"วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว !"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

"วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว !"

โพสต์ที่ 1

โพสต์

(คหสต.) ด้านล่างผม highlight ส่วนที่มองว่าน่านำเอาไปคิดเป็นพิเศษเพราะผมก็ระวังจุดนี้เช่นกันในหลายๆกรณีของทั้งภาพรวมประเทศไทยและกรณีการลงทุนรายบริษัท เราควรแยกแยะให้ออก อย่าหลงการที่นักเก็งกำไรและนักฉวยโอกาสจากสถานการณ์ต่างๆมาทำให้ภาพและความเห็นต่อหลายๆอย่างเพี้ยนไป (ทฤษฏี Asset price action confirmation ต่อเหตุการณ์ต่างๆในวงจร positive feedback loop)

นักลงทุนที่แยกแยะไม่ออกระหว่างของจริงและภาพลวงตาที่เหล่านักฉวยโอกาสสร้างขึ้นมาท้ายสุดจะถูกทิ้งไว้กับความจริงที่ขื่นขม เมื่อวันที่ความจริงออกมาไม่ได้สลวยสวยงามเหมือนภาพที่เหล่านักฉวยโอกาสหลอกล่อวาดเอาไว้ พวกนี้ไม่อยู่รอดูของจริงหรอกครับ มาเร็วเคลมเร็วไปเร็ว ดังนั้นนักลงทุนที่มีความตั้งใจสูงแต่ความสามารถในการพิจารณาต่ำถูกชักจูงง่ายจึงเป็นเหยื่อชั้นยอด

หรือที่แถวบ้านเค้าเรียกกันง่ายๆว่า "ตอนทุกอย่างดีก็จูบปากกัน แต่พอวงแตกตัวใครตัวมัน" และ "ลุกคนสุดท้ายจ่ายรอบวง" :mrgreen:

ชั่วคราว ลวงตา ถาวร ยั่งยืน เราเท่านั้นต้องมองให้ออกเอง
วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว ?

12 ก.ย. 2556

โดย สันติธาร เสถียรไทย

"ยามมีหานโยบายดียาก ยามยากสร้างนโยบายดี" (Good times make bad policies, bad times make good policies)

นี่คือสิ่งที่รัฐมนตรีคลังประเทศอินโดนีเซียคนปัจจุบัน ชาทีบ บาสรี (Chatib Basri) บอกผมและทีมของเครดิตสวิส ตอนที่เราเข้าพบท่านเมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนที่ท่านเข้ารับตำแหน่งไม่กี่เดือนมานี้ ซึ่งเป็นปรัชญาโดนใจผมมากข้อหนึ่ง

ที่จริงแล้ว ตอนที่เรานั่งอยู่ในห้องนั้น เราคิดว่าอินโดนีเซียกำลังอยู่ใน "ยามมี" ที่ทำให้รัฐบาลของเขา รวมทั้งนักลงทุนนั้นประมาท มองไม่เห็นปัญหาของนโยบายเศรษฐกิจในตอนนั้น และคอยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ออกนโยบายและการปฏิรูปที่จำเป็น

หลังจากวันนั้น ผมเลยเขียนบทความชื่อ "เศรษฐกิจอินโดนีเซียของจริงหรือฟองสบู่" ลงในประชาชาติธุรกิจเมื่อต้นปี คาดการณ์ว่าอีกไม่นานเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะต้องพบกับปัญหา "ค่าเงิน" จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง (Current account deficit) และสุดท้ายธนาคารกลางของเขาก็จะต้องปล่อยให้ อัตราแลกเปลี่ยนรูเปียห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ตกทะลุ 10,000 พร้อมถูก "มัดมือชก" ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงเงินเข้าประเทศ ป้องกันไม่ให้ค่าเงินอ่อนตัวเร็วเกินไป โดยการขึ้นดอกเบี้ยนี้จะมี ผลลบ ต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเขาอย่างแน่นอน

มาถึงตอนนี้ ทุกอย่างที่พูดไว้นี้เกิดขึ้นหมดแล้ว และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เราคาดไว้เสียอีก

