วายร้ายตลาดหุ้น?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

วายร้ายตลาดหุ้น?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

แก๊ง 4 โมงเย็น วายร้ายตลาดหุ้น?

[youtube]4c5o8z1nac4[/youtube]
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Re: วายร้ายตลาดหุ้น?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Proprietary Trading กับ แก๊งค์สี่โมงเย็น
--------------------------------------------

วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง
17 กันยายน 2556

ปริมาณซื้อขายหุ้นช่วง 4 โมงเย็นเป็นต้นไปมักจะมากกว่าช่วงอื่นๆ ของวันเพราะอะไร
--------------------------------------------------------------------------------------

1. การปิด SET Late กว่าประเทศอื่นในย่านนี้ ทำให้ยุโรปที่เพิ่งเปิดตลาดเช้าส่งออร์เดอร์ตามที่คำนวณแล้วในคืนก่อน เช่น หากดูไม่ดีก็ขาย หากดีก็ซื้อ เพราะมีโอกาสจะซื้อขายย่านนี้ก็แค่ช่วงนี้ช่วงเดียว

2. การที่ Prop Trader มักจะถูกกฏเกณฑ์ของบริษัทให้เน้น Day Trading ซึ่งน่าจะเพราะเพื่อลดความ เสี่ยงของบริษัทจากการถือ Position ข้ามวัน คือซื้ออะไรมาก็ต้องขายไปในวันเดียว เพื่อกันไม่ให้มีความเสี่ยงจากการมีหุ้นค้างในพอร์ตข้ามคืน (Overnight Risk) จึงทำให้ขายหุ้นที่ซื้อวันนี้ให้หมดในวันเดียว ซึ่งในอีกทางก็ก่อให้เกิดวอลุ่มมากขึ้นในตลาด

3. มี Order ซื้อขายของลูกค้ากองทุนเข้ามาในช่วงนี้ ทำให้ผู้จัดการกองทุนทำออร์เดอร์เพื่อ เพื่อ Settle ทั้งหมดที่เหลือของวัน

4. รายย่อยเองก็เป็นแก๊งค์สี่โมงเย็นไปโดยปริยาย เพราะรู้ว่า Prop Trade ต้องปิด Position วันต่อวัน เรื่องอะไรจะถือต่อล่ะ

5. รายใหญ่บางกลุ่มที่ทำ Day Trade


ใครคือแก๊ง 4 โมงเย็น
-----------------------

- คำตอบคือ “ทุกคนข้างต้น” จะมาก จะน้อย แล้วแต่กรณี แต่คนมักพุ่งเป้าไปที่ Prop Trade ให้เป็นผู้ร้าย

- มีข่าวลือว่า บล.บางแห่งไม่มีพนักงานที่เป็น Prop Trader แต่มีนักลงทุนรายใหญ่หรือ ลูกค้า High Networth ทำตัวเสมือน Prop Trade ของบริษัทหลักทรัพย์ แต่จะจริงหรือไม่ เหลือวิสัยที่จะทราบ


ความเป็นมาของ Prop Trade
------------------------------

Proprietary Trading ก่อกำเนิดใน Wall Street สหรัฐอเมริกา เมื่อโบรกเกอร์รายใหญ่ๆ และสถาบันการเงินเริ่มว่าจ้าง Traders มาซื้อขายหลักทรัพย์ให้บริษัทของตน โดยใช้เงินของบริษัทไปซื้อขาย

ต่างกับบริษัท Proprietary Trading Firm ที่ทำ Day-Trading ซึ่งเกิดทีหลัง ในปี 1990 เป็นต้นมา เพราะกลุ่มหลังนี้ต้องใช้เงินตัวเองในการ Trade และไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทใน Wall Street ทั้งยังแยกออกไปจากการบริหาร Portfolio ของโบรกเกอร์ โดยลูกค้าที่ทำ Prop Trade จะต้องวาง Deposit เป็นหลักประกันการชำระราคาไว้ก่อน

