หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
msn_jom
Verified User
โพสต์: 181
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 91

โพสต์

bmcl
รถไฟ
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 92

โพสต์

New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
copterkorn
Verified User
โพสต์: 81
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 93

โพสต์

pico. ครับ. ถ้าทุกอย่างฟื้น เราจะต้องจัดงานฟื้นฟูในหลายๆด้าน
อย่า! ตัดสินคนที่ราคา แต่จงดูที่ ค่าของคน...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 94

โพสต์

kraikria เขียน:New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ทีแคป ถ้าตัดกำไรให้เหลือเฉพาะกำไรปกติ ราคานี้ยังโอเค อยู่มั๊ยครับ ผมหมายถึง พีอี เมื่อเทียบกับแบงค์อื่น รบกวนแนะนำด้วยครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
shanghaigeny
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3822
ผู้ติดตาม: 80

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 95

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:
kraikria เขียน:New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ทีแคป ถ้าตัดกำไรให้เหลือเฉพาะกำไรปกติ ราคานี้ยังโอเค อยู่มั๊ยครับ ผมหมายถึง พีอี เมื่อเทียบกับแบงค์อื่น รบกวนแนะนำด้วยครับ
หากหักกำไรพิเศษออก จะเหลือกำไรจากการดำเนินงาน 6464 ล้านบาท EPS 5.24 บาท (ซึ่ง EPS ในที่นี้คำนวนณที่จำนวนหุ้นแบบถ่วงน้ำหนักประมาณ 1230 ล้านหุ้น จากการที่มีซื้อหุ้นคืนช่วงเดือน เม.ย. ประมาณ 71 ล้านหุ้น ) ดังนัน PE ปัจจุบันหลังหักกำไรพิเศษออก จะอยู่ที่ประมาณ 6 เท่า ซึ่งหากเทียบกับ กลุ่มเฉพาะ KKP กับ TISCO ตลาดให้ราคาปัจจุบันอยู่ที่ PE 7 เท่า
ดังนั้น เมื่อมองในมุม PE อาจสรุปได้ว่า TCAP ราคา ณ วันที่ 24 มค.57 มีราคาถูกกว่ากลุ่มเล็กน้อย ครับ
ปล.ผมมีหุ้นอยู่ อาจมี bias
nununu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 96

โพสต์

เสนอ tcap อีกคนครับ
จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง หัก หุ้นซื้อคืน
ณ วันที่ 25/01/2557:1,206,466,397 หุ้น
ณ วันที่ 31/12/2556:1,206,466,397 หุ้น
กำไรจากการดำเนินปกติปีนี้ 6,464 ล้านบาท ได้ eps=6,464,000,000/1,206,466,397=5.35 บาท pe=31.75/5.35=5.93 เท่า
โบรคแต่ละสำนักประมาณการกำไรปีนี้ไว้จากสูงสุดถึงต่ำสุดที่ 6852-5800 ล้าน เป็น range pe ปี 2557=5.59-6.60 เท่า
คิดในกรณีจำนวนหุ้นที่หักหุ้นซื้อคืนทั้งหมดครับเนื่องจากบริษัทซื้อหุ้นคืนในราคาเฉลี่ย 46.7 บาทซึ่งน่าจะตัดหุ้นลดทุนในที่สุดครับ
ปล.มีหุ้นนะครับ :mrgreen:
..
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 97

โพสต์

Tcap อัตราส่วนสำรองต่อ NPL ต่ำไปไหมครับ เมื่อเทียบแบงก์ใหญ่ๆ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
kasam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 313
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 98

โพสต์

ไม่มีใครสนใจ SNC หน่อยหรือครับ
ตกจาก high มากกว่า 40% เชียวนะครับ
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 99

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:
kraikria เขียน:New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ทีแคป ถ้าตัดกำไรให้เหลือเฉพาะกำไรปกติ ราคานี้ยังโอเค อยู่มั๊ยครับ ผมหมายถึง พีอี เมื่อเทียบกับแบงค์อื่น รบกวนแนะนำด้วยครับ
อ่าน link ข้างล่างครับ กำไรปกติ 6,464 ล้านบาทและ EPS 5.25 บาท

http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?fil ... 002875.pdf

ผมไม่กล้าแนะนำหรอกครับว่าราคาโอเคมั๊ย หรือ PE ควรจะเท่าไหร่ คุณ Nevercry.boy คงเทียบเองได้

การเปรียบเทียบ Bank แต่ละ Bank อาจจะต้องพิจารณา Factor เยอะหน่อยครับ ตั้งแต่ที่มาของรายได้เลย แต่ละ Bank มีความถนัดในสินเชื่อประเภทที่ต่างกัน

- BBL ถนัดสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่
- SCB เป็นที่หนึ่งในสินเชื่อรายย่อย
- KTB เป็นที่หนึ่งโครงการรัฐ
- KBANK เป็นที่หนึ่ง สินเชื่อ SME
- BAY เป็นที่หนึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- TBANK เป็นที่หนึ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

เพราะฉะนั้นถ้าสินเชื่อใดขยายตัวมาก หรือในทางกลับกันมีปัญหาหนี้เสีย ก็ส่งผลต่อรายได้หรือ NPL

นี่คิดแค่รายได้นะครับ ถ้าส่องดูรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากก็ต้องวิเคราะห์กันอีก

คุยกันยาวครับ :-)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 100

โพสต์

แต่ถ้าถามว่า Bank ไหนครบเครื่องที่สุด สำหรับผมคงเป็น SCB เนื่องจาก Port Loan ค่อนข้าง Balance เป็น Bank ใหญ่แต่โตเร็วมากและค่อนข้างมั่นคง

ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 101

โพสต์

kongkiti เขียน:Tcap อัตราส่วนสำรองต่อ NPL ต่ำไปไหมครับ เมื่อเทียบแบงก์ใหญ่ๆ
ใช่ครับ ค่าสำรองต่อ NPL อยู่ที่ 82% สำหรับ TCAP จริงๆค่านี้ของ TCAP ในอดีตไม่ได้น้อย แต่ตั้งแต่ไป take over SCIB มาก็ได้ NPL ของลูกหนี้รายใหญ่มาก็เลยเป็นอย่างที่เห็น ปกติหนี้เสียของสินเชื่อรถยนต์ไม่น่ากลัวเนื่องจากกฏหมายให้ยึดรถได้เร็วเลยเอาไปขายมา cover ได้ แต่ปีที่ผ่านมาราคารถมือสองดิ่งแรงทำให้การขายรถยึดมีผลขาดทุนมาก ถ้าราคารถมือสองเริ่มนิ่งก็คงเริ่มเบาใจได้ครับ

ความเห็นส่วนตัวเหมือนกัน อย่าเชื่อโดยมิได้พิจารณานะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 102

