หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 121

โพสต์

ขอถามคุณไกล่เกลี่ยเพิ่มนะครับ หากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป

1. จากมุมมองของบัฟเฟตต์และมังเกอร์ ที่เค้าอธิบายว่าเค้าแฮปปี้กับ กับ Well Fargo เพราะ Cost of fund ต่ำ มุมมองนี้ยังเป็นจริงในปัจจุบันหรือไม่ครับ

มุมมองผมนะครับ: แบงค์ที่ Cost of fund ต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบเล็ก กลาง ใหญ่ คือ Kbank ครับ

2. การควบคุมการดำเนินงาน บัฟเฟตต์ให้ความเห็นว่า คนที่ดำเนินงานแบบ Conservative จะมีโอกาส ประสบความสำเร็จมากกว่า ในมุมมองผม: Cost of Operation ต่ำสุดคือ SCB ครับ

3. บัฟเฟตต์ให้ความเห็นว่าอย่าทำอะไรโง่ ๆ กับ พอร์ตสินทรัพย์

Kbank NPL อยู่ที่ 2.02 coverage ratio อยู่ที่ 139%
SCB NPL 2.06 coverage ratio 155%
BBL NPL 2.18 coverage ratio 213% ---- สูงสุดในกลุ่มธนาคาร
Bay NPL 1.68 coverage ratio 139%
KTB NPL 2.86 coverage ratio 115%
TCAP NPL 4.49 coverage ratio 84% ----- บอกอะไรหรือเปล่า?
Tisco NPL 1.46 coverage ratio 128%
KKP NPL 3.71 coverage ratio 100.5%
TMB NPL 3.58 coverage ratio 147%

รบกวนชี้แนะด้วยครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 122

โพสต์

ปล. จากที่วิเคราะห์มา อันดับหนึ่งในใจผมคือ SCB และ Kbank ครับ

คือ อันดับหนึ่งมักมีมากกว่าหนึ่งคนเสมอครับไม่ว่าเรื่องใด ๆ ก็ตาม :mrgreen:
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 123

โพสต์

ขอแชร์เพิ่มเติมครับ
kraikria เขียน:
leky เขียน: ผมเองนาน ๆ จะซื้อหุ้นกลุ่มนี้ซักครั้ง ยอมรับว่าส่วนหนึ่งคือยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูตัวเลขงบการเงินในหุ้นกลุ่มนี้มากนัก และก็รู้สึกว่าต้องดูค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นเพราะเป็นสถาบันการเงิน บางครั้งผมจึงเลือกดูในเชิงมหภาคมากกว่าว่าธนาคารจะได้ประโยชน์ในสภาวะเศรษฐกิจแบบไหนแล้วก็ค่อยไปดูตัวที่สนใจ
ผมเห็นด้วยเลยครับว่าเศรษฐกิจมหภาคนั้นสำคัญกับธนาคารมาก และก็เห็นด้วยอีกเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าเราไม่เข้าใจก็ไม่ควรจะลงทุน กฏเหล็กของ VI เลยครับ

ผมว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงมหภาคในบางเรื่องมันก็ส่งผลค่อนข้างชัดนะครับ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายรถคันแรกที่ทำให้แบงค์เล็กอย่าง TISCO KKP หรือแม้แต่ TCAP มีรายได้โตขึ้นมาก ซึ่งตรงนี้ใครมองออกก็อาจจะไม่ต้องพึ่งการดูตัวเลขทางการเงินแต่เพียงอย่างเดียว


leky เขียน: อีกเรื่องหนึ่งที่รู้สึกไม่ค่อยสนใจหุ้นกลุ่มนี้เพราะตัวผมเองมองว่ามันเป็นหุ้นสถาบัน มีนักวิเคราะห์จากโบรก กองทุนทั้งไทยและต่างชาติ ติดตามอยู่มาก ได้เปรียบทั้งข้อมูลและทีมงานวิเคราะห์ ผมเองคงจะไปสู้กับเค้าก็คงลำบาก ข้อมูลก็ตามหลังทีมวิเคราะห์ที่ได้ไป visit ผู้บริหาร พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าผมต้องต่อสู้กับทีมวิเคราะห์เหล่านี้ ผมเสียเปรียบทุกประตู ตรงนี้คงเป็นความถนัดส่วนบุคคลครับ
เรื่องที่เรามีข้อมูลน้อยกว่านักวิเคราะห์นั้น ผมเห็นด้วย 100% ครับ แต่หลังๆความได้เปรียบดังกล่าวก็เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ อย่างที่เรียนครับว่ากลุ่ม Bank มีการเปิดเผยข้อมูลละเอียดมากและบ่อยมากครับ

เดี๋ยวนี้ดีขึ้นครับเพราะคนที่ติดตามหุ้นเหล่านีมีมากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสมัยก่อนนี่ช่องว่าตรงนี้จะกว้างมาก ผมเคยได้ยินอดีตผบห.โบรกที่รู้จักกันเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนบ.ใหญ่ ๆ จะจำกัดการให้นักวิเคราะห์เข้าไป visit ในขณะที่โบรกก็ต้องการบทวิเคราะห์ สุดท้ายถ้าใครไม่มีแนวโน้มจะเชียร์ก็อย่าหวังว่าจะได้ข้อมูล ที่สำคัญสมัยก่อนเน้นพวกต่างชาติก่อน
leky เขียน: ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือเปล่าว่า ถ้าตลาดมักให้ PE หุ้นค้าปลีกสูง แต่ในทางกลับกัน ตลาดก็มักจะให้ PE ของหุ้นธนาคาร (เน้นที่ธนาคารขนาดใหญ่) ค่อนข้างต่ำ เราเลยรู้สึกว่ามันไม่แพง
คุณ leky ไม่ได้คิดไปเองครับ ข้อเท็จจริงก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ หุ้นค้าปลีกบางตัวเติบโตเกิน 20% ต่อปีติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีแล้ว ประกอบกับตลาดในปัจจุบันให้ความนิยมจึงให้ PE สูงขนาดนี้ ถ้าคุณ leky ย้อนเวลากลับไปได้ถึงก่อนปี 2540 คุณ leky ก็จะพบว่าตลาดในขณะนั้นให้ความนิยมกับกลุ่ม Bank และ Finance มากเพียงไร ธุรกิจ Bank เองยังไม่เท่าไหร่ แต่ธุรกิจ Finance นี่สิครับ PE เฉลี่ยสัก 20 เท่าและหุ้นที่ Hot hit เกิน 30 เท่าด้วยซ้ำ

ธุรกิจหลายๆตัวที่โตมากติดต่อกันหลายปีเพียงแต่ไม่ได้เป็นหุ้นค้าปลีก เช่นกลุ่มประกันชีวิต SCBLIF โตหลัก 20-30% เช่นกันโดย 2 ปีหลังโตมากกว่า 30% ตลาดยังให้ PE เพียง 15 เท่าตลอดมา เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความนิยมของตลาดเป็นตัวกับหนดราคาจริงๆ ดังนั้น VI อย่างเราก็ต้องระวังและก้มหน้าก้มตาดูมูลค่ากันต่อไปครับ :-)

ถ้าให้ผมเดาคุณ kraikria น่าจะอยู่ในตลาดก่อนปี 40 หรือเปล่าครับ เพราะคอมเม้นต์ตรงนี้ถ้าไม่ใช่คนที่เคยอยู่ในตลาดก่อนปี 40 อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไหร่

จริง ๆ คำว่า "ค่าพรีเมี่ยม" คืออะไร สำหรับผม ๆ มองมันเหมือนแฟชั่นของหุ้นในยุคหนึ่ง ๆ ในยุคก่อนปี 40 หุ้นกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ PE สูง ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการเก็งกำไร หุ้นแบงค์จะมาในช่วงหลัง ๆ อีกกลุ่มหนึ่งที่ผมว่ายิ่งกว่ากลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์คือหุ้นกลุ่มสื่อสาร PE สูง หลายตัวยังไม่มีกำไร เป็นโครงการในกระดาษ แต่มันเป็นแฟชั่นในยุคนั้น ตอนนั้นแทบไม่ค่อยมีหุ้นค้าปลีก หุ้นพลังงานมีแต่ PTTEP แต่ก็ไม่ค่อยนิยมมากนัก

ถ้าจะว่ากันไปถ้าเป็นก่อนยุคปี 40 มากหน่อยเชื่อหรือไม่ว่า PDI เคยเป็นหุ้นติดชาร์ตอันดับหนึ่งของ SET ที่ผมจำได้เพราะตอนนั้นยังวัยรุ่นดูข่าวภาคค่ำที่มีข่าวสรุปหุ้นรายวันก็จะต้องได้ยินว่า PDI ติดอันดับการซื้อขาย ตอนนั้นผมไม่รู้ว่ามันคือบ.อะไรหรอกครับ แต่ที่จำได้เพราะชื่อบ.มันฟังดูแปลก ๆ พอผ่านมาอีกไม่กี่ปีก็หุ้นกลุ่มอสังหาฯ จากผลของการเก็งกำไรที่ดินในยุคนั้น จะว่าไปหุ้นกลุ่มนี้ตกต่ำตั้งแต่ก่อนที่จะเจอวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 ล่วงหน้าอยู่หลายปีด้วยซ้ำ

พอพ้นในยุคก่อนปี 40 มาก็มี "แฟชั่น" ของหุ้นชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ ด้วยอานิสงค์ของตลาดหุ้น NASDAQ อันร้อนแรง หุ้นติดชาร์ตก็หนีไม่พ้น HANA DELTA KCE และก็ค่อย ๆ เสื่อมลงไปตามกระแสของหุ้นดอทคอมพ์

พอผ่านขึ้นมาอีกก็มีเทรนด์ของหุ้นพลังงาน หลังจากที่ PTT เข้ามาในตลาดได้ 1-2 ปี พร้อม ๆ กับ PTT วิ่งจาก 30 มา 300 บาท
อย่างไรก็ตามในตอนนั้นหุ้นค้าปลีกก็ไม่เป็นที่นิยม CPALL ตอนที่ยังเป็น CP7-11 มีการซื้อขายต่อวันไม่มากนัก เช่นเดียวกับ MAKRO ราคาก็อยู่ในกรอบแคบ ๆ เช่นเดียวกับหุ้นรพ. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะบอกว่ามันเป็นแฟชั่นอย่างเดียวมันก็คงไม่ได้ครับ เพราะในเชิงเรื่องราวของหุ้นเหล่านั้นมันก็มีการเติบโตมีการขยายงานขึ้นจริง เพียงแต่เราอาจจะต้องซื้อหุ้นเหล่านั้นแพงขึ้นบ้าง เพราะมุมมองของคนที่ซื้อเค้าก็มองว่าบ.จะโตขึ้นไปได้อีก

