ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
gripen
Verified User
โพสต์: 276
ผู้ติดตาม: 0

ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ทำไมช่อง3 Analog ถึงไม่ออกอากาศคู่ขนาน กับ ช่อง3HD ครับ ซึ่งช่องอื่นๆเค้าก็ออกอากาศคู่ขนานกันทั้งนั้น เช่น ช่อง7 เพราะเหตุใดครับ ???? มีใครรู้บ้าง ????
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
jonny11
Verified User
โพสต์: 572
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ช่องสามเค้าต้องการเพิ่มช่องทางออกอากาศไงครับ รายการในสต๊อกและผู้จัดเค้ามีเยอะมาก ละครก็รอคิวออกอากาศเต็มไปหลายเดือน มีช่องเพิ่มก็ได้เงินเพิ่ม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 3

โพสต์

แง่กฎหมาย ช่อง 3 Analog กับดิจิตอล เป็นคนละบริษัทกันครับ ไม่สามารถออกคู่ขนานได้
แต่ในแง่ทางเทคนิค ผมคิดว่าน่าจะทำได้เป็นบางรายการ เช่น เอาละครไปออกทาง HD ด้วย แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีซื้อขายรายการระหว่างกัน และ VAT ด้วย
แต่ในความเป็นจริง ผมว่าผู้บริหารคิดถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจ(ขายโฆษณา)ในการที่มี 4 ช่อง ดีกว่ามี 3 ช่อง มากกว่าครับ
Feudalz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1125
ผู้ติดตาม: 304

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมว่ากั๊กรายการดีๆ ไว้อนาล็อคจะยิ่งทำให้ช่อง 3 เรทติ้งดิ่งเหวนะสิ ถ้าคนได้ดูดิจิตอล HD จะกลับไปดูภาพห่วยๆ แถมออกอากาศสัดส่วน 4:3 อีกจะแย่เอานะครับ
ช่องใหม่ๆ เขาขนซีรีย์ดีๆ ดังๆ มาเยอะแยะแถม HD ด้วย ช่อง 3 กลับเอารายการ SD 4:3 ไปฉายบน HD 16:9 หน้าบานตัวบวม คนบ่นกันเยอะแยะ แค่เทียบละครกับช่อง 7HD ก็โดนแขวะจนเอาหน้ามุดดินแล้ว
ในพันทิบถึงกับแขวะว่าเอาภาพจากกล้องวงจรปิดที่ไหนมาฉาย คนอื่นเปิดแผ่น Blu-Ray แต่ช่อง 3 กลับเปิดจากม้วนวีดีโอ แล้วงี้ช่อง 3 จะขายโฆษณาบนช่องดิจิตอลได้ไงครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คนที่บ่น คือคนที่มีโอกาสได้ดู HD ก็คือจะมีเฉพาะผู้ที่มี set top box และ อยู่ในเขตที่รับสัญญาณได้เท่านั้น
ซึ่งถ้าว่าตามจริงก็ยังเป็นคนส่วนน้อยอยู่
คนที่ดูผ่านดาวเทียมก็ยังดูได้แบบ SD เท่านั้น

กว่าคนจะเริ่มดู HD กันได้ อย่างน้อยก็ต้องปลายปีโน่น ถึงตอนนั้นค่อยปรับผังก็ยังทัน ระหว่างนี้ก็ค่อยๆเช็คเรตติ้งไปเรื่อยๆ แล้วค่อยเพิ่มราคาค่าโฆษณาไปทีละนิดๆดีกว่า เพื่อ maximize profit
ถ้าเทียบกันว่า เอาละครมาฉายคู่ขนาน แล้วไม่ได้ค่าโฆษณาเพิ่ม หรือได้ในอัตราที่น้อยมาก เทียบกับเอาละครในสต๊อคมาฉาย แล้วไม่ได้เงินหรือได้เงินน้อยๆพอๆกัน ผู้บริหารคงเลือกอย่างหลังมากกว่า
พอถึงปลายปีค่อยเอาละครมาฉาย คนติดละครเค้าก็กลับมาเอง
จริงอยู่ ตอนนี้อาจจะรู้สึกเปรียบเทียบความชัดกัน แต่เมื่อไรที่ช่อง 3 เอาละครมาลง คนดูกลุ่มเก่าก็ตามมาดูอยู่ดี เพราะที่เค้าเลือกดูละครคือเค้าเลือกตามรสนิยมของเนื้อหาละคร ถ้าภาพชัด แต่เนื้อหาไม่ใช่แบบที่ชอบ เค้าก็ไม่ดูอยู่ดี

ส่วนช่วงนี้พยายามปลุกปั้นช่องข่าวไปก่อน จะได้ไม่มาแย่งลูกค้ากันเอง ไม่งั้นก็จะไม่มีโอกาสได้เกิด

ผมว่าผู้บริหารเค้าคงคิดอย่างงี้
Feudalz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1125
ผู้ติดตาม: 304

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 6

โพสต์

กสทช. ออกมาบอกบอกเรื่อง simulcast ช่อง 3 ครับ

รูปภาพ

รูปภาพ

ขึ้นกับว่าช่อง 3 จะทำหรือเปล่า

ส่วนเรื่อง HD อะไรนั่น อย่าลืมว่ากลุ่มคนดูช่อง 3 เป็นคนเมืองครับ สัญญาณดิจิตอลเข้าถึงคนเมืองเป็นกลุ่มแรกครับ
นอกจากนี้ยังมี Must Carry ผ่านดาวเทียม (แม้จะเป็น SD) กว่า 60% ของครัวเรือนทั้งหมด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ก็นั่นแหละครับ ทางเทคนิคมันทำได้หมด แต่ไม่ทำ
อันที่จริงผมก็เห็นด้วยนะว่าควรเอามาฉาย HD อย่างน้อยก็ละคร เพื่อดึงผู้ชม