Key ก็คือ พวก Prop Traders พวกหลังนี้เป็นลูกค้า ไม่ได้เป็นลูกจ้างของ บล. จึงคล้ายกับรายย่อยเพราะเสี่ยงกับเงินตนเอง แต่ได้มาร์จิ้นที่สูงกว่ารายย่อยมาก

สำหรับ Prop Trade ของไทยนั้นเป็นหน่วยงานของบริษัทหลักทรัพย์ มีการว่าจ้าง Traders เข้ามาเป็นพนักงานเพื่อทำรายการโดยใช้เงินของ บล. ในการซื้อขาย

เข้าใจว่าเดิมทีนั้นเขาให้มี Prop Trade เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ตลาดฯ แต่หลังๆ มานี้เป็นไปได้ว่าอาจมีการใช้ Prop Trade เพื่อแสวงหากำไรให้ บล. เป็นหลัก โดยมีกฏกติกา มารยาท ตามที่สมาคมโบรกเกอร์กำหนดร่วมกัน


Prop Trader คล้าย Fund Manager หรือไม่
----------------------------------------------

เนื้องานบางส่วนของ Prop Trade คล้าย Fund Manager แต่ต่างกันที่ Fund Manager ไม่มี Profit Sharing และ Fund Manager วัดผลงานกองทุนเทียบกับดัชนีอ้างอิง กับ Fund manager บริหารเงินของลูกค้า ไม่ใช่ของบริษัท ในขณะที่ Prop Trader มี Profit Sharing และจะวัดผลงานกันในระยะเวลาที่จะตกลงกัน เช่น เป็นรายไตรมาส โดยวัดว่ามีกำไรขาดทุนเท่าไร ถ้ากำไรก็เอามาแบ่งกันระหว่าง Prop Trader กับบริษัท

ในไทย Prop Traders เป็นพนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ แต่เคยมี “ข่าวลือ” ว่าให้ลูกค้ารายใหญ่ไปแฝงตัวทำ Prop Trade เพื่อจะไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่น โดยรายใหญ่จะแบ่งกำไรประมาณ 30% ให้โบรกเกอร์

แต่จะจริงหรือไม่นั้น ยังไม่เคยเห็นใบเสร็จ


อะไรเป็นตัวผลักดันให้ บล. ทำ Prop Trade กันมากขึ้น
---------------------------------------------------------

ได้กำไรดีขึ้น และได้ Volumn ด้วย กำไร ใครๆ ก็อยากได้ ไม่งั้นจะทำธุรกิจไปทำไม

แต่มีข้อสังเกตุคือ สัดส่วนการซื้อขายที่มาจากพอร์ตโบรกเกอร์หรือ Prop Trade เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่ถึง 10% ของปริมาณการซื้อขายของทั้งตลาด เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 13% ในปัจจุบัน

หากนับรวมทุกพอร์ตของ บล. น่าจะมีวงเงินทำ Prop Trade (ไม่เกิน 75% ของทุนตามกฏที่ลิมิทไว้) ประมาณในระดับหลักหมื่นล้านบาท แต่จะกี่หมื่น ไม่ทราบข้อมูล (ใครอยากรู้ชัดๆ ก็เปิดดู Net Capital ของทุก บล แล้วเอา 75% ไปคูณ)

แต่นักลงทุนสถาบันทุกประเภท กลับซื้อขายในสัดส่วนเพียง 7-9% ของปริมาณการซื้อขายของทั้งตลาด ทั้งๆ ที่หากนับเฉพาะที่เป็น กองทุนทุกประเภท + กบข + ประกันสังคมแล้ว น่าจะมีหุ้นในพอร์ตรวมกันเป็นมูลค่าสัก 2 ล้านล้านบาท เรียกว่ามีเค้าหนาในหุ้นมากกว่า Prop Trade มากมาย แต่กลับ Trade น้อยกว่า Prop Trade


Prop Trade เป็นภัยต่อกลไกการซื้อขายของตลาดหรือไม่
------------------------------------------------------------

