QE

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
jokerz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1739
ผู้ติดตาม: 21

QE

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอความพี่ๆ เรื่องเกี่ยวกับการทำ QE ของสหรัฐครับ พอดีได้อ่านเว็บบอร์ดจากหลายๆที่ มีการพูดถึง QE หลายๆคนมีความเห็นว่ายังไงก็เลิกไม่ได้ ต้องออก 4 - 5 -6 ไปเรื่อยๆ การขยายเพดานหนี้เดี๋ยวสุดท้ายก็ตกลงกันได้ ก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อีกเรื่อยๆ ผมเลยอยากถามความรู้จากพี่ๆครับ ว่า การจะเลิก QE แบบแน่นอนถาวร จะต้องดูจากปัจจัยอะไรบ้างครับ ถ้าตัวเลขว่างงานหรือตัวเลขเงินเฟ้อไม่เข้าเป้าก็จะต้องพิมพ์ต่อไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้นรึเปล่าครับ เงินอ่อนจะอ่อนค่าไปถึงเท่าไหร่ครับ ถึงจะเลิกพิมพ์เงินอย่างถาวร
ปล. ขออภัยที่กระทู้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการลทุนเน้นคุณค่าครับ
ขอบคุณครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: QE

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขออนุญาตคุยด้วยครับ

QE ผมก็ได้อ่านได้ฟัง
แต่อยากถามแบบคนไม่รู้หน่อยว่า มันช่วยตัวหุ้นที่เราถืออย่างไรครับ
ผมถือหุ้น ผมไม่ได้ถือเซ็ท

ตัวเลขการว่างงานที่สหรัฐตัวเลขเงินเฟ้อ
มันเกี่ยวข้องกับหุ้นที่ผมถือยังไงยังคิดไม่ออกเลยครับ

เงินบาทจะอ่อนค่าไปที่เท่าไหร่
จะผูกติดกับตระกล้าเงินไม่ให้ขึ้นให้ลงตามดีมานด์ซับพลายหรือครับ
ที่ตอบๆกันพวกนักวิเคราะห์ผมว่าเกากันซะมาก พูดไม่ฟันธง

เรื่องเลิกพิมพ์เงิน คงไม่มีประเทศไหนในโลกนี้เลิกพิมพ์เงิน
เพราะต้องมีงบประมาณ ต้องมีการลงทุน แบ๊งค์เก่าหมดสภาพก็ต้องพิมพ์ใหม่
อนาคต ประเทศไทยอาจได้พิมพ์แบ๊งค์ใบละหมื่นใบละแสน แบบประเทศอื่น

ความคิดทั้งหมดนี้เป็นความึคิดส่วนบุคคลไม่รับรองความถูกต้อง
Winstein
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

Re: QE

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เรื่อง QE คนที่เข้าใจมีน้อยมากครับ ผมแชร์ให้เพื่อนๆ ทาง fb ไปแล้ว แต่วันนี้เป็นหวัดงอม แล้วจะ copy มาฝากครับ

ตอบคำถามว่าเกี่ยวข้องกับหุ้นบ้านเราไหม เกี่ยวข้องครับ เพราะว่า QE ไม่ได้เป็นการพิมพ์เงินธรรมดา เป็นการยื่นเงินฟรีให้ธนาคารใหญ่ ๆ ของอเมริกา พวกนี้ได้เงินฟรีปริมาณมหาศาลก็ลงทุนต่างประเทศเลยครับ เพราะรู้ว่าลงทุนในอเมริกาให้ผลตอบแทนไม่คุ้ม

ส่วนที่ออกมาต่างประเทศ เข้าใจว่าพวก corporate finance ฝั่งอเมริกาชอบใช้ Capital Asset Pricing Model (CAPM) ดังนั้น เมื่อได้เงินฟรีมาลงทุนเยอะๆ เมื่อไหร่ ก็คือ ซื้อทั้งตลาดครับ ทั้งตลาดหมายถึง หุ้น พันธบัตรรัฐบาล Corporate bond ทองคำ ETF future ฯลฯ ในทุกตลาดทั่วโลก เพราะฉะนั้น ภายใน 24 ชม. ที่รู้ว่ามีงบลงทุนเพิ่มเท่าไหร่ แรงซื้อก็ถล่มทลายทุกตลาดทั่วโลกครับ

ที่ต้องทำความเข้าใจมีหลายเรื่องมาก ๆ คือ
1. การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ (FED ของอเมริกา)
2. สภาพการของอัตราแลกเปลี่ยนที่กำลังเกิด currency war แต่ละประเทศพยายามดึงให้ค่าเงินตัวเองต่ำ
3. ทฤษฎี CAPM
แค่นี้ก่อนครับ

