อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
crystallization
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 86
ผู้ติดตาม: 0

อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เป็น post ใน pantip เห็นว่า ถ้าอินโดเป็นอะไรไป
ในตลาด em เราก้อน่าจะโดนหางเลขไปด้วย หรือเปล่า

อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแล้ว
http://pantip.com/topic/30970232


    วานผู้มีรู้หรือมีปรสบการณ์ผ่านวิกฤกต้มยำกุ้งมาช่วยอธิบายที
    ขอบคุณครับ
    ไร้กระบวนท่า
    ภาพประจำตัวสมาชิก
    ปรัชญา
    สมาชิกกิตติมศักดิ์
    โพสต์: 18252
    ผู้ติดตาม: 36

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 2

    โพสต์

    ในกระทู้นั่นหลายข้อความไม่ตรงความเป็นจริง แบบไปจำเขามาเขียน

    ดอกเบี้ยเงินฝากช่วงวิกฤติ ช่วงนั้น
    ธ.มหานคร ฝาก18เดือน ร้อยละ16 รับดอกเบี้ยทางบัญชีออมทรัพย์ทุกเดือน
    ก่อนที่ธ.นกยักษ์โดยคลังให้เทคโอเว่อร์มา
    ช่วงนั้นปิดไฟแนนท์56แห่ง ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน บล.คิงคองร้อยละ18ต่อปี
    ตอนนั้นไอเอ็มเอฟ เสนอแผนการเงินให้

    เรายืนอยู่ห่างอินเดีย
    การขึ้นดอกเบี้ยดอกฝากเยอะๆแบบนี้เพื่อดึงเงินทุนต่างชาติไม่ให้ไหลออก
    ภาพประจำตัวสมาชิก
    แงซาย
    Verified User
    โพสต์: 847
    ผู้ติดตาม: 1

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 3

    โพสต์

    Free your life , Fly your love
    PLUSLOVE
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 1526
    ผู้ติดตาม: 5

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 4

    โพสต์

    อีกไม่นานครับ ตอนแรกสมัยก่อนบ้านเราก้ไม่ใช่ร้อยละ15-16 ก่อน ก้เริ่มจากเลขหลักเดียว

    อินโดนิเซีย เผาหลอกแล้ว เด๋วได้เผาจริง ช่วงนี้หาเงินฝากร้อยละ7 นี่คุ้มเกินคุ้ม

    สงครามใกล้จะจบแล้วครับ ดอกไม้ไฟกำลังจะถูกจุดขึ้นไปเรื่อยๆ บนถนนแห่งความโลภ

    แผ่นดินที่เคยเขียวขจี ในยามที่ทหารโรมันเข้าย่ำยี ก้ไม่มีอะไรเหลือ นอกจากทางยาว

    สีแดงสีของเลือดครับ

    ในสามก๊ก ศึกเซ๊กเพ็ก เราได้เห็นแล้วว่า เรือของโจโฉได้เอาเรือมาผูกกัน เวลาไฟมันลาม

    จะเป็นยังไง TIP และ ประเทศใน SA ก้เป็นแบบนั้น

    โอกาศรอดของอินโดนิเซียดูริบหรี่ แสงไฟแห่งโรมันเข้าย่ำยี และจากไปดั่งที่เคยเกิดใน

    ปี1997 ผู้ชนะขนเงิน ขนผู้หญิงและเขียนจารึกหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้ง


    เมกาประเทศที่ไม่ยอมให้ใคร หักหลัง แต่ยอมหักหลังคนทั้งโลก ลองคิดสิครับว่า

    ถ้าอาเซียนรวมกันได้ ก้เหมือนเป็นอีกก๊กหนึ่ง ซึ่งถ้าผมเป็นเมกา ผมจะไม่ยอมให้เกิด
    PLUSLOVE
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 1526
    ผู้ติดตาม: 5

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 5

    โพสต์

    ผมเรียกการขึ้นดอกเบี้ย ของอินโดนิเซียนี้ว่า Interest suicide การขึ้นดอกเบี้ยมหาโหด

    ย่อมกระทบต่อกำลังซื้อภาคครัวเรือนในอินโดนิเซีย และจะลามไปถึง GDPที่จะหดลงเรื่อยๆ

    เพราะ ถ้า ตัวC หรือกำลังซื้อหด คนจะซื้อบ้านหรือรถก้จะทยอยไม่ซื้อ หรือดูไปก่อน

    การขึ้นดอกเบี้ยไม่ช่วยให้เงินอยู่ในประเทศอินโดได้หรอกครับ ดูบ้านเราตอนนั้นดอกร้อยละ

