิตให้กรุงเทพและปริมณฑล และขนส่งแก๊สไปยังสถานีลูกต่างๆด้วย
รายได้จะได้ค่าบริการจาก ปตท. ไม่เกี่ยวกับน้ำมัน ขึ้นกับว่าขนใกล้หรือไกล ได้รายได้เป็น บาท / kg/ km
มีรายได้จากปั๊มสแกนอินเตอร์ 5 สถานี โดย 2 แห่ง เป็นสถานีแนวท่อ
และมีแบบที่เป็น daughter station อยู่นอกแนวทาง 3 สถานี
ท่อแก๊สในไทยมี 4 เส้น ขึ้นจากอ่าวไทยไปส่งให้โรงไฟฟ้าเป็นหลัก
ข้อดีของสถานีบนแนวท่อ คือแก๊สไม่มีวันหมด และใส่ compressor ก็ยิ่งอัดได้มากเท่านั้น
สถานีบนแนวท่อ ขายได้ 7 หมื่น kg ต่อวัน จะได้ค่าการตลาด ไม่ได้เกี่ยวกับ ราคาน้ำมัน หรือแก๊ส
เราเป็นเหมือนผู้รับจ้างขายแก๊สให้ ปตท. ทุก kg ที่ขายได้ 2 บาท
ไม่ว่า ngv จะเป็น 8.5 หรือ 6 บาท แต่สิ่งที่มีผลคือ demand
สิ่งที่น่าสนใจ วงการ ngv กำลังจะกลับมาเกิดอีกรอบ เนื่องจากการตรึงราคา
ทำให้ ปตท.ต้องรับภาระขาดทุนเยอะ ต้นทุนแก๊สอิงราคาน้ำมัน ช่วงนั้นต้นทุน ngv 16 บาท แต่ขายราคา 8.5 บาท
แต่ตอนนี้ได้มีนโยบายที่ชัดเจนจาก สนพ. คือการลอยตัว ngv เมื่อก่อน เบนซิน 50 บาท ngv 8.5 บาท
ถ้าเทียบดีเซล มาใช้ ngv น่าจะประหยัดไปได้ครึ่งนึง
แก๊สเราเจอได้ในอ่าวไทย และมีความง่ายในการควบคุมให้ถูก
โรงงานเราส่งไปสถานีอุตสาหกรรม โรงงงานส่วนมากใช้น้ำมันเตา กับ lpg
ตอนนี้ lpg แพงมาก 4 ล้านกว่าบาทต่อ btu ถ้าเป็น i-cng จะถูกกว่าเกือบครึ่ง
เมื่อก่อนการใช้ NG ในโรงงานดีสุด เพราะอิงราคาน้ำมันเตา สะอาด แต่ใช้กันไม่ได้
เพราะท่อในไทยมีน้อยมาก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องตั้งใจอยู่แนวท่อ หรือเป็นนิคมฯ
ไม่เช่นนั้นต้องใช้ lpg หรือน้ำมันเตา ซึ่งเราผลิตเป็นแก๊สอัด แล้วขนส่งไปโรงงาน convert จากแก๊สอัด
เป็นแก๊สธรรมดา อุปกรณ์เรียกกว่า prs
Cng กับ ngv เหมือนกัน ราคาไม่เท่ากัน
Cng คือแก๊สธรรมชาติอัด มีหลายคุณภาพ แต่ ngv เป็นแก๊สอัด สำหรับรถยนต์
สำหรับ i-cng ใช้กับโรงงาน แทนน้ำมันเตา
น้ำมันเตา ในระยะไกลๆหน่อยราคาจะพอๆกับ cng
ซึ่งน้ำมันเตาปัญหาตอน start ควันจะดำ เหม็น และสกปรก
อุปกรณ์ลดแรงดัน เราจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรม เป็นเจ้าเดียว