ที่ไล่เรื่องราวมาทั้งหมดนั้น ผมว่าเรื่องราวของหุ้นเหล่านี้ บางครั้งมันก็เหมือนการซื้อที่ดินครับ ที่ดินบางแห่งถ้าทำเลไม่ดี ถึงจะถูกอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไปราคามันก็อาจจะไม่ขึ้น ที่ดินบางแห่งราคาแพงแต่บางครั้งเนื่องจากอยู่ในทำเลที่ดีก็อาจจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นจะมากจะน้อยขึ้นกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ดินบางแห่งอาจจะไม่แพงแต่อาจจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคามันถึบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มีถนนตัดผ่าน มีรถไฟฟ้าผ่าน ถ้าเราซื้อตั้งแต่ก่อนมันจะมีการตัดผ่านของถนนหรือรถไฟฟ้า เราก็คงได้ผลตอบแทนสูงแต่ถ้าเรามาซื้อตอนหลังผลตอบแทนก็อาจจะน้อยลงหรือมีโอกาสขาดทุน

ผมว่าถ้าเราต้องซื้อหุ้นอะไรก็ตาม ถ้ามันต้องบวกค่าพรีเมี่ยมขึ้นไปเพื่อที่จะให้ได้หุ้นนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังครับ อย่าได้เชื่อเพียงเพราะคำว่า "คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นแบบนั้น" เพราะหลายครั้งความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็อาจจะผิดได้ครับ


leky เขียน: ถ้าจะมองในแง่ของความเป็นหุ้นสถาบัน อันนี้ก็ตรงไปตรงมาครับว่าถ้าเมื่อไหร่มีเงินจากต่างชาติไหลเข้ามา หุ้นที่เป็นเป้าหมายหนึ่งของกองทุนต่างชาติก็หนีไม่พ้นหุ้นธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ครับ
อันนี้ก็จริงที่สุดครับ จนบางครั้งหุ้นสถาบันดังกล่าวมีราคาเคลื่อนไหวผันผวนกว่าหุ้นปั่นบางตัวอีกเนื่องจากในปัจจุบันเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกเร็วมาก แต่ความผันผวนนั่นก็มองได้ว่าเป็นโอกาสนะครับ

ผมเคยอ่านเรื่องพวก fund flow มาบ้าง มันอาจจะไม่ถูกทั้งหมดนะครับ ที่เคยอ่านเจอบางครั้งกองทุนเหล่านี้มันมีทั้งนักลงทุนระยะยาวและกองทุนเก็งกำไร การเลือกหุ้นของเค้าโดยเฉพาะพวกกองทุนเก็งกำไรบางทีเค้าจะเน้นหุ้นที่สภาพคล่องสูง เข้าง่ายออกง่าย พื้นฐานพอใช้ได้ ถ้าคิดจะขายเมื่อไหร่ก็มีคนมารับแรงขายของเค้า ตรงนี้เราต้องระวังครับ เพราะการไหลเข้าของเงินเหล่านี้มันจะทำให้หุ้นมีราคาขึ้นไปและเราอาจจะเข้าใจว่าเพราะพื้นฐานมันรองรับครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 124

โพสต์

ขอคุยต่ออีกหน่อยครับ :D

ไม่รู้มีใครเคยเห็นเหมือนผมหรือเปล่า ถ้าตอนนี้เรากำลังพูดถึงหุ้นค้าปลีกหรืออะไรที่เกี่ยวข้องกันรวมถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ซึ่งหุ้นเหล่านี้ค่า PE ก็จะอยู่ในช่วง 25-40 แล้วแต่ว่าเป็นตลาดในช่วงไหน ไม่ว่าจะเป็น CPALL HMPRO GLOBAL CPN

บางครั้งผมก็แปลกใจว่าหุ้นบางตัวทำไมนลท.เหมือนจะไม่ให้ความสนใจมากนัก (ถ้าผมไม่คิดไปเอง) ยกตัวอย่างเช่น SPC (ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้มีหุ้นตัวนี้นะครับ) ทั้ง ๆ ที่ถ้าจะว่าไปแล้วสินค้าของกลุ่มบ.นี้ เรายากที่จะปฏิเสธว่าถ้าเราลองดูสินค้าที่เราต้องซื้อมาใช้ในชีวิตประจำวัน มันยากที่จะหนีพ้นจะสินค้าของกลุ่มบ.นี้จริง ๆ แต่แล้วทำไม PE ที่นายตลาดให้กับหุ้นตัวนี้ถึงไม่เคยเกิน 15 ยังไม่นับว่าบ.ก็มีร้านค้าปลีกที่เดิมชื่อ 108 shop ก่อนจะเริ่มมาชุบตัวใหม่ผสมแบรนด์จากญี่ปุ่นเป็น Lawson

เองเคยพยายามคิดว่ามันเป็นเพราะอะไร ซึ่งมันก็อาจจะเป็นไปได้หลายอย่าง แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่าอะไรคือเหตุผลที่แท้จริง

1) นลท.อาจจะไม่สนใจหุ้นตัวนี้จริง ๆ ไม่ต้องอะไรมาก หุ้นเก่าแก่ตัวนี้มีจำนวนหน้าในห้องร้อยคนฯ แค่ 4 หน้า
2) การขยายตัวของรายได้ไม่ aggressive เมื่อเทียบกับหุ้นค้าปลีกตัวอื่น
3) บ.ไม่ค่อยเป็นข่าว
4) บ.ในกลุ่มมีนโยบายปันผลที่บางครั้งก็ดูแปลก ๆ เหมือนต้องการจะเก็บกำไรเอาไว้กับบ.มากกว่าจ่ายเงินออกมา เช่น SPI ที่มี SPC ถือหุ้นใหญ่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล "จ่ายขั้นต่ำ 0.10 บาทต่อหุ้น" ทำให้นลท.ที่หวังเงินปันผลก็ไม่สนใจที่จะซื้อหุ้น

บางครั้งผมจึงรู้สึกว่าหุ้นตัวหนึ่งราคามันจะเป็นอย่างไหร จะขึ้นจะลง ส่วนหนึ่งมันก็มีเรื่องของ "ความรู้สึกน่าสนใจของคนส่วนใหญ่" เข้ามาเกี่ยวข้องครับ :D
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 125

โพสต์

leky เขียน: 4) บ.ในกลุ่มมีนโยบายปันผลที่บางครั้งก็ดูแปลก ๆ เหมือนต้องการจะเก็บกำไรเอาไว้กับบ.มากกว่าจ่ายเงินออกมา เช่น SPI ที่มี SPC ถือหุ้นใหญ่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล "จ่ายขั้นต่ำ 0.10 บาทต่อหุ้น" ทำให้นลท.ที่หวังเงินปันผลก็ไม่สนใจที่จะซื้อหุ้น

บางครั้งผมจึงรู้สึกว่าหุ้นตัวหนึ่งราคามันจะเป็นอย่างไหร จะขึ้นจะลง ส่วนหนึ่งมันก็มีเรื่องของ "ความรู้สึกน่าสนใจของคนส่วนใหญ่" เข้ามาเกี่ยวข้องครับ :D

ผมว่าข้อ 4 นี่แหละครับ ที่ทำให้หุ้นอีกเยอะตลาด ที่ได้ชื่อว่า กิจการดี แต่หุ้นถูกตลอดกาล ดักดาน forever
ประเมินออกมา ว่าได้ของดีราคาถูก... แต่ซื้อแล้วไม่ถอยหลัง แต่ก็ไม่เดินหน้า กลายเป็นชีวิตติดหล่มตัดสินใจผิดไปซะงั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 126

โพสต์

พิมพ์ตกครับ

ทำให้หุ้นอีกเยอะในตลาด
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 127

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ขอถามคุณไกล่เกลี่ยเพิ่มนะครับ หากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป

1. จากมุมมองของบัฟเฟตต์และมังเกอร์ ที่เค้าอธิบายว่าเค้าแฮปปี้กับ กับ Well Fargo เพราะ Cost of fund ต่ำ มุมมองนี้ยังเป็นจริงในปัจจุบันหรือไม่ครับ
เป็นคำถามที่ดีมากครับและแสดงให้เห็นว่าคุณ NB ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ผมต้องขอบคุณ คุณ NB สำหรับคำถามที่ทำให้ผมได้คิดนะครับ

ผมเห็นด้วยกับ Buffet และ Munger ในเรื่อง Cost of Fund ของ Well Fargo ครับ Buffet เข้าใจธุรกิจการเงินเป็นอย่างดีและเก่งมากในเรื่องการหา source of fund ที่มี cost ต่ำๆไปสร้างผลตอบแทนสูงๆ เช่น GEICO ยังไงครับ

Nevercry.boy เขียน:มุมมองผมนะครับ: แบงค์ที่ Cost of fund ต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบเล็ก กลาง ใหญ่ คือ Kbank ครับ
ใช่ครับ KBANK มี cost ต่ำสุดจากที่มี %CASA เยอะนี่ละครับ
Nevercry.boy เขียน:2. การควบคุมการดำเนินงาน บัฟเฟตต์ให้ความเห็นว่า คนที่ดำเนินงานแบบ Conservative จะมีโอกาส ประสบความสำเร็จมากกว่า ในมุมมองผม: Cost of Operation ต่ำสุดคือ SCB ครับ
เรื่อง cost of operation ไม่ใช่แค่ต้อง conservative อย่างเดียวแต่คงต้องฉลาดในการใช้เงินด้วย ใช่ครับ SCB เก่งเรื่องนี้ทั้งในส่วนของเรื่องฉลาดใช้จ่ายและสร้างผลตอบแทนได้สูง ที่สำคัญคือเป็นผลตอบแทนที่มีคุณภาพด้วยครับจากสัดส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวม แสดงให้เห็นว่า SCB ทราบว่าควรจะเน้นเติบโตทางด้านไหนจึงจะดีที่สุด
Nevercry.boy เขียน:3. บัฟเฟตต์ให้ความเห็นว่าอย่าทำอะไรโง่ ๆ กับ พอร์ตสินทรัพย์