    15-16 เค้ายังไปเลย ต่างชาติรู้ดีแล้วว่า ยังไงก้ล้ม

    ทุบหม้อข้าวตัวเองแท้ๆ เหมือนรัฐบาลไทยในยุคนั้น ที่หวังเอาดอกเบี้ยมาล่อไม่คิดว่า

    ผู้ประกอบการจะไหวไหม เช่นกัน ที่อินโด ถ้าผู้ประกอบการไม่ไหว คนผ่อนบ้านไม่ไหว

    ผ่อนรถไม่ไหว การขึ้นดอกเบี้ยเป็นการดูดให้เงินกลับไปที่ระบบ เงินไหลเวียนก้จะน้อยลง

    สุดท้ายก้ NPL และระเบิด ถ้ายังขึ้นดอกไปเรื่อยๆ อินโดจะเหมือนคนป่วยเป็นมะเร็ง

    ระยะสุดท้าย ที่เตรียมจองวัดไว้ได้เลย สงครามกำลังจะจบ และ เมื่อเราผ่านคลื่นระลอก

    สุดท้ายเรื่องอินโดไป ฟ้าสดใสแห่งประเทศไทยก้จะตามมา

    ผมจำได้ว่า หลังต้มยำกุ้ง อินโดนิเซียดัชนีแซงไทยไปมาก ทั้งๆที่ก่อนเกิดวิกฤติอยู่พอๆกัน

    เมื่อเริ่มฟื้นแล้ว เงินจะไหลไปไหน ถ้าไม่มาที่ไทย
    ภาพประจำตัวสมาชิก
    anubist
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 1374
    ผู้ติดตาม: 8

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 6

    โพสต์

    จากในกระทู้

    อัตราการเติบโตทางด้านเงินเฟ้อของอินโดนีเซียจะทะยานขึ้นถึง 8.79 % เมื่อเดือนที่ผ่านมา อันเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2009 หรือกว่า 4 ปีที่ผ่านมาก็ตาม รวมทั้งนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ในอินโดนีเซียต่างคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อของอินโดนีเซียจะทะยานขึ้นแตะระดับ 9% ภายในสิ้นปีนี้

    ที่มา
    http://www.biztempnews.com/index.php/fi ... B%E0%B9%8C
    ------------------------------------------------
    เงินเฟ้อระดับนี้ ไม่แปลกที่ดอกเบี้ยจะสูงมาก
    อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำกว่าเงินเฟ้อ ถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่นะครับ
    แต่ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อที่เกิน5%ก็เป็นระดับที่เริ่มทำลายเศรษฐกิจ
    เพราะดอกเบี้ยจะสูงมาก บ.เอกชนต่างๆไม่อยากกู้เงิน
    คนไม่อยากใช้เงิน เนื่องจากดอกเบี้ยจูงใจให้ฝาก
    ทั้งยังมีสถานการณ์เงินเฟ้อสูงจะทำให้คนไม่มั่นใจในเศรษฐกิจประเทศ
    การใช้จ่ายเงินก็ลดลงโดยอัตโนมัติ
    อย่างนี้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยขึ้นดอกเบี้ยก่อนหล่ะครับ
    แต่ต้องดูให้ดีว่าเงินเฟ้อจากอะไร cost pushหรือdemand pull วิธีแก้ไม่เหมือนกัน
    บางทีอาจเป็นปัญหาชั่วคราว เพราะอินโดเพิ่งขึ้นราคาน้ำมันในประเทศไป(1)

    ลองดูเวียดนามครับ เค้าเจอปัญหาเงินเฟ้อในระดับสูงแบบนี้มาหลายปีแล้ว
    เค้าเป็นอย่างไร แก้อย่างไร

    http://www.manager.co.th/around/viewnew ... 0000075569
    ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
    David TON
    Verified User
    โพสต์: 1047
    ผู้ติดตาม: 1

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 7

    โพสต์

    แบงค์ขึ้นดอกมหาโหดเพื่อดูดเงินต่างชาติให้ค้ำค่าเงินของตัวเองไว้ และคงสภาพคล่องในประเทศให้ไปต่อได้ไม่ถูกถ่ายออกจนขาดสภาพคล่อง

