เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 151

โพสต์

Dech เขียน:
Pekko เขียน:
Nevercry.boy เขียน:ขอถามทุกท่านครับ

ในสมัยพุทธกาลหรือหลังจากนั้น มี ฆราวาส หรือ อุบาสก หรือ อุบาสิกา พ่อค้าวานิช หรือ นักธุรกิจ ท่านใด บรรลุธรรมบ้างครับ?
บรรลุธรรมขั้นไหนครับ ถ้าขั้นเบื้องต้นก็มีมากมาย ขอยกตัวอย่างที่ผมรู้จัก เช่น นางสุชาดา นางวิสาขา อนาถบิณฑิกะเศรษฐี หมอชีวกโกมารภัจจ์ บิดา-มารดา-ภรรยาของพระยสะ เป็นต้น และที่ไม่ปรากฎนามมีอีกเป็นจำนวนมากครับ
ส่วนหลังจากพุทธกาลก็มีมาก แต่ไม่สามารถระบุได้ ถือว่าเป็นการอวดอุตริ มีเพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าใครบรรลุธรรมถึงขั้นไหนเท่านั้นครับ
ผมว่าพี่ Nevercry.boy อย่างรู้เพิ่มว่า ท่านเหล่าปฏิบัติธรรมกันอย่างไรครับ
แล้วการอวดอุตรินี่คืออวดยังไงครับ
ผมว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้รู้องค์เดียวนะครับ ว่าใครบรรลุธรรมบ้าง
มาช่วยถามครับ
ผมเข้าใจว่า... ใครบรรลุธรรมนี่มี พระพุทธเจ้า กับ ตัวของผู้ที่บรรลุธรรม เท่านั้นที่รู้

และพอดีพระพุทธเจ้าได้บัญญัติเอาไว้ว่า ห้ามอวดอุตริ ดังนั้นพอไม่มีพระพุทธเจ้าบอกว่าใครบรรลุ ตัวผู้บรรลุเองถ้าไปบอกคนอื่นก็ถือว่าอวดอุตริ ซึ่งถ้ากิเลสหมดสิ้นแล้ว พระอริยะจำพวกนี้ศีลจะสมบูรณ์ ไม่อวดอุตริมนุษยธรรมแน่นอน

ดังนั้นก็เลยเป็นเรื่องที่ลูกศิษย์ทำนายทายทักกันเอาเอง ว่าท่านแต่ละองค์บรรลุถึงขั้นไหน แต่บรรลุจริงหรือไม่ เราไม่ใช่ตัวผู้บรรลุ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทำนาย... จะฟันธง 100% ก็คงจะไม่ได้

เอาเป็นว่า ใครจะบรรลุไม่บรรลุก็ช่าง... ธรรมอันใดน้อมมาปฏิบัติแล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นน้อย เป็นไปเพื่อละเหตุแห่งทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบระงับของกิเลส แม้ธรรมอันนั้นเราจะได้จากใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นขอทาน คนบ้าใบ้บอดหนวก ธรรมอันนั้นก็ควรน้อมนำมาปฏิบัติ ควรทำให้แจ้ง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 152

โพสต์

กระทู้เรื่องการใช้ชีวิตในฐานะนักลงทุน
ขณะเดียวกันก็เดินไปในเส้นทางธรรมะด้วย

ผมได้พบพี่คนที่แปลหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดนักลงทุนเน้นคุณค่า ถามว่าทำไมพี่ไม่แปลหนังสือเล่มใหม่ ๆ พี่ตอบผมว่า หนังสือที่แปลมาแนวทางเน้นคุณค่ามันเหมือน ๆ กัน ก็ไม่ได้แปลเพิ่มแล้ว ที่มีอยู่ก็พิมพ์ซ้ำ ที่มีค้างสต๊อกเยอะก็แจกกันไป
ผมรู้จักพี่อีกคนที่ได้ให้สัมภาษณ์วิธีการขายหุ้น พี่ไม่รู้สึกขายหมู เพราะได้ราคาที่พอใจแล้ว ส่วนราคาที่ขึ้นไปหลังจากนี้ คนที่ซื้อไปแล้วถือต่อหรือขายต่อก็จะมีกำไร ผมพบพี่คนนี้ในงานสังสรรค์ไทยวีไอ ไม่ถามเคล็ดลับอะไรเลยแต่ขอจับมืออย่างเดียวและชื่นชมว่าผมชอบความคิดและการกระทำของพี่ครับ
คุณเห็นอะไรในฐานะนักลงทุนและเส้นทางธรรมะจากบุคคลสองท่านนี้ ลองมาแชร์กันครับ
อนึ่งผมไม่ขออ้างชื่อของพี่ทั้งสองในนี้ เพราะมีคนดีหลายคนที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึงซึ่งมี
พระคุณมากมายที่แชร์ข้อความดี ๆ ในบอร์ดไทยวีไอ และโดยส่วนตัวผมเชื่อว่าธรรมะที่มีความดีเป็นพื้นฐานนั้นไม่มีชื่อเรียกไม่มีคำจำกัดความเข้าใจง่ายด้วย กาย, วาจา และใจ ครับ
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 153

โพสต์

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพราหมณ์สองคนชื่ออุปติสสะและโกลิตะ ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกันตั้งแต่เล็ก
เพราะทั้งคู่เป็นบุตรของพราหมณ์ และทั้งสองตระกูลพราหมณ์ก็สนิทสนมกันมายาวนาน
เป็นตระกูลที่ร่ำรวย เรียกว่าเป็นมหาเศรษฐีในยุคนั้น อยู่ในหมู่บ้านนาลกะ ซึ่งอยู่ไม่ห่างนครราชคฤห์ ในแคว้นมคธ
ทั้งสองร่ำเรียนและเติบโต ไปไหนมาไหนพร้อมกันโดยส่วนมาก พร้อมบริวารจำนวนมาก ประมาณ 250 คน

ทั้งสองเป็นลูกคนรวย มีกิจการก็ไม่ต้องทำงานเองมากมาย ให้เงินทำงาน ก็มีเวลาท่องเที่ยว สนุกสนานมาก
วันหนึ่ง ก็ไปท่องไปเที่ยวดูสิ่งบรรเทิงใจตามปกติ ก็พบว่าทุกคนก็สนุกสนานรื่นเริง ลุ่มหลงจมอยู่กับความบันเทิงนั้น
แต่พราหมณ์ทั้งสองเกิดความสังเวช เห็นว่าไม่น่ารื่นรมณ์อีกแล้ว ก็เหมือนๆ เดิม ไม่เห็นจะมีอะไรยั่งยืนเลย
พอหมดสนุกรอบนี้ ก็ตระเวรหาอย่างอื่นๆ ไปเรื่อยๆ

คิดได้ว่าผู้คนทั้งหลายต่างมัวหลงเพลิดเพลินอยู่กับโลก วนเวียนไม่สิ้นสุด
ทั้งที่ๆ รู้อยู่แล้วว่าอายุทุกคนก็สั้นนัก ไม่ถึงร้อยปี ก็ต้องตายกันแน่นอน
ตายตอนไหนก็ไม่รู้ ตายไปก็รู้จะทำยังไงต่อ ทำไมจึงยังมาหลงมัวเมาอยู่อีก

ทั้งสองจึงตกลงร่วมกันว่าพวกเราควรจะแสวงหาความรู้ที่จะทำให้หลุดพ้นจากความไม่รู้นี้
จึงละทิ้งสมบัติมหาศาล คิดเป็นทรัพย์ในยุคนี้ก็หลายร้อยล้านบาท
เพื่อออกไปหาครูอาจารย์ ดับความไม่รู้ ดับความเวียนวนอยู่แบบนี้ น่าจะมีใครสักคนบอกเราได้

พิจารณาก็คิดว่า พวกฤาษีชีไพร ปริพาชก นักบวชหรือบัณฑิต ผู้รู้พวกนี้น่าจะช่วยได้
ว่าแล้วจึงได้ไปร่วมเป็นปริพาชก นักบวชในยุคนั้น และไปฝากตัวอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชก
ส่วนบริวารก็ขอติดตามไปด้วยร่วมไปด้วย
เมื่อลูกคนรวยมาอยู่ในสำนักด้วยทำให้สัญชัยปริพาชกกลายเป็นสำนักที่ดูดีไปในทันที

ทั้งสองฉลาดมาก ว่ากันว่าเล่าเรียนจบวิชาทั้งหมดของสำนักภายในสองสามวันเท่านั้น และเมื่อจบก็อยู่ช่วยอาจารย์สอน
แต่ก็เห็นว่า วิชาเหล่านี้ยังไม่มีสาระพอที่จะดับความสงสัยพวกนั้นได้เลย จึงตระเวนสอบถามปัญหาจากเหล่าผู้รู้ทั้งหลาย
แต่แทนที่จะได้รับการแก้ปัญหา ทั้งสองกลับต้องเป็นผู้แก้ปัญหาเสียเอง

ทั้งสองจึงแยกย้ายไปหาผู้รู้ ตั้งกติกาว่า เมื่อผู้ใดได้พบก่อน ผู้นั้นจงมาบอกให้อีกคนรับรู้ด้วย
ตกลงได้แล้ว ก็แยกย้ายกันไปค้นหา

เช้าวันหนึ่ง ขณะเดินในตลาดอุปติสสะปริพาชกได้พบเห็น นักบวชผู้หนึ่ง
แลดูนักบวชผู้นี้มีกิริยาดี ทั้งขณะก้าวย่าง ขณะมาขออาหาร นัยน์ตาทอดลง ท่าทางงดงาม มรรยาทดี
อุปติสสปริพาชก ซึ่งเดินติดตามดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นว่านักบวชผู้นี้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถน่าเลื่อมใส ยิ่งนัก
น่าจะเป็นผู้ที่รู้หรือเป็นศิษย์ของใครสักคนที่น่าจะช่วยตอบคำถามที่ตนสงสัยอยู่ได้

จึงติดตามไปเรื่อย รอโอกาสที่จะสอบถามสิ่งที่ตนสงสัย
เมื่อนักบวชผู้นั้นขออาหารได้พอขบฉันแล้วก็ปลีกตัวออกไปจากหมู่บ้านไป
อุปติสสะจึงเข้าไปหา ปูเสื่อหาน้ำให้ แล้วก็ปลีกตัวมานั่งรอห่างๆ ให้ท่านกินอาหารให้แล้วเสร็จ
เมื่อท่านทำธุระแล้วเสร็จแล้ว จึงได้ขอโอกาสไปสอบถามว่า ท่านเป็นใคร
ท่านรู้ธรรมอันใด ท่านบวชกับใคร ใครเป็นอาจารย์ของท่าน อาจารย์ท่านสอนอะไรให้บ้าง โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าด้วย

นักบวชผู้นั้น ตอบว่า เรามีนามว่า อัสสชิ (ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรก 1 ใน 5 ของพระอาจารย์)

พระอัสสชิ ตอบว่าเราเป็นศิษย์ของพระสมณโคดม ผู้เป็นบุตรแห่งศากยวงศ์ ผู้เป็นกษัตริย์
ท่านได้ละทิ้งสมบัติทางโลก เพื่อออกหาวิธีแก้เกิดแก้แก่แก้เจ็บแก้ตาย
ท่านผู้นี้แหละเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจในสิ่งที่ท่านบอกเรา

ท่านตอบถ่อมตนต่อว่า
เราเป็นผู้ศิษย์ใหม่พึ่งมาเรียนกับท่านได้ไม่นาน ไม่อาจแสดงความรู้ที่กว้างขวางได้
จะบอกได้ก็โดยย่อๆ เท่านั้น ท่านจะฟังหรือไม่

อุปติสสะปริพาชกตอบว่า ท่านจงแสดงสิ่งนั้นเถอะ ข้าพเจ้าเองก็ต้องการแต่ใจความเท่านั้น
ได้โปรดแสดงให้ข้าพเจ้าฟังเถิด

พระอัสสชิ จึงตอบว่า ฉะนั้นท่านจงตั้งใจฟังเถอะ แล้วก็พูดตอบไปว่า

"เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต เตสญฺจะ โย นิโรโธ จะ เอวํ วาที มหาสมฺโณ"
แปลได้ว่า
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"

เมื่อตั้งใจฟังและพิจารณาตามไป เพียงเท่านี้
อุปติสสปริพาชกก็ทราบแทงตลอดในอริยสัจ รู้และเข้าใจในสิ่งที่พระอัสสชิสอนในทันที
แม้ว่ายังไม่รู้ว่าจะเรียกสิ่งที่รู้ว่าอะไร

หลังจากนั้นก็กราบพระอัสสชิเป็นอาจารย์ และถามที่อยู่ของพระศาสดาของเรา
เพื่อจะได้ไปฟังติดตามไปหาความรู้ต่อไป ให้พระอาจารย์เดินทางไปก่อน
แล้วขอตัวไปหาเพื่อนรักที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ว่าเมื่อใครรู้แล้วให้บอกกล่าวกัน

ว่าแล้วจึงเดินทางไปบอกความรู้นี้แก่ โกลิตะ สหายรัก
เมื่อกลับไปและบอกเล่าเรื่องที่ได้พบกับพระอาจารย์อัสสชิ ตลอดจนแสดงสิ่งที่ได้ฟังมาให้แก่เพื่อนฟังแล้ว
ซึ่งอุปติสสก็เล่าเท่าที่รู้มาคือ เล่าเหตุการณ์ที่พบและสิ่งที่อาจารย์สอนย่อๆ ก็คือเล่าว่า

"เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต เตสญฺจะ โย นิโรโธ จะ เอวํ วาที มหาสมฺโณ"

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"

โกลิตตะปริพพาชกฟังและพิจารณาตามเช่นนั้น ก็รู้ในสิ่งเดียวกันกับที่อุปติสสรู้ คือว่าพบทางสว่างแล้ว

จึงไปขอลาจากสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ และบอกให้อาจารย์ติดตามไปด้วย เพราะตอนนี้เราพบทางแล้ว
แต่สัญชัยก็ไม่ไปและขอให้ทั้งสองอยู่ช่วยกันสอนต่อเช่นเดิม อ้อนวอนอยู่หลายครั้งให้อยู่ช่วยกันสอน
เพราะเป็นอาจารย์แบบนี้ ใครต้องมาหาเราแน่ แบบนี้ก็ดีอยู่แล้วนะ จะไปเป็นศิษย์ผู้อื่นทำไม

แต่ผู้รู้แล้ว ย่อมอยู่ไม่ได้ ทำยังไงก็รั้งไว้ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องยอมให้ไป
ส่วนบริวารที่ติดตามมาเมื่อมาบวชกับสัญชัย ทั้งสองก็ให้สิทธิที่จะอยู่ต่อไปได้ตามสะดวก
แต่สุดท้ายบริวารก็ขอตามไปด้วยเพราะบอกว่าที่เราออกมานี่ก็เพราะตามทั้งสองมา
เมื่อเห็นทั้งสองจะไปจึงขอลาติดตามไปด้วย สัญชัยผู้เป็นอาจารย์ถึงกับกะอักเลือด

ทั้งสองพร้อมด้วยบริวารจึงพากันไปหาพระสมณโคดม ผู้เป็นศาสดา เดินทางไปสถานที่ที่พระอาจารย์ได้บอกไว้
ว่าศาสดาของพวกเราอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร
เมื่อได้พบจึงขอบวช พระพุทธองค์จึงบวชให้ทั้งสองพร้อมด้วยบริวาร และอธิบายสิ่งที่รู้ให้ฟัง

บริวารนั้นรู้แจงหมดตั้งแต่วันแรกที่ได้บวช
ส่วนพระโกลิตตะ ซึ่งต่อมาก็คือพระโมคคัลลานะ เป็นชื่อใหม่ที่พระพุทธองค์ตั้งให้
เพราะว่าเป็นบุตรของนางโมคคัลลี ก็ไปพิจารณาต่อสำเร็จกิจหลังจากบวชได้ 7 วัน
ส่วนพระอุปติสสะ ซึ่งต่อมาพระพุทธเจ้าเปลี่ยนชื่อให้ว่าสารีบุตร คือบุตรของนางสารี
รู้แจ้งทั้งหมดหลังจากอุปสมบทได้ 15 วัน
-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Pekko
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 676
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 154

โพสต์

Dech เขียน: แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
ผมคิดว่า บุญบารมี สมาธิและปัญญาไม่เท่ากัน เพราะทั้งอุปติสสะ และโกลิตะต่างเป็นปริพาชกที่สามารถเข้าถึงฌาณ 8(รูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 4) ย่อมมีจิตที่สงบเป็นกำลัง+มีความอ่อนน้อมฝักใฝ่ทางธรรม ถึงพร้อมด้วยปัญญา(ภาวนมยปัญญา)ที่แหลมคม กอปรกับพระอัสสชิเป็นผู้ที่ย่นย่อใจความสำคัญได้เป็นเลิศ ทุกอย่างบรรจบเหมาะ ท่านอุปติสสะได้ฟังแค่ประโยคเดียว แทงทะลุถึงหัวใจ เห็นอริยสัจ 4 แจ่มแจ้งทันที

ผมคิดว่าพวกเราสมัยนี้ มีแต่สุตมยปัญญา (ปัญญาที่ได้จากการฟัง) และจินตมยปัญญา (ปัญญาที่ได้จากความคิด) เพียงเท่านั้น ซึ่งยังขาดภาวนมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสมถะ-วิปัสสนา สมถะ ก็คือ สมาธิ หรือฌาณ ส่วนวิปัสสนา คือ สังกัปปะ และทิฏฐิ ความคิดความเห็น ซึ่งทั้งสมถะวิปัสสนาเหมือนขา 2 ข้างต้องเดินไปพร้อมกัน และพอดีกับกำลังของตน

