ใครมีเทป Money talk ที่ อ.ไพบูลย์+แขกรับเชิญ ถกเรื่องบัฟเฟตต

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

ใครมีเทป Money talk ที่ อ.ไพบูลย์+แขกรับเชิญ ถกเรื่องบัฟเฟตต

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หัวข้อ money talk ลงทุนแบบวอร์เรนบัฟเฟตต์

ใครมีรบกวนด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: ใครมีเทป Money talk ที่ อ.ไพบูลย์+แขกรับเชิญ ถกเรื่องบัฟ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มืแต่ที่สรุป vdo remove ไปแล้วครับ
http://puktiwit.wordpress.com/2012/11/1 ... รนบัฟเฟตต/

ลงทุนแบบวอร์เรนบัฟเฟตต์ – Money talk

http://www.blip.tv/file/3641809

ขอบคุณ คุณ sorawut แห่งเวป Thaivi ครับ

ขออนุญาตสรุปเนื้อหาแบบ hard core ที่เกี่ยวข้องกับหลักการงทุนหุ้นคุณค่านะครับ ฉบับเต็มสามารถฟังได้ตามลิงค์ด้านบนเลยครับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์คือใครโดย ดร. นิเวศน์

อายุโดยประมาณราวๆ 80 ปี ในความคิดอาจารย์ คิดว่า วอร์เรน คือคนที่พระเจ้าสร้างมาเป็นตำนานแห่งการลงทุน เนื่องจากปัจจัยที่เกื้อหนุนหลายๆอย่างคือ

1) ชอบลงทุน ตั้งแต่เด็กชอบซื้อของมากขายต่อ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลมหรือโพยม้า ทั้งที่ฐานะทางบ้านไม่ได้จนอะไร เพราะพ่อเป็นถึง สส. ของอเมริกา
2) มีความรู้ที่ถูกต้องในการลงทุน โดยที่มีอาจารย์คือ เบนจามิน เกรแฮม บิดาแห่ง value investment โดยวอ์เรนเป็นนักศึกษาที่ตั้งใจเรียนมาก ถึงขนาดเกรแฮมถือว่าเป็นนักศึกษาที่ได้เกรด A+ คือได้เกรด A แบบเต็มร้อย
3) มีเวลาในการลงทุนมาก ตั้งแต่อายุ 11 ปี แต่ลงทุนจริงๆจังๆตอนเรียนจบ ถ้านับประสบการณ์ ก็ได้ประมาณห้าสิบกว่าปี สำหรับนักลงทุนแล้ว เวลาเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของนักลงทุน เพราะพลังแห่งผลตอบแทนทบต้น
4) เข้าตลาดในจังหวะที่อเมริกากำลังจะกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และมีการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยวอร์เรนเริ่มลงทุนในบริษัทที่ขณะนั้นยังมีขนาดเล็กอยู่ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆตามเศรษฐกิจ
แต่ปัจจัยเดียวที่วอร์เรนยังไม่มีคือจำนวนเงินลงทุนที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก

คัมภีร์เล่มแรกที่สอนวอร์เรน บัฟเฟตต์ โดย คุณพรชัย
หนังสือ The Intelligence Investor ของเบนจามิน เกรแฮม เปรียบเสมือนตำราเล่มแรกที่ทำให้วอร์เรน รู้สึกเหมือนกับว่าได้เปิดหูเปิดตาสู่การลงทุนที่เฝ้ารอ หลังจากศึกษาตำราอื่นๆมานาน โดยเด็กหนุ่มวอร์เรนในขณะนั้นอายุเพียง 19 ปี

หลักการลงทุนแบบวอร์เรน โดย ดร.กุษยา
สรุปแบบสั้นๆคือ
1) ให้รู้จักในสิ่งที่คุณลงทุนให้ดีที่สุด อะไรที่เราไม่เข้าใจ อย่าไปยุ่งกับมัน
2) อ่านให้มากๆ ก่อนที่จะลงทุน ไม่มีวิธีที่เป็นทางลัด อ่านแล้วคิดให้เป็นตัวของตัวเอง
3) ถ้าคุณไม่คิดที่จะถือหุ้นนั้นไปสิบปี แม้ สิบนาทีก็อย่าซื้อ ก็คือให้ซื้อแบบลงทุระยะยาว
4) ลงทุนซื้อหุ้น คือการลงทุนในกิจการ เสมือนการเป็นหุ้นส่วน ต้องดูผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์