ผลดำเนินงานที่ผ่านมากับแนวโน้ม
BRR
ธุรกิจเกษตร ดูงบปีไม่ได้ ขึ้นกับแต่ละช่วงส่งออกเป็นอย่างไร
ปี 58 ช่วงไตรมาส 1-2 ส่งออกดี ช่วงไตรมาส 3-4 drop
ส่วนหนึ่งเราหยุดซ่อมแซมโรงไฟฟ้า (สัดส่วนกำไร 10%) และพวกหน้าฝน วัตถุดิบมีความชื้นสูงผลผลิตก็จะตก
แต่ไม่แน่ไม่นอนอย่างปี 56 ไตรมาส 3-4 ดีกว่าก็มี สรุปคือในปีหนึ่งขายได้หมดอยู่ที่ shipment ช่วงไหน
ปี 57 มีโรงไฟฟ้า 9.9 MW ต้นปี 58 เสร็จโรงที่ 2 ก็มีการปรับปรุงโรงที่ 1 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีสุด
ปี 58 ถือว่าราคาต่ำมากสำเร็จสินค้าเกษตร 70% ส่งออกทั่วโลก
ซื้อขาย ไปที่ตลาด new York no.11 london no.5 หลายประเทศคู่แข่งก็ลำบากกัน
ปี 59 ราคาดีขึ้นมาพอสมควร และเร็วพอสมควร
สิ่งสำคัญคือ อัตราแลกเปลี่ยนก็ช่วยสำหรับธุรกิจส่งออก เพิ่มขึ้น 10-20%
ราคาน้ำตาลตอนนี้ 15 เซ็นต์/ปอนด์ เอา 22.64 คูณเป็น เหรียญต่อตัน
ปีก่อนตกลงไป 10 เซ็นต์ ซึ่งปีก่อนแม้จะตกต่ำแล้ว แต่ก็ยังเติบโตอยู่
ปี 59 น่าจะดีขึ้นพอสมควร เพราะโรงไฟฟ้าเดินได้เต็มที่
พยายามใช้ by product ของเราจริงๆ ถ้าขนวัตถุดิบจากข้างนอก cost จะสูงมาก
โรงไฟฟ้าที่ 3 กำลังสร้าง น่าจะใช้ภายในบริษัท
ปีนี้จะทำโรงงาน refinery คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 10 เดือน
ปัจจุบันเราใช้ไฟฟ้า 25 MW ถ้าอำเภอเมืองบุรีรัมย์ใช้อยู่ 6 MW
การดึงไฟฟ้าจากข้างนอกจึงยาก และ swing เวลาใช้มากจะกระชาก
โรงไฟฟ้าที่ขายให้การไฟฟ้า 9.9 MW 2 โรงงาน
จะขยายได้มากกว่านี้หรือไม่ ขี้นกับวัตถุดิบ ปริมาณอ้อย การขึ้นโรงไฟฟ้าใช้เวลาไม่นาน
ปริมาณอ้อย ปัจจุบัน 2.2 ล้านตัน ในอีก 2-3 ปี เป้าหมาย 3-3.2 ล้านตัน
ต้องขยายพื้นที่ปลูกอ้อย โรงไฟฟ้าก็จะต้องเพิ่มตาม
โรงนึงใช้ 1.4 แสนตันสำหรับเผา อ้อย 1 ตันเข้าหีบ หรือกากอ้อย 15%
ประมาณ 4 แสนกว่าตัน ซึ่งจะ cover สำหรับโรงไฟฟ้าเพิ่มได้ในอนาคต

เรื่องประกาศโรงไฟฟ้าเพิ่ม 12 โรงงาน
BRR มี 2 โรงงาน เป็นนโยบายรัฐบาล ที่ปัจจุบันเรามีพื้นที่ปลูกข้าวเยอะ ห
ลายแห่งเป็นนาดอนไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว จึงต้องการเปลี่ยนให้แข่งขันกับต่างประเทศได้
ซึ่งอ้อยน่าจะแข่งได้ ไปจัดโซนนิ่งให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
น้ำตาลเราเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก ซึ่งในเอเชียเป็นแหล่งที่ใช้เยอะ
ในจีนก็ทำน้ำตาลลดลงเรื่อยๆเพราะพื้นที่เขาไม่เหมาะในการปลูก
เราจึงเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้เปรียบ จึงมีกำหนดโซนนิ่งว่าตรงไหนต้องโรงงานน้ำตาลได้อีก
ใบอนุญาตมีที่ได้สำหรับสร้างโรงงานที่จังหวัด สุรินทร์ กับ บุรีรัมย์
ต้นทุนสร้างโรงงาน กำลังผลิต 1 ตัน อยู่ที่ประมาณ 300,000 บาทต่อตัน
ถ้ากำลังผลิต 12,000 ตัน ประมาณ 3-4 พันล้านบาท ต่อโรงงาน
Partner หลายแห่งสนใจ เช่น ญี่ปุ่น เขามองว่าบ้านเราเหมาะ
แนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้น การผลิตลดลง
เรื่องยีสต์กำลังศึกษา ถ้าจะทำต้องใช้เงินทุนเหมือนกัน

DAII
ปี 58 ยอดขายโตไม่มากราว 10% ใช้กำลังการผลิต 25%
ปี 59 ภารกิจ 2 เรื่องหลัก คือเพิ่มยอดขายบ้านสำเร็จรูป
ทำโชว์รูม 3 แห่งให้เสร็จ ระยอง, เลียบด่วน, เกษตรนวมินทร์ ต้องเพิ่มกิจกรรมขาย
เพื่อเพิ่ม utilization จาก 25->50%
สินค้าใหม่ราคา 1 ล้านบาทต้นๆเปิดโชว์รูม พ.ค. นี้ที่ เกษตรนวมินทร์ คาดว่าจะช่วยให้ได้ตลาดส่วนนี้
ส่วนที่ 2 เราขายบ้านออนไลน์ วัสดุก่อสร้าง ออนไลน์ เราเพิ่มยอดขายได้มาก
เราจะเอาของ partner มาขายด้วย ต้องเร่งสร้าง โกดัง เพื่อสนับสนุน ในปีต่อไปอัตราการเติบโตส่วนนี้จะสูง
เป้าปี 59 สร้างบ้าน คาดโต 30% วัสดุก่อสร้างเป้าหมายโต 10% ยังไม่ค่อยมั่นใจ
บ้านราคาเฉลี่ย 5 ล้านบาท แต่ปีนี้จำนวนหลังน่าจะเพิ่มขึ้น
โรงงานสร้างบ้านถึงจุดคคุ้มทุนแล้ว แต่อยากสร้างผลกำไรให้ได้ดีกว่านี้
อ.ไพบูลย์เสริม การสร้างบ้านคิดเอง ปวดหัวมาก เลือกที่เขาให้เลือกเสร็จแล้วง่ายกว่า