    แต่อีกแง่หนึ่งคือ ผู้ที่เป็นหนี้จะไม่สามารถชำระได้ ซึ่งก็มีทั้งคนธรรมดา และนิติบุคคล หนี้มูลค่าจื๊บๆก็พอจะแก้ไขได้ แต่หนี้ที่มีมูลค่ามากๆเช่นอสังหา จะอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาก ถ้ารายรับของผู้ที่เป็นหนี้มีเข้ามาไม่พอกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาต่อไปก็คือ "ชักดาบ" คนที่โดนชักดาบก็คือธนาคาร ก็ไม่รู้จะเอาเงินที่ใหน ก็ต้องงดปล่อยสินเชื่อเพื่อดำรงค์สภาพคล่อง เมื่อแบงค์งดปล่อยสินเชื่อก็ ไม่มีการจ้างงาน ไม่มีงานให้คนทำ เมื่อไม่มีงานให้คนทำ ก็ต้อง "เลยออฟ" เมื่อเลยออฟ ก็ "ชักดาบ" วนกันไปเรื่อย จนกว่าจะสามารถเอาเงินที่ถูกแช่แข็งให้เป็นตึกร้าง ออกมาเป็นเงินสดให้ได้ ธุรกิจก็จะดำเนินต่อไป

    วิกฤติส่วนใหญ่ก็คล้ายๆอย่างนี้ ถ้าจะไม่ให้เกิดวิกฤต ต้องตัดวงจรไม่ให้เงินถูกแช่แข็งเป็นสินค้า ส่วนใหญ่เป็นตึกร้างให้ได้ ให้ระบบเงินไหลลื่น จากเงินสด เป็นสินค้า จากสินค้า เป็นเงินสด (ภาคบริการมักไม่ทำให้เกิดวิกฤต)

    ดูแววอินโดแล้วท่าจะยากส์.... เพราะมันเริ่มอย่างแรกแล้ว
    เลือกเด็กที่เรียนดี แล้วให้เค้าพาเราไป
    ภาพประจำตัวสมาชิก
    ดำ
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 4502
    ผู้ติดตาม: 94

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 8

    โพสต์

    ตอนต้นปีนี้ ยังเห็นกระแส AEC บอกอินโดฯ ตลาดใหญ่ ประชากรมาก น่าลงทุนสุดๆ กันอยู่เลยครับ
    David TON
    Verified User
    โพสต์: 1047
    ผู้ติดตาม: 1

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 9

    โพสต์

    ดำ เขียน:ตอนต้นปีนี้ ยังเห็นกระแส AEC บอกอินโดฯ ตลาดใหญ่ ประชากรมาก น่าลงทุนสุดๆ กันอยู่เลยครับ
    เค้าคงหมายถึงลงทุนในบริษัทติดตามหนี้ในอินโดมั๊งพี่ดำ :B
    เลือกเด็กที่เรียนดี แล้วให้เค้าพาเราไป
    miracle
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 18401
    ผู้ติดตาม: 78

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 10

    โพสต์

    ค่อยๆๆอ่านและค่อยๆคิดตาม ไม่งั้นคุณจะมึนตึบ
    เราเตือนท่านแล้ว
    -----------------------------------------------------

    มองกลับซิครับ
    ดอกเบี้ยขึ้น แสดงว่าสินทรัพย์ทางการเงินลดลง
    นั้นหมายถึงอะไร

    มูลค่าของพันธบัตรรัฐบาลราคาลดลง
    แล้วมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกระทบถึง สถาบันทางการเงิน เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย กองทุนตราสารหนี้ กองทุนบำเหน็ญบำนาญ ที่ถือครองสินทรัพย์พวกนี้อยู่

    มองลงต่อไป อีกว่า ทำไมต้องเพิ่มดอกเบี้ย
    ดอกเบี้ยเพิ่มเพราะว่า กดเงินเฟ้อ
    เงินเฟ้อเกิดจากอะไร เกิดจากเงินหมุนรวดเร็วไป นั้นคือ ราคาของสินทรัพย์ทางการเงิน
    มีราคาสูงเกิดไป ก็เลยเพิ่มดอกเบี้ย
    :)
    crystallization
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 86
    ผู้ติดตาม: 0