โพสต์

ปีนี้แบงค์ที่เจาะรายย่อยหรือsmeอาจมีปัญหาในการขยายสินเชื่อหากสถาณการณ์ยืดเยื้อ
เพราะผลของการปิดสถานที่ราชการหลายหน่วยงานในหลายจังหวัด
อย่างกรมสรรพากร เกี่ยวกับการนำส่งภาษี
กรมที่ดิน เกี่ยวกับการจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งคงต้องดูความเก่งของผบห.นะครับ
ว่าจะสามารถกระตุ้นทีมขายให้สามารถขยายสินเชื่อ
ในถิ่นที่ไม่มีปัญหาเพื่อชดเชยได้หรือไม่
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 103

โพสต์

kraikria เขียน:
Nevercry.boy เขียน:
kraikria เขียน:New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ทีแคป ถ้าตัดกำไรให้เหลือเฉพาะกำไรปกติ ราคานี้ยังโอเค อยู่มั๊ยครับ ผมหมายถึง พีอี เมื่อเทียบกับแบงค์อื่น รบกวนแนะนำด้วยครับ
อ่าน link ข้างล่างครับ กำไรปกติ 6,464 ล้านบาทและ EPS 5.25 บาท

http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?fil ... 002875.pdf

ผมไม่กล้าแนะนำหรอกครับว่าราคาโอเคมั๊ย หรือ PE ควรจะเท่าไหร่ คุณ Nevercry.boy คงเทียบเองได้

การเปรียบเทียบ Bank แต่ละ Bank อาจจะต้องพิจารณา Factor เยอะหน่อยครับ ตั้งแต่ที่มาของรายได้เลย แต่ละ Bank มีความถนัดในสินเชื่อประเภทที่ต่างกัน

- BBL ถนัดสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่
- SCB เป็นที่หนึ่งในสินเชื่อรายย่อย
- KTB เป็นที่หนึ่งโครงการรัฐ
- KBANK เป็นที่หนึ่ง สินเชื่อ SME
- BAY เป็นที่หนึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- TBANK เป็นที่หนึ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

เพราะฉะนั้นถ้าสินเชื่อใดขยายตัวมาก หรือในทางกลับกันมีปัญหาหนี้เสีย ก็ส่งผลต่อรายได้หรือ NPL

นี่คิดแค่รายได้นะครับ ถ้าส่องดูรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากก็ต้องวิเคราะห์กันอีก

คุยกันยาวครับ :-)
คุณไกล่เกลี่ยเป็นไอดอลผมทางด้านแบงค์เลยครับ ขอบคุณมากครับ

ถ้ามีเวลารบกวนขยายต่อฝั่งรายจ่ายครับ

คุยยาวแค่ไหนก็จะปูเสื่อฟัง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
patriot2551
Verified User
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 104

โพสต์

kasam เขียน:ไม่มีใครสนใจ SNC หน่อยหรือครับ
ตกจาก high มากกว่า 40% เชียวนะครับ
SNC กำลัง ปรับทิศธุรกิจ สืบเนื่องจากเสียลูกค้าต่างประเทศไป ทำให้ยอดคำสั่งซื้อหายไป หลายพันล้าน

ป.ล. ราคาที่ลงมาเพราะปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน แบบนี้ยังเข้าซื้อไม่ได้
ต้องรอว่า ตลาด จะให้ประเมิณมูลค่าของกิจการที่เท่าไร แล้วราคาหุ้นจะสะท้อนออกมาครับ
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 105

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:
kraikria เขียน:
Nevercry.boy เขียน:
kraikria เขียน:New low ใช่มั๊ยครับ เสนอ TCAP ครับ แถวๆนี้ราคา New Low

แต่อย่าเพิ่งขึ้นเลยนะ ผมชอบหุ้นราคาถูก :-)
ทีแคป ถ้าตัดกำไรให้เหลือเฉพาะกำไรปกติ ราคานี้ยังโอเค อยู่มั๊ยครับ ผมหมายถึง พีอี เมื่อเทียบกับแบงค์อื่น รบกวนแนะนำด้วยครับ
อ่าน link ข้างล่างครับ กำไรปกติ 6,464 ล้านบาทและ EPS 5.25 บาท

http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?fil ... 002875.pdf

ผมไม่กล้าแนะนำหรอกครับว่าราคาโอเคมั๊ย หรือ PE ควรจะเท่าไหร่ คุณ Nevercry.boy คงเทียบเองได้

การเปรียบเทียบ Bank แต่ละ Bank อาจจะต้องพิจารณา Factor เยอะหน่อยครับ ตั้งแต่ที่มาของรายได้เลย แต่ละ Bank มีความถนัดในสินเชื่อประเภทที่ต่างกัน

- BBL ถนัดสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่
- SCB เป็นที่หนึ่งในสินเชื่อรายย่อย
- KTB เป็นที่หนึ่งโครงการรัฐ
- KBANK เป็นที่หนึ่ง สินเชื่อ SME
- BAY เป็นที่หนึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- TBANK เป็นที่หนึ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

เพราะฉะนั้นถ้าสินเชื่อใดขยายตัวมาก หรือในทางกลับกันมีปัญหาหนี้เสีย ก็ส่งผลต่อรายได้หรือ NPL

นี่คิดแค่รายได้นะครับ ถ้าส่องดูรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากก็ต้องวิเคราะห์กันอีก

คุยกันยาวครับ :-)
คุณไกล่เกลี่ยเป็นไอดอลผมทางด้านแบงค์เลยครับ ขอบคุณมากครับ

ถ้ามีเวลารบกวนขยายต่อฝั่งรายจ่ายครับ

คุยยาวแค่ไหนก็จะปูเสื่อฟัง
ไอดอลเลยเหรอครับ ขอบคุณที่ให้เกียรตินะครับ แต่ผมคิดว่าผมยังรู้เนื่องนี้ไม่มากและไม่เก่งพอครับ ยังต้องอาศัยเพื่อนๆในที่นี้อยู่มารวมถึงคุณ NB ด้วย ดังนั้นหากคุณ NB มี comment จะแนะนำอะไรผมก็รบกวนด้วยครับ

หากคุณ NB ต้องการศึกษาธุรกิจ Bank ผมมีข้อแนะนำดังนี้ครับ

- กลุ่ม Bank มักจะถูกคนมองว่าเข้าใจยาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด เริ่มได้จากบทวิเคราะห์ของผู้บริหารที่จะออกมาพร้อมกับงบรายไตรมาส มักจะมีข้อมูลและตัวเลขที่ละเอียดมากและเป็นมาตรฐานมากเช่นกัน คุณ NB อ่านให้ครบทุก Bank เลยครับแล้วจะเข้าใจว่าแต่ Bank มีโครงสร้างสินเชื่อและเงินฝากเป็นอย่างไร

- กลุ่ม Bank เป็นกลุ่มเดียวที่มีการให้ข้อมูล "บ่อยที่สุด" ผ่าน ธ.พ. 1.1 ซึ่งแสดงสินทรัพย์ "ทุกเดือน" เสียดายที่ไม่ได้แสดง NPL ด้วยทุกเดือน แต่ถ้า Bank นั้นมีมาตรฐานพอ เค้ามักจะเฉลี่ยการตั้งสำรองด้วยในแต่ละเดือนทำให้เราสามารถดูสินเชื่อสุทธิและกำไรสะสมได้เป็นรายเดือนได้อย่างถูกต้อง คุณ NB อ่านได้จาก website SET หรือ BOT ครับ