SAWAD
ผลดำเนินงานก็เป็นไปตามคาด ปีก่อนคาดว่าโต 50%
ปี 59 ตั้งเป้าหมายโต 20-30% ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี สภาพคล่องต่ำก็มีคนต้องการสินค้าเรา
ถ้าเศรษฐกิจดีก็มีคนขยายกิจการ
มองว่าเป็นการโตจากสินค้าเดิม ส่วนการซื้อหนี้เสียมาบริหารน่าจะยังไม่มีผลกำไรนัก
การลงทุนต่างประเทศศึกษามาสักพักแล้ว อาจจะมีการลงทุนในปีนี้ ตอนนี้มีได้ trading license ในเวียดนาม
หนี้เสีย สิ้นปี 57 4-5% สิ้นปี 58 3% กว่า ปี 59 ตอนนี้น่าจะยังทรงๆ และคิดว่าทั้งปีจะ maintain ในระดับนี้

SCN
ปี 58 ถือว่าเข้าเป้า หลุดเป้าไปนิดหน่อย เนื่องจาก icng เกือบ full cap 4 พัน mmbtu แต่น้ำมันลงเร็ว
ขายได้ตามคาด พอน้ำมันลง แก๊สลง กำไรเป็น % ลดลง
ปี 57 เรามีขายโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ก่อนเข้าตลาด 170 ล้านบาท และมีขายหางรถขนแก๊ส
ไม่ได้เป็น recurring ดังนั้นถ้าดูงบ 58 ถ้าตัดตรงนี้ออกไปโต 50% จากผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดจะซ้อปั๊มเพิ่ม 3 สถานีในปลายปี 59 เพราะมองว่าน่าจะดี
การเติบโตปี 59 NGV ปีนี้ดี เป็น spread คนจะเริ่มใช้มากขึ้น ปตท.จะเริ่มอนุมัติมากขึ้น
เดิมขายแก๊สแนท่อได้ค่าการตลาด 2 บาท
ตอนนี้ราคาจากท่อเป็นเท่าไร บวก 3.43 + vat เป็นราคาขายหน้าปั๊ม อันนี้กับสถานีใหม่
แต่เดิมไม่เคยซื้อแก๊สมาขาย ขายให้แต่ปตท. ตอนนี้จึงจะเน้นขยายสถานี NGV
ปีนี้จึงจะมุ่งเน้นขยายสถานี NGV ตั้งเป้าหมาย 3 ที่ จะเป็น recurring ไปเรื่อยๆ
อาจจะมาจากการ m&a หรือสร้างใหม่สถานีแนวท่อ
เราเป็นเจ้าที่ได้เปรียบ สามารถ maintenance ได้ถูกกว่า ผลิตอุปกรณ์ เพิ่มตู้จ่าย
บริษัที่ซื้อมาจะเพิ่มใต้สยามวาสโก้ ที่ทำรีเทลขายปลีกแก๊ส
ซึ่งต่อไปถ้าต้องการขยายมาก ก็เพิ่มทุนที่สยามวาสโก้ได้
i-cng ลูกค้าที่ปทุมธานีใกล้ครบแล้ว จะเพิ่มอีก 4000 mmbtu ที่สระบุรี
ลูกค้ามาจากหลายสาย เพราะราคา lpg แพงมาก
รัฐบาลมีนโยบายค่อนข้างดี ที่จะลดการสนับสนุนต่างๆ จะทำให้ราคาสะท้อนต้นทุนแท้จริง
เอกชนรายอื่นๆจะเข้ามาร่วมขายพลังงานได้ เช่น lpg ที่ให้คนอื่นนำเข้าได้ด้วย
รวมถึง NG ก็เช่นกัน เราก็ไปดูว่ามีหลุมไหนที่จะทำ i-cng สาขาที่ 3 หรือ 4
ถ้าไปเอาจากหลุมไม่ต้องจ่ายค่าผ่านท่อของ ปตท. ก็เป็นอนาคตที่น่าสนใจ
การขนส่งเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทได้ซื้อบริษัทขนส่งที่ระยองเพิ่ม เราเห็น synergy ตรงนี้
ถ้าขนแก๊สเยอะก็มาขนแก๊ส ถ้าไม่มีก็ไปขนส่งตามสัญญาเดิม ทำให้ได้รถเพิ่ม 100 กว่าหัว
เงินลงทุนซื้อไป 93 ล้านบาท


ช่วง 2 สัมมนาหัวข้อ “ตามรอยเซียน กลยุทธ์ลงทุนยามหุ้นผันผวน”
1) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
2) คุณฉัตรชัย วงแก้วเจริญ
3) คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ
4) คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

ซื้อขายหุ้นบ่อยไหม?
คุณฉัตรชัย
ปกติถือหุ้นบริษัทเดียวหลายปี

คณวิบูลย์
มาร์เก็ตติ้งไม่โทรหาแล้ว ถ้าคิดได้จะโทรหา

คุณพรชัย
ปีใหม่ยังได้ของขวัญ แล้วแต่โอกาส มีจังหวะที่ควรซื้อหรือขายก็ทำ
ไม่ได้ตั้งใจว่าจะซื้อขายบ่อย ควรลงทุนด้วยมุมมองของนักลงทุนระยะยาว
โดยเฉพาะมือใหม่ ชอบตั้งกฏเกณฑ์ 1,2,3,4 เช่น จะซื้อขายไม่บ่อย
มันขึ้นกับจังหวะโอกาส ซึ่งไม่ใช่เอามาเป็นตัวตั้ง

