หลักการวีไอในยุคปัจจุบัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
jokerz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1739
ผู้ติดตาม: 21

หลักการวีไอในยุคปัจจุบัน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากทราบความคิดของพี่ๆว่า ในยุคปัจจุบันนั้นที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆนั้นถูกรับรู้ได้เร็วขึ้น มีทั้งข่าวจริงข่าวลวง มีเครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ บทวิเคราะห์ต่างๆมากมาย มีข่าวเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศให้รับรู้ หลังการวีไอที่ใช้กันมาตั้งแต่หลายๆปีก่อน มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างมั้ย มีการประยุควิธีหรือเทคนิคอะไรเข้ามาบ้างมั้ยครับ หรือไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเป็นอย่างไร หลักวีไอก็ไม่ปรับเปลี่ยนไปเลยแม้แต่น้อย ขอถามความเห็นครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หลักการวีไอในยุคปัจจุบัน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ยิ่งข่าวสารมากขึ้น ผมกลับยิ่งกลับไปใช้เทคนิคที่ฐานรากมากขึ้น

ซื้อหุ้นตัวนึงถือให้ได้สัก 3 ปีอย่างน้อย ถ้าใช่ก็ยาวไป 5-10 ปีก็ว่ากัน

1 หาอุตสาหกรรมที่ทำกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน
2 เป็นเบอร์หนึ่งของอุตสาหกรรม ของโลกได้ยิ่งดี ก็จริงว่าไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน เราก็ต้องหมั่นตรวจสอบจริงมั๊ย
3 ต้นทุนเงินทุน ต่ำกว่าคู่แข่งอย่างมีนัยยะสำคัญ อันนี้ผมให้ความสำคัญมาก ๆ
4 เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน
5 มีกลยุทธ์ในการเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้

ประมาณนี้ครับ กรองไปกรองมาเหลืออยู่ไม่เยอะหรอก
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 2

Re: หลักการวีไอในยุคปัจจุบัน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หลักการของ VI ไม่ได้เปลี่ยนไปครับ

แต่อาจถูกดัดแปลงไปตามคนใช้ในแต่ละคน ตามลักษณะเฉพาะตัว

แต่การดัดแปลงต่อยอด ควรจะเป็นไปในลักษณะที่เพิ่มเติมหรือปรับปรุงเล็ก ๆ น้อย ๆ
ถ้าเห็นว่าอันไหน ขัดแย้งกับหลักการดั้งเดิม แสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติไปแล้วครับ

ให้ยึดเอาแนวทางดั้งเดิมของปรมาจารย์ Benjamin หรือ Buffett ไว้ก่อนครับ เพื่อความปลอดภัยของเราเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: หลักการวีไอในยุคปัจจุบัน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คงต้องถามว่าคุณ VAEEEEE นิยามหลักการ Vi อย่างไร

สำหรับผมแล้ว หลักการ Vi ที่ผมเข้าใจนั้น มีต้นกำเนิดมาจากคือหลักการลงทุนของอาจารย์ 2 ท่าน คือ Graham และ Fisher ซึ่งผมเชื่อว่าหลักการของเหล่าอาจารย์ทั้งสองท่านมันตายตัว และสมบูรณ์ในแบบของมันเอง ส่วนจะนำมาปรับใช้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคงเป็นอาจารย์ปู่ Buffet ซึ่งวิธีการลงทุนของปู่บัฟก็อาจเปลี่ยนไปบ้างตามประสบการณ์และขนาดของพอร์ต แต่ท่านก็ยังมีพื้นฐานมาจากส่วนประกอบของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านเป็นส่วนผสมเช่นเดิม

ในมุมของผม หลักการ Vi จึงไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เมื่อสังคมนักลงทุนใหญ่ขึ้น คำว่า Vi ถูกนำมาใช้มากขึ้น และถูกใช้ในนิยามและบริบทที่แตกต่างกันไป จึงทำให้ดูเหมือนว่าหลักการของ Vi เปลี่ยนไป

สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป แต่หลักการ Vi ไม่เคยเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำหลักของอาจารย์แต่ละท่านมาประยุกต์ใช้ในแบบของเราเองได้อย่างไร เหมาะสมกับสถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมรอบตัวเรามากน้อยแค่ไหนครับ
โพสต์โพสต์