ที่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก คือ คนที่ต้องมารับตำแหน่งขุนคลังช่วงที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียกำลังจะเจอศึกหนัก ที่ต่างชาติกระหน่ำเทขายพันธบัตรรัฐบาลและเงินรูเปียห์ใน 2-3 เดือนนี้ ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นท่าน ชาทีบ นี้เอง โดยเข้ามารับตำแหน่งพร้อมกับการที่ขุนคลังเก่า นายอากุส มาโทวาร์โดโจ (Agus Martowardojo) สลับมารับตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติแทน

หลังการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งครั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียถูกแรงเทขายของนักลงทุน มัดมือชก ทำให้ต้องหักพวงมาลัยเปลี่ยนแนวนโยบายเศรษฐกิจ แต่สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ที่ติดตามเศรษฐกิจอินโดนีเซียมาอย่างใกล้ชิด ต้องยอมยกความดีความชอบให้กับทีมเศรษฐกิจชุดใหม่นี้ ที่กล้าหักพวงมาลัยได้เร็วและดำเนินนโยบายได้ "ถูกทางขึ้น" ราวกับจะแสดงให้เห็นว่าเมื่อยามยากมา เขาก็สามารถผลักดันนโยบายที่ถูก ถึงแม้จะไม่ดีสำหรับฐานเสียงทางการเมืองของเขาจริง ๆ

โดยนอกจากจะลดการชดเชยราคาน้ำมันปลีกจนทำให้ราคาน้ำมันเบนซินที่ปั๊มกระโดดขึ้นไป 44% เพื่อลดภาระการขาดดุลการคลังของรัฐบาลให้ต่ำลงกว่า 3% ของ GDP ที่เป็นข้อกำหนดภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว แบงก์ชาติเขาได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% แล้วออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ในกรอบของ Macroprudential policy เพื่อลดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะภาคคอนโดมิเนียม ที่มีบางแห่งราคากระโดดกว่า 50% ในปีสองปีที่ผ่านมา เรียกว่าเปลี่ยนไปจากนโยบายแนวเก่าอย่างชัดเจน

ปัญหาเกิดเพราะ "ยาที่ถูกต้อง" มาช้าเกินไป

น่าเสียดายที่ถึงแม้รัฐบาลจะจัด "ยาแรง" ชุดนี้ให้เศรษฐกิจไปแล้ว ปัญหาของเศรษฐกิจอินโดนีเซียนั้นคงยังไม่หายง่าย ๆ ค่าเงินรูเปียห์ยังตกลงเรื่อย ๆ แม้ว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียจะใช้เงินสำรองต่างประเทศไปแล้วถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาแค่สองเดือนที่ผ่านมา เพื่อพยุงค่าเงิน จนขณะที่เขียนบทความนี้ เงินรูเปียห์ดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี จนผมกับทีมเครดิตสวิสต้องเกาะติดโทรศัพท์กับอีเมล์ทั้งวัน คอยตอบคำถามจากนักลงทุนว่าเกิดอะไรขึ้น ?

เหตุมาจากปัจจัยสำคัญสองข้อด้วยกัน ข้อแรก คือ การขาดดุลการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าไรนัก แม้เศรษฐกิจชะลอตัวลงจนการนำเข้าหดตัวลงแล้ว เพราะการส่งออกของอินโดนีเซียก็โดนฉุดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ เช่น ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม และยางพารา ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ

โดยเหตุหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนด้วย ในขณะเดียวกันการที่อินโดนีเซียไม่ได้มีฐานการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่ค่อยได้รับอานิสงส์จากการที่เศรษฐกิจโลกตะวันตกฟื้นตัวขึ้น

