รวมข่าว ปั่นหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ฎีกาคุก 6 ปี อดีตบอร์ดเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิยักยอกเงิน 100 ล้าน ให้ บ.ในเครือราเกซ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2557

ศาลฎีกาสั่งจำคุก 6 ปี อดีตรองกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ
ยักยอกทรัพย์ และอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทของ “ราเกซ สักเสนา”
โดยทุจริต จำนวน 100 ล้านบาท ร่วมชดใช้เงินคืน 82 ล้าน

วานนี้ (21 ต.ค.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ในคดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง
นายสมศักดิ์ ผ่องสวัสดิ์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ
และ นายสุรพล เนตรเจริญ ในฐานะกรรมการบริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด
เป็นจำเลยที่ 1-2 ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3882/2542 และ อ.2831/2546 รวม 2 คดี

กรณีเมื่อวันที่ 30 มี.ค.2536 นายสมศักดิ์ ผ่องสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ ได้อนุมัติสินเชื่อโดยการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 100 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด ซึ่งมี นายสุรพล เนตรเจริญ เป็นกรรมการบริษัท โดยทุจริต และจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัทในเครือของนายราเกซ สักเสนา และต่อมา บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด ถูกปิดกิจการ และบริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด ไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ดังกล่าว

โดยศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษากันแล้วเห็นว่า พฤติการณ์บ่งชี้ชัดว่า นายสมศักดิ์ ผ่องสวัสดิ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพนักธุรกิจเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทยฟูจิ จำกัด เป็นการกระทำการ หรือไม่กระทำการใดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น ในความผิดฐานเป็นกรรมการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตยักยอกทรัพย์ และกระทำการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 75 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 353 ลงโทษตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2552 มาตรา 75 บทหนัก ให้จำคุก 6 ปี

ส่วน นายสุรพล เนตรเจริญ จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้จัดทำเอกสารการขออนุมัติสินเชื่ออันเป็นข้อมูลเท็จ จนทำให้ผู้เสียหายอาวัลและรับรองตั๋วเงิน และชำระหนี้แทนบริษัท อาร์เอส กรุ๊ป จำกัด ไม่อยู่ในฐานะตัวการผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แต่เป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายกระทำความผิดต่อหน้าที่โดยทุจริต ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด จึงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบมาตรา 86 ให้จำคุก 2 ปี และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด จำนวน 82,240,030.52 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ก.ล.ต.สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย

updated: 24 ต.ค. 2557 เวลา 18:05:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ก.ล.ต.สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย ฐานรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์และไม่บันทึกคำสั่งให้ครบถ้วน

ก.ล.ต.สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน 2 ราย ได้แก่ นายธิติพันธ์ ฉายจีราวัฒน์ สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) (บล. บัวหลวง) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน และนายกิตติคุณ พูลสวัสดิ์ ขณะกระทำผิดสังกัด บล. บัวหลวง เนื่องจากไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วน

ก.ล.ต.ได้รับรายงานการตรวจสอบของบล.บัวหลวง และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายธิติพันธ์รับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์เป็นระยะเวลานาน และมีปริมาณการซื้อขายสูง โดยนายธิติพันธ์เป็นผู้เสนอพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า ซึ่งลูกค้ารับทราบและเห็นด้วยกับทุกรายการที่เสนอ และจากเทปบันทึกเสียงการสนทนากับลูกค้าพบว่า นายธิติพันธ์กำหนดชื่อ จำนวน และราคาหลักทรัพย์ที่จะซื้อขาย โดยลูกค้าเพียงตอบรับทราบเท่านั้น

กรณีของนายกิตติคุณ พบว่า ไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วนจำนวนหลายรายการ เป็นระยะเวลานาน และเคยกระทำผิดในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน ซึ่งนายกิตติคุณยอมรับว่า รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าทางแอพพลิเคชั่น Line และบางครั้งรับคำสั่งทางโทรศัพท์มือถือ โดยได้ติดต่อลูกค้าเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อขายทางโทรศัพท์บันทึกเทปภายหลัง

การรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุนและการไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วนเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(2) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (ประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายธิติพันธ์เป็นเวลา 6 เดือน แต่เนื่องจากระยะเวลาการให้ความเห็นชอบนายธิติพันธ์มีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบนายธิติพันธ์ตามอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลือถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในคราวต่อไปจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จนครบกำหนด 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2557 และสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายกิตติคุณเป็นเวลา 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2557
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 33

โพสต์

HotNews: ก.ล.ต.ปรับนักปั่นหุ้น-ใช้อินไซด์

UKEK-SSI-RPC-PERM

กำราบนักปั่นหน้าใหม่

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 28 ตุลาคม 2557)------ รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ นักปั่นหุ้น-ใช้อินไซด์ หุ้นUKEK-SSI-RPC-PERM กำราบนักปั่นหน้าใหม่ งานนี้มีชื่อผู้บริหาร RPC "สัจจา เจนธรรมนุกูล" โดนด้วยข้อหาใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น RPC ถูกสั่งปรับเป็นเงิน 500,000 บาท ด้าน " อานนท์ชัย วีระประวัติ" ถูก ก.ล.ต. เชือด กรณีสร้างราคาหุ้นSSI แม้เคยกระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์มาก่อน ทำให้ถูกเปรียบเทียบปรับกรณีนี้โดยมีเหตุเพิ่มโทษด้วย

ส่วน 3 นลท. "เสริมเกียรติ กังเสถียร" , "เชียร เอื้อศิริพันธ์ " และ " ประทีป วงศ์กุลนิษฐ์" โดนสังปรับกรณีสร้างราคาหุ้น PERM หลัง ตรวจสอบพบ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 56 ตกลงกันใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเอง ซื้อขายหุ้น PERM ในลักษณะต่อเนื่อง ผลักดันราคา ส่งคำสั่งซื้อขายเพื่อจับคู่กันเองระหว่างบัญชีโดยสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อ-ผู้ขาย ในลักษณะอำพราง ขณะที่ ก.ล.ต. สั่ง เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดกรณีสร้างราคาหุ้น UKEM รวม 10 ราย ฐานรู้เห็นหรือตกลงร่วมกันสร้างราคาหุ้น UKEM


สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนายสุมิตร ชาญเมธี นายสัจจา เจนธรรมนุกูล ในฐานะตัวการ กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้นบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน)) เพื่อตนเอง และนางปิยะนุช เจนธรรมนุกูล ในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เป็นจำนวนเงินรวม 1,887,659.33 บาท
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 นายสุมิตรและนายสัจจาได้ซื้อหุ้น RPC หรือได้รับประโยชน์จากการซื้อหุ้น RPC จำนวน 2,514,800 หุ้น และจำนวน 490,000 หุ้น ตามลำดับ ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ของตนเองในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น RPC ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชนที่บุคคลทั้งสอง
ได้ล่วงรู้ในฐานะกรรมการของ RPC เกี่ยวกับการที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.94 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยนายสัจจาได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนในการสั่งซื้อและการชำระค่าหุ้นจากนางปิยะนุช
การกระทำของบุคคลทั้งสามเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนายสุมิตรเป็นเงิน 1,054,326 บาท นายสัจจาเป็นเงิน 500,000 บาท และนางปิยะนุชเป็นเงิน 333,333.33 บาท


ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนายอานนท์ชัย วีระประวัติ กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (SSI) เป็นจำนวนเงิน 768,925 บาท
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 นายอานนท์ชัยได้ซื้อขายหุ้น SSI จำนวน 130.12 ล้านหุ้น ด้วยการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในลักษณะต่อเนื่องกันทั้งสิ้น 299 คำสั่ง ทั้งนี้ หุ้น SSI เปิดตลาดซื้อขายในวันดังกล่าวที่ราคา 0.37 บาท โดยราคาไม่เปลี่ยนแปลงจนเมื่อนายอานนท์ชัยเข้าซื้อขาย ราคาหุ้น SSI ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดของวันที่ 0.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.81 เมื่อเทียบกับราคาเปิด หรือเพิ่มขึ้น 0.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.88 เมื่อเทียบกับราคาปิดของวันก่อนหน้าที่ 0.36 บาท และเมื่อนายอานนท์ชัยหยุดการซื้อขาย ราคาหุ้น SSI ปรับลดลงไปปิดที่ 0.38 บาท สำหรับปริมาณการซื้อขายหุ้น SSI ตั้งแต่เปิดตลาดจนก่อนช่วงเกิดเหตุมีเพียง 0.75 ล้านหุ้น แต่เมื่อนายอานนท์ชัยเข้ามาซื้อขาย ปริมาณการซื้อขายรวมของหุ้น SSI เพิ่มขึ้นเป็น 335.10 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 87.11 ของปริมาณซื้อขายรวมของวัน โดยเป็นของนายอานนท์ชัยจำนวน 130.12 ล้านหุ้น และหลังจากที่นายอานนท์ชัยหยุดซื้อขาย ปริมาณซื้อขายหุ้น SSI เหลือเพียง 48.85 ล้านหุ้น
การกระทำของนายอานนท์ชัยดังกล่าวทำให้การซื้อขายหุ้น SSI ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่ามีผู้ต้องการซื้อขายหุ้น SSI ในช่วงเวลานั้นเป็นจำนวนมากและเข้าซื้อขายตาม เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนายอานนท์ชัย เป็นเงิน 768,925 บาท
อนึ่ง นายอานนท์ชัย เคยกระทำผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์มาก่อน คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้พิจารณาเปรียบเทียบปรับกรณีนี้โดยมีเหตุเพิ่มโทษด้วย

ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนายเสริมเกียรติ กังเสถียร นายวิเชียร เอื้อศิริพันธ์ และนายประทีป วงศ์กุลนิษฐ์ กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทเพิ่มสิน สตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน) (PERM) เป็นจำนวนเงินรวม 2,074,121.25 บาท
ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบพบว่า สภาพการซื้อขายหุ้น PERM ที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556 เกิดจากนายเสริมเกียรติ นายวิเชียร และนายประทีป ได้รู้เห็นหรือตกลงกันใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเอง ซื้อขายหุ้น PERM ในลักษณะต่อเนื่อง ผลักดันราคา และส่งคำสั่งซื้อขายเพื่อจับคู่กันเองระหว่างบัญชีโดยสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อ-ผู้ขาย ในลักษณะอำพราง ทำให้การซื้อขายหุ้น PERM ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาและปริมาณซื้อขายหุ้น PERM และเข้าซื้อขายหุ้นดังกล่าว
การกระทำของนายเสริมเกียรติ นายวิเชียร และนายประทีป เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนายเสริมเกียรติ เป็นเงิน 1,074,121.25 บาท นายวิเชียร และนายประทีป เป็นเงินรายละ 500,000 บาท