แต่ผมว่า ถ้าคิดทางธุรกิจ โอกาสที่ช่อง 3 จะยกไปฉายช่อง HD มีแค่ 2 อย่าง คือ
1. agency ยอมจ่ายค่าโฆษณาเพิ่มเป็นหี่หน้าพอใจ หรือ
2. กสทช. บังคับให้ must carry ผ่านดาวเทียม เป็น HD (ตอนนี้เป็น SD)
ไม่อย่างงั้น ช่อง 3 คงรอให้การออกอากาศภาคพื้นดินทั่วไทยเป็น digital ทั้งหมดก่อน ค่อยเปลี่ยน
pipatc
Verified User
โพสต์: 5826
ผู้ติดตาม: 3

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 8

โพสต์

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1398673500

กสท. เตือน อสมท ห้ามนำช่อง 3 แอนะล็อกขึ้นระบบดิจิทัล

updated: 28 เม.ย 2557 เวลา 15:24:38 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท. (28 เม.ย.) ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช. ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 1 ในผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัล ให้นำช่องรายการของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (แอนะล็อก) ลงจากโครงข่ายระบบดิจิทัล เนื่องจากเป็นช่อง 3 แอนะล็อกไม่ได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตช่องรายการในระบบทีวีดิจิทัล

"ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. กสทช.ได้ให้ใบอนุญาตช่องรายการทีวีดิจิทัลแล้ว ดังนั้นผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายดิจิทัลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต คือ ต้องนำเฉพาะช่องรายการที่ได้รับใบอนุญาตในระบบดิจิทัลมาออกอากาศเท่านั้น แต่เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา มีกรรมการ กสท. บางคนยังเห็นโครงข่ายของ อสมท นำช่อง 3 แอนะล็อก ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตดิจิทัลมาออกอากาศ โดยในเบื้องต้นจะให้ทางสำนักงาน กสทช. นำหนังสือแจ้งขอความร่วมมือก่อน เพราะอาจจะเกิดความเข้าใจผิดหรือเผลอเรอได้ แต่ถ้ายังไม่นำลงอีก จะทำหนังสือแจ้งเตือนก่อนจะนำเข้ากระบวนการทางปกครอง หาก อสมท ยังไม่ปฏิบัติตาม"

สำหรับการออกอากาศช่อง 3 เดิม จะได้รับการคุ้มครองตามสัมปทานที่ได้ทำไว้กับ บมจ.อสมท จึงสามารถรับชมได้ในระบบแอนะล็อกเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ตอนนี้โดนตัดแล้วครับ คนที่ดูดิจิตอลภาคพื้นดินดูช่อง 3 original ไม่ได้แล้ว (แต่ดาวเทียมยังดูได้อยู่)

รอดูว่าผู้บริหารจะเปลี่ยนใจรึเปล่า หรือจะเหมือนเดิม คือรอโครงข่ายทั่วประเทศก่อนค่อยย้าย
แต่ผมว่าเค้าคงรอดูเรทติ้ง ถ้าเริ่มตก คงตัดสินใจย้ายเลย
Blaugrana
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สาเหตุที่ทางผู้บริหารตัดสินใจแบบนั้นเพราะมีหลายเหตุผลครับ

1. ถ้าผลิตรายการใหม่ แน่นอนว่ารายจ่ายต้องสูงมากเพราะธุรกิจสถานีโทรทัศน์ สินค้าคือเวลามีอยู่จำกัด แต่ต้องบริหารให้ดี เพราะถ้าบริหารพลาดนั่นหมายถึงเอาเงินไปผลาญเล่นโดยไม่มีผลตอบแทนใดๆเลย ในอดีตผู้บริหารช่อง 3 และ 7 ก็รู้ดีถึงจุดนี้ เพราะก็เคยเกือบล้มละลายกันมาแล้วจากธุรกิจนี้

2. ถ้าออกอากาศคู่ขนาน อาจจะได้ใจผู้ชมก็จริง แต่บริษัทจะมี gross margin ลดลงไปอีก 7% จากการจ่าย vat ไหนจะต้องเสียค่าใบอนุญาต และ MUX อีก ผมว่าวิธีออกอากาศคู่ขนานก็น่วมน้อยกว่ากรณีแรกสำหรับผู้ถือหุ้น ถามว่าแล้วถ้าออกคู่ขนานแบบ HD ก็น่าจะขึ้นค่าโฆษณาได้รึเปล่า? คำตอบคือ "ไม่" เพราะเอเจนซี่เค้าฉลาดพอที่จะรู้ว่าถึงจะเป็น analog หรือ HD คนก็ดูเท่าเดิมอยู่ดี เพราะฉะนั้นวิธีนี้ก็เจ็บสำหรับบริษัท ถึงแม้ว่าออกอากาศคู่ขนานจริงคนดูกว่าครึ่งประเทศในช่วงปีนี้ก็ยังไม่เห็นแบบ HD หรอกครับ เพราะส่วนใหญ่เค้าใช้กล่องดาวเทียมรุ่นเก่า หลายบ้านยังใช้ก้างปลา ทรูวิชั่นก็ยังไม่ทำแบบ HD ให้ช่อง Digital