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 11

    โพสต์

    ช่วงนี้ผมเห็นข่าวอินโดบ่อยจัง

    http://www.biztempnews.com/index.php/ec ... 4%E0%B8%99

    อินโดนีเซียกำลังเผชิญความกดดันอย่างหนัก และกำลังต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา นักวิเคราะห์ชี้ หากธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย โอกาสที่จะเผชิญวิกฤติการเงินมีสูง
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานในวันนี้(13 กันยายน 56)ว่า ในวันพรุ่งนี้ ธนาคารกลางของอินโดนีเซียอาจจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สี่ ในปีนี้ โดยอ้างอิงจากนักวิเคราะห์จำนวน 14 คนที่บลูมเบิร์กได้ทำการสำรวจมา
    แม้ว่ายังมีนักวิเคราะห์หลายคนที่ยังคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางของอินโดนีเซียจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่เดิม โดยนักวิเคราะห์กลุ่มนี้คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางของอินโดนีเซียจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 7% เท่าเดิมในสัปดาห์นี้ และจะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น 7.5% ในไตรมาสแรกของปีหน้า
    ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกิดขึ้นท่ามกลาง ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก และอัตราเงินเฟ้อที่ทะยานขึ้นถึง 9% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 หรือในรอบ 4 ปี
    รวมทั้งค่าเงินรูเปี๊ยะห์ที่อ่อนค่าลงอย่างแรงถึง 11% ในไตรมาสนี้ นับว่าเป็นการลดลงที่มากที่สุดในบรรดา 24 ประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด
    โรเบิร์ต ไพรออร์ แวนเดสฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเครดิตสุเอซประจำอยู่ที่สิงคโปร์กล่าวว่า อินโดนีเซียจะเผชิญกับความเสี่ยงอย่างมาก และธนาคารกลางของอินโดนีเซียจะเผชิญกับความเสียหายอย่างหนักและจะกระทบต่อค่าเงินรูเปี๊ยะห์อีกอย่างต่อเนื่อง หากว่า ธนาคารกลางของอินโดนีเซียไม่เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
    “เศรษฐกิจของอินโดนีเซียกำลังตกต่ำอย่างหนัก อาจถึงขั้นเผชิญภาวะถดถอย”เขากล่าว
    รายงานของบลูมเบิร์กระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียเปิดขายพันธบัตรจำนวน 1.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเมื่อวานนี้ และให้อัตราผลตอบแทนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ด้วยความหวังว่า จะเห็นเงินทุนที่กำลังไหลออกจากประเทศกลับเข้ามาในประเทศเพื่อซื้อพันธบัตรดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อจะได้พยุงค่าเงินรูเปี๊ยะห์ที่กำลังอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ให้กลับคืนมา
    นอกเหนือจากนั้น ที่นักวิเคราะห์จับตากันมากก็คือ ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของอินโดนีเซียที่ ลดต่ำลงมาใกล้ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริหารของธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องเจรจาทวิภาคี เพิ่มดีลการให้ความช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยนเงินในทุนสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 12 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
    เศรษฐกิจของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัว 5.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
    “คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะอภิปรายกันอย่างหนักในที่ประชุมในวันพรุ่งนี้ ถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและเร่งหาทางแก้ไข ซึ่งเราคาดว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจุดยืนในนโยบายการเงินของอินโดนีเซียในวันพรุ่งนี้”ผู้ว่าการธนาคารกลางของอินโดนีเซีย กล่าวกับผู้สื่อข่าวของบลูมเบิร์กที่สิงคโปร์
    ไร้กระบวนท่า
    crystallization
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 86
    ผู้ติดตาม: 0

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 12

    โพสต์

    ดุลบัญชีสะพัด
    สองปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ตลาดการเงิน การหุ้น จะมุ่งเน้นพูดถึง ยุโรป เป็นสำคัญ หัวข้อหลัก ๆ ก็คือ เรื่องหนี้สินของประเทศ และประเทศที่ตกเป็นเหยื่อ ที่นำมาทำเป็นเรื่อง ก็มี กรีก อิตาลี่ โปแลนด์ สเปน ไอร์แลนด์ รวมทั้ง ไซปรัส 

    แต่ท่านทั้งหลายจะแปลกใจหรือไม่ ก็ตาม ปรากฏว่า ขณะนี้ เรื่องหนี้สินของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ค่อย ๆ หายเงียบไป ท่านเชื่อหรือครับ ว่า มันดีขึ้นจริง ? 

    แต่ในปีนี้ ขณะนี้ และต่อไปอีกข้างหน้า เหยื่อรายใหม่ ที่จะถูกนำมาโจมตี ก็คือ ประเทศ Emerging Countries
    ข่าว ต่าง ๆ ที่ปรากฏในภูมิภาคเอเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นข่าว ที่ ต้องการโจมตี ประเทศ ในแถบนี้ โดยขณะนี้ เน้นไปที่ ประเทศ อินโดนีเซีย และ อินเดีย 

    โดยเขาได้แยกกลุ่ม ประเทศ ดี และ ประเทศ แย่ เป็นสองพวก พวกที่ดี ก็คือ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ (เขายกเว้นญี่ปุ่น) ส่วนประเทศในกลุ่มที่แย่ก็คือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลย์เซีย และไทย (ก็คงจะมีฟิลิปปินส์ ร่วมด้วย) 