ดร.นิเวศน์
คล้ายๆคุณพรชัย

จะซื้อขายเมื่อไร ?
คุณวิบูลย์
ขอตอบเรื่องขายก่อน ตามทฤษฎี มี 4 ข้อ
1. เราซื้อหุ้นแล้วตัดสินใจผิด มันเป็นอย่างที่คิด
2. พื้นฐานเปลี่ยน เช่น บริษัทขายคอมพิวเตอร์ ผ่านมาคนใช้สมาร์ทโฟน
3. มีหุ้นที่ดีกว่า เช่น เจอตัวที่ดีกว่า เงินไม่มี ก็ขายตัวที่แย่สุดไปซื้อตัวใหม่
4. ราคาเกินมูลค่า ก็ขาย แต่ส่วนใหญ่ขายแล้วขึ้นต่อก็เป็นไปได้

คุณฉัตรชัย
หลักเกินปกติเหมือนคุณวิบูลย์ทั้ง 4 ข้อ จะไม่อิงกับต้นทุนที่ซื้อมา
ไม่ว่าจะขาดทุน 50% ก็ขายได้ หรือขึ้นไป 10 เท่า ก็ยังถือต่อได้

คุณพรชัย
เหมือนคุณฉัตรชัย ที่เหมือนคุณวิบูลย์
ฟังแล้วเหมือนไม่มีอะไรยาก
จะอ่านหนังสือกี่เล่ม หรือเปลี่ยนคนพูดก็จะเป็นแบบนี้ไม่มีอะไรยาก
ถ้าคิดผิดไม่ดีก็ขาย ถือไปไม่ดีก็ขาย ประเด็นคือ จะรู้ได้อย่างไร
อย่าง บัฟเฟตต์ก็ไป ออก cnbc ปลาย ก.พ. ที่ผ่านมา
ซื้อ ibm มาเป็นปีแล้วยังขาดทุนอยู่ถือเป็นความผิดพลาดหรือยัง?
บัฟเฟตต์ตอบ ยังบอกอะไรไม่ได้ เหมือนวอชิงตันโพสต์ เคยขาดทุน แล้วกลายเป็นกำไรที่ดีมาก
แต่ที่เคยซื้อเทสโก้ เป็นการตัดสินใจพลาดต้องขายออกไป
การขาดทุนดูแล้วบอกไม่ได้ว่า เราคิดผิด หรือตลาดคิดผิดแต่เราคิดถูก
การเป็นนักลงทุนข้อมูลเยอะมาก ทีวี หนังสือพิมพ์ ไลน์ เวลาจะคิดต้องดูว่าเราควรรับข่าวอะไร
ควรเอาอะไรมาคิด บางครั้งเรารับข่าวสารมากไป เราไม่ได้คิดผิดหรอก
แต่ถาโถมเข้ามาจนทำให้เรารู้สึกคิดผิด แล้วเราก็ขายออกไป
หรือทางตรงกันข้าม เราคิดผิด แต่ได้ข่าวสารจนทำให้เรานึกว่าเราคิดถูก
มันต้องกรอง ต้องใช้สมอง ก่อนจะเอามาคิดต้องมีข้อมูล
ก่อนจะคิดได้ถูกต้อง ทั้งข้อมูล และสมอง ต้องถูกต้อง
บางครั้งเราเลือกรับข้อมูล ข่าวสารไม่เหมาะกับกลยุทธ์ของตัวเอง
เช่น ถ้าคนฟัง money talk เป็นคนลงทุนระยะยาว แต่เรารับข่าวสารตกใจกับข่าวรัสเซีย
หรือข่าวอะไรที่เข้ามาแล้วขายหุ้นออกไป
การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่มีสติจะรับข่าวสารหมด
อย่าง เช่น ไลน์ ส่วนตัวไม่มี กรุ๊ปไลน์ ไม่เข้ากลุ่ม
ปกติบัฟเฟตต์จะพูดที่ cnbc ปีละครั้งหลังช่วงส่งรายงานประจำปี

ดร.นิเวศน์
ส่วนตัวเปรียบเทียบเรื่องการลงทุน จะมอง 2 เรื่อง คือเปรียบเหมือนสุลต่าน 10 โมง
ก็จะมีเด็กเอ๊าะๆ 500-600 คน มาให้เลือก แต่ละคนก็จะมายั่วให้ซื้อ ต้องตัดสินใจจะเลือกไม่เลือก
บางทีก็คว้ามาแป๊บเดียวแล้วก็ปล่อยออกไป ก็ไม่ค่อยมีความสุขจริงๆ
ถ้าจะเป็นสุลต่านที่มีความสุข ต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัด จะมีกี่คน จะนานแค่ไหน
กระจายความเสี่ยง ให้เรามีความสุขไม่สุดโต่ง
ระยะยาวต้องเลือกคนที่ดี่ที่สุด 600 ไม่ใช่ว่าคว้าไปหมด
เปรียบเทียบอีกอย่าง คือมองว่าเป็นลูกเรา แบบโบราณ ต้องสั่งได้ ทำงานให้เรา
เป็นแบบอภิชาติบุตร แต่ละคนทำงานให้พ่อแม่ เต็มกำลัง แต่ละปีเอาเงินมาจ่ายเรา
ยิ่งทำงานนาน ใหญ่โตขึ้น เอาเงินมาจ่ายเราตลอด แบบนี้ก็มีลูกหลายคนได้ ลูกบางคนแย่ก็ขายทิ้ง
อย่างบัฟเฟตต์ ส่วนใหญ่ลูกทุกคนเก็บไว้ ตัวไหนแม้ไม่ได้ดีเหมือนอดีตแต่ก็ยังเก็บเอาไว้