ถ้ากำลังสมถะ>วิปัสสนา คือ ติดสมาธิ จะขี้เกียจใช้ปัญญา ติดสุขสงบ มีแนวโน้มที่เอียงไปทางโลกียฌาณ อภินิหาร
ถ้ากำลังวิปัสสนา>สมถะ คือ บ้าความคิด เพ้อเจ้อ คิดว่าตัวเองเก่งหลง มีแนมโน้มเอียงที่เกิดวิปัสสนูปกิเลส 10 (ซึ่งผมคิดว่าเคยเป็นมาแล้วทั้ง 2 อย่างครับ)

เมื่อก่อน ผมเองก็ตั้งความหวังว่าเพียงได้ฟังเทศน์หรือคำสอนจากพระเก่งๆ เพียงประโยคเดียว ก็น่าจะบรรลุธรรมได้ไม่ยาก ปัญญาเราก็ดี เข้าใจเรียนรู้จดจำอะไรได้รวดเร็ว (คิดเข้าข้างตัวเอง) เมื่อได้ฟังจริงๆ แล้วผมก็เข้าใจแบบผ่านๆเหมือนคนทั่วไป ขวนขวาย พยายามทำความเข้าใจกับประโยคข้างบ้น ก็ไม่ช่วยให้แจ่มแจ้งมากขึ้น ซึ่งมาเข้าใจในภายหลังเมื่อสัก 3 ปีที่ผ่านมาว่า ความคิดแบบนี้ไม่ถูกต้องนัก คือ ไม่ควรฝากความหวังไว้ที่พระเก่งๆ หรือเอาเราไปเปรียบกับพระสารีบุตร (ไม่รู้จักประมาณตนเอง) สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการพึ่งตนเองตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ สติปัฏฐาน 4 ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 155

โพสต์

Pekko เขียน: เมื่อก่อน ผมเองก็ตั้งความหวังว่าเพียงได้ฟังเทศน์หรือคำสอนจากพระเก่งๆ เพียงประโยคเดียว ก็น่าจะบรรลุธรรมได้ไม่ยาก ปัญญาเราก็ดี เข้าใจเรียนรู้จดจำอะไรได้รวดเร็ว (คิดเข้าข้างตัวเอง)
ผมเคยคิดถึงขั้นที่ว่า ทำไมถึงต้องพระอนาคามี ถึงละราคะได้ ทั้งๆที่ตัวผมเองยังไม่บรรลุธรรม
ขั้นใดเลย ก็ยังไม่รู้สึกอะไรกับเรื่องพวกนี้
แต่พอผ่านไปได้ไม่ถึงเดือน ก็กลับมาชอบความสวยๆงามๆอีก จึงทำให้ได้รู้ว่า ไม่ใช่ของง่าย
หากตายังมองเห็นรูป ใจก็สั่งให้กายทำอย่างที่ใจคิด สุดท้ายก็กลับไปยึดติดเหมือนเดิมอีก

เหมือนดังเนื้อความในธรรมจักร ที่กล่าวไว้ว่า ราคะก็คือส่วนของความรัก ความไม่สบายก็คือส่วนของความชัง
เมื่อสองส่วนรวมกันจึงกลายเป็นความหลง คือ โมหะ นั่นเอง

ตราบใดที่ยังยึดติด จิตก็ไม่หลุดพ้น :D
เมื่อได้ลองปฎิบัติจริงๆ ถึงรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำกล่าวที่ว่า การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัจธรรมให้บริสุทธิ์
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 22

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 156

โพสต์

Dech เขียน:
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"


-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
อ่านแล้วใคร่ครวญมากครับ ยิ่งคุณ Dech ตบท้ายด้วยคำถาม

(1) คำถามคุณ Dech ผมตอบไม่ได้ครับ----> ซึ่งใคร่ครวญแล้วนั่นคือข้ออ้างของผมครับ

(2) กลัวคำตอบ คือไม่กล้าตอบ ก็ไม่แน่ใจครับ ----> นี่น่าจะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจผมมากกว่าและฝังรากลึกมากถึงมูลฐาน เมื่อตอนไปปฏิบัติธรรมครั้งแรกผมปฏิเสธที่จะเดินเข้าป่าช้าเพราะ "กลัว" ครับ แต่ก็ใช้คำพูดกับคนที่ไปด้วยว่า "ไม่แน่ใจ ว่าวิธีแบบนี้จะได้ผล" คือวางฟอร์ม รักษา อะไรบางอย่าง หลีกเลี่ยงอะไรบางอย่าง

(3) จากข้อ (1) และข้อ (2) และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมผมจึงไม่แจ้งครับ จริง ๆ แล้วถ้าผมจะตอบก็น่าจะตอบได้ แต่หลีกเลี่ยงที่ไม่ตอบ หรือผมเป็นพวก รู้แต่ไม่ทำ เพราะถ้าบอกว่าตอบได้ ก็คือรู้คำตอบแต่ทำไม่ได้ รู้ดีแต่ทำไม่ได้แปลว่าไม่รู้ หรือผมอาจเป็นกรณี ไม่รู้ดีแล้วมาพูดและก็ไม่ทำด้วย อันนั้นยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ดังนั้น ความพยายามที่จะไม่ตอบ ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

คุณ Dech ชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 157

โพสต์

ที่เราปฏิบัติมรรคมีองค์แปดกันก็ถือว่าเป็นการอบรมอินทรีย์ไปเรื่อยๆคับ

ในการปฏิบัติส่วนใหญ่เราจะเจริญสัมมาสติ หรือสัมมาสมาธิ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านอธิบาย
ไว้ด้วยสติปัฐฐาน4 และฌาณ4 หรืออานาปานสติก็ตาม ซึ่งไม่ว่าจะปฏิบัติอย่างใด
ก็จะเข้าใจถึงสิ่งเดียวกัน แต่ก็ต้องไม่ลืมองค์มรรคที่เหลือด้วยเพราะองค์มรรคทั้งแปด
จะเอื้อกันหมด มีผลต่อกันและกัน เราต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปด้วย
พร้อมไปกับปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง ว่ามรรคมีองค์แปดเป็นหนทางที่จะดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ตั้งแต่หยาบไปละเอียด

กองทุกข์จากสายปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทุกข์ ที่ทำให้เราเป็นทุกข์
คือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป และความดับลง ทำให้เกิดอาการของร่างกายและจิตใจ ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความไม่สบายกาย (ร่างกายก็เสื่อมไปได้ เป็นโรค หรือแก่ไปตามอายุขัย) ไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น (เพราะสิ่งนั้นที่เรายึดถือเปลี่ยนไป และเราไม่เข้าใจ
ว่าก่อนหน้านั้น มันเกิดภพ(ความมีความเป็นขึ้น) เกิดอุปทาน(ความความมั่นหมายว่านั่นคือตัวเราของเรา) ตัณหา(ความอยากได้)
เวทนา(ความพอใจ) ผัสสะ(การกระทบกันของรูป-ตา เกิดการรับรู้ ฯลฯ) สฬายตนะ ฯลฯ)

ลองไปเดินห้างดูคับ แล้วดูว่ามีสิ่งใดอยากทาน อยากซื้อ มันเกิดกระบวนการอะไรขึ้นในตัวเรา
ก็จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาท เช่น ทำไมเราอยากได้เสื้อตัวนั้น (ตาเห็นแล้วเราพอใจมันนะซิถึงอยากได้
ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา เกิดการกระทำ(กรรม) พอซื้อหาได้มาก็ถือเป็นเสื้อของเราแล้ว
ทั้งๆที่เมื่อกี้ยังเป็นเสื้อของร้านในห้างอยู่เลย(อุปทาน) มีภพ(เสื้อตัวนี้เราได้ใส่แล้วสวยเชียว)
นั่นแหละมีความเกิด เกิดขึ้นแล้ว แล้วมันก็จะเสื่อมไป เพราะเราจะคลายความพอใจในเสื้อลงไปเอง
(สังเกตุจิตใจเราดู ว่าตอนซื้อหามาได้ใหม่ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกชอบพอใจในเสื้อนั้นเป็นอย่างไร)
พร้อมทั้งเสื้อมันก็จะเก่าไปเพราะการใช้งานหรือมอซอไปตามกาลเวลา และจิตใจเราก็จะเปลี่ยนไปอีก
เมื่อเห็นเสื้อรูปแบบสีสันใหม่ๆ(ผัสสะ) นี่แหละสังสารวัฏ อันนี้แค่ทางตา และทางอื่นอีกล่ะ ยากที่จะเห็นได้ง่ายๆ
ถ้าไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคยได้ลองมาดูปฏิบัติ เราก็จะแล่นไปเรื่อยๆตามสังสารวัฏไม่มีหยุด เพราะความ
เคยชิน ความเพลิน ในกามสุขเหล่านั้น

ถามว่าก็ไม่เห็นเป็นไรเลยนิ ซื้อเสื้อก็มีความสุขดี(แต่ความสุขเองก็หายไปได้) นั่นก็ใช่ แต่การหลงไปเรื่อยๆอาจทำให้เราใช้จ่ายเกินตัว
หรือเดือดร้อนใจ เมื่อมีเสื้อคอลเลคชั่นใหม่ๆ เกิดความอยากได้อีก หรือไปถึงว่า มีเพื่อนใส่เสื้อดีกว่าเรา เกิดมานะเห็นเค้าดีกว่า เราด้อยกว่า
หรือเห็นเพื่อนใส่เสื้อถูกๆเราเกิดมานะอีก เราดีกว่า เค้าด้อยกว่า นี่ก็แค่เสื้อนะ ถ้ามองไปอีกหลายๆด้านในการทำมาหาเลี้ยงชีพ
เรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน เงินเดือน ผลตอบแทนการลงทุน ความรู้ความสามารถ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
ความรัก(และเรื่องที่เกิดขึ้นจากการแย่งชิงความรัก ดูละครหลังข่าวเอานะ) ฯลฯ

และถ้าเรามองว่าสิ่งเหล่านั้นมันเปลี่ยนไป มันมีและหายไปได้ มันเกิดขึ้น และหมดไปได้ แล้วมันจะเป็นที่พึ่งให้เราได้อย่างไร
หรือถึงถ้าเราพึ่งสิ่งอื่น(มนุษย์ เทวดา มาร พรหม) จิตใจเค้าเองก็เปลี่ยนไปได้ ร่างกายก็เปลี่ยนไปได้
แม้แต่ตัวเอง จิตใจกับร่างกาย ก็ยังเปลี่ยนไปได้ แล้วเราจะหาอะไรเป็นที่พึ่งได้ล่ะ เราจะวุ่นวายใจอยู่เสมอๆ

แต่สิ่งที่ข้ามพ้นความแปรแปลียน ความเกิดดับ นั่นก็คือพระพุทธเจ้า(ท่านไม่หลงแล้วเข้าถึงความไม่เกิดดับ)
พระธรรมที่ทรงแสดง(อริยสัจสี่) พระสงฆ์(ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางของพระองค์)
ท่านถึงให้พึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมถึงให้พึ่งตนพึ่งธรรมด้วย(ความหมายของให้พึ่งตนพึ่งธรรมคือเจริญสติปัฐฐานสี่)



ขอยกพระสูตรนี้เพื่อความชัดเจน


สิ่งที่เรียกว่ากามคุณและกามสุข

อานนท์! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่างอย่างไรเล่า?
ห้าอย่างคือ รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นรู้อัน
พึงแจ้งด้วยฆานะ .... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วย
กาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล ชื่อว่า กามคุณ ๕.
อานนท์! สุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น; สุข-
โสมนัสอันนั้น เรียกว่า กามสุข.

- ม. ม. ๑๓/๙๖/๑๐๐.

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค)
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก
นั้น หาใช่กามไม่ ; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก
ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง
ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้



๓๐๘ อริยสัจจากพระโอษฐ์

ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ
.

ภิกษุ ท. ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกาม๑ คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่าง
หนึ่ง ๆ ; ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคล
ใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้
เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ;
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.


ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น
ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.


ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทา
ให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่ง
พรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.

- ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 158

โพสต์

พี่ Nevercry.boy ครับ พี่ก็รู้อยู่แล้วละ กลับมาถามผมอีก
ผมมีคำตอบอยู่นะครับพี่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะตอบยังไงดี ขอติดไว้ก่อนนะครับ

แต่ตอนนี้ผมขอตอบแบบถามกลับไปอีกได้มั้ยครับ

คนแบบอย่างเจ้าชายสิทธิธัตถะ ในยุคสมัยก่อนที่ท่านจะตรัสรู้และคนร่วมสมัยกับท่าน แล้วในปัจจุบันนี้ แล้วหลังยุคนี้จะมีอีกหรือเปล่าครับ
คนอย่างปัญจวคีทั้ง 5 ก่อนจะมาเป็น ศิษย์ของพระพุทธเจ้า มาเป็นพระอัสสชินั้นมีหรือไม่ แล้วในสมัยนี้มีมั้ยครับ แล้วหลังจากนี้อีกจะมีมั้ยครับ
คนอย่างอุปติสสะและโกลิตะและบริวาร ในยุคก่อนพระพุทธเจ้าจะมาสอนมีหรือไม่ แล้วในสมัยนี้มีมั้ยครับ แล้วหลังจากนี้อีกจะมีมั้ยครับ

แล้วพ่อแม่พี่น้องญาติของคนเหล่าข้างบนนั้น
ก่อนที่เขาจะมาปฏิบัติ แล้วขณะปฏิบัติละ แล้วหลังปฏิบัติละ พวกนี้เห็นด้วยกับคนเหล่านี้หรือเปล่าครับ

แล้วคนอย่างสัญชัยปริพาชก หรือบัณฑิต นักบวช ฤาษีชีไพร และสาวกของคนเหล่านี้
ในยุคก่อนจะเกิดพระพุทธศาสนามีหรือไม่ แล้วในสมัยที่มีแล้วมีมั้ยครับ แล้วหลังจากนี้อีกจะมีมั้ยครับ พ่อแม่พี่น้องเขาเห็นดีด้วยมั้ย

แล้วก่อนที่เจ้าชายสิทธิธัตถะ จะตรัสรู้เอง และปัญจวคี อุปติสสะและโกลิตะและบริวาร จะได้ฟังธรรมและตรัสรู้ตาม
ท่านเหล่านั้นปฏิบัติไปด้วยอะไรครับ แล้วได้ผลอะไรครับ
แล้วเหล่าปริพาชกหรือบัณฑิต นักบวช ฤาษีชีไพรและสาวก ปฏิบัติไปเขามุ่งหวังอะไรครับ ได้ผลอะไรครับ

ได้ผลเหมือนกันหรือเปล่าครับ หรือต่างกัน แล้วเหมือนหรือต่างกันตอนไหนครับ

แล้วคนอย่างเราๆ ทุกวันนี้อยู่ตรงไหนครับ

ผมว่าพี่รู้อยู่แล้วละ ผมก็สงสัยไปเรื่อยละครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 159

โพสต์

ยิ่งคิดยิ่งเพลินคับ
หมดความเพลินในความคิดถึงจะรู้ถึงจะเห็นคับ ก็ต้องปฏิบัติไปๆ
นี่ละคับสิ่งที่พระตถาคตทรงชี้ให้เห็น
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 160

โพสต์

เข้ามาตอบที่ติดไว้ครับพี่

ประเด็นที่ได้จากชาดกเรื่องการรู้ของคู่อัครสาวกทั้งสองครับ แบบย่อๆ ครับ
1. ผู้มีปัญญาย่อมเห็นว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปัญหาและต้องหาทางแก้ไข
2. ทางแก้ไขนั้นมีอยู่โดยให้เห็นและเข้าใจในธรรมชาติ เห็นว่าธรรมชาติ คือการเกิดและการดับ รู้และทำง่ายๆ แค่นี้พอแล้ว
3. การเกิดและการดับ นั้นให้เห็นและยอมรับว่ามันเป็นปกติในทุกๆ ขณะ ทุกๆ การกระทำ ทุกๆ สิ่ง
4. ในทุกๆ สิ่ง ทุกๆ การกระทำ เมื่อมีเหตุย่อมมีผลตามมา ผลย่อมสมควรแก่เหตุนั้น มันจึงง่าย
5. ผู้มีปัญญาแม้มีปัญญามากเพียงใด ทั้งที่เห็นว่าเป็นปัญหาและรู้ว่าต้องมีทางแก้ไขแน่ แต่ถ้าไม่มีผู้มาบอก ก็ไม่สามารถเข้าใจได้
6. ความรู้ของพระพุทธะ เป็นธรรมชาติ เป็นความธรรมดา แม้จะย่อเพียงสองสามประโยค ก็งามในเบื้องต้นในท่ามกลางและในที่สุด
7. ผู้เข้าใจในความรู้ที่พระพุทธะท่านค้นพบนั้น เมื่อได้รู้ตามพระพุทธะ ไม่ว่าอยู่ในเพศใด ก็กระจ่างในความธรรมดาได้
8. ผู้ที่มิจฉานั้น แม้จะออกหาทางเช่นกัน แต่เมื่อไม่เปิดใจรับฟัง ย่อมหลงมัวเมาในทางของตน
9. ผู้มีสัมมานั้น แม้จะไม่พบทาง ย่อมเปิดใจ หาโอกาสใหม่ๆ รับฟังและทำความเข้าใจอยู่เสมอ และเมื่อรู้แล้วย่อมบอกต่อ
10. สรุปในเรื่องนี้มีครบทั้ง
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ในประโยคสองประโยคนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธะท่านรู้และบอกสอนไว้
สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
ถามว่าท่านอัครสาวกศึกษาและปฏิบัติ แล้วเห็นความรู้นั้นตอนไหน
ก็ตอนฟังที่พระอัสสชิท่านพูดให้ฟังและตอนที่ท่านอุปติสสะไปพูดต่ออีกทีนั้นแหละครับ
อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ท่านจะอยู่ในเพศฆราวาส เพศนักบวช เพศชายหญิง
ถ้าท่านรู้ตามแล้ว ย่อมเข้าใจได้ทุกเวลา ทั้งในอดีตในปัจจุบันและในอนาคต เมื่อเข้าใจปัจจุบันก็ย่อมเข้าใจอดีตและอนาคต
ท่านทั้งสองรู้ตอนไหนก็ต้องบอกว่ายังเป็นฆราวาสอยู่นะครับ
เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ชักชวนแนะนำให้ผู้คนไปลองฟังลองปฏิบัติ
เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่คนเปิดใจย่อมรู้ได้ ท่านอัสสชิก็บอกว่าให้ลองดูเถิด อุปติสสะก็รู้ รู้แล้วก็ไปบอกโกลิตะต่อ แล้วท่านสองก็ไปบอกต่ออีก
โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เมื่อได้ยินได้ฟังก็ต้องนำมาระลึกเปรียบเทียบกับรูปนามของตน
ว่ามันก็เป็นสิ่งเดียวกันและยอมรับมัน ท่านทั้งสองเมื่อเห็นแล้วก็น้อม น้อมตอนไหนก็ตอนที่ได้ยินได้ฟังนั้นแหละครับ
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ติ ความรู้นั้น แม้จะได้ยินได้ฟังมาแล้ว เจ้าตัวต้องเป็นคนรู้และน้อมเข้าใจเอง
ท่านเป็นเพียงผู้บอกทาง จึงบอกว่าเป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน
เป็นเรื่องเฉพาะตนก็จริง
แต่ที่เราได้มาเรียนรู้ทุกวันนี้ก็เพราะท่านเอาเรื่องเฉพาะตนนี่แหละ มาบอกต่อกันมาเรื่อยๆ เริ่มจากองค์พระพุทธเจ้า ดังนี้แล..
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 22