    จากบทความข้างล่างนี้ ทำให้ ทราบได้ทันทีว่า เป้า ที่เขาจะนำมาโจมตี ต่อไป เพื่อ แยกหรือ หันเหความน่าสนใจในการลงทุน ในตลาดหุ้น ไปจาก Emerging Countries เป้า นั้นเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กับ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับหลายประเทศในยุโรป ซึ่ง มันคืออะไรนั้น เดี๋ยวจะได้กล่าวต่อ ๆ ไป 

    Emerging markets: dissecting the good from bad 
    Published: Thursday, 22 Aug 2013 | 4:35 AM ETBy: Katie Holliday 
    http://www.cnbc.com/id/100979898 

    บทความนี้ ครับ เขากำลังแยก ประเทศ ดี และประเทศ แย่ ออกเป็นสองกลุ่ม และแนะนำว่า ให้ลงทุน ในกลุ่มประเทศที่ ดี เท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงประเทศที่ แย่ ซึ่งได้พูดถึงไทยด้วย 

    ดังนั้น ถ้าท่านได้อ่านบทความดังกล่าว ก็จะได้รู้ทันทีนะครับว่า การเทขายของต่างชาติ ในตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ของบ้านเราก็ดี ของอินโดนีเซีย ก็ดี หรือ อินเดีย มาเลย์เซีย จนทำให้ทุกประเทศที่กล่าวมานี้ มีค่าเงินที่อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นั้น สาเหตุหลัก ๆ ไม่ใช่ ประเด็น Tapering เท่านั้น แต่เป็นประเด็นที่เป็นโรคประจำตัวของประเทศ เจ้ากรรม ที่ถูกเขาจัดว่า แย่ เหล่านั้น เป็นปัจจัยหลัก
    ที่บอกว่า โรคประจำตัว ของประเทศเจ้ากรรมทั้งหลาย ที่ต่อไปนี้ จะถูกต่างชาติ ยกมาเป็นเรื่องโจมตี ว่า เป็นประเทศที่ไม่น่ามาลงทุน ก็คือ ปัญหา เรื่อง ดุลบัญชีสะพัด หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Current Account Deficit นั่นเอง

    การเทขายหุ้น ในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย จนทำให้ตลาดตกไปมากกว่า 20% จาก ช่วงที่สูงที่สุด สาเหตุข้ออ้าง ก็คือ เขาพบว่า อินโดนีเซีย มีดุลบัญชีเดินสะพัด ในไตรมาสที่สอง ขาดดุล ถึง 4.4% ของ จีดีพี 

    ทำนองเดียวกัน ที่อินเดีย ซึ่ง เคยมีเม็ดเงินไหลเข้าก่อนหน้านี้ จำนวนมาก บัดนี้ เงินเหล่านั้น ก็กำลังทยอยไหลออก จนค่าเงินรูปี อ่อนลง ไปมาก ในเวลาอันรวดเร็ว ก็พบว่า อินเดีย ก็มี ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลถึง 4.8% ของ จีดีพี ในไตรมาสแรก สิ้นสุด เดือน มีนาคม 

    ของไทยเราล่ะครับ เป็นอย่างไร ? 

    ในไตรมาสที่สองของไทย ก็ปรากฏว่า มีดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล แต่ก็น้อยมาก ไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับ จีดีพี เรียกว่า ยังมีของดี แต่ถ้าหาก ปล่อยให้ แย่ลงไปอีก ต่างชาติ คงไม่เลี้ยงไว้ คงนำมา โจมตี อย่างแน่นอน 

    ลิงค์ ต่อไปนี้ ก็ให้ดี ครับ ว่า ประเทศไหนในโลก มีดุลบัญชีเดินสะพัด เทียบกับ จีดีพี เป็นอย่างไร จะพบว่า ของอินโดนีเซีย และอินเดีย ติดลบมานานแล้ว ส่วนของไทย ตอนนั้น ยังเป็นบวก แต่ก็ปริ่ม ๆ ส่วนของมาเลย์เซีย นั้น เคยเกินดุลมาก แต่ก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นสาเหตุที่ต่างชาติเอามาโจมตีด้วย 

    List of countries by current account balance as a percentage of GDP 
    http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... age_of_GDP

    ข้อมูลก็ค่อนข้างจะ up date พอสมควร
    สำหรับกรณี ของ มาเลย์เซีย ซึ่ง มองผิวเผิน น่าจะดี เพราะพัฒนาไปไกลกว่าไทยมาก แต่ปรากฏว่า ไส้ใน กำลังแย่ครับ ค่าเงิน ริงกิต ตกไปกว่า 10% ตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภา เป็นต้นมา จากการถูกเทขายพันธบัตรรัฐบาลมาเลย์ โดยชาวต่างชาติ แล้วนำเงินออกนอกประเทศ เพราะพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐ เริ่มมีผลตอบแทนที่ดีกว่า 

    The ringgit has declined 10 percent against the U.S. dollar since late-May on concerns over a potential capital flight from the country''''''''s government bond market in favor of rising U.S. Treasury yields. 