3. ถ้าปล่อยผังว่างๆ บริษัทก็เสียแค่ค่าใบอนุญาตและ MUX ไปในปีแรกๆ บริษัทจะได้อะไร คำตอบคือไม่ได้อะไรเลย แต่เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด จึงต้องทำวิธีนี้ แล้วค่อยไปถัวกับกำไรของช่อง 3 เดิม ซึ่งคาดว่าจะมีกำไรชนะอุตสาหกรรมอยู่ดี เพราะทุกปีก็ชนะมาตลอด ปีไหนอุตสาหกรรมโฆษณาทีวีโต ช่อง 3 ก็โตได้มากกว่า ปีไหนที่อุตสาหกรรมหดตัว ก็หดน้อยกว่ามาตลอด

เพราะฉะนั้นผู้บริหารน่าจะพอใจกับแบบที่ 3 มากที่สุดคือการพอใจที่จะเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้ว่าจะไม่ถูกใจผู้ชมในช่วงแรก แต่ในทางกลับกันก็เป็นการสร้างฟีดแบ็คให้ผู้บริหารเช่นกันว่า หากทำออกมาแล้วจะมีคนดูอย่างแน่นอน อย่างน้อยๆก็ไอ้พวกที่บ่นๆกันอยู่นี่แหละครับ แล้วช่อง 3 เดิม เองก็ยังมีฐานผู้ชมที่มากมายอยู่ จึงไม่มีความจำเป็นต้องรีบในการ transition ผู้ชม แต่สามารถใช้ช่องใหม่ๆที่ประมูลได้เพื่อมาทดลองการทำตลาดได้เพิ่ม
Feudalz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1125
ผู้ติดตาม: 304

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ระหว่างนี้ผมว่าคนดูก็คงไปซบอกช่องที่เขาใส่ใจความรู้สึกของคนดูมากกว่า eps ก่อนละกันครับ

http://pantip.com/topic/31981427
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมว่า คนที่รอช่อง 7HD ก็คือคนที่ดูช่อง 7 อยู่เก่าแล้วนะครับ
ถ้าจะกังวล ต้องไปดูช่องใหม่ๆ เช่น ไทยรัฐ หรือ mono อะไรพวกนี้มากกว่านะ ผมว่า รายการน่าดูอยู่

อีกอย่าง ตอนนี้ช่อง 7 กำลังประสบปัญหาว่า หลังจากคิดเรทติ้งแบบใหม่ คือคิดจากทีวีดิจิตอลและดาวเทียม ทำให้เรทติ้งตกลงมาพอๆกับช่อง 3 (กลับสู่ความเป็นจริง) หลังจากก่อนหน้านี้นำโด่ง เนื่องจาก AC neilsen เอากล่องวัดเรทติ้งไปติดที่ชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนไม่เคยมีใครรู้ ช่วงนี้ช่อง 7 เลยต้องเร่งทำคะแนนเต็มที่เลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขออนุญาตเดาบ้างครับ

1. ไม่ต้องการแข่งขันกับ TV digital ช่องอื่นๆ โดยมีความเชื่อว่า 3 original เป็นแม่เหล็กพอที่จะดึงดูดให้คนไม่ต้องรีบย้ายไปรับชม TV digital เหตุที่ไม่ต้องการให้รีบย้ายเพราะอยู่สนามเดิมคู่แข่งน้อย อยู่สนามใหม่คู่แข่งมาก
2. อาจผลประโยชน์ร่วมกับการขายกล่อง Gmmz และ True (เช่นให้อยู่บนช่องเลข 1 ฟรี/ราคาพิเศษ แลกกับการโปรโมตกล่องให้)
3. คาดว่าจะขายโฆษณาในช่อง HD เพิ่มได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Eyore เขียน:อีกอย่าง ตอนนี้ช่อง 7 กำลังประสบปัญหาว่า หลังจากคิดเรทติ้งแบบใหม่ คือคิดจากทีวีดิจิตอลและดาวเทียม ทำให้เรทติ้งตกลงมาพอๆกับช่อง 3 (กลับสู่ความเป็นจริง) หลังจากก่อนหน้านี้นำโด่ง เนื่องจาก AC neilsen เอากล่องวัดเรทติ้งไปติดที่ชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนไม่เคยมีใครรู้ ช่วงนี้ช่อง 7 เลยต้องเร่งทำคะแนนเต็มที่เลย
เรทติงแบบใหม่ของ AC neilsen ออกมาแล้วเหรอครับ ผมเข้าใจว่าก่อนหน้านี้ช่อง 7 มีเรทติงสูงกว่าช่อง 3 มาโดยตลอดเสียอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 15

โพสต์

คงดูจาก PSI
เพราะสามารถ monitor ได้ จากจำนวนตัวอย่างประชากรมากกว่า

ขณะที่ท่านบริษัทโฆษณาดังนัก research นั้น ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแค่หลักร้อยหรือพันจำไม่ได้... แต่คนอื่นโดยเฉพาะวงการโฆษณา agency ก็ต้องเอามาเป็นตัวเลข เพราะไม่มีอะไรอ้างอิง ตอนคิดราคากัน

PSI เป็น digital เลยสามารถดูได้ ทั้งที่คนอาจจะเชื่อมากกว่า แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวเลขอ้างอิงทางการ เพราะจานไปอยูตจว.มากกว่าเมืองกรุง
พอเป็น tv digital ไม่ต้องวงิจัยมากมายก็วัดได้ง่ายล่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขยายความ "PSI เป็น digital เลยสามารถดูได้ "