การปรับใช้หลักคิดของวอร์เรนในการลงทุนในชีวิตจริงของคุณพรชัย
หลักการลงทุนของวอร์เรนต์แบ่งออกเป็นสองส่วน
1) ทัศนคติต่อการลงทุน: เวลาซื้อหุ้น ให้รู้ว่าเรากำลังซื้อธุรกิจ อย่าหวั่นไหวไปกับราคาหุ้น
2) การวิเคราะห์บริษัท: ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ เข้าใจในที่นี้คือ การเข้าใจว่าในอีก 10-20 ปีข้างหน้านี้ บริษัทจะยังเป็นที่หนึ่งในตลาดอีกหรือไม่ และเลือกบริษัทที่มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เพราะวอร์เรนมองช่วงการลงทุนในระดับ 10-20 ปี
เช่น ปี 1988 การลงทุนในบริษัทโค้ก ในณะนั้น ซึ่งเทียบได้กับ 30% ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทเบิร์กไชร์ ฮาทาเวย์เลยทีเดียว
ปล. บริษัทเบิร์กไชร์ เกิดจากการที่วอร์เรนซื้อหุ้นโดยกรองหุ้นที่มีลักษณะเป็น Net Net คือมีสินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียนที่ 19 USD ต่อหุ้นแต่ราคาขณะนั้นคือ 7 USD เขาจึงทำการสะสมหุ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่างการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของวอร์เรนที่ประสบความสำเร็จ
ดร.กุษยา: การลงทุนในบริษัทไจโก้ (GEIGO) บริษัทประกันที่วอร์เรนลงทุนทำให้มีเงินทุนที่เป็นแหล่งสนับสนุนเนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจ
คุณพรชัย: การลงทุนในโค้ก ที่ขณะนั้นมี PE 15 เท่า โดย 10 ปีหลังจากนั้น ได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 28%
ดร. นิเวศน์: การลงทุนในบริษัทอเมริกันเอกซ์เพรส ซึ่งวอร์เรนเคยถือถึง 50% ของพอร์ต เกิดเหตุการณ์สำคัญในขณะนั้นคือเกิดเรื่องฉาวโฉ่ในบริษัท ซึ่งขณะนั้นให้บริการบัตรเครดิตที่เป็นที่รู้จักอย่างทั่วโลก แต่เรื่องฉาวโฉ่นั้นเกิดจากคนใน เกี่ยวกับเรื่องน้ำมันสลัด ซึ่งทำให้เกิดค่าเสียหายมาก ทำให้หุ้นตกอย่างรุนแรง แต่วอร์เรนยังมองว่าตัวธุรกิจหลักยังคงไปได้ดี ทำให้วอร์เรนต์ทุ่มซื้ออย่างมาก
ทำให้เกิดข้อคิด classic ของวอร์เรนในเรื่องของการซื้อธุรกิจที่แข็งแกร่ง แต่เกิดวิกฤติเพียงชั่วคราวที่ไม่กระทบกับธุรกิจหลัก

ตัวอย่างการลงทุนที่ล้มเหลว
ดร.กุษยา:การลงทุนในบริษัทเบิร์กไชร์ ซึ่งซื้อแล้ว แต่บริษัทกลับต้องปิดและเปลี่ยนเป็น holding company อย่างในปัจจุบัน
คุณพรชัย: ซื้อแล้วขาดทุน –> ช่วงแรกดูจาก ratio แต่ไม่ได้ดูผู้บริหาร เช่น ห้างสรรพสินค้า (น่าจะเซียร์)
ควรซื้อแต่ไม่ซื้อ –> รู้ว่าธุรกิจน่าจะดีแต่ซื้อเพียงเล็กน้อย ไม่ซื้อต่อ เช่น หุ้น Wall mart
ดร.นิเวศน์: การลงทุนในหุ้นการบิน ซึ่งโดยธรรมชาติมีการแข่งขันที่สูง