    ที่น่าเป็นห่วงอยู่ตรงนี้ครับ คือ ชาวต่างชาติถือครองพันธบัตรของรัฐบาลมาเลย์ มากถึง 50% ของพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด 

    ทำให้ ผมต้องรีบกลับมาดูว่า แล้ว ต่างชาติ ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของไทย เป็นเงินกี่มากน้อย แล้วถ้าหากมันถอน ออกไปหมด ค่าเงินบาท เรามิต้อง อ่อนยวบเลยหรือ 

    ก็ปรากฏว่า ค่อนข้างสบายใจ ตามข่าวนะครับ บอกว่า ยังมียอดคงค้าง อยู่เพียง 8 แสนกว่าล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ก็ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดแล้วเพียงแค่ 11% ของมูลค่าพันธบัตรทั้งหมด ซึ่ง มีกว่า 7 ล้านล้านบาท 

    ค่อยยัง **** ครับ เพราะ เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ของไทย ในช่วงเดือน สิงหาคม ก็ยังมีอยู่มากกว่า 170 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ หรือ 17 หมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐ 

    ตามข่าวนี้ครับ และ ตามตารางเงินทุนสำรองของ ธปท 

    http://www.thairath.co.th/content/eco/351768 

    http://www2.bot.or.th/statistics/Report ... uage=th%2f 

    http://www.tradingeconomics.com/ 
    (ลิงค์นี้ ก็มีช่อง current account ให้ดูด้วยเช่นกัน ของไทยก็มีในตาราง)
    มาถึงกล่องสุดท้ายของคืนนี้ 

    บทความนี้ บอกว่า ในช่วงที่มีการเทขาย ทั้งหุ้น และพันธบัตร ของประเทศ Emerging Countries ปรากฏว่า มันไปกระทบกระเทือน ถึง เงินทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศ ที่แต่ละประเทศ มีอยู่ เรียกว่า ลดลงไปถึง 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เรียกว่า เทียบเท่ากับ 2% ของปริมาณ เงินทุนสำรอง ที่มีอยู่ ในกลุ่มประเทศ EM (ไม่นับรวมจีน) 

    ว่ากันว่า อินโดนีเซีย หายไปถึง 13.6% ของเงินทุนสำรองที่มีอยู่ อินเดียลดไป 5.5% ตุรกี ลดลง 12.7% และยูเครน ประมาณ 10% ส่วนของไทยเรานั้น ถ้าหากท่านดูตาราง ของ ธปท ระหว่าง เมษา ถึง กรกฏา จะพบว่า ไม่ระคายผิว เลยครับ พระเจ้าช่วย! 

    However some countries have suffered more precipitous drops. Indonesia has lost 13.6 per cent of its central bank reserves between the end of April and the end of July, Turkey 12.7 per cent and Ukraine burned through almost 10 per cent. India, another country that has seen its currency pummeled in recent months, has shed almost 5.5 per cent of its reserves. 



    Emerging markets central bank reserves drop by $81 billion 
    Published: Thursday, 22 Aug 2013 | 7:00 AM ETBy: Robin Wigglesworth 
    ไร้กระบวนท่า
    crystallization
    สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
    โพสต์: 86
    ผู้ติดตาม: 0

    Re: อินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแบบต้มยำก้งไหม

    โพสต์ที่ 13

    โพสต์

    ดุลบัญชีสะพัด
    สองปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ตลาดการเงิน การหุ้น จะมุ่งเน้นพูดถึง ยุโรป เป็นสำคัญ หัวข้อหลัก ๆ ก็คือ เรื่องหนี้สินของประเทศ และประเทศที่ตกเป็นเหยื่อ ที่นำมาทำเป็นเรื่อง ก็มี กรีก อิตาลี่ โปแลนด์ สเปน ไอร์แลนด์ รวมทั้ง ไซปรัส

    แต่ท่านทั้งหลายจะแปลกใจหรือไม่ ก็ตาม ปรากฏว่า ขณะนี้ เรื่องหนี้สินของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ค่อย ๆ หายเงียบไป ท่านเชื่อหรือครับ ว่า มันดีขึ้นจริง ?