“หาก” มี Prop Trade ที่ฮั้วกัน ยิ่งวอลุ่มเทรดของตลาดโดยรวมไม่มาก ก็ยิ่งง่ายในการ Manage ตลาด ทั้งนี้ เคยได้ยิน “ข่าวลือ” ว่า Prop Traders ไปร่วมมือกับ Research ของบริษัทให้ออกงาน วิจัยมาสนับสนุนหุ้นที่ตนเองจะเล่น หรือให้ Marketing ปล่อยข่าว แต่ยังไม่เคยเห็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ถึงแม้จะไม่จริง ก็อันตรายและบั่นทอนกำลังใจของนักวิเคราะห์มาก สมควรต้องพิสูจน์และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดต่อสาธารณชน

มี Trader เล่าให้ฟังว่าโบรกเกอร์เล่น Prop Trade ยังไงก็มีกำไรถ้าไม่ใช้กฏ Chinese Wall อย่างจริงจัง (Chinese Wall ในที่นี้หมายถึงให้แยกธุรกิจ Prop Trade ออกจากธุรกิจอื่นๆ ไม่ให้ล่วงรู้กันว่าใครทำอะไร เหมือนมีกำแพงเมืองจีนอันสูงใหญ่มากั้นไว้)

เขาเล่าต่อว่ายิ่งถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่เห็นรายการซื้อขายของลูกค้าต่างชาติฝรั่งทั้งหมดเพราะต่างชาติมักโยนออร์เดอร์มาทั้งพวง ก็ยิ่งได้เปรียบ เช่น ถ้าวันนั้นมีคำสั่งขาย Prop Trade ก็ขายหนักๆ ตามน้ำ โดยยืมหุ้นมา short ถ้าซื้อก็ซื้อตาม ซึ่งในอดีตก็ทำให้ตลาดปั่นป่วน

ยิ่งเป็นโบรกเกอร์ที่กองทุนต่างประเทศกับขาใหญ่ใช้บริการ Prop Trade จะยิ่งได้เปรียบ เพราะจะรู้ก่อนใครว่าต่างชาติกับขาใหญ่กำลังจะซื้อหุ้นตัวใด จำนวนเท่าไร ราคาเท่าไร Prop Trade ที่นิสัยไม่ดี ก็จะเข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นๆ ก่อน หรือพร้อมๆ กับที่ให้บริการลูกค้าประเภทกองทุนต่างชาติ และขาใหญ่ในประเทศ

ถ้าตอนนี้โบรกเกอร์ฝรั่งมี Prop Trade เหตุการณ์อาจคล้ายช่วงนั้น แต่น่าจะมีกำไรมากกว่าเพราะไม่ต้องเสียค่าคอม ขนาดอดีตมีคอม บริษัทแม่ยังเรียก Prop Trader เก่งๆ ของบริษัทลูกในไทยด้วยความชื่นชมว่า Golden Boys

Prop Trade + Short Sell สามารถทำร้าย Port หุ้นทั้งของกองทุนและผู้ลงทุนรายอื่นๆ ได้ เช่น Prop Trade ยืมหุ้นที่กองทุนหรือรายอื่นๆ มี แล้วเอาไป Short แล้วปล่อยข่าวออกไปทั่วห้องค้าในเชิงลบต่อหุ้นตัวนั้นอย่างไม่สมเหตุสมผล

Prop Trade อาจทำให้ระบบตลาดทุนเสียหายในระยะยาวจากการไล่ราคาอันเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ นั่นคือ Prop Trade ที่ลากตลาดได้ด้วยการสร้างราคา โดยความเสียหายจะตกอยู่กับรายย่อยที่เข้าไปรับหุ้นแล้วโดนทิ้ง

รายย่อยที่มีความตั้งใจเข้ามาลงทุนจริงๆ และเป็นรายย่อยที่เพิ่งเข้าตลาดมาไม่นาน ต้องการเป็น VI เมื่อเจออาการที่คล้ายๆ ลากไปเชือด อาจเข็ดขยาดจนสาปส่งตลาดทุน ทำให้ตลาดทุนเสียภาพพจน์และไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนที่มีคุณภาพได้