ก.ล.ต. เปิดเผยกรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบผู้กระทำผิด 10 ราย ได้แก่ (1) นางสาวอำไพ รัตนนาวิน (2) นางสาวศรีอุบล อินทรอำนวย (3) นางสาวปรีชญา วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ (ปัจจุบันนามสกุล ทีฆาสุรัตน์) (4) นางสาวนงลักษณ์ (ปัจจุบันชื่อ พันธุ์วดี) พานิชยาภรณ์ (5) นายบดินทร์ เหลืออรุณ (6) นายสุพร บุญทรง (7) นางสาวศิริพร เกศเกษี (8) นายวีรยุทธ แซ่อึ้ง (9) นางสาวน้ำค้าง ฉันทชาติ และ (10) นายสินโชค ศรินนภากร กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัทยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน) (UKEM) เป็นจำนวนเงินรวม 19,948,269.33 บาท

ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2551 นางสาวอำไพ นางสาวศรีอุบล นางสาวปรีชญา นางสาวนงลักษณ์ นายบดินทร์ และบุคคลอีก 4 ราย ได้แก่ นายพรเทพ ถาวรวิสุทธิกุล นางสาวอารดา เลิศภิญโญภาพ นายนฤพล ฉัตรเฉลิมวิทย์ และบุคคลไม่ทราบชื่อ 1 ราย ซึ่ง ก.ล.ต. กล่าวโทษบุคคล 4 รายนี้ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 แล้ว ได้รู้เห็นหรือตกลงร่วมกันสร้างราคาหุ้น UKEM ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลรวม 7 บัญชี โดยร่วมกันทำการซื้อขายหุ้น UKEM อย่างต่อเนื่องในลักษณะอำพราง ผลักดันและพยุงราคา จับคู่กันเองระหว่างบัญชี รวมทั้งทำราคาปิดจาก 2.60 บาทต่อหุ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 มาปิดที่ 6.20 บาทต่อหุ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้น 3.60 บาท หรือร้อยละ 138.46 ทำให้การซื้อขายหุ้น UKEM ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาและปริมาณซื้อขายหุ้น UKEM และเข้าซื้อขายหุ้นดังกล่าว โดยได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากนายสุพร นางสาวศิริพร นายวีรยุทธ นางสาวน้ำค้าง นายสินโชค และบุคคลอีก 2 ราย ได้แก่ นายประยุทธ์ เลิศภิญโญภาพ นางสาวกรุณา แก้วมณี ซึ่งบุคคลทั้ง 2 รายนี้ ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้วเช่นกันเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 เนื่องจากไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ

การกระทำของนางสาวอำไพ นางสาวศรีอุบล นางสาวปรีชญา นางสาวนงลักษณ์ และนายบดินทร์ เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และการกระทำของนายสุพร นางสาวศิริพร นายวีรยุทธ นางสาวน้ำค้าง และนายสินโชค เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนางสาวอำไพ นางสาวปรีชญา และนางสาวนงลักษณ์ รายละ 500,000 บาท นางสาวศรีอุบลและนายบดินทร์ เป็นเงิน 6,216,808.65 บาท และ 10,564,794.03 บาท ตามลำดับ และนายสุพร นางสาวศิริพร นายวีรยุทธ นางสาวน้ำค้าง และนายสินโชค รายละ 333,333.33 บาท

ปิดการซื้อขาย ( 10 ตุลาคม 2557 ) ราคาหุ้น SSI อยู่ที่ 0.34 บาท ราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 20.32 ล้านบาท , UKEM อยู่ที่ 1.61 บาท เพิ่มขึ้น 0.02 บาท หรือ 1.26% มูลค่าการซื้อขาย 13.30 ล้านบาท , PERM อยู่ที่ 3.34 บาท เพิ่มขึ้น 0.06 บาท หรือ 1.83% มูลค่าการซื้อขาย 374.75 ล้านบาท และ RPC อยู่ที่ 1.54 บาท เพิ่มขึ้น 0.07 บาท หรือ 4.76% มูลค่าการซื้อขาย 957.17 ล้านบาท

---จบ---

วันที่ : 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลที่มา..http://www.hooninside.com/news-detail.php?id=392231
แนบไฟล์
1478_hot61.jpg

Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 34

โพสต์

วันที่ 30 ตุลาคม 2557 บริษัทโยงคดีปั่นหุ้นราคาดิ่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

หุ้น 4 บริษัทที่โยงคดีปั่นหุ้น หลัง ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับ เปิดเทรดราคาดิ่ง "อาร์พีซี"อ่วมสุด

จากกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ดำเนินการปรับเงินผู้กระทำผิดใน 4 หลักทรัพย์ แบ่งเป็นกรณีการสร้างราคาหุ้น 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PERM บริษัท ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน)หรือ UKEM บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ SSI และ กรณีการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ RPC โดยมีการปรับเงินรวมกันทั้งสิ้น 24,.67ล้านบาท

ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นล่าสุดนั้นพบว่า ราคาหุ้นเพิ่มสิน ล่าสุดปิดตลาดที่ราคา 3.16 บาทลดลง 0.18 บาทคิดเป็น 5.39% หุ้นยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล ปิดที่ราคา 1.60 บาท ลดลง 0.01 บาท คิดเป็น 0.62% หุ้นสหวิริยาสตีล ปิดตลาด0.34 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง และหุ้นบริษัทอาร์พีซีจี ปิดตลาดที่ 1.43 บาท ลดลง 0.11 บาทคิดเป็น 7.14%

นายพีระเจต สุวรรณนภาศรี กรรมการ บริษัท ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ก.ล.ต.ได้มีการเปรียบเทียบปรับกับผู้ที่กระทำผิดในการสร้างราคาหุ้นของบริษัทนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อน ส่วนของบริษัทนั้นไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนให้เกิดการสร้างราคาหุ้น

"กรณีที่ ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่งในช่วงนั้น มีข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทค่อนข้างมาก และทางทีมผู้บริหารได้แจ้งเตือนกับนักลงทุนไปหลายครั้งให้ติดตามข่าวสารที่แท้จริงจากบริษัทเท่านั้น"

นายพีระเจต กล่าวต่อว่า ในการสร้างราคาของนักลงทุนหรือนักปั่นหุ้นนั้น บริษัทมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นนักลงทุนประเภทหนึ่งที่ชอบราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวรุนแรง บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่สนับสนุนกับนักลงทุนประเภทนี้ ส่วนการดำเนินการเอาผิดเป็นเรื่องของก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ และผู้ที่กระทำความผิด ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ซึ่งในระยะหลังนั้นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัทมีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่หวือหวามากกว่าปกติ บางบริษัทมีคำสั่งซื้อหุ้นจำนวนมากผิดปกติ และไม่มีฝั่งที่ต้องการขายหุ้น ทำให้ราคาปรับตัวขึ้นไปแตะระดับซิลลิ่งได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึง กระแสข่าวลือในห้องค้าหลักทรัพย์มีจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวอาจไม่ส่งผลดีกับความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแต่ละบริษัทได้

หลังจากนี้ในส่วนของผู้บริหารบริษัทนั้น ยังคงเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีกับผู้ถือหุ้น และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ถือหุ้นเพื่อป้องกันความเสียหาย ในส่วนความเชื่อมั่นในผู้ถือหุ้นนั้น บริษัทเชื่อว่านักลงทุนมีความเข้าใจที่ดีกับบริษัทอยู่แล้ว และข่าวดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น

นายชูเกียรติ ยงวงศ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากมีกระแสข่าวการปรับเงินกับผู้กระทำผิดในการปั่นหุ้นของบริษัทนั้น ยอมรับว่าตกใจอย่างมาก ซึ่งบริษัทไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการสร้างราคาหุ้น และไม่รู้จักกับ ทั้ง 3 บุคคลที่เป็นผู้กระทำความผิด

"พอเห็นข่าวดังกล่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ยอมรับว่าตกใจอย่างมาก เพราะผมไม่เคยรู้จักกับผู้ที่กระทำความผิดและไม่สนับสนุนกับการสร้างราคาหุ้นอยู่แล้ว และส่วนตัวก็ไม่ได้เล่นหุ้น ในช่วงราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูง ทางบริษัทได้แจ้งเตือนกับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง และได้ชี้แจ้งถึงพัฒนาการของธุรกิจให้กับตลาดหลักทรัพย์ได้รับทราบมาโดยตลอด ซึ่งการสร้างราคาหุ้นนั้นจริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน"

สาเหตุที่หุ้นถูกปั่นราคาในครั้งนี้มองว่าเกิดจากระดับราคาปิดกำไรต่อหุ้น (พี/อี) ของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ และราคาหุ้นไม่สูงมากนัก ทำให้สามารถสร้างราคาได้ง่าย หลังจากเกิดกระแสข่าวดังกล่าวขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นกับถือหุ้นแน่นอน หลังจากนี้ทางบริษัทจะนำเรื่องดังกล่าว เพื่อเข้าหารือกับคณะกรรมการอิสระอย่างเร่งด่วน เพื่อหาแนวทางในการกู้ชื่อเสียงของบริษัท

ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ โดยก.ล.ต. จัดทำร่างประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ปรับปรุงเพิ่มเติมจากการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

โดยร่างประกาศครอบคลุมเรื่องการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การทำธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง การจัดทำและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับ ตระกูล "พรประภา" ผู้ถือหุ้นใหญ่ "ฐิติกร" กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อขาย หุ้นเอส.พี.ซูซูกิ
สำนักงานคณะกรรมการกำบหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบ นางอโนทัย พรประภา นายประพล พรประภา และนางสาวปฤณ พรประภา ในฐานะตัวการ กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้นบริษัท เอส.พี.ซูซูกิ จำกัด (มหาชน) หรือ SPSU เพื่อตนเอง และผู้อื่น รวมทั้งนางสาวอมรรัตน์ คงสิทธิ์ธนกร และนางรัชดา ศรีวิโรจน์วงศ์ ในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เป็นจำนวนเงินรวม 12,831,738.66 บาท

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างวันที่ 8 เม.ย.-15 มิ.ย. 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากนางอโนทัย นายประพล และนางสาวปฤณ ได้ซื้อหุ้นบริษัท เอส.พี.ซูซูกิจ ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์และนางรัชดา ซึ่งการกระทำดังกล่าว น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก

โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าว อาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้นบริษัท เอส.พี.ซูซูกิ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชนเกี่ยวกับการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งต้องการซื้อหุ้นบริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด จากกลุ่มผู้ขาย ได้แก่ บริษัท เอส.พี.ซูซูกิ บริษัท เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนล และบุคคลในตระกูลพรประภา ซึ่งรวมถึงนางอโนทัย

ทั้งนี้ได้กำหนดเงื่อนไขให้กลุ่มผู้ขาย ต้องดำเนินการเลิกกิจการ หรือเพิกถอนบริษัท เอส.พี.ซูซูกิ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และต่อมาบริษัท เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์บริษัท เอส.พี.ซูซูกิ ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดในขณะนั้น ซึ่งนางอโนทัย นายประพล และนางสาวปฤณ ล่วงรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับร่างเอ็นโอยูดังกล่าวในนามของกลุ่มผู้ขาย