    แต่ในปีนี้ ขณะนี้ และต่อไปอีกข้างหน้า เหยื่อรายใหม่ ที่จะถูกนำมาโจมตี ก็คือ ประเทศ Emerging Countries
    ข่าว ต่าง ๆ ที่ปรากฏในภูมิภาคเอเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นข่าว ที่ ต้องการโจมตี ประเทศ ในแถบนี้ โดยขณะนี้ เน้นไปที่ ประเทศ อินโดนีเซีย และ อินเดีย

    โดยเขาได้แยกกลุ่ม ประเทศ ดี และ ประเทศ แย่ เป็นสองพวก พวกที่ดี ก็คือ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ (เขายกเว้นญี่ปุ่น) ส่วนประเทศในกลุ่มที่แย่ก็คือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลย์เซีย และไทย (ก็คงจะมีฟิลิปปินส์ ร่วมด้วย)

    จากบทความข้างล่างนี้ ทำให้ ทราบได้ทันทีว่า เป้า ที่เขาจะนำมาโจมตี ต่อไป เพื่อ แยกหรือ หันเหความน่าสนใจในการลงทุน ในตลาดหุ้น ไปจาก Emerging Countries เป้า นั้นเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กับ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับหลายประเทศในยุโรป ซึ่ง มันคืออะไรนั้น เดี๋ยวจะได้กล่าวต่อ ๆ ไป

    Emerging markets: dissecting the good from bad
    Published: Thursday, 22 Aug 2013 | 4:35 AM ETBy: Katie Holliday
    http://www.cnbc.com/id/100979898

    บทความนี้ ครับ เขากำลังแยก ประเทศ ดี และประเทศ แย่ ออกเป็นสองกลุ่ม และแนะนำว่า ให้ลงทุน ในกลุ่มประเทศที่ ดี เท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงประเทศที่ แย่ ซึ่งได้พูดถึงไทยด้วย

    ดังนั้น ถ้าท่านได้อ่านบทความดังกล่าว ก็จะได้รู้ทันทีนะครับว่า การเทขายของต่างชาติ ในตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร ของบ้านเราก็ดี ของอินโดนีเซีย ก็ดี หรือ อินเดีย มาเลย์เซีย จนทำให้ทุกประเทศที่กล่าวมานี้ มีค่าเงินที่อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นั้น สาเหตุหลัก ๆ ไม่ใช่ ประเด็น Tapering เท่านั้น แต่เป็นประเด็นที่เป็นโรคประจำตัวของประเทศ เจ้ากรรม ที่ถูกเขาจัดว่า แย่ เหล่านั้น เป็นปัจจัยหลัก
    ที่บอกว่า โรคประจำตัว ของประเทศเจ้ากรรมทั้งหลาย ที่ต่อไปนี้ จะถูกต่างชาติ ยกมาเป็นเรื่องโจมตี ว่า เป็นประเทศที่ไม่น่ามาลงทุน ก็คือ ปัญหา เรื่อง ดุลบัญชีสะพัด หรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Current Account Deficit นั่นเอง

    การเทขายหุ้น ในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย จนทำให้ตลาดตกไปมากกว่า 20% จาก ช่วงที่สูงที่สุด สาเหตุข้ออ้าง ก็คือ เขาพบว่า อินโดนีเซีย มีดุลบัญชีเดินสะพัด ในไตรมาสที่สอง ขาดดุล ถึง 4.4% ของ จีดีพี

    ทำนองเดียวกัน ที่อินเดีย ซึ่ง เคยมีเม็ดเงินไหลเข้าก่อนหน้านี้ จำนวนมาก บัดนี้ เงินเหล่านั้น ก็กำลังทยอยไหลออก จนค่าเงินรูปี อ่อนลง ไปมาก ในเวลาอันรวดเร็ว ก็พบว่า อินเดีย ก็มี ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลถึง 4.8% ของ จีดีพี ในไตรมาสแรก สิ้นสุด เดือน มีนาคม

    ของไทยเราล่ะครับ เป็นอย่างไร ?