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 161

โพสต์

Dech เขียน:เข้ามาตอบที่ติดไว้ครับพี่

ประเด็นที่ได้จากชาดกเรื่องการรู้ของคู่อัครสาวกทั้งสองครับ แบบย่อๆ ครับ
1. ผู้มีปัญญาย่อมเห็นว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปัญหาและต้องหาทางแก้ไข
2. ทางแก้ไขนั้นมีอยู่โดยให้เห็นและเข้าใจในธรรมชาติ เห็นว่าธรรมชาติ คือการเกิดและการดับ รู้และทำง่ายๆ แค่นี้พอแล้ว
3. การเกิดและการดับ นั้นให้เห็นและยอมรับว่ามันเป็นปกติในทุกๆ ขณะ ทุกๆ การกระทำ ทุกๆ สิ่ง
4. ในทุกๆ สิ่ง ทุกๆ การกระทำ เมื่อมีเหตุย่อมมีผลตามมา ผลย่อมสมควรแก่เหตุนั้น มันจึงง่าย
5. ผู้มีปัญญาแม้มีปัญญามากเพียงใด ทั้งที่เห็นว่าเป็นปัญหาและรู้ว่าต้องมีทางแก้ไขแน่ แต่ถ้าไม่มีผู้มาบอก ก็ไม่สามารถเข้าใจได้
6. ความรู้ของพระพุทธะ เป็นธรรมชาติ เป็นความธรรมดา แม้จะย่อเพียงสองสามประโยค ก็งามในเบื้องต้นในท่ามกลางและในที่สุด
7. ผู้เข้าใจในความรู้ที่พระพุทธะท่านค้นพบนั้น เมื่อได้รู้ตามพระพุทธะ ไม่ว่าอยู่ในเพศใด ก็กระจ่างในความธรรมดาได้
8. ผู้ที่มิจฉานั้น แม้จะออกหาทางเช่นกัน แต่เมื่อไม่เปิดใจรับฟัง ย่อมหลงมัวเมาในทางของตน
9. ผู้มีสัมมานั้น แม้จะไม่พบทาง ย่อมเปิดใจ หาโอกาสใหม่ๆ รับฟังและทำความเข้าใจอยู่เสมอ และเมื่อรู้แล้วย่อมบอกต่อ
10. สรุปในเรื่องนี้มีครบทั้ง
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ในประโยคสองประโยคนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธะท่านรู้และบอกสอนไว้
สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
ถามว่าท่านอัครสาวกศึกษาและปฏิบัติ แล้วเห็นความรู้นั้นตอนไหน
ก็ตอนฟังที่พระอัสสชิท่านพูดให้ฟังและตอนที่ท่านอุปติสสะไปพูดต่ออีกทีนั้นแหละครับ
อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ท่านจะอยู่ในเพศฆราวาส เพศนักบวช เพศชายหญิง
ถ้าท่านรู้ตามแล้ว ย่อมเข้าใจได้ทุกเวลา ทั้งในอดีตในปัจจุบันและในอนาคต เมื่อเข้าใจปัจจุบันก็ย่อมเข้าใจอดีตและอนาคต
ท่านทั้งสองรู้ตอนไหนก็ต้องบอกว่ายังเป็นฆราวาสอยู่นะครับ
เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ชักชวนแนะนำให้ผู้คนไปลองฟังลองปฏิบัติ
เพราะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่คนเปิดใจย่อมรู้ได้ ท่านอัสสชิก็บอกว่าให้ลองดูเถิด อุปติสสะก็รู้ รู้แล้วก็ไปบอกโกลิตะต่อ แล้วท่านสองก็ไปบอกต่ออีก
โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เมื่อได้ยินได้ฟังก็ต้องนำมาระลึกเปรียบเทียบกับรูปนามของตน
ว่ามันก็เป็นสิ่งเดียวกันและยอมรับมัน ท่านทั้งสองเมื่อเห็นแล้วก็น้อม น้อมตอนไหนก็ตอนที่ได้ยินได้ฟังนั้นแหละครับ
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ติ ความรู้นั้น แม้จะได้ยินได้ฟังมาแล้ว เจ้าตัวต้องเป็นคนรู้และน้อมเข้าใจเอง
ท่านเป็นเพียงผู้บอกทาง จึงบอกว่าเป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน
เป็นเรื่องเฉพาะตนก็จริง
แต่ที่เราได้มาเรียนรู้ทุกวันนี้ก็เพราะท่านเอาเรื่องเฉพาะตนนี่แหละ มาบอกต่อกันมาเรื่อยๆ เริ่มจากองค์พระพุทธเจ้า ดังนี้แล..
สาธุครับคุณ Dech พี่สัญญาจะกลับมาตอบด้วยเช่นกันครับ แม้ความรู้พี่จะเท่าหางอึ่ง

ขอติดไว้อีกพักนึงครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 22

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 162

โพสต์

เรียนคุณ Dech พี่ปฏิบัติอ่อนด้อย ยังไม่เรียกว่าขอตอบ แต่ขอแชร์ดังนี้

ผมเชื่อว่า ลูกศิษย์พร้อมอาจารย์จะเกิด หลวงพ่อท่านเคยพูดว่าโยมที่มาวัดบางคนก็พร้อมอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว ได้ฟังธรรมแล้วจิตดีดผึงเลย แยกรูปแยกนามได้เลย (ผมจำมานะ คำพูดไม่ได้เป๊ะ ๆ แบบนี้ แต่เนื้อหาประมาณนี้) ส่วนตัวผมไปถึง กราบเรียนหลวงพ่อว่า "อยาก" บรรลุธรรม ท่านไม่สอนอะไรเลย ให้ไปเข้าป่าช้า และเพ่งอสุภะ

พี่คิดในใจ "เฮ้ย วิธีแบบนี้จะได้ผลหรือ" --> อคติจิตเกิด

..........................

อุปติสสะ นั้นเป็นเด็กไฮโซนะครับ เรียนมาเยอะ เป็นคนฉลาด บ้านรวย "แสวงหา" ครูบาอาจารย์และด้วยความที่รู้เยอะก็ "อยาก" รู้ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งที่อุปติสสะผมเดาว่ามรรคแปดครบอยู่แล้ว เรียนเก่งมีปัญญาแต่ยัง "อยาก" อยู่ อคติจิตเกิดอยู่ตลอดเวลา เกิดใหม่หาไปเรื่อย มีปัญญาเรียนจบก็หาไปเรื่อย หาไปเรื่อยเจอครูบาอาจารย์ก็แสวงหาไปเรื่อย เรียนไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย แต่ไม่จบ ยิ่งเรียนยิ่งไม่จบ เพราะอะไร เพราะไม่มีใครสอนให้จบไง ใครต่อใครก็สอนเรื่องใหม่ก็เรียนไปก็ได้เรื่องใหม่ ๆ ตามนิทาน ท่านก็ชอบเรียนอยู่แล้วมีปัญญา หาเรื่อง "ใหม่ ๆ" พอเจอเรื่อง "ใหม่ ๆ" ปั๊ปจิตเกิดกระโดดเกาะปุ๊ป เหมือนเราเสิร์ฟอาหารให้จิต งั่ม ๆ พออาหารหมด ก็ต้องแสวงหาอาหารมาป้อนอีก

พอเจอพระปัญจวัคคีย์โดยบังเอิญแล้วท่านบอกว่า “ที่ใดมีเหตุ พระพุทธเจ้าสอนการดับแห่งเหตุนั้น” จบข่าว หยุด"เกิด" จง "ดับ" อคติหายวับ จิตดีดผึงเลย

..........................

ขอถามครับ อหิงสกะ กับประโยค “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” ทำไมประโยคนี้ประโยคเดียวท่ามกลางสถานการณ์น่าหวาดเสียว โจรจึงยอมพิจารณาตามและได้บรรลุโสดาปัตติผล ยอมทิ้งดาบก้มลงกราบพระบาทและทูลขอบวช ?

รบกวนคุณ Dech ด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 163

โพสต์

ไม่ขอตอบแทนคุณ Dech นะคับ

อหิงสกะเองร่ำเรียนมาก ฉลาด มีปัญญา โดนความเข้าใจผิดเล่นงานจากเพื่อนและอาจารย์ จึงหลงผิด

พระพุทธเจ้าท่านตรัส “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” น่าจะหมายความว่า
เราหยุดการปรุงแต่งแล้ว เราไม่มีนันทิ ตัณหา ราคะ อุปทาน ไม่หลงในสิ่งต่างๆแล้ว สังสารวัฏหยุดลงแล้ว
สิ่งที่ต้องปฏิบัติต่อไปไม่มีอีก แต่ตัวท่านยังมีการปรุงแต่งไม่หยุด

อหิงสกะนั้น จิตขณะฟัง คงเกิดปิ๊งขึ้นมาทันทีในขณะที่ได้ยินเสียง
มีสติขึ้นมา มองเห็นแวบของความคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดขึ้น ว่าเราหลงแล้วนี่นา หลงไปตามคำบอกเล่า
หลงไปตามความคิด หลงไปตามความเชื่อและทิฐิ โอ้ เราไม่สังเกตุเห็นได้ยังไง เราเผลอทำสิ่งต่างๆไปตามความหลงได้ยังไง
ด้วยความที่มีอินทรีย์แก่กล้าอยู่แล้วจึงเข้าใจได้ทันทีที่ได้ยินพระพุทธเจ้าท่านตรัส “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด”

เป็นความเห็นส่วนตัวนะคับ ถูกผิดคงตอบได้ยาก (ถือว่าเป็นสมมุติฐาน)
เพราะเราคงไม่สามารถรู้วาระจิตของ อหิงสกะ ได้เหมือน พระพุทธเจ้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 164

โพสต์

ขอยกพระบาลี ดังนี้ครับ

พระศาสดาตรัสว่า ธรรมน้อยหรือมาก ไม่ใช่เหตุ ธรรมนั้น ก็เหมือนยาแก้คนที่ดื่มยาพิษ แล้วตรัสคาถาในพระธรรมบทว่า “ถ้าคาถา ถึงพันคาถา ที่ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ ก็ประเสริฐสู้คาถาบทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับ ไม่ได้”

ท่านพาหิยะ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง คล้ายๆกับท่านองคุลีมาลครับ

ท่านทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงรีบดั้นด้นเดินทางเป็นโยชน์ๆในวันนั้น เพื่อมาขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม
ท่านขออยู่หลายหน แต่พระพุทธองค์ก็ยังไม่แสดงธรรมให้ฟัง จนท่านคลายความอยากลง องค์สมเด็จพระบรมครูจึงแสดง
ธรรมโปรดเพียงเล็กน้อย ท่านก็บรรลุอรหันตผล

ท่านองคุลีมาล ท่านหลงผิดเพราะเชื่อว่าจะสำเร็จวิชาได้เมื่อฆ่าคนครบตามจำนวนที่อาจารย์บอก หรือ พูดง่ายๆคือ เชื่อเพราะ
เป็นครูผู้สอน แต่นิสัยเดิมไม่ได้เป็นคนเลว แต่เมื่อขณะวิ่งเพื่อจะไล่ตามพระพุทธองค์ ความอยากฆ่ากลับกลายเป็นความสงสัย จิตจึงคลายลงไปครับ

หากย้อนดูบุพกรรมของท่าน ก็จะพบว่าคนพันคนที่ท่านฆ่า เมื่อหลายๆชาติ เคยเอาไม้ไล่เสียบท่าน เมื่อตอนท่านเกิดเป็นควาย
ป่า ผลของกรรมครั้งนั้น จึงส่งผลมาถึงชาตินี้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 165

โพสต์

ของคุณพี่ที่ถามเรื่องท่านอหิงสกะมากๆครับ ทำให้ต้องพิจารณาอีกเยอะ ผมก็จำ detail ไม่ค่อยได้
และทำให้ต้องไปหาข้อมูลมาเพื่อแลกเปลี่ยนครับ

ผมคิดแบบนี้ครับ

ถ้าท่านอุปติสะเป็นไฮโช เรื่องท่านอหิงสกะ ก็ยิ่งกว่านั้น เพราะพ่อเป็นพรามณ์ที่ไฮกว่าพ่อของท่านอุปติสะ
แล้วตัวอหิงสกะก็เก่งมากๆคนหนึ่งเช่นกัน จากนิทานบอกว่าท่านเกิดมาก็ไปให้หมอดูมาทำนาย หมอบอกให้ฆ่าเสียเพราะเด็กคนนี้
เกิดฤกษ์ดาวโจร แต่คนเป็นพ่อแม่เกิดในตระกูลที่ดี มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปก็ย่อมไม่สามารถจะฆ่าลูกได้
จึงเลี้ยงไว้และตั้งชื่อให้ว่า อหิงสกะซึ่งแปลว่าผู้ไม่เบียดเบียน

ก็เลี้ยงมาจนโตและสอนให้เป็นคนดีมาโดยตลอด เน้นว่าอย่าไปเบียดเบียนใครเขานะลูก
เมื่อเติบโตอหิงสกะเป็นเด็กที่ฉลาดมากก็ส่งไปเรียนที่สำนักที่คิดว่าจะดีกับลูก
แต่เพราะท่านทั้งเก่งและฉลาดมาก ทั้งครูและศิษย์ก็อิจฉา เพราะเพื่อนเลวครูก็เลวเมื่อถูกยุยงมากจึงหาอุบายจะฆ่าเสีย
แต่จะฆ่าเองก็ไม่ได้เพราะจะเสียภาพพจน์ที่สั่งสมมา จึงวางแผนจะยืมมือคนอื่นฆ่า

จึงหลอกว่าจะสอนวิชาสำคัญที่สุดให้ แต่เพื่อบูชาครูต้องไปฆ่าคนมาก่อน 1,000 คนจึงจะสอนให้ได้
หวังว่าเมื่อมีคนอื่นตายมากๆ คงมีสักคนที่มาฆ่าคนๆ นี้ให้เอง 555555

อหิงสกะด้วยความเป็นคนชอบเรียนรู้แต่พ่อแม่ก็สอนมาดีว่าไม่ให้ฆ่าใคร ไม่ให้เบียดเบียนผู้อื่น
แต่พวกคนเลวก็ยุยงส่งเสริมความเลวให้ บอกว่าสิ่งที่ทำ(เลว)นั้นถูกต้องแล้ว อหิงสกะก็ปฏิเสธไปหลายครั้ง
และเมื่อไม่มีปัญญาจะแยกแยะได้ ปรกรได้ฟังทั้งเพื่อนทั้งครูเลว กรอกหูเรื่องเลวบ่อยๆ ก็นึกว่าสิ่งเลวนั้นดี

เอาละในเมื่อถามใครๆ ต่อใครก็แล้ว ก็บอกว่าดี อหิงสกะก็คิดว่า งั้นเราจะทำเพื่อจะได้จบวิชาสูงสุด ดังฝันไว้
จะได้เป็นที่เชิดชูน่าตา ให้ตนเองและพ่อแม่พร้อมวงค์ตระกูลต่อไป ว่าแล้วก็เตรียมจะไปฆ่าคน