[คนที่เข้าใจกลไกทั้งหมดจะเห็นโอกาสทำเงินระยะสั้นโดยไม่เสี่ยงครับ]

พรุ่งนี้เพิ่มเติมให้ครับ
Plant
Verified User
โพสต์: 667
ผู้ติดตาม: 0

Re: QE

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมคิดว่าที่ "คุณปรัชญา" บอกว่าไม่เกี่ยวเพราะมองถึงปัจจัยที่ส่งผลดีต่อ
ธุรกิจที่ตนเองถือหุ้นอยู่ครับเลยมองว่ามันไม่เกี่ยว

แล้วที่ "คุณ Winstein" บอกว่าเกี่ยวเพราะมองว่ามันมีผลต่อราคาหุ้นที่
เราถืออยู่ครับ

ดังนั้น มันจึงเป็นคนละมุมมองของคนที่ลงทุนในคนละแบบกันครับ

ปล. สไตล์ใคร สไตล์มัน หุหุ...^^)
ภาพประจำตัวสมาชิก
KentaII
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 1

Re: QE

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Plant เขียน:ผมคิดว่าที่ "คุณปรัชญา" บอกว่าไม่เกี่ยวเพราะมองถึงปัจจัยที่ส่งผลดีต่อ
ธุรกิจที่ตนเองถือหุ้นอยู่ครับเลยมองว่ามันไม่เกี่ยว

แล้วที่ "คุณ Winstein" บอกว่าเกี่ยวเพราะมองว่ามันมีผลต่อราคาหุ้นที่
เราถืออยู่ครับ

ดังนั้น มันจึงเป็นคนละมุมมองของคนที่ลงทุนในคนละแบบกันครับ

ปล. สไตล์ใคร สไตล์มัน หุหุ...^^)
ล้าน like เลยครับ มันคนละมุมมองน่ะครับ มุมมองทางด้านธุรกิจ มันก็ไม่เกี่ยว แต่ถ้ามุมมองด้านตลาดหุ่น มันเกี่ยวกับ fund flow แน่นอน
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
Winstein
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

Re: QE

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หวัดดีขึ้นแล้วครับ ขอตอบละเอียดขึ้นนิดหนึ่ง คือผมเชื่อจริง ๆ ว่า QE มีผลกับปัจจัยพื้นฐานการลงทุนแล้ว เหมือนมันจะกระทบตลาดอย่างเดียวแต่ไม่ใช่ครับ เพราะมันไม่ใช่การอัดฉีดเงินเข้าระบบชั่วคราวแล้วเลิก แต่ผมคิดว่า QE อยู่อีกนาาาานนน แต่ว่าภาพรวมมันค่อนข้างเข้าใจยากและยาวหน่อย

ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ใครคิดยังไงแลกเปลี่ยนกันได้เต็มที่ครับ

ผมขอเริ่มจาก (i) ภาพรวมนโยบายของ FED โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และ QE (ii) ผลกระทบต่อพื้นฐานการลงทุน

(i) แนวโน้มดอกเบี้ยผมคิดว่าดูได้จากตลาดเงินตลาดทุนของอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่มาก (เมื่อเทียบกับ GDP ของเขา) อเมริกามี Financial sector ขนาดประมาณ 50-60% ของ GDP เมื่ออเมริกาเจอปัญหา sub-prime crisis ปี 2007-2008 ทำให้ GDP หดขนาดหนัก ธนาคารและบริษัทประกันล้มไปหลายเจ้า ลามไปถึงยุโรป รัฐบาลอเมริกาก็เลยต้องอุ้มธนาคารและบริษัทประกันเช่น Citibank และ AIG เวลาผ่านมาหลายปี ธนาคารหลายแห่งก็ยังไม่แข็งแรง รัฐบาลอเมริกาก็เลยใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายสุด ๆ เรียกได้ว่าดอกเบี้ย 0% และต่ำกว่า 0% ถ้าทำได้ ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่า 0% เพราะมีการใช้ Quantitative Easing (QE) [ขอเรียกภาษาชาวบ้านว่าพิมพ์แบงค์กงเต็ก] เพื่อให้มีสภาพคล่องทางการเงิน

