พลังงานทางเลือกอยู่ในช่วงบูมจริงหรือ..? อ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 1

พลังงานทางเลือกอยู่ในช่วงบูมจริงหรือ..? อ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คำชี้แจงจาก facebook อ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผมไม่เคยคิดว่า กรณีของเสี่ยนพพร มหาเศรษฐีชื่อดังของไทยที่กำลังถูกตามจับ จะมาเกี่ยวพันอะไรกับชีวิตผม
จนกระทั่ง มีนักข่าวหลายท่านเริ่มมาโทรมาขอสัมภาษณ์ว่า
ทำไมโครงการพลังงานลมของเสี่ยนพพร จึงทำให้เสี่ยนพพรร่ำรวยมหาศาล
แล้วพลังงานลมในประเทศไทยมันบูมขนาดนั้นจริงหรือไม่?
ชีวิตของผมเลยต้องมาเกี่ยวข้องกับเสี่ยนพพร จนผมต้องขอชี้แจงผ่านสื่อดังนี้ครับ
เรามาเริ่มกันที่ข้อมูลกำลังการผลิตของพลังงานลมกันก่อนนะครับ ในช่วง 2 ปีหลังนี้
กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานลมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 7 เมกะวัตต์
ในปีพ.ศ. 2554 ขึ้นมาเป็นระดับ 223 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2556 และ 310 เมกะวัตต์ในปีนี้ครับ
แม้ว่าจะดูเหมือนการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่หากเทียบกับพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว
พลังงานลมถือว่า ยังอยู่ในขั้นเตาะแตะครับ เพราะในช่วงเวลาเดียวกันคือ ปลายปี พ.ศ. 2556
กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานแสงอาทิตย์ก็ขึ้นมาที่ 824 เมกะวัตต์แล้ว และเมื่อถึงปัจจุบัน
กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานแสงอาทิตย์ก็มาถึง 1,684 เมกะวัตต์แล้ว
เพราะฉะนั้น หากจะเรียกว่าพลังงานลมอยู่ในช่วงบูมก็คงไม่ถูกนัก
ถ้าเทียบกับพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 4,300 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน
พลังงานลมก็มีสัดส่วนเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้นครับ พระเอกตัวจริงยังเป็นชีวมวล
และดาวรุ่งพุ่งแรงคือ พลังงานแสงอาทิตย์ครับ
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานลมมีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานเท่านั้น
และมีจำนวนผู้ผลิตเพียง 4 รายเท่านั้น ในขณะที่กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานแสงอาทิตย์มีกระจายไปแทบทุกภาค
(ยกเว้นในกทม.และภาคใต้ที่ยังมีน้อยหน่อย) และมีผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่า 300 รายในปัจจุบัน
การกระจุกตัวของพลังงานลมจึงเป็นเรื่องน่าแปลก แต่เมื่อค้นข้อมูลลึกลงไปจึงพบว่า
เสี่ยนพพรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทพลังงานลมรายใหญ่ที่สุดของไทย
ทั้งในแง่ของกำลังการผลิตติดตั้งในปัจจุบันและกำลังการผลิตที่มีการทำสัญญาซื้อขายไว้แล้ว
(กำลังการผลิตที่ทำสัญญาซื้อขายไว้รวมทั้งหมดมีเกือบ 2,000 เมกะวัตต์ เป็นของบริษัทที่คุณนพพรถือหุ้นประมาณ 40% ของกำลังการผลิตทั้งหมด)
ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า บริษัทนี้เป็นยักษ์ใหญ่แห่งพลังงานลมเลยทีเดียว