หมายถึง ช่วงเวลาไหน subscriber คนไหน ดูช่องอะไร นะครับ
เอาแบบ real time ได้เลย ถ้าจะเข้าไปดู
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Ii'8N เขียน:ขยายความ "PSI เป็น digital เลยสามารถดูได้ "

หมายถึง ช่วงเวลาไหน subscriber คนไหน ดูช่องอะไร นะครับ
เอาแบบ real time ได้เลย ถ้าจะเข้าไปดู
สามารถเช็คได้จากช่องทางไหนเหรอครับ บุคคลทั่วไปสามารถเช็คได้เองเลยรึเปล่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ที่จริง มีส่วนทำคล้ายกัน คือเอากล่องไปติดตั้ง
แต่ของ PSI เป็นการผสมสัญญาณขึ้นดาวเทียม ก็แบบ true จานแดง ไทยคม DTS จานเหลือง การจัดทำ rating เลยง่ายกว่า ก็แค่เพิ่มส่วนที่อยากตรวจวัดเข้าไปที่กล่อง
กล่องที่มี SIM เพื่อควบคุม content และกล่องนั้น update software ได้เพราะรับส่ง data ได้น่ะครับ แต่อันนี้เพื่อเอามาวัด rating ก็เพิ่มเข้าไป (กล่องแบบนี้ ภาษาช่างเรียก OTA หรือ On-The-Air)

แต่ของ AC Nielsen นั้น เป็นแบบ Analogue ล้วน และ broadcasting เป็นการสื่อสารทางเดียวเท่านั้น ระบบเก่าเลยทำยากกว่า


PSI ผมเห็นตัวเลขที่เขาวัด rating ออกมาเป็นระยะ

http://psisat.com/site/index.php/106-Ne ... B9%8C-2557

Created on Tuesday, 08 January 2013 04:53 Last Updated on Thursday, 06 March 2014 10:08 Written by Administrator Hits: 10896
30 อันดับ ทีวีเรตติ้ง ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2557

ต้องการรับ USER & PASSWORD เช็คเร็ตติ้งทีวีดาวเทียม ส่งมาที่ [email protected]

No. Ratting Channel Day Time Program
1 fix CH-3 อังคาร 20.00-21.00 น. ละคร เวียงร้อยดาว
2 fix CH-7 อังคาร 20.00-21.00 น. ละคร เจ้าสาวสลาตัน
3 up SARADEE อาทิตย์ 06.00-07.00 น. เที่ยวบินสำรวจอวกาศ
4 down BOOMERRANG พุธ 18.00-19.00 น. 18.00-19.00 น.
5 up BLUESKY CHANNEL อังคาร 19.00-20.00 น. Bluessky Live
6 down ASIA UPDATE พฤหัส 12.00-13.00 น. 12.00-13.00 น.
7 down CH-9 อาทิตย์ 18.00-19.00 น. ละคร บ้านนี้มีรัก
8 down CH-5 อาทิตย์ 12.00-13.00 น. ระเบิดเที่ยงแถวตรง
9 up 4 CHANNEL ศุกร์ 19.00-20.00 น. 19.00-20.00 น.
10 fix SABAIDEE TV ศุกร์ 12.00-13.00 น. บันเทิงมื้อเที่ยง
11 up CH-8 เสาร์ 20.00-21.00 น. วิวาห์ป่าช้าแตก
12 fix CARTOON CLUB พฤหัส 18.00-19.00 น. แบทเทิสสปิริท
13 down MEDIA NEWS เสาร์ 06.00-07.00 น. หมอชิดสุดสัปดาห์
14 up THAI PBS พุธ 18.00-19.00 น. สารคดีท่องโลกกว้าง
15 up NATION CHANNEL อังคาร 21.00-22.00 น. คมชัดลึก
16 down T NEWS พุธ 19.00-20.00 น. เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก
17 up M CHANNEL พฤหัส 20.00-21.00 น. M Center
18 down CH-6 พุธ 17.00-18.00 น. ทศกัณฐเด็ก
19 up VOICE TV จันทร์ 06.00-07.00 น. The Chat Room
20 fix UDD TV ศุกร์ 07.00-08.00 น. 07.00-08.00 น.
21 down WORK POINT TV พฤหัส 11.00-12.00 น. วงษ์คำเหล่า
22 fix KASET PARUAY ศุกร์ 18.00-19.00 น. 18.00-19.00 น.
23 down GANG CARTOON พฤหัส 19.00-20.00 น. Nurarihyon no Mago15
24 up JKN พฤหัส 20.00-21.00 น. CSI
25 up AF พุธ 18.00-19.00 น. The Comedian Thailand2
26 down CH2 STARMAX พุธ 10.00-11.00 น. สวยอย่างดารา
27 down TNN24 พฤหัส 17.00-18.00 น. คนหลังข่าว Special
28 down MIRACLE พุธ 19.00-20.00 น. เสาร์ ๕
29 down MONGKOL จันทร์ 19.00-20.00 น. หนังดัง 1 ทุ่ม
30 down SPRING NEWS พุธ 08.00-09.00 น. วสันดกาล Spring Morning
up =ขึ้น fix =คงที่ down =ลง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ส่วนการเก็บแบบใหม่ที่ว่า ดูจากข่าวนี้

http://www.siamintelligence.com/agb-nie ... satellite/

ระบบเรตติ้งแบบใหม่ของ AGB Nielsen ชี้ ฟรีทีวีคนดูลดลง ดาวเทียมส่วนแบ่งเพิ่ม

บริษัท AGB Nielsen (เอจีบี นีลเส็น) ในกลุ่มบริษัท Nielsen ซึ่งเก็บสถิติเรตติ้งของโทรทัศน์ในประเทศไทย เผยข้อมูลเบื้องต้นของการทดลองเก็บสถิติเรตติ้งแบบใหม่ ที่เพิ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากขึ้น และกระจายชนิดของกลุ่มตัวอย่างไปยังทีวีรูปแบบใหม่ๆ อย่างเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมากขึ้น