- Trend อย่างหนึ่งของ Bank ที่คุณ NB อาจจะสนใจคือการที่ Bank เริ่มทำตัวเป็น Service Provider (1) เพื่อใช้ความได้เปรียบจากฐานลูกค้าที่มีอยู่ในการคิดค่าธรรมเนียมแทนการกินส่วนต่างดอกเบี้ย (2) เพื่อลดความเสี่ยงจากหนี้เสีย คุณ NB อาจจะดูได้ว่าถ้า Bank ไหนส่วนนี้โตและเข้มแข็งมากก็จะทำให้ Bank นั้นมีเสน่ห์มากขึ้น

เดี๋ยวมีเวลาค่อยมาต่อครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
Plant
Verified User
โพสต์: 667
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 106

โพสต์

ขอมาเก็บความรู้เรื่อง Bank นะครับ หุหุหุ...^^)
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 107

โพสต์

ขอบคุณ คุณ kraikria มากๆ ครับ

ส่วนตัวผมชอบการทำตลาดของ TMB นะครับ แหวกแนวดี
และปีนี้ ก็ตั้งสำรองขึ้นไประดับเท่าแบงก์ใหญ่ๆ แล้วด้วย
การเติบโตของเงินฝากก็ทำได้ดี (แต่ผมยังไม่ได้ Plot Trend ดูยาวๆ เหมือนกัน)
CEO ก็มาจาก KBANK ฝีมือไม่ธรรมดา

คุณ kraikria พอมี Comment เกี่ยวกับ TMB ไหมครับ (ไม่มี ใน list ข้างบนอ่ะครับ T-T)
- BBL ถนัดสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่
- SCB เป็นที่หนึ่งในสินเชื่อรายย่อย
- KTB เป็นที่หนึ่งโครงการรัฐ
- KBANK เป็นที่หนึ่ง สินเชื่อ SME
- BAY เป็นที่หนึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- TBANK เป็นที่หนึ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 108

โพสต์

ผมคิดว่ากระทู้นี้ นายกสมาคมเราตั้งขึ้นเพื่อให้พวกเราส่องดูหุ้นที่ราคาตกลงมากโดยพื่นฐานไม่เปลี่ยน ดังนั้นผมคิดว่าจะคุยเรื่องหุ้นกลุ่ม Bank แค่นี้ครับ

เนื่องจากผมติดคุณ NB ไว้เรื่องรายจ่ายของ Bank ดังนั้นผมขอเพิ่มแค่ตรงส่วนนี้นะครับ จริงๆเรื่องรายจ่ายดอกเบี้ยฝากต้องเรียกว่า "ต้นทุนของรายได้ที่เป็นดอกเบี้ย" มากกว่า เพราะเดี๋ยวจะสับสนกับค่าใช้จ่ายของ Bank ส่วนอื่นๆ

- รายจ่ายดอกเบี้ยมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบเงินฝาก ของ Bank ใหญ่ คือ BBL, SCB, KTB, KBANK จะมีสัดส่วนบัญชีเงินฝากที่เป็น กระแสรายวัน (Current Account) และ เงินฝากออมทรัพย์ (Saving Account) หรือที่เรียกว่า CASA ค่อนข้างสูง ซึ่งต้นทุนดอกเบี้ยของบัญชีประเภทนี้จะต่ำกว่า เงินฝากประจำ (Fixed Deposit) ค่อนข้างมาก ทำให้ Bank ใหญ่ๆดังกล่าวมีความได้เปรียบ Bank ที่เล็กกว่าอยู่ตลอด ทราบไหมครับว่า Bank ไหนที่ %CASA ในเงินฝากทั้งหมดสูงที่สุด? คำตอบคือ KBANK ครับ คือประมาณ 60 กว่าเปอร์เซนต์

- Bank ระดับกลางที่เล็กกว่าจะมีเงินฝากประจำสูงกว่าเนื่องจากความสามารถทางการระดมเงินฝากที่ต่ำกว่า ยกตัวอย่าง TBANK ที่มี CASA ที่ 30% ที่เหลือเป็นเงินฝากประจำ แม้แต่บาง Bank ที่พยายามสร้าง Product ใหม่เช่น TMB ME ถึงจะเรียกว่าเงินฝากไม่ประจำ แต่ก็ถือเป็นเงินฝากที่ต้นทุนสูง ดังนั้นบทวิเคราะห์ของ TMB เองก็จะแยกสัดส่วน TMB ME ให้เห็นด้วย

- นอกเหนือจากเงินฝากแล้ว Bank ระดับเล็กมักจะใช้ตราสารหนี้เช่นหุ้นกู้เพื่อดึงเงินฝากแทน เนื่องจากจำนวนสาขาที่น้อยกว่าามากทำให้การระดมทุนเงินฝากทำได้ยากกว่า ยกตัวอย่างเช่น TISCO หรือ KK ที่มีสัดส่วนตราสารประเภทนี้ค่อนข้างสูง

- ในงบการเงินของ Bank จะมีการคำนวณ "รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ" ซึ่งก็คือ "รายได้ดอกเบี้ยจากสินเชื่อ" - "รายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก" นั่นเอง และจะมีคำศัพท์ทางการเงินตรงนี้อยู่ 2 คำก็คือ Interest Spread และ Net Interest Margin (NIM) ซึ่ง Interest Spread ก็คืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ลบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย นั่นเองครับ ส่วน NIM จะคำนวณจาก รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเทียบ % จากสินเชื่อสุทธิ ซึ่ง ทั้งสองค่ามักจะต่างกันเล็กน้อยโดย NIM จะแสดงค่าที่ถูกต้องมากกว่า

- ทีนี้ค่า NIM ที่สูงก็แสดงว่า Bank นั้นมีสินเชื่อประเภทที่ Yield สูงกว่า (ทำให้รายได้ดอกเบี้ยมากกว่า) หรือ ต้นทุนดอกเบี้ยฝากต่ำกว่า (ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยฝากต่ำกว่า) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เริ่มน่าสนใจแล้วใช่ไหมครับว่า Bank ไหน NIM สูงที่สุด? ผมคิดว่าหลายคนคงเดาว่าเป็น KBANK หรือ SCB และ BBL ที่ CASA สูง แต่จริงๆคำตอบคือ BAY ครับ เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อของ BAY มี Yield สูงที่สุดจากสินเชื่อส่วนบุคคลนั่นเองทำให้ BAY มี NIM สูงสุด แต่อย่างไรก็ตามสินเชื่อดังกล่าวไม่มีหลักประกัน ทำให้ BAY ก็ต้องสำรองหนี้สูญเป็นสัดส่วนที่มากไปด้วย

พอหอมปากหอมคอนะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 109

โพสต์

ผมก็ชอบ TMB เหมือนกันเพราะเค้าสร้าง innovation ใหม่ๆทั้ง ME และ No Fee

แต่เรื่องราคาหุ้นผมคิดว่าแพงไปเนื่องจากมีข่าวอยู่เป็นระยะๆว่าจะมีรายอื่นมาซื้อ

ความเห็นส่วนตัวนะครับ และผมมักจะผิดบ่อยด้วย :-)
kongkiti เขียน:ขอบคุณ คุณ kraikria มากๆ ครับ

ส่วนตัวผมชอบการทำตลาดของ TMB นะครับ แหวกแนวดี
และปีนี้ ก็ตั้งสำรองขึ้นไประดับเท่าแบงก์ใหญ่ๆ แล้วด้วย
การเติบโตของเงินฝากก็ทำได้ดี (แต่ผมยังไม่ได้ Plot Trend ดูยาวๆ เหมือนกัน)
CEO ก็มาจาก KBANK ฝีมือไม่ธรรมดา

คุณ kraikria พอมี Comment เกี่ยวกับ TMB ไหมครับ (ไม่มี ใน list ข้างบนอ่ะครับ T-T)
- BBL ถนัดสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่
- SCB เป็นที่หนึ่งในสินเชื่อรายย่อย
- KTB เป็นที่หนึ่งโครงการรัฐ
- KBANK เป็นที่หนึ่ง สินเชื่อ SME
- BAY เป็นที่หนึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- TBANK เป็นที่หนึ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 110

โพสต์

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ แน่นจริงๆครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 111

โพสต์

คิดยังไงกับ hmpro
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 112

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:คิดยังไงกับ hmpro
ขอสัก 5.5-6 บาทครับ ราคานั้นถือว่าถูกสำหรับผมครับพี่ NB ถูกกว่านี้ก้คงดีครับ :mrgreen: :mrgreen:
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6491
ผู้ติดตาม: 874

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 113

โพสต์

kraikria เขียน:ผมคิดว่ากระทู้นี้ นายกสมาคมเราตั้งขึ้นเพื่อให้พวกเราส่องดูหุ้นที่ราคาตกลงมากโดยพื่นฐานไม่เปลี่ยน ดังนั้นผมคิดว่าจะคุยเรื่องหุ้นกลุ่ม Bank แค่นี้ครับ

เนื่องจากผมติดคุณ NB ไว้เรื่องรายจ่ายของ Bank ดังนั้นผมขอเพิ่มแค่ตรงส่วนนี้นะครับ จริงๆเรื่องรายจ่ายดอกเบี้ยฝากต้องเรียกว่า "ต้นทุนของรายได้ที่เป็นดอกเบี้ย" มากกว่า เพราะเดี๋ยวจะสับสนกับค่าใช้จ่ายของ Bank ส่วนอื่นๆ

- รายจ่ายดอกเบี้ยมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบเงินฝาก ของ Bank ใหญ่ คือ BBL, SCB, KTB, KBANK จะมีสัดส่วนบัญชีเงินฝากที่เป็น กระแสรายวัน (Current Account) และ เงินฝากออมทรัพย์ (Saving Account) หรือที่เรียกว่า CASA ค่อนข้างสูง ซึ่งต้นทุนดอกเบี้ยของบัญชีประเภทนี้จะต่ำกว่า เงินฝากประจำ (Fixed Deposit) ค่อนข้างมาก ทำให้ Bank ใหญ่ๆดังกล่าวมีความได้เปรียบ Bank ที่เล็กกว่าอยู่ตลอด ทราบไหมครับว่า Bank ไหนที่ %CASA ในเงินฝากทั้งหมดสูงที่สุด? คำตอบคือ KBANK ครับ คือประมาณ 60 กว่าเปอร์เซนต์

- Bank ระดับกลางที่เล็กกว่าจะมีเงินฝากประจำสูงกว่าเนื่องจากความสามารถทางการระดมเงินฝากที่ต่ำกว่า ยกตัวอย่าง TBANK ที่มี CASA ที่ 30% ที่เหลือเป็นเงินฝากประจำ แม้แต่บาง Bank ที่พยายามสร้าง Product ใหม่เช่น TMB ME ถึงจะเรียกว่าเงินฝากไม่ประจำ แต่ก็ถือเป็นเงินฝากที่ต้นทุนสูง ดังนั้นบทวิเคราะห์ของ TMB เองก็จะแยกสัดส่วน TMB ME ให้เห็นด้วย

- นอกเหนือจากเงินฝากแล้ว Bank ระดับเล็กมักจะใช้ตราสารหนี้เช่นหุ้นกู้เพื่อดึงเงินฝากแทน เนื่องจากจำนวนสาขาที่น้อยกว่าามากทำให้การระดมทุนเงินฝากทำได้ยากกว่า ยกตัวอย่างเช่น TISCO หรือ KK ที่มีสัดส่วนตราสารประเภทนี้ค่อนข้างสูง

- ในงบการเงินของ Bank จะมีการคำนวณ "รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ" ซึ่งก็คือ "รายได้ดอกเบี้ยจากสินเชื่อ" - "รายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก" นั่นเอง และจะมีคำศัพท์ทางการเงินตรงนี้อยู่ 2 คำก็คือ Interest Spread และ Net Interest Margin (NIM) ซึ่ง Interest Spread ก็คืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย ลบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย นั่นเองครับ ส่วน NIM จะคำนวณจาก รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเทียบ % จากสินเชื่อสุทธิ ซึ่ง ทั้งสองค่ามักจะต่างกันเล็กน้อยโดย NIM จะแสดงค่าที่ถูกต้องมากกว่า

- ทีนี้ค่า NIM ที่สูงก็แสดงว่า Bank นั้นมีสินเชื่อประเภทที่ Yield สูงกว่า (ทำให้รายได้ดอกเบี้ยมากกว่า) หรือ ต้นทุนดอกเบี้ยฝากต่ำกว่า (ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยฝากต่ำกว่า) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เริ่มน่าสนใจแล้วใช่ไหมครับว่า Bank ไหน NIM สูงที่สุด? ผมคิดว่าหลายคนคงเดาว่าเป็น KBANK หรือ SCB และ BBL ที่ CASA สูง แต่จริงๆคำตอบคือ BAY ครับ เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อของ BAY มี Yield สูงที่สุดจากสินเชื่อส่วนบุคคลนั่นเองทำให้ BAY มี NIM สูงสุด แต่อย่างไรก็ตามสินเชื่อดังกล่าวไม่มีหลักประกัน ทำให้ BAY ก็ต้องสำรองหนี้สูญเป็นสัดส่วนที่มากไปด้วย

พอหอมปากหอมคอนะครับ
กดไลท์ ให้เลยครับ
ข้อมูลชัดเจน หนักแน่น
เปิดมุมมองใหม่ๆให้กับผมและอีกหลายคนครับ