Kbank NPL อยู่ที่ 2.02 coverage ratio อยู่ที่ 139%
SCB NPL 2.06 coverage ratio 155%
BBL NPL 2.18 coverage ratio 213% ---- สูงสุดในกลุ่มธนาคาร
Bay NPL 1.68 coverage ratio 139%
KTB NPL 2.86 coverage ratio 115%
BBL มี Coverage Ratio สูงที่สุด ผมเองไม่แน่ใจนักว่าจะให้ความเห็นเรื่องนี้ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากการตั้งสำรองส่วนเกินเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร ผมเดาเอาว่า BBL มีสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เป็นหลัก ซึ่งมีจำนวนลูกค้าที่น้อยรายกว่าสินเชื่อรายย่อย หากมีหนี้เสียขึ้นมาในแต่ละรายก็อาจจะทำให้กระทบการตั้งสำรองขึ้นมาในทันที ดังนั้นผู้บริหารจึงตั้งเผื่อไว้มากเป็นพิเศษครับ
Nevercry.boy เขียน:TCAP NPL 4.49 coverage ratio 84% ----- บอกอะไรหรือเปล่า?
Tisco NPL 1.46 coverage ratio 128%
KKP NPL 3.71 coverage ratio 100.5%
TMB NPL 3.58 coverage ratio 147%

รบกวนชี้แนะด้วยครับ
- ถามว่าตัวเลขนี้บอกอะไรหรือเปล่า ตัวเลขนี้บอกว่า TCAP มี NPL คงค้างอยู่มากกว่า Bank อื่น และมีการตั้งสำรองไม่ถึง 100% ของค่า NPL คงค้างดังกล่าวครับ (NPL = 37,540 ล้านบาท และตั้งสำรอง = 31,013 ล้านบาท)

- ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนครับว่า NPL คงค้างดังกล่าวบอกอะไรกับเรา จริงๆแล้ว NPL ในแต่ละประเภทของสินเชื่อมักจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ (1) ประเภทสินเชื่อว่าเป็นแบบไหน มีหลักประกันอะไรบ้างและ cover มูลค่าสินเชื่อนั้นหรือไม่ (2) ความสามารถในการหารายได้ของลูกหนี้สินเชื่อในประเภทนั้นๆ เช่นรายย่อย, SME, ธุรกิจรายใหญ่ เป็นต้น

- ถามว่าแล้วทำไม NPL คงค้างของ TCAP จึงมากกว่ารายอื่น? ที่มาของ NPL ดังกล่าวมาจาก NPL ที่ติดมากับ SCIB ตอนที่ TBANK ซื้อ SCIB นั่นเองครับ อย่างที่เคยบอกว่าสินเชื่อเช่าซื้อนั้นมี NPL ที่ 1% ต้นๆและเพิ่มมาเป็น 2% เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา มาลองดูรายละเอียดกันดีกว่า
ธุรกิจขนาดใหญ่ = 148,995 ล้านบาท, NPL = 11,847 ล้านบาท (7.95%) (นี่คือจาก SCIB ครับ)
สินเชื่อเช่าซื้อ = 439,984 ล้านบาท, NPL = 9,221 ล้านบาท (2.1%)

- Bank เก่าแก่อื่นๆก่อนหน้านี้ก็มี NPL คงค้างสูงเหมือนกัน แล้วก็ใช้วิธีการตัดหนี้สูญจากส่วนสำรอง หรือขายหนี้ให้คนอื่นในราคาถูก

- แล้วทำไม TCAP ไม่จัดการกับ NPL พวกนี้? เป็นดุลยพินิจของผู้บริหารอีกเช่นกันครับที่จะจัดการอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วผู้บริหารมีโอกาสที่จะทำได้สบายๆครับนั่นคือเอากำไรพิเศษจากการขาย TLIFE เกือบๆ 6,000 ล้านบาทมาตั้งสำรองเพิ่มแค่นี้ Coverage Ratio ก็ 100% แล้ว การทำ Big Bath เป็นเรื่องไม่ยากครับ จำได้ว่าปี 2555 TMB ก็ทำจนใน Q4 ขาดทุนเลย พอทำแล้วหุ้นก็ขึ้นเรื่อยๆ

- แต่ผู้บริหารกลับเชื่อความสามารถของตัวเองในการปรับโครงสร้างหนี้ คุณบันเทิงและคุณศุภเดชผ่านประสบการณ์การปรับโครงสร้างหนี้ในยุคปี 40 มาเยอะครับ ลองหาข้อมูลเก่าๆดู ถามว่าผมเชื่อว่าผู้บริหารจะทำได้ไหม? เราควรต้องไม่เชื่อไว้ก่อนใช่ไหมครับ

- ถ้าเราไม่เชื่อ เราลองมาคำนวณกันดีกว่าภายใต้สมมติฐานว่าสินเชื่อเท่าเดิม หนี้เสียแย่เท่ากับปีก่อน (ที่ถือว่าแย่จากราคารถมือสองที่ขาดทุนหนัก) การปรับโครงสร้างหนี้ทำไม่ได้เลย และ TBANK ตั้งสำรองเพิ่มเพื่อให้ Cover NPL ดังกล่าวเพิ่มปีละ 2 พันล้านรวม 3 ปี สิ่งที่จะกระทบกับ TCAP คือกำไรของ TCAP หายไป 0.83 บาทเป็นระยะเวลา 3 ปี (อันนี้แบบ Conservative แล้วนะครับ) จะได้ว่า PE ที่ราคาปัจจุบันคือ 7 เท่า ยังถูกอยู่ไหมครับ?
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 128

โพสต์

Ii'8N เขียน:
leky เขียน: 4) บ.ในกลุ่มมีนโยบายปันผลที่บางครั้งก็ดูแปลก ๆ เหมือนต้องการจะเก็บกำไรเอาไว้กับบ.มากกว่าจ่ายเงินออกมา เช่น SPI ที่มี SPC ถือหุ้นใหญ่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล "จ่ายขั้นต่ำ 0.10 บาทต่อหุ้น" ทำให้นลท.ที่หวังเงินปันผลก็ไม่สนใจที่จะซื้อหุ้น

บางครั้งผมจึงรู้สึกว่าหุ้นตัวหนึ่งราคามันจะเป็นอย่างไหร จะขึ้นจะลง ส่วนหนึ่งมันก็มีเรื่องของ "ความรู้สึกน่าสนใจของคนส่วนใหญ่" เข้ามาเกี่ยวข้องครับ :D

ผมว่าข้อ 4 นี่แหละครับ ที่ทำให้หุ้นอีกเยอะตลาด ที่ได้ชื่อว่า กิจการดี แต่หุ้นถูกตลอดกาล ดักดาน forever
ประเมินออกมา ว่าได้ของดีราคาถูก... แต่ซื้อแล้วไม่ถอยหลัง แต่ก็ไม่เดินหน้า กลายเป็นชีวิตติดหล่มตัดสินใจผิดไปซะงั้น
เดิมทีผมก็เชื่อว่าอย่างนั้นนะครับ แต่พอผมมาดูเงินปันผลของหุ้นที่มี PE 25-40 ดังกล่าวข้างต้น ผมก็เลยชักจะไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่
จริง ๆ มันมีเหตุผลอีกหลายข้อที่มันเป็นไปได้นะครับ

5) เป็นคล้าย ๆ holding company ที่มักจะโดนตลาดให้ PE ต่ำกว่าบ.ปกติ
6) มีกิจการส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอ ที่เป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดิน

แต่ไม่ว่าจะจากเหตุผลอะไรก็ตาม บางทีผมก็เรียกว่าเป็น "ธรรมชาติของหุ้นตัวนั้น" ธรรมชาติของมันที่ราคาจะไม่ไปไหน ไม่ตกแต่ก็ไม่ขึ้น เหตุผลก็ไม่ชัดเจน รู้แต่ว่าหุ้นตัวนั้นมักจะเป็นแบบนี้ :D

หุ้น growth หรือหุ้น PE สูงเหล่านั้น ผมคิดว่าการที่มันยืนที่ราคาตรงนั้นได้ ผมว่าอาจจะมีส่วนจากการที่สถาบันมักจะถือหุ้นเหล่านั้น นั่นแปลว่าการเติบโตของตลาดหุ้น กองทุนรวมที่เพิ่มขึ้น เมื่อมองไปที่บ.ในตลาดที่จะเข้าเกณฑ์การที่จะเข้าไปซื้อหุ้นของกองทุนเหล่านี้ สุดท้ายก็จะเหลือบ.ที่น่าสนใจอยู่เพียงไม่กี่บ.

และก็เช่นกันการเติบโตของมันก็ไม่ใช่จะไม่มีวันจบ ถ้าวันหนึ่งบ.ขยายไม่ได้หรือมีการสะดุดจากอะไรก็แล้วแต่ คนที่เข้ามาซื้อหุ้นตอนที่ราคาหุ้นสูงก็อาจจะเจ็บหนักได้เช่นกัน เหมือนอย่างกรณีของหุ้นค้าปลีกหนังสือกับอุปกรณ์ IT ที่กำลังประสบปัญหากันอยู่ครับ :D
"Become a risk taker, not a risk maker"
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 129

โพสต์

leky เขียน:ถ้าให้ผมเดาคุณ kraikria น่าจะอยู่ในตลาดก่อนปี 40 หรือเปล่าครับ เพราะคอมเม้นต์ตรงนี้ถ้าไม่ใช่คนที่เคยอยู่ในตลาดก่อนปี 40 อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไหร่

จริง ๆ คำว่า "ค่าพรีเมี่ยม" คืออะไร สำหรับผม ๆ มองมันเหมือนแฟชั่นของหุ้นในยุคหนึ่ง ๆ ในยุคก่อนปี 40 หุ้นกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ PE สูง ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการเก็งกำไร หุ้นแบงค์จะมาในช่วงหลัง ๆ อีกกลุ่มหนึ่งที่ผมว่ายิ่งกว่ากลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์คือหุ้นกลุ่มสื่อสาร PE สูง หลายตัวยังไม่มีกำไร เป็นโครงการในกระดาษ แต่มันเป็นแฟชั่นในยุคนั้น ตอนนั้นแทบไม่ค่อยมีหุ้นค้าปลีก หุ้นพลังงานมีแต่ PTTEP แต่ก็ไม่ค่อยนิยมมากนัก

ถ้าจะว่ากันไปถ้าเป็นก่อนยุคปี 40 มากหน่อยเชื่อหรือไม่ว่า PDI เคยเป็นหุ้นติดชาร์ตอันดับหนึ่งของ SET ที่ผมจำได้เพราะตอนนั้นยังวัยรุ่นดูข่าวภาคค่ำที่มีข่าวสรุปหุ้นรายวันก็จะต้องได้ยินว่า PDI ติดอันดับการซื้อขาย ตอนนั้นผมไม่รู้ว่ามันคือบ.อะไรหรอกครับ แต่ที่จำได้เพราะชื่อบ.มันฟังดูแปลก ๆ พอผ่านมาอีกไม่กี่ปีก็หุ้นกลุ่มอสังหาฯ จากผลของการเก็งกำไรที่ดินในยุคนั้น จะว่าไปหุ้นกลุ่มนี้ตกต่ำตั้งแต่ก่อนที่จะเจอวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 ล่วงหน้าอยู่หลายปีด้วยซ้ำ