ชนิดกลุ่มตัวอย่าง ระบบเก่า ระบบใหม่
เสาอากาศ | 790 | 700
เคเบิลทีวี |100 | 182
ทรูวิชั่นส์ | 200 |200
ทีวีดาวเทียม |160 | 468
รวม | 1250 | 1550
จากกลุ่มตัวอย่างของการเก็บสถิติเรตติ้งแบบใหม่ จะเห็นว่าสัดส่วนของฟรีทีวีแบบเสาอากาศลดลง และเคเบิลทีวีกับทีวีดาวเทียมมีกลุ่มตัวอย่างมากขึ้นแทน

AGB Nielsen จะเริ่มใช้ระบบเรตติ้งแบบใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2555 แต่จากการทดสอบเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 พบว่าเรตติ้งของฟรีทีวีในระบบเสาอากาศลดลง โดยช่อง 3 ลดลง 3%, ช่อง 5 ลดลง 7-10% และช่อง 7 ลดลง 7% ซึ่งแปลได้ว่า ฟรีทีวีแบบเดิมโดนแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากขึ้น

กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำนวยการสมทบฝ่ายวิจัยสื่อโฆษณา บริษัท ไอ พีจี มีเดียแบรนด์ส ให้สัมภาษณ์กับประชาชาติธุรกิจในประเด็นนี้ว่า ปัจจุบันยังมีทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และแอพ ซึ่งเป็นการดูย้อนหลังไม่ใช่ดูสด และยังไม่มีใครเก็บสถิติในส่วนนี้เลย ไม่มีทางรู้ว่าเรตติ้งจริงๆ เป็นเท่าไร

ระบบเรตติ้งของ AGB Nielsen (หรือชื่อเดิม AC Nielsen) เดิมยังเคยถูกวิจารณ์ว่ากลุ่มตัวอย่างแคบเกินไป และอาจมีภาวะเอื้อประโยชน์ด้านเรตติ้งให้สถานีโทรทัศน์บางราย ซึ่งในระยะหลังๆ ทำให้กลุ่มผู้ให้บริการจานดาวเทียมในประเทศไทยอย่าง PSI และ DTV หันมาทำระบบวัดเรตติ้งของตัวเองบ้าง โดยใช้อุปกรณ์กับจานดาวเทียมของตัวเอง และกำลังทยอยติดตั้งให้มีกลุ่มตัวอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ซื้อโฆษณาทางโทรทัศน์ที่จะวัดความคุ้มค่าของโฆษณาของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเป็นการวัดเฉพาะกลุ่มทีวีดาวเทียมของแต่ละยี่ห้อก็ตาม (ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ และ PSI)

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... um=twitter
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ตอนนี้มีคนยกประเด็นขึ้นมาว่า หลังวันที่ 25 พค จะยกเลิกกฎ must carry จะทำให้ช่อง 3 analog ไม่สามารถออกช่องดาวเทียมได้ ถ้าจะออกต้องขออนุญาติเป็นรายปี และโฆษณาได้เพียง 6 นาที จากปกติ 12 นาที

ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ เพราะถ้าจริง ก็เท่ากับมีทางเลือกแค่ 2 ทางคือ ยอมไม่ออกดาวเทียม ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะคน 60-70% ใช้ดาวเทียมกันหมด หรือไม่อีกอย่างยอมลดโฆษณาเหลือ 6 นาที ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะรายได้จะลดลงครึ่งหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ถ้ากฎนี้มีใช้จริง ก็เป็นการบีบให้ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนานในช่อง HD โดยปริยาย

ใครทราบรายละเอียดในแง่กฎหมายบ้างครับ ว่าจริงหรือไม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 1

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เรื่องเรทติ้ง ของ psi เค้าดูได้แบบนี้เลยนะครับ
http://pantip.com/topic/30636237
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณคุณ Ii'8N มากครับ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: ไม่เข้าใจ...ทำไมช่อง3

โพสต์ที่ 23

โพสต์

http://www.positioningmag.com/content/% ... 7%E0%B8%99

ยกเครื่อง “เรตติ้ง” เขย่าบัลลังก์ นีลเส็น
Wed, 2014-07-09 21:15
Open_nielsen[1].png

การมาของ “ทีวีดิจิตอล” ไม่เพียงแต่เปลี่ยนอุตสาหกรรมทีวีของไทย แต่หลายคนมองว่านี่คือโอกาสของการ “ยกเครื่อง” การวัดผลความนิยมผู้ชมทีวี ที่สำคัญ จะส่งผลให้บัลลังก์ 25 ปีของนีลเส็นอาจต้องสะเทือนอีกครั้ง

สำหรับธุรกิจทีวี การสำรวจความนิยมผู้ชม หรือเรตติ้ง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อไม่มีเรตติ้งโฆษณาก็วางแผนไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลมายืนยัน

ที่แล้วมาเมืองไทยมีบริษัท “นีลเส็น” เป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ทำหน้าที่สำรวจเรตติ้งมาตลอด 25 ปี