ผมดูๆ KKP TISCO เพราะเห็นพีอีต่ำมาก
แต่การเติบโตอาจจะด้อยในช่วงนี้ เพราะรถใหม่ขายได้น้อย
คุณ kraikria มองยังไงครับ
หรืออยากจะถามมุมมองว่าโดยรวมชอบแบงค์ไหนมากที่สุด ที่ราคาปัจจุบัน ด้วยเหตุผลอย่างไร สั้นๆก็ได้ครับ ไม่ต้องลำบากใจเลยครับ เวปเราต้องการคนที่ให้ความรู้อย่างถูกต้อง
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 114

โพสต์

ผมไม่เคยสนใจจะดูงบแบงค์เลย เพราะคิดว่ามันยากเกินความสามารถของตัวเอง
ได้อ่านที่คุณ kraikria นำมาแบ่งปัน ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยครับ
ขอบคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 115

โพสต์

ลองอ่านบทความเรื่องการวิเคราะห์หุ้นธนาคารดูครับ ถึงจะเป็นบทความเก่า แต่เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจบ้างครับ

http://www.tsi-thailand.org/index.php?o ... temid=1279

ผมเองนาน ๆ จะซื้อหุ้นกลุ่มนี้ซักครั้ง ยอมรับว่าส่วนหนึ่งคือยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูตัวเลขงบการเงินในหุ้นกลุ่มนี้มากนัก และก็รู้สึกว่าต้องดูค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นเพราะเป็นสถาบันการเงิน บางครั้งผมจึงเลือกดูในเชิงมหภาคมากกว่าว่าธนาคารจะได้ประโยชน์ในสภาวะเศรษฐกิจแบบไหนแล้วก็ค่อยไปดูตัวที่สนใจ

อีกเรื่องหนึ่งที่รู้สึกไม่ค่อยสนใจหุ้นกลุ่มนี้เพราะตัวผมเองมองว่ามันเป็นหุ้นสถาบัน มีนักวิเคราะห์จากโบรก กองทุนทั้งไทยและต่างชาติ ติดตามอยู่มาก ได้เปรียบทั้งข้อมูลและทีมงานวิเคราะห์ ผมเองคงจะไปสู้กับเค้าก็คงลำบาก ข้อมูลก็ตามหลังทีมวิเคราะห์ที่ได้ไป visit ผู้บริหาร พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าผมต้องต่อสู้กับทีมวิเคราะห์เหล่านี้ ผมเสียเปรียบทุกประตู ตรงนี้คงเป็นความถนัดส่วนบุคคลครับ

ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือเปล่าว่า ถ้าตลาดมักให้ PE หุ้นค้าปลีกสูง แต่ในทางกลับกัน ตลาดก็มักจะให้ PE ของหุ้นธนาคาร (เน้นที่ธนาคารขนาดใหญ่) ค่อนข้างต่ำ เราเลยรู้สึกว่ามันไม่แพง

ถ้าจะมองในแง่ของความเป็นหุ้นสถาบัน อันนี้ก็ตรงไปตรงมาครับว่าถ้าเมื่อไหร่มีเงินจากต่างชาติไหลเข้ามา หุ้นที่เป็นเป้าหมายหนึ่งของกองทุนต่างชาติก็หนีไม่พ้นหุ้นธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 116

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน: กดไลท์ ให้เลยครับ
ข้อมูลชัดเจน หนักแน่น
เปิดมุมมองใหม่ๆให้กับผมและอีกหลายคนครับ

ผมดูๆ KKP TISCO เพราะเห็นพีอีต่ำมาก
แต่การเติบโตอาจจะด้อยในช่วงนี้ เพราะรถใหม่ขายได้น้อย
คุณ kraikria มองยังไงครับ
หรืออยากจะถามมุมมองว่าโดยรวมชอบแบงค์ไหนมากที่สุด ที่ราคาปัจจุบัน ด้วยเหตุผลอย่างไร สั้นๆก็ได้ครับ ไม่ต้องลำบากใจเลยครับ เวปเราต้องการคนที่ให้ความรู้อย่างถูกต้อง
ขอบคุณที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ

ที่กลุ่ม Bank ราคาลดลงมาผมคิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกันคือ
(1) Outlook ของเศษฐกิจไทยเริ่มไม่ค่อยดีและยังคงโตไม่เท่าไหร่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ธุรกิจ Bank ขึ้นอยู่อย่างมากกับสภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจ "ไม่โต" นายตลาดเลยให้ Discount
(2) นอกจากไม่โตแล้ว สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL) นั่นเองครับ กลุ่ม Bank มี Leverage กันสูงมาก หนี้เสียแค่ 10% ของสินเชื่อทั้งหมด ก็ทำให้ Bank เจ๊งแล้ว ตัวเลขนี้ต้องดูใกล้ชิดเลยครับ
(3) กลุ่ม Bank เป็นกลุ่มใหญ่ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ เมื่อเงินทุนไหลออก กลุ่มนี้ก็มักจะกระทบก่อน

นั่นคือข้อเท็จจริง แต่ในความคิดเห็นของผม ปีที่แล้ว (2556) ถึงแม้เศรษฐกิจไม่โตจริง แต่สินเชื่อในหลายๆ Bank กลับเติบโตในระดับตัวเลข 2 หลักได้ เช่น SCB โต 12.1% หรือ Tisco โต 17.7% นั่นแสดงว่าการลงทุนหรือขยายงานยังมีอยู่ แต่ถ้ามองในแง่ลบ ก็อาจจะมองว่าคนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น จากที่เห็นในสัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มมากนั่นเองครับ

สำหรับในส่วนของ NPL นั้นเพิ่มจริงครับโดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ยกตัวอย่างสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase) นี่หล่ะครับ NPL ของทั้ง TISCO, KKP กับ TBANK ในส่วนสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มจาก 1% ต้นๆกลายเป็น 2% ถึงแม้ว่าจะดูเพิ่มไม่มาก แต่ก็ทำให้ทั้งหมดต้องตั้งสำรองเพิ่มมากกว่าปีก่อนเยอะเลย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทุก Bank ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า แต่เกือบทุกรายก็ยังมีกำไรที่มากกว่าปีที่แล้ว หลายๆรายโต 10% กว่า และบางรายโต 20% กว่า ที่ทำได้อย่างนี้นอกจากสินเชื่อที่ยังโตแล้ว ยังเป็นเพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโตมากนั่นเองครับ (เช่น SCB รายได้ส่วนนี้โต 23% จากปีที่แล้ว และกลายเป็น 41% ของรายได้ทั้งหมด)