พอพ้นในยุคก่อนปี 40 มาก็มี "แฟชั่น" ของหุ้นชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ ด้วยอานิสงค์ของตลาดหุ้น NASDAQ อันร้อนแรง หุ้นติดชาร์ตก็หนีไม่พ้น HANA DELTA KCE และก็ค่อย ๆ เสื่อมลงไปตามกระแสของหุ้นดอทคอมพ์

พอผ่านขึ้นมาอีกก็มีเทรนด์ของหุ้นพลังงาน หลังจากที่ PTT เข้ามาในตลาดได้ 1-2 ปี พร้อม ๆ กับ PTT วิ่งจาก 30 มา 300 บาท
อย่างไรก็ตามในตอนนั้นหุ้นค้าปลีกก็ไม่เป็นที่นิยม CPALL ตอนที่ยังเป็น CP7-11 มีการซื้อขายต่อวันไม่มากนัก เช่นเดียวกับ MAKRO ราคาก็อยู่ในกรอบแคบ ๆ เช่นเดียวกับหุ้นรพ. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะบอกว่ามันเป็นแฟชั่นอย่างเดียวมันก็คงไม่ได้ครับ เพราะในเชิงเรื่องราวของหุ้นเหล่านั้นมันก็มีการเติบโตมีการขยายงานขึ้นจริง เพียงแต่เราอาจจะต้องซื้อหุ้นเหล่านั้นแพงขึ้นบ้าง เพราะมุมมองของคนที่ซื้อเค้าก็มองว่าบ.จะโตขึ้นไปได้อีก

ที่ไล่เรื่องราวมาทั้งหมดนั้น ผมว่าเรื่องราวของหุ้นเหล่านี้ บางครั้งมันก็เหมือนการซื้อที่ดินครับ ที่ดินบางแห่งถ้าทำเลไม่ดี ถึงจะถูกอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไปราคามันก็อาจจะไม่ขึ้น ที่ดินบางแห่งราคาแพงแต่บางครั้งเนื่องจากอยู่ในทำเลที่ดีก็อาจจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นจะมากจะน้อยขึ้นกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ดินบางแห่งอาจจะไม่แพงแต่อาจจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคามันถึบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มีถนนตัดผ่าน มีรถไฟฟ้าผ่าน ถ้าเราซื้อตั้งแต่ก่อนมันจะมีการตัดผ่านของถนนหรือรถไฟฟ้า เราก็คงได้ผลตอบแทนสูงแต่ถ้าเรามาซื้อตอนหลังผลตอบแทนก็อาจจะน้อยลงหรือมีโอกาสขาดทุน

ผมว่าถ้าเราต้องซื้อหุ้นอะไรก็ตาม ถ้ามันต้องบวกค่าพรีเมี่ยมขึ้นไปเพื่อที่จะให้ได้หุ้นนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังครับ อย่าได้เชื่อเพียงเพราะคำว่า "คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นแบบนั้น" เพราะหลายครั้งความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็อาจจะผิดได้ครับ
ครับ ผมอยู่ในตลาดในยุคปี 40 และก็มีใบกระดาษหุ้น Finance ที่ถูกปิดอยู่ที่บ้าน ยุคสมัยนั้นข้อมูลคือข่าวในห้องค้า พื้นฐานบริษัทคือ PE โดยไม่ต้องดูงบการเงิน แมงเม่าดีๆนี่เองครับ

หลังจากนั้นผมไม่เคยให้ "พรีเมียม" กับธุรกิจตัวไหน ดูว่าราคาถูกเป็นหลัก และธุรกิจต้องไม่แย่ลงหรือล้มลงไป นั่นคือ Cheap และ Safe เท่านั้น
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 130

โพสต์

ได้สนธนากับคุณไกล่เกลี่ยแล้ว รู้สึกถึงความรู้และน้ำใจมากครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
shanghaigeny
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3822
ผู้ติดตาม: 78

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 131

โพสต์

ขอบคุณที่คุณไกล่เกลี่ย มาให้ความรู้มือใหม่อย่างผม
แต่ดูจากมุมมองการลงทุนต่อ TCAP คุณไกล่เกลี่ย อยากจะบอกเป็นนัย ว่าต้องการลงทุนในบริษัทประเภท Good to GREAT ! หรือปล่าวครับ :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 132

โพสต์

leky เขียน:
Ii'8N เขียน:
leky เขียน: 4) บ.ในกลุ่มมีนโยบายปันผลที่บางครั้งก็ดูแปลก ๆ เหมือนต้องการจะเก็บกำไรเอาไว้กับบ.มากกว่าจ่ายเงินออกมา เช่น SPI ที่มี SPC ถือหุ้นใหญ่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล "จ่ายขั้นต่ำ 0.10 บาทต่อหุ้น" ทำให้นลท.ที่หวังเงินปันผลก็ไม่สนใจที่จะซื้อหุ้น

บางครั้งผมจึงรู้สึกว่าหุ้นตัวหนึ่งราคามันจะเป็นอย่างไหร จะขึ้นจะลง ส่วนหนึ่งมันก็มีเรื่องของ "ความรู้สึกน่าสนใจของคนส่วนใหญ่" เข้ามาเกี่ยวข้องครับ :D

ผมว่าข้อ 4 นี่แหละครับ ที่ทำให้หุ้นอีกเยอะตลาด ที่ได้ชื่อว่า กิจการดี แต่หุ้นถูกตลอดกาล ดักดาน forever
ประเมินออกมา ว่าได้ของดีราคาถูก... แต่ซื้อแล้วไม่ถอยหลัง แต่ก็ไม่เดินหน้า กลายเป็นชีวิตติดหล่มตัดสินใจผิดไปซะงั้น
เดิมทีผมก็เชื่อว่าอย่างนั้นนะครับ แต่พอผมมาดูเงินปันผลของหุ้นที่มี PE 25-40 ดังกล่าวข้างต้น ผมก็เลยชักจะไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่
จริง ๆ มันมีเหตุผลอีกหลายข้อที่มันเป็นไปได้นะครับ

5) เป็นคล้าย ๆ holding company ที่มักจะโดนตลาดให้ PE ต่ำกว่าบ.ปกติ
6) มีกิจการส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอ ที่เป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดิน

แต่ไม่ว่าจะจากเหตุผลอะไรก็ตาม บางทีผมก็เรียกว่าเป็น "ธรรมชาติของหุ้นตัวนั้น" ธรรมชาติของมันที่ราคาจะไม่ไปไหน ไม่ตกแต่ก็ไม่ขึ้น เหตุผลก็ไม่ชัดเจน รู้แต่ว่าหุ้นตัวนั้นมักจะเป็นแบบนี้ :D

หุ้น growth หรือหุ้น PE สูงเหล่านั้น ผมคิดว่าการที่มันยืนที่ราคาตรงนั้นได้ ผมว่าอาจจะมีส่วนจากการที่สถาบันมักจะถือหุ้นเหล่านั้น นั่นแปลว่าการเติบโตของตลาดหุ้น กองทุนรวมที่เพิ่มขึ้น เมื่อมองไปที่บ.ในตลาดที่จะเข้าเกณฑ์การที่จะเข้าไปซื้อหุ้นของกองทุนเหล่านี้ สุดท้ายก็จะเหลือบ.ที่น่าสนใจอยู่เพียงไม่กี่บ.

และก็เช่นกันการเติบโตของมันก็ไม่ใช่จะไม่มีวันจบ ถ้าวันหนึ่งบ.ขยายไม่ได้หรือมีการสะดุดจากอะไรก็แล้วแต่ คนที่เข้ามาซื้อหุ้นตอนที่ราคาหุ้นสูงก็อาจจะเจ็บหนักได้เช่นกัน เหมือนอย่างกรณีของหุ้นค้าปลีกหนังสือกับอุปกรณ์ IT ที่กำลังประสบปัญหากันอยู่ครับ :D
ดูเหมือนราคาหุ้น SPC จะสอดคล้องกับ ROE รึเปล่าครับ พี่ leky
ROE วิ่งอยู่แถวๆ 10 กว่าๆ มานาน
http://www.set.or.th/set/companyhighlig ... country=TH

ผมว่า ตลาดก็น่าจะมีประสิทธิภาพพอสมควร แค่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นบางเวลาเท่านั้น :8)
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 133

โพสต์

คุณไกล่เกลี่ยครับ

ไหน ๆ แล้ว ผมขออนุญาต ถามเพิ่มเติมเลยนะครับ

1. คุณไกล่เกลี่ยมีความเห็นกับสินเชื่อที่ปล่อย โดย นอนแบงค์ อย่างไรบ้างครับ เช่น Thani. หรือ ifs. ที่ทำแฟคตอริ่งและเน้น sme. เป็นหลัก หรือ ask กับรถป้ายแดง

ความเห็นผม น่าสนใจเพราะสามารถ leverage. เงินทุนและเข้าถึง นิชมาร์เก๊ต ง่าย ข้อเสียคือ ที่ผมกังวลตลอดคือความสามารถในการสู้กับแบงค์ใหญ่

2. นอนแบงค์อีกกลุ่มที่ผมสนใจและลงทุนคือบัตรเครดิต ผมพบว่าพอร์ตของพวกเค้าโตเร็ว การ raise เงินของบริษัทเช่นอิออน มี cost of fund. ที่เร็ว

รบกวนขอความเห็นครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 134

โพสต์

Nevercry.boy เขียน: Kbank NPL อยู่ที่ 2.02 coverage ratio อยู่ที่ 139%
SCB NPL 2.06 coverage ratio 155%
BBL NPL 2.18 coverage ratio 213% ---- สูงสุดในกลุ่มธนาคาร
Bay NPL 1.68 coverage ratio 139%
KTB NPL 2.86 coverage ratio 115%
TCAP NPL 4.49 coverage ratio 84% ----- บอกอะไรหรือเปล่า?
Tisco NPL 1.46 coverage ratio 128%
KKP NPL 3.71 coverage ratio 100.5%
TMB NPL 3.58 coverage ratio 147%
เคยอ่านสารนิพนธ์พูดถึงbasel ii
ซึ่งอธิบายวิธีการประเมินความเสี่ยงเพื่อการตั้งสำรอง
ว่าแบงค์สามารถใช้ข้อมูลการปล่อยสินเชื่อในอดีต
มาประเมินเพื่อกันสำรองได้
ทำให้แต่ละแบงค์ต้องกันสำรองสินเชื่อชนิดเดียวกันไม่เท่ากัน
และในภาวะเศรษฐกิจที่ต่างกัน
แบงค์สามารถใช้สัมประสิทธิ์ความเสี่ยงที่ไม่เท่ากันได้ด้วย โดยภาวะเศรฐษกิจดีจะต้องใช้สัมประสิทธิ์ที่ค่าสูงเพื่อป้องกันลูกค้าบางรายที่อาจตกเกณฑ์เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี

จากข้างต้นพี่ไกล่เกลี่ยคิดว่าไงครับ
1.บางทีการตั้งสำรองจำนวนสูงๆของแต่ละแบงค์อาจไม่สามารถบอกว่าแต่ละแบงค์มีความอนุรักษ์นิยมแค่ไหน
เพราะความเสี่ยงของลูกค้าโดนกำหนดมาตั้งแต่ตอนประเมินความเสี่ยงแล้ว
หากลูกค้ามีความเสี่ยงสูงแบงค์ก็ต้องตั้งสำรองสูงตามความเสี่ยงลูกค้า
2.ที่เราเคยเชื่อว่าการตั้งสำรองขึ้นกับความเห็นของผบห.เป็นสำคัญ ความเชื่อนี้ยังเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ตอนนี้เรามีrisk modelที่โดนบังคับใช้จำนวนมากและเข้มข้นมากขึ้นๆ
ขอบคุณครับ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 135

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:คุณไกล่เกลี่ยครับ

ไหน ๆ แล้ว ผมขออนุญาต ถามเพิ่มเติมเลยนะครับ

1. คุณไกล่เกลี่ยมีความเห็นกับสินเชื่อที่ปล่อย โดย นอนแบงค์ อย่างไรบ้างครับ เช่น Thani. หรือ ifs. ที่ทำแฟคตอริ่งและเน้น sme. เป็นหลัก หรือ ask กับรถป้ายแดง

ความเห็นผม น่าสนใจเพราะสามารถ leverage. เงินทุนและเข้าถึง นิชมาร์เก๊ต ง่าย ข้อเสียคือ ที่ผมกังวลตลอดคือความสามารถในการสู้กับแบงค์ใหญ่
Thani โตเร็วมากเลยครับ จำได้ว่าตอนนี้เป็นที่ 1 รถบรรทุกมือสอง และสูสีกับ ASK ในรถบรรทุกมือหนึ่ง (ไม่รู้จำสลับกันหรือเปล่า) ตอนนี้ Thani เริ่มบุกรถ Taxi ด้วย ซึ่งดูเหมือนว่าผลตอบรับดีทีเดียว ส่วน ASK เก่งมากเรื่องรถตู้ครับ ยังไม่มีใครสู้ได้

ถ้าถามเรื่องความสามารถในการแข่งขัน Bank ไม่มาแข่งเรื่องรถมือสองแน่ๆครับ ราคาบรรทุกรถมือสองไม่ได้ขึ้นกับปีที่ออกรถเนื่องจากมักมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนกะบะบรรทุกใหม่ แค่นี้ Bank ก็ตีราคาไม่เป็นแล้วครับ ส่วนรถบรรทุกมือหนึ่งเองก็ขึ้นอยู่กับ dealer ย่อยๆพอสมควร พวกนี้ไม่ส่งให้ Bank เลย ส่งให้แต่ Thani กับ ASK

ตลาดตรงนี้ Yield สูงมากถึงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องพึ่งเครือข่ายพนักงานที่ตามติดไปถึงลูกค้า ลูกค้าประเภทนี้ไม่เดินมาที่ Bank หรอกครับ แต่ก็ไม่แน่ อะไรก็เปลี่ยนได้เสมอเพียงแต่คงไม่ใช่เร็วๆนี้แน่นอน

ที่น่ากังวลสำหรับ Thani ก็คือการสำรองหนี้เสียที่เพิ่มมากๆใน Q4 ที่ผ่านมา ผมไม่ทราบรายละเอียดแต่เดาเอาว่าช่วงนี้เกษตรกรลำบากครับ คงรู้ว่าเพราะอะไรนะครับ

ส่วน IFS เค้าเป็นที่ 2 เรื่อง Factoring รองจาก KBANK ผมคิดว่าคุณ NB หรือคุณ Saran อาจจะมีข้อมูลมากกว่าผมก็ได้ครับ :-) ความเห็นผมคือสินเชื่อประเภทนี้ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่ SME ที่นำ invoice มาขาย เนื่องจากว่า invoice เหล่านั้นเป็นของบริษัทใหญ่ๆที่ SME ทำธุรกิจด้วย ผมว่า IFS เก่งทีเดียวครับและก็ยังมีโอกาสในการโตได้อีกพอสมควร

Nevercry.boy เขียน:2. นอนแบงค์อีกกลุ่มที่ผมสนใจและลงทุนคือบัตรเครดิต ผมพบว่าพอร์ตของพวกเค้าโตเร็ว การ raise เงินของบริษัทเช่นอิออน มี cost of fund. ที่เร็ว

รบกวนขอความเห็นครับ
พวกบัตรเครดิตผมคิดว่าความเสี่ยงสูงเนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน อาจจะขัดหลักความปลอดภัย (safe) ของผม ผมเองเคยลงทุนธุรกิจแบบี้แค่ช่วงสั้นๆขาขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าพูดถึง AEON ผมว่าเค้าเก่งมากนะครับ และธุรกิจเค้าก็ไม่ใช่แค่บัตรเครดิตอย่างเดียวซะด้วย :-)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 136

โพสต์

anubist เขียน:
Nevercry.boy เขียน: Kbank NPL อยู่ที่ 2.02 coverage ratio อยู่ที่ 139%
SCB NPL 2.06 coverage ratio 155%
BBL NPL 2.18 coverage ratio 213% ---- สูงสุดในกลุ่มธนาคาร
Bay NPL 1.68 coverage ratio 139%
KTB NPL 2.86 coverage ratio 115%
TCAP NPL 4.49 coverage ratio 84% ----- บอกอะไรหรือเปล่า?
Tisco NPL 1.46 coverage ratio 128%
KKP NPL 3.71 coverage ratio 100.5%
TMB NPL 3.58 coverage ratio 147%
เคยอ่านสารนิพนธ์พูดถึงbasel ii
ซึ่งอธิบายวิธีการประเมินความเสี่ยงเพื่อการตั้งสำรอง
ว่าแบงค์สามารถใช้ข้อมูลการปล่อยสินเชื่อในอดีต
มาประเมินเพื่อกันสำรองได้
ทำให้แต่ละแบงค์ต้องกันสำรองสินเชื่อชนิดเดียวกันไม่เท่ากัน
และในภาวะเศรษฐกิจที่ต่างกัน
แบงค์สามารถใช้สัมประสิทธิ์ความเสี่ยงที่ไม่เท่ากันได้ด้วย โดยภาวะเศรฐษกิจดีจะต้องใช้สัมประสิทธิ์ที่ค่าสูงเพื่อป้องกันลูกค้าบางรายที่อาจตกเกณฑ์เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี

จากข้างต้นพี่ไกล่เกลี่ยคิดว่าไงครับ
1.บางทีการตั้งสำรองจำนวนสูงๆของแต่ละแบงค์อาจไม่สามารถบอกว่าแต่ละแบงค์มีความอนุรักษ์นิยมแค่ไหน
เพราะความเสี่ยงของลูกค้าโดนกำหนดมาตั้งแต่ตอนประเมินความเสี่ยงแล้ว
หากลูกค้ามีความเสี่ยงสูงแบงค์ก็ต้องตั้งสำรองสูงตามความเสี่ยงลูกค้า
2.ที่เราเคยเชื่อว่าการตั้งสำรองขึ้นกับความเห็นของผบห.เป็นสำคัญ ความเชื่อนี้ยังเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ตอนนี้เรามีrisk modelที่โดนบังคับใช้จำนวนมากและเข้มข้นมากขึ้นๆ
ขอบคุณครับ
การดูความเสี่ยงของธนาคารมีหลายมิติ ขึ้นกับ risk profile ประเภทความเสี่ยงนอกเหนือจาก credit risk เช่น market risk operation risk liquitdity risk เป็นต้น

สำหรับเครดิต risk เนื่องจาก ความเสี่ยงเป็นเรื่องอนาคต การใช้ข้อมูลในอดีตในการประเมิน rating ภายในเพื่อสำรองจึงอาจไม่พอ เขาจึงมีการตั้งสำรองส่วนเกินยามที่ธนาคารมีกำไรพอที่จะสั้งสำรองให้สูงไว้ก่อนเพื่อรองรับเหตุการณ์ในอนาคต เพระยามที่เศรษฐกิจไม่ดีและกระทบกับลูกค้า ยามนั่นจะต้องตั้งสำรองเพิ่มอาจจะไม่อยู่ในฐานะที่จะตั้งเพิ่มได้

ปกติแทนที่จะดู npl coverage ratio ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างต่ำแล้ว
เรามักจะดูคู่กับ สำรองต่อการให้สินเชื่อด้วยครับ แม้ปัจจุบันจะเป็นหนี้ดี เราก็จะพยามตั้งให้รองรับในอนาคตครับ
ดูคู่กันจะเห็นภาพที่ชัดขึ้น

การตั้งสำรองต้องดูหลักประกันที่นำมาประเมินด้วย หากหลักประกันน้อยเวลานำไปหักกับหนี้ npl ที่เป็น gross ก่อนตั้งสำรอง คนมีหลักประกันน้อย หรือเสื่อมค่าเร็ว ก็ต้องตั้งสำรองเพิ่ม

มิติการดูจึงากหลายมากขึ้น แต่การตั้งสำรองสูงในขณะที่กำไรก็ดีด้วย ย่อมเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นแทนที่จะดูแต่กำไรอย่างเดียว

ควรดู bis ratio คู่ดันด้วย สะท้อนความเสี่ยงการเพิ่มทุน เพราะหากปล่อยสินเชื่อที่เสี่ยงสูง ก็จะกินทุนไปเรื่อย ๆ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 137

โพสต์

Npl coverage ต่ำคือ ตัว npl ต่ำกว่าปกติมากระดับต่ำกว่า 2% จากที่เคยอยู่ กลาง 10 เป็นต้น
สำรองหารด้วย npl จึงดูเหมือนสูง
ทำให้ npl coverage สูงมากในปัจจุบัน ขอแก้ไขข้อความด้วยครับ
ความหมายผมต้องการสื่อเรื่อง npl ปัจจุบันมันต่ำครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 138

โพสต์

kraikria เขียน:
Nevercry.boy เขียน:คุณไกล่เกลี่ยครับ

ไหน ๆ แล้ว ผมขออนุญาต ถามเพิ่มเติมเลยนะครับ

1. คุณไกล่เกลี่ยมีความเห็นกับสินเชื่อที่ปล่อย โดย นอนแบงค์ อย่างไรบ้างครับ เช่น Thani. หรือ ifs. ที่ทำแฟคตอริ่งและเน้น sme. เป็นหลัก หรือ ask กับรถป้ายแดง