หลักการของวอร์เรนกับการลงทุนในเมืองไทย

คุณพรชัย: คิดว่าใช้ได้ในเมืองไทย แต่สิ่งที่ลำบากคือการหาบริษัทที่เรามั่นใจว่าจะมีการเติบโตในระยะ 10-20 ปี อาจจะหาได้ยาก
ดร.นิเวศน์: มองว่าหลักการลงทุนไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งวอร์เรนเปลี่ยนแนวจากการลงทุนแบบสเปะสปะ ซื้อถูกขายแพงแต่หลังๆ เปลี่ยนเป็นการลงทุนในการซื้อหุ้นที่ดีมากๆแล้วเก็บไว้ อาจด้วยประสบการณ์, อายุและขนาดพอร์ต
ดร.กุษยา: หลักใหญ่ๆที่เอามาใช้น่าจะทำได้หมด แต่เอามาปรับให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น การทำความเข้าใจกับบริษัทที่จะลงทุนให้มากๆ แต่มีข้อระวังในส่วนของความถูกต้องของข้อมูล การพิจารณาแยกแยะระหว่างความเห็นกับความจริง และอาจจะต้องระวังในแง่ของจิตวิทยาในการลงทุน
ดร.นิเวศน์: ให้เอาหลักการมาใช้ โดยหามุมมองที่สำคัญ ที่ทำให้หุ้นแตกต่างและโดดเด่นชัดเจน ตัวอย่างเช่น หุ้นรถไฟ ซึ่งดูเป็นหุ้นที่หมดยุค แต่วันดีคืนดี (เร็วๆนี้) วอร์เรนกลับลงทุนในระดับที่สูงมาก โดยมีมุมมองใหม่คือ ราคาน้ำมัน ที่ไม่น่าจะถูกอีกต่อไป ทำให้ค่าขนส่งสูงมาก ซึ่งคนที่จะได้เปรียบก็คือ เรือกับรถไฟ แต่เรือค่อนข้างมีคู่แข่งและข้อจำกัดอยู่มาก ซึ่งในอนาคต คนน่าจะหันมาใช้รถไฟในการขนส่งแทน (ประกอบกับบริษัทมีที่ดินอยู่มาก)ดังนั้น การซื้อหุ้นทุกตัว จึงควรซื้อโดยซื้อหุ้นที่มีมุมมองที่เฉียบคม มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ไม่ใช่แค่ราคาถูกแล้วเข้าซื้อ … ถ้ายังไม่มีมุมมองที่เฉียบคม ก็อย่าเพิ่งไปซื้อ…
ดร.กุษยา: เสริมเรื่องของมุมมองที่เฉียบคมว่า เกิดจากความเข้าใจในธุรกิจที่ทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะเป็นวอร์ชิงตันโพสต์, โค้ก โดยวอร์เรนจะซื้อหุ้นในขณะที่ยังไม่เป็นที่สนใจ
คุณพรชัย: เสริมเรื่องความเฉียบคมว่า แค่ความเข้าใจอาจจะไม่พอ โดยตอนที่วอร์เรนซื้อ โค้กเริ่มมีการ focus ที่ตัวธุรกิจมากขึ้น จากเดิมที่มีการลงทุนกระจายไปยังธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกลับเป็นการเน้นไปที่การเพิ่มยอดขายกระจายไปยังต่างประเทศ โดยวอร์เรนไม่ได้ดูเพียงแค่ PE ที่ดูเหมือนสูง แต่หากเมื่อดูอัตราการดื่มโค้กที่ยังมีโอกาสอีกมากในเอเชีย เช่น ในเมืองจีนบริโภคโค้กแค่ 0.3 ขวดต่อปีเท่านั้น ซ฿งเป็นมุมมองที่ตลาดยังไม่รับรู้

ความสนใจของหุ้นในโลกยุคใหม่
ดร.นิเวศน์: วอร์เรนไม่ซื้อหุ้นในโลกยุคใหม่ เช่น ในยุคดอทคอม เนื่องจากเพราะเค้าไม่แน่ใจว่าอนาคตในอีก 10-20 ปีเป็นอย่างไร

หากคนอายุมากๆแล้ว การมองยาวขนาดนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร
คุณพรชัย: อาจจะไม่ได้กำหนดตายตัวว่าเป็น 10-20 ปี เพียงแต่ในขณะที่ซื้อนั้น เรามองอนาคตระยะยาวหรือไม่

การลงทุนใน TFEX วอร์เรน สนใจหรือไม่
คุณพรชัย: ไม่เคยพบ แต่หากจะมี วอร์เรนก็จะลงทุนในปริมาณไม่มาก หรือกรณีชอบใจผู้บริหาร ก็อาจจะซื้อติดไว้ แต่ไม่มาก

วอร์เรนเล่นมาร์จินหรือไม่
ดร.กุษยา: วอร์เรนจะซื้อด้วยเงินสดเท่านั้น ไม่มีการกู้เงินมาซื้อหุ้น

วอร์เรนมีความสุขหรือไม่
คุณพรชัย: คิดว่ามีความสุข เพราะจะทำอะไรก็ได้ทำ แต่วอร์เรนไม่ค่อยอยากจะทำอะไรมาก
ดร.นิเวศน์: มีความสุข เพราะวอร์เรนสามารถอยู่บ้านเล่นบริดจ์อยู่กับบ้านได้
ดร.กุษยา: วอร์เรนไม่ได้กังวลเรื่องว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือจะตก

คนอเมริกามองวอร์เรนอย่างไร
คุณพรชัย: ยกตัวอย่างครั้งหนึ่งเคยขอวีซ่าไปอเมริกา ปีแรกไม่ผ่าน แต่ปีสองพอโชว์ใบหุ้นของเบิรก์ไชร์ เจ้าหน้าที่กงสุลก็ออกวีซ่าให้ทันที
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
โพสต์โพสต์