การกระทำของบุคคลทั้ง 5 เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนางอโนทัยเป็นเงิน 2,580,211.77 บาท นายประพลเป็นเงิน 2,948,813.46 บาท นางสาวปฤณเป็นเงิน 6,636,046.77 บาท และนางสาวอมรรัตน์และนางรัชดาเป็นเงินรายละ 333,333.33 บาท

ทั้งนี้ กลุ่มพรประภา เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ฐิติกร (TK) ซึ่งล่าสุดได้แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2557 มีกำไรสุทธิ 42.22 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.08 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 68.72 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.14 บาท

สาเหตุหลักมาจากรายได้รวมที่ลดลง จากการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งไตรมาส 3/2557 อยู่ในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าชะลอการซื้อเป็นปกติ ทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อลดลง ประกอบกับภาคการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทบธุรกิจทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ส่วนงวด 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 117.48 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.23 บาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 378.06 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.76 บาท

สำหรับการเคลื่อนไหวราคาหุ้นฐิติกร ปิดตลาดที่ระดับ 9.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.05 บาท หรือ 0.52%
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น SPSU
27 พ.ย. 2557 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ก.ล.ต.เปิดเผยคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบนางอโนทัย พรประภา นายประพล พรประภา และนางสาวปฤณ พรประภา ในฐานะตัวการ กรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้นบริษัท เอส.พี.ซูซูกิ จำกัด (มหาชน) (SPSU) เพื่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งนางสาวอมรรัตน์ คงสิทธิ์ธนกร และนางรัชดา ศรีวิโรจน์วงศ์ ในฐานะผู้ช่วยเหลือสนับสนุน เป็นจำนวนเงินรวม 12,831,738.66 บาท

ก.ล.ต.ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ระหว่างวันที่ 8 เมษายน 2553 ถึง 15 มิถุนายน 2553 นางอโนทัย นายประพล และนางสาวปฤณ ได้ซื้อหุ้น SPSU ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์และนางรัชดาในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น SPSU ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชนเกี่ยวกับการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งต้องการซื้อหุ้นบริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด จากกลุ่มผู้ขาย ได้แก่ SPSU บริษัท เอส.พี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (SPI) และบุคคลในตระกูลพรประภา ซึ่งรวมถึงนาง อโนทัย โดยกำหนดเงื่อนไขให้กลุ่มผู้ขายต้องดำเนินการเลิกกิจการหรือเพิกถอน SPSU ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และต่อมา SPI ได้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ SPSU ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดในขณะนั้น ซึ่งนางอโนทัย นายประพล และนางสาวปฤณ ล่วงรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับร่าง MOU ดังกล่าวในนามของกลุ่มผู้ขาย

การกระทำของบุคคลทั้งห้าเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับนางอโนทัยเป็นเงิน 2,580,211.77 บาท นายประพลเป็นเงิน 2,948,813.46 บาท นางสาวปฤณเป็นเงิน 6,636,046.77 บาท และนางสาวอมรรัตน์และนางรัชดาเป็นเงินรายละ 333,333.33 บาท
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 37

โพสต์

แจ้งจับลูกชายบอร์ดดีเอสไอหลอกขายหุ้นเสียหาย 1 พันล.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 ธันวาคม 2557

กลุ่มโบรกเกอร์ตลาดหุ้นแจ้งจับลูกชายบอร์ดดีเอสไอ หลอกขายหุ้นเสียหายนับ 1,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 3 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา กลุ่มโบรกเกอร์และผู้เสียหายกว่า 30 คน ที่ถูกหลอกลวงให้ขายหุ้นของหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท เดินทางเข้าพบ ร.ต.ท.ปรีชา ศรีอุดม พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ นายปาณสาร สมชีวิตา อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36 ซอยปานทิพย์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม.ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โดยนำสลิปการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร มามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน

นายเอก(สงวนชื่อจริงและนามสกุล) หนึ่งในโบรกเกอร์ผู้เสียหาย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้รู้จักกับนายปาณสาร เนื่องจากเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ต่อมานายปาณสาร อ้างว่ามีหุ้นที่อยู่ในพอร์ทของเขาที่ชื่อ บริษัท เอเชียเวลท์โฮลดิ้ง จำกัด เช่น คาราบาวแดง VPO. MTLS. JSP. ฯลฯ หลายล้านหุ้น จึงอยากกระจายขายผ่านโบรกเกอร์ เพราะหุ้นพวกนี้ยังไม่เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตนเห็นว่าน่าสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะทำกำไร จึงมีการระดมทุนซื้อไว้ พร้อมทั้งโอนเงินให้นายปาณสารไป โดยการซื้อขายหุ้นดังกล่าวในวงการเรียกว่าการซื้อขายหุ้นนอกตลาด ซึ่งจะมีความเสี่ยงเนื่องจากไม่มีใบหุ้น แต่ที่ตนตัดสินใจซื้อเพราะเห็นว่าเคยซื้อขายกับ นายปาณสาร มาก่อน จึงเชื่อถือและไว้ใจ

นายเอก กล่าวต่อว่า เมื่อหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จนราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น พวกตนจึงแจ้งขายหุ้นต่อ แต่นายปาณสาร กลับอ้างว่าโอนเงินค่าขายหุ้นให้ไม่ได้ เพราะติดขัดปัญหา พอตนทวงถามไป นายปาณสารกลับอ้างว่าถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อายัดเงินไว้ ตนกับผู้เสียหายคนอื่นจึงไปตรวจสอบที่ ปปง.ก็พบว่าไม่ได้มีการอายัดเงินตามที่นายปาณสาร กล่าวอ้างแต่อย่างใด จากนั้นพวกตนจึงนัดหมายเจรจาเพื่อเคลียร์เงินกันเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งนายปาณสารก็รับปากว่าจะจ่ายเงินค่าเสียหายให้ แต่พอคุยไปคุยมาสุดท้ายเจ้าตัวกลับบอกว่ามีเงินแค่ 90 ล้านบาท แต่มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นกว่า 300 ล้านบาทจึงไม่พอจ่าย แม้จะพยายามติดต่อเพื่อให้มีการเคลียร์เงินอีก ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ตนและผู้เสียหายรายอื่นๆจึงรวมตัวกันเข้าแจ้งความ

นายเอก กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบกับกลุ่มผู้เสียหายยังพบว่า ขณะนี้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของนายปาณสาร อีกนับ 100 ราย โดยต่างถูกหลอกให้ซื้อหุ้นลักษณะดังกล่าว รวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท ซึ่งเฉพาะในส่วนของตน ความเสียหายมากกว่า 20 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ นายปาณสาร เป็นบุตรชายของอดีตปลัดกระทรวงแห่งหนึ่ง (นายสันทัด สมชีวิตา อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และปัจจุบันอดีตปลัดคนดังกล่าว ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของกรรมการคดีพิเศษ(บอร์ดดีเอสไอ) อีกด้วย

ด้าน ร.ต.ท.ปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องและสอบปากคำผู้เสียหายไว้ ก่อนจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ และนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป
kasam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 313
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 38

โพสต์

หนังสือพิมพ์ทันหุ้น วันจันทร์ 2014-12-08
หม่อมอุ๋ย-ธปท.ไฟเขียว ซีพีถือหุ้นใหญ่LHBANK
"ปรีดิยาธร-ประสาร" เปิดทางกลุ่มซีพีเข้าถือหุ้นใหญ่บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป ด้านไทยพาณิชย์รับเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน คาดเสร็จภายในไตรมาสแรกปี 2558 ราคาเจรจากว่า 3 บาท หรือ 2.5-3 เท่ามูลค่าทางบัญชี ก่อนเสนอคลังอนุมัติ

ที่ อฟ. 189/2557
วันที่ 8 ธันวาคม 2557
เรื่อง ชี้แจงข่าวที่ปรากฎในสื่อ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามที่มีข่าวปรากฎทางหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องการตกลงซื้อหุ้นของบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล
กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และได้รับความเห็นชอบเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น บริษัทขอแจ้งให้
ทราบว่าปัจจุบันยังไม่มีการตกลงซื้อหุ้นของบริษัทแต่อย่างใด

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ
(นางศศิธร พงศธร)
กรรมการผู้จัดการ
เลขานุการบริษัท

http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ก.ล.ต. ลงโทษ ผู้แนะนำการลงทุน 1 ราย 09 ธ.ค. 2557 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ก.ล.ต.สั่งห้ามการปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนและผู้วางแผนการลงทุนราย นางสาวเบญจวรรณ์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล เป็นเวลา 6 เดือน ขณะกระทำผิด สังกัด บล.ไทยพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ไทยพาณิชย์

ก.ล.ต.ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นางสาวเบญจวรรณ์ทำการปลดล็อคบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีการซื้อขายมานานเพื่อส่งคำสั่งขายหลักทรัพย์ในบัญชีดังกล่าว โดยนางสาวเบญจวรรณ์ทราบอยู่ก่อนที่จะส่งคำสั่งขายแล้วว่าหลักทรัพย์ที่สั่งขายมิใช่ของลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชี และทราบด้วยว่าผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการขายหลักทรัพย์เป็นบุคคลใด แต่นางสาวเบญจวรรณ์กลับไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร KYC/CDD ที่ลูกค้ากรอกข้อมูลให้ถูกต้อง และไม่ได้ดำเนินการให้ปรากฏชื่อผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง รวมทั้งไม่ได้ทำ KYC/CDD กับผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ทั้งนี้ ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการทำรายการเป็นทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่สั่งขายดังกล่าว

การไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่ทำ KYC/CDD ให้ปรากฏผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ามีผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง เป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน* ดังนั้น ก.ล.ต. จึงสั่งห้ามการปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน และสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนและผู้วางแผนการลงทุนของนางสาวเบญจวรรณ์ เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2557
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 40

โพสต์

สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของ นายกิตติคุณ เกื้อแก้ว สังกัดบล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ม เป็นเวลา 6 เดือน

สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า ก.ล.ต. ได้สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายกิตติคุณ เกื้อแก้ว เป็นเวลา 6 เดือน สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน รายนายกิตติคุณ ชักชวนให้ลูกค้าลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอ้างผลตอบแทนที่สูงมากเกินความเป็นจริง โดยนายกิตติคุณจัดทำเอกสารการให้คำแนะนำขึ้นเอง ซึ่งไม่ได้อ้างอิงบทวิเคราะห์และไม่ได้ผ่านการรับรองของ บล. กิมเอ็ง ประกอบกับมีถ้อยคำที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เมื่อลงทุนตามคำแนะนำแล้วจะไม่ขาดทุน นอกจากนี้ นายกิตติคุณไม่ได้ส่งคำสั่งปิดสถานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามคำสั่งของลูกค้าในทันที ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย

โดยการให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุนโดยไม่เป็นไปตามหลักวิชาชีพอันเป็นที่ยอมรับ มีการรับประกันผลตอบแทนต่อผู้ลงทุน และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ลงทุนที่เป็นเจ้าของบัญชี เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนายกิตติคุณเป็นเวลา 6 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. กิมเอ็ง ได้ลงโทษพักการปฏิบัติหน้าที่แล้วเป็นเวลา 1 เดือน 7 วัน จึงเหลือระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบอีกเป็นเวลา 4 เดือน 23 วันนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2557
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ฉาย บุนนาค ถือเป็นบุคคลมีคดีเกี่ยวโยงการปั่นหุ้นมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย หากพิจารณาจากข้อมูล ก.ล.ต.