ความเห็นผม น่าสนใจเพราะสามารถ leverage. เงินทุนและเข้าถึง นิชมาร์เก๊ต ง่าย ข้อเสียคือ ที่ผมกังวลตลอดคือความสามารถในการสู้กับแบงค์ใหญ่
Thani โตเร็วมากเลยครับ จำได้ว่าตอนนี้เป็นที่ 1 รถบรรทุกมือสอง และสูสีกับ ASK ในรถบรรทุกมือหนึ่ง (ไม่รู้จำสลับกันหรือเปล่า) ตอนนี้ Thani เริ่มบุกรถ Taxi ด้วย ซึ่งดูเหมือนว่าผลตอบรับดีทีเดียว ส่วน ASK เก่งมากเรื่องรถตู้ครับ ยังไม่มีใครสู้ได้

ถ้าถามเรื่องความสามารถในการแข่งขัน Bank ไม่มาแข่งเรื่องรถมือสองแน่ๆครับ ราคาบรรทุกรถมือสองไม่ได้ขึ้นกับปีที่ออกรถเนื่องจากมักมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนกะบะบรรทุกใหม่ แค่นี้ Bank ก็ตีราคาไม่เป็นแล้วครับ ส่วนรถบรรทุกมือหนึ่งเองก็ขึ้นอยู่กับ dealer ย่อยๆพอสมควร พวกนี้ไม่ส่งให้ Bank เลย ส่งให้แต่ Thani กับ ASK

ตลาดตรงนี้ Yield สูงมากถึงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องพึ่งเครือข่ายพนักงานที่ตามติดไปถึงลูกค้า ลูกค้าประเภทนี้ไม่เดินมาที่ Bank หรอกครับ แต่ก็ไม่แน่ อะไรก็เปลี่ยนได้เสมอเพียงแต่คงไม่ใช่เร็วๆนี้แน่นอน

ที่น่ากังวลสำหรับ Thani ก็คือการสำรองหนี้เสียที่เพิ่มมากๆใน Q4 ที่ผ่านมา ผมไม่ทราบรายละเอียดแต่เดาเอาว่าช่วงนี้เกษตรกรลำบากครับ คงรู้ว่าเพราะอะไรนะครับ
แบงก์ใหญ่เริ่มลงมาแย่งตลาดรถบรรทุกแล้วนะครับ
Leasing trucks.JPG
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 139

โพสต์

anubist เขียน:
Nevercry.boy เขียน: Kbank NPL อยู่ที่ 2.02 coverage ratio อยู่ที่ 139%
SCB NPL 2.06 coverage ratio 155%
BBL NPL 2.18 coverage ratio 213% ---- สูงสุดในกลุ่มธนาคาร
Bay NPL 1.68 coverage ratio 139%
KTB NPL 2.86 coverage ratio 115%
TCAP NPL 4.49 coverage ratio 84% ----- บอกอะไรหรือเปล่า?
Tisco NPL 1.46 coverage ratio 128%
KKP NPL 3.71 coverage ratio 100.5%
TMB NPL 3.58 coverage ratio 147%
เคยอ่านสารนิพนธ์พูดถึงbasel ii
ซึ่งอธิบายวิธีการประเมินความเสี่ยงเพื่อการตั้งสำรอง
ว่าแบงค์สามารถใช้ข้อมูลการปล่อยสินเชื่อในอดีต
มาประเมินเพื่อกันสำรองได้
ทำให้แต่ละแบงค์ต้องกันสำรองสินเชื่อชนิดเดียวกันไม่เท่ากัน
และในภาวะเศรษฐกิจที่ต่างกัน
แบงค์สามารถใช้สัมประสิทธิ์ความเสี่ยงที่ไม่เท่ากันได้ด้วย โดยภาวะเศรฐษกิจดีจะต้องใช้สัมประสิทธิ์ที่ค่าสูงเพื่อป้องกันลูกค้าบางรายที่อาจตกเกณฑ์เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี

จากข้างต้นพี่ไกล่เกลี่ยคิดว่าไงครับ
1.บางทีการตั้งสำรองจำนวนสูงๆของแต่ละแบงค์อาจไม่สามารถบอกว่าแต่ละแบงค์มีความอนุรักษ์นิยมแค่ไหน
เพราะความเสี่ยงของลูกค้าโดนกำหนดมาตั้งแต่ตอนประเมินความเสี่ยงแล้ว
หากลูกค้ามีความเสี่ยงสูงแบงค์ก็ต้องตั้งสำรองสูงตามความเสี่ยงลูกค้า
2.ที่เราเคยเชื่อว่าการตั้งสำรองขึ้นกับความเห็นของผบห.เป็นสำคัญ ความเชื่อนี้ยังเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ตอนนี้เรามีrisk modelที่โดนบังคับใช้จำนวนมากและเข้มข้นมากขึ้นๆ
ขอบคุณครับ
ใช่ครับน้อง anubist การตั้งสำรองมีแนวทางจากทั้งของ Basel และ BOT เองซึ่ง model ในการตั้งสำรองก็มี factor มากมายอย่างที่น้อง anubist เขียนมานั่นแหล่ะครับ ผมคิดว่า Bank ในเมืองไทยที่ต้องเข้ากฏ Basel ซึ่งตอนนี้เป็น Basel III แล้วมีการปฏิบัติตามกฏและมีมาตรฐานที่สูงกว่ากฏขั้นต่ำของ Basel ด้วยซ้ำ ดูที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงก็ได้ครับ BIS ratio ของ Basel III อยู่ที่ 8.5% แต่ Bank ในเมืองไทยค่านี้มีตั้งแต่ 12-16% เลย การตั้งสำรองก็เหมือนกันครับ ทุก Bank ตั้งเกิน required reserve ของ BOT กันหมด

กลับมาที่คำถามที่ว่าการตั้งสำรองมากหรือน้อยอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับว่าธนาคารนั้น conservative แค่ไหน ใช่ครับก่อนอื่นความเสี่ยงของสินเชื่อไม่เหมือนกันดังนั้นแต่ละ Bank ก็ต้องตั้งเป็นสัดส่วนไม่เท่ากันก็ถูกแล้ว หลายๆ Bank ในปัจจุบันจะบอกด้วยว่ามีการ "ตั้งสำรองเพิ่ม" จากตั้งสำรองปกติอีกเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้หล่ะครับที่มาจากนโยบายของ Bank หรือดุลยพินิจของผู้บริหารนั่นเอง

และก็จริงครับที่การตั้งสำรองสมัยนี้มี model บังคับอยู่ ดังนั้นผู้บริหารจะมีส่วนน้อยลงในการประเมินความเสี่ยง (ก็มี model อยู่แล้วนี่นา) แต่ในความเห็นของผม model ที่มี factor เยอะดังกล่าวไม่ได้แม่นยำเสมอไป แต่เป็นเพียงแนวทางขั้นต่ำเท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำคือการเอาข้อมูลจริงมาปรับปรุงเรื่อยๆและใส่ risk factor เพิ่ม การสำรองมากกว่าปกติในขณะที่เศรษฐกิจดีก็มีข้อดีที่ในเวลาเศรษฐกิจซบเซาก็จะไม่กระทบมาก และทำให้ผลประกอบการไม่ผันผวนมากนัก

ไม่รู้ว่าตอบคำถามหรือเปล่านะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 140

โพสต์

chaitorn เขียน:Npl coverage ต่ำคือ ตัว npl ต่ำกว่าปกติมากระดับต่ำกว่า 2% จากที่เคยอยู่ กลาง 10 เป็นต้น
สำรองหารด้วย npl จึงดูเหมือนสูง
ทำให้ npl coverage สูงมากในปัจจุบัน ขอแก้ไขข้อความด้วยครับ
ความหมายผมต้องการสื่อเรื่อง npl ปัจจุบันมันต่ำครับ
ขอบคุณ คุณ chaitorn มากเลยที่ให้ความรู้นะครับ ผมเห็นด้วยครับที่ว่า NPL ปัจจุบันต่ำกว่าแต่ก่อนมาก ดังนั้น Bank คงจะต้องเผื่อสำหรับ worst case เหมือนกัน ผมคิดว่าระบบ Bank ในปัจจุบันรัดกุมกว่าแต่ก่อนมาก การปล่อยสินเชื่อมีการถ่วงดุลกับทีม risk ที่ประเมิน credit และความสามารถในการชำระหนี้ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ NPL ปัจจุบันต่ำ ไม่เหมือนกับเมื่อก่อนที่หล่ะหลวมมากๆ Bank ที่ผ่านวิกฤติมาแล้วอย่างในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเน้นปลอดภัยพอสมควร

อย่างไรก็ตาม อะไรก็เกิดได้เสมอครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 141

โพสต์

kongkiti เขียน:
kraikria เขียน:
Nevercry.boy เขียน:คุณไกล่เกลี่ยครับ

ไหน ๆ แล้ว ผมขออนุญาต ถามเพิ่มเติมเลยนะครับ

1. คุณไกล่เกลี่ยมีความเห็นกับสินเชื่อที่ปล่อย โดย นอนแบงค์ อย่างไรบ้างครับ เช่น Thani. หรือ ifs. ที่ทำแฟคตอริ่งและเน้น sme. เป็นหลัก หรือ ask กับรถป้ายแดง

ความเห็นผม น่าสนใจเพราะสามารถ leverage. เงินทุนและเข้าถึง นิชมาร์เก๊ต ง่าย ข้อเสียคือ ที่ผมกังวลตลอดคือความสามารถในการสู้กับแบงค์ใหญ่
Thani โตเร็วมากเลยครับ จำได้ว่าตอนนี้เป็นที่ 1 รถบรรทุกมือสอง และสูสีกับ ASK ในรถบรรทุกมือหนึ่ง (ไม่รู้จำสลับกันหรือเปล่า) ตอนนี้ Thani เริ่มบุกรถ Taxi ด้วย ซึ่งดูเหมือนว่าผลตอบรับดีทีเดียว ส่วน ASK เก่งมากเรื่องรถตู้ครับ ยังไม่มีใครสู้ได้

ถ้าถามเรื่องความสามารถในการแข่งขัน Bank ไม่มาแข่งเรื่องรถมือสองแน่ๆครับ ราคาบรรทุกรถมือสองไม่ได้ขึ้นกับปีที่ออกรถเนื่องจากมักมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนกะบะบรรทุกใหม่ แค่นี้ Bank ก็ตีราคาไม่เป็นแล้วครับ ส่วนรถบรรทุกมือหนึ่งเองก็ขึ้นอยู่กับ dealer ย่อยๆพอสมควร พวกนี้ไม่ส่งให้ Bank เลย ส่งให้แต่ Thani กับ ASK