กลับมาที่คำถามของคุณโจเรื่องมุมมองต่อ KKP และ TISCO นะครับ

KKP
- สินเชื่อรวมโต 12.9% ในปี 2556 (โดยสินเชื่อเช่าซื้อโต 9.8%)
- กำไรโต 30% แต่ EPS โตประมาณ 8% เป็น 5.29 บาท เนื่องจากจำนวนหุ้น
เพิ่มหลังจากการควบรวมกับภัทร
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ 4,838 ล้านบาท เป็น 34% ของรายได้สุทธิรวม 14,211 ล้านบาท ก็ถือว่าใช้ได้ครับ ตรงนี้ของ KKP โตมากจากการควบรวมกับกลุ่มภัทรนั่นเอง (เพิ่ม 88%)
- key deals ของกลุ่มภัทร ในปีที่แล้วคืองาน IB (Investment Banking) ไม่ว่าจะเป็น BTSGIF, การเอา M เข้าตลาด และการ Tender offer BAY ของ BMTU
- มาดูเรื่องสุขภาพกันบ้าง NPL รวมเพิ่มจาก 3.3% เป็น 3.8% เนื่องจาก NPL กลุ่มเช่าซื้อเพิ่มจาก 1.6% เป็น 2.1% อันนี้ก็ต้อง monitor อย่างใกล้ชิดครับว่าจะขยับไปในทางลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร
- ถ้าดู PE ก็ ประมาณ 7 เท่าก็ถือว่าถุกครับ
- ROA 1.8% ถือว่ากลางๆสำหรับ Bank
- สรุป ผมคิดว่า KKP ยังถือว่าเป็น Bank เล็กที่โตได้อีก การที่มีกลุ่มภัทรเข้ามาด้วยทำให้ KKP ครบเครื่องมากขึ้น

TISCO
- สินเชื่อเพิ่ม 17.7% จากปี 2555
- รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8,968 ล้านบาท เพิ่ม 27.3% จากปี 2555
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ 5,730 ล้านบาท (คิดเป็น 39% ของรายได้รวม) เพิ่ม 21.7% จากปี 2555
- กำไรสุทธิ 4,249 ล้านบาท เพิ่ม 14.7% , EPS 5.55 บาท เพิ่ม 9% (เนื่องจากมีเพิ่มทุน)
- รายได้สุทธิโตเยอะแต่กำไรโตไม่เยอะเนื่องจากตั้งสำรองมากกว่าปีที่แล้วเกินเท่าตัวคือ 4,141 ล้านบาท (เทียบกับ 1,922 ล้านในปีที่แล้ว) แต่ทั้งๆที่ตั้งสำรองสูงขนาดนี้กำไรก็ยังมากกว่าปีที่แล้ว
- NPL รวมเพิ่มจาก 1.25% เป็น 1.7% โดย NPL ของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ที่ 2.1% ก็เพิ่มขึ้นเยอะเหมือนสินเชื่อเช่าซื้อของ Bank อื่นละครับ
- BIS ratio 13.27% ก็ยังมั่นคงดีครับ
- ส่วนที่ดีมากของ Tisco ในปีที่แล้วคงเป็นเรื่องการจัดการค่าใช้จ่ายครับ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost to income ratio) ลดเหลือแค่ 35% เทียบกับ 42% ในปี 2555 เก่งทีเดียว
- PE 6.7 เท่าคงถือว่าไม่แพง ตอนนี้ PE ของ Bank กลุ่มเช่าซื้ออยู่ใกล้ๆกันคือ 6-7 เท่า ถ้าเทียบกับ Bank ใหญ่ๆที่ประมาณ 10 เท่า

ถ้าถามว่าแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าก็คงโตไม่มากเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าในปี 2556 ที่ยอดขายรถหดตัวลงแต่สินเชื่อเช่าซื้อก็โตเป็นตัวเลข 2 หลักกันทั้งนั้นนะครับ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่โตมากแต่ผมก็ยังคิดว่าน่าจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 5%

ที่น่ากังวลมากกว่ากลับเป็นเรื่อง การเพิ่มของ NPL การตั้งสำรองหนี้เสีย การขาดทุนจากการด้อยค่าของรถยึดมือ 2 นี่ต่างหากครับ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าราคารถมือสองน่าจะไม่ตกลงมากแล้วในปีนี้ซึ่งจะทำให้ตลาดกลับมาสนใจ Bank กลุ่มนี้อีกครั้ง
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 117

โพสต์

อีกคำถามจากคุณโจคือชอบ Bank ไหนที่สุดสำหรับราคาปัจจุบัน? ก่อนอื่นผมคงต้องบอกว่า ข้อมูลที่ผมเขียนก็คือข้อมูลจริงๆ แต่ความเห็นที่ผมเขียนเป็นความเห็นส่วนตัวที่มักจะผิดมากกว่าถูก ดังนั้นทุกท่านต้องไม่เชื่อผมและหาข้อมูลด้วยตนเองนะครับ คำตอบของผมสำหรับคำถามนี้คงเป็น SCB กับ TCAP

- SCB เป็น Bank อันดับหนึ่งของเมืองไทยในทุก financial KPIs (ยกเว้น Asset size) นั่นคือ รายได้, กำไร, ROE, ROA, market cap, ความหลากหลายของสินเชื่อ (ถึงแม้จะมีสินเชื่อรายย่อยเยอะสุดแต่ก็มี port สินเชื่ออื่นๆที่ขนาดพอประมาณ) ส่วนทางด้าน SME, Asset management, Bancassurance จะเป็นรอง KBANK แต่ก็ทำได้ดี โดยเฉพาะ SCBLIF ที่ถึงแม้จะเล็กกว่าเมืองไทยประกันชีวิตแต่เนื่องจาก SCB ถือหุ้นใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซนต์จึงทำให้ผลกำไรส่วนนี้มากกว่า KBANK ที่ถือกลุ่มเมืองไทย 50% (และกลุ่มเมืองไทยถือเมืองไทยประกันชีวิต 75% ทำให้ KBANK มี equity owner ในเมืองไทยประกันชีวิตแค่ 38% เท่านั้น) ที่น่าประทับใจคือ SCB เป็น Bank ใหญ่แต่กลับเติบโตเร็วมากๆ รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็อยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่า Bank อื่นๆ เห็นแล้วเปรียบได้กับหญิงงามเลยครับ สำหรับราคาในขณะนี้ที่ PE 10 เท่า

- TCAP มีลูกคือ TBANK ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของสินเชื่อเช่าซื้อ มี relationship ที่ดีมากกับ dealer รถยนต์ ผู้บริหารเก่งมากทางด้านนี้ จากอดีตที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เติบโตจนกลายเป็น Bank ขนาดกลางที่ใกล้เคียงกับ BAY และใหญ่กว่า TMB ได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยการซื้อ SCIB โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุนเลย แถมยังซื้อหุ้นคืนอยู่เรื่อยๆอีกต่างหาก ในเรื่องตัวธุรกิจเองผมคิดว่า TBANK ยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้เทียบเคียงกับ Bank ใหญ่ได้ แต่ถ้าดูจากปีที่ผ่านมาต้องถือว่าทำได้ดีทีเดียวครับในสถานการณ์ที่มีปัจจัยลบมากขนาดนี้ อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับธุรกิจราคาถูก (PE ปกติที่ 6 เท่า และ PBV ที่ 0.78 เท่า) ที่ยังโตได้เรื่อยๆจากรายได้สินเชื่อและค่าธรรมเนียมต่างๆที่เพิ่ม ขนาด TBANK ตั้งสำรองปกติเพิ่มขึ้นมาก แต่ EPS จากธุรกิจปกติ ก็ยังเติบโตได้ถึง 22%