แต่คนดีจะให้ไปฆ่าคนนั้นก็ทำได้ยาก จึงเริ่มฆ่าคนจากฆ่าคนที่คิดว่าเลวกว่าตนก่อน เช่นพวกโจรพวกนักโทษที่หนีมา
ถ้านับวิชาเรื่องต่อสู้แล้ว อหิงสกะก็โคตรๆเก่งๆ ดังนั้นเรื่องให้ต่อสู้นั้นไม่ยาก แต่เมื่อต้องฆ่าก็ย่อมใจสั่นเป็นธรรมดา
แต่เมื่อคิดได้ว่า คนนี้มันเลวนะ เราฆ่าเพื่อให้แผ่นดีสูงขึ้นด้วยแถมได้เก็บแต้มเพื่อเรียนวิชาด้วย เราทำดีว่ะ ไม่ผิด จึงฆ่าได้

เมื่อลองปฏิบัติอะไรครั้งแรกๆ ก็ย่อมยาก แต่ครั้งต่อมาก็ง่ายขึ้น และง่ายๆ ขึ้นไปเรื่อย ฆ่าคนก็เหมือนกันหลังๆ นี่สบายมาก
เมื่อโจรหมด ต่อมาทางการก็ส่งมือดีมาปราบก็เสร็จอสิงหกะหมด เพราะเก่งกว่าเยอะ ทั้งวิ่งเร็ว สู้เก่ง ส่งมากี่คนก็เสร็จหมด
เพิ่มแต้มให้อหิงสกะไปเรื่อยๆ เมื่อคนเลวหมด มือปราบหมด ก็ฆ่าคนดีละ ไม่สนใจละ จะฆ่าละ ให้ครบไวๆ จะได้เรียนให้จบสักที

เมื่อฆ่าไปเยอะแล้ว ตัวอหิงสกะก็กลัวหลงว่าจะครบพันหรือยัง จึงตัดนิ้วคนตายมาแขวนคอ เลยถูกเรียกว่า
องคุลีมาล แปลว่า จอมโจรนิ้วห้อยคอ ใครๆ ก็กลัวมาก

เรื่องนี้ก็รู้ไปถึงพ่อแม่และพระราชา ราชาก็บอกว่าไม่ไหวแล้ว บ้านเมืองเดือนร้อนต้องส่งทัพใหญ่ไปปราบ
พ่อแม่เมื่อรู้ว่าราชาจะส่งไปปราบ สืบดูก็รู้ว่าโจรนี่คือลูก ลูกต้องหลงผิดแน่ๆ จึงจะไปบอกให้หนีหรือให้ทำอะไรซักอย่าง
ไว้ใจใครไม่ได้แล้วตอนนี้ ก็ต้องไปเองพ่อไปไม่ได้เพราะเป็นปุโรหิตใหญ่ งั้นแม่ไปละกัน

วันนั้นพระพุทธเจ้าท่านก็ทำงานของท่านตามปกติ คือพิจารณาดูว่าวันนี้เราจะไปสอนใครดีหนอ
ว่าแล้วอหิงสกะก็มาโผล่ในงานของท่าน ท่านพิจารณาแล้ว
โอ้ ไม่ไหวละ ตานี่มันฉลาดมากถ้าได้ฟังเรา จะมีโอกาสทำที่สุดได้ในชาตินี้
แต่ถ้าเราไม่ไปช่วย เสร็จแน่ เพราะวันนี้ แม่จะไปหา แล้วจะฆ่าแม่ หมดโอกาสจะทำได้ ไปอีกนานๆๆๆๆๆเลย
ว่าแล้วท่านก็รีบไปออกไปหาอหิงสกะ

ฝ่ายอหิงสกะ ตั้งตารออยู่แล้ว เพราะว่าหงุดหงิดมาหลายวันแล้ว เพราะช่วงหลังหาคนฆ่ายากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับเหลืออีกแต้มเดียวจะครบแล้ว
เห็นพระพุทธเจ้าท่านเดินมาแต่ไกล ก็กระหยิ่มยิ้มย่อง วันนี้แหละ งานเราจะจบละ จะได้ไปเรียนวิชาที่ตั้งใจไว้สักที เพื่อจบหลักสูตร
คิดในใจ ตาหัวโล้นนี่เดินมาคนเดียวซะด้วย ธรรมดาหลังนี่พวกที่มาหาเราเอง มีแต่มาเป็นกลุ่มก้อนพร้อมศาตราวุธยังเสร็จเราเลย
หวานหมูละวันนี้ 555555

ฝ่ายพระพุทธเจ้ามีหรือจะไม่รู้ 55555 ต้องจับมันทรมาณสักหน่อยด้วยฤทธิ์อันไม่มีประมาณของท่าน
เราจะเดินไปเรื่อยๆ นี่แหละ ฝ่ายอหิงสกะเห็นหัวโล้นเดินมา ก็หลบอยู่ พออยู่ในระยะก็วิ่งมาเต็มแรง กะทีเดียวหัวขาดเลย
แต่ปรากฏว่าวิ่งตามยังไงก็ตามไม่ทันสักที ระหว่างวิ่ง ตาก็มองเห็นอยู่ว่า หัวโล้นนี่เดินชิวมาก
ก็คิดไปด้วย เรานี่โคตรนักวิ่ง จะขี่ม้าขี่ช้างขี่ควายขี่อะไรมา เราวิ่งไล่ฆ่าเป็นว่าเล่นอยู่แล้ว

คิดในใจ ไรว่ะเนี้ย เรานี่โคตรสามารถ ฆ่ามาเพียบ ทำไมจะฆ่าตานี่ไม่ได้ ก็วิ่งไล่ตามไปเรื่อยๆ ยังไงต้องฆ่ามันให้ได้ วิ่งไล่จนหอบละ
ด้วยฤทธิ์ของพระพุทธ ก็ทำให้อหิงสกะ ถูกหลอกวิ่งตามเป็นระยะทางหลายๆ สิบกิโล
ต่อให้มีแรงขนาดไหนก็ตาม ก็วิ่งจนหมดแรงขามภูเขาไปหลายลูกละ หอบลิ้นห้อยเป็นหมาหอบแดด
ระหว่างวิ่งไป อหิงสกะก็ย่อมคิดนู้นคิดนี้ไปเรื่อย พร้อมร้องตะโกนบอกให้หยุดไปตลอดทาง

เช่น เห้ย หยุดนะโว้ย หยุดสิว่ะ อะไรไปเรื่อยละ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราก็ตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด”
จะบ้าเหรอ อหิงสกะ คิดในใจ หยุดบ้าอะไรของแกว่ะ หยุดดิ พระพุทธองค์ก็เดินชิวๆ ตอบไปตลอดทางว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด”
อหิงสกะ จึงหยุดวิ่ง แล้วตะโกนถามไปว่า เห้ยหันมาดูนี่ ข้านี่สิหยุดแล้วแต่แกนะยังเดินอยู่ ยังไม่หยุด จะมาบอกว่าหยุดได้ไง
บางครั้งก็ถามไปว่า สลับไปบ้าง แกเป็นใคร หยุดนะ พระพุทธะเจ้า ท่านก็ตอบว่า เราสมณโคดมไง เจ้าไม่รู้จักหรือไง
อหิงสกะอยุ่ในเมืองนั้น ฆ่าคนมานานรู้อยู่แล้วว่า สมณโคดมเป็นใคร รู้ว่าฉลาดยังไงมีศิษย์มากยังไง เพราะได้ยินคนที่ตัวเองฆ่านั้นแหละพูดถึง
เดิมก็คิดอยากฆ่ามากไปอีก ก็วิ่งไล่ฆ่าไปเรื่อยๆ ตานี่จะมาเก่งมาอาจารย์เราได้ไง

อหิงสกะระหว่างวิ่งก็ย่อมคิดนู้นคิดนี้ไปเรื่อย ทั้งหอบทั้งอะไรสารพัด อะไรของมันว่ะ หยุดยังไงเนี้ย วิ่งไล่แทบตาม เดินก็เดินอยู่ บอกว่าหยุดได้ไง
ให้นึกภาพว่าคนหนึ่งวิ่งไล่ มือถือมีดดาบ มีอาวุธรอบตัว มีพวงมือห้อยคอ อีกคนเดินพูดไปสบายๆ อีกคนหอบตะโกนคุยกันตลอดทาง

ด้วยเป็นคนที่มีปัญญาอยู่เดิมและหอบหมดแรงวิ่งแล้ว
อหิงสกะ จึงหยุดวิ่ง แล้วตะโกนถามไปว่า เห้ยหันมาดูนี่ ข้านี่สิหยุดแล้วแต่ท่านนะยังเดินอยู่ ยังไม่หยุด จะมาบอกว่าหยุดได้ไง
พระพุทธะ ท่านก็ตอบกลับไปเหมือนเดิมว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด”
อหิงสกะ หยุดวิ่งแล้วนะ พระพุทธองค์ยังเดินอยู่ ก็ต้องวิ่งไล่ตามไปใกล้ๆ
แล้วอหิงสกะก็ถามใหม่อีก “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” วนไปมาแบบนี้ จนอหิงสะเบื่อโลกนั้นแหละ
พร้อมคิดนู้นนี้ ทิ้งอาวุธไปเรื่อยๆ จนหมด คิดว่าเราหยุดแล้ว อาวุธก็ไม่มีแล้วนะ

อหิงสกะ คิดไปคิดมาหลายรอบเข้า จากที่โกรธเยอะๆ ฆ่าไม่ได้สักที เหนื่อยก็เหนื่อย ก็คิดได้สมณโดคมนี่ก็ได้ยินแต่เรื่องดีๆมานะ
แต่ตอนนั้นคิดไม่ได้ ตอนนี้ทั้งเหนื่อย ทั้งเริ่มคิดได้ จิตใจจึงค่อยๆ ทุเลาลง ค่อยๆสงบลง พร้อมจะฟังละทีนี้

และเห็นว่าสมณโคดมผู้นี่ยังไงเนี้ย จึงถามเพิ่มว่า
ท่านสมณหยุดยังไงของท่าน เรานี่สิหยุดแล้ว แล้วไม่คิดจะฆ่าท่านแล้วด้วยนะ เรายอมแล้ว ได้โปรดตอบเราด้วย
ที่ท่านพูดว่าท่านหยุดแล้วนั้นแต่ท่านก็ไม่ได้หยุดเดินนั้น มันมีหมายความว่าอะไรหรือ

พระพุทธองค์เห็นว่าทรมาณมา มากพอแล้ว ยอมจริงละ
ที่สำคัญจิตใจองคุลิมาลตอนนี้ พร้อมรับฟังแล้ว กลับมาเป็นอหิงสกะคนเดิม เป็นผู้ไม่เบียดเบียนแล้วก็ตอบว่า

นี่อหิงสกะ ท่านเรียกชื่อเดิมขององคุลิมาลก่อนนะ ให้อหิงสกะรู้ตัวก่อน คนทั่วไปถูกเรียกชื่อก็ต้องหยุดอยู่แล้ว
แต่นี่องคุลิมาลไม่ได้ยินชื่อตัวเองมานานแล้ว ยิ่ง สะดุด กึ๊กทันที และท่านตอบต่อว่า
เรานี่หยุดคือเลิกฆ่าสัตว์ เลิกเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นแล้ว ส่วนเจ้ายังไม่หยุด คือยังฆ่ายังเบียดเบียนอยู่ เราจึงพูดเช่นนั้น

ฝ่ายอหิงสกะ พร้อมรับฟังอยู่แล้วในตอนนั้น เมื่อได้ฟังคำว่าอหิงสกะคำว่าเบียนเบียด ดังนี้
จึงปิ๊งในตอนนั้น คิดได้ว่าพ่อแม่ก็สอนมาว่าไม่ให้เบียดเบียนตั้งแต่เล็ก
นี่ท่านสมณโคดมนักบวชผู้นี่ก็มาสอนเราอีก เรื่องเดียวกันนี้เลย เรื่องไม่เบียนเบียด นี่เราทำผิดมามาก ก็สำนึกผิด

สอนเรื่องไม่ให้เบียดเบียน จึงยอมแล้ว ท่านจะรู้อะไรหรือเปล่า ไม่รู้ผมตอบไม่ได้ แต่ผมคิดว่า
ที่อหิงสกะคิดได้นั้น คือคิดได้ในเรื่องความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ตนทำมา
จึงร่ำไห้ของฝากตัวเป็นศิษย์ พระพุทธองค์จึงบอกว่า ไม่เป็นไรอหิงสกะ ไม่เป็นไรนะ เราให้อภัยเจ้าแล้ว จึงบวชให้ตรงนั้นเลย

ตอนนี้เจ้าเป็นคนใหม่แล้ว องคุลิมาลตายไปแล้ว อหิงสกะก็ตายไปแล้ว อย่ากังวลถึงอดีต ตอนนี้เจ้าเกิดใหม่แล้วเป็นศิษย์ของเรา
ว่าแล้วจึงนำจอมโจรกลับใจไปสอนต่อ
กลับไปท่านก็ปฏิบัติต่ออีกนานพอควร โดยท่านพิจารณาอะไร ก็เห็นแต่อดีตเห็นคนตาย เห็นแต่สิ่งที่ไปทำมา
จนสุดท้ายพระพุทธมาสอนว่าอย่ากังวลอดีตให้อยู่กับปัจจุบัน สุดท้าย พระองคุลิมาลจึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ จบตาย..
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 22

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 166

โพสต์

ขอบพระคุณทุกท่านกับความเห็นครับผมทั้งคุณ Tibular คุณ tum_H

ผมอ่านเรื่อง องคุลีมาล มาหลายรอบครับ ด้วยความค้านชนิดที่ว่า โจรคนหนึ่งขาดทั้งศีล และเต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญาแบบอวิชชา บรรลุธรรมได้อย่างไร? พออ่านที่คุณ Dech เขียนเช้านี้ขนลุกซู่เลยครับ ขอบคุณมากครับ

ไว้ผมมาเติมมุมมองผมบ้างครับคุณ Dech
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 22

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 167

โพสต์

Dech เขียน:ของคุณพี่ที่ถามเรื่องท่านอหิงสกะมากๆครับ ทำให้ต้องพิจารณาอีกเยอะ ผมก็จำ detail ไม่ค่อยได้
และทำให้ต้องไปหาข้อมูลมาเพื่อแลกเปลี่ยนครับ
สาธุครับคุณ Dech อุตสาห์ไปหาข้อมูลมา งั้นพี่ขอเล่านิทานให้ฟังอีกเรื่องนึงครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ...

พี่ได้ยินเสียงร่ำลือและน่าเลื่อมใสจากนักธุรกิจ นักวิชาการ นักเก็งกำไร คนใกล้ตัว และหลายต่อหลายท่าน ถึงความเป็นอิสระทางการเงิน เราต้องหาให้ได้สัก

"พัน" ล้าน "ร้อย" ล้าน หรืออย่างต่ำ "สิบ" ล้าน อย่างน้อย ๆ ต้องมีเงินล้านแล้วนำมาคล้องคอไว้ จึงจะบรรลุ "อิสระภาพ"

น่าเชื่อถือมากครับ เราควรเริ่มจากทำงานสะสม ร่ำเรียนหนังสือ หนึ่งล้านแรก นั้น ยากมาก แต่ทำไปทำมาก็คล่องขึ้น แต่ก็เหนื่อยมากขึ้น ภาระต่าง ๆ ก็ตามมา พร้อม ๆ กับ จำนวนที่คล้องคอมากขึ้น และก็ควรก็ตามหาต่อไปเพื่อจะเชือดให้มากขึ้น และนำมาคล้องคอเพื่ออิสระภาพทางการเงิน

...................................

"เราหยุดแล้วแต่ท่านยังไม่หยุด"

ประโยคนี้ไม่มีใครมาบอกไม่ได้ยินจากภายนอกจากสื่อจากนักวิชาการ ได้ยินจากข้างใน

...................................