เนื่องจากรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ฉาย ถูกกล่าวโทษ โดยตรงถึง 4 คดี และถูกส่งให้ดีเอสไอดำเนินการตรวจสอบถึง 3 คดี โดยยอมเปรียบเทียบปรับ1คดี และล่าสุดถูกกล่าวโทษอีก 1 คดี กรณีปั่นหุ้นบริษัทบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด มหาชน (SLC) ทั้งนี้ ถือว่า ฉาย บุนนาค เป็นบุคคลมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นมากที่สุดในตอนนี้

ล่าสุดเมื่อ 3 เดือนก่อนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมายอมรับว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ส่งสำนวนร้องทุกข์กล่าวโทษ คดีปั่นหุ้นบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด มหาชน (SLC) โดย ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำผิด 11 ราย ได้แก่ นายฉาย บุนนาค นายปฐมัน บูรณะสิน นายสุพิชยะ ฉายเหมือนวงศ์ นายมีศักดิ์ มากบำรุง นายอภินันทกานต์ พงศ์สถาบดี นายเทพฤทธิ์ สีหิสราภิสิทธิ์ นายทรี บุญปราศภัย นายพาวิตต์ นาถะพินธุ นางสาวชนาธิป ตันติพูนธรรม นางสาวศิริญา ดำรงวิถีธรรม และ นายไท บุญปราศภัย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัทโซลูชั่น

รายงานระบุว่า ก.ล.ต. ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับสภาพการซื้อขายหุ้น SLC ที่ผิดปกติระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-29 เม.ย. 2553 จึงตรวจสอบเชิงลึกพบพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นพยานวัตถุ และพยานเอกสาร เช่น บัญชีข้อมูลการซื้อขายหุ้น SLC บัญชีแสดงการหมุนเวียนเงินภายในกลุ่ม ซึ่งมีทั้งบัญชีกลาง บัญชีรายบุคคล บัญชีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนให้กับบุคคล 7 รายที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน

ตลอดจนการให้ถ้อยคำยอมรับของผู้ต้องสงสัยบางรายเกี่ยวกับการควบคุมเงิน และการสั่งการในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า นายฉาย นายปฐมัน และนายสุพิชยะได้ตกลงรู้เห็นร่วมกันซื้อขายหุ้น SLC ในลักษณะสร้างราคาผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และบัญชีธนาคารของบุคคล 9 ราย ซึ่งพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น SLC ของบุคคลกลุ่มนี้ มีลักษณะสอดรับกันในด้านจังหวะเวลา

การส่งคำสั่งด้านซื้อและขายในปริมาณมากที่หลายระดับราคา เพื่อครองตลาดและควบคุมการเปลี่ยนแปลงราคา และทำราคาตลาดให้สูงขึ้น ด้วยการส่งคำสั่งให้เกิดการซื้อขายระหว่างบัญชีของบุคคลในกลุ่ม อันเป็นการลวงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้น SLC เมื่อมีผู้ลงทุนจำนวนมากหลงเชื่อและเข้าซื้อขายตาม บัญชีซื้อขายของบุคคลทั้ง 9 รายก็ทยอยขายทำกำไร โดยมีนายไทช่วยเหลือสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ใช้เวลาสอบ 6 เดือน-1ปี

สอดคล้องกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สัมภาษณ์ว่า กรณี การปั่นหุ้นโซลูชั่น นั้น เมื่อมีการส่งสำนวนมาที่ดีเอสไอ ตามขั้นตอนสำนวนจะถูกส่งไปยังสำนักงานอธิบดีดีเอสไอ เพื่อสั่งการให้ส่งต่อสำนวนไปยังสำนักคดีการเงินและการธนาคาร โดยความผิดเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ เป็นกฎหมายแนบท้ายพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอมีอำนาจสอบสวนทันที ไม่ต้องรอเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) โดยปกติคดีปั่นหุ้นมีพยานเอกสารจำนวนมาก ในชั้นสอบสวนเบื้องต้นต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง1 ปี

กรณีของ ฉาย บุนนาค ก่อนหน้านี้ ก.ล.ต. เคยร้องทุกข์กล่าวโทษให้สอบสวนคดีปั่นหุ้น ไมด้า ลิซซิ่ง ซึ่งดีเอสไอมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานความเชื่อมโยงในการซื้อขายหุ้นของกลุ่มบุคคล แต่เมื่อ ก.ล.ต. ร้องทุกข์คดีใหม่เข้ามา ดีเอสไอ ต้องตรวจสอบว่า เป็นการปั่นหุ้นตัวใด ในช่วงเวลาใด และเชื่อมโยงกับบุคคลกลุ่มใดบ้าง กรณีของ ฉาย ยังมีคดีปั่นหุ้นที่ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จอีกจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ การปั่นหุ้นเกิดขึ้นแทบทุกวันโดยก.ล.ต.จะมีโปรแกรมวิเคราะห์และแจ้งเตือนความผิดปกติ และหลายคดีก.ล.ต.จะเปรียบเทียบปรับ ยกเว้นเป็นกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรงหรือทำความผิดหลายจึงจะส่งเรื่องให้สอบสวนคดีอาญา

ระบุไม่มีหลักฐานเอาผิด

นอกจากนี้ เมื่อย้อนอดีตไปกลางปี 2557 ในระหว่างที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เคยชี้แจงว่า เหตุผลที่ดีเอสไอและอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายฉาย บุนนาค กับพวกรวม 13 คน ตามที่ก.ล.ต.เคย ยื่นเอกสารร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี โดยกรณีการเห็นพ้องกันระหว่างดีเอสไอและพนักงานอัยการ ที่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทำให้คดีต้องยุติลง เนื่องจากไม่พบหลักฐานการกระทำความผิด ซึ่งผลการสอบสวนนาน 1 ปี พบว่าในข้อกล่าวหาที่ระบุว่าเป็นการปั่นหุ้นนั้น ผู้ซื้อหุ้นต่างยืนยันว่า ซื้อหุ้นด้วยตัวเองและใช้เงินของตนเอง ไม่ได้ให้ใครยืมชื่อซื้อขาย อีกทั้งผู้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่ไม่รู้จักกัน และไม่มีหลักฐานว่ามีการตกลงกันว่าจะปั่นหุ้นตัวไหน หรือวิธีปั่นใครทำหน้าที่อย่างไร

"หุ้นแต่ละคนที่ซื้อนั้นไม่สามารถที่จะนำหุ้นมานับรวมกันได้ เพราะต่างคนต่างซื้อ จึงไม่เป็นความผิดฐานตามมาตรา 246 พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯที่ระบุว่า บุคคลใดได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการใดใน ลักษณะที่ทำให้ตน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นเมื่อไม่มีพฤติการณ์ปั่นหุ้นจึงไม่มีความผิดฐานไม่รายงานจำนวนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในทุก 5%ต่อก.ล.ต.ภายในวันทำการถัดมาที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการนั้น"

ธาริต เคยชี้ไม่พบหลักฐานะทำผิด

นายธาริต ให้ความเห็นว่า ผลการสอบสวนยังไม่พบหลักฐานการกระทำความผิดตามมาตรา 243 ฐานร่วมกันทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยรู้เห็น หรือตกลงกับบุคคลอื่นอันเป็นการอำพรางเพื่อให้บุคคลทั่วไปหลงผิดไปว่าขณะใดขณะหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หลักทรัพย์นั้นได้มีการซื้อหรือขายกันมาก หรือราคาของหลักทรัพย์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง อันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด หรือโดยตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะต่อเนื่องกัน อันเป็นผลทำให้การซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด และการกระทำดังกล่าวได้กระทำไป เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้น

ย้อน 4 คดีปั่นหุ้น

สำหรับคดีที่ฉายถูกกล่าวโทษโดยตรง 4 คดี ได้แก่คดีปั่นหุ้น บริษัท ดี.ที.ซี. อินดัสตรี่ส์ (“DTCI”) คดีรู้เห็นหรือตกลงร่วมกับบุคคลอื่นในการใช้บัญชีของบุคคลหลายรายซื้อขาย 12 หุ้น คดีปั่นหุ้นบริษัทไมด้า ลิสซิ่ง (ML) บริษัทแมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น (MAX) คดีการมิได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปของการถือครองหุ้นไมด้า และแมกซ์

ยอมจ่ายเงินปั่นหุ้นคดีแรก

ในคดีปั่นหุ้น บริษัท ดี.ที.ซี. อินดัสตรี่ส์ (“DTCI”) ในระหว่างนั้น ฉาย เคยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าทีมเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จึงทำให้ราคาหุ้น DTCI ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไม่เป็นไปตามกลไกสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปเข้าทำการซื้อหรือขายหุ้น DTCI จึงถูกกล่าวโทษว่าเข้าข่ายสร้างราคาหุ้นเป็นครั้งแรก ผลสรุปของการทำผิดในครั้งนั้น ปรากฏว่า ฉายเลือกที่จะรับผิดและยอมเปรียบเทียบปรับเป็น เงินมูลค่า 4.83 ล้านบาท

ยกฟ้องทุกคดี

ส่วนคดีอื่นๆ ฉาย ยอมให้สำนักงานก.ล.ต.กล่าวโทษ และส่งฟ้องต่อดีเอสไอ ซึ่งแต่ละคดีก็สิ้นสุดที่อัยการสั่งไม่ฟ้องดำเนินการ โดยกรณีการปั่นหุ้นบริษัทไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (ML)และบริษัทแมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (MAX) โดยผลสรุปของคดีคือ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีรวมถึงคดีร่วมสร้างราคาหุ้น 12 หลักทรัพย์ ผลสรุปของคดีคือ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง

ในระหว่างที่มีการดำเนินคดีต่างๆ ฉายยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เป็นระยะๆ โดยผ่านการลงทุนโดยตรงและนอมินี อย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าเข้าลงทุนหุ้นตัวไหนหุ้นตัวนั้น จะมีการซื้อขายแบบหวือหวา จนเป็นที่สนใจของตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานก.ล.ต. ที่จะต้องเกาะติด และสั่งให้บริษัทจดทะเบียนชี้แจงการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นอย่างมีนัยสำคัญเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ศาลฯ สั่งจำและปรับ 6 ผู้กระทำผิดแต่งงบ “ไดโดมอน กรุ๊ป”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 ธันวาคม 2557

ศาลอาญาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด 6 ราย ทั้งจำ และปรับ กรณีจัดทำบัญชีหรือเอกสารเท็จ และทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินของ“ไดโดมอน กรุ๊ป” ทำให้ผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับฐานะทางการเงินที่แท้จริงของ DAIDO ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

ศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษอดีตผู้บริหารบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ DAIDO 3 ราย ได้แก่ (1) นายชิซิโร ฟูคูด้า (2) นายพิศาล จรัสเลิศรังษี (3) น.ส.กานต์ชนก หรือณัชพร ลิขิตศิริทรัพย์ หรือรัสรินทร์ สุรพัฒนไพศาล ในความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสาร บันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง และไม่ตรงต่อความเป็นจริง และทุจริตเบียดบังทรัพย์สินของ DAIDO รวมทั้งผู้สนับสนุนอีก 3 ราย ได้แก่ (4) บริษัท บัดเจท แมเนจเมนท์ แอนด์ ดีไซน์ จำกัด (5) นายมณเฑียร พงษ์เกียรติก้อง และ (6) นายชัย พงศ์ธนาวรานนท์ หรือนายกิตติวุฒิ อรรถวัฒนาถ

คดีนี้สืบเนื่องจาก ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร DAIDO 3 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 ได้แก่ นายชิซิโร อดีตประธานกรรมการ นายพิศาล อดีตรองประธานกรรมการรับผิดชอบฝ่ายการเงินและฝ่ายบัญชี และ น.ส.กานต์ชนก หรือณัชพร หรือรัสรินทร์ อดีตรองประธานกรรมการ รับผิดชอบฝ่ายโครงการของบริษัท กรณีจัดทำบัญชีไม่ตรงต่อความเป็นจริงและจัดทำเอกสารเท็จในงบการเงินของ DAIDO ประจำปี 2545 และงบการเงินประจำไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2546 ทำให้ผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับฐานะทางการเงินที่แท้จริงของ DAIDO ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

และต่อมาพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการได้ขยายผลการสอบสวนและพิจารณาสั่งฟ้องผู้สนับสนุนเพิ่มเติมอีก 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท บัดเจท แมเนจเมนท์ แอนด์ ดีไซน์ จำกัด นายมณเฑียร และนายชัย หรือนายกิตติวุฒิ รวมทั้งเพิ่มข้อหาทุจริต ยักยอก และปลอมแปลงเอกสารตามมาตรา 307, 308, 311, 313, 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และมาตรา 264, 268 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ศาลอาญามีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีความผิดตามมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 และมาตรา 312 (1) (2) (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และมาตรา 264 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีความผิดฐานสนับสนุนในการปลอมเอกสาร อย่างไรก็ดี เนื่องจากจำเลยทั้ง 6 ราย ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล มีเหตุบรรเทาโทษ ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยจำเลยที่ 1 มีความผิด 11 กระทง รวมจำคุก 12 ปี 66 เดือน และปรับ 1,507,500 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิด 9 กระทง รวมจำคุกรายละ 10 ปี 54 เดือน และปรับรายละ 1,256,000 บาท จำเลยที่ 4 มีความผิด 1 กระทง ปรับ 1,000 บาท จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีความผิดรายละ 1 กระทง จำคุกรายละ 4 เดือน และปรับรายละ 1,000 บาท

นอกจากนี้ ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำความผิด การบรรเทาผลร้ายภายหลังการกระทำความผิด และพฤติเหตุแวดล้อมแห่งคดีทุกทางแล้ว เห็นควรให้โทษจำคุกของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนดรายละ 2 ปี
แนบไฟล์
557000015371601.jpeg

Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 43

โพสต์

งบการเงิน “นิปปอน แพ็ค-ไทยพัฒนาโรงงาน” มีนัย

โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 30 ธันวาคม 2557

ตลาดหลักทรัพย์ฯ พบงบการเงิน “นิปปอน แพ็ค - ไทยพัฒนาโรงงาน” มีนัย หลังพิจารณา งบที่ไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนยังพบตัวเลขผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 24 ล้านบาท และ 41 ล้านบาท ตามลำดับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.ได้รวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนที่นำส่งงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 57 และเป็นบริษัทที่หากไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนแล้วยังมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานสุทธิ และเมื่อพิจารณาจากงบการเงินไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 57 พบว่า บริษัท นิปปอน แพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ NPP และบริษัท ไทยพัฒนาโรงงาน จำกัด (มหาชน) หรือ TFD มีผลขาดทุนสุทธิ 6 ล้านบาท และ 25 ล้านบาทตามลำดับ แต่มีกำไรจากการเงินลงทุน 18 ล้านบาท และ 16 ล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้ NPP มีขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่ไม่ร่วมกำไรจากการเงินลงทุน จำนวน 24 ล้านบาท ส่วน TFD มีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่ไม่ร่วมกำไรจากการเงินลงทุน จำนวน 41 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนแรกของปี 57 พบว่า NPP มีผลขาดทุนสุทธิ 44 ล้านบาท แต่มีกำไรจากเงินลงทุน 17 ล้านบาท โดยมีขาทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่ไม่รวมกำไรจากเงินลงทุนเท่ากับ 61 ล้านบาท จากมูลค่าซื้อขายเงินลงทุน 978 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้น 493 ล้านบาท

สำหรับ TFD นั้นพบว่า ในงวด 9 เดือนปี 57 มีผลขาดทุนสุทธิ 109 ล้านบาท มีกำไรจากเงินลงทุน 17 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานที่ไม่รวมกำไรจากการเงินลงทุน จำนวน 126 ล้านบาท จากมูลค่าซื้อขายเงินลงทุน 970 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้น 1,116 ล้านบาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 44

โพสต์

http://bit.ly/1BtuDi6

SLC ทุนฉงน-ซ่อนกลฮุบ NMG(2) : ธนชาติให้ WAT-SLC กู้แม้บักโกรก?
อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 45

โพสต์

เพิกถอนมาร์เกตติ้ง “พีรญา ดอนสมจิตร” เหตุใช้บัญชีลูกค้าซื้อหลักทรัพย์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2558

สำนักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย น.ส.พีรญา ดอนสมจิตร สังกัดบริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด เหตุใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง ถือเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบจากบริษัทต้นสังกัด และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า น.ส.พีรญา ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซึ่งเป็นน้องชายของ น.ส.พีรญา ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และผ่าน trader ID ของ น.ส.พีรญา เป็นระยะเวลา 11 เดือน โดยลูกค้ารับรู้ และให้ความยินยอม ซึ่ง น.ส.พีรญา ได้ยอมรับว่าเป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และเงินที่ใช้ในการชำระค่าซื้อหลักทรัพย์เป็นเงินของครอบครัว ซึ่งในระยะหลังเป็นเงินของ น.ส.พีรญา เอง

การกระทำของ น.ส.พีรญา เป็นการใช้บัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ราย น.ส.พีรญา โดยมีกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นเวลา 4 ปี แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. ต้นสังกัดได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนของ น.ส.พีรญา แล้วเป็นเวลา 3 เดือน จึงเหลือระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบในคราวต่อไปอีกเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2558

* หมายเหตุ : ข้อ 20(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 อันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข.37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 46

โพสต์

"พล.อ.ไพบูลย์" รมว.ยธ. ไฟเขียวดีเอสไอ สอบคดีปั่นหุ้น"โซลูชั่นคอนเนอร์" ชี้เป็นกลุ่มคนมีอิทธิพล ถือว่าไม่ธรรมดา

เพราะมีเม็ดเงินมหาศาล ด้านอธิบดีดีเอสไอ ตั้งทีมขึ้นมา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวแล้ว ชี้เรื่องครอบงำสื่อ ดีเอสไอมีอำนาจรับไว้สอบสวน

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงการสอบสวนคดีปั่นหุ้น บริษัท โซลูชั่นคอนเนอร์ หรือ SLC ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า มีการประชุมในระดับผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ดีเอสไอ ได้รายงานเรื่องนี้ให้ทราบแล้ว และโดยหน้าที่ ของดีเอสไอ ก็จะต้องทำเรื่องนี้อยู่แล้ว เมื่อมีข้อมูลก็ต้องทำ เพราะหากไม่ทำเท่ากับละเว้นปฏิบัติหน้าที่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ลักษณะของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมปั่นหุ้น กระทำการอย่างต่อเนื่องและมีการร้องเรียน มาที่ดีเอสไอ ก่อนหน้านี้แล้ว แต่อดีตอธิบดีดีเอสไอ มีคำสั่งไม่ฟ้อง พลเอก ไพบูลย์ กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดตัวบุคคล แต่เมื่อดีเอสไอ รับว่าจะไปทำเรื่องนี้ ก็ได้บอกไปว่า คนที่เข้ามามีอิทธิพล ในกรณีถ้าเป็นกลุ่มนี้จริงเรื่องหุ้นก็ไม่ธรรมดา เขาต้องมีเม็ดเงินมหาศาล จึงขอให้ดีเอสไอ ตั้งใจทำ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ระดับนโยบายของรัฐบาล เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้แค่ไหน รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องทำอยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกกฎหมาย

ด้านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นางสุวณา สุวรรณจุฑะ กล่าวว่า ดีเอสไอ รับเรื่องร้องเรียนจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ดีเอสไอ ได้ตั้งทีมขึ้นมา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องครอบงำสื่อ ดีเอสไอมีอำนาจรับไว้สอบสวนหรือไม่ นางสุวณา กล่าวว่า ในท้ายพ.ร.บ.กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีอำนาจโดยอธิบดีและคณะกรรมการกลั่นกรอง แต่ถ้านอกเหนือจากนี้แล้วหากเข้าหลักเกณฑ์ที่ว่าก็เป็นอำนาจของดีเอสไอหมดเลย ทั้งนี้ ก็ต้องดูที่ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... น-SLC.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน บล. กิมเอ็ง
ฐานไม่เปิดเผยความเสี่ยง และรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 12 มกราคม 2558 )------
ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนางสาวปิยะพร แสงแก้ว
ฐานไม่เปิดเผยหรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงเฉพาะหลักทรัพย์และรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจ
ซื้อขายหลักทรัพย์แทน ขณะกระทำผิดสังกัด บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล. กิมเอ็ง)


ก.ล.ต. ได้รับรายงานเรื่องร้องเรียนของลูกค้าจาก บล.กิมเอ็งและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นางสาวปิยะพรแนะนำให้ซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant) โดยไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวันทำการซื้อขายสุดท้ายและวันครบกำหนดอายุซึ่งเป็นข้อมูลความเสี่ยงที่สำคัญ ซึ่งนางสาวปิยะพรยอมรับว่าแนะนำให้ลูกค้าซื้อ และไม่ได้แจ้งข้อมูลวันครบกำหนดอายุของ derivative warrant นอกจากนี้ จากการตรวจสอบไม่พบที่มาของคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าจำนวนหลายราย ซึ่งนางสาวปิยะพรชี้แจงว่าลูกค้าได้ส่งคำสั่งทางโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมไลน์ และลูกค้าบางรายแจ้งวัตถุประสงค์ของการลงทุนไว้ล่วงหน้า แต่จากการตรวจสอบเทปบันทึกเสียงการสนทนาเพิ่มเติมพบว่ามีบทสนทนาในลักษณะที่เป็นการรับมอบหมายจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน
การไม่เปิดเผยหรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงเฉพาะของหลักทรัพย์ และการรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทน เป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนางสาวปิยะพร เป็นเวลา 5 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. กิมเอ็งได้สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนของนางสาวปิยะพรแล้วเป็นเวลา 3 เดือน จึงเหลือระยะเวลาพักการให้ความเห็นชอบต่อไปอีกเป็นเวลา 2 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2558
*20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(2) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว







(สุกัญญา ศิริรวง รายงาน; ธนัสสรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ เรียบเรียง;โทร 02-664-4451-2 อีเมล์: [email protected]/ )


ที่มา: หุ้นอินไซด์

วันที่ : 12 มกราคม พ.ศ. 2558
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 48

โพสต์

เจ้าของ บ.พริกไทยตรามือ แจ้งจับลูกชายบอร์ดดีเอสไอโกงหุ้น 83 ล้าน!