ข้อสอง คือ เมื่อนักลงทุนต่างชาติกลัวว่า QE ของธนาคารกลางอเมริกาจะค่อย ๆ หมดไป ดอกเบี้ยพันธบัตรของอเมริกาก็สูงขึ้น ลดส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างอเมริกาและอินโดนีเซีย ทำให้เงินไหลเข้าประเทศน้อยลง เพราะฉะนั้นการจะดึงเงินเข้าประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลทางการค้าก็ยากขึ้น และเมื่อรัฐบาลไม่ยอมออกมาสื่อสารให้ชัดเจน ว่าพร้อมที่จะใช้ทุกนโยบายและมาตรการมาสร้างเสถียรภาพให้ค่าเงิน ก็ยิ่งมีทั้งพวกเก็งกำไรมาเล่นค่าเงิน บวกกับคนในประเทศอยากเอาเงินออกมาเก็บเป็นดอลลาร์ ทำให้สถานการณ์ยิ่งหนักลงไปอีกสุดท้าย รัฐบาลคงไม่มีทางเลือก นอกจากต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปอีก เพื่อดึงเงินเข้าประเทศและสร้างความมั่นใจในเงินรูเปียห์ ซึ่งจะเป็นข่าวร้ายสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต เพราะลำพังแค่การขึ้นดอกเบี้ยและออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่มีมาแล้วนั้น ก็น่าจะชะลอเศรษฐกิจของอินโดนีเซียอย่างมากอยู่แล้ว เลยกลายเป็นว่ารัฐบาลถูกบีบให้เลือกระหว่าง เสถียรภาพของค่าเงิน หรือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดูไปก็คล้ายกับที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศใหญ่ที่ขาดดุลการค้าในเอเชีย อินเดียกำลังประสบปัญหา (อินโดนีเซียยังไม่หนักหนาเท่า) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมปรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาค "ลดยากระตุ้น เหยียบเบรก" ตั้งแต่ตอนที่มีโอกาสปีที่แล้ว และเรื่องนี้เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประเทศอาเซียนอื่นเช่นกัน

ผลกระทบทางลบจากการเหยียบเบรกตอนนี้ของอินโดนีเซียอาจมากกว่าและยาวนานกว่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่คิด

ทั้งนี้ นักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมักคิดว่า เศรษฐกิจภายในประเทศของอินโดนีเซียเข้มแข็งมากที่ผ่านมา เพราะเหตุผลเชิงโครงสร้างระยะยาวทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การขยายตัวของชนชั้นกลาง การที่มีประชากรวัยทำงานเป็นจำนวนมาก เป็นต้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ปัจจัยพวกนี้มีความสำคัญอยู่บ้าง แต่เหตุผลที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียโตอย่างเข้มแข็งจนเตะตานักลงทุนใน 4-5 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุมาจากปัจจัยและนโยบายระยะสั้นมากกว่าเรื่องโครงสร้างระยะยาวอย่างที่หลายคนคิด

เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศของอินโดนีเซียใน 3-4 ปีที่ผ่านมา คือ
"ยาโด๊ป" สองอย่าง

หนึ่ง - คือการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งตัวขึ้นสูง (Commodity boom) ด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน โดยในช่วงที่ราคาถ่านหินพุ่งขึ้นสูง เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงจากการที่บริษัททั้งในประเทศและต่างชาติ เพิ่มการลงทุนในภาคเหมืองแร่ (Mining) และภาคเศรษฐกิจสนับสนุนต่าง ๆ และยังได้ประโยชน์ทางอ้อมเมื่อกำไรที่ได้
จากทรัพยากรเหล่านี้ถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศนำไปใช้ลงทุนต่อในธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะฉะนั้นราคาถ่านหินที่สูงจึงเป็นส่วนผสมสำคัญที่ขาดไม่ได้ของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย

สอง - คือการใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มในปี 2554 ด้วยการลดดอกเบี้ย ในขณะที่เศรษฐกิจและสินเชื่อนั้นโตได้ดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดการบูมของสินเชื่อ (Credit boom)

มาตอนนี้ Commodity boom ผ่านไปแล้ว เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและ Credit boom ก็กำลังจะถูกปิดฉากลง เมื่อนโยบายการเงินเปลี่ยนไปจาก ผ่อนคลาย เป็น ตึงตัว การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการลงทุนในอินโดนีเซียจึงหมดยาโด๊ปที่เป็นแรงขับ กลับมาเจอการเหยียบเบรก และจะต้องชะลอตัวลงอย่างมากต่อไปข้างหน้า