นิทานเรื่องนี้ไม่มีคำถามครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 168

โพสต์

พระพุทธเจ้าเป็นบรมครูผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า และด้วยญาณหยั่งรู้อดีตชาติของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อตรัสสั่งสอนใคร จึงมุ่งเป้าตรงประเด็น เจาะเข้าไปใจกลางแก่นตัวตนเหมาะสมกับอดีตเหตุของคนผู้นั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์บรรลุธรรมได้ง่ายๆ เพียงบาทคาถาเดียว หากคนผู้นั้นสั่งสมบุญบารมีมาพร้อมแล้ว เป็นบัวพ้นน้ำที่รอเพียงแสงแดดแรกก็จะบานออก

อดีตเหตุของสงฆ์สาวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเอตทัคคะ ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางใดสักทาง เท่าที่เข้าใจในอดีตชาติต้องเคยพบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มีโอกาสในการบรรลุธรรมแล้ว แต่ตั้งจิตอธิฐานว่าอยากจะเป็นเอตทัคคะในด้านใดด้านหนึ่ง ประสงค์จะบำเพ็ญเพียรสั่งสมบุญบารมีต่อไปยังจะไม่เอามรรคเอาผลในชาตินั้น และจำเป็นต้องสั่งสมบุญบารมีต่อไปอีกเป็นอสงไขย เพื่อในอนาคตกาลจะได้เป็นเอตทัคคะ บุญบารมีของท่านเหล่านี่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว เพื่อที่ชาตินั้นจะเป็นชาติสุดท้าย

ดังนั้นอดีตเหตุของแต่ละท่านนั้นยากเกินที่จะหยั่งรู้ได้ ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของเรา จึงทำให้เราไม่อาจจะเข้าใจได้ว่า ทำไมเพียงแค่ประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียว หรือเวลาสั้นๆ เพียงไม่นาน จึงสามารถเป็นเหตุให้ประหารกิเลสจนหมดสิ้นได้ อย่างพระภิกษุรูปหนึ่งมีปัญญาน้อยเป็นอย่างยิ่ง ไม่สามารถจำบาทคาถาได้สักบาทคาถา เนื่องจากอดีตเหตุในชาติหนึ่งๆ เคยเป็นคนฉลาดมาก และไปดูถูกคนอื่นเอาไว้เยอะ วิบากในชาตินี้จึงเกิดเป็นคนโง่ทึบจำอะไรไม่ค่อยได้ ไม่มีใครสามารถสั่งสอนได้ แต่พระพุทธองค์ก็ยังสามารถสอนให้บรรลุธรรมได้ โดยให้พระภิกษุรูปนั้นเอามือลูบผ้าสีขาว แล้วก็ใช้กสิณสีขาวเป็นอารมณ์กรรมฐาน ลูบผ้าไป ก็กำหนด ขาวหนอๆๆ ไปเรื่อย ลูบเข้าๆ พอเห็นสีขาวหมองลงกลายเป็นสีเหลืองจากคราบเหงื่อขี้ไคล ก็เข้าถึงไตรลักษณ์ เห็นถึงอนิจจลักษณะ สมาธิที่เกิดขึ้น ประกอบกับอดีตชาติที่เคยเห็นธรรมจากการเห็นผ้าขาวที่หมองลง จิตจึงแล่นเข้าสู่ไตรลักษณ์ รู้แจ้งอริยสัจ 4 สามารถบรรลุธรรมได้

ผมว่าเรื่องการบรรลุธรรมของพระอริยสงฆ์แต่ละรูปนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน อ่านก็สักแต่ว่าอ่านจะดีกว่าครับ อย่าไปคาดเดาเลยว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้เลยครับ ถ้าจะอ่าน ก็น่าจะอ่านเอาที่แก่น ที่บาทคาถา หรือธรรมบทนั้นๆ เพื่อเอาไปขัดเกลากิเลสของเราน่าจะดีกว่า ธรรมอันใดทำให้เราเห็นถึงไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจ 4 ทำให้เราอยากที่จะเบียดเบียนคนอื่นน้อยลง อยากที่จะทำประโยชน์ให้มากขึ้น นั้นคือธรรมที่เหมาะสมกับเรา แต่ธรรมอันใดทำให้เราสับสน ยิ่งคิดยิ่งงง ไม่เข้าใจ ธรรมอันนั้นก็คงจะเป็นธรรมที่ไม่เหมาะกับเรา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปคิดปรุงแต่ต่อ เพราะ มันจะปรุงแต่งไปตามอำนาจของกิเลสของเราเอง ซึ่งอันตรายมากๆ ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 169

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ขอบพระคุณทุกท่านกับความเห็นครับผมทั้งคุณ Tibular คุณ tum_H

ผมอ่านเรื่อง องคุลีมาล มาหลายรอบครับ ด้วยความค้านชนิดที่ว่า โจรคนหนึ่งขาดทั้งศีล และเต็มเปี่ยมไปด้วยปัญญาแบบอวิชชา บรรลุธรรมได้อย่างไร? พออ่านที่คุณ Dech เขียนเช้านี้ขนลุกซู่เลยครับ ขอบคุณมากครับ

ไว้ผมมาเติมมุมมองผมบ้างครับคุณ Dech
ขอบคุณพี่ Nevercry.boy และความเห็นทั้งคุณ Tibular คุณ tum_H ด้วยนะครับ

และเห็นด้วยกับพี่ picatos มากๆ ครับ
picatos เขียน:พระพุทธเจ้าเป็นบรมครูผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า......
........
ผมว่าเรื่องการบรรลุธรรมของพระอริยสงฆ์แต่ละรูปนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตน อ่านก็สักแต่ว่าอ่านจะดีกว่าครับ อย่าไปคาดเดาเลยว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้เลยครับ ถ้าจะอ่าน ก็น่าจะอ่านเอาที่แก่น ที่บาทคาถา หรือธรรมบทนั้นๆ เพื่อเอาไปขัดเกลากิเลสของเราน่าจะดีกว่า ธรรมอันใดทำให้เราเห็นถึงไตรลักษณ์ เข้าใจในอริยสัจ 4 ทำให้เราอยากที่จะเบียดเบียนคนอื่นน้อยลง อยากที่จะทำประโยชน์ให้มากขึ้น นั้นคือธรรมที่เหมาะสมกับเรา แต่ธรรมอันใดทำให้เราสับสน ยิ่งคิดยิ่งงง ไม่เข้าใจ ธรรมอันนั้นก็คงจะเป็นธรรมที่ไม่เหมาะกับเรา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปคิดปรุงแต่ต่อ เพราะ มันจะปรุงแต่งไปตามอำนาจของกิเลสของเราเอง ซึ่งอันตรายมากๆ ครับ
เราเอาแก่นไปทำเลยครับ แต่นิทานเรื่องใหม่ที่พี่พูดถึง
เรื่องประวัติพระจุลปันถก นี่ผมว่านำมาประยุกต์กับเราได้ง่ายที่สุดแล้วครับ
ไม่เหมือนสองเรื่องที่ผ่านมาครับ และขอสาธุกับทุกท่านครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 170

โพสต์

พระจูฬปันถกเถระ ผู้เป็นเอตทัคคะ คือสาวกที่เป็นเลิศในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

ตามประวัติท่านชาติสุดท้ายนี้ท่านมีปัญญาทึบมาก
คือโง่มากๆๆๆ จำอะไรไม่ได้เลย ท่านมาเป็นเลิศตอนที่รู้แล้วภายหลัง
เมื่อได้บวชเรียน ไปอยู่กับสำนักของพระพี่ชาย
ซึ่งก็คือพระมหาปันถกเถระ ผู้ที่ภายหลังพระพุทธเจ้ายกย่องว่าเอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา

พระพี่ชายสอนให้จำคำสอนแค่ 1 บทคือ 4 ประโยคสั้นๆ ท่านท่องบ่นอยู่ทุกวัน
พระพี่ชายก็เรียกมาสอนมาสอบอารมณ์ทุกวัน ท่านก็จำไม่ได้
พี่ชายท่านก็เลยบอกว่า เธอนี่โง่มากๆ แค่จำแค่นี้ยังทำไม่ได้เลย แบบนี้แล้วจะทำที่สุดของทุกข์ได้ยังไงกัน
ท่านถูกพี่ชายดุทุกวัน ถูกไล่ให้ไปท่องใหม่ ท่านต้องแอบไปร้องไห้ทุกวัน ว่าเรานี่โง่จริงๆ เลย ทำไมจำไม่ได้เลย
ก็เบื่อตัวเอง หงุดหงิด ทำไมจำไม่ได้ว่ะ เกิดท้อแท้ จิตก็ฟุ้ง รำคาญ ก็บ่นสงสัยทำไม ทำไม่ได้ พี่ชายเราสอนถูกหรือเปล่าเนี้ย ก็บ่นทุกวัน
แต่ก็ไม่อยากจะสึก ก็ทนและฝึกทุกวัน ก็จำไม่ได้สักครั้ง

พระพี่ชายท่านก็เรียกมาสอนทุกวัน ก็ถูกดุทุกวัน จะสอนให้น้องชายทำที่สุดของทุกข์ให้ได้
แต่น้องก็จำไม่ได้ อาจเพราะกรรมเก่า ทำให้โง่มากจำอะไรไม่ได้เลย
ผ่านไป 4 เดือนเต็มๆ ท่องอยู่แค่ 1 บท 4 ประโยคสั้นๆ ก็ยังจำไม่ได้ ก็ยิ่งเครียด

วันหนึ่งมีคนมานิมนต์ พระในสำนักของพี่ชายให้ไปข้างนอกเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็มาถามว่าในสำนักท่านมีพระเท่าไหร่หรือ
พระมหาปันถกท่านก็บอกว่านิมนต์ไปทั้งหมดนั้นแหละยกเว้นพระน้องชายจูฬปันถก อย่าเอาไปเลย เธอโง่มาก ให้เฝ้าสำนักนี่แหละ

พระจูฬปันถกผ่านมาได้ยินพอดี ความอดทนสิ้นสุดลง น้อยใจ บอกว่า ไม่ไหวแล้วหนีไปสึกดีกว่า
เราโง่เหลือเกิน อยู่ไปก็จะทำให้เป็นที่อับอายของพระพี่ชาย
หนีไปสึกดีกว่า
บังเอิญวันนั้นพระพุทธเจ้าก็ผ่านทางมาพอดี เห็นพระจูฬปันถก เดินร้องไห้กระซิกๆ มา ก็ถามว่าจะไปไหนหรือ
เธอก็รายงานไปว่า ผมจะไปสึกแล้วครับ พระพี่ชายสอนทุกวัน แต่ผมทำไม่ได้เลย ผมนี่โง่มากๆๆ ชาตินี่คงทำที่สุดของทุกข์ไม่ได้หรอกครับ

พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าจะสึกไปทำไม นี่มาเรียนกับเรานี้ ท่านก็ให้ผ้าขาวไปหนึ่งผืน แล้วบอกให้เอามือนี่ลูบผ้าไปเรื่อยๆ
พร้อมท่องคำเดียว ท่องว่า รโชหะระณัง แปลง่ายๆ ว่า ผ้าขาว ท่องไปก็ลูบผ้าไปเรื่อยๆนะ
จากผ้าขาวเมื่อโดนเหงื่อไหลจากมือ ผ้าก็คล้ำดำ
ท่านเลยเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน แล้วมาเทียบกับร่างกายตัวเอง เกิดอริยสัจ รู้แจ้งได้เลย

สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากประวัติของท่านพระจูฬปันถกที่ครูบาอาจารย์สอนมาก็คือ

หลายคนบอกว่าพระจูฬปันถกที่ท่านทำได้เพราะท่านในอดีตทำมาเยอะแล้ว เราทำไม่ได้ แบบนี้คือการคิดแบบโง่ๆ คิดแบบทำลายตัวเอง
ต้องสะสมไปอีกให้เยอะๆ จึงจะทำได้
เราไม่รู้อดีตอยู่แล้ว แล้วทำไมเราไม่คิดไปเลยละว่าเราก็ทำมาครบแล้วเหมือนกันกับท่านนี่แหละ
ก็เราไม่รู้อดีตนิครับ ท่านเป็นถึงพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะ ท่านก็ไม่รู้ ท่านก็โง่มากๆ มาก่อน
ท่านยังทำได้เลย เราก็ทำไปเรื่อยๆ ก็น่าจะทำได้เหมือนกัน

แล้วที่ท่านปฏิบัติ ท่านก็ถูกสอนให้ทำโดยการท่องบ่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง มาตลอดจากที่พระพี่ชายสอนแล้ว
พอพระพุทธเจ้ามาสอนต่อ อ้าว พระรูปนี้ชาตินี้ท่านโง่ ยาวไป ท่านจำไม่ได้ พระพุทธองค์ท่านรู้อยู่แล้วจึงให้ท่องสั้นกว่านั้น
เอาไปคำเดียวก็พอ ท่านให้ท่องว่า ผ้าขาว ผ้าขาว ผ้าขาว ผ้าขาว ผ้าขาว ผ้าขาว ก็ท่องไปเรื่อยๆ

ก็คือการทำสมถะภาวนานี่เอง ท่านก็ท่องบ่นไปเรื่อย คราวนี้สั้นง่ายถูกจริตละ ท่องไปก็จำได้ คิดในใจ อุ๋ย ง่ายๆ ว่ะ
ทำไมพี่ไม่สอนแบบนี้บ้างเนี้ย
ท่านก็ไม่เครียด สบาย จิตก็ไม่ฟุ้ง อยากทำ ฮึกเหิม ง่ายว่ะ ก็ไม่สงสัย สงบได้ง่าย เครื่องกั้นต่างๆ ก็หายไป

ท่านทำไปเรื่อยๆ จิตก็เป็นหนึ่งกับผ้าขาวนั้น แล้วพอไปเห็นว่าผ้าขาว อ้าว! ดำไปซะแล้ว
ไหนบอกว่าผ้าขาวไง แล้วดำนี่มาจากไหน
อ๋อ มาจากขี้มือเรานี่เอง ตัวเรานี่โคตรเน่าเลย สกปรกมากๆ จิตเป็นหนึ่งอยู่แล้ว พอเกิดปัญญาเกิดขึ้น เห็นไตรลักษณ์
ก็เกิดเป็นวิปัสสนาภาวนา เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนของร่างกายนี่ มันก็เน่าผุพังไปเหมือนกับธรรมชาติอื่นๆ
เห็นความธรรมดานี่ชัด เลยเข้าใจอริยสัจ ทะลุ จบได้เลย

ดังนั้นเราๆ นี่ก็น่าจะปฏิบัติในทำนองเดียวกับท่านพระจูฬปันถกท่านได้ นะครับ
แม้เราจะไม่รู้จริต ว่าอะไรจะเหมาะกับเราจริงๆ แบบพระพุทธเจ้าท่านได้
เราก็อ่านก็เรียนมาเยอะ ถูกใจชอบแบบไหน ก็ลองทำไปเรื่อยๆซักแบบ ก็น่าจะทำได้ง่ายๆ นะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 171

โพสต์

เนื่องจากผมยังมีความโลภไม่อยากกระทู้ดี ๆ ตกยุคไป ขออนุญาตโพสต์ จากแหล่งข้อมูลที่ค้นหาได้ อนึ่งผลบุญจากการอ่านและการปฏิบัติตาม 15 ข้อด้านล่าง จงบังเกิดเป็นธรรมอันบริสุทธิ์คุ้มครองพี่เด็กใหม่ไฟแรงและอาจารย์ ดร.นิเวศน์ ด้วยครับ

15 ข้อฝึกหาความสุขแบบตัดตรง(ไม่หรูหราแต่ได้ผลจริง) พศิน อินทรวงค์

1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้ หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมาก อย่าปล่อยให้จิตใจวนไปวนมากับความรู้สึกของตัวเอง เหมือนจมอยู่ในอ่าง ลองเปิดตามองไปรอบๆ แล้วมองให้เห็นว่า คนบนโลกนี้มีมากมายแค่ไหน ตัวเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นก็อย่าไปให้ความสำคัญกับมันมากนัก ทุกข์บ้าง ผิดบ้าง เรื่องธรรมดา

2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย ในแง่ของความสุข เราไม่จำเป็นต้องสะสมอะไรเพื่อให้มีความสุข วิธีมีความสุขของคนเรามีมากมายหลายอย่าง และเราไม่ควรเลือกวิธีที่สร้างภาระให้กับตนเอง

3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หัดเว้นที่วางไว้ให้ความผิดพลาดบ้าง ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องไร้ที่ติ การผิดบ้างถูกบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เพียงแต่เราต้องรู้จักปรับปรุงตนเองไม่ให้ผิดพลาดบ่อยๆ ซ้ำๆซากๆ

4. ฝึกให้ตัวเองเป็นคนนิ่งๆ หรือไม่ก็พูดในสิ่งที่ดีๆ หมายความว่า ถ้าอะไรไม่ดีก็อย่าไปพูดมาก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่ดี เป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูด หรือวิจารณ์ในทางเสียหายนั้น มีแต่ทำให้จิตใจตนเองตกต่ำ และขุ่นมัว คนที่พูดจาไม่ดี แม้ว่าคำพูดจะดูฉลาดหลักแหลมเพียงไรมันก็คือความโง่ชนิดหนึ่ง คนที่พูดแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่นนับเป็นคนหาความสุขได้ยากนัก

5. ฝึกให้ตัวเองรู้ธรรมชาติว่า อะไรๆ ก็ผ่านไปเสมอ หมายความว่า เวลามีความสุข ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความสุขมันก็ผ่านไป เวลามีความทุกข์ ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความทุกข์ก็ผ่านไป เวลามีสถานการณ์แย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า เรื่องราวเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่กับเราจนวันตาย ดังนั้น อย่าไปเสียเวลาคิดมาก อย่าไปย้ำคิดย้ำทำ อย่าไปหลงยึดไว้เกินความจำเป็น ให้รู้จักธรรมชาติของมัน การยึดติดกับวัตถุ บุคคล หรือความรู้สึกจนเกินเหตุ คือปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ และต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนปล่อยวางอะไรง่ายๆ เข้าไว้

6. ฝึกให้ตัวเองเข้าใจเรื่องของการนินทา หมายความว่า เราเกิดมาก็ต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินทาแน่นอน ดังนั้น เมื่อถูกนินทาขอให้รู้ว่า "เรามาถูกทางแล้ว" แปลว่า เรายังมีตัวตนอยู่บนโลก คนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกา กับคำนินทาก็คือคนไม่รู้เท่าทันโลก แม้แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ยังนินทาลูก คนเป็นลูกก็ยังนินทาพ่อแม่ นับประสาอะไรกับคนอื่น ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้นินทาคนอื่นได้เมื่อไหร่ ค่อยมาคิดว่า เราจะไม่ถูกนินทา ขอให้รู้ว่า คำนินทาคือของคู่กับมนุษย์โลก มีมาช้านานแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้า นักบุญ คนที่สร้างคุณงามความดีไว้กับโลกมากมายยังถูกนินทา แล้วเราเป็นใครจะไม่ถูกนินทา ดังนั้น อย่าไปใส่ใจให้มาก ถ้าอะไรที่ดีเก็บไว้ปรับปรุงตัว อะไรที่ไม่ดี ทิ้งมันไว้ไม่ต้องไปตีคราคาสร้างค่าให้คำพูดไร้สาระ ส่วนตัวเราเอง ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้ไม่นินทาคนอื่นเช่นกัน