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “นีลเส็น” เองต้องเจอคำถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการทีวี ถึงความโปร่งใสและถูกต้องของข้อมูลที่ออกมามักจะออกมา “ขัดความรู้สึก” ของคนดูอยู่บ่อยครั้ง

ในขณะที่เอเยนซีโฆษณา มองว่า เมื่อ “นีลเส็น” เป็นรายเดียวในตลาด อำนาจต่อรองจึงอยู่ที่เอซี นีลเส็น ทำให้บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเรตติ้งสูงมากแต่กลับไมได้ผลเรตติ้งตามที่ต้องการ

ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการวัดเรตติ้งของ “นีลเส็น” หลายครั้ง จากหน่วยงานต่างๆ (อ่าน Timeline ประกอบ)
รูปภาพ

แต่ในที่สุด “นีลเส็น” ก็ยังผูกขาดการสำรวจเช่นเดิม โดยยอมเปลี่ยนจากการใช้มอเตอร์ไซค์เก็บข้อมูลรายสัปดาห์มาเป็นการส่งข้อมูลทางสัญญาณโทรศัพท์ทุกคืน (จากบทความของ ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ)

ดังนั้น เมื่ออุตสาหกรรมทีวีของไทยกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกมาสู่ “ทีวีดิจิตอล” ทำให้จำนวนช่องทีวีขยับเพิ่ม 6 ช่อง เป็น 24 ช่อง ผู้ที่เกี่ยวข้องมองว่าถึงเวลาที่การวัดความนิยมผู้ชม หรือการวัด “เรตติ้ง” ควรจะได้รับการ “ยกเครื่อง” เสียที


กสทช. แจกใบอนุญาตวัดเรตติ้ง

เริ่มจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลกิจการด้านนี้อยู่แล้ว ได้ออกมาประกาศให้ใบอนุญาตแก่บริษัทสำรวจความนิยมในกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์

สำหรับผู้ที่จะยื่นขอใบอนุญาต มีข้อกำหนด เช่น ต้องเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย มีต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 25% ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ส่วนการขอรับใบอนุญาตนั้น จะต้องส่งหลักเกณฑ์และกระบวนการวัดเรตติ้ง เช่น ระบบและวิธีการจัด การเลือกกลุ่มตัวอย่าง รายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลของอุปกรณ์ที่ใช้สำรวจ หลักเกณฑ์และวิธีการวัดผล หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ รวมถึงเสนอรายชื่อผู้มีความชำนาญในการตรวจสอบ

ผู้ที่ยื่นขอใบอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาต 5 หมื่นบาท เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ปีละ 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 5 หมื่นบาท และเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) อีกปีละ 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 5 หมื่นบาท

กสทช. ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีผู้วัดเรตติ้งกี่ราย แต่เปิดให้ทุกคนที่สนใจเข้ามายื่นขอได้ ถ้าใครผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ก็ได้รับอนุญาตไป ใบอนุญาตมีอายุ 7 ปี หากใครทำผิดหลักเกณฑ์ก็จะถูกถอนใบอนุญาต

ส่วนทีวีช่องไหนจะเลือกใช้ผลวิจัยจากผู้ประกอบการรายไหน “ปล่อยให้เป็นกลไกการแข่งขันของตลาด”

เท่ากับว่า กสทช. เองต้องการนำบริษัทวัดเรตติ้งมาเข้า “ระบบ” ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงเข้าไปดำเนินการ

จึงทำให้ผู้ประกอบการทีวีบางรายว่า มองว่า กสทช. วางบทบาทน้อยไป ควรเข้ามากำกับดูแลเรื่องการสำรวจเรตติ้ง ทั้งการสนับสนุนเรื่องของเงินทุน และการดูแลให้เป็นธรรมกับช่องต่างๆ แทนที่จะออกแค่ใบอนุญาตเพียงอย่างเดียว



MAAT ออกโรง จัดตั้งหน่วยงานกลาง
จัดประมูลเลือกบริษัทเรตติ้ง

ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ได้มีความพยายามจากสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย หรือ MAAT ที่มองโอกาสของการเปลี่ยนแปลงจากการเกิดของทีวีดิจิตอล ผลักดันให้มีการจัดตั้ง “Thailand Media Research Bureau” ขึ้นมา

โดย “Thailand Media Research Bureau” ซึ่งเกิดจากการร่วมมือของมีเดียเอเยนซี ช่องรายการต่างๆ ทั้งทีวีดิจิตอล เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมผู้ประกอบการเคเบิลร่วมกันมาเป็นสมาชิก เพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาบริษัทสำรวจเรตติ้ง เพื่อว่าจ้างมาสำรวจเรตติ้งให้อีกที โดยผ่านวิธีการประมูลตามข้อกำหนดที่วางไว้

โดยข้อมูลที่ได้จากสำรวจเรตติ้ง จะเป็นลิขสิทธิ์ของ Thailand Media Research Bureau ซึ่งมีสมาชิกร่วมกันลงขัน ไม่ได้เป็นของผู้จัดทำเรตติ้งเหมือนอย่างที่แล้วมา

การทำเช่นนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนเกม “อำนาจ” จากที่เคยอยู่ในมือของ “ผู้จัดทำเรตติ้ง” อย่าง “นีลเส็น” เพียงรายเดียว ให้เปลี่ยนมาอยู่ในมือของหน่วยงานกลางที่ชื่อ Thailand Media Research Bureau แทน จะเป็นผู้สร้างบรรทัดฐานขึ้นใหม่