ทำใจอย่างไร?
คุณวิบูลย์
ถ้าทำใจไม่ได้ ก็ไม่ต้องดูตลาด ปิดจอ
เวลาเราไปซื้อของลด 50% เราแย่งกันซื้อ แต่พอเป็นหุ้นลด 50%
คนหนีกันหมด มันแปลกมาก ที่จริงเราควรคิดแบบเดียวกัน หุ้นขึ้นต้องระวัง แล้วมาดูพื้นฐาน หุ้นลงก็เช่นกัน
ส่วนตัวไม่ค่อยดูราคาหุ้น ซื้อหุ้นแต่ละตัวตั้งใจถือ 3 ปี ตลาดหุ้นปิดไป 3 ปีก็ยังเฉยๆ
ถ้าพื้นฐานยังดี ราคาลงก็เป็นโอกาส แต่ถ้าพื้นฐานเปลี่ยน เราก็คิดผิด

คุณฉัตรชัย
จะซื้อบริษัทไหน ต้องมีความรู้สึกว่าอยากเป็นเจ้าของ
จะไม่ได้ดูที่ราคาขึ้นลง ตลาดหุ้นขึ้นหรือลง มันชักนำจิตวิทยานักลงทุนได้
ตอนวิเคราะห์หุ้น ซื้อด้วยความมั่นใจ พอราคาลง ที่เราวิเคราะห์มาจเริ่มไม่มั่นใจ
เกิดความกลัว ต้องย้อนกลับไปดูว่าเราซื้อทำไม พื้นฐานเปลี่ยนไหม ราคาขึ้นลงหวือหวา
ทั้งที่พื้นฐานได้เปลี่ยนก็เป็นไปได้ เช่น มีรายใหญ่อยากขายหุ้น
เพราะเขามีตัวอื่นที่ดีกว่า หรือมีคนเข้าใจผิด
อย่างตอนน้ำท่วม มีบริษัทหนึ่งตกมามาก น้ำท่วมกระทบสั้น
ถ้าน้ำลด พื้นฐานกลับมาเหมือนเดิมไหม ซึ่งยังดีอยู่ จึงถือต่อ
หลังจากนั้นราคาหุ้นก็ขึ้นกลับไปหลายเท่า( 4 บาทขึ้นไปสูงสุด 28บาท )

คุณพรชัย
เวลาหุ้นตกแล้วเรามักจะกลัว
ปัญหาเกิดจากเราเอาจิตใจไปผูกกับอะไรบางอย่าง
เวลาเข้าตลาดหุ้น คำถามแรก ต้องถามตัวเองว่าเราเข้ามาเป็นอะไร
ถ้าเราไปผูกกับเรื่องผิดเรื่อง ถ้าเราจะเข้ามาเป็นนักลงทุนระยะยาว
เพื่อเอาเงินในตลาดหุ้นมาเป็นทางเลือกออมเงินที่หวังผลตอบแทนมากกว่า
โดยวิเคราะห์พื้นฐานจากความสามารถกิจการ ต้องเอาใจมาผูกกับผลดำเนินงาน
อย่าไปผูกกับราคา แต่ถ้าเข้ามาเป็นนักเก็งกำไร เป็นเทรดเดอร์ก็ต้องผูกกับราคา

อย่างคุณวิบูลย์บอกว่าไม่ต้องดูจอก็ได้ แต่นั่นต้องรู้ว่าหุ้นเราดี และผลดำเนินงานก็ยังดี
ไม่ใช่ความผิดพลาด คนปิดจอแล้วเจ๊งเยอะก็มี
มีนักวิชาการ ดร.บีเจ ฟ็อกก์ คนเราจะทำอะไรบางอย่าง มีคนกระตุ้น เราเกิดอารมณ์ เกิดแรงจูงใจ
มันจะทำให้เราอยากทำ อยู่ที่สิ่งนั้นทำง่ายไหม
ถ้าเราผ่านร้านเค้ก เราอยากกิน ก็ควักเงินซื้อ ทั้งที่เราตั้งใจว่าไม่ควรกินเค้ก
ในตลาดหุ้นเหมือนกัน ถ้าเราเห็น ticker ราคาหุ้นลงกระตุ้นให้เกิดอารมณ์กลัว ก็ขายหุ้นแค่ใส่พาสเวิร์ด
ดังนั้นการปิดหน้าจอไม่ดูหุ้น คือการตัด ticker แต่ต้องวิเคราะหาว่าดีแล้ว
เราถูกสอนมาว่าเราต้องขยัน ต้องทำ อ่านข้อมูลมากมาย ทั้งที่บางที่หุ้นที่เราถืออาจจะไม่เกี่ยวเลยก็ได้
ถ้าเราเอาใจไปผูกกับราคาก็มีปัญหาได้
ในหนัง zootopia จะมีสล็อต ทำอะไรช้าๆ เราต้องใช้วิธีนั้นบ้าง
กว่าจะทำอะไรช้าๆ ค่อยๆทำ กว่าจะกดอะไรเสร็จ ตลาดปิดพอดี
หรือเวลาเปิดดูตลาดตกใจ ค่อยๆกลัว ค่อยๆตกใจ ถึงเวลาราคาลงเด้งกลับมาแล้ว
บางอย่างไม่ได้ทำ ดีกว่า ทำ บางอย่างทำช้า ดีกว่าทำ เร็ว
เราทำบางอย่างชอบมีกฏมีเกณฑ์ ทุกอย่างไม่มีกฏตายตัว
เกิดจากสมองเราที่บอกว่าเราควรทำอะไร เร็วทุกครั้งไม่ใช่เรื่องดี ทำทุกครั้งไม่ใช่เรื่องดี
การลงมือทำนั้นจะดีก็ต่อเมื่อสถานการณ์นั้นเราควรลงมือทำ
การทำเร็วจะดีต่อเมื่อสถานการณ์นั้นเราควรจะทำเร็ว
จริงๆแล้ว ไม่มีอะไร จะซื้อจะขาย จะทำใจ ใช้สมอง…จบ