แต่พลังงานลมไม่ใช่ธุรกิจที่ได้กำไรสูงนัก เพราะพลังงานลมได้การอุดหนุนจากผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านระบบ Adder 3.50 บาท/หน่วย
เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานแล้วก็จะประมาณ 7 บาท/หน่วยเท่านั้น เทียบกับเงินลงทุน 70-90 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์
ถือว่า ไม่ใช่ธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและเร็ว กว่าจะคุ้มทุนก็ต้องอย่างน้อย 6-7 ปี
เมื่อเทียบกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับ Adder มากกว่าถือว่า พลังงานแสงอาทิตย์น่าลงทุนมากกว่า
นี่ยังไม่นับรวมประเด็นเรื่อง การเลือกสถานที่ตั้ง เพราะจุดที่มีลมดีนั้นมีจำกัด และต้องซื้อหรือเช่าที่ดินในการติดตั้งกังหันลม
แต่พลังงานแสงอาทิตย์สามารถติดตั้งได้ทั่วไปทั้งประเทศ และสามารถใช้หลังคาอาคารบ้านเรือนในการติดตั้งได้
ดังนั้น หากจะสรุปว่า เสี่ยนพพรรวยจากพลังงานลม ทั้งที่ฟาร์มกังหันลมเพิ่งเปิดเพียง 2 ปีจึงไม่น่าจะเป็นไปได้
อย่างไรก็ดี มีผู้ชี้ว่า สิ่งที่สร้างความร่ำรวยให้กับเสี่ยนพพรคือ โควตาการขายไฟฟ้าจากพลังงานลมที่มีอยู่หลายร้อยเมกะวัตต์
อันนี้เป็นไปได้ เพราะระบบการรับซื้อไฟฟ้าของไทยนั้นแปลก แทนที่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะสามารถลงทุน ผลิต
และขายเข้าระบบได้ทั่วไป กลับเป็นระบบที่ต้องมี “ใบจอง” หรือ “โควต้า” ไว้ก่อน จึงจะสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้
และเมื่อโควตามีจำกัด (ในกรณีพลังงานลม กระทรวงพลังงานบอกว่าเต็มแล้ว) และคนถือใบจองก็มีอยู่เพียงไม่กี่ราย
ใบจองหรือโควต้าเหล่านั้นจึงเริ่มมีมูลค่าในตัวของมันเอง (โดยยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งกังหันลม)
มีข่าวลือว่า ราคาของโควต้าอยู่ที่ 10-20 ล้านบาท/เมกะวัตต์ เพราะฉะนั้น หากมีใบจองไว้ 700 เมกะวัตต์
ก็อาจจะขายได้ 700-1,400 ล้านบาท เลยทีเดียว โดยที่ไม่ต้องทำอะไร
แต่เมื่อมองในหมุนกลับ มูลค่าเงินมหาศาลนี้ก็จะกลายเป็นต้นทุนให้กับผู้ซื้อโควตาและต้องการจะลงทุนในพลังงานลมจริงๆ
สิ่งเหล่านี้ มิได้เกิดขึ้นจากตัวเสี่ยนพพรเอง แต่เกิดขึ้นจากการกำหนดนโยบาย ที่ออกแบบให้เกิดผลประโยชน์ส่วนเกินกับผู้ได้โควต้า
ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย เพราะฉะนั้น เพียงแค่เราเลิกระบบโควตาไป ผลประโยชน์ส่วนเกินนี้ก็จะหายไปด้วย
แต่หากบริษัทของเสี่ยนพพรประสงค์จะทำฟาร์มกังหันลมต่อตามโควต้าที่ถือไว้ก็ย่อมทำได้
เพียงแต่ตัวโควตามิใช่ของหายากอีกต่อไป (เพราะใครๆก็ทำได้) เพราะฉะนั้น มูลค่าส่วนเกินของโควตาก็จะหมดไป
เหลือเพียงแต่มูลค่าจากพลังงานลมที่แท้จริงเท่านั้นครับ
เสียดายที่ผู้กำหนดนโยบายของเราชอบทำให้มี “มูลค่าส่วนเกิน” เกิดขึ้นครับ
และคนที่ถือมูลค่าส่วนเกินไว้คงมิได้มีเสี่ยนพพรเพียงคนเดียวครับ
ผมกับเสี่ยนพพรจึงเกี่ยวข้องกันเพียงเท่านี้ครับ ขออนุญาตชี้แจงผ่านสื่อด้วยครับ ปิดการแถลงข่าวครับ
แนบไฟล์
green-energy-(4).jpg
green-energy-(3).jpg
green-energy-(2).jpg
green-energy-(1).jpg

เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
Power Investor
Verified User
โพสต์: 1837
ผู้ติดตาม: 0

Re: พลังงานทางเลือกอยู่ในช่วงบูมจริงหรือ..? อ.เดชรัตน์ สุขกำ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อันนี้เป็นไปได้ เพราะระบบการรับซื้อไฟฟ้าของไทยนั้นแปลก แทนที่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะสามารถลงทุน ผลิต
และขายเข้าระบบได้ทั่วไป กลับเป็นระบบที่ต้องมี “ใบจอง” หรือ “โควต้า” ไว้ก่อน จึงจะสามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้
และเมื่อโควตามีจำกัด (ในกรณีพลังงานลม กระทรวงพลังงานบอกว่าเต็มแล้ว) และคนถือใบจองก็มีอยู่เพียงไม่กี่ราย
ใบจองหรือโควต้าเหล่านั้นจึงเริ่มมีมูลค่าในตัวของมันเอง (โดยยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งกังหันลม)
ผมมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่การมีระบบโควต้านะครับ เพราะยังไงก็ก็ต้องมีการจำกัดจำนวน แม้แต่จะเป็นระบบFITก็ตาม มิเช่นนั้นก็จะไม่ต่างอะไรกับแท๊กซี่มิเตอร์บ้านเรา ที่มีกันเกลื่อนเมืองและหลากหลายคุณภาพ ถ้าไม่มีโควต้า ที่ดินทำกินการเกษตรดีๆจะหายไปเป็นโซล่าฟาร์มกันอีกเยอะเลยครับ

แต่ปัญหาหลักอยู่ที่วิธี(หรือการไม่มีวิธี)จัดสรรโควต้าต่างหาก ทุกวันนี้ตาสีตาสาที่ไหนก็ไปวิ่งเต้นหาใบอนุญาติมาได้ ถ้ารู้ว่าต้องจ่ายใครที่ไหนเท่าไหร่ ความรู้ ประสบการณ์ ฐานะทางการเงินไม่สำคัญ เพราะสุดท้ายเมื่อมีใบอนุญาติในมือ เงินก็วิ่งเข้ามาหาเอง แล้วก็ค่อยไปว่าจ้างคนที่มาความรู้มาทำงานให้ทีหลัง

คนที่ปล่อยเงินให้เช่นธนาคาร ก็โลภเช่นเดียวกัน ปิดตาข้างเดียวปล่อยกู้ ทั้งๆที่ก็รู้ดีว่าไอ้ใบอนุญาติที่ได้มานั้น มันมาจากวิธีสกปรก คนอะไรทำธุรกิจอื่นไม่ขึ้น แต่อยู่ดีๆกลับมีใบอนุญาติทำโซล่าฟาร์ม วินฟาร์มอยู่เต็มมือ ธนาคารกลับช่วยเป็นที่ปรึกษาการเงินและจัดเงินกู้ให้เต็มแม๊กโดยมองแค่ว่าคู่สัญญาคือรัฐที่รับซื้อไฟฟ้า ไม่มีความเสี่ยง แต่ถามจริงๆว่าธรรมาภิบาลที่ชอบอ้างว่าตัวเองมีอยู่สูงมันอยู่ที่ไหน เพราะมองยังไงก็ไม่ต่างกับการจงใจรับซื้อของโจรมาขายต่อให้รัฐ ถ้าธนาคารลองไม่ให้การสนับสนุนคนพวกนี้ ปัญหาการคอรับชั่นก็ลดลงได้อีกเยอะ เพราะจะไม่มีใครบ้าจี้ไปจ่ายใต้โต๊ะเพื่อเศษกระดาษในนึงหรอก
โพสต์โพสต์