การที่รายได้ของเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้ดีสูงถึง 6-7 หลักต่อเดือน อาจทำให้คนวิ่งเข้าใส่อาชีพ Day Trade ทำให้พัฒนาการของตลาดทุนมุ่งไปที่การสร้างวอลุ่มและเก็งกำไรระยะสั้น รายย่อยที่ไม่มีทุนหนาก็เสียเปรียบมากขึ้น เพราะจำนวนคนเข้าไปร่วมอาชีพ Day Trade จะมีมากขึ้น


ความเห็นต่อเกณฑ์ล่าสุดของภาคกำกับ แก้ถูกจุดหรือไม่ อย่างไร
-------------------------------------------------------------------

น่าจะดีขึ้นไม่มากก็น้อย แต่น่าจะตรวจสอบให้ถูกจุดด้วยความถี่มากขึ้น เพราะกระทบภาพพจน์ของตลาดทุนโดยรวมที่สาธารณชนมีความสงสัย

ทั้งนี้ มิได้ยืนยันว่า Prop Trade เป็นผู้ร้าย เพียงแต่ยืนยันว่าอย่างน้อยก็ต้องแก้ไขเรื่องภาพพจน์ เพราะนั่นจะกระเทือนความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนกับสาธารณชน


ข้อเสนอ
---------
ข้อดีต่อส่วนรวมของ Prop Trade ก็คือ Provide liquidity ให้ตลาดฯ (สภาพคล่อง) ซึ่งถ้าไม่มี Prop Trade การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจไม่แกว่งตัวมาก และ Volume จะหดหายไป ตลาดฯ อาจจะน่าสนใจน้อยลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น ต้องกำหนดหลักให้ดีว่าตลาดทุนต้องการอะไร

อาจแยก Prop Trade ออกไปตั้งเป็นกองทุนอีกประเภทหนึ่งหรือ Hedge Fund หรือให้แยกมาตั้งเป็น Proprietary Trading Firm แบบที่อเมริกาทำกันก็ได้ ทั้งนี้ การแยกเป็นสัดส่วนจะทำให้บริษัท Focus เฉพาะธุรกิจที่ตัวเองทำ หรือถ้าให้ทำใน บล.ได้ ก็อาจให้ซื้อขายผ่านบัญชีเจ้าอื่นเพื่อให้ต้องเสียคอมมิชชั่นอย่างเป็นธรรมกับผู้เล่นรายอื่นๆ
GUI
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

Re: วายร้ายตลาดหุ้น?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
ชัดเจนเลย
ACME49
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3425
ผู้ติดตาม: 13

Re: วายร้ายตลาดหุ้น?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับคุณleaderinshadow
อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนและความต่อเนื่องของเม็ดเงิน รวมถึงลูกเล่นต่างๆในตลาดเพิ่มขึ้น
ในเกมการเงิน อะไรที่ไม่รู้ คือ ความเสี่ยง
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: วายร้ายตลาดหุ้น?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

HotNews: SECเผย กม.เชือดนักปั่น พร้อมใช้ ยึดทรัพย์-ห้ามเหยียบSET 5 ปี

รูปภาพ

ก.ล.ต. วิ่งตามกระแสโลก แก้ไขพ.ร.บ. หลักทรัพย์ใหม่ เอาผิดนักปั่นหุ้น ฐานใช้ข้อมูลภายใน งานนี้เอาผิดทั้งแพ่ง-อาญา ก่อนการฟ้องคดี ให้ศาล สามารถใช้ดุลยพินิจในการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรได้ ห้ามคนผิด เทรดหุ้นในตลาดฯไม่เกิน 5 ปี