ดร.นิเวศน์
จะไม่ดูหุ้นรายตัวมาก แต่ละตัวจะมีจังหวะของมัน ช่วงที่ดี ช่วงที่แย่
ส่วนใหญ่จะดูพอร์ต ซึ่งมีที่ดีที่แย่ จะเจ๊าๆกันไป ก็ไม่ต้องทำใจ มันแย่บางตัว
ถ้าจะไม่ให้รู้สึกว่าแย่ อย่าดูเป็นรายตัวมากเกินไป
ถ้าตลาดลงทั้งหมด ก็ไม่ต้องไปเข้าสถานการณ์แบบนั้น ถ้าตัดสินใจซื้อหุ้นไปแล้วผิดตั้งแต่ต้น
ถึงตอนปลายไม่มีประโยชน์ ยังไงก็ผิด ยังไงก็เสียหาย

คุณพรชัย เสริม
คิดว่า อ.นิเวศน์ พูดถูกแล้ว ไม่ใช่ว่าหุ้นตกต้องทำใจ
ถ้าหุ้นเราดีเวลาที่มันลงยังดีอยู่ก็ต้องทำใจ
เราเข้าตลาดหุ้นต้องคิดอยู่แล้วว่าวันนี้จะเกิดขึ้น เหมือนเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ถ้าหุ้นเราไม่ดี เราห้ามทำใจ นั่นคือการยอมจำนน
ถ้าหุ้นไม่ดีตลาดตก ไม่ใช่ทำใจแล้วถือ ต้องทำอะไรบางอย่าง
เช่น ขายไปซื้อตัวอื่น หรือขายแล้วเก็บเงินไว้ หุ้นบางตัวเวลาตกลงได้ไม่หยุด
การทำใจ เกิดจากเราทำดีที่สุดของเราแล้ว ทำอะไรดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว เราจึงอยู่เฉยๆ เพื่อผ่านพ้นช่วงนั้นไป
ถ้าเราบอกพอใจสิ่งที่มีอยู่ ก็ไม่ต้องทำอะไร
คนเราจะก้าวหน้าได้ เกิดจากเราไม่ทำใจ ชีวิตเราต้องดีกว่านี้ จึงทำอะไรบางอย่างให้ชีวิตดีขึ้น
การทำใจ ต่อเมื่อเราทำดีที่สุดแล้วเพราะสถานการณ์ภายนอกที่เราทำอะไรไม่ได้
จึงทำใจเพื่อผ่านพ้นช่วงนั้นของชีวิต แต่ถ้าเรายังทำให้ดีขึ้นได้ การทำใจคือการจำนน
อย่างที่ดร.นิเวศน์ว่า ถ้าทำอย่างนั้นก็ต้องทำใจตลอดชีวิต

ดร.ไพบูลย์ แนะนำเสริม เวลาหุ้นตกอย่างคุณพรชัยว่า มันอยู่ที่มุมมองเรา
เวลาหุ้นตก ซื้อมา 1 บาท เหลือ 0.5 บาท อยู่ที่มุมมองเรา ถ้าเราเลือกดีที่สุดแล้วก็มองว่าเรายังเหลือตั้งครึ่งหนึ่ง
อ.เสน่ห์ เสริมว่าหมือนขับรถยนต์ บางทีเราเลือกเส้นทางขับรถ
เลือกทางที่ดีถึงที่หมายในเวลาไม่นาน บางทีเราเจอรถติด
ก็หาทางเปลี่ยนเลนไปมาแล้วติดเราก็ต้องทำใจ บางคนรถติด
เปลี่ยนเลนแล้วก็เครียด เวลาเราไปอยู่เลนไหนจะรู้สึกว่าติดกว่าเลนอื่น


เวลาหุ้นผันผวน เซียนใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์อย่างไร?
คุณวิบูลย์
บัฟเฟตต์บอกว่า ตลาดหุ้น ดูว่ามีใครทำอะไรโง่ๆหรือเปล่า
เหมือนตลาดขึ้นๆลงๆ ไม่มีวันไหนที่อยู่นิ่งๆ ยกเว้นตลาดปิด
ที่ออฟฟิศเขาไม่มีคอมพิวเตอร์
สิ่งที่เขาดูว่าตลาดตกเพราะอะไร หุ้นที่สนใจตกหรือเปล่า
อย่างเช่น subprime บัฟเฟตต์ซื้อหลายอย่าง หุ้นกู้โกลด์แมนแซค หุ้นกู้ดาวเคมิคอล
คนกลัว แต่บัฟเฟตต์มองว่าเป็นโอกาส
บัฟเฟตต์จะมีเงินสดสำรองตลอดเวลา 2 หมื่นล้านเหรียญ
เขาบอกว่าเวลาเข้าไปในป่า ต้องมีกระสุนในปืนตลอดเวลา ไมใช่จะยิ่งแล้วค่อยเอากระสุนเข้าซอง
สิ่งที่เกิดขึ้น ยุโรปดอกเบี้ยติดลบ ทุกเดือนคนไปฝากเงินต้องจ่ายเงิน
บัฟเฟตต์มีเงินสดที่ธนาคารสวิส ทุกเดือนต้องจ่าย เขาอยากจะเอาเงินสดออกมา
แล้วหาคนที่ไว้ใจได้นอนทับ จะได้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
เราอาจจคิดแบบเดียวกัน ก็คือมีเงินสดไว้ก้อนหนึ่ง เวลาหุ้นตกก็เอาเงินนี้มาซื้อ