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 18 มกราคม 2558

เจ้าของ บ.พริกไทยตรามือ แจ้งความกองปราบฯ ดำเนินคดีลูกชายบอร์ดดีเอสไอ หลอกให้นำเงินมาลงทุนซื้อ - ขายหุ้น สุดท้ายถูกโกง

วันนี้ (18 ม.ค.2558) ที่กองปราบปราม นางอรุณี ลิ้มประนะ เจ้าของบริษัทพริกไทยตรามือ เดินทางเข้าพบ ร.ต.ท.ปรีชา ศรีอุดม พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ นายปาณสาร สมชีวิตา อายุ 33 ปี บุตรชาย นายสันทัน สมชีวิตา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ (บอร์ดดีเอสไอ) และเป็น อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อยู่บ้านเลขที่ 36 ซ.ปานทิพย์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. หลังหลอกซื้อขายหุ้นมูลค่า 83 ล้านบาท

นางอรุณี ให้การว่า ก่อนหน้านี้ ตนก็เล่นหุ้นอยู่กระทั่งรู้จักกับผู้ต้องหา จากนั้นเขาก็ชักชวนมาซื้อขายหุ้น ตอนแรกๆ ก็ได้กำไรดี จึงมีความเชื่อใจกระทั่งลงทุนซื้อหุ้นจำนวนหลายตัว โดยผู้ต้องหาให้โอนเงินเข้าบัญชีของเขา นอกจากนี้ เขายังให้ตนโอนหุ้นเข้าไปในพอร์ตเขาที่เปิดใหม่ กระทั่งมาทราบว่าถูกหลอกจึงเข้าแจ้งความดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม คดีนี้ทาง พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รักษาการ ผบก.ป. และ พ.ต.อ.จิรภพ ภูริเดช ผกก.1 บก.ป. ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนดูแลคดีนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (19 ม.ค. 2558) พนักงานสอบสวน กองปราบปรามจะนำตัว นายปาณสาร สมชีวิตา ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงประชาชน ไปส่งฟ้องอัยการ เบื้องต้นมีเจ้าทุกข์ 26 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 385 ล้านบาท
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการ - ผู้บริหาร TUCC กับพวก รวม 9 ราย กรณีจัดทำเอกสารและบัญชีเท็จ ทุจริตและเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -16 ก.พ. 58 13:51 น.


  รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและผู้บริหารบริษัทไทยยูนีค คอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (“TUCC”) กับพวก รวม 9 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีร่วมกัน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดของกรรมการและผู้บริหารของ TUCC ในการบันทึกบัญชีเท็จเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า ไม่ตรงต่อความเป็นจริง และกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังทรัพย์สินของบริษัทเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น และแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทในช่วงปี 2553 - 2554   

บุคคลที่ถูกกล่าวโทษในครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) นายยงยุทธ งามไกวัล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (2) นางวัชรีย์ งามไกวัล กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (3) นางสุจิตต์ รุ่งเจริญชัย อดีตกรรมการ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (4) นางสาวนิตยา ยงค์พิทักษ์วัฒนา กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป (5) นางสาวสุทธิรัตน์ เสวี กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี (6) บริษัท บี เอฟ อินเตอร์เทรด จำกัด (“บี เอฟ”) (7) บริษัท เค.เอส.ซี. สแตนเลส โปรดักส์ จำกัด (“เค.เอส.ซี.”) (8) นางสาวเจริญรัตน์ ชื่นวิรัชสกุล กรรมการของ บี เอฟ และ เค.เอส.ซี. และ (9) บริษัท ไทยนิชเช่ จำกัด (“ไทยนิชเช่”)  

คดีนี้สืบเนื่องจากผู้สอบบัญชี 2 ราย มีข้อสังเกตในงบการเงินงวดไตรมาส 2 ปี 2554 และงวดปี 2554 และได้แจ้งข้อมูลอันควรสงสัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบของ TUCC ตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบทั้ง 2 ครั้ง ว่าไม่พบความผิด โดยพบว่าบริษัทมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน แต่ไม่พบประเด็นทุจริต อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบเพิ่มเติมและพบพยานหลักฐานน่าเชื่อว่านายยงยุทธ นางวัชรีย์ นางสุจิตต์ นางสาวนิตยา และนางสาวสุทธิรัตน์ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานและได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของบริษัท ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเพื่อดูแลรักษาประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม   

จากข้อมูลที่ตรวจพบ บุคคลดังกล่าวร่วมกันดำเนินการให้บริษัท 2 แห่ง คือ บี เอฟ และ เค.เอส.ซี. ซึ่งเกี่ยวข้องกัน และมีนางสาวเจริญรัตน์ เป็นกรรมการบริษัท ออกเช็คล่วงหน้าให้ TUCC และไทยนิชเช่ (บริษัทย่อยของ TUCC) โดยลวงว่า TUCC และไทยนิชเช่ ได้ขายสินค้าเหล็กดำให้กับบริษัททั้งสองแห่งดังกล่าว แล้วดำเนินการให้ TUCC และไทยนิชเช่นำเช็คดังกล่าวไปขายลดกับสถาบันการเงิน อ้างว่าเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในกิจการ และเมื่อเช็คที่นำไปขายลดนั้นจะครบกำหนดเรียกเก็บเงิน จึงได้สร้างรายการทางบัญชีที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงว่าสั่งซื้อเหล็กดำจากบริษัทผู้ค้าเหล็กดำ 8 ราย รวมมูลค่ากว่า 520 ล้านบาท เพื่อให้มีการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีธนาคาร โดยอ้างว่าจะนำไปชำระหนี้ตามเช็คของบี เอฟ และ เค.เอส.ซี. ที่นำไปขายลดไว้ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่าเงินที่ได้เบิกจากธนาคารไปแล้ว บางส่วนได้ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้บริหาร   

การกระทำของนายยงยุทธ นางวัชรีย์ นางสุจิตต์ นางสาวนิตยา และนางสาวสุทธิรัตน์ ที่ร่วมกันดำเนินการให้ TUCC บันทึกบัญชีเท็จเกี่ยวกับการซื้อเหล็กดำจากบริษัท 8 แห่ง และการขายเหล็กดำให้กับไทยนิชเช่ บี เอฟ และ เค.เอส.ซี. เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ โดย บี เอฟ เค.เอส.ซี. นางสาวเจริญรัตน์ และไทยนิชเช่ ให้การช่วยเหลือสนับสนุน นอกจากนี้ การกระทำของกรรมการและผู้บริหาร TUCC ทั้ง 5 รายข้างต้น ยังเข้าข่ายเป็นการทุจริตยักยอกเงินของ TUCC ไปเพื่อตนเองและผู้อื่น ฝ่าฝืนมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 มาตรา 312 และมาตรา 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ด้วย  

การถูกกล่าวโทษข้างต้นมีผลให้นายยงยุทธ นางวัชรีย์ นางสุจิตต์ นางสาวนิตยา และนางสาวสุทธิรัตน์ เข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี และต้องพ้นจากตำแหน่งโดยผลของมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ นับแต่วันที่ถูกกล่าวโทษ โดยในคดีอาญา นายยงยุทธกับพวกมีสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมในการชี้แจงและแสดงหลักฐานต่อพนักงานผู้มีอำนาจในลำดับต่อไป อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลยุติธรรม   

สำหรับกรรมการตรวจสอบ 3 ราย ที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับเหตุสงสัยในเรื่องน่าเชื่อถือของงบการเงินของ TUCC จำนวน 2 ฉบับ และได้รายงานผลการตรวจสอบต่อ ก.ล.ต. ดังกล่าวข้างต้น ต่อมากรรมการตรวจสอบชี้แจงต่อ ก.ล.ต. ว่า รายงานดังกล่าวสรุปผลจากการสอบถามข้อมูลจากฝ่ายบัญชีของบริษัทที่ปฏิบัติงานในเรื่องอันเป็นเหตุสงสัยนั้นเอง โดยไม่ได้สอบทานเอกสารหลักฐาน หรือเข้าตรวจสอบด้วยวิธีการอื่นใดเพิ่มเติม  ทั้งที่คณะกรรมการตรวจสอบมีบทบาทสำคัญประการหนึ่ง ในการสอบทานรายการทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน และการทำรายการที่ผิดปกติของบริษัท หากพบกรณีในลักษณะดังกล่าว คณะกรรมการตรวจสอบควรเร่งหารือกับผู้สอบบัญชี ก่อนที่จะดำเนินการสอบทานในเชิงลึกต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบละเลยการทำหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้บริหารของ TUCC ในการกระทำผิด ก.ล.ต. จึงมีหนังสือกำชับกรรมการตรวจสอบทุกราย ให้ระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบทั้ง 3 รายได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของ TUCC ไปก่อนหน้านี้แล้ว


เรียบเรียง โดย สุรเมธี มณีสุโข อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ตลท.แจ้งเตือน 19 บจ. ที่มีปัญหาฐานะการเงิน เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 ให้เร่งแก้ไข

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2558

ตลาดหลักทรัพย์ฯ แจ้งเตือน 19 บริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหาฐานะการเงินเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนระยะที่ 3 เร่งแก้ไขเหตุเพิกถอน ภายในเดือนมีนาคม 2558

รายชื่อบริษัทที่มีปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 จำนวน 19 บริษัท มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 : บริษัทที่เคยได้รับการขยายเวลาแก้ไขเหตุเพิกถอนจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำนวน 16 บริษัท

1 APX บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

2 BRC บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน)

3 CIRKIT บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน)

4 CPICO บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน)

5 KTECH บริษัท เค-เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

6 NFC บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน)

7 PK1/ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน)

8 POMPUI บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)

9 SAFARI บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน),

10 SGF บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

11 TPROP บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

12 TRS บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน)

13 TT&T บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)

14 WORLD บริษัท เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

15 WP บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

16 WR บริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ASCON, PK ได้ยื่นคำขอพ้นเหตุต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างพิจารณาคำขอพ้นเหตุ
เพิกถอน