รายงาน ข่าวฝ่ายกฎหมายและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ได้สรุปสาระสำคัญการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วน ของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การบังคับใช้กฎหมาย และการเชื่อมโยงตลาดทุน หลังพบว่า สถิติของสำนักงานเกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่ เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ปรากฏว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ มีคดีเพียงส่วนน้อยที่ศาลสั่งลงโทษผู้กระทำผิดได้

รายงานฯ ระบุว่า สาเหตุที่ ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ มาจากการลงโทษส่วนใหญ่ เริ่มจากการลงโทษทางอาญา อาจไม่เหมาะกับการกระทำผิดในคดีหลักทรัพย์ที่หลักฐานส่วนใหญ่มักอยู่ในความ รับรู้และครอบครองผองผู้กระทำผิด ขณะที่ไม่มีการทิ้งร่องรอยการกระทำความผิดเหมือนคดีอาญาทั่วไป รวมทั้ง ต้องการให้ยืดหยุ่น สามารถรองรับการเชื่อมโยงตลาดทุนไทย กับตลาดทุนในภูมิภาคและโลก ก่อนเปิด AECในเร็วๆ นี้

ทั้ง นี้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมเงินทุนที่มีต้นทุนที่สมเหตุสมผลแก่ ภาคธุรกิจซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การกำกับดูแลตลาดทุนให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และโปร่งใส รวมทั้งให้ความคุ้มครองและความเป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงมีความจำเป็นต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน อันจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

หนึ่ง ในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่สนใจของผู้ลงทุน คือการบังคับใช้กฎหมาย ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความเชื่อมั่นว่าตนจะได้ รับความเป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจาก ผู้ที่กระทำการอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หากมีการกระทำอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ลงทุนหรือตลาดทุนจะต้องมีการดำเนินการต่อบุคคลดังกล่าวอย่างเหมาะสม ต่อไป

จาก ข้อมูลสถิติของสำนักงานเกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอัน ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ปรากฏว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร โดยมีคดีเพียงส่วนน้อยที่สามารถเสนอต่อศาลและศาลมีคำวินิจฉัยลงโทษผู้กระทำ ผิด รายงานหลายฉบับได้ระบุถึงสาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายว่า มาจากมูลเหตุหลายประการ ดังนี้

1. มาตรฐานการพิสูจน์ เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ("พระราชบัญญัติหลักทรัพยฯ") กำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะโทษทางอาญา จึงต้องมีมาตรฐานการพิสูจน์ที่สูงตามหลักการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย (beyond reasonable doubt) ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการกระทำผิดในคดีหลักทรัพย์ที่หลักฐานการกระทำความผิด ส่วนใหญ่มักอยู่ในความรับรู้และครอบครองของผู้กระทำผิด และไม่มีการทิ้งร่องรอยการกระทำความผิดเหมือนคดีอาญาทั่วไป จึงทำให้เป็นการยากที่โจทย์จะพิสูจน์ให้ได้ตามมาตรฐานดังกล่าว

2. ความซับซ้อนขององค์ประกอบความคิดเนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำอันไม่ เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ได้กำหนดองค์ประกอบความผิดในการกระทำความผิด ไว้หลายส่วน ซึ่งบางกรณียังมีความไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดภาระในการพิสูจน์และปัญหาการตีความ

3. กระบวนการดำเนินคดีใช้ระยะเวลานานเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวน การพิจารณามีหลายหน่วยงาน ทำให้ขั้นตอนและกระบวนการในการพิสูจน์ความผิดก่อนการฟ้องคดีใช้ระยะเวลานาน และการฟ้องคดีเกิดความล่าช้า รวมทั้งทำให้พยานหลักฐานในคดีสูญหายถูกทำลายได้ และพยานบุคคลอาจไม่สนใจที่จะให้ความร่วมมือในฐานะพยานอีกต่อไป อีกทั้งฐานความผิดบางกรณีมีอายุความสั้นเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดี

นอก จากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องปรับปรุงบทบัญญัติบางประการในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับการเชื่อมโยงตลาดทุนไทย กับตลาดทุนในภูมิภาคและโลก ท่ามกลางกระเเสของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะมาถึงในเร็ววันนี้

เหตุผลประกอบการแก้ไข

เนื่อง จากทฤษฎีการลงโทษส่วนใหญ่เริ่มจากการลงโทษทางอาญา เดิมจึงไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับการนำมาตรการลงโทษอื่นนอกจากโทษทางอาญามาใช้ บังคับ แต่ต่อมาเมื่อสภาพเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไป รัฐพบว่าการบังคับใช้โทษทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดบางอย่าง เช่น ความผิดทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น องค์ประกอบความผิด ภาระการพิสูจน์และระยะเวลาในการดำเนินคดี ดังนั้น จึงได้มีแนวคิดที่จะหามาตรการลงโทษอื่น เช่น การกำหนดมาตรการลงโทษอื่น เช่น การกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งเป็นมาตรการในเชิงการลงโทษอย่างหนึ่งซึ่งนำ ลักษณะสำคัญของโทษทางอาญา (Criminal Sanction) ในการกำหนดมาตรการซึ่งเป็นผลร้ายต่อผู้กระทำผิด ได้แก่ โทษปรับ มาผสมผสานกับลักษณะสำคัญของการชดเชยความเสียหาย (Compensate) ตามกฎหมายแพ่ง โดยใช้กระบวนการทางแพ่งและมาตรฐานการพิสูจน์ทางแพ่ง โดยในต่างประเทศได้มีการนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้กับความผิดเกี่ยวกับหลัก ทรัพย์ เช่น เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี และประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งที่มาของการหันมาใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับความผิดที่เกี่ยวกับหลัก ทรัพย์ แทนมาตรการทางอาญาที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ปัญหาภาระการพิสูจน์การกระทำความผิดที่ต้องพิสูจน์สิ้นสงสัย พยานหลักฐานมีจำกัด องค์ประกอบความผิดที่พิสูจน์เจตนายาก และต้องมีการเพิ่มเครื่องมือให้กับผู้บังคับใช้กฎหมาย

รายงานข่าวฝ่ายกฎหมายและพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) ระบุว่า การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ เพื่อ ให้การบังคับใช้กฏหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอันจะส่งผลอย่างมากต่อความเชื่อ มั่นของผู้ลงทุน ประกอบกับการลดข้อจำกัดทางกฎหมายในการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนโลก อันจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ สำนักงานจึงเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การบังคับใช้กฎหมาย และการเชื่อมโยงตลาดทุน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์

1.1 ปรับปรุงองค์ประกอบความผิดในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อ ขายหลักทรัพย์ให้ง่ายไม่ซับซ้อน และชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดฐานความผิดที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ยังขาดอยู่ เช่น เพิ่มฐานความผิดของ tippee ซึ่งนำข้อมูภายในที่ตนได้รับต่อมาไปใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น

1.2 เพิ่มบทสันนิษฐาน เช่น กรณีบุคคลที่มีโอกาสอย่างมากที่จะรู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน และเพิ่มบทสันนิษฐานของการกระทำที่เป็นผลให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสภาพ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

1.3 เพิ่มโทษปรับสำหรับความผิดในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อ ขายหลักทรัพย์ในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

2. การบังคับใช้กฎหมาย

2.1 เพิ่มกระบวนการบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งให้เป็นมาตรการทาง เลือก เพื่อให้รัฐสามารถบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการลง โทษทางอาญา โดยมาตรการลงโทษทางแพ่ง หมายถึง

(ก) การกำหนดให้ผู้กระทำผิดชำระค่าปรับทางแพ่ง (Monetary Penalty)

(ข) การกำหนดให้ผู้กระทำผิดคืนผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำผิด (Disgorgement)

(ค) การกำหนดให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคืนให้กับสำนักงาน (Reimbursement of Investigation Cost)

(ง) การห้ามผู้กระทำผิดเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 5 ปี