ผมโหลด Fed Fund Rate มาให้ดูครับ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ Fed ใช้คุมปริมาณเงินในระบบของอเมริกา (เงิน M2 หรือ M3?? จำไม่ได้) ที่ Fed ให้ธนาคารพาณิชย์กู้อีกต่อหนึ่ง ถ้ามองระยะสั้นอาจมีอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแคบ ๆ แต่ถ้ามองระยะยาวจะเห็นว่าดอกเบี้ยเหยียบ 0% มาตั้งแต่ 2008 แล้ว ล่าสุดอยู่ที่ 0.09% ครับ ตรงนี้ก็ทำให้เงินไหลมาเก็งกำไรอยู่ในตลาดทั้งหมดเลยครับ (ตลาดเงิน Forex ตลาด Corp/Gov bond และตลาดทุน ทั่วโลก) ธนาคารแห่งประเทศไทยเรารู้ทัน ตอนนี้ธปท. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็น managed float และมีความคิดที่จะเริ่มจำกัด fund flow เข้าออกระยะสั้น ก็ลุ้นกันต่อว่าจะช่วยลดความผันผวนได้ รัฐบาลนี้โชคดีที่มี fund flow ไหลเข้ามาพยุงราคาหุ้น ถ้าเป็นเฉพาะนักลงทุนในประเทศเหมือนแต่ก่อนหุ้นอาจจะเหลือ 800 จุดไปแล้ว เรื่องเงินไหลกลับคงไม่น่าห่วง เพราะเขามาซื้อย่อมไม่ต้องการขายขาดทุนหนัก ๆ (ไม่เหมือนปี 40 ที่ธปท. โดนโจมตีค่าเงิน เขารู้ว่าเงินบาทจะอ่อนเยอะเลยเทขายกระหน่ำ) แต่ปัญหาระยะยาวที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้ามีธนาคารที่อเมริกาล้มอีกรอบ แล้ว Fed ไม่ช่วย (เหมือน Lehman Brothers หรือ LTCM ในปี 90s) คราวนี้จะมีล้ม (default) กันเป็น domino จากอเมริกาไปญี่ปุ่น จากญี่ปุ่นไปลอนดอน ฯลฯ แต่ไม่ต้องกลัวหรอกครับ default กันทุก ๆ 5 ปีอยู่แล้วนี่ ตั้งแต่ Argentina Greece Ireland ฯลฯ
แนบไฟล์
Historical FED Fund Rate

Winstein
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

Re: QE

โพสต์ที่ 7

โพสต์

(ii) ผลกระทบต่อพื้นฐานการลงทุน

ถ้ามองเศรษฐกิจโลกในภาพรวมก่อน จะเห็นว่า GDP ครึ่งหนึ่งของโลกอยู่ในตลาดเกิดใหม่ (EMEA) แต่ว่าสัดส่วนเงินลงทุนที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่มีน้อยมากประมาณ 10% ของเงินลงทุนทั่วโลก เห็นได้ชัดว่า เงินลงทุนจะต้องไหลมายังตลาดเกิดใหม่อย่างล้นหลาม เพราะผลตอบแทนการลงทุนชัดเจนมาก เพราะฉะนั้น ธนาคารอเมริกาย่อมจ้องจะลงทุนนอกอเมริกา ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ ว่าผลประโยชน์ของรัฐบาลอเมริกา ธนาคารอเมริกา และประชาชนอเมริกาไม่ได้ตรงกันซะทีเดียว แล้วจะเข้าใจที่เหลือได้ง่ายๆ ครับ FED เป็นตัวแทนของธนาคารอเมริกาครับ ข้อสังเกตที่ผมเห็นตอนนี้คือ