กลุ่มที่ 2 : บริษัทที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ระยะที่ 3 ซึ่งจะต้องแก้ไขเหตุเพิกถอนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 โดยอาจขอขยายเวลาฟื้นฟูกิจการอีก 1 ปี จำนวน 3 บริษัท

1 ASCON บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

2 SINGHA บริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน)

3 THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)
otakung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 975
ผู้ติดตาม: 7

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ก.ล.ต. สั่งพักที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงิน
http://www.sec.or.th/th/Pages/News/Deta ... ws_yy=2558

ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายบริษัท แคปปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ จำกัด และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงินสังกัดบริษัทดังกล่าว รายนายธิบดี มังคะลี เนื่องจากบกพร่องในการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งในการยื่นคำขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก

ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่าบริษัท แคปปิตอล พลัสฯ และนายธิบดีขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทผู้ขออนุญาตกับบริษัทแห่งหนึ่ง ในกรณีที่บริษัทผู้ขออนุญาตได้โอนหุ้นทั้งหมดของบริษัทแห่งนั้นให้กับบุคคลภายนอก ทั้งที่มีข้อบ่งชี้หลายประการว่าการทำรายการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันในแบบ filing ไม่ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญดังกล่าว รวมทั้งไม่ได้ให้ความรู้และคำแนะนำแก่บริษัทผู้ขออนุญาตเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การแบ่งแยกธุรกิจระหว่างกลุ่มบริษัทผู้ขออนุญาตกับกลุ่มบริษัทแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิของผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ บริษัทแคปปิตอล พลัสฯ เคยร่วมจัดทำแบบ filing ในการยื่นคำขอนุญาตของบริษัทผู้ขออนุญาตรายนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลของ ก.ล.ต. ทั้งสองครั้งยังพบประเด็นความข้อบกพร่องเดิม อาทิ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการแบ่งแยกธุรกิจที่ไม่ชัดเจนกับกลุ่มบริษัทแม่

การกระทำของนายธิบดีเข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน ในขณะที่บริษัท แคปปิตอล พลัสฯ ไม่มีระบบการทำงานที่เหมาะสมตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายบริษัท แคปปิตอล พลัสฯ และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ปรึกษาทางการเงิน รายนายธิบดี เป็นเวลา 1 ปี มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558

------------------------
หมายเหตุ: กรณีนี้ บริษัทผู้ขออนุญาตไม่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนแต่อย่างใด
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 52

โพสต์

เพิกถอน นักวิเคราะห์ “ณัฐพงศ์ ลาภล้ำวานิช” บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2558

ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนราย “ณัฐพงศ์ ลาภล้ำวานิช” สังกัด บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เหตุกระทำผิดฐานรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนโดยที่ผู้ลงทุนไม่ได้สั่ง และใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง เป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2558

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบกรณีลูกค้าร้องเรียนของ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง และได้รับเรื่องร้องเรียนโดยตรง จึงตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายณัฐพงศ์ รับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้าหลายรายเป็นเวลานาน และมีปริมาณการซื้อขายสูง

นอกจากนี้ นายณัฐพงศ์ ยังยอมรับว่า ได้ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนลูกค้ารายหนึ่งโดยลูกค้าไม่ได้สั่ง ทั้งที่ลูกค้าแจ้งให้หยุดการซื้อขายแล้ว แต่ด้วยขณะนั้นบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้าขาดทุน จึงเร่งซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อหวังให้ได้กำไรคืนโดยไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบ นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเทปบันทึกการสนทนาเพิ่มเติมพบว่า นายณัฐพงศ์ ขอใช้บัญชีของลูกค้าอีกรายหนึ่งซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง การรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน การตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนโดยที่ผู้ลงทุนไม่ได้สั่ง และการใช้บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเอง เป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน

ก.ล.ต. จึงสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนายณัฐพงศ์ และกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในคราวต่อไปเป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน แต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ลงโทษพักการปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลา 1 เดือน 4 วัน จึงเหลือกำหนดระยะเวลาในการรับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในคราวต่อไปเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน 26 วัน

โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2558 ข้อ 20(1) และ (2) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 3/2555 เป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน กลุ่มที่ 3 ตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(1) และ (2) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน กลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว
sgholding
Verified User
โพสต์: 146
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ใครปั่นbay ไป100 บาท กลต. น่าจะจับได้นะคับ
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ก.ล.ต.ลงดาบผู้แนะนำการลงทุน บล.เอเชีย เวลท์ 2 ราย ฐานไม่มีบันทึกคำสั่งซื้อขายของลูกค้า

04 มิ.ย. 2558 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่าได้สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนด้านตราสารทุนรายนางสาวสุพรรณษา พิทักษ์วงศ์เลิศ และผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนางสาวมารียา ซื่อชัยเจริญ สังกัดบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย เวลท์ จำกัด (บล. เอเชีย เวลท์) ฐานไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้ครบถ้วน ภายหลังตรวจสอบพบว่านางสาวสุพรรณษาไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าหลายรายการ โดยยอมรับว่ารับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทางโทรศัพท์มือถือ ขณะที่นางสาวมารียา ก.ล.ต. ตรวจสอบพบการไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าหลายรายการ ซึ่งนางสาวมารียายอมรับว่าลูกค้าส่งคำสั่งทาง LINE

ทั้งนี้ การไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้ครบถ้วนเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อ 23(3) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศ ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตราสารทุนของนางสาวสุพรรณษาเป็นเวลา 2 เดือนแต่เมื่อคำนึงถึงกรณีที่ บล. เอเชีย เวลท์ลงโทษพักการปฏิบัติงานไปแล้ว 1 เดือน จึงเหลือระยะเวลาพัก 1 เดือน และสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนางสาวมารียาเป็นเวลา 2 เดือน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2558
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 55

โพสต์

22 ปี คดีปั่นหุ้น KMC “กฤษดามหานคร” ศาลฎีกาพิพากษาจำคุก-ปรับ “สุรีย์ สรรค์ศิริกุล – ชมพูนุท ปิ่มหทัยวุฒิ”

Date: 11 มิถุนายน 2015


วันที่ 11 มิถุนายน 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาลงโทษนางสาวสุรีย์ หรือรวิ สรรค์ศิริกุล จำคุก 1 ปี และปรับ 333,333.33 บาท และนางชมพูนุท ปิ่มหทัยวุฒิ จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 500,000 บาท โทษจำคุกไม่รอการลงโทษ กรณีร่วมกับผู้อื่นสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) (KMC)

คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2536 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษนางสาวสุรีย์และนางชมพูนุทกรณีร่วมกับบุคคลอื่นสร้างราคาหุ้น KMC ระหว่างวันที่ 2 มกราคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2535 โดยพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้องและเป็นโจทก์ฟ้องนางสาวสุรีย์และนางชมพูนุทเป็นจำเลยต่อศาลอาญากรุงเทพใต้

ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาว่าบุคคลทั้งสองเป็นตัวการกระทำความผิด 2 กระทง ตามมาตรา 42 ฉ(1)(2) แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 และมาตรา 243(1)(2) และมาตรา 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ลงโทษความผิดระหว่างวันที่ 2 มกราคม ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2535 จำคุก 6 เดือน และปรับ 200,000 บาท และความผิดระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2535 จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 500,000 บาท โทษจำคุกไม่รอการลงโทษ

ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและแก้คำพิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ในส่วนนางสาวสุรีย์ โดยพิพากษาว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ลงโทษความผิดระหว่างวันที่ 2 มกราคม ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2535 จำคุก 4 เดือน และปรับ 133,333.33 บาท และความผิดระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2535 จำคุก 1 ปี และปรับ 333,333.33 บาท โทษจำคุกไม่รอการลงโทษ

ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่านางสาวสุรีย์เป็นตัวการร่วมกับนางชมพูนุท กระทำความผิด 1 กระทง ตามมาตรา 243 และ 244 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยลงโทษนางสาวสุรีย์ จำคุก 1 ปี และปรับ 333,333.33 บาท และนางชมพูนุท จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 500,000 บาท โทษจำคุกไม่รอการลงโทษ

ปัจจุบันบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ KMC ได้เปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ ซึ่งถือเป็นการรีแบรนด์ใหม่ หลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทีมผู้บริหาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับก๊วนปั่น หุ้น TYM 9 ราย มูลค่ารวมกว่า 15 ล้านบาท

11 มิ.ย. 2558 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบผู้กระทำผิด 9 ราย ได้แก่ (1) นายบุญชัย จิระพงษ์ตระกูล (2) นายบุญโชค สันทัดพานิช (หรือ ถิรธารากร) (3) นางสาววัลยา วงศ์ภัทรกุล (4) นายพิชัย โกวิทคณิต (5) นางสาวดวงฤทัย วีระศิลปเลิศ (6) นายประสงค์ เกียรติกมลกุล (7) นางสาวภัทรานุช หวังพรพระ (8) นางสาวลัคณา แซ่ลี้ (หรือเปรมศินี ธนวงศ์ศักดิ์ หรือวิมลภักดิ์ เจริญธนินชนม์) และ (9) นายบุญ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน) (TYM) ปัจจุบันชื่อ บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) (THE) เป็นจำนวนเงินรวม 15,469,345.62 บาท

ก.ล.ต.ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2551 นายบุญชัย ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TYM นายบุญโชค ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TYM นางสาววัลยา นายพิชัย นางสาวดวงฤทัย นายประสงค์ นางสาวภัทรานุช นางสาวลัคณา (หรือเปรมศินี หรือวิมลภักดิ์) นายบุญ และบุคคลอีก 4 ราย ได้รู้เห็นหรือตกลงร่วมกันซื้อขายหุ้น TYM อย่างต่อเนื่อง ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคล 9 ราย ในลักษณะอำพราง ผลักดันและพยุงราคา และจับคู่กันเองระหว่างบัญชี ทำให้การซื้อขายหุ้น TYM ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เพื่อชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น TYM และเข้าซื้อขายหุ้นดังกล่าว

การกระทำข้างต้นเข้าข่ายเป็นการสร้างราคาหุ้น TYM เป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบุคคลทั้ง 9 รายยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ คณะกรรมการเปรียบเทียบจึงได้เปรียบเทียบปรับ เป็นเงินรายละ 1,718,816.18 บาท ทั้งนี้ สำหรับบุคคลที่ไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ ก.ล.ต. จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ก.ล.ต.ลงโทษผู้แนะนำการลงทุน บล.โกลเบล็ก ฐานรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจ ซื้อขายแทน
15 มิ.ย. 2558 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายสุภากรณ์ ดำรงเดช ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (บล.โกลเบล็ก) เนื่องจากรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักทรัพย์แทน เรื่องนี้ ก.ล.ต.ได้รับรายงานการตรวจสอบของ บล.โกลเบล็ก และการร้องเรียนจากลูกค้า ก.ล.ต. จึงตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายสุภากรณ์ชักชวนให้ลูกค้าลงทุนในหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยนายสุภากรณ์ยอมรับว่า ลูกค้าอนุญาตให้ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทนในช่วงแรก และต่อมาพบบทสนทนาในเทปบันทึกเสียงที่แสดงว่าลูกค้าอนุญาตให้นายสุภากรณ์ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ โดยตลอดช่วงระยะเวลาของการกระทำผิด การซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในบัญชีของลูกค้ามีปริมาณสูง