โดยผู้ที่ประมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น เอซี นีลเส็น หรือใครก็ตาม จะเป็นเพียง “ผู้รับจ้าง” ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และกติกาต่างๆ ของ “ผู้ว่าจ้าง” คือ Thailand Media Research Bureau

วรรรณ รัตนพล นกยกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย บอกว่า สาเหตุที่ต้องตั้ง “รีเสิร์ช บูโร” ขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาการวัดเรตติ้งต้องประสบปัญหาเรื่องความโปร่งใสของข้อมูล และการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ครบถ้วนในราคาที่สมเหตุสมผล

“อย่างเวลาเจ้าของช่องทีวี เวลาจะได้ข้อมูลก็ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกเพื่อซื้อข้อมูล เสียค่าสมาชิกเป็นแสนบาทต่อเดือน แต่ก็จะได้ข้อมูลเรตติ้งเฉพาะช่องเขาช่องเดียว แต่ถ้าอยากดูเรตติ้งของช่องอื่นๆ เพิ่มก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม และการกำหนดกติกา และราคาก็เป็นเรื่องของเอซี นีลเส็น ถ้าปล่อยให้เป็นไปแบบนี้คงไม่ได้ ยิ่งเมืองไทยเรากำลังมีทีวีดิจิตอลถึง 24 ช่อง ก็ถึงเวลาที่จะต้องจัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาดูแล”

ดังนั้น แทนที่จะต่างคนต่างซื้อ ก็เปลี่ยนมาซื้อในนามของหน่วยงานกลางอย่าง “Thailand Media Research Bureau” เธอเชื่อว่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลได้ในราคาที่ “สมเหตุสมผล” มากขึ้น

วรรณี บอกว่า ในต่างประเทศก็มีการตั้งหน่วยงานกลาง คือ Research Party Commission เช่น ในสหราชอาณาจักร ก็มีหน่วยงานที่ชื่อว่า Broadcaster’ Audience Research Board หรือ BARB ในแคนาดามีหน่วยงานชื่อ BBM Bureau of Measurement ประเทศไอร์แลนด์ มี Television Audience Measurement Ireland ทำหน้าที่ในการคัดเลือกบริษัทสำรวจเรตติ้ง ที่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ “รีเสิร์ช บูโร”

ส่วนบริษัทวัดเรตติ้งนั้น นอกจากนีลเส็น ยังมีบริษัทวีดิโอรีเสิร์ช บริษัทจีเอฟเค บริษัทกันตา ที่ให้ความสนใจ ซึ่งจะต้องมีการหารือกันต่อในเรื่องของรายละเอียดกันอีกครั้ง

พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสื่อโทรทัศน์ มายด์แชร์ มองว่า สิ่งที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการวัดเรตติ้ง ควรปรับเปลี่ยนให้ทันกับพฤติกรรมของคนดูที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องของ “มัลติสกรีน“ ทุกวันนี้ดูรายการเดียวกัน แต่ไม่ได้ดูจากทีวีอย่างเดียว ดูจากไอแพด มือถือ เครื่องพีซี ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ว่ารายการนี้มีคนดูจากสกรีนต่างๆ นี้เท่าไหร่ ไม่ใช่แค่จอทีวีอีกแล้ว

ที่สำคัญ ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูล เช่น กลุ่มตัวอย่าง ควรต้องอ้างอิง หรือตรวจสอบได้ ผ่านหน่วยงานกลาง “ไม่ใช่ทุกอย่างเป็นความลับหมด อย่างจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง ควรมีมากพอให้เหมาะกับครัวเรือน อย่างในต่างประเทศ สัดส่วนเขาอยู่ที่ 0.05 %-0.07% ของครัวเรือน แต่ของไทยเรา 0.007% ถึงจะบอกว่าไม่น้อย แต่ไม่มากเหมือนกับอื่นๆ เขา"

ส่วนทางด้าน ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) มองว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องดี โดยผู้ที่เข้ามาสำรวจความนิยมคนดู ควรต้องวิจัยโครงสร้างของสื่อทั้งหมดที่ออกอากาศอยู่ในปัจจุบัน ทั้งทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ด้วยระบบที่ทันสมัย มีกลุ่มตัวอย่างที่มากพอ และตรวจสอบได้ รวมถึงการคิดค่าบริการต้องเหมาะสมกับขนาดของธุรกิจ เนื่องจากในส่วนของทีวีดาวเทียมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจรายเล็ก จะสามารถรับภาระในส่วนนี้ได้แค่ไหน



นีลเส็นเชื่อมั่น บัลลังก์ไม่สะเทือน
โกบอลแบรนด์ไม่เปลี่ยนใจ

ทางด้านด้านนีลเส็น การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องของการปรับสัดส่วนการถือหุ้นให้ตรงกับที่ กสทช. กำหนดเท่านั้น หากแต่หมายถึงบริบทใหม่ที่พวกเขาจะต้องเตรียมรับมือ

สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า การที่ กสทช. ออกมาให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่สนใจ เป็นเรื่องดี เพราะที่ผ่านมานีลเส็นถูกมองว่า “ผูกขาด” แต่เพียงรายเดียว แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนจากการมีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น คือ หากผลเรตติ้งมีความแตกต่างแล้ว อะไรจะเป็นตัวชี้วัดว่า เรตติ้งของใคร “ถูกต้อง” ที่สุด

เขา ยืนยันว่า นีลเส็นเองไม่ได้กังวลกับเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากประสบการณ์ที่ทำมา 25 ปี ลูกค้า ทั้งเอเยนซี และเจ้าของช่อง ยังคงให้ความเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เจ้าของเม็ดเงินโฆษณารายใหญ่ ระดับ “โกบอลแบรนด์” เช่น ยูนิลีเวอร์ พีแอนด์จี ใช้ผลวิจัยเรตติ้งของนีลเส็นมาตลอด และใช้ในหลายประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องยาก