คุณฉัตรชัย
มีเงินสดกันเอาไว้เหมือนกัน
อย่างน้อยก็มีเงินใช้จ่าย ครอบครัวไม่เดือดร้อน
ลงทุนมานานผ่านวิกฤติมาเยอะ ดัชนีเวลาต่ำสุดมีแต่ข่าวร้ายท่วมตลาด
ใครจะกล้าเอาเงินไปซื้อ ไม่ขายหุ้นเดิมก็เก่งอยู่แล้ว
อยากให้มุมมองว่า ถ้าจะซื้อหุ้น ลองมองยาวขึ้น 3-5 ปี มองฐานะการเงินมั่นคง แล้วยังดำรงอยู่
เราจะไม่รู้หรอกเมื่อไรต่ำสุดแล้ว ถ้ามองราคาระยะสั้นก็จะไม่กล้าซื้อ
อย่าง บริษัทที่เคยบอกว่าน้ำท่วม ไม่รู้หรอกว่าเมื่อไรน้ำลด แต่มองไปข้างหน้าปีหน้า มันต้องแห้ง
แล้วมันดีขึ้น เราไม่ต้องรอน้ำแห้ง เพราะหุ้นมันจะขึ้นแล้ว

ดร.นิเวศน์
ลงทุนเกือบ 100% มาตลอด 18 ปี แทบไม่ถือเงินสด
2 ปีที่ผ่านมาเก็บเงินสดมาตลอด มี 30-40% แล้ว
พยายามนั่งทับเอาไว้ มองว่าหลังจากนี้จะมีความเสี่ยง
เมื่อ 20 ปีก่อน หุ้นมันถูกมาก จนซื้อตัวไหนก็กำไร ถ้าถือไปหลายปี
ตอนนี้มันก็ดูไม่เหมือนเดิม ขายหุ้นก็หาซื้อหุ้นตัวใหม่ไม่ได้ มันไม่น่าสนใจมาก
หุ้นตกทั่วๆไป ถ้าภาพใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจยังดี บริษัทยังดี
หุ้นตกก็ไม่เป็นประเด็น ถ้าไม่ดีบางตัวก็ขายหุ้นตัวนั้นออก ไปซื้อตัวอื่นที่ดี
มองว่าไม่จำเป็นต้องมีเงินสำรอง ในสถานการณ์ปกติ เพราะหุ้นขายได้เสมอ 3 วันก็ได้เงินแล้ว
บัฟเฟตต์เป็นข้อยกเว้น มีหุ้น permanent port ไม่มีความสามารถขาย
บางตัวถือ 100% หรือถือส่วนใหญ่ เพราะเขาจะไม่ขาย จึงต้องมีเงินสดสำรอง

คุณพรชัย
บัฟเฟตต์ต้องมีเงินสด เพราะเขาเป็นบริษัทประกันภัย ต้องมีเงินระดับเป็นหมื่นล้านอยู่แล้ว
อย่างที่บอกแต่แรก ว่าเราชอบไปตั้งเกณฑ์ว่าต้องมีเงินสดไหม
มองกลับกันถ้าหุ้นขึ้น เรามีเงินสด ก็จะเสียดาย
จะมีเงินสดหรือไม่มีเงินสดขึ้นกับการใช้สมอง
มันมีหุ้นถูกๆให้เราซื้อหรือเปล่า ถ้ามันมีเราจะถือเงินสดเยอะๆไหม
ถ้าเราเจอหุ้นถูกที่ดูดซับเงินเราได้ก็ลงทุนไป
แต่ต้องมีเงินสดที่เพียงพอให้ชีวิตราบเรียบ ไม่กระทบชีวิตประจำวัน
ถ้ามีหุ้นถูกมากพอที่ดูดซับเงินเราได้ก็ซื้อหมด
ถ้าซื้อหุ้นแล้วตก อย่างที่บอกว่านักลงทุนระยะยาวเอาใจเราไปผูกกับผลประกอบการ
ถ้ามันยังดีแต่หุ้นตกก็ทำใจ การถือเงินสดรอวิกฤติก็เป็นการรอฟ้าฝน
เป็นการเสียโอกาสเหมือนกันถ้าหุ้นยังขึ้นอยู่
จะได้ผลตอบแทนดีมีหลายอย่าง เช่น ความสามารถ โชค เหตุการณ์ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้
หน้าที่เราคือทำสิ่งที่เราทำได้ ที่เหลือเป็นเวรกรรม
เวลาเราถ่ายภาพ เราอยากเห็นไกลๆ เราก็ซูมออก
เวลาเราทำดีที่สุดแล้ว ถ้าเจอหุ้นถูก 5 ตัว ซื้อแล้วมันตก เราทำใจ แล้วซูมมองไกลๆ
เราแทบมองไม่เห็นอะไรเลย การใช้ชีวิตหรือลงทุนเป็นศิลปะ
ต้องรู้จัก Zoom in Zoom out ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