ทั้งนี้ ผู้แนะนำการลงทุนไม่สามารถรับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักทรัพย์แทนได้ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนายสุภากรณ์เป็นเวลา 3 เดือน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2558

อนึ่ง ผู้แนะนำการลงทุนไม่สามารถตัดสินใจลงทุนแทนผู้ลงทุนได้ แม้ว่าผู้ลงทุนจะยินยอมก็ตาม ที่ผ่านมาพบกรณีที่ผู้ลงทุนมอบหมายให้ผู้แนะนำการลงทุนไปตัดสินใจลงทุนแทนเนื่องจากไม่มีเวลา หรือเห็นว่าผู้แนะนำการลงทุนมีความรู้หรือมีข้อมูลดีกว่าตนเอง แต่ก็ต้องได้รับผลกระทบจากการซื้อขาย จนได้รับผลขาดทุน หลายกรณีที่การมอบหมายเปิดช่องทางให้ผู้แนะนำการลงทุนตัดสินใจซื้อเกินกว่าความประสงค์ของผู้ลงทุนและมีข้อพิพาทกับผู้แนะนำการลงทุน และ บล.ต้นสังกัดจำนวนไม่น้อย ก.ล.ต.จึงขอความร่วมมือกับผู้ลงทุนในเรื่องนี้ด้วย

*ข้อ 20(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 3/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนำการลงทุน ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 6(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ 23(2) และเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 31(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับแทนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 58

โพสต์

กล่าวโทษ “สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล” และพวก เหตุแต่งบัญชีเท็จสร้างความเข้าใจผิดนักลงทุน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2558

ก.ล.ต. กล่าวโทษ “สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล” และผู้บริหาร “จี สตีล-จี เจ สตีล” ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เหตุสมยอมทำบัญชีและงบการเงินเท็จ ส่งผลให้ตัวเลขบิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างมีนัยสำคัญ และสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการและผู้บริหาร บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEL และบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีกระทำหรือยินยอมให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินของ GSTEL และ GJS ไม่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง โดยลงบัญชีเท็จเกี่ยวกับการบันทึกเจ้าหนี้ต่างประเทศค่าซื้อวัตถุดิบต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมีนัยสำคัญเพื่อลวงให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลประกอบการที่แท้จริงของบริษัท บุคคลที่ถูกกล่าวโทษ ประกอบด้วย (1) นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการและผู้บริหาร GSTEL และกรรมการ GJS (2) นางสาวกรรณิการ์ สร้อยคีรี ผู้บริหาร GSTEL (3) นายนกุล สกุลโชติกโรจน์ ผู้บริหาร GSTEL และ (4) นายชนาธิป ไตรวุฒิ กรรมการและผู้บริหาร GJS

โดย ก.ล.ต. ตรวจสอบพบว่า ในช่วงต้นปี 2551 GSTEL และบริษัทลูก คือ GJS ได้สั่งซื้อเหล็กล่วงหน้าในปริมาณมากจากผู้ขายต่างประเทศหลายรายในราคาตลาด ณ เวลานั้น ต่อมาราคาเหล็กในตลาดปรับตัวลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ GSTEL และ GJS ต้องรับรู้ผลขาดทุนสูงมาก เนื่องจากราคาต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ขายสินค้าในราคาตลาดที่ต่ำกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าว บุคคลทั้ง 4 รายข้างต้น ได้สั่งการหรือยินยอมหรือสนับสนุนให้มีการบันทึกยอดเจ้าหนี้ค่าเหล็กต่ำกว่าภาระหนี้จริงที่มีต่อผู้ขายต่างประเทศ กรณี GSTEL พบการบันทึกยอดเจ้าหนี้ต่ำกว่าความเป็นจริง 85 ล้านบาท งวดปี 2551 จำนวน 1,144 ล้านบาท งวดไตรมาส 1/2552 จำนวน 2,131 ล้านบาท งวดไตรมาส 2/2552 จำนวน 2,072 ล้านบาท งวดไตรมาส 3/2552 และ 1,987 ล้านบาท งวดปี 2552 ตามลำดับ ส่วนกรณี GJS พบการบันทึกยอดเจ้าหนี้ต่ำกว่าความเป็นจริง 378 ล้านบาท งวดไตรมาส 1/2552 จำนวน 800 ล้านบาท งวดไตรมาส 2/2552 จำนวน 1,010 ล้านบาท งวดไตรมาส 3/2552 และ 1,023 ล้านบาท งวดปี 2552 ตามลำดับ

โดยบุคคลทั้ง 4 รายกระทำการเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 312 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และการถูกกล่าวโทษมีผลให้เข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียน จึงไม่อาจดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ

อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่า บุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลยุติธรรม
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 2 ราย

25 มิ.ย. 2558 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนรายนายสัมพันธ์ กะปุก ขณะกระทำผิดสังกัดบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล. ฟิลลิป) จากการรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน และ ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์รายนายคชา บัวจรูญ สังกัด บล. ฟิลลิป เนื่องจากไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วน

ก.ล.ต. ได้รับรายงานการตรวจสอบของ บล. ฟิลลิป จึงตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายสัมพันธ์ยืนยันรายการซื้อขายหลักทรัพย์ และแจ้งยอดรับจ่ายเงินให้ลูกค้าทราบ โดยพบรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าหลายรายมีการซื้อขายต่อเนื่องทั้งวันในปริมาณสูง แต่ไม่พบที่มาของคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ นายสัมพันธ์ชักชวนให้ลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งเป็นผู้กำหนดทั้งชื่อ จำนวน และราคาหลักทรัพย์ ซึ่งลูกค้ายอมรับการตัดสินใจของนายสัมพันธ์โดยไม่สอบถามถึงสภาพตลาดหรือหลักทรัพย์ที่ชวนซื้อขาย ในกรณีนายคชา ก.ล.ต. ตรวจพบว่าไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าจำนวนหลายรายการโดยนายคชายอมรับว่า รับคำสั่งซื้อขายจากลูกค้าทางไลน์และโทรศัพท์มือถือ

การรับมอบหมายในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน และการไม่บันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วนเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศเกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน* ก.ล.ต. จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนของนายสัมพันธ์เป็นเวลา 9 เดือน แต่ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบมีอายุเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบจนครบอายุที่เหลือ และกำหนดระยะเวลารับพิจารณาคำขอความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในคราวต่อไปเมื่อครบกำหนด 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2558 ส่วนนายคชาถูกสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์เป็นเวลา 3 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2558

อนึ่ง ผู้แนะนำการลงทุนไม่สามารถตัดสินใจลงทุนแทนผู้ลงทุนได้ แม้ว่าผู้ลงทุนจะยินยอม และกรณีที่ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายทางโทรศัพท์ ผู้แนะนำการลงทุนต้องบันทึกเสียงการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ครบถ้วน เพื่อให้มีหลักฐานในการตรวจสอบความถูกต้องและที่มาของคำสั่งซื้อขาย ก.ล.ต. จึงขอความร่วมมือลูกค้าอย่ามอบหมายให้ผู้แนะนำการลงทุนตัดสินใจลงทุน และส่งคำสั่งในช่องทางที่มีการบันทึกไว้ได้
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว ปั่นหุ้น

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ก.ล.ต. ลงโทษผู้แนะนำการลงทุนและผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์

ก.ล.ต. สั่งพักผู้แนะนำการลงทุน 4 ราย ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ ได้แก่ นายชนา ฤทธิมัต และ นายเรวัต เชี่ยวชาญสุวรรณ ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ขณะกระทำผิดสังกัด บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บล.ยูโอบี) นางสาววชิราภรณ์ วศธรรมสิทธิ์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสถาบัน บล.ยูโอบี และ นางสาวเจณิสตา วงศ์คำจันทร์ ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน สังกัด บล. ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) (บล.ฟินันเซีย) และสั่งพัก ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ 1 ราย ที่ละเลยการตรวจสอบดูแลเพื่อป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้การตรวจสอบดูแลกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ได้แก่ นายวิคเตอร์ ยูน ตั๊ค ซอย ขณะกระทำผิดเป็นผู้บริหาร บล.ยูโอบี

ก.ล.ต. ตรวจพบว่า ผู้แนะนำการลงทุน 4 รายข้างต้น ซึ่งดูแลบัญชีหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (Omnibus Account) ส่งคำสั่งซื้อขาย หุ้น บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) ตามคำสั่งของลูกค้า โดยมีลักษณะผลักดันราคาและทยอยส่งคำสั่งที่แตกเป็นหลายคำสั่ง ทั้งที่ส่งได้ในคราวเดียว ทำให้ราคาและปริมาณซื้อขายหุ้น UNIQ เปลี่ยนแปลงไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด มีราคาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 3.8 เท่า และปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 0.21 ล้านหุ้น เป็น 14.78 ล้านหุ้น ซึ่ง ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดสร้างราคาหลักทรัพย์ UNIQ ไปแล้ว เป็นจำนวนเงินกว่า 80.9 ล้านบาท

กรณีนายวิคเตอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของ บล.ยูโอบี ในขณะนั้น เป็นผู้บริหารสูงสุดที่ดูแลลูกค้าสถาบันและเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ดูแลลูกค้าสถาบัน ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่ามีการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น UNIQ ที่อาจเข้าข่ายไม่เหมาะสม แต่ไม่รีบปรับปรุงระบบติดตามควบคุมดูแลการส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งไม่เพิ่มความเข้มงวดในการติดตามพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของลูกค้าอย่างใกล้ชิด หรือย้ำกับผู้แนะนำการลงทุนให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งคำสั่งสำหรับลูกค้ารายนี้ จึงยังคงพบการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น UNIQ ที่มีผลกระทบต่อราคาอย่างต่อเนื่อง

การกระทำของผู้แนะนำการลงทุนทั้ง 4 ราย เป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการสร้างราคาหลักทรัพย์และพฤติกรรมของผู้บริหารรายนายวิคเตอร์ เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้การตรวจสอบดูแลกระทำการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศตามกฎหมายดังกล่าว* ก.ล.ต. จึงลงโทษบุคคลทั้ง 4 ราย และผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ โดยการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ และกำหนดระยะเวลารับพิจารณาคำขอความเห็นชอบใหม่ในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนให้ทราบว่า ผู้แนะนำการลงทุนต้องไม่ส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมในลักษณะผลักดันหรือสร้างราคาหลักทรัพย์ หากพบการส่งคำสั่งของลูกค้าที่น่าสงสัย ผู้แนะนำการลงทุนต้องเตือนลูกค้า และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ นอกจากนี้ ก.ล.ต. ขอกำชับให้ผู้บริหารหลักทรัพย์ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนำการลงทุนในสังกัดให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ด้วย