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจนี้น่าจะมีผลทางลบต่อภาคเศรษฐกิจที่เคยร้อนแรงต่อไป เช่น ภาคธนาคารก็จะต้องพบกับปัญหาการชะลอตัวของสินเชื่อและหนี้เสียที่สูงขึ้น ถึงแแม้อัตราส่วนของหนี้ทั้งหมดต่อ GDP จะยังค่อนข้างต่ำก็ตาม ในขณะเดียวกันปริมาณการซื้อขายและราคาอสังหาริมทรัพย์ทั้งบางส่วนในกรุงจาการ์ตา และเมืองใหญ่ เช่น สุราบายาจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงจนส่งผลกระทบต่อภาคการก่อสร้างต่อไป

ที่สำคัญ คือ นักลงทุนและพวกเรานักเศรษฐศาสตร์เองหลายคน ยังไม่ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นปัญหาระยะสั้นแค่ไม่กี่ไตรมาส และจำกัดอยู่ในภาคเหมืองแร่เท่านั้น
เดี๋ยวเดียวอินโดนีเซียจะกลับไปโตเร็วปีละ 6-7% อีก ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรามักเผลอเอาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เห็นในปีสองปีที่ผ่านมาเป็นบรรทัดฐาน ว่าเป็น "เทรนด์" การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนั้น ๆ โดยลืม "ยาโด๊ป" ทั้งหลายที่เศรษฐกิจนั้นใช้อยู่

เหมือนที่เราเคยคิดว่า GDP ของอินเดียน่าจะโตได้เฉลี่ยปีละ 7-8% หรือเวียดนามปีละ 6-7% เมื่อไม่นานมานี้ จนตอนนี้ถึงมารู้ว่าทั้งสองประเทศนั้นไม่สามารถโตได้ในอัตรานั้นอย่างยั่งยืน

ที่จริงแล้วแม้ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจจะต่างกันมาก แต่วัฏจักรของเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปีสองปีข้างหน้าจะมีความคล้ายคลึงกับอินเดียในสองสามปีที่ผ่านมา คือ จะโตได้ต่ำกว่าศักยภาพของตัวเอง (Sub-trend growth) หลังจากที่โตเกินตัวมาหลายปี


วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ? พี่ใหญ่ของอาเซียนจะล้มหนักแค่ไหน

ในขณะที่เขียนบทความนี้ สถานการณ์ของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะค่าเงินรูเปียห์ต่อดอลลาร์กำลังดิ่งทะลุ 11,000 (จากแค่ประมาณ 9,900 เมื่อปีที่แล้ว) และหลายคนเริ่มพูดถึงคำว่า วิกฤตต้มยำกุ้งอีกครั้ง

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกมาตรการมาหลายชุดเพื่อลดปัญหาการขาดดุลเงินเฟ้อ และรองรับไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากเกินไป โดยผมต้องขอชื่นชมท่านชาทีบ รัฐมนตรีคลัง ที่สละเวลาเกินชั่วโมงกว่า พูดคุยอธิบายนโยบายชุดนี้ให้พวกเราและนักลงทุนกว่า 500 รายจากทั่วโลกฟัง ในการประชุมทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (international conference call) ที่ทางทีมเครดิตสวิสจัดให้ โดยผมเองได้รับเกียรติเป็นผู้ดำเนินการประชุม (moderator) จึงได้เรียนรู้อะไรจากท่านมาก