    ในไตรมาสที่สองของไทย ก็ปรากฏว่า มีดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล แต่ก็น้อยมาก ไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับ จีดีพี เรียกว่า ยังมีของดี แต่ถ้าหาก ปล่อยให้ แย่ลงไปอีก ต่างชาติ คงไม่เลี้ยงไว้ คงนำมา โจมตี อย่างแน่นอน

    ลิงค์ ต่อไปนี้ ก็ให้ดี ครับ ว่า ประเทศไหนในโลก มีดุลบัญชีเดินสะพัด เทียบกับ จีดีพี เป็นอย่างไร จะพบว่า ของอินโดนีเซีย และอินเดีย ติดลบมานานแล้ว ส่วนของไทย ตอนนั้น ยังเป็นบวก แต่ก็ปริ่ม ๆ ส่วนของมาเลย์เซีย นั้น เคยเกินดุลมาก แต่ก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นสาเหตุที่ต่างชาติเอามาโจมตีด้วย

    List of countries by current account balance as a percentage of GDP
    http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... age_of_GDP

    ข้อมูลก็ค่อนข้างจะ up date พอสมควร
    สำหรับกรณี ของ มาเลย์เซีย ซึ่ง มองผิวเผิน น่าจะดี เพราะพัฒนาไปไกลกว่าไทยมาก แต่ปรากฏว่า ไส้ใน กำลังแย่ครับ ค่าเงิน ริงกิต ตกไปกว่า 10% ตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภา เป็นต้นมา จากการถูกเทขายพันธบัตรรัฐบาลมาเลย์ โดยชาวต่างชาติ แล้วนำเงินออกนอกประเทศ เพราะพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐ เริ่มมีผลตอบแทนที่ดีกว่า

    The ringgit has declined 10 percent against the U.S. dollar since late-May on concerns over a potential capital flight from the country''''''''s government bond market in favor of rising U.S. Treasury yields.

    ที่น่าเป็นห่วงอยู่ตรงนี้ครับ คือ ชาวต่างชาติถือครองพันธบัตรของรัฐบาลมาเลย์ มากถึง 50% ของพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด

    ทำให้ ผมต้องรีบกลับมาดูว่า แล้ว ต่างชาติ ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของไทย เป็นเงินกี่มากน้อย แล้วถ้าหากมันถอน ออกไปหมด ค่าเงินบาท เรามิต้อง อ่อนยวบเลยหรือ

    ก็ปรากฏว่า ค่อนข้างสบายใจ ตามข่าวนะครับ บอกว่า ยังมียอดคงค้าง อยู่เพียง 8 แสนกว่าล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ก็ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดแล้วเพียงแค่ 11% ของมูลค่าพันธบัตรทั้งหมด ซึ่ง มีกว่า 7 ล้านล้านบาท

    ค่อยยัง **** ครับ เพราะ เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ของไทย ในช่วงเดือน สิงหาคม ก็ยังมีอยู่มากกว่า 170 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ หรือ 17 หมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐ

    ตามข่าวนี้ครับ และ ตามตารางเงินทุนสำรองของ ธปท

    http://www.thairath.co.th/content/eco/351768

    http://www2.bot.or.th/statistics/Report ... uage=th%2f

    http://www.tradingeconomics.com/
    (ลิงค์นี้ ก็มีช่อง current account ให้ดูด้วยเช่นกัน ของไทยก็มีในตาราง)
    มาถึงกล่องสุดท้ายของคืนนี้

    บทความนี้ บอกว่า ในช่วงที่มีการเทขาย ทั้งหุ้น และพันธบัตร ของประเทศ Emerging Countries ปรากฏว่า มันไปกระทบกระเทือน ถึง เงินทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศ ที่แต่ละประเทศ มีอยู่ เรียกว่า ลดลงไปถึง 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เรียกว่า เทียบเท่ากับ 2% ของปริมาณ เงินทุนสำรอง ที่มีอยู่ ในกลุ่มประเทศ EM (ไม่นับรวมจีน)

    ว่ากันว่า อินโดนีเซีย หายไปถึง 13.6% ของเงินทุนสำรองที่มีอยู่ อินเดียลดไป 5.5% ตุรกี ลดลง 12.7% และยูเครน ประมาณ 10% ส่วนของไทยเรานั้น ถ้าหากท่านดูตาราง ของ ธปท ระหว่าง เมษา ถึง กรกฏา จะพบว่า ไม่ระคายผิว เลยครับ พระเจ้าช่วย!

    However some countries have suffered more precipitous drops. Indonesia has lost 13.6 per cent of its central bank reserves between the end of April and the end of July, Turkey 12.7 per cent and Ukraine burned through almost 10 per cent. India, another country that has seen its currency pummeled in recent months, has shed almost 5.5 per cent of its reserves.



    Emerging markets central bank reserves drop by $81 billion
    Published: Thursday, 22 Aug 2013 | 7:00 AM ETBy: Robin Wigglesworth
    http://www.cnbc.com/id/100980497
    ไร้กระบวนท่า
    โพสต์โพสต์