ทั้ง นี้ เงินที่ผู้กระทำผิดชำระเป็นค่าปรับทางแพ่ง หรือเพื่อคืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำผิดจะถูกนำส่งต่อกระทรวงการคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนเงินที่ผู้กระทำผิดชำระเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบของสำนักงาน ซึ่งคำนวณตามค่าใช้จ่ายจริงของสำนักงาน ก็จะคืนให้กับสำนักงาน

2.2 ความผิดประเภทที่สามารถบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งได้เป็นความ ผิดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยต่อความน่าเชื่อถือ และโปร่งใสของตลาดทุนไทย จึงเป็นบทบัญญัติที่ต้องการสัมฤทธิ์ผลของการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด ในระดับสูง ได้แก่

(ก) ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

(ข) ความผิดเกี่ยวกับหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง

(ค) ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์

2.3 ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งเพื่อบังคับใช้กับผู้กระทำผิด คือ คณะกรรมการกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง หรือเรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการ ก.ม.พ." ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีความเป็นอิสระจากสำนักงานและรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งคณะกรรมการ ก.ม.พ. จะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านหลักทรัพย์ บัญชี หรือการเงิน

2.4 ในกรณีที่ผู้กระทำผิดโต้แย้งคำสั่งของคณะกรรมการ ก.ม.พ. ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ และเมื่อผู้กระทำผิดได้ปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งครบถ้วนแล้ว ให้โทษทางอาญาที่มีมูลเหตุการดำเนินคดีมาจากข้อเท็จจริงเดียวกันนั้นระงับไป ด้วย

2.5 อายุความในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งจะมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่สำนักงานรู้ถึงการกระทำอันเป็นความผิดแต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดการกระทำผิด หรือหากเป็นกรณีที่มีการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญาก่อน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้มีมาตรการการลงโทษทางแพ่งจะต้องดำเนินการภายใน 2 ปี นับแต่วันที่คดีอาญาถึงที่สุด

2.6 ปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในทางอาญา ดังนี้

(ก) เพิ่มบทบัญญัติเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ที่สำนักงานส่งมอบในการกล่าวโทษเป็นสำนวนคดีโดยไม่ต้องมีการสอบสวนซ้ำ แต่ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนเพิ่มเติมอีก

(ข) ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการฟ้องคดี โดยให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจในการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามระยะเวลาที่ ศาลเห็นสมควรได้ รวมทั้งให้อำนาจสำนักงานในการร้องขอให้ศารกำหนดมาตรการในการสั่งการเพิ่ม เติมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานต่างๆ

(ค) เพิ่มบทบัญญัติเพื่อกำหนดอายุความสำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หากมิได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือมิได้มีการเปรียบเทียบโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่สำนักงานตรวจพบการกระทำความผิดหรือภายใน 5 ปีนับแต่วันที่มีการกระทำความผิด ให้ความผิดนั้นเป็นอันขาดอายุความ

3. การเชื่อมโยงตลาดทุน

3.1 เพิ่มความยืดหยุ่นให้บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ ที่ออกใหม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายต่างประเทศที่กำกับดูแลบริษัทดังกล่าวใน เรื่องการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ หากมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ลงทุนตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศหนด

3.2 กำหนดให้การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในต่างประเทศสามารถลงโทษในประเทศได้ หากการกระทำดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในประเทศได้รับผลกระทบ แต่จะลงโทษผู้กระทำผิดอีกไม่ได้ ถ้าศาลต่างประเทศได้พิพากษาปล่อยตัวผู้นั้น หรือมีคำพิพากษาของศาลลต่างประเทศให้ลงโทษ โดยผู้นั้นได้รับโทษจนครบถ้วนแล้ว

วันที่ : 20 กันยายน พ.ศ. 2556
ขอบคุณที่มาของข่าวจาก...
http://www.hooninside.com/news-detail.php?id=224941
โพสต์โพสต์