แต่เสียดายที่สำหรับนักลงทุนแล้ว สิ่งที่จำเป็นที่สุดตอนนี้ คือ นโยบายการเงินไม่ใช่ การคลัง ที่ท่านเป็นผู้ดูแลโดยตรงอยู่ขณะนี้ และทุกคนที่หมายตาหวังใจจะเห็นธนาคารกลางอินโดนีเซียลดดอกเบี้ยนั้น ก็รอเก้อ เพราะยังไม่มีสัญญาณทางนโยบายออกมาอย่างชัดเจน แม้ว่านโยบายอื่น ๆ ของรัฐบาลน่าจะช่วยปัญหาในระยะกลางได้บ้าง ในระยะสั้น วิกฤตของอินโดนีเซียเป็นวิกฤตทางความมั่นใจ ไม่ใช่วิกฤตทางการเงินเต็มรูปแบบ เช่น ต้มยำกุ้ง

สิ่งที่จะบรรเทาลงได้ คือ ต้องให้แบงก์ชาติอินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ยและส่งสัญญาณว่าจะให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพของค่าเงินเขาเป็นอันดับหนึ่งในตอนนี้

บทเรียนสำคัญสำหรับทุกประเทศในอาเซียน

กรณีของพี่ใหญ่เศรษฐกิจอาเซียนนี้เป็นบทเรียนหนึ่งของ"น้ำลดตอผุด" คือ ในยามดี อะไรก็ดูดี นักลงทุนเทเงินไม่สนใจ ผู้วางนโยบายก็ไม่คิดจะผลักดันนโยบายหรือการปฏิรูปใด ๆ จนมาใน ยามยากถึงจะเริ่มหานโยบายดีมาใช้ แต่ก็สายเสียแล้ว เพราะปัญหาที่สะสมไว้ บวกกับนักลงทุนที่เข้าโหมด "กระต่ายตื่นตูม" เห็นอะไรก็เป็นไม่ดีไปหมด ผมก็ได้แต่หวังว่าท่านชาทีบ และทีมจะสามารถฝ่าฟันพายุนี้ไปได้ และประธานาธิบดีคนใหม่ที่จะได้รับเลือกตั้งรับช่วงต่อจากท่าน Susilo Bambang Yudhoyono ในปีหน้า 2557 จะสามารถผลักการปฏิรูปสำคัญต่าง ๆ ที่ช่วยให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียพลิกฟื้นได้ ที่สำคัญที่สุด คือ หวังว่าปัญหาในอินโดนีเซียนี้จะเป็นบทเรียนให้กับประเทศอื่นในอาเซียน รวมทั้งไทยเราด้วย ซึ่งยามลำบากของเศรษฐกิจไทยก็มาถึงแล้วเหมือนกันในปีนี้

หวังใจว่า "ยามยากจะสร้างนโยบายดี" ในประเทศไทยให้ได้เห็นกันบ้าง
value trap
รูปภาพ
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: "วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว !"

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ส่วนเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้เขียนได้ยกขึ้นมาพูดไว้ ส่วนนี้ต้องตรวจสอบกันเองน้าครับ :P
value trap
รูปภาพ
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 3

Re: "วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว !"

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อินโดนิเซีย เริ่มเหมือนไทยในปี 1997 แล้วครับ ทุนสำรองเริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ

รอวันเฮดฟันด์ โจมตีครั้งสุดท้าย

เฮดฟันด์จะจุดไฟเผาที่เรือของอินโดนิเซียก่อน ไฟจะลามมาเรื่อยๆ เพราะเรือของ Asian

ผูกกันไว้ ยิ่งผูกกันแน่นจะแก้ไขก้ไม่ทัน อินโดให้รอดเกิน ปีนี้ก้ถือว่าเก่งมากแล้วนะครับ


หลังศึกสุดท้าย ผ่านไป คือเวลาที่ดีที่ ธงไทยจะโบกสะบัดไปไกล ไปเหนือกว่าแม่น้ำแยลู

ธงไทยจะไปปักที่ ปักกิ่ง มันเป็นเกมที่ เราต้องซื้อตอนที่เค้ากลัวๆกัน
แนบไฟล์
warren buffett2.jpg

ภาพประจำตัวสมาชิก
แงซาย
Verified User
โพสต์: 847
ผู้ติดตาม: 1

Re: "วิกฤตเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือแค่ชั่วคราว !"

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Free your life , Fly your love
โพสต์โพสต์