คนเราดีกว่าสัตว์ อย่างเดียว
เวลามองหน้าหมาที่บ้าน มันดูมีความสุข สัตว์มันไม่สามารถคิดไปเรื่องเดือนที่แล้วได้
มันไม่สามารถมองไปไกลๆ 5 ปีข้างหน้าแล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร
ถ้าเราไม่ใช้สมองให้ดีชีวิตก็แย่จะกว่าหมา
มัวแต่ เสียใจกับอดีต กังวลกับอนาคต
ต้องใช้สมองให้เกิดประโยชน์ ในแง่มุมที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นๆ

อ.ไพบูลย์ ฝากว่า ข้อคิดจากแต่ละท่านต้องเอาไปดูว่าเหมาะกับเราขนาดไหน
ไม่ใช่ว่าจะทำได้เหมือนกันตรงๆ ต้องประยุกต์ใช้ได้ แต่ไม่สามารถลอกแบบได้ 100%

คุณพรชัย เสริม
เวลาจะทำอะไรก็แล้วแต่ ถามว่าตัวเองมีความสามารถหรือเปล่า
ถ้าเราขับรถไม่เป็นเราไม่ขับ พอลงทุนไม่มีความรู้ เรากลับซื้อขายเร็วมาก
ต่อให้เราขับเป็นชำนาญแล้ว เราก็ไม่ควรขับเร็วไปเพราะมีความเสี่ยง
การลงทุนเหมือนกัน บางครั้งเราไม่รู้ก็ไม่ทำ
อย่างอ.ไพบูลย์บอกบางครั้งเราไม่ควรเอาเงินอยู่ในตลาดหุ้น
หรือไม่ควรเลือกหุ้นเองด้วยซ้ำ
คนเราชอบคิดแต่ว่าเราจะทำอะไร แต่ที่จริงมีหลายอย่างที่ไม่ควรทำ
บางครั้งที่ไม่รู้ก็ต้องยอมรับตัวเอง แล้วก็ไม่ทำ

อ.เสน่ห์
ถึงเราจะเป็นสมันก็ต้องคิดแบบสมันที่มีสมอง
บางทีเราต้องรู้ว่าเราพลาดไป ฟังจากเซียนมาแล้ว ก็ต้องเรียนรู้ว่าควรคิดอย่างไร

ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ หมอเค พี่นุชและทีมงาน money talk รวมถึงผู้สนับสนุนรายการทุกท่าน
ขอบพระคุณผู้บริหารและวิทยากรที่มาแบ่งปันข้อมูลบริษัทและแนวคิดดีๆในการลงทุน
เนื้อหาหากผิดเพี้ยนไปอย่างไรขออภัยด้วยนะครับ
ปล.พี่เวบ Rap อย่างเร็วแต่สาระแนวคิดอัดแน่นมากครับ

ครั้งต่อไป Money talk@SET อาทิตย์ 27Mar2016
เปิดจอง เสาร์ที่ 19/3 ผ่าน facebook
หัวข้อ 1 รวยๆจนๆ บุญหรือกรรมใดที่หนุนส่ง พระพยอม ทันตแพทย์สม สุจีรา
*สามารถนำของที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาคแล้ว เช่น เสื้อผ้า, ของใช้ต่างๆ
*มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชาวบ้านมาจำหน่าย
*รับบริจาคเพื่อสนับสนุนผู้สูงอายุหักลดหย่อนภาษีได้
หัวข้อ 2 กลยุทธ์ลงทุนและหุ้นที่ต้องจับตา คุณสุกิจ MBKET,คุณธรณี ASP,คุณจิตรา FSS, ดร.นิเวศน์
เดือน เม.ย. ไม่มีจัดรายการ
เดือน พ.ค. สถานที่จัดงานให้ติดตามทาง facebook

เสาร์ 26 มี.ค. มีงานพิเศษ ตั้งใจจัดให้ศิษย์เก่าวิศวะจุฬาฯ
จะเปิดจอง 14 มี.ค. โพสต์ที่ facebook money talk
แจกเสื้อ 99 ปี วิศวะจุฬาและบัตรเข้างานเลี้ยงตอนเย็น
จัดที่หอประชุมมหิตลาธิเบศร เริ่ม 15.00 น.
ประมาณ 12.00 น. สมเด็จพระเทพฯเสด็จเปิดห้องสมุดคณะวิศวะจุฬา
Go against and stay alive.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2646
ผู้ติดตาม: 273

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณบิ๊กครับ คราวเร็วกว่าเดิมมากครับแต่เนื้อหาสุดยอดเหมือนเดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
RnD-VI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6465
ผู้ติดตาม: 624

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ^_^
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
the pupil
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 19

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ :D :D :D
Be strong but not arrogant, Be courageous but not reckless, Be optimistic but remain realistic, Be patient and disciplined
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mr.CHANOPPS
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 95
ผู้ติดตาม: 5

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบพระคุณค้าบ :D :D :D :D :D
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
GINTOKI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 174
ผู้ติดตาม: 3

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
Mr.Kcip
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 7

โพสต์

กราบ :D :D :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 8

โพสต์

กราบๆ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 25

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ :bow:
Vi IMrovised
b4solid
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1137
ผู้ติดตาม: 72

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เยี่ยมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
supergirl
Verified User
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 11

โพสต์

:B ขอบคุณฮะ....
"Dying's easy. Living's hard."
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากๆนะครับ
โพสต์โพสต์