ราคาหุ้นแพงเกินไป เพราะมันขึ้นมาตั้งเท่านึง (Anchoring)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pinguwing
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 2

ราคาหุ้นแพงเกินไป เพราะมันขึ้นมาตั้งเท่านึง (Anchoring)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

แพงไม่แพง มันขึ้นอยู่กับ Value มากกว่านะครับ

https://storylog.co/story/568c273978009c62143fdba9

เวลาเราเล่นหุ้นเคยเจอสถานการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นมันเคยวิ่งอยู่แถว ๆ 10 บาท แล้วอยู่ดี ๆ วันหนึ่งมันกระโดดไปซื้อขายกันที่ 20 บาท!!!

หลายคนต้องมีความรู้สึกว่า “หุ้นนี้แพงเกินไป” จริงไหมครับ

ถ้าเราถามตัวเองดูอีกว่าทำไมคิดว่าแพงเกินไป
คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะตอบก็คือ
“ก็มันเคยมีราคาอยู่ที่ 10 บาท ตอนนี้มันตั้ง 20 บาท แล้วจะบอกว่าไม่แพง ได้ยังไง”

งั้นก็แสดงว่า แพงหรือไม่แพง มันขึ้นอยู่กับว่าตอนแรกที่เรา
รู้จักหุ้นนี้ มันซื้อขายอยู่ที่เท่าไรน่ะสิครับ

มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ ?

สมมุติแล้วกันนะครับว่า ตอนนี้ร้านหนึ่งขาย IPhone รุ่นใหม่ล่าสุดไม่ใช่ของปลอมนะครับ ในราคาเพียง 100 บาท อันนี้ถือว่าราคาถูกไหมครับ

หลายคนก็คงตอบว่าถูกสิครับ เพราะ IPhone ควรมีมูลค่าเป็นหลักหมื่น
ต่อมาร้านนี้ ขึ้นราคา IPhone จาก 100 เป็น 200 บาท
แสดงว่า IPhone นี้ ราคาแพงแล้วน่ะสิครับ เพราะราคาขึ้นมาตั้งเท่านึง

คนส่วนใหญ่ก็คงไม่เห็นด้วยว่าราคา 200 บาทนี้ มันแพงเกินไปสำหรับ IPhone ใช่ไหมครับ
อ้าว แล้วทำไม ตอนจะซื้อหุ้นที่ราคาเพิ่มขึ้นมาเท่านึง กลับคิดว่าหุ้นนั้นแพงล่ะครับ !!!

อาการของความรู้สึกแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Anchoring ครับ
Anchor นั้นตามรากศัพท์แปลว่าสมอเรือ ที่ยึดติดเรือไม่ให้ลอยไปไหน
แต่ในที่นี้ Anchoring คือการที่เราไปให้ความสำคัญกับข้อมูลแรกที่เราได้รับมากจนเกินไป

Amos Tversky และ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดสินใจ ได้เคยทำการทดลอง
โดยให้ลองคำนวณค่าผลคูณ ภายใน 5 วินาที ดังต่อไปนี้

1) 1 x 2 x 3 x 4 x 5 x 6 x 7 x 8
2) 8 x 7 x 6 x 5 x 4 x 3 x 2 x 1

ซึ่งเราเห็นชัดเจนว่า ทั้งข้อที่ 1 หรือ 2 ควรจะได้คำตอบที่เท่ากัน
แต่เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองมีเวลาแค่ 5 วินาที เขาจึงต้องใช้การประมาณการ และผลที่ได้รับออกมาว่า ...

ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 1 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) เท่ากับ 512
ในขณะที่ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 2 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) สูงถึง 2,250 !!!

(สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ค่ามัธยฐาน คือค่ากลางของข้อมูลชุดใดชุดหนึ่ง โดยจะมีจำนวนข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่านี้ เท่า ๆ กับจำนวนข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าค่านี้ครับ เช่น ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งคือ 1 3 7 9 11 ค่ามัธยฐานคือค่า 7 ครับ)

เกิดอะไรขึ้นครับ ...

เนื่องจากเวลาที่ให้มีเพียง 5 วินาที
ผู้ร่วมการทดลองมีเวลาในการคำนวณได้เฉพาะผลคูณ 3-4 ตัวแรกเท่านั้น
ดังนั้นในข้อที่ 1 การประมาณการจะทำขึ้นหลังจากการคำนวณผลคูณ 3-4 ตัวแรกเสร็จสิ้น เช่น
1 x 2 = 2 แล้ว 2 x 3 = 6 แล้ว 6 x 4 = 24 แล้วก็หมดเวลา เราจึงต้องเริ่มประมาณการจากเลข 24

ซึ่งไม่เหมือนกรณีที่ 2 ที่เราเริ่มจาก 8 x 7 = 56 แล้ว 56 x 6 = 336 แล้วก็หมดเวลา
เราจะเห็นว่ากรณีที่ 2 นี้ เราจะเริ่มประมาณการจากเลข 336

ผลลัพธ์จึงเป็นอย่างที่เห็นครับ

ดังนั้นเวลาเราจะดูราคาหุ้นว่ามันถูกหรือแพง มันควรจะดูเทียบกับผลประกอบการของบริษัทในขณะนั้นและในอนาคต (ที่เกิดจากการประมาณการภายใต้ข้อมูลที่เรามี) ไม่ใช่ดูจากราคาในอดีตแต่เพียงอย่างเดียวนะครับ
โพสต์โพสต์