1. เพราะมีการไหลเข้าออกของเงินลงทุนอย่างรวดเร็ว ดอกเบี้ยของประเทศไทยจะต้องไม่ห่างจากของอเมริกา อังกฤษและประเทศพัฒนาแล้วมากนัก เพราะจะทำให้เงินไหลเข้ามากเกินไป กลายเป็นฟองสบู่เหมือนปี 40
2. ดอกเบี้ยต่ำแบบนี้เป็นประโยชน์กับไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เข้าถึงแหล่งทุนได้ โดยเศรษฐีประเทศอื่น ๆ จะเข้าช่วยลงทุน และดอกเบี้ยจะต่ำต่อไปอีกหลายปี เพราะอเมริกากับญี่ปุ่นจมไม่ลง
3. อเมริกาและญี่ปุ่นใช้ QE กลไกก็คือ ธนาคารกลาง เช่น FED ซื้อสินทรัพย์จากธนาคาร(เอกชน) ผลคือธนาคารเอกชนมีสภาพคล่องสูงขึ้น สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น
4. แต่ธนาคารเอกชนรู้ว่าปล่อยกู้ในอเมริกามันอาจจะให้ผลตอบแทนไม่ค่อยดีเทียบกับตลาดเกิดใหม่ วินาทีที่ธนาคารกลางอนุมัติ QE ก็เลยมีการโอนเงินมาซื้อหุ้นและสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ เวลาประกาศนโยบาย QE เลยมีผลกระทบรุนแรงกับหุ้นและทองคำในเอเชีย ผลกระทบเห็นชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมงแรก ส่วนธนาคารญี่ปุ่นขึ้นชื่ออยู่แล้ว ลงทุนในต่างประเทศเกือบ 100% คนอเมริกาและญี่ปุ่นน่าสงสารมาก เพราะธนาคารเน้นลงทุนในต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยยอมปล่อยกู้ภายในประเทศ
5. อเมริกาและญี่ปุ่นกำลังมีปัญหาหนี้สาธารณะ การพิมพ์แบ็งค์กงเต็กเยอะ ๆ ในระยะยาวจะมีผลทำให้เกิด Inflation คือเงินดอลลาร์และเยนอ่อนค่า แต่ให้ผลดีสองเรื่องคือ หนี้สาธารณะ(ของรัฐบาล)ลดลง (เพราะเงินเฟ้อ) และค่าเงินอ่อนลงช่วยกระตุ้นส่งออก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้น แต่กำลังซื้อของประชาชนลดลง คนญี่ปุ่นหลายคนรู้ทันก็เลยแห่กันไปเทรด Forex
6. ทั้งหมดทั้งปวง ภาพรวมเห็นได้ชัดเจนว่าอเมริกาและญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ยุคอำนาจทางเศรษฐกิจเสื่อมแล้ว ทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจและ demographic ที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่เพราะจมไม่ลง ก็เลยต้องมีนโยบายการเงินแบบนี้
7. ธนาคารอเมริกาและญุี่ปุ่นกำลังเสพย์ติดกับนโยบาย QE และคงจะไม่สามารถหยุดได้ง่าย ๆ ผลพวงคือ ในระยะยาว รัฐบาลและคนอเมริกา/ญึ่ปุ่นน่าจะถึงหายนะเร็วกว่าที่คิด เพราะ GDP ของประเทศจะโตได้ ต้องโตด้วย real sector คือ อย่างน้อยต้องมีการบริการ การผลิตและขายของ แต่ QE แค่ช่วยให้ธนาคารอเมริกาและญี่ปุ่นคงอำนาจทางการเงินเอาไว้ แต่ก็จะเสื่อมในระยะยาว กรณีคล้าย ๆ กับหลายร้อยปีก่อนที่สเปนล่าอาณานิคมไปเจอเหมืองทองคำ คนสเปนเลยไม่ต้องทำงานทำการ เอาทองคำมาขายนั่งกินนอนกิน อาณาจักรสเปนก็เลยเสื่อมเหลือเท่าปัจจุบัน
8. อาจมีธนาคารเอกชนอเมริกา(และญี่ปุ่น) ที่กลายเป็นมาเฟียทางการเงินเข้าไปครอบงำเศรษฐกิจของประเทศอื่น เพราะไปซื้อหุ้นและ bond ของเขาเอาไว้จำนวนมหาศาล
9. รัฐบาลอเมริกากำลังเจอปัญหา fiscal cliff หยุด QE ไม่ได้เด็ดขาด และไม่มีเงินไปทำสงครามกับซีเรีย ทั้ง ๆ ที่อยากได้ท่อแก๊สจนเนื้อเต้นเพื่อปลกแอกยุโรป (รัสเซียมีอำนาจเหนือยุโรปทั้งหมดเพราะคุมท่อแก๊สจากยูเครน ถ้าไม่พอใจตัดแก๊สเมื่อไหร่ ไฟดับตั้งแต่เบอร์ลินถึงลอนดอน รัสเซียเคยทำมาแล้วตอนที่อเมริกาไปสร้างฐานเรดาร์ที่โปแลนด์ และรัสเซียโกรธ ถ้าใครจำได้ รัสเซียตัดไฟ และรัฐมนตรีโปแลนด์ทั้งคณะเครื่องบินตกตายยกลำในรัสเซีย ข่าวเงียบไปภายในไม่กี่วัน)

ขอจบด้วย comment จากในหนัง Wallstreet: Money Never Sleep ครับ ในห้องประชุม FED ตอนเกิด sub-prime crisis 2008: "It's the end of capitalism as we know it"
Manitt
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: QE

โพสต์ที่ 8

โพสต์

รัฐบาลเมกาโดยเฟด พิมพ์เงิน ออกมาอัดเข้าระบบ คือเอาไปซื้อพันธบัตรคืน
แต่รัฐบาลก็ตัองไปกู้เงินจากแบงค์มาอีก

ผมละงงจริงๆครับ
โพสต์โพสต์