ไม่ได้ลงรายละเอียดครบทุกด้านนะครับ ผมหวังว่าจะได้รับ Comment จากความคิดเห็นของผมที่ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่อันนี้จากทุกท่านครับ :-)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
สิปาดัน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 5

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 118

โพสต์

kraikria เขียน:
ลูกอิสาน เขียน: กดไลท์ ให้เลยครับ
ข้อมูลชัดเจน หนักแน่น
เปิดมุมมองใหม่ๆให้กับผมและอีกหลายคนครับ

ผมดูๆ KKP TISCO เพราะเห็นพีอีต่ำมาก
แต่การเติบโตอาจจะด้อยในช่วงนี้ เพราะรถใหม่ขายได้น้อย
คุณ kraikria มองยังไงครับ
หรืออยากจะถามมุมมองว่าโดยรวมชอบแบงค์ไหนมากที่สุด ที่ราคาปัจจุบัน ด้วยเหตุผลอย่างไร สั้นๆก็ได้ครับ ไม่ต้องลำบากใจเลยครับ เวปเราต้องการคนที่ให้ความรู้อย่างถูกต้อง
ขอบคุณที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ

ที่กลุ่ม Bank ราคาลดลงมาผมคิดว่าเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกันคือ
(1) Outlook ของเศษฐกิจไทยเริ่มไม่ค่อยดีและยังคงโตไม่เท่าไหร่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ธุรกิจ Bank ขึ้นอยู่อย่างมากกับสภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจ "ไม่โต" นายตลาดเลยให้ Discount
(2) นอกจากไม่โตแล้ว สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL) นั่นเองครับ กลุ่ม Bank มี Leverage กันสูงมาก หนี้เสียแค่ 10% ของสินเชื่อทั้งหมด ก็ทำให้ Bank เจ๊งแล้ว ตัวเลขนี้ต้องดูใกล้ชิดเลยครับ
(3) กลุ่ม Bank เป็นกลุ่มใหญ่ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ เมื่อเงินทุนไหลออก กลุ่มนี้ก็มักจะกระทบก่อน

นั่นคือข้อเท็จจริง แต่ในความคิดเห็นของผม ปีที่แล้ว (2556) ถึงแม้เศรษฐกิจไม่โตจริง แต่สินเชื่อในหลายๆ Bank กลับเติบโตในระดับตัวเลข 2 หลักได้ เช่น SCB โต 12.1% หรือ Tisco โต 17.7% นั่นแสดงว่าการลงทุนหรือขยายงานยังมีอยู่ แต่ถ้ามองในแง่ลบ ก็อาจจะมองว่าคนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น จากที่เห็นในสัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มมากนั่นเองครับ

สำหรับในส่วนของ NPL นั้นเพิ่มจริงครับโดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ยกตัวอย่างสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase) นี่หล่ะครับ NPL ของทั้ง TISCO, KKP กับ TBANK ในส่วนสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มจาก 1% ต้นๆกลายเป็น 2% ถึงแม้ว่าจะดูเพิ่มไม่มาก แต่ก็ทำให้ทั้งหมดต้องตั้งสำรองเพิ่มมากกว่าปีก่อนเยอะเลย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทุก Bank ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า แต่เกือบทุกรายก็ยังมีกำไรที่มากกว่าปีที่แล้ว หลายๆรายโต 10% กว่า และบางรายโต 20% กว่า ที่ทำได้อย่างนี้นอกจากสินเชื่อที่ยังโตแล้ว ยังเป็นเพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโตมากนั่นเองครับ (เช่น SCB รายได้ส่วนนี้โต 23% จากปีที่แล้ว และกลายเป็น 41% ของรายได้ทั้งหมด)

กลับมาที่คำถามของคุณโจเรื่องมุมมองต่อ KKP และ TISCO นะครับ

KKP
- สินเชื่อรวมโต 12.9% ในปี 2556 (โดยสินเชื่อเช่าซื้อโต 9.8%)
- กำไรโต 30% แต่ EPS โตประมาณ 8% เป็น 5.29 บาท เนื่องจากจำนวนหุ้น
เพิ่มหลังจากการควบรวมกับภัทร
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ 4,838 ล้านบาท เป็น 34% ของรายได้สุทธิรวม 14,211 ล้านบาท ก็ถือว่าใช้ได้ครับ ตรงนี้ของ KKP โตมากจากการควบรวมกับกลุ่มภัทรนั่นเอง (เพิ่ม 88%)
- key deals ของกลุ่มภัทร ในปีที่แล้วคืองาน IB (Investment Banking) ไม่ว่าจะเป็น BTSGIF, การเอา M เข้าตลาด และการ Tender offer BAY ของ BMTU
- มาดูเรื่องสุขภาพกันบ้าง NPL รวมเพิ่มจาก 3.3% เป็น 3.8% เนื่องจาก NPL กลุ่มเช่าซื้อเพิ่มจาก 1.6% เป็น 2.1% อันนี้ก็ต้อง monitor อย่างใกล้ชิดครับว่าจะขยับไปในทางลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร
- ถ้าดู PE ก็ ประมาณ 7 เท่าก็ถือว่าถุกครับ
- ROA 1.8% ถือว่ากลางๆสำหรับ Bank
- สรุป ผมคิดว่า KKP ยังถือว่าเป็น Bank เล็กที่โตได้อีก การที่มีกลุ่มภัทรเข้ามาด้วยทำให้ KKP ครบเครื่องมากขึ้น

TISCO
- สินเชื่อเพิ่ม 17.7% จากปี 2555
- รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8,968 ล้านบาท เพิ่ม 27.3% จากปี 2555
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ 5,730 ล้านบาท (คิดเป็น 39% ของรายได้รวม) เพิ่ม 21.7% จากปี 2555
- กำไรสุทธิ 4,249 ล้านบาท เพิ่ม 14.7% , EPS 5.55 บาท เพิ่ม 9% (เนื่องจากมีเพิ่มทุน)
- รายได้สุทธิโตเยอะแต่กำไรโตไม่เยอะเนื่องจากตั้งสำรองมากกว่าปีที่แล้วเกินเท่าตัวคือ 4,141 ล้านบาท (เทียบกับ 1,922 ล้านในปีที่แล้ว) แต่ทั้งๆที่ตั้งสำรองสูงขนาดนี้กำไรก็ยังมากกว่าปีที่แล้ว
- NPL รวมเพิ่มจาก 1.25% เป็น 1.7% โดย NPL ของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ที่ 2.1% ก็เพิ่มขึ้นเยอะเหมือนสินเชื่อเช่าซื้อของ Bank อื่นละครับ
- BIS ratio 13.27% ก็ยังมั่นคงดีครับ
- ส่วนที่ดีมากของ Tisco ในปีที่แล้วคงเป็นเรื่องการจัดการค่าใช้จ่ายครับ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost to income ratio) ลดเหลือแค่ 35% เทียบกับ 42% ในปี 2555 เก่งทีเดียว
- PE 6.7 เท่าคงถือว่าไม่แพง ตอนนี้ PE ของ Bank กลุ่มเช่าซื้ออยู่ใกล้ๆกันคือ 6-7 เท่า ถ้าเทียบกับ Bank ใหญ่ๆที่ประมาณ 10 เท่า