ตลาดตรงนี้ Yield สูงมากถึงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องพึ่งเครือข่ายพนักงานที่ตามติดไปถึงลูกค้า ลูกค้าประเภทนี้ไม่เดินมาที่ Bank หรอกครับ แต่ก็ไม่แน่ อะไรก็เปลี่ยนได้เสมอเพียงแต่คงไม่ใช่เร็วๆนี้แน่นอน

ที่น่ากังวลสำหรับ Thani ก็คือการสำรองหนี้เสียที่เพิ่มมากๆใน Q4 ที่ผ่านมา ผมไม่ทราบรายละเอียดแต่เดาเอาว่าช่วงนี้เกษตรกรลำบากครับ คงรู้ว่าเพราะอะไรนะครับ
แบงก์ใหญ่เริ่มลงมาแย่งตลาดรถบรรทุกแล้วนะครับ
Leasing trucks.JPG
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
Thani คงต้องเหนื่อยมากขึ้นแน่ๆครับ แต่ Bank ใหญ่ก็คงต้องออกแรงน่าดูเหมือนกัน ขนาด TBANK เจ้าตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ยังบอก Thani เลยว่าไม่เข้าใจตลาดนี้นัก
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6490
ผู้ติดตาม: 868

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 142

โพสต์

kraikria เขียน:อีกคำถามจากคุณโจคือชอบ Bank ไหนที่สุดสำหรับราคาปัจจุบัน? ก่อนอื่นผมคงต้องบอกว่า ข้อมูลที่ผมเขียนก็คือข้อมูลจริงๆ แต่ความเห็นที่ผมเขียนเป็นความเห็นส่วนตัวที่มักจะผิดมากกว่าถูก ดังนั้นทุกท่านต้องไม่เชื่อผมและหาข้อมูลด้วยตนเองนะครับ คำตอบของผมสำหรับคำถามนี้คงเป็น SCB กับ TCAP

- SCB เป็น Bank อันดับหนึ่งของเมืองไทยในทุก financial KPIs (ยกเว้น Asset size) นั่นคือ รายได้, กำไร, ROE, ROA, market cap, ความหลากหลายของสินเชื่อ (ถึงแม้จะมีสินเชื่อรายย่อยเยอะสุดแต่ก็มี port สินเชื่ออื่นๆที่ขนาดพอประมาณ) ส่วนทางด้าน SME, Asset management, Bancassurance จะเป็นรอง KBANK แต่ก็ทำได้ดี โดยเฉพาะ SCBLIF ที่ถึงแม้จะเล็กกว่าเมืองไทยประกันชีวิตแต่เนื่องจาก SCB ถือหุ้นใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซนต์จึงทำให้ผลกำไรส่วนนี้มากกว่า KBANK ที่ถือกลุ่มเมืองไทย 50% (และกลุ่มเมืองไทยถือเมืองไทยประกันชีวิต 75% ทำให้ KBANK มี equity owner ในเมืองไทยประกันชีวิตแค่ 38% เท่านั้น) ที่น่าประทับใจคือ SCB เป็น Bank ใหญ่แต่กลับเติบโตเร็วมากๆ รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็อยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่า Bank อื่นๆ เห็นแล้วเปรียบได้กับหญิงงามเลยครับ สำหรับราคาในขณะนี้ที่ PE 10 เท่า

- TCAP มีลูกคือ TBANK ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของสินเชื่อเช่าซื้อ มี relationship ที่ดีมากกับ dealer รถยนต์ ผู้บริหารเก่งมากทางด้านนี้ จากอดีตที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เติบโตจนกลายเป็น Bank ขนาดกลางที่ใกล้เคียงกับ BAY และใหญ่กว่า TMB ได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยการซื้อ SCIB โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุนเลย แถมยังซื้อหุ้นคืนอยู่เรื่อยๆอีกต่างหาก ในเรื่องตัวธุรกิจเองผมคิดว่า TBANK ยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้เทียบเคียงกับ Bank ใหญ่ได้ แต่ถ้าดูจากปีที่ผ่านมาต้องถือว่าทำได้ดีทีเดียวครับในสถานการณ์ที่มีปัจจัยลบมากขนาดนี้ อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับธุรกิจราคาถูก (PE ปกติที่ 6 เท่า และ PBV ที่ 0.78 เท่า) ที่ยังโตได้เรื่อยๆจากรายได้สินเชื่อและค่าธรรมเนียมต่างๆที่เพิ่ม ขนาด TBANK ตั้งสำรองปกติเพิ่มขึ้นมาก แต่ EPS จากธุรกิจปกติ ก็ยังเติบโตได้ถึง 22%

ไม่ได้ลงรายละเอียดครบทุกด้านนะครับ ผมหวังว่าจะได้รับ Comment จากความคิดเห็นของผมที่ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่อันนี้จากทุกท่านครับ :-)
ขอบคุณ คุณkraikria มากครับ :)
เต็มไปด้วยเหตุและผลตามแบบฉบับของนักลงทุนวีไอจริงๆ

ถ้าถามไอเดียผมในหุ้นกลุ่มนี้ ผมคงใช้เกณฑ์ปกติที่ใช้กับหุ้นทุกตัวที่จะซื้อ
นั่นคือธุรกิจมีการเติบโตหรือเปล่า กำไรโตคือราคาหุ้นโตด้วย
แน่นอนว่าธุรกิจธนาคาร ต้องอาศัยการก่อหนี้โดยการระดมเงินฝากเพื่อมาปล่อยกู้
โดยทั่วไประดับหนี้สินต่อทุนดูจาก D/E ratio
ระดับหนี้สินต่อทุนที่พอจะยอมรับได้สำหรับธนาคารคือประมาณ 10 เท่า
แต่มีอยู่แบงค์นึงคือ KKP ที่ระดับ D/E ต่ำกว่าคู่แข่ง นั้นหมายความว่า
ธนาคารแห่งนี้ สามารถเติบโตได้อีกเยอะ โดยไม่ต้องระดมทุนเพิ่ม
หากมีอะไรผิดพลาด ก็น่าจะมีเงินทุนรองรับความเสียหายได้มาก
นี่เป็นตัวเลขแรกๆที่ผมจะดูครับ (แต่ไม่ได้มีหุ้นตัวนี้เลยนะครับ)

แต่อย่างที่หลายท่านให้ความเห็น ยังมีตัวเลขอื่นๆที่ต้องนำมาประกอบก่อนตัดสินใจ
เช่น ต้นทุนเงินฝาก ชนิด-คุณภาพของสินเชื่อ ระดับหนี้เสีย ส่วนต่างดอกเบี้ย การเติบโต
และสุดท้ายคือราคาหุ้นที่เข้าซื้อ

ก็คงเหมือนกิจการอื่นๆ มันไม่เคยมีสูตรสำเร็จ
ไม่มีตัวเลขตัวเดียว ที่สามารถใช้ตัดสินใจลงทุนได้เลย
จิ๊กซอร์ที่ถูกต่อมากชิ้นขึ้นเท่าไหร่ มันก็เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเท่านั้น
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 143

โพสต์

ขอถามท่านนายกนะครับว่าจะลาออกเมื่อไร

เอ๊ย ไม่ใช่ พิมพ์ผิดพิมพ์ผิด

จะถามนายกโจว่า อนาคตและการเติบโตของกลุ่มลิสซิ่งเช่น GL TK กับราคาที่สะท้อนมา ปัจจุบันคุณโจมีความเห็นอย่างไร
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 144

โพสต์

คุณโจมีมุมมองที่เฉียบขาดเช่นเคยครับ :-) ผมขอเสริมคุณโจนิดนึงครับ ถ้าเราดูความสามารถของการขยายสินเชื่อ ตัวเลขอีกตัวที่น่าสนใจคือ ROE ครับ เช่น SCB มี ROE 3 ปีหลังสุดที่ 20% การที่ E โตได้ 20% นั่นหมายถึงการขยายสินเชื่อได้เพิ่ม 20% โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเลยเช่นกัน (ถ้าไม่มองเรื่องปันผล) นั่นเป็นสาเหตุที่ SCB โตได้แรงขนาดนั้น มีแค่ 2 Bank ใน 2 ปีหลังที่ ROE 20% นอกนั้นต่ำ 15% กันทั้งนั้น นี่หล่ะครับคือความสามารถในการแข่งขันของจริง

แต่ถ้าดู downside risk ละก็ D/E ในปัจจุบันต่ำกว่าก็ย่อมจะปลอดภัยกว่าอย่างที่คุณโจบอกครับ :-)
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1175
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 145

โพสต์

เอ่อ ขอโทษทีครับที่ให้ข้อมูลผิดไป มีอยู่ 3 Bank ที่ ROE เกิน 20% อีก 2 รายคือ KBANK และ Tisco ครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 146

โพสต์

ลูกอิสาน เขียน:
kraikria เขียน:อีกคำถามจากคุณโจคือชอบ Bank ไหนที่สุดสำหรับราคาปัจจุบัน? ก่อนอื่นผมคงต้องบอกว่า ข้อมูลที่ผมเขียนก็คือข้อมูลจริงๆ แต่ความเห็นที่ผมเขียนเป็นความเห็นส่วนตัวที่มักจะผิดมากกว่าถูก ดังนั้นทุกท่านต้องไม่เชื่อผมและหาข้อมูลด้วยตนเองนะครับ คำตอบของผมสำหรับคำถามนี้คงเป็น SCB กับ TCAP

- SCB เป็น Bank อันดับหนึ่งของเมืองไทยในทุก financial KPIs (ยกเว้น Asset size) นั่นคือ รายได้, กำไร, ROE, ROA, market cap, ความหลากหลายของสินเชื่อ (ถึงแม้จะมีสินเชื่อรายย่อยเยอะสุดแต่ก็มี port สินเชื่ออื่นๆที่ขนาดพอประมาณ) ส่วนทางด้าน SME, Asset management, Bancassurance จะเป็นรอง KBANK แต่ก็ทำได้ดี โดยเฉพาะ SCBLIF ที่ถึงแม้จะเล็กกว่าเมืองไทยประกันชีวิตแต่เนื่องจาก SCB ถือหุ้นใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซนต์จึงทำให้ผลกำไรส่วนนี้มากกว่า KBANK ที่ถือกลุ่มเมืองไทย 50% (และกลุ่มเมืองไทยถือเมืองไทยประกันชีวิต 75% ทำให้ KBANK มี equity owner ในเมืองไทยประกันชีวิตแค่ 38% เท่านั้น) ที่น่าประทับใจคือ SCB เป็น Bank ใหญ่แต่กลับเติบโตเร็วมากๆ รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็อยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่า Bank อื่นๆ เห็นแล้วเปรียบได้กับหญิงงามเลยครับ สำหรับราคาในขณะนี้ที่ PE 10 เท่า