รูปภาพ
“ถ้าเป็นน้องใหม่ ถามว่าเขาจะมีความน่าเชื่อถือพอที่จะทำให้ธุรกิจที่มีมูลค่าหมื่นๆ ล้านยอมมาซื้อข้อมูลจากเขาได้มั้ย ยิ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ เขาต้องการตัวเลขเรตติ้งจากบริษัทที่เขาเชื่อถือได้ ในเมื่อนีลเส็นอยู่ในธุรกิจนี้มา 90 ปี มีแขนขาทำการค้าร่วมกับเขามานาน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องการวัดเรตติ้ง แต่เป็นเรื่องความเชื่อถือ”

ส่วนการที่ถูกมองว่า ผลการวัดเรตติ้งไม่เที่ยงตรง สินธุ์ บอกว่า เป็นเรื่อง “ธรรมดา” ที่นีลเส็นมักจะถูกมองเช่นนี้ ยิ่งเป็นช่องที่ได้อันดับรองลงมา ทั้งๆ ที่สาเหตุอาจเป็นเพราะโปรแกรมในช่องรายการไม่ดี คนดูน้อย แต่กลับมาโทษนีลเส็นว่า กลุ่มตัวอย่างไม่ดี หรือมีไม่มากพอ

“ต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่กว้างใหญ่ ถ้าเป็นออสเตรเลีย แต่ละเมืองใหญ่มาก ต้องมีการสำรวจเฉพาะเมืองซิดนีย์ หรือเมลเบิร์นโดยเฉพาะ และไม่ได้มีความซับซ้อนเรื่องของ “ภาษา” ใช้ภาษาไทย

เขายกตัวอย่าง กฎของจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เป็น “หัวเมืองใหญ่” จะมีประมาณ 300 ราย นี่คือตัวเลข “ขั้นต่ำ” ไม่ว่าจะเมืองนั้นจะมีจำนวนคนกี่ล้านคนก็ตาม

ส่วนกรุงเทพฯ นั้นใช้กลุ่มตัวอย่าง “500 ราย” ตามคำขอของเอเยนซี ส่วนกลุ่มตัวอย่างของประเทศ จะเพิ่มเป็น 1,800 รายในปีนี้ และเพิ่มอีก 2,000 รายในปีหน้า เพื่อรองรับกับการมาของ “ทีวีดิจิตอล”

ในการสำรวจทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ต้องรอให้มีการแจกคูปอง และขยายเครือข่ายให้มากกว่านี้ ต้องใช้เวลาอีก 9 เดือน จึงจะเริ่มสำรวจอย่างจริงจัง โดยต้องมีการสั่งซื้อเครื่องวัดใหม่ โดยเป็นการวัดจากคลื่นเสียงว่ากลุ่มตัวอย่างดูรายการไหน

นีลเส็นคาดว่า จะต้องใช้เงินลงทุนในปีนี้และปีหน้ารวมกันประมาณ “100 ล้านบาท”

ส่วนเม็ดเงินที่จะได้รับกลับมา คือ ค่าสมาชิก ที่จะเก็บจากช่องทีวี 1 แสนบาทต่อเดือน ของช่อง แต่หากช่องต้องการเห็นช่องอื่นๆ จะต้องจ่ายเพิ่มอีกเดือนละแสนกว่าบาท

สำหรับเรื่องของ “มัลติสกรีน” ที่ยังไม่สำรวจ เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กรุงเทพฯ ซึ่งกรุงเทพฯ คิดเป็นแค่ 15% ของครัวเรือนทั่วประเทศ จึงต้องใช้เวลาเหมือนกับการเกิดของทีวีดาวเทียม กว่าจะมีผู้ติดตั้งแพร่หลายต้องใช้เวลา 5-6 ปี

“นีลเส็นไม่ได้นิ่งนอนใจ เทคโนโลยีเรามีอยู่แล้ว อะไรที่เป็นความต้องการของตลาดเราเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่ถ้าจะทำก็ต้องลงทุนเพิ่มเติม ตรงนี้ก็ต้องเข้าใจเราด้วย เพราะเป็นเรื่องของธุรกิจ ที่เราก็ต้องคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม”



ช่อง 3 กลับใจ ยอมใช้ผลวิจัยนีลเส็น

ถึงแม้จะมีความพยายามเปลี่ยนแปลง แต่บนเส้นทางของทีวีดิจิตอลก็ทำให้ช่อง 3 เองต้องกลับมาใช้ผลวิจัยความนิยมคนดูเรตติ้งของนีลเส็น เพื่อนำมาใช้กับทีวีดิจิตอลทั้ง 3 ช่อง เพราะถ้าไม่มีเรตติ้ง โอกาสขายโฆษณาเป็นเรื่องยาก ยิ่งเป็นบริษัทข้ามชาติที่ครองเม็ดเงินโฆษณาด้วยแล้ว งานนี้ช่อง 3 เลยต้องยอมเปลี่ยนใจ หลังจากประกาศเลิกใช้มาตั้งแต่ปี 2553

…อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ คือ ความพยายามอีกครั้งของคนในวงการทีวี กับการ “ยกเครื่อง” ผู้ที่มาวัดความนิยมคนดูทีวีอีกครั้ง ที่ต้องมารอลุ้นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน
โพสต์โพสต์