ถ้าถามว่าแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าก็คงโตไม่มากเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าในปี 2556 ที่ยอดขายรถหดตัวลงแต่สินเชื่อเช่าซื้อก็โตเป็นตัวเลข 2 หลักกันทั้งนั้นนะครับ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่โตมากแต่ผมก็ยังคิดว่าน่าจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 5%

ที่น่ากังวลมากกว่ากลับเป็นเรื่อง การเพิ่มของ NPL การตั้งสำรองหนี้เสีย การขาดทุนจากการด้อยค่าของรถยึดมือ 2 นี่ต่างหากครับ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าราคารถมือสองน่าจะไม่ตกลงมากแล้วในปีนี้ซึ่งจะทำให้ตลาดกลับมาสนใจ Bank กลุ่มนี้อีกครั้ง



อธิบายเปรียบเทียบได้ชัดมากเลยครับพี่ขอบคุนมากๆครับ
"เมื่อผลลัพธ์ยังมาไม่ถึง เราจำเป็นต้องมีศรัทธา"
ภาพประจำตัวสมาชิก
JobJakraphan
Verified User
โพสต์: 749
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 119

โพสต์

ขอบคุณพี่ kraikria มากๆเลยครับ ได้ความรู้เรื่องกลุ่ม Bank เพิ่มขึ้นมากจริงๆ
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 120

โพสต์

ผมอ่าน post อันนี้ของคุณ leky หลายครั้ง และคิดตามก็รู้สึกว่าจริงในหลายๆประเด็นครับ
leky เขียน:ลองอ่านบทความเรื่องการวิเคราะห์หุ้นธนาคารดูครับ ถึงจะเป็นบทความเก่า แต่เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจบ้างครับ

http://www.tsi-thailand.org/index.php?o ... temid=1279
บทความนี้สรุปสิ่งที่ต้องรู้ในการดูธุรกิจ Bank ได้ดีครับ
leky เขียน: ผมเองนาน ๆ จะซื้อหุ้นกลุ่มนี้ซักครั้ง ยอมรับว่าส่วนหนึ่งคือยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูตัวเลขงบการเงินในหุ้นกลุ่มนี้มากนัก และก็รู้สึกว่าต้องดูค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นเพราะเป็นสถาบันการเงิน บางครั้งผมจึงเลือกดูในเชิงมหภาคมากกว่าว่าธนาคารจะได้ประโยชน์ในสภาวะเศรษฐกิจแบบไหนแล้วก็ค่อยไปดูตัวที่สนใจ
ผมเห็นด้วยเลยครับว่าเศรษฐกิจมหภาคนั้นสำคัญกับธนาคารมาก และก็เห็นด้วยอีกเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าเราไม่เข้าใจก็ไม่ควรจะลงทุน กฏเหล็กของ VI เลยครับ
leky เขียน: อีกเรื่องหนึ่งที่รู้สึกไม่ค่อยสนใจหุ้นกลุ่มนี้เพราะตัวผมเองมองว่ามันเป็นหุ้นสถาบัน มีนักวิเคราะห์จากโบรก กองทุนทั้งไทยและต่างชาติ ติดตามอยู่มาก ได้เปรียบทั้งข้อมูลและทีมงานวิเคราะห์ ผมเองคงจะไปสู้กับเค้าก็คงลำบาก ข้อมูลก็ตามหลังทีมวิเคราะห์ที่ได้ไป visit ผู้บริหาร พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าผมต้องต่อสู้กับทีมวิเคราะห์เหล่านี้ ผมเสียเปรียบทุกประตู ตรงนี้คงเป็นความถนัดส่วนบุคคลครับ
เรื่องที่เรามีข้อมูลน้อยกว่านักวิเคราะห์นั้น ผมเห็นด้วย 100% ครับ แต่หลังๆความได้เปรียบดังกล่าวก็เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ อย่างที่เรียนครับว่ากลุ่ม Bank มีการเปิดเผยข้อมูลละเอียดมากและบ่อยมากครับ
leky เขียน: ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือเปล่าว่า ถ้าตลาดมักให้ PE หุ้นค้าปลีกสูง แต่ในทางกลับกัน ตลาดก็มักจะให้ PE ของหุ้นธนาคาร (เน้นที่ธนาคารขนาดใหญ่) ค่อนข้างต่ำ เราเลยรู้สึกว่ามันไม่แพง
คุณ leky ไม่ได้คิดไปเองครับ ข้อเท็จจริงก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ หุ้นค้าปลีกบางตัวเติบโตเกิน 20% ต่อปีติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีแล้ว ประกอบกับตลาดในปัจจุบันให้ความนิยมจึงให้ PE สูงขนาดนี้ ถ้าคุณ leky ย้อนเวลากลับไปได้ถึงก่อนปี 2540 คุณ leky ก็จะพบว่าตลาดในขณะนั้นให้ความนิยมกับกลุ่ม Bank และ Finance มากเพียงไร ธุรกิจ Bank เองยังไม่เท่าไหร่ แต่ธุรกิจ Finance นี่สิครับ PE เฉลี่ยสัก 20 เท่าและหุ้นที่ Hot hit เกิน 30 เท่าด้วยซ้ำ

ธุรกิจหลายๆตัวที่โตมากติดต่อกันหลายปีเพียงแต่ไม่ได้เป็นหุ้นค้าปลีก เช่นกลุ่มประกันชีวิต SCBLIF โตหลัก 20-30% เช่นกันโดย 2 ปีหลังโตมากกว่า 30% ตลาดยังให้ PE เพียง 15 เท่าตลอดมา เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความนิยมของตลาดเป็นตัวกับหนดราคาจริงๆ ดังนั้น VI อย่างเราก็ต้องระวังและก้มหน้าก้มตาดูมูลค่ากันต่อไปครับ :-)
leky เขียน: ถ้าจะมองในแง่ของความเป็นหุ้นสถาบัน อันนี้ก็ตรงไปตรงมาครับว่าถ้าเมื่อไหร่มีเงินจากต่างชาติไหลเข้ามา หุ้นที่เป็นเป้าหมายหนึ่งของกองทุนต่างชาติก็หนีไม่พ้นหุ้นธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ครับ
อันนี้ก็จริงที่สุดครับ จนบางครั้งหุ้นสถาบันดังกล่าวมีราคาเคลื่อนไหวผันผวนกว่าหุ้นปั่นบางตัวอีกเนื่องจากในปัจจุบันเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกเร็วมาก แต่ความผันผวนนั่นก็มองได้ว่าเป็นโอกาสนะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น