- TCAP มีลูกคือ TBANK ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของสินเชื่อเช่าซื้อ มี relationship ที่ดีมากกับ dealer รถยนต์ ผู้บริหารเก่งมากทางด้านนี้ จากอดีตที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เติบโตจนกลายเป็น Bank ขนาดกลางที่ใกล้เคียงกับ BAY และใหญ่กว่า TMB ได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยการซื้อ SCIB โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุนเลย แถมยังซื้อหุ้นคืนอยู่เรื่อยๆอีกต่างหาก ในเรื่องตัวธุรกิจเองผมคิดว่า TBANK ยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้เทียบเคียงกับ Bank ใหญ่ได้ แต่ถ้าดูจากปีที่ผ่านมาต้องถือว่าทำได้ดีทีเดียวครับในสถานการณ์ที่มีปัจจัยลบมากขนาดนี้ อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับธุรกิจราคาถูก (PE ปกติที่ 6 เท่า และ PBV ที่ 0.78 เท่า) ที่ยังโตได้เรื่อยๆจากรายได้สินเชื่อและค่าธรรมเนียมต่างๆที่เพิ่ม ขนาด TBANK ตั้งสำรองปกติเพิ่มขึ้นมาก แต่ EPS จากธุรกิจปกติ ก็ยังเติบโตได้ถึง 22%

ไม่ได้ลงรายละเอียดครบทุกด้านนะครับ ผมหวังว่าจะได้รับ Comment จากความคิดเห็นของผมที่ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่อันนี้จากทุกท่านครับ :-)
ขอบคุณ คุณkraikria มากครับ :)
เต็มไปด้วยเหตุและผลตามแบบฉบับของนักลงทุนวีไอจริงๆ

ถ้าถามไอเดียผมในหุ้นกลุ่มนี้ ผมคงใช้เกณฑ์ปกติที่ใช้กับหุ้นทุกตัวที่จะซื้อ
นั่นคือธุรกิจมีการเติบโตหรือเปล่า กำไรโตคือราคาหุ้นโตด้วย
แน่นอนว่าธุรกิจธนาคาร ต้องอาศัยการก่อหนี้โดยการระดมเงินฝากเพื่อมาปล่อยกู้
โดยทั่วไประดับหนี้สินต่อทุนดูจาก D/E ratio
ระดับหนี้สินต่อทุนที่พอจะยอมรับได้สำหรับธนาคารคือประมาณ 10 เท่า
แต่มีอยู่แบงค์นึงคือ KKP ที่ระดับ D/E ต่ำกว่าคู่แข่ง นั้นหมายความว่า
ธนาคารแห่งนี้ สามารถเติบโตได้อีกเยอะ โดยไม่ต้องระดมทุนเพิ่ม
หากมีอะไรผิดพลาด ก็น่าจะมีเงินทุนรองรับความเสียหายได้มาก
นี่เป็นตัวเลขแรกๆที่ผมจะดูครับ (แต่ไม่ได้มีหุ้นตัวนี้เลยนะครับ)

แต่อย่างที่หลายท่านให้ความเห็น ยังมีตัวเลขอื่นๆที่ต้องนำมาประกอบก่อนตัดสินใจ
เช่น ต้นทุนเงินฝาก ชนิด-คุณภาพของสินเชื่อ ระดับหนี้เสีย ส่วนต่างดอกเบี้ย การเติบโต
และสุดท้ายคือราคาหุ้นที่เข้าซื้อ

ก็คงเหมือนกิจการอื่นๆ มันไม่เคยมีสูตรสำเร็จ
ไม่มีตัวเลขตัวเดียว ที่สามารถใช้ตัดสินใจลงทุนได้เลย
จิ๊กซอร์ที่ถูกต่อมากชิ้นขึ้นเท่าไหร่ มันก็เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเท่านั้น
อยากเสริมเรื่อง de
ปกติเราจะดูเพียงแค่ de ต่ำกว่า 10 คงไม่ได้เสมอไปในธุรกิจสถาบันการเงิน
เพราะสินเชื่อบางตัว risk profile ต่า อาจจะ leverage ได้สูง
เช่น หากปล่อยที่อยู่อาศัย leverage อาจสูงกว่า 10 เท่าได้ เพราะ asset ปกติจะค่อนข้างดี และยังกระจายความเสี่ยงของผู้กู้ในแต่ละรายได้ดี เสียหายพร้อมกันทีีเดียวยาก

หรือปล่อยให้ภาครัฐกู้ ก็มีความเสี่ยงต่ำ

แต่หากเราปล่อยสินเชื่อรายใหญ่เอกชนทั่วไป แม้ leverage จะต่ำกว่า 10 เท่า ก็ิอาจเสี่ยงสูงกว่ามาก อันเป็นผลจากระดับความเสียหายแบบกระจุกตัวสูง หรือ concentation risk สูงนั้นเอง
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 147

โพสต์

คุณ NB เล่นซะผมขำกลิ้งเลยครับ :)
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 148

โพสต์

kraikria เขียน:
TISCO
- สินเชื่อเพิ่ม 17.7% จากปี 2555
- รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8,968 ล้านบาท เพิ่ม 27.3% จากปี 2555
- รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ 5,730 ล้านบาท (คิดเป็น 39% ของรายได้รวม) เพิ่ม 21.7% จากปี 2555
- กำไรสุทธิ 4,249 ล้านบาท เพิ่ม 14.7% , EPS 5.55 บาท เพิ่ม 9% (เนื่องจากมีเพิ่มทุน)
- รายได้สุทธิโตเยอะแต่กำไรโตไม่เยอะเนื่องจากตั้งสำรองมากกว่าปีที่แล้วเกินเท่าตัวคือ 4,141 ล้านบาท (เทียบกับ 1,922 ล้านในปีที่แล้ว) แต่ทั้งๆที่ตั้งสำรองสูงขนาดนี้กำไรก็ยังมากกว่าปีที่แล้ว
- NPL รวมเพิ่มจาก 1.25% เป็น 1.7% โดย NPL ของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ที่ 2.1% ก็เพิ่มขึ้นเยอะเหมือนสินเชื่อเช่าซื้อของ Bank อื่นละครับ
- BIS ratio 13.27% ก็ยังมั่นคงดีครับ
- ส่วนที่ดีมากของ Tisco ในปีที่แล้วคงเป็นเรื่องการจัดการค่าใช้จ่ายครับ ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost to income ratio) ลดเหลือแค่ 35% เทียบกับ 42% ในปี 2555 เก่งทีเดียว
- PE 6.7 เท่าคงถือว่าไม่แพง ตอนนี้ PE ของ Bank กลุ่มเช่าซื้ออยู่ใกล้ๆกันคือ 6-7 เท่า ถ้าเทียบกับ Bank ใหญ่ๆที่ประมาณ 10 เท่า

ถ้าถามว่าแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าก็คงโตไม่มากเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าในปี 2556 ที่ยอดขายรถหดตัวลงแต่สินเชื่อเช่าซื้อก็โตเป็นตัวเลข 2 หลักกันทั้งนั้นนะครับ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่โตมากแต่ผมก็ยังคิดว่าน่าจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 5%

ที่น่ากังวลมากกว่ากลับเป็นเรื่อง การเพิ่มของ NPL การตั้งสำรองหนี้เสีย การขาดทุนจากการด้อยค่าของรถยึดมือ 2 นี่ต่างหากครับ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าราคารถมือสองน่าจะไม่ตกลงมากแล้วในปีนี้ซึ่งจะทำให้ตลาดกลับมาสนใจ Bank กลุ่มนี้อีกครั้ง

ผมนั่งดู money talk tisco
เค้าชัดเจนในตัวเองว่า การขยายช่องทาง เข้าถึงอย่างสาขา
ไม่ใช่กลยุทธหลัก
เป็นไปได้ไหมคับว่า ทุกการเติบโตของสินเชื่อ ก็ทำให้ cost to income ลดอยู่แล้ว

ว่าด้วยเรื่อง sga พี่kraikria เห็นด้วยไหมคับ
ว่า แบงค์ ไทย ยังมีroom ให้ improveอีกมาก
ถ้าดูจาก โมเดล bank ในเมกา
tisco ดูเหมือนจะมีtrend ไปเหมือน แบงค์เล็กในเมกา

ขอบคุณคับ
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 149

โพสต์

ขอบคุณพี่ๆครับ
ตอนนี้แบงค์ไทยขึ้นbasel IIIได้3-4ปีแล้วมั้งครับ แต่การบังคับใช้มีแบ่งเป็นระยะเเวลา
กินเวลานานหลายปี ปีสุดท้ายต้องมีbis ratioขั้นต่ำ13.5%+ จำไม่ได้ว่าปีไหน

เห็นด้วยกับพี่chaitornครับว่าต้องดู npl coverage ratio&bis ratio
แต่ผมว่าทั้งสองอย่างยังไม่เพียงพอ ตามที่พี่chaitornได้อธิบายว่าสินเชื่อแต่ละประเภทมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน
ผมเสนอให้ดูแนวโน้ม npl/สินเชื่อรวม หรือสินเชื่อที่แบงค์มีพอร์ตใหญ่เพิ่มด้วย
เพราะnpl/สินเชื่อรวมเป็นผลโดยตรงจากวิธีพิจารณาเครดิตเพื่อคัดลูกหนี้เข้าพอร์ต
ถ้าแบงค์มีวิธีคัดกรองลูกหนี้ที่ดี โอกาสการผิดนัดชำระน่าจะต่ำกว่าปกติ
ทำให้ แนวโน้มnpl/สินเชื่อน่าจะลดลงหรือทรงตัวในภาวะเศรษฐกิจปกติ เนื่องจาก
1.แบงค์มีการปรับปรุงแก้ไขหนี้จากnplให้กลับมาเป็นลูกหนี้ปกติหรือขายหนี้เสียออกไป
2.แบงค์มีการปรับปรุงวิธีพิจารณาเครดิตทำให้มีอัตราลูกหนี้ดีเพิ่มขึ้น
เมื่อพิจารณาพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจ น่าทำให้เห็นว่าแบงค์ควรจะตั้งสำรองเพิ่ม
หรือสำรองที่มีอยู่เพียงพอกับการรองรับความเสี่ยงลูกหนี้ผิดชำระหรือไม่
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: หุ้นพื้นฐานใช้ได้ ราคาตกลงมาเกิน 50%

โพสต์ที่ 150

โพสต์

ยังขาดคุณimerlotมาแจม


:D