7. ฝึกให้ตัวเองพ้นไปจากความเป็นขี้ข้าของเงิน หมายความว่า เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ รถยนต์ใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน นาฬิกาใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน เสื้อผ้าใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน การที่คนเราจะเลิกเป็นขี้ข้าเงินได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินมาก เมื่อไม่ต้องหาเงินมาก ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน การยุติความเป็นขี้ข้าของอำนาจเงินนี้ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ชีวิตทั้งชีวิตของเรา ก็จะเป็นชีวิตที่เกิดมาแล้วตายไปเปล่าๆ ด้วยเหตุที่ว่า ใช้เวลาหมดไปกับการสะสมเงินทองที่เอาไปไม่ได้แม้แต่บาทเดียว

8. ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบ หมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น ซึ่งส่วนใหญ่มันก็เป็นเพียงความถูกต้องที่กิเลสของตัวเองลากไป ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องตรงธรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น การยอมเสียเปรียบ การให้ผู้อื่นด้วยความเบิกบานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าที่เราคิดกัน มีแรงให้เอาแรงช่วย มีเงินให้เอาเงินช่วย มีความรู้ก็เอาความรู้เข้าไปช่วย ในหนึ่งวัน เราควรถามตัวเองว่า วันนี้เราได้ช่วยใครไปแล้วหรือยัง เราได้เสียเปรียบใครหรือยัง ถ้าคำตอบคือ "ยัง" ให้รู้เอาไว้เลยว่า เราเป็นอีกคนที่มีแนวโน้มจะหาความสุขได้ยากเต็มที

9. ฝึกตัวเองให้เป็นแสงสว่างในที่มืด หมายความว่า ตรงไหนที่มันมืด เราควรไปเป็นดวงไฟส่องทางให้เขา ตรงไหนที่ไม่มีคนช่วย เราควรไปทำ เช่น ลองหาเวลาไปรับประทานอาหารร้านที่ไม่มีลูกค้าเข้า อย่ามุ่งแต่เรื่องกิน ให้การกินของเรามันเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง ร้านเขาไม่มีลูกค้า แล้วเราเข้าไปนั่ง มันไม่ใช่แค่เงิน แต่มันหมายถึงกำลังใจ อย่าคิดถึงการบริการที่ดีที่สุด อย่าคิดถึงรสชาติของอาหารให้มากนัก ให้คิดว่า เรากำลังเป็นผู้ให้ เดินเข้าร้านหนังสือ หนังสือเล่มไหน เก่าที่สุด เราอ่านเนื้อหาแล้วสนใจ หยิบมันขึ้นมาแล้วจ่ายเงิน นำมันกลับบ้าน เหลือหนังสือเล่มสวยๆ ไว้ให้คนอื่นๆ ได้ซื้อได้อ่าน อย่าไปบ้ากับการเก็บสิ่งที่ดีที่สุด อย่าไปบ้ากับการปรนเปรอสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเอง แต่ให้เน้นจิตใจที่ดีที่สุด ใช้วัตถุ ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการซื้อจิตใจดีๆ สูงๆ สะอาดๆ ของเรากลับคืนมา วัตถุเป็นเรื่องไม่จีรัง แต่จิตใจดีๆ นั้นเป็นทั้งหมดของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้จักรักษาดูแลเอาไว้ไม่ให้เกิดความเสียหาย

10. ฝึกให้ตัวเองไม่ไหลไปตามอำนาจวัตถุนิยม หมายความว่า ต้องรู้จักยับยั้งช่างใจ และมีปัญญาในการมองเห็นว่า อะไรคือสิ่งจำเป็น อะไรคือสิ่งที่เราถูกโฆษณาหลอก เรากำลังเป็นตัวของตัวเอง หรือเรากำลังบ้ากระแสสังคมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ลดความจำเป็นเรื่องแฟชั่น ลดความจำเป็นเรื่องโทรศัพท์ ลดความจำเป็นเรื่องสิ่งของเครื่องใช้ ก่อนจะซื้อ ก่อนจะอยากได้ ให้ลองถามตัวเองว่า เราอยากได้เพราะอะไร เพราะมันจำเป็น เพราะอยากเท่ อยากดูดีในสายตาของอื่น หรือเพราะอะไรกันแน่ๆ ตอบตัวเองให้ได้ชัดๆ ในเรื่องของความจำเป็นนี้ พูดได้เลยว่า ของในชีวิตส่วนใหญ่ที่เราครอบครองกันอยู่
มีไว้โชว์ มากกว่ามีไว้ใช้

11. ฝึกให้ตัวเองยอมรับความจริงง่ายๆ หมายความว่า อะไรที่ทำผิด อย่าดันทุรัง ให้พูดคำว่า ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ ฝึกพูดคำเหล่านี้ให้เป็นเรื่องปกติ ความผิดไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การผิดแล้วไม่ยอมรับผิดนั้นเป็นเรื่องเสียหาย และส่งผลเสียกับชีวิตเป็นวงกว้าง เพราะการปรับปรุงตัวนั้นมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนๆ หนึ่งรู้ตัวว่าทำไม่ดี ดังนั้นคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำไม่ดีแล้วดันทุรัง ก็คือคนที่ไม่มีโอกาสปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ขอให้รู้ว่า เมื่อเราทำผิด ต่อให้ปากแข็งแค่ไหน ดันทุรังแค่ไหน ผิดมันก็คือผิด หลอกตัวเองได้ แต่หลอกคนอื่นไม่ได้ เหมือนเราบอกว่า ไม่เหม็น แต่กลิ่นเหม็นนั้น ถ้ามันมีจริงมันก็โชยออกมาอยู่วันยังค่ำ

12. ฝึกให้ตัวเองรู้จักเลือกคนต้นแบบที่ถูกต้องตรงธรรม หมายความว่า เมื่อคิดจะเลือกใครสักคนมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต อย่าไปมุ่งเน้นแต่ความสำเร็จด้านเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เราควรให้ความสำคัญกับคุณค่าในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น ความดี คุณธรรม ความเสียสละ เราควรเคารพและชื่นชมใครซักคนที่ความดีของเขาไม่ใช่รายได้ของเขา ทุกวันนี้ คำว่าความสำเร็จถูกใช้ไปกับเรื่องของเงินๆ ทองๆ มากเกินไป ใครหาเงินได้มาก แปลว่า คนๆ นั้นประสบความสำเร็จมาก ตรงนี้เป็นการให้คุณค่าที่ผิดพลาด การคิดเช่นนี้ย่อมเป็นการปลูกฝั่งค่านิยมในระดับจิตวิญญาณที่ทำให้เราให้ตกเป็นทาสของเงิน เมื่อเราเป็นทาสของเงินเสียแล้ว เราก็จะเป็นคนที่ฝากความสุขของเราไว้กับเงินด้วย เราเลือกต้นแบบอย่างไร ชีวิตของเราก็จะมุ่งหน้าไปทางนั้น สังคมจะดีขึ้นได้ก็เริ่มจากทัศนคติของเราตรงนี้นั่นเอง

13. ฝึกให้ตนเองเป็นคนไม่ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หมายความว่า เราต้องไม่เป็นคนหน้าชื่นอกตรม คือยิ้มไปทั่วกับคนนอกบ้าน แต่กลับมาทะเลาะกับคนที่บ้าน ขอให้ใช้คนที่บ้านเป็นเครื่องมือฝึกจิตใจของตนเอง อะไรที่ยอมได้ก็ขอให้ยอม เสียเปรียบคนในครอบครัวให้มากที่สุด ดีกับเขาให้เหมือนเขาเป็นคนเดียวกับเรา อย่าเป็นคนที่ไม่ได้เรื่องนอกบ้าน แต่กลับมาเก่งในบ้าน เพราะมันจะสร้างแต่ความทุกข์ให้ชีวิต ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเรา ถ้าหาความสุขจากครอบครัวไม่ได้ ความสุขที่อื่นก็ไม่ต้องพูดถึง ต่อให้หลอกคนทั้งโลกได้ว่าชีวิตประสบความสำเร็จ แต่ภาพที่สร้างขึ้นมา ก็เป็นแค่ภาพลวงตาที่จะย้อนกลับมาสร้างความละอายใจให้ตัวเองอยู่วันยังค่ำ ยอมพ่อแม่ ยอมลูกเมีย ยอมสามี ยอมคุณตาคุณยายคุณปู่คุณย่า สิ่งดีๆ ที่ทำแล้วชื่นใจก็ขอให้ทำให้บ่อย คำพูดดีๆ ที่พูดได้ก็ขอให้พูด ครอบครัวคือรากของมนุษย์ ถ้ารากของชีวิตเน่า ส่วนที่เหลือก็เน่าทั้งหมด

14. ฝึกตัวเองให้เข้าใจคำสอนของศาสนาตน หมายความว่า เรานับถือศาสนาอะไรอยู่ ก็ต้องเข้าใจคำสอนของศาสนานั้น แม้ทำตามคำสั่งสอนยังไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจถึงแก่นแท้ ขอให้ถามตัวเองว่า ทุกวันนี้ หัวใจของศาสนาตัวเองคืออะไร เรารู้แล้วหรือยัง หยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น แล้วลองเขียนดู ถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไป ก็แปลว่า เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับศาสนาของเรา อย่าหลอกตัวเองว่าเรารู้แล้ว ถ้าไม่มีอะไรจะเขียน นึกเรื่องจะเขียนไม่ออก ก็แปลว่าเราไม่รู้ เรียบเรียงไม่ได้ ความคิดยังไม่ตกผลึกทั้งๆ ที่นับถือศาสนานี้มาแล้วชั่วชีวิต ย่อมหมายความว่า เราเป็นคนไม่ใส่ใจในศาสนาตนเองเท่าที่ควร ไม่ต้องไปตกใจหรือรู้สึกผิดบาป ทุกอย่างแก้ไขได้ ขอให้รีบปรับปรุงตัวเสียแต่วันนี้ก็ยังไม่สาย ศาสนาเป็นรากของจิตวิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วค่อยไปใส่ใจในวัยชรา เพราะถึงเวลานั้น ก็คงไม่ทันการแล้ว

15. ฝึกตัวเองให้ค่อยๆ ทำตามสิ่งที่ศาสนาของตนสั่งสอนจนสำเร็จ หมายความว่า เมื่อรู้ว่าศาสนาของตนสอนอะไร ก็ขอให้ทำ ทำด้วยความเบิกบาน ไม่จำเป็นต้องทำได้ทั้งหมด แต่ขอให้ทำเรื่อยๆ ทำให้ดีขึ้นทุกวัน อย่าน้อย ในแง่ของศีลธรรมก็ควรจะทำให้ได้ อย่าน้อยที่สุด ก็ขอให้อายตัวเองเมื่อคิดจะพูดโกหก เมื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อจะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตรงธรรม บุคคลในอุดมคติของแต่ละศาสนาไม่ได้เป็นกันง่ายๆ แต่ถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีโอกาสไปถึง สำหรับคนที่ไม่มีศาสนา หรือไม่นับถืออะไร ก็ขอให้นับถือความดี ซื่อสัตย์กับความดี
คาถาง่ายๆ ที่สำหรับผู้ไม่มีศาสนาก็คือ
"เราไม่ชอบสิ่งไหนก็อย่าไปทำสิ่งนั้นกับคนอื่น"
ส่วนศีลสำหรับคนไร้ศาสนานั้นมีอยู่เพียงข้อเดียวนั่นก็คือ
"อย่าขโมยความดีไปจากจิตใจของตนเอง"
คาถาหนึ่งบท กับศีลหนึ่งข้อ ถ้าทำได้ แม้เป็นคนไม่มีศาสนา ก็ไม่เป็นภาระต่อโลกในนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลเมืองที่ดีของโลกและเพื่อนมนุษย์แล้วโดยสมบูรณ์

วิธีหาความสุขทั้ง 15 ข้อนี้คือสิ่งที่ทำได้ทันที แบบไม่ต้องรีรอ ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย อยู่ที่จะทำหรือไม่ทำ ข้อไหนสะดวกใจให้ทำก่อน ข้อไหนรู้สึกว่ายากก็เว้นเอาไว้ ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ เก็บไปทีละข้อ จนครบทั้ง 15 ข้อ ถึงแม้คุณไม่ได้บรรลุธรรมแต่คุณก็จะเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าที่สุดคนหนึ่งทีเดียว และหากใครเบื่อการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อทำทั้ง 15 ข้อนี้ได้ก็มีโอกาสบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งในชาติปัจจุบัน เปรียบเหมือนคนที่เตรียมความพร้อมมาดี เพียงเติมส่วนที่ขาดเล็กน้อยก็บรรลุถึงฝั่งฝันได้ไม่ยาก ขอให้ทุกคนสนุกกับการหาความสุขให้ตนเองในแบบง่ายๆ ยิ้มทุกวัน มองฟ้าให้เป็นฟ้ามีปัญญาสามารถเปลี่ยนโลกแห่งนี้
ให้เป็นสวนดอกไม้แห่งชีวิตได้สำเร็จกันทุกคน...
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 37

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 172

โพสต์

koko8889 เขียน:เนื่องจากผมยังมีความโลภไม่อยากกระทู้ดี ๆ ตกยุคไป ขออนุญาตโพสต์ จากแหล่งข้อมูลที่ค้นหาได้ อนึ่งผลบุญจากการอ่านและการปฏิบัติตาม 15 ข้อด้านล่าง จงบังเกิดเป็นธรรมอันบริสุทธิ์คุ้มครองพี่เด็กใหม่ไฟแรงและอาจารย์ ดร.นิเวศน์ ด้วยครับ

15 ข้อฝึกหาความสุขแบบตัดตรง(ไม่หรูหราแต่ได้ผลจริง) พศิน อินทรวงค์

1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้ หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมาก อย่าปล่อยให้จิตใจวนไปวนมากับความรู้สึกของตัวเอง เหมือนจมอยู่ในอ่าง ลองเปิดตามองไปรอบๆ แล้วมองให้เห็นว่า คนบนโลกนี้มีมากมายแค่ไหน ตัวเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นก็อย่าไปให้ความสำคัญกับมันมากนัก ทุกข์บ้าง ผิดบ้าง เรื่องธรรมดา

2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย ในแง่ของความสุข เราไม่จำเป็นต้องสะสมอะไรเพื่อให้มีความสุข วิธีมีความสุขของคนเรามีมากมายหลายอย่าง และเราไม่ควรเลือกวิธีที่สร้างภาระให้กับตนเอง

3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หัดเว้นที่วางไว้ให้ความผิดพลาดบ้าง ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องไร้ที่ติ การผิดบ้างถูกบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เพียงแต่เราต้องรู้จักปรับปรุงตนเองไม่ให้ผิดพลาดบ่อยๆ ซ้ำๆซากๆ

4. ฝึกให้ตัวเองเป็นคนนิ่งๆ หรือไม่ก็พูดในสิ่งที่ดีๆ หมายความว่า ถ้าอะไรไม่ดีก็อย่าไปพูดมาก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่ดี เป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูด หรือวิจารณ์ในทางเสียหายนั้น มีแต่ทำให้จิตใจตนเองตกต่ำ และขุ่นมัว คนที่พูดจาไม่ดี แม้ว่าคำพูดจะดูฉลาดหลักแหลมเพียงไรมันก็คือความโง่ชนิดหนึ่ง คนที่พูดแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่นนับเป็นคนหาความสุขได้ยากนัก

5. ฝึกให้ตัวเองรู้ธรรมชาติว่า อะไรๆ ก็ผ่านไปเสมอ หมายความว่า เวลามีความสุข ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความสุขมันก็ผ่านไป เวลามีความทุกข์ ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความทุกข์ก็ผ่านไป เวลามีสถานการณ์แย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า เรื่องราวเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่กับเราจนวันตาย ดังนั้น อย่าไปเสียเวลาคิดมาก อย่าไปย้ำคิดย้ำทำ อย่าไปหลงยึดไว้เกินความจำเป็น ให้รู้จักธรรมชาติของมัน การยึดติดกับวัตถุ บุคคล หรือความรู้สึกจนเกินเหตุ คือปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ และต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนปล่อยวางอะไรง่ายๆ เข้าไว้

6. ฝึกให้ตัวเองเข้าใจเรื่องของการนินทา หมายความว่า เราเกิดมาก็ต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินทาแน่นอน ดังนั้น เมื่อถูกนินทาขอให้รู้ว่า "เรามาถูกทางแล้ว" แปลว่า เรายังมีตัวตนอยู่บนโลก คนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกา กับคำนินทาก็คือคนไม่รู้เท่าทันโลก แม้แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ยังนินทาลูก คนเป็นลูกก็ยังนินทาพ่อแม่ นับประสาอะไรกับคนอื่น ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้นินทาคนอื่นได้เมื่อไหร่ ค่อยมาคิดว่า เราจะไม่ถูกนินทา ขอให้รู้ว่า คำนินทาคือของคู่กับมนุษย์โลก มีมาช้านานแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้า นักบุญ คนที่สร้างคุณงามความดีไว้กับโลกมากมายยังถูกนินทา แล้วเราเป็นใครจะไม่ถูกนินทา ดังนั้น อย่าไปใส่ใจให้มาก ถ้าอะไรที่ดีเก็บไว้ปรับปรุงตัว อะไรที่ไม่ดี ทิ้งมันไว้ไม่ต้องไปตีคราคาสร้างค่าให้คำพูดไร้สาระ ส่วนตัวเราเอง ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้ไม่นินทาคนอื่นเช่นกัน

7. ฝึกให้ตัวเองพ้นไปจากความเป็นขี้ข้าของเงิน หมายความว่า เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ รถยนต์ใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน นาฬิกาใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน เสื้อผ้าใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน การที่คนเราจะเลิกเป็นขี้ข้าเงินได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินมาก เมื่อไม่ต้องหาเงินมาก ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน การยุติความเป็นขี้ข้าของอำนาจเงินนี้ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ชีวิตทั้งชีวิตของเรา ก็จะเป็นชีวิตที่เกิดมาแล้วตายไปเปล่าๆ ด้วยเหตุที่ว่า ใช้เวลาหมดไปกับการสะสมเงินทองที่เอาไปไม่ได้แม้แต่บาทเดียว

8. ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบ หมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น ซึ่งส่วนใหญ่มันก็เป็นเพียงความถูกต้องที่กิเลสของตัวเองลากไป ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องตรงธรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น การยอมเสียเปรียบ การให้ผู้อื่นด้วยความเบิกบานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าที่เราคิดกัน มีแรงให้เอาแรงช่วย มีเงินให้เอาเงินช่วย มีความรู้ก็เอาความรู้เข้าไปช่วย ในหนึ่งวัน เราควรถามตัวเองว่า วันนี้เราได้ช่วยใครไปแล้วหรือยัง เราได้เสียเปรียบใครหรือยัง ถ้าคำตอบคือ "ยัง" ให้รู้เอาไว้เลยว่า เราเป็นอีกคนที่มีแนวโน้มจะหาความสุขได้ยากเต็มที

9. ฝึกตัวเองให้เป็นแสงสว่างในที่มืด หมายความว่า ตรงไหนที่มันมืด เราควรไปเป็นดวงไฟส่องทางให้เขา ตรงไหนที่ไม่มีคนช่วย เราควรไปทำ เช่น ลองหาเวลาไปรับประทานอาหารร้านที่ไม่มีลูกค้าเข้า อย่ามุ่งแต่เรื่องกิน ให้การกินของเรามันเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง ร้านเขาไม่มีลูกค้า แล้วเราเข้าไปนั่ง มันไม่ใช่แค่เงิน แต่มันหมายถึงกำลังใจ อย่าคิดถึงการบริการที่ดีที่สุด อย่าคิดถึงรสชาติของอาหารให้มากนัก ให้คิดว่า เรากำลังเป็นผู้ให้ เดินเข้าร้านหนังสือ หนังสือเล่มไหน เก่าที่สุด เราอ่านเนื้อหาแล้วสนใจ หยิบมันขึ้นมาแล้วจ่ายเงิน นำมันกลับบ้าน เหลือหนังสือเล่มสวยๆ ไว้ให้คนอื่นๆ ได้ซื้อได้อ่าน อย่าไปบ้ากับการเก็บสิ่งที่ดีที่สุด อย่าไปบ้ากับการปรนเปรอสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเอง แต่ให้เน้นจิตใจที่ดีที่สุด ใช้วัตถุ ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการซื้อจิตใจดีๆ สูงๆ สะอาดๆ ของเรากลับคืนมา วัตถุเป็นเรื่องไม่จีรัง แต่จิตใจดีๆ นั้นเป็นทั้งหมดของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้จักรักษาดูแลเอาไว้ไม่ให้เกิดความเสียหาย

10. ฝึกให้ตัวเองไม่ไหลไปตามอำนาจวัตถุนิยม หมายความว่า ต้องรู้จักยับยั้งช่างใจ และมีปัญญาในการมองเห็นว่า อะไรคือสิ่งจำเป็น อะไรคือสิ่งที่เราถูกโฆษณาหลอก เรากำลังเป็นตัวของตัวเอง หรือเรากำลังบ้ากระแสสังคมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ลดความจำเป็นเรื่องแฟชั่น ลดความจำเป็นเรื่องโทรศัพท์ ลดความจำเป็นเรื่องสิ่งของเครื่องใช้ ก่อนจะซื้อ ก่อนจะอยากได้ ให้ลองถามตัวเองว่า เราอยากได้เพราะอะไร เพราะมันจำเป็น เพราะอยากเท่ อยากดูดีในสายตาของอื่น หรือเพราะอะไรกันแน่ๆ ตอบตัวเองให้ได้ชัดๆ ในเรื่องของความจำเป็นนี้ พูดได้เลยว่า ของในชีวิตส่วนใหญ่ที่เราครอบครองกันอยู่
มีไว้โชว์ มากกว่ามีไว้ใช้

11. ฝึกให้ตัวเองยอมรับความจริงง่ายๆ หมายความว่า อะไรที่ทำผิด อย่าดันทุรัง ให้พูดคำว่า ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ ฝึกพูดคำเหล่านี้ให้เป็นเรื่องปกติ ความผิดไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การผิดแล้วไม่ยอมรับผิดนั้นเป็นเรื่องเสียหาย และส่งผลเสียกับชีวิตเป็นวงกว้าง เพราะการปรับปรุงตัวนั้นมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนๆ หนึ่งรู้ตัวว่าทำไม่ดี ดังนั้นคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำไม่ดีแล้วดันทุรัง ก็คือคนที่ไม่มีโอกาสปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ขอให้รู้ว่า เมื่อเราทำผิด ต่อให้ปากแข็งแค่ไหน ดันทุรังแค่ไหน ผิดมันก็คือผิด หลอกตัวเองได้ แต่หลอกคนอื่นไม่ได้ เหมือนเราบอกว่า ไม่เหม็น แต่กลิ่นเหม็นนั้น ถ้ามันมีจริงมันก็โชยออกมาอยู่วันยังค่ำ

12. ฝึกให้ตัวเองรู้จักเลือกคนต้นแบบที่ถูกต้องตรงธรรม หมายความว่า เมื่อคิดจะเลือกใครสักคนมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต อย่าไปมุ่งเน้นแต่ความสำเร็จด้านเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เราควรให้ความสำคัญกับคุณค่าในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น ความดี คุณธรรม ความเสียสละ เราควรเคารพและชื่นชมใครซักคนที่ความดีของเขาไม่ใช่รายได้ของเขา ทุกวันนี้ คำว่าความสำเร็จถูกใช้ไปกับเรื่องของเงินๆ ทองๆ มากเกินไป ใครหาเงินได้มาก แปลว่า คนๆ นั้นประสบความสำเร็จมาก ตรงนี้เป็นการให้คุณค่าที่ผิดพลาด การคิดเช่นนี้ย่อมเป็นการปลูกฝั่งค่านิยมในระดับจิตวิญญาณที่ทำให้เราให้ตกเป็นทาสของเงิน เมื่อเราเป็นทาสของเงินเสียแล้ว เราก็จะเป็นคนที่ฝากความสุขของเราไว้กับเงินด้วย เราเลือกต้นแบบอย่างไร ชีวิตของเราก็จะมุ่งหน้าไปทางนั้น สังคมจะดีขึ้นได้ก็เริ่มจากทัศนคติของเราตรงนี้นั่นเอง

13. ฝึกให้ตนเองเป็นคนไม่ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หมายความว่า เราต้องไม่เป็นคนหน้าชื่นอกตรม คือยิ้มไปทั่วกับคนนอกบ้าน แต่กลับมาทะเลาะกับคนที่บ้าน ขอให้ใช้คนที่บ้านเป็นเครื่องมือฝึกจิตใจของตนเอง อะไรที่ยอมได้ก็ขอให้ยอม เสียเปรียบคนในครอบครัวให้มากที่สุด ดีกับเขาให้เหมือนเขาเป็นคนเดียวกับเรา อย่าเป็นคนที่ไม่ได้เรื่องนอกบ้าน แต่กลับมาเก่งในบ้าน เพราะมันจะสร้างแต่ความทุกข์ให้ชีวิต ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเรา ถ้าหาความสุขจากครอบครัวไม่ได้ ความสุขที่อื่นก็ไม่ต้องพูดถึง ต่อให้หลอกคนทั้งโลกได้ว่าชีวิตประสบความสำเร็จ แต่ภาพที่สร้างขึ้นมา ก็เป็นแค่ภาพลวงตาที่จะย้อนกลับมาสร้างความละอายใจให้ตัวเองอยู่วันยังค่ำ ยอมพ่อแม่ ยอมลูกเมีย ยอมสามี ยอมคุณตาคุณยายคุณปู่คุณย่า สิ่งดีๆ ที่ทำแล้วชื่นใจก็ขอให้ทำให้บ่อย คำพูดดีๆ ที่พูดได้ก็ขอให้พูด ครอบครัวคือรากของมนุษย์ ถ้ารากของชีวิตเน่า ส่วนที่เหลือก็เน่าทั้งหมด

14. ฝึกตัวเองให้เข้าใจคำสอนของศาสนาตน หมายความว่า เรานับถือศาสนาอะไรอยู่ ก็ต้องเข้าใจคำสอนของศาสนานั้น แม้ทำตามคำสั่งสอนยังไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจถึงแก่นแท้ ขอให้ถามตัวเองว่า ทุกวันนี้ หัวใจของศาสนาตัวเองคืออะไร เรารู้แล้วหรือยัง หยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น แล้วลองเขียนดู ถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไป ก็แปลว่า เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับศาสนาของเรา อย่าหลอกตัวเองว่าเรารู้แล้ว ถ้าไม่มีอะไรจะเขียน นึกเรื่องจะเขียนไม่ออก ก็แปลว่าเราไม่รู้ เรียบเรียงไม่ได้ ความคิดยังไม่ตกผลึกทั้งๆ ที่นับถือศาสนานี้มาแล้วชั่วชีวิต ย่อมหมายความว่า เราเป็นคนไม่ใส่ใจในศาสนาตนเองเท่าที่ควร ไม่ต้องไปตกใจหรือรู้สึกผิดบาป ทุกอย่างแก้ไขได้ ขอให้รีบปรับปรุงตัวเสียแต่วันนี้ก็ยังไม่สาย ศาสนาเป็นรากของจิตวิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วค่อยไปใส่ใจในวัยชรา เพราะถึงเวลานั้น ก็คงไม่ทันการแล้ว

15. ฝึกตัวเองให้ค่อยๆ ทำตามสิ่งที่ศาสนาของตนสั่งสอนจนสำเร็จ หมายความว่า เมื่อรู้ว่าศาสนาของตนสอนอะไร ก็ขอให้ทำ ทำด้วยความเบิกบาน ไม่จำเป็นต้องทำได้ทั้งหมด แต่ขอให้ทำเรื่อยๆ ทำให้ดีขึ้นทุกวัน อย่าน้อย ในแง่ของศีลธรรมก็ควรจะทำให้ได้ อย่าน้อยที่สุด ก็ขอให้อายตัวเองเมื่อคิดจะพูดโกหก เมื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อจะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตรงธรรม บุคคลในอุดมคติของแต่ละศาสนาไม่ได้เป็นกันง่ายๆ แต่ถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีโอกาสไปถึง สำหรับคนที่ไม่มีศาสนา หรือไม่นับถืออะไร ก็ขอให้นับถือความดี ซื่อสัตย์กับความดี
คาถาง่ายๆ ที่สำหรับผู้ไม่มีศาสนาก็คือ
"เราไม่ชอบสิ่งไหนก็อย่าไปทำสิ่งนั้นกับคนอื่น"
ส่วนศีลสำหรับคนไร้ศาสนานั้นมีอยู่เพียงข้อเดียวนั่นก็คือ
"อย่าขโมยความดีไปจากจิตใจของตนเอง"
คาถาหนึ่งบท กับศีลหนึ่งข้อ ถ้าทำได้ แม้เป็นคนไม่มีศาสนา ก็ไม่เป็นภาระต่อโลกในนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลเมืองที่ดีของโลกและเพื่อนมนุษย์แล้วโดยสมบูรณ์

วิธีหาความสุขทั้ง 15 ข้อนี้คือสิ่งที่ทำได้ทันที แบบไม่ต้องรีรอ ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย อยู่ที่จะทำหรือไม่ทำ ข้อไหนสะดวกใจให้ทำก่อน ข้อไหนรู้สึกว่ายากก็เว้นเอาไว้ ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ เก็บไปทีละข้อ จนครบทั้ง 15 ข้อ ถึงแม้คุณไม่ได้บรรลุธรรมแต่คุณก็จะเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าที่สุดคนหนึ่งทีเดียว และหากใครเบื่อการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อทำทั้ง 15 ข้อนี้ได้ก็มีโอกาสบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งในชาติปัจจุบัน เปรียบเหมือนคนที่เตรียมความพร้อมมาดี เพียงเติมส่วนที่ขาดเล็กน้อยก็บรรลุถึงฝั่งฝันได้ไม่ยาก ขอให้ทุกคนสนุกกับการหาความสุขให้ตนเองในแบบง่ายๆ ยิ้มทุกวัน มองฟ้าให้เป็นฟ้ามีปัญญาสามารถเปลี่ยนโลกแห่งนี้
ให้เป็นสวนดอกไม้แห่งชีวิตได้สำเร็จกันทุกคน...
ขอบคุณบทความดีๆ :bow: :bow: :bow: ชอบบทความนี้มาก ทำอยู่เป็นปกติ ครบทั้ง 15 ข้อค่ะ
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 37

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 173

โพสต์

ขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมว่า ...

คิดว่า 15 ข้อนี้ ที่คุณ koko8889 กรุณานำมาแบ่งปัน
เชื่อว่ามีผู้ที่ปฏิบัติอยู่เป็นปกติมากเหมือนกัน เพียงแต่เล่าออกมาไม่ได้

พออ่านบทความนี้แล้วหลายท่านจะรู้สึกว่า...ใช่เลย

และสำหรับหลายท่านที่อาจปฏิบัติอยู่เกือบครบทุกข้อ
อ่านแล้วก็สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติข้อที่เหลือได้ง่ายขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากทั้งแก่ตนเองและสังคม

ถ้าเราทำเป็นปกติอยู่แล้วลำดับถัดไปอาจช่วยกันเผยแพร่แนวคิด
และชวนให้สังคมรอบๆ ช่วยกันปฏิบัติให้มากขึ้น
โดยเฉพาะถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไปด้วย
ซึ่งคาดหวังได้ว่า จะนำมาซึ่งสังคมโดยรวมที่สุข สงบ มากเลยค่ะ
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 174

โพสต์

ขอบคุณคุณนุช ที่ได้ขยายความเข้าใจในบทความ อย่างน้อยผลของบทความก็มีท่านนึงเข้าถึงจิตถึงใจแล้ว และ
ขออนุญาตแบ่งปันบทความดี ๆ เพิ่มเติม ส่วนผลบุญจากการอ่านและการปฏิบัติตามของท่านใดก็ตามที่บังเกิดผลดี ขอยกความดีทั้งหมดให้ผู้อ่านและผู้ปฏิบัติทุกท่านครับ (หนึ่งคนเข้าใจธรรมะ จิตวิญญาณรอบ ๆ พลอยได้รับใบบุญ)

กฏพื้นฐาน 15 ข้อเพื่อการพัฒนาจิต(ไม่สวยหรูแต่ใช้ได้จริง) พศิน อินทรวงค์

1. ยอมรับในความเลวของตน อย่างเป็นกลาง เพราะเราไม่อาจแก้ไขจิตใจให้ดีขึ้นได้เลย หากมองไม่เห็นสิ่งที่เป็นปัญหา กิเลสตัวใดที่มีมาก จงลากไส้มันออกมาให้เห็นกันจะๆ จากนั้นจึงเฝ้าระวังไม่ให้มันออกมาวาดลวดลายจนทำให้เรา และผู้อื่นเดือดร้อน

2. ตั้งใจว่า จากนี้เป็นต้นไป จะจัดการกับความชั่วร้ายของตนเอง ไม่จำเป็นต้องรีบจัดการ แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน สำรวจตนเองทุกวันว่า จิตใจของเราได้รับการขัดเกลาไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว จะต้องทำทุกวัน ดีขึ้นทุกวัน ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องเปรียบเทียบตัวเองกับใคร ขอให้รู้ในความเลวของตนแล้วขัดเกลาไปเรื่อยๆ ทำเท่าที่ทำได้ อย่าให้เกิดความอึดอัด ขอให้ทำแต่พอดี แต่ต้องทำตลอดไป

3. ระหว่างที่จิตใจยังคิดชั่ว ยังควบคุมให้คิดดีไม่ได้ ให้ควบคุมกาย และวาจา ด้วยการถือศีล เพราะศีลเปรียบเหมือนเกาะป้องกันไม่ให้เราไปเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ในขั้นตอนนี้ อย่าเพิ่งไปสนใจว่า จิตจะดีหรือไม่อย่างไร ในขั้นแรก ควบคุมการกระทำ และคำพูดของเราให้ได้ก่อนเป็นพอ

4. ยุติการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นโดยเด็ดขาด เพราะการกระทำเช่นนั้น เป็นการยั่วกิเลสของเราให้พุ่งพลาน เป็นการป้อนอาหารให้ความเลวของตนเองเติบโต เขาจะดี จะเลวอย่างไรเป็นเรื่องของเขา เราสนใจในความดีเลวของตนเองเป็นพอ

5. เชื่อในกฏแห่งกรรมอย่างเคร่งครัด ต้องเข้าใจว่า กรรมทุกอย่างย่อมให้ผลเสมอ แม้เป็นเรื่องเล็กน้อยก็ย่อมส่งผลอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่มีความบังเอิญอยู่บนโลก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราทำสิ่งใดย่อมได้รับผลกรรมตามนั้น อย่าพยายามทำความเลวให้เกิดขึ้น พยายามทำแต่ความดีให้มากที่สุด

6. พยายามคิดว่าทุกคนคือเพื่อน คือคนที่เสมอเท่าเทียมกับเรา ให้มองผู้อื่นด้วยความเมตตาให้มากที่สุด ทำลายทัศนคติในการแบ่งเขา แบ่งเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

7. เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น ขอให้น้อมเข้ามาพิจารณาว่า ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรนอกเหนือจากนั้น ทั้งเรื่องของความรู้สึกที่เป็นนามธรรม หรือเรื่องของวัตถุธาตุที่จับต้องได้

8. จงทำความเข้าใจว่า ชีวิตมนุษย์ ล้วนต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย ทำความเข้าใจให้มากว่า เราไม่ได้อยู่บนโลกนี้ตลอดไป วันหนึ่ง เราต้องตาย แล้วเราจะเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจาก ความดี และความเลวที่ทำไว้

9. ทำความเข้าใจในสภาพความจริงของการเวี่ยนว่ายตายเกิด โดยขอให้มีความเข้าใจอันแน่นหนาว่า ตราบใดที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ เราก็ยังต้องเวี่ยนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด ต้องมีชีวิตทุกข์บ้าง สุขบ้าง วนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป และนรก สวรรค์ ล้วนเป็นภพภูมิที่มีอยู่จริง

10. พยายามสละสิ่งของ วัตถุ เพื่อสร้างอุปนิสัยของความเสียสละ หมั่นบริจาคทาน สงเคราะห์ผู้อื่นอยู่เสมอ ขอให้คิดว่าสิ่งเหล่านี้คือหน้าที่ ไม่ใช่เรื่องที่ว่างๆ ค่อยทำ ให้รู้ว่าเป็นขั้นตอนอันสำคัญที่จะช่วยให้เราเป็นคนไม่ยึดมั่นถือมัน และมีจิตใจเมตตาง่ายขึ้น

11. หมั่นทำจิตใจของตนให้สงบนิ่งอยู่เสมอ ด้วยการฝึกสมาธิ ขอให้คิดว่า ความสงบนี้เป็นเรื่องจำเป็นของชีวิต และต้องเข้าใจว่า จิตใจจะสงบได้ จิตของเราจำเป็นต้องได้รับการฝึก ความสงบไม่อาจเกิดขึ้นมาเองได้ ดังนั้น การทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาจิตของเราให้ก้าวหน้า

12. เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับชีวิต พยายามน้อมมาสอนใจตนว่า ความทุกข์เกิดจากอะไร จนกระทั้งเห็นจริงว่า ความทุกข์นั้นมีที่มาจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ขอให้น้อมเข้ามาพิจารณาซ้ำๆ อยู่เสมอ จนกระทั้งเป็นที่ประจักษ์แก่ตนเองในความจริงดังกล่าว

13. หมั่นไหว้พระ สวดมนต์ เพื่อให้จิตใจของตนเองยึดมั่นในพระรัตนตรัย ไม่ลังเลสงสัยในคำสั่งสอน ขอให้คิดว่า เราจะดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ประเสริฐที่สุด นั่นคือใช้ภูมิปัญญาของบุคคลที่ฉลาดที่สุดในโลก ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า ท่านว่าอย่างไร เราทำอย่างนั้น ปรับทัศนคติของเราให้ตรงกับท่าน อย่าคิดหาทางลัดด้วยตนเองเด็ดขาด ขอให้พาตัวเองไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดี คบคนดี ไม่คบคนพาล อ่านหนังสือที่ดี เสพความรู้ที่ดี ที่เพิ่มพูนศีลธรรม อย่ารับบุคคล สื่อ หรือสิ่งเร้าใดๆ ที่เป็นการยั่วกิเลสให้เพิ่มพูนเด็ดขาด

14. เมื่อจำเป็นต้องแก้ปัญหา ขอให้แก้ปัญหาภายในก่อน นั่นคือแก้ที่ตนเอง ขอให้เปลี่ยนตนเองก่อน มองความผิดของตนเองก่อน เมื่อเกิดสิ่งเข้ามากระทบ ขอให้เพ่งเล็งมาที่ความผิดของตนเอง อย่าเพ่งเล็งไปที่ความผิดของผู้อื่นเด็ดขาด ตรงนี้จะทำให้ไม่เกิดความเกลียดชังในจิตใจ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ตนเองรู้จักผิดชอบชั่วดี มีความเมตตาต่อผู่อื่น รู้จักละอายต่อบาปกรรม

15. เมื่อต้องการวัดผลการปฏิบัติของตน ขอให้วัดที่ชีวิตประจำวัน คือดูว่า ตนเองเป็นคนดีขึ้นหรือเปล่า ตรงนี้ต้องระวัง อย่าคิดเข้าข้างตนเองเด็ดขาด ขอให้มองอย่างเป็นกลางด้วยความสุจริตใจ ให้สำรวจดูว่า โลภ โกรธ หลงน้อยลงแค่ไหน มีเมตตามากขึ้นแค่ไหน ให้อภัยได้มากแค่ไหน ขอให้ใช้ตรงนี้เป็นเครื่องวัดความดีเลวของตนเป็นสำคัญ ส่วนด้านปัญญานั้น ขอให้วัดว่า ทุกวันนี้มีทุกข์น้อยลงหรือไม่อย่างไร ถ้าทุกข์มากแปลว่า เรายังไม่เข้าใจโลก ถ้าทุกข์น้อย แปลว่าเราเริ่มมีความเข้าใจต่อโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น ขอให้ยอมรับไปตรงๆว่า สุขหรือทุกข์ ล้วนเกิดขึ้นจากปัญญาของเรา ไม่ได้เกิดจากผู้อื่น และไม่มีใครสามารถยัดเยียดความสุขความทุกข์แก่เราได้นอกจากตัวของเราเอง

กฏทั้ง 15 ข้อนี้คือสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำในเบื้องต้น เป็นสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานความจริงซึ่งสามารถทำได้ถ้ามีความตั้งใจ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาจิตเพื่อลดทอน หรือยุติชาติภพ ถ้าทำทั้ง15ข้อนี้อยู่เสมอๆ จิตก็จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ไปทำสมถะไม่นาน จิตก็จะรวมใหญ่ ทำให้เกิดฌานได้อย่างง่ายดาย ต่อเมื่อไปทำวิปัสสนา จิตก็จะพิจารณาความจริงได้อย่างแยบคาย เพราะเป็นจิตที่คู่ควรกับการเจริญปัญญา ในการปฏิบัติทั้ง 15 ข้อนี้ หากใครทำได้ด้วยใจที่เบิกบาน ก็สามารถพูดได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่บุคคลผู้นั้นจะบรรลุเป็นอริยบุคคลในชาติปัจจุบัน...
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 325

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 175

โพสต์

:bow: :bow: :bow:

ขอบคุณพี่ koko8889 สำหรับธรรมะและข้อคิดดีๆ ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1736
ผู้ติดตาม: 37

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 176

โพสต์

picatos เขียน::bow: :bow: :bow:

ขอบคุณพี่ koko8889 สำหรับธรรมะและข้อคิดดีๆ ครับ
ขออนุญาต copy คุณ picatos นะคะ ขอบคุณค่ะ :wink:
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 177

โพสต์

ขอขอบคุณทั้งสองท่านที่เข้ามาอ่าน บทความทั้งหลายที่ผมได้หามานั้น ขอให้ผลบุญที่บังเกิดส่งผลกลับไปยังผู้เขียนท่านนี้ด้วย เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก สามารถรังสรรค์คำสอนพระพุทธเจ้า มาเป็นภาษาไทยธรรมดาง่าย ๆ ผลทำให้คนธรรมดาเรา ๆ ท่าน ๆ ได้เข้าใจได้อย่างตัดตรงและลัดสั้นครับ

12 เหตุผลที่ทำให้ชาวพุทธหลายคนไม่สามารถเข้าถึงผลแห่งการปฏิบัติภาวนา!!! (พศิน อินทรวงค์)

1. ถ้าไม่หายสงสัยจะไม่ทำ หมายความว่า เป็นคนที่ต้องเห็นถึงจะยอมทำ ต้องรู้ให้ได้ว่านรกมีจริง สวรรค์มีจริง ชาตินี้ชาติหน้ามีจริง ถ้าไม่เห็นด้วยตาตนเองจะไม่ยอมทำอะไรเลย ซึ่งถ้าคิดเช่นนี้ก็คงไม่ได้ทำอะไรจริงๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่พิสูจน์ไม่ได้ พิสูจน์ได้แน่นอนแต่ต้องใช้เวลา ต้องพัฒนาจิตไปได้ระดับหนึ่งจึงสามารถรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นไปไม่ได้ที่จะขอเห็นก่อนโดยไม่ลงมือปฏิบัติ คนพวกนี้จึงได้แต่โต้แย้งในสิ่งที่ตนเองสงสัย ทำให้สูญเสียเวลาชีวิตไปเปล่าๆ

2. เห็นประโยชน์และมีความศรัทธา แต่มีข้ออ้างมากมายเพราะความเกียจคร้าน คนเหล่านี้จะชอบทำบุญมากกว่าการภาวนา เพราะทำได้ง่ายกว่า ซึ่งก็ไม่ผิด แต่การทำบุญ ทำทาน ก็ไม่ใช่ตัวที่จะทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งได้ ถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้ากระแสความดีแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงตัวแก่นของพระพุทธศาสนา

3. พูดมากเกินไป หมายความว่า เมื่อหาความรู้ได้แล้ว แทนที่จะลงมือปฏิบัติ กลับนำความรู้มาโต้เถียง วิเคราะห์ เที่ยวจับผิดสำนักนั้น สำนักนี้ โดยที่ไม่ได้ลงมือพัฒนาจิตใจของตน ผลที่ตามมาก็คือ จิตใจจะยิ่งตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะอัตตาตัวตนพอกพูน คิดว่าตนเองดีกว่าผู้อื่นเพราะรู้หลักธรรมมาก

4. ติดความดีมากเกินไป หมายความว่า มุ่งมั่นในการทำสาธารณะประโยชน์มากเกินไป ช่วยเหลือผู้อื่นจนไม่มีเวลาช่วยเหลือตนเอง เมื่อช่วยเหลือผู้อื่นไปนานๆ มักจะมีความทุกข์ตามมาในภายหลัง เพราะเก็บเรื่องความทุกข์ของผู้อื่นมาคิดจนวุ่นวายปวดหัวไปหมด สุดท้ายก็เกิดความท้อแท้ เพราะไม่เข้าใจว่า โลกคือสิ่งที่เราไปควบคุมไม่ได้

5. มุ่งอยู่กับความผิดของผู้อื่น หมายความว่า ใช้เวลาจับผิดคนทั้งโลก จนไม่มีเวลาจับผิดตนเอง วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นมากเกินไป คิดจะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสังคม แต่ไม่เคยเปลี่ยนตนเอง เพ่งโทษความผิดพลาดของผู้อื่น จนจิตใจตนเองขุ่นมัว ไม่มีความเบิกบานพอที่จะปฏิบัติธรรมได้เลย

6. ยึดติดกับรูปแบบ อัตลักษณ์ หมายความว่า มีความเข้าใจผิด ชอบคิดว่าการปฏิบัติธรรมจะต้องทำในวัด นุ่งขาวห่มขาว ต้องมีกฏระเบียบที่แตกต่างไปจากการใช้ชีวิตธรรมดา คนกลุ่มนี้จะติดวัดเป็นพิเศษ ชอบหาเวลาเข้าวัดไปปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ได้ไปวัด จะรู้สึกว่า ปฏิบัติธรรมไม่ได้ สุดท้ายจึงกลายเป็นว่า ไปติดสังคมในวัด ไปหาเพื่อนคุยในวัด ซึ่งกลายเป็นกับดักอีกรูปแบบหนึ่ง

7. ทำๆเลิกๆ หมายความว่า เมื่อฟังธรรมก็เกิดความเข้าใจ เห็นคุณค่า และลงมือปฏิบัติ หากแต่เป็นพวกขี้เบื่อ มีความเพียรน้อย ทำหนึ่งเดือน หยุดสองเดือน ในการปฏิบัตินั้น ถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลแห่งการปฏิบัติเองอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนปฏิบัติไปไม่ถึงจุดแห่งมรรคผล แต่กลับล้มเลิกกลางคัน ทำให้ขาดประสบการณ์ทางจิต เมื่อเลิกไป แล้วกลับมาทำใหม่ ก็เท่ากับเริ่มต้นกันใหม่ไม่จบสิ้น ที่สุดแล้วก็เกิดความท้อแท้ คิดว่าตนเองเป็นผู้ไร้วาสนาไม่อาจบรรลุธรรมได้ คนพวกนี้ก็มีไม่น้อยเลย

8. ปฏิบัติผิดวิธี หมายความว่า เป็นกลุ่มที่โชคร้าย เพราะคิดดี และต้องการทำดี แต่ไปเจออาจารย์ไม่ดี เจออรหันต์ปลอม เจอสิบแปดมงกุฏ จึงทำให้การปฏิบัติผิดทิศผิดทางไปหมด คล้ายๆกับองคุลีมาลที่ถูกอาจารย์หลอก ในข้อนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการคบหากัลยาณมิตร หาความรู้ที่ถูกต้อง ต้องหัดใช้หลักกาลามสูตร เช่นนี้ก็จะแก้ไขได้

9. ให้เวลากับทางโลกมากเกินไป หมายความว่า ไม่รู้จักการแบ่งเวลา ไม่รู้จักสร้างสมดุลให้ชีวิต คนพวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างวุ่นวายไปเรื่อยๆ ต้องสุข ต้องทุกข์ไปเรื่อยๆ อาจอยู่ห่างไกลการพัฒนาจิตใจไปเรื่อยๆ จนมีจุดเปลี่ยนของชีวิต เกิดความทุกข์ครั้งใหญ่จนทำให้เขาต้องกลับมาสร้างสมดุลชีวิตอีกครั้ง เป็นผลให้เสียเวลาปฏิบัติทางจิตไปมาก บางคนมาปฏิบัติในช่วงสุดท้ายของชีวิตก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ดี เนื่องจากสังขารไม่อำนวย นั่งไปปวดไป ทำได้ไม่เท่าไหร่ ก็ลมจับ ล้มพับไปก็มี เป็นการเสียโอกาสเพราะความชราภาพโดยแท้

10. คนจมทุกข์ หมายความว่า เป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง วันๆ เอาแต่ทุกข์ซ้ำไปซ้ำมา เหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง จนเป็นคนเสพติดความเศร้า ความเหงาโดยไม่รู้ตัว นานวันเข้าก็เริ่มเป็นความเคยชินของชีวิต คนเหล่านี้จะชอบฟังธรรมะที่ปลอบประโลม ชอบให้คนอื่นปลอบ แต่ไม่ชอบช่วยตนเอง นิยมการใช้ธรรมะชั้นต้นเพื่อบำบัดทุกข์ แต่ในขั้นตอนของการปฏิบัติภาวนาจะไม่ชอบ ไม่มีกำลังใจพอที่จะเปลี่ยนตนเองได้เลย

11. คนที่มีความสุข โลกสวยงาม คิดบวกตลอดเวลา หมายความว่า เป็นพวกที่ทำอะไรก็สำเร็จไปเสียหมด มีวิธีมองโลกให้สดใสไปทุกอย่าง ถ้าความจริงไม่ดี ก็มองให้มันดีเสีย จึงไม่ค่อยได้เจอความทุกข์ เมื่อไม่ค่อยได้พบความทุกข์ จึงไม่รู้จะปฏิบัติธรรมไปทำไม เชื่อว่าตนเองจัดการทุกอย่างได้ บุคคลพวกนี้ จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง เพราะเป็นไปได้ว่า ชั่วชีวิตเขาอาจไม่ได้ลงมือปฏิบัติธรรมเพื่อลดทอนภพชาติได้เลย เป็นกลุ่มที่น่าสงสาร เพราะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอีกนาน

12. ฉลาดเกินไป หมายความว่า เป็นคนที่ตกเป็นทาสของความคิด ยึดติดอยู่กับการค้นหมายชีวิตเชิงปรัชญา คิดเอาเองว่า ความคิดจะทำให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้ คนพวกนี้จะถือความคิดเป็นใหญ่ ยึดติดอยู่กับการวิเคราะห์โดยไม่รู้ว่า มีภาวะบางอย่างที่เกินขีดความสามารถของสมองไปแล้ว คนกลุ่มนี้จะฉลาดทางโลก แง่กลายเป็นคนโง่ในทางธรรม

การเวียนว่ายตายเกิดไม่ใช่ของสนุก พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่คือทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด เพราะการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นที่มาแห่งทุกข์ทั้งมวล เป็นการยากมากที่ใครสักคนจะเกิดมาเป็นมนุษย์ ยิ่งยากเข้าไปอีกที่จะได้พบกับศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเรามีคุณสมบัติครบบริบูรณ์เช่นนี้ ขอจงทำลายความโง่เขลาทั้ง 12 ประการนี้เสีย และเร่งความเพียรของตนเอง พัฒนาจิตตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำสันติสุขมาสู่เรา เข้าสู่นิพพานตลอดอนันตกาล
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5008
ผู้ติดตาม: 141

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 178

โพสต์

ขอบคุณครับ สาธุครับ ทำให้ได้รู้จักคุณพศิน อินทรวงค์
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 179

โพสต์

ขอบคุณที่อ่านครับ หนึ่งคนสนใจธรรมะ บุคคลรอบๆได้รับร่มใบบุญ
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 15

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 180

โพสต์

ขออนุโมทนาบุญด้วยคนนะครับ่
ช่วยกันเผยแพร่ธรรมะที่เป็นประโยชน์

ทั้ง15ข้อ